แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา อนุสติ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา อนุสติ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันพฤหัสบดี




อเจลก, อเจละ    naked ascetic 
อเสขะ    adept 
อโทสะ, อพยาบาท    non-hate; non-hatred 
อโมหะ    non-delusion 
อโลภะ    non-greed 
อกุศล    unprofitable (adj)
อกุศล    unskilful (adj)
อกุศล    unwholesome (adj)
อกุศลกรรม    unskilful action 
อกุศลกรรม    unwholesome action 
อคติ    prejudice 
อคติ    wrong course 
องค์    factor 
องค์, โวการ    constituent 
อตตกัลมถานิโยคุ    self-mortification; self-torment 
อติมานะ    arrogance 
อทินนาทาน    taking what is not given 
อทินนาทาน    stealing 
อทุกขมสุข, อุเบกขา- เวทนา    neither-pain-nor-pleasure 
อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา    resolution 
อธิกรณ์    legal question 
อธิจิตต์    higher mentality 
อธิจิตต์    higher thought 
อธิปไตย    predominance 
อธิปบาย (นัยประสงค์)    purport 
อธิปัญญา    higher wisdom 
อธิวจนะ, อธิพจน์    designation 
อธิศีล    higher morality 
อธิษฐาน, อธิมุติ    resolve 
อนภิชฌา    non-covetousness 
อนริยะ, อนารยะ    ignoble (adj) 
อนลสตา, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    industry 
อนวัชชกรรม    blameless action 
อนัตตตา    soullessness 
อนัตตา    not-self (adj)
อนัตตา    non-self; non-soul 
อนัตตา    soulless (adj)
อนันต์    infinite (adj) 
อนาคามิผล    Non-Returning, fruition of
อนาคามิมรรค    Non-Returning, path of
อนาคามี    Non-Returner 
อนาคาริก    homeless one 
อนาคาริยะ, ชีวิตอนาคาริก    homeless life 
อนิจจ์, อนิจจัง    transient (adj)
อนิจจตา    impermanence 
อนิจจตา    transience; transiency 
อนิจจะ, อนิจจัง    impermanent (adj)
อนิยต    undetermined offence 
อนิสสิต    independent (adj) 
อนุโมทนา    thanking 
อนุโยค    pursuit 
อนุโลม    conformity 
อนุโลม    forward order 
อนุโลม    forward order 
อนุตตระ    unsurpassed (adj)
อนุปัสสนา, อนุสติ    contemplation 
อนุปาทิเสสนิพพาน    Nibbàna without any remainder of existence 
อนุรักขนา    maintaining; maintenance 
อนุสติ    recollection 
อนุสนธิ    sequence 
อนุสัย    latent bias 
อนุสัย    latent tendency 
อนุสัย    underlying tendency 
อนุสาวนา    proclamation 
อนุสาสนี, สาสนะ    instruction 
อปจายนะ, คารวะ    reverence 
อปายโกศล    proficiency in knowing loss 
อปายโกศล    proficiency as to regress 
อพยาบาท    non-ill-will 
อภิชฌา    courteous speech
อภิญญา    direct knowledge 
อภิญญา    psychic power 
อภิญญา    superknowledge 
อภินิเวส    insistence 
อภิสมัย (การบรรลุ), สมาบัติ    attainment 
อภิสัมโพธิ, การตรัสรู้    Awakening 
อมตะ    deathless adj 
อมตะ    immortal (adj)
อมูฬหวินัย    verdict of past insanity 
อรติ, อนภิรติ (ความไม่ยินดี, เบื่อ หน่าย)    discontent 
อรยวินัย (แบบแผนของอารยชน)    noble discipline 
อรรถ    meaning 
อรรถกถา    commentary 
อรหัตต์, อรหัตตผล    Arahatship 
อรัญวาสี     forest-dweller 
อริยทรัพย์    noble treasure 
อริยทรัพย์    noble wealth 
อริยบุคคล    noble one 
อริยสัจจ์ ๔, จตุราริยสัจจ์    Noble Truths, the Four 
อริยสาวก    noble disciple 
อริยอัฏฐังคิกมัคค์,  อารยอัษฎางคิกมรรค    Noble Eightfold Path, the 
อริยะ    ariyan 
อริยะ, อารยะ    noble (adj)
อรูป    formless 
อรูป   immaterial (adj)
อรูปภพ, อรูปโลก    Immaterial Sphere 
อลัชชี    shameless (adj)
อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)    reincarnation 
อวิโรธนะ    non-obstruction 
อวิโรธนะ    non-opposition 
อวิชชา    ignorance 
อวิหิงสา    non-cruelty 
อสังขตะ    uncompounded; unconditioned (adj)
อสังขาริก    uninstigated (adj)
อสังขาริก    unprompted (adj)
อสูร, ยักษ์    demon 
อหังการ    I-making 
อหิงสา    harmlessness 
อหิงสา    non-injury 
อหิงสา, อวิหิงสา    non-violence 
อักขระ, พยัญชนะ    letter 
อัชฌัตติกายตนะ (อายตนะ ภายใน)    inner sense-sphere 
อัชฌาสัย, อธิมุติ    inclination 
อัญญา    final knowledge 
อัญญาณ    unknowing 
อัฏฐกะ (หมวดแปด)    octad 
อัตตภาวะ, อัตภาพ    individuality 
อัตตสัมมาปณิธิ    self-direction, right disposition in 
อัตตัญุตา    self-knowledge 
อัตตา, ตน, ตัวตน    self
อัตตา, อาตมัน    ego 
อัตตา, อาตมัน, ชีวะ    soul 
อัตถจริยา    benevolence 
อัตถะ  กัลยาณะ, บุญ    good (n) (adj)
อัตถะ, ปริโยสาน    goal
อัตถะ, อรรถ    aim 
อัตถิสุข (สุขเกิดจากความ มีทรัพย์)    ownership, the bliss of 
อันตราย, อันตรายิกธรรม    stumbling block 
อันตราย, อาทีนพ    danger 
อันตะ (ที่สุด, ความเข้าใจ หรือ ประพฤติเอียงสุด)    extreme 
อันตะ    end 
อัปปนาสมาธิ    attainment concentration 
อัปปมัญญา    illimitables 
อัปปมาท    heedfulness 
