แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาจิตตีย์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาจิตตีย์ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคาร

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โอวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์ไม่สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณี พึงละเมิดบังคับสั่งสอนนางภิกษุณีด้วย
🔎ครุธรรม(๖๕) ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสอนด้วยธรรมสิ่งอื่นจากครุธรรม เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๒. สมมติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณีแล้ว ถ้าสอนนางภิกษุณีเวลาพระอาทิตย์อัสดงพลบค่ำไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุปัสสยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
แล้ว แลไปสอนนางภิกษุณีถึงอาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเป็นไข้ จึงไปสอนถึงอารามได้

๔. อามิสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันริษยา
เสแสร้งแกล้งนินทากล่าวร้ายว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่🔎
อามิส(๖๖) ลาภสักการะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสำคัญในใจว่าจริงไม่แกล้งติเตียน หรือภิกษุผู้สอนเห็นแก่ลาภจริง ถึงจะติเตียนก็ไม่มีโทษ

๕. จีวรทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุให้จีวรของ
ตนแก่นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน ไม่มีโทษ

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งเย็บเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีอันมิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. อัทธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนางภิกษุณี
ชักชวนกันเดินไปทางเดียวกันในระหว่างบ้านหนึ่ง ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะล่วงระยะบ้านนั้น ๆ เว้นไว้แต่ไปทางไกลเป็นทางประกอบโจรภัย จึงไม่มีโทษที่จะต้องห้าม

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนาง
ภิกษุณีชักชวนกันไปเรือลำเดียวกัน ขึ้นล่องตามลำแม่น้ำลำคลอง ทางใต้น้ำ เหนือน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากไม่มีโทษ

๙. ปริปาจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่า
บิณฑบาตของฉัน อันนางภิกษุณีเที่ยวขอร้อง ชักนำคฤหัสถ์ไปนิมนต์ให้สำเร็จด้วยกำลังตน แลฉันบิณฑบาตนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เริ่มขึ้นก่อนถ้าสิ่งของที่ภิกษุหรือสามเณรร้องบอก เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับภิกษุณี 
ตัวต่อตัวเป็นสองด้วยกัน นั่งในที่ลับตามีฝาแลม่านกั้นเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภิกขุโนวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันศุกร์

ภูตคามวรรคที่ ๒

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภูตคามวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. ภูตคามสิกขาบท
ความว่า พืชพรรณที่งอกงามขึ้นในดินในน้ำ คือ ต้นไม้ กอไม้ เถาวัลย์ กอหญ้า กอบัวสาย สาหร่าย จอก แหน เป็นต้น ชื่อว่าภูตคาม ภิกษุ ตัด ฟัน ถาก ถอน เด็ด ฉีก ยกขึ้นพ้นจากพื้นที่เกิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่พืชที่จะงอกได้ คือพืชที่ตัดและขุดขึ้นพ้นที่เกิดมาแล้วแต่ยังสดอยู่ และรากเหง้าหัวเมล็ดในยังจะงอกได้ต่อไป ชื่อว่าพืชคาม ภิกษุทำลายให้สูญพืชต้องอาบัติทุกกฏ

๒. อัญญวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งทำมารยา เมื่อพระสงฆ์ถามด้วยอาบัติแล้ว ก็กล่าวถ้อยคำอื่นกลบเกลื่อนเลือนเลอะเสีย หรือนิ่งเสียทำเป็นไม่ได้ยินไม่บอกกล่าวตามความจริง ให้พระสงฆ์เกิดความลำบากรำคาญใจ จนพระสงฆ์ต้องสวดบอกโทษเมื่อไร ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งโพนทะนาติเตียนใส่โทษที่ไม่จริง แก่ภิกษุอันสงฆ์สมมติไว้ให้แจกของสงฆ์ของคณะให้ภิกษุอื่นได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าติเตียนตามโทษที่ได้รู้ได้เห็นตามจริง ไม่เป็นอาบัติ