อัปปมาทะ, อาตาปะ (ความเพียร)    earnestness 
อัปปมาทะ, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    diligence 
อัปปิจฉตา, ความมักน้อย    simplicity 
อัพยากตะ, อัพยากฤต    undeclared 
อัพยากฤต    indeterminate (adj) 
อัสสาทะ    gratification 
อัสสาสะ (การหายใจเข้า)    breathing in 
อาเนญชา, อเนญชา    imperturbability 
อาโปธาตุ    fluid element 
อาโปธาตุ    cohesion, the element of
อาโรคยะ, กัลลตา    health 
อาการ    aspect 
อาการ    mode 
อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ    space 
อากาสานัญจายตนะ    infinity of space 
อากิญจัญญายตนะ    Nothingness, Sphere of
อาฆาต    malice 
อาจาร, จริยา, จรณะ, สมาจาร    conduct 
อาจารย์    teacher 
อาชชวะ    honesty 
อาชชวะ    integrity 
อาชีวะ    livelihood 
อาณา, อิสริยะ    authority 
อาทีนพ, ภัย    peril 
อานาปานสติ    mindfulness on breathing 
อานาปานะ, อัสสาสะ ปัสสาสะ    in- and out-breathing 
อานิสงส์    blessing 
อานิสงส์    advantage 
อานิสงส์    privilege 
อานิสงส์, อัตถะ, อรรถ    benefit  
อาบัติ    offence 
อาบัติถุลลัจจัย    grave offence 
อาบัติทุพภาสิต    wrong speech, offence of
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์    forfeiture, offence of expiation involving 
อาบัติปาจิตตีย์    expiation, offence of
อาบัติปาราชิก    defeat, offence involving 
อาบัติสังฆาทิเสส    formal meeting of the Order, offence entailing a
อาปัตติ เทศนา (การแสดงอาบัติ)    confession 
อามิส    carnalities 
อามิส    material things 
อามิสทาน    material gifts 
อามิสบูชา    material worship 
อายโกศล    proficiency as to progress 
อายโกศล    proficiency in knowing gain 
อายตนะ    sense-base 
อายตนะ    sense-field 
อายตนะ    sense-sphere 
อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์    sense-organ 
อายตนะ(ภายนอก)    sense-object 
อายุสังขาร    vital formation 
อารมณ์    object 
อารักขา    protection 
อารักขา; ชาคริยะ    watchfulness 
อาวัชชนะ   adverting 
อาวัตต์, อาวัตตนา, การกลับใจเปลี่ยน ศาสนา    conversion 
อาสนะ    seat 
อาสวะ    canker 
อาสวะ    intoxicant, mental 
อาสวะ    taint 
อาสา (ความหวัง, ใฝหา)    yearning 
อาหาร    nutrient; nutriment 
อิจฉา (ความอยาก)    longings 
อิฏฐะ (น่าปรารถนา)    agreeable 
อิตถีธุตตตา (ความเป็นนักเลงหญิง)    debauchery 
อิตถีภาวะ, อิตถินทรีย์    femininity 
อิทธิ, สัมปัตติ    success 
อิทธิบาท    road to power 
อิทธิบาท    accomplishment, basis of
อิทธิบาท    basis for success 
อิทธิปาฏิหาริย์    magical power 
อิทธิปาฏิหาริย์    supernormal power
อิทัปปัจจยตา    specific conditionality 
อินทรีย์    controlling faculty 
อินทรีย์    faculty 
อินทรียสังวร    control of the senses
อินทรียสังวร    restraint of the senses 
อิริยาบถ    deportment 
อิริยาบถ    posture 
อิสสา, ความริษยา    jealousy 
อิสสา, ความริษยา    envy 
อิสิ, ฤๅษี    seer 
อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา)    equanimity 
อุเบกขา    onlooking-equanimity onlooking-equanimity 
อุเบกขา    even-mindedness 
อุเบกขาเวทนา, อทุกขมสุข    indifferent feeling 
อุโบสถ, วัตร, การรักษา (ศีลเป็นต้น)    observance 
อุกเขปนียกรรม    suspension 
อุจเฉทวาท, อุจเฉททิฐิ    annihilationism 
อุชุกตา    rectitude 
อุชุกตา, อาชชวะ    straightness 
อุตุ    temperature 
อุทธัจจกุกกุจจะ    anxiety 
อุทธัจจกุกกุจจะ    flurry and worry 
อุทธัจจะ    agitation 
อุทธัจจะ, วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่าน)    distraction 
อุทธัจจะ, วิชัมภิตา    restlessness 
อุทาน, วจนะ    utterance 
อุบาสก อุบาสิกา    lay devotee 
อุบาสก, พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์    lay follower 
อุบาสก, อุบาสิกา    devotee, lay 
อุบาสก, คฤหัสถสาวก    lay disciple 
อุปจยะ    growth 
อุปจยะ    storing up 
อุปจารสมาธิ    neighbourhood concentration 
อุปจารสมาธิ    access concentration 
อุปธิ    essential of existence 
อุปธิ    substratum of rebirth 
อุปนาหะ    grudging 
อุปนาหะ    spite 
อุปบัติ    reappearance 
อุปปาทะ, อุบัติ    arising 
อุปมา    simile 
อุปสัมปทา, การอุปสมบท    ordination 
อุปัชฌาย์    preceptor 
อุปัฏฐาก, อุปฐาก    attendant 
อุปัฏฐาน (การบํารุง, เฝ้า, พยาบาล)    attendance  
อุปาทาน    assuming 
อุปาทาน    attachment 
อุปาทาน    clinging 
อุปาทาน    fixation 
อุปาทาน    grasping 
อุปาทายรูป    derivative matter 
อุปาทายรูป    derived materiality 
อุปาทินนะ, กรรมชะ    karmically acquired (adj) 
อุปาย    proficiency as to the means of success 
อุปายโกศล    proficiency of method 
อุปายะ, อุบาย, วิธี, ปโยคะ    means 
อุปายาส (ความผิดหวัง, ความคับแคนใจ)    despair 
อุปาหนา    sandals 
อุพภาร, อุทธาร (การรื้อ, การถอน, การเดาะ)    withdrawal 