๔. สังฆกเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ยกขนเตียง ตั้ง ฟูก เบาะ เก้าอี้ อันเป็นของสงฆ์ไปตั้งไว้ในที่แจ้งด้วยตน หรือใช้ให้ผู้อื่นก็ดี เมื่อจะไปจากที่นั้น ก็มิได้ยกขนเอาไปไว้ดังเก่า และมิได้บอกกล่าวมอบหมายไว้ธุระแก่ท่านผู้หนึ่งผู้ใด พอไปพ้นอุปจารที่นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุหยิบยกเครื่องปูนอนในเสนาสนะของสงฆ์ไปปูลาดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเอาไปปูลาดก็ดี เมื่อจะไปจากเสนาสนะนั้นก็มิได้เอาไว้ตามที่เดิม หรือมิได้มอบหมายไว้ธุระแก่ใครหลีกไป พอพ้นอุปจารเสนาสนะนั้นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. อนูปขัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ว่าภิกษุอื่นเข้าไปอยู่ในเสนาสนะของสงฆ์ก่อนแล้ว แกล้งริษยาไม่ให้อยู่ ได้เข้าไปนั่งนอนเบียดเสียดในที่ใกล้ภายใน ๒ ศอกคืบ หรือขนเอาเตียงตั้งไปตั้งที่ริมทวารเข้าออก ด้วยจะให้คับแคบใจจนอยู่ไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ขึงโกรธน้อยใจต่อภิกษุและขับไล่ ฉุดคร่า ผลักไสให้ไปจากเสนาสนะของสงฆ์ หรือใช้ให้ผู้อื่นขับไล่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. เวหาสกุฎีสิกขาบท
ความว่า กุฏิมีพื้นชั้นบนเป็นที่แจ้ง ไม่มีหลังคา ยังไม่ได้เรียบ พื้นล่างเป็นที่อาศัยเดินไปมาได้ เตียงตั้งตั้งติดพื้นไว้ไม่มีลิ่มสลักตรึงกับแม่แคร่ไว้ ภิกษุมานั่งนอนทับลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. มหัลลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำวิหารที่อยู่ให้กว้างใหญ่ หวังจะอยู่เอง มีทายกเป็นเจ้าของจะสร้างถวาย พึงตั้งลงในที่นาของเขา จึงโบกทาให้หนาได้ แต่ที่กรอบเช็ดหน้าประตูและหน้าต่างออกไปข้างละ ๒ คืบ เพื่อจะให้ใบตาลและลิ่มสลักมั่นคง พึงมุงโบกทาเองได้เพียงสองชั้นสองหน ถ้ามุงโบกทามากกว่าสองชั้นสองหนขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าใกล้ที่ไร่นาต้องอาบัติทุกกฏด้วย

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันรู้เห็นหรือรังเกียจอยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์เป็นอยู่ แล้วแกล้งตักรดหญ้ารดดินลง หรือใช้ให้ผู้อื่นรดก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภูตคามวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

มุสาวรรคที่ ๑

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

มุสาวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. มุสาวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้แน่แก่ใจแล้วแกล้งเจรจา โป้ปด สิ่งที่ไม่มีว่ามี สิ่งที่มีว่าไม่มี อย่างนี้เป็นต้น ให้ผู้อื่นเชื่อถือว่าจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. โอมสวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุด่าทอ เสียดสี จี้ไชต่อหน้าภิกษุให้เจ็บใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. เปสุญญวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุยุยงส่อเสียดภิกษุต่อภิกษุ ด้วยคำด่าทอให้แตกร้าวจากกันและกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุสวดบทธรรม คือบาลีและคาถารวมเสียงเดียวกับอนุปสัมบันคือสามเณรและคฤหัสถ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกขณะระยะบทบาลี แลบทแห่งธรรมคาถานั้น ๆ

๕. สหเสยยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน คือสามเณรและคฤหัสถ์ภายในเสนาสนะ มีที่มุงและที่บังอันเดียวกันยิ่งกว่า ๓ ราตรี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คือนอนร่วมกัน ๓ ราตรีแล้ว ถึงคืนที่ ๔ เข้าเมื่อไร ตั้งแต่เวลาพลบไป เอนกายลงนอนร่วมอีก ก็ต้องอาบัติทุกขณะที่นอนลง ถ้าภิกษุจะรักษาให้พ้นอาบัติ ถึงคืนที่ ๓ จวนรุ่งอรุณให้ออกจากเสนาสนะนั้นเสีย หรือลุกขึ้นนั่งเสีย อย่านอนจนสว่าง แล้วก็ตั้งต้นนอนได้อีก ๒ คืนต่อไป เป็น
ระยะตั้งไว้ดังนี้ จึงจะพ้นอาบัติ