๒.๕.๓.๒ วิธีเจริญสมาธิโดยใช้กรรมฐาน : อานาปานสติ /โอทาตกสิณ / อัปปมัญญา ๔

วิธีเจริญสมาธิโดยใช้กรรมฐาน
กรรมฐาน หมายถึง อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายหรือวิธีฝึกจิตเจริญปัญญา

กรรมฐาน มี ๒ คือ
๑. สมถกรรมฐาน : กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ เจริญสมาธิ
๒. วิปัสสนากรรมฐาน : กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา (พิจารณาความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวธรรม)

ในที่นี้ด้านสมถกรรมฐานจะยกตัวอย่าง อานาปานสติ, โอทาตกสิณ, อัปปมัญญา ส่วนด้านวิปัสสนาจะยกตัวอย่าง สติปัฏฐาน ๔ อย่างไรก็ตาม ในกรรมฐานทุกชนิดสามารถถือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาขึ้นอยู่กับแง่ด้านในการปฏิบัติ เช่น การฝึกอานาปานสติเพื่อให้เกิดสมาธิเป็นด้านสมถะ ฝึกแล้วพิจารณาความเกิดดับของสภาวธรรมที่เกิดขึ้นขณะกำลังเจริญอานาปานสติก็เป็นด้านวิปัสสนา เป็นต้น

๑. สมถกรรมฐาน
เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มี ๔๐ อย่าง ท่านแนะนำว่า แตกต่างกันโดยความเหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัย ความโน้มเอียงของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่าจริยา (จริต) ต่างๆ ถ้าเลือกได้ถูกกันเหมาะกัน ก็ปฏิบัติได้ผลดี และรวดเร็ว ถ้าเลือกผิด อาจทำให้ปฏิบัติได้ล่าช้า หรือไม่สำเร็จผล อย่างไรก็ตามอย่าถึงกับตายตัวทีเดียว พูดอย่างกว้างๆ กรรมฐานทุกอย่างก็เป็นประโยชน์ ช่วยข่มอกุศล และเกื้อหนุนกุศลธรรมได้ทั้งนั้น

“…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง” (สมาธิสูตร)

อานาปานสติ
“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานสงบไปได้โดยพลัน เปรียบเหมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉะนั้น” (เวสาลีสูตร)

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงอานาปานสติ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง, ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม ปลอดโปร่งจากโยคะ (โยคะ มี ๒ ความหมาย คือ กิเลส, ความเพียร) อานาปานสติอันภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ, ภิกษุเหล่าใดที่เป็นอรหันตขีนาสพ อานาปานสติ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ” (อิจฉานังคละสูตร)

อานาปานสติ เป็นวิธีเจริญสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก ทรงสนับสนุนบ่อยครั้ง และพระพุทธองค์เองก็ได้ทรงใช้เป็นวิหารธรรมมาก ทั้งก่อนและหลังตรัสรู้ ปฏิบัติได้สะดวก ร่างกายผ่อนคลายสบายในขณะปฏิบัติ ส่งเสริมสุขภาพ ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่าง ระหว่างอานาปานสติ กับวิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น โยคะ ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ “เป็นวิธีฝึกสติ” “ไม่ใช่ฝึกการหายใจ” คือ อาศัยลมหายใจ เป็นอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

วิธีปฏิบัติ
พึงทราบว่า ตัวอย่างวิธีปฏิบัติในที่นี้ เขียนตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ให้เห็นแบบแผนเดิม ผู้ปฏิบัติจะยักเยื้องไปอย่างอื่นอีกก็ได้ เช่น อย่างที่สำนักต่างๆในปัจจุบัน สอนให้ว่า พุทโธ แทนการนับเป็นต้น สาระอยู่ที่เป็นอุบายตรึงจิตไว้เท่านั้น

พึงหาสถานที่สงบสงัด นั่งในอิริยาบถที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบาย ไม่เมื่อยล้า และหายใจคล่องสะดวก โดยทั่วไปที่ได้ผลดีคือ นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง แต่สำหรับผู้ที่ไม่สะดวก ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ ให้ตัวตรงสบาย หรืออยู่ในอิริยาบถอื่นที่สบายพอดี ในช่วงแรกของการลงมือปฏิบัติ พระอรรถกถาจารย์ได้เสริมวิธีการนับเข้ามา เพื่อช่วยในการตรึงจิตได้ดี โดยเริ่มแรกให้นับเป็นคู่ๆ คือ หายใจเข้านับ ๑ หายใจออก นับ ๑ เรื่อยไปจนถึง ๕/๕ แล้วตั้งต้นใหม่ จาก ๑/๑ ไปจนถึง ๖/๖ เพิ่มทีละคู่จนนับจาก ๑/๑ จนถึง ๑๐/๑๐ แล้วย้อนกลับไปตั้งต้นที่ ๑/๑ ถึง ๕/๕ ใหม่อย่างนี้เรื่อยไป

ต่อมาให้นับเร็ว คือเมื่อลมหายใจเข้าออกปรากฏชัดดีแล้ว คราวนี้ไม่ต้องคำนึงถึงลมเข้าใน หรือออกนอก กำหนดแต่ลมที่มาถึงช่องจมูก แล้วนับจาก ๑ ถึง ๕ (ไม่ต้องนับเป็นคู่) ๑ ถึง ๖ เรื่อยไปจน ๑ ถึง ๑๐ แล้วเริ่มใหม่ เมื่อใช้การนับเร็ว กรรมฐานก็จะปรากฏต่อเนื่อง กำหนดนับอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าเมื่อใด แม้ไม่นับแล้ว สติก็ยังตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ คือลมหายใจเข้าออก (วัตถุประสงค์ของการนับ ก็เพิ่อให้สติตั้งอยู่ได้ในอารมณ์ ตัดความคิดฟุ้งซ่านภายนอกได้นั่นเอง)

เมื่อจิตอยู่กับลมหายใจโดยไม่ต้องนับแล้ว ก็หยุดนับเสีย ใช้สติตามลมหายใจอยู่ตรงจุดที่ลมกระทบ (ปลายจมูก หรือริมฝีปากบน) เปรียบเหมือนคนเลื่อยไม้ ตั้งสติไว้ตรงที่ฟันเลื่อยกระทบไม้เท่านั้น หาได้ส่ายตาไปตามหัวเลื่อย กลางเลื่อย ปลายเลื่อยไม่ แต่ทั้งที่ตามองอยู่ตรงที่ฟันเลื่อยกระทบไม้แห่งเดียว ฟันเลี่อยที่มาหรือไป เขาก็ตระหนักรู้ (ท่านว่าถ้าส่งจิตตามลมเข้าไป จะรู้สึกอึดอัด ถ้าส่งจิตตามลมออกไปข้างนอกจะฟุ้งซ่าน) ด้วยวิธีนี้ เมื่อกำหนดอารมณ์กรรมฐานเรื่อยไป นิมิตแห่งลมหายใจของผู้ปฏิบัติจะละเอียดยิ่งขึ้นไปตามลำดับ เมื่อผู้ปฏิบัติพยายามมีสติรักษาอารมณ์กรรมฐานนั้นไว้ (ซึ่งก็คือรักษาสมาธิด้วยนั่นเอง) มนสิการบ่อยๆ ให้เจริญงอกงาม ในที่สุด อัปปนาสมาธิ ก็จะเกิดขึ้น บรรลุปฐมฌาน

🔎อานาปานสติ เพิ่มเติม (ดูหัวข้อที่ ๑๐)

โอทาตกสิณ : กษิณสีขาว โดย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. สารานุกรมพระพุทธศาสนา)

สาธุชนผู้จะเจริญกสิณชนิดนี้ พึงขดไม้เป็นวงกลมกว้างโดยศูนย์ไส้สัก ๑๖ นิ้ว หรือราวนั้น พอตาจับได้ถนัด อย่าให้เล็กเกินจนนัยน์ตาจับเอาอื่นด้วย หรือใหญ่เกินไปจนนัยน์ตาจับไม่ทั่ววง เอาผ้าขาวอันบริสุทธิ์หุ้ม แล้วเอาวางห่างจากที่นั่งสัก ๒ ศอกคืบ หรือราวนั้น พอเพ่งดูถนัด อย่าให้ชิดเกินไปจนนัยน์ตาจับไม่ถนัด แล้วพึงนั่งเพ่งดูโดยอาการตามถนัด ตากำหนดจำกสิณนั้นใจนึกถึงสีว่า “โอทาตัง โอทาตัง” แปลว่า ขาว ขาว คุมนัยน์ตาอันแลเห็น กับใจอันนึก ให้อยู่ที่กสิณพร้อมกัน กิริยาที่ทำนี้เรียกว่า บริกรรม ดวงกสิณเรียกว่า บริกรรมนิมิต กิริยาที่นึกว่า “โอทาตัง โอทาตัง” เรียกว่า บริกรรมภาวนา นี้เป็นชั้น ๑ (บริกรรม แปลว่า ทำซ้ำๆ)