ที่เรียกว่า อนุปสัมบันในสิกขาบทนี้ ท่านกล่าวว่ามนุษย์ผู้ชายตั้งแต่สามเณรและคฤหัสถ์ผู้ชายลงไปจนถึง
สัตว์เดรัจฉานตัวผู้ มีแมว จังกวด พังพอนและนกพิราบเป็นต้น แต่บรรดาสัตว์ที่มีช่องปากเป็นที่ตั้งเมถุน ได้ชื่อว่าอนุปสัมบันทั้งสิ้น เสนาสนะที่จะเป็นสหเสยยะนั้น คือเสนาสนะที่ร่วมหลังคากัน ถึงจะมีฝากั้นห้อง แต่ว่ามีช่องไปมาหากันได้ ก็เป็นสหเสยยะ ถ้ามีหลังคาเดียวกันแต่ต่างห้องกัน คือไม่มีช่องที่จะไปมาในภายในได้เฉพาะต้องออกนอกชายคาจึงจะเข้าไปห้องอื่นได้ ก็ไม่เป็นสหเสยยะ ถึงพื้นหลายชั้นไม่มีช่องที่จะใช้ขึ้นใช้ลงข้างในได้ ต้องออกพ้นชายคา แล้วจึงเข้าไปในห้องชั้นในอื่นได้ก็เหมือนกัน เป็นอันไม่เกิดอาบัติ นอนร่วมสัตว์เดรัจฉานตัวผู้ยิ่งกว่า ๓ คืน เป็นแต่ต้องอาบัติทุกกฏ ว่าไว้เป็นกำหนดเท่านี้

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนอนร่วมมาตุคาม คือหญิงมนุษย์ในเสนาสนะดังกล่าวแต่เวลาพลบค่ำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะเอนกายนอน ถ้านอนร่วมสัตว์เดรัจฉานตัวเมียในราตรี ต้องอาบัติทุกกฏ

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม คือหญิงมนุษย์ที่ไม่มีผู้ชายนั่งเป็นเพื่อนด้วยได้เพียง ๖ คำ บาลี ๖ บาท คาถา ๖ ข้อ อัตถาธิบายที่นับว่าวาจาหนึ่ง ๆ ถ้ายิ่งกว่า ๖ คำขึ้นไปต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้บรรลุฌานสมาบัติ อภิญญามรรคผล ที่เป็นมหรคตแลโลกุตตระแล้ว แลบอกเล่าแสดงคุณที่มีอยู่ในตนแต่ตามจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ทุฏฐลลาโรจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงบอกอาบัติชั่วหยาบ คือสังฆาทิเสสของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตย์ ยกเสียแต่ภิกษุที่สงฆ์สมมติไว้ให้คอยดูแลบอกเล่าอาบัติของภิกษุอื่น ที่ต้องอาบัติเนือง ๆ จะให้ละอายรู้ระวังตัวต่อไป

๑๐. ปฐวีขนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุขุด แคะ แงะ ง้าง คุ้ย ขีด เขียนแผ่นดิน ด้วยจอบ เสียม มีด ไม้ เล็บมือ เล็บเท้า โดยที่สุดแกล้งถ่ายปัสสาวะให้พุ่งลงเซาะดินให้เป็นรอยแตกละลาย แม้ว่าดินที่ขุดใส่ไว้ในที่ต่าง ๆ ตั้งไว้กลางแจ้ง ฝนตกทับล่วง ๔ เดือนแล้ว ขุดเองหรือบังคับใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่จะให้ผู้อื่นขุดโดยเลศ พอให้สังเกตว่า “ท่านจงรู้ที่นี้” ไม่มีโทษ

จบมุสาวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