ครั้นทำในชั้นนี้ชำนาญแล้ว ถึงตั้งใจจำกสิณนั้นให้ติดตา ลองหลับตาดูในระหว่างๆ ถ้ายังไม่ติดตา ลืมตาดูใหม่ ในสมัยใดจำได้ติดตา หลับตาลง ดวงกสิณปรากฏในใจเหมือนแลเห็น ในสมัยนั้น นิมิตที่ปรากฏในใจนั้น เรียก อุคคหนิมิต แปลว่านิมิตที่จิตจำได้ หรือนิมิตติดตา กิริยาที่นึกนั้น เรียก บริกรรมสมาธิ ที่กล่าวว่าปรากฏในใจนั้น เช่นกับคนขลาดได้พบสิ่งที่น่ากลัวอันให้ตกใจ หรือคนที่ผูกพันอยู่ในสิ่งหนึ่งหลับตาลง ย่อมแลเห็นสิ่งนั้นติดตา แต่ท่านไม่จัดว่าเป็นอารมณ์ของกัมกัฏฐาน เพราะเป็นเหตุตกใจ หรือเป็นเหตุติดข้อง บริกรรมสมาธินี้เป็นชั้นที่ ๒

ครั้นในชั้นนี้ช่ำชองแล้ว พึงลองหลับตานึกถึงนิมิตนั้นขยายให้ใหญ่บ้างเล็กบ้าง แต่อย่าให้เสียส่วนตามสัณฐาน ตัวอย่างเช่น รูปถ่ายของมีขนาดต่างกัน แต่ส่วนแห่งอวัยวะนั้นๆของรูปทั้งปวงทุกชนิด คงสมกันกับกาย ในสมัยใด จิตจำนิมิตนั้นได้จนขยายออกหรือย่นเข้าได้ สมัยนั้นนิมิตนั้นเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต แปลว่านิมิตเทียบเคียง ภาวนานั้นเรียกว่า อุปจารภาวนา นี้เป็นชั้นที่ ๓

ผู้ทำได้แม่นยำจนถึงชั้นนี้แล้ว บำเพ็ญภาวนาต่อไปจนเข้าองค์กำหนดชั้นต้น (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) จัดได้ว่าบรรลุปฐมฌาน เป็นสมาธิแน่นแฟ้น อัปปนาสมาธินี้เป็นชั้นที่ ๔

ผู้ศึกษาในกัมมัฏฐานไม่ควรมุ่งเฉพาะคุณที่สูงอย่างเดียว ควรมุ่งเฉพาะคุณที่เป็นวิสัยของตน พึงเจริญกัมกัฏฐานอันเป็นที่สบายแก่ตน เช่น คนสามัญปรารถนาฐานันดรเป็นมหาอำมาตย์ จะได้สมหวังนั้นเทียวหรือถ้าไม่ได้ พยายามนั้นก็ไม่มีผล ใช้ในทางอื่นยังจะดีกว่า เพราะเหตุนั้น ต้องรู้จักกำลังของตน ทั้งแลเห็นช่องทางก่อน อุปมานี้ฉันใด ผู้จะเจริญกัมมัฏฐานก็พึงประพฤติฉันนั้น ไม่ควรจะละเลยคุณเบื้องต่ำ ซึ่งตนควรจะถือเอาได้ก่อน แม้แต่เพียงในชั้นบริกรรม ต่อมาในสมัยใด คุมจิตไว้ที่กสิณแห่งเดียวได้ ไม่คิดพล่านในทางอื่น ได้ให้ความแช่มชื่นไม่อึดอัดเบื่อหน่าย ในสมัยนั้น จัดว่าเป็นอันสำเร็จผลที่มุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนั้น


อัปปมัญญา ๔
กรรมฐาน อีกชนิดหนึ่งที่ท่านสนับสนุนให้ปฏิบัติ ได้แก่ อัปปมัญญาเจโตวิมุตติ คือ การเจริญสมาธิด้วยการแผ่เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิต ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วไปหมด ไม่จำกัดขอบเขต ไม่มีประมาณ จนจิตน้อมดิ่งไปในคุณธรรมนั้นๆ เกิดอัปปนาสมาธิ

ตามหลักท่านให้เจริญเมตตา ไปตามลำดับ ดังนี้
๑. ตนเอง : เพื่อเป็นสักขีพยานว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด ผู้อื่นก็ฉันนั้น
๒. ผู้เป็นที่รัก : เพราะเจริญได้ง่าย
๓. ผู้ที่เป็นกลางๆ
๔. ศัตรู

เมื่อชำนาญแล้ว ก็ไม่ต้องแบ่งแยกกลุ่ม แผ่ออกไปโดยไม่มีขอบเขต

“พึงแผ่ไม่ตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มารดาถนอมบุตรน้อยคนเดียวผู้เกิดจากตน แม้ด้วยยอมสละชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตาไม่จำกัดในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น” (กรณียเมตตสูตร)

🔎อัปปมัญญา ๔ เพิ่มเติม

ข้อควรรู้เพิ่มเติมสำหรับกรรมฐานต่างๆ โดย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. สารานุกรมพระพุทธศาสนา)

บุคคลผู้มีถีน มิทธะ (ความหดหู่ เซื่องซืม) เป็นเจ้าเรือน ควรเจริญอนุสติกรรมฐาน พิจารณาความดีของตนบ้าง (เช่น มีศีลดี มีความเอื้อเฟื้อ นิยมให้ทาน) พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง เพื่อให้มีแก่ใจหวนอุตสาหะ เพราะความก้าวไปข้างหน้า เป็นคู่ปรับกับความหดหู่เซื่องซึม
บุคคลราคะจริต ผู้มีกามฉันท์ เป็นเจ้าเรือน ควรเจริญอสุภกรรมฐาน หรือ กายคตาสติ
บุคคลผู้มีอุทธัจจะ กุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ) เป็นเจ้าเรือน ควรเพ่งกสิณ หรือ มรณานุสติ
บุคคลผู้มีวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นเจ้าเรือน ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็นอยู่อย่างไร

ในบุคคลผู้เดียว นิวรณ์เหล่านี้อาจเข้าครอบงำต่างคณะ ต่างสมัย พึงเจริญกรรมฐานให้เหมาะสม

ข้อสำคัญ พึงทราบว่า กรรมฐานที่ให้มองเห็นอะไรๆเป็นอสุภะ เป็นปฏิกูล ไม่สวยไม่งาม (อสุภกรรมฐาน ปฏิกูลมนสิการ) เรียกว่าอยู่ขั้นสมถะ ยังมองไปตามสมมติบัญญัติ เพียงแต่ถือเอาสมมติในแง่ที่จะมาใช้แก้กิเลสของตน ส่วนวิปัสสนามองเห็นตามสภาวะแท้ๆ ตรงตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามเหตุปัจจัย เรียกว่า ตามเป็นจริงในขั้นปรมัตถ์ ที่สิ่งทั้งหลาย ไม่มีงาม หรือไม่งาม ไม่มีสวย ไม่มีน่าเกลียด

อรรถกถาเมตตสูตร

“ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต, กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐานมีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณเป็นต้น สำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนพุทธิจริต”



วันอังคาร

อนุสติ ๑๐ หน้า ๒

กลับไป อนุสติ ๑๐ หน้าแรก

๕. จาคานุสสติ 
จาคานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ไม่โอ้อวด ไม่ตระหนี่ ไม่เอาหน้าหรือหวังชื่อเสียง เล็งเห็นคุณของการบริจาค องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีเจตนาในการบริจาคเป็นอารมณ์

การเจริญจาคานุสติ ผู้บริจาคทานต้องถึงพร้อมด้วยคุณความดี ๓ ประการ คือ
    ๑. วัตถุที่บริจาคทานเป็นสิ่งที่ได้มาโดยชอบ
    ๒. มีจิตที่ตั้งไว้ดี เป็นกุศลตั้งแต่ก่อนบริจาค ขณะบริจาค และเมื่อบริจาคแล้ว
    ๓. เป็นการบริจาคให้พ้นจากความตระหนี่ และตัณหา มานะ ทิฐิ

เมื่อบริจาคแล้วต้องสละให้ได้ บางคนบริจาคทานไปแล้วไม่พอใจที่ผู้รับไม่ใช้ของที่ตนบริจาคหรือไม่พอใจที่ผู้รับนำของนั้นไปให้ผู้อื่นต่อ เรียกว่าสละแล้วไม่พ้น สละไม่หลุด หรือบางคนบริจาคทานแล้วไม่พอใจเพราะมีคนบริจาคมากกว่าตน หรือบริจาคทานที่ประณีตกว่าตน บริจาคโดยหวังผลตอบแทน เช่น หวังโภคสมบัติ หวังสวรรค์สมบัติ ไม่จัดเป็นจาคานุสสติ เพราะเมื่อระลึกขึ้นมาไม่เป็น

การชำระจิต
การบริจาคทาน ที่เป็นทานบารมี เป็นปัจจัยอุปการะ แก่บารมีอื่น เช่น ศีลบารมี เป็นต้น ทานบารมีเป็นการชำระจิตในเบื้องต้น การสละมีตั้งแต่ สละวัตถุสิ่งของ อวัยวะ เลือดเนื้อ ชีวิต ดังพระเวสสันดรเป็นแบบอย่าง ผู้ปฏิบัติเมื่อระลึกอยู่เนืองๆ ถึงการบริจาคของตน ด้วยอำนาจแห่งคุณ มีความเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่ เป็นต้น จะทำให้จิตไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ รบกวน การคำนึงนึกถึงอย่างนี้แหละ ได้ชื่อว่าจาคานุสสติ ต่อไปก็เริ่มต้นภาวนา ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้:-มนุสสัตตัง สุลัทธัง เม ยวาหัง จาเค สทา รโต มัจเฉรปริยุฏฐาย ปชาย วิคโต ตโต ฯ

ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ในบรรดาคนทั้งหลาย ที่มีมัจฉริยะก่อกวนกำเริบด้วยการหวงแหนอยู่นั้น แต่เรานั้นมีความยินดีปลื้มใจอยู่แต่ในการบริจาคทาน โดยปราศจากมัจฉิรยะลงได้ การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ดีจริงหนอ .

การระลึกถึงคุณแห่งการบริจาค จิตจะระลึกน้อมไปถึงคุณแห่งการบริจาคมากประการ ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น

อานิสงส์ของจาคานุสสติ คือ
๑. ย่อมน้อมไปในการสละที่ยิ่ง ๆ ขึ้น
๒. มีอัธยาศัยไม่โลภ
๓. อยู่อย่างไม่มีทุกข์
๔. เป็นที่รักของผู้อื่น
๕. ไม่สะทกสะท้านในกลุ่มคน
๖. มากไปด้วยปีติและปราโมช
๗. เข้าถึงเทวโลก

จบ จาคานุสสติ

๖. เทวตานุสสติ 
เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงกุศลกรรมของตน มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ที่ตนมีแล้วเปรียบเทียบกับเทวดาว่าเทวดาที่ได้เกิดในเทวโลกมีความบริบูรณ์ในสุขในสมบัติต่างๆ เพราะเมื่ออดีตชาติเทวดาก็ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แม้ตัวของเราเองก็มีคุณธรรมเหล่านั้นเช่นเดียวกัน องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นอารมณ์

วิธีเจริญเทวตานุสสติ จะต้องอยู่ในสถานที่เงียบเหมาะกับการปฏิบัติ และระลึกถึงความเป็นไปของเทวดาและพรหมทั้งหลายว่า ขณะที่ท่านเหล่านั้นยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ท่านเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วยธรรมอันดีงาม มีสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะและมี สัปปุริสธรรม ๗ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ ปัญญา ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นเมื่อตายลงก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพอันดีงามเหล่านี้ตนก็มีอยู่เหมือนกัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดูอยู่อย่างนี้เนืองๆ แล้วก็บังเกิดความโสมนัสใจ การเจริญเทวตานุสสติมีหลายสิ่งให้ระลึกถึง ฌานจึงไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น

อานิสงส์ของเทวตานุสติ คือ
๑. เพิ่มพูนคุณธรรม ๕ ประการ คือ
    - ศรัทธา มีความเชื่อในการกระทำความดี
    - ศีล มีความประพฤติดีทางกายวาจา
    - สุตะ ได้ยินได้ฟังได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
    - จาคะ มีการบริจาค เสียสละ ให้ทาน
    - ปัญญา มีการเพิ่มพูนความรู้ด้วยการคิด ฟัง ภาวนา
๒. ได้รับสิ่งที่เทวดาในสวรรค์ปรารถนา
๓. เป็นสุขในการรอเสวยผลของบุญ
๔. เคารพตัวเอง
๕. เทวดาในสวรรค์นับถือ
๖. สามารถปฏิบัติสีลานุสสติ และจาคานุสสติได้ด้วย
๗. อยู่เป็นสุข
๘. ตายไปย่อมเข้าถึงเทวโลก

จบ เทวตานุสสติ

๗. อุปสมานุสสติ 
อุปสมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยระลึกถึงคุณต่างๆ ของพระนิพพาน เช่น นิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ดับกิเลส ดับราคะ โทสะ โมหะ ดับกองทุกข์ คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศกเศร้าต่างๆ นิพพานทำลายวัฏฏสงสาร ถอนความอาลัยรักใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์

วิธีเจริญอุปสมานุสสติ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณศัพท์ที่พรรณนาถึงคุณของพระนิพพานมี ๒๙ ประการให้ดีเสียก่อน จึงจะทำการเจริญอุปสมานุสสตินี้ได้

คุณของพระนิพพานมี ๒๙ ประการ คือ
๑. มทนิมมทโน พระนิพพาน เป็นธรรมที่ย่ำยีความมัวเมาต่างๆ คือ ความมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ และบัญญัติต่างๆ
๒. ปิปาสวินโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์
๓. อาลยสมุคฆาโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์
๔. วัฏฏูปัจเฉโท พระนิพพาน เป็นธรรมตัดเสียซึ่งการเวียนไปในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด
๕. ตัณหักขโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่สิ้นตัณหา
๖. วิราโค พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากราคะ
๗. นิโรโธ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ดับตัณหา
๘. ธุวัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ
๙. อชรัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความแก่
๑๐. นิปปปัญจัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ทำให้วัฏฏสงสารกว้างขวาง
๑๑. สัจจัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่มีความจริงแน่นอน
๑๒. ปารัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ข้ามพ้นฝั่งวัฏฏทุกข์
๑๓. สุทุททสัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ผู้มีปัญญาน้อยย่อมเห็นได้ยาก
๑๔. สิวัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สบาย ปราศจากกิเลส
๑๕. อมตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความตาย
๑๖. เขมัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากภัย
๑๗. อัพภุตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง
๑๘. อณีติกัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีภัยอย่างร้ายแรง ที่นำความเสียหายมาสู่
๑๙. ตาณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ช่วยรักษาสัตว์ ไม่ให้ตกอยู่ในวัฏฏสงสาร
๒๐. เลณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่หลบภัยต่างๆ
๒๑. ทีปัง พระนิพพาน เป็นเกาะที่พ้นจากการท่วมทับของโอฆะทั้ง ๔
๒๒. วิสุทธัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่บริสุทธิ์จากกิเลส
๒๓. วรัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สัปปุรุษทั้งหลายพึงปรารถนา
๒๔. นิปุณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุขุมละเอียด
๒๕. อสังขตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔
๒๖. โมกโข พระนิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากกิเลส
๒๗. เสฏโฐ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ควรสรรเสริญโดยพิเศษ
๒๘. อนุตตโร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่งหาที่เปรียบมิได้
๒๙. โลกัสสันโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุดสิ้นแห่งโลกทั้ง ๓

เมื่อรู้ถึงคุณของพระนิพพานด้วยใจจริงแล้ว ต่อไปก็เริ่มต้นภาวนา ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้:-ยาวตา ภิกขเว ธัมมา สังขตา วา อสังขตา วา วิราโค เตสัง ธัมมานัง อัคคมักขายติ, ยทิทัง มทนิมมทโน , ปิปาสวินโย, อาลยสมุคฆาโต , วัฏฏูปจฺเฉโท , ตัณหักขโย , วิราโค, นิโรโธ , นิพพานัง ฯ 
ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่ถูกปรุงแต่งและไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ที่ชื่อว่าสังขตะและอสังขตะ มีอยู่ ธรรมใดเป็นสภาพที่ย่ำยีความมัวเมาต่างๆ บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณ อารมณ์ ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์ ตัดเสียซึ่งการเวียนไปในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด ที่สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากราคะ ที่ดับแห่งตัณหา และพ้นจากตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดนี้ ตถาคตพึงกล่าวว่าเป็นธรรมอันประเสริฐอย่างยอดยิ่ง ให้พิจารณาอย่างนี้อยู่เนืองๆ

การปฏิบัติจะ ระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยตามที่ได้แปลไว้นั้นก็ได้ หรือจะระลึกในคุณพระนิพพาน ๒๙ ประการ มี มทนิมมทโน เป็นต้น ก็ได้ ความสำคัญอยู่ที่ผู้ระลึกจะต้องรู้ถึงความหมายของศัพท์นั้นๆ ไปด้วย การเจริญอุปสมานุสสติ มีคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้น พระนิพพานเป็นปรมัตถธรรมโดยเฉพาะที่นอกจาก จิต เจตสิก รูป ฉะนั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับสังขตธรรมทั้งปวงที่เป็นรูปและนาม เมื่อว่าโดยธรรมที่เป็นภายในและภายนอกแล้ว พระนิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียว ฉะนั้น พระนิพพานนี้จึงมิใช่เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ภายในร่างกายของสัตว์โดยความเป็นแก่นสาร

ผู้ที่จะเจริญอนุสสติ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น จนถึงอุปสมานุสสติ ให้สมบูรณ์อย่างถี่ถ้วนได้นั้นคงทำได้แต่พระอริยบุคคล สำหรับปุถุชนนั้นจะเจริญให้ได้ดีอย่างสมบูรณ์นั้นยังทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม

ถ้าเป็นผู้ที่มีสุตมยปัญญาอันสำเร็จมาจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถระลึกไปในพระคุณนั้นๆ ได้ด้วยดี จิตใจก็จะบังเกิดความเลื่อมใสในอารมณ์กรรมฐานนี้ได้เช่นกัน

อานิสงส์ของอุปสมานุสสติ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. มีความสงบ
๔. มีหิริโอตตัปปะ
๕. มีความเลื่อมใส
๖. เป็นที่นับถือของคนทั่วไป
๗. อยู่เป็นสุข
๘. มีกิริยาอ่อนน้อม
๙. จิตหยั่งในพระนิพพานเป็นคุณ
๑๐. สามารถทำความปรารถนาให้สำเร็จ หากไม่ได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ก็จะไปสู่สุคติ

จบ อุปสมานุสสติ


๘. มรณานุสสติ 
มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตาย เป็นอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีการระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความตาย หรือมรณะ มี ๔ ชนิด คือ
๑. สมุทเฉทมรณะ คือ การปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ตายครั้งเดียวเป็นการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
๒. ขณิกมรณะ คือ การดับของสังขาร รูปนามทุกขณะ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป (อุปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ) เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัยก็ยังเกิดดับสืบต่อไป
๓. สมมุติมรณะ คือ ความตายที่ชาวโลกสมมติกัน เช่น นาฬิกาตาย รถตาย ต้นไม้ตาย เป็นต้น
๔. ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ ความตายในชาติหนึ่ง เมื่อชีวิต รูปนาม ดับสิ้นลงไป

แบ่งความตายโดยกาลเวลาเป็นเกณฑ์ มี ๒ อย่าง คือ
๑. อกาลมรณะ ตายก่อนเวลา คือ ตายในเวลาที่ไม่ควรจะตาย เป็นการตัดช่วงเจริญวัยของชีวิต เพราะมีกรรมมาตัดรอนให้ตายแต่เยาว์วัยหรือ ตายเมื่อ ยังหนุ่มสาว เช่น เจ็บป่วยตาย ถูกฆ่าตาย เป็นต้น
๒. กาลมรณะ ตายไปตามกาลเวลา คือตายเพราะสิ้นอายุ ตายเพราะ สิ้นกรรม ทั้งกาลมรณะและอกาลมรณะ ย่อมนำมาซึ่งการนึกถึงการตายได้ ดังนี้

  • นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยทุกข์กังวล เช่น คิดถึงการจะสูญเสียบุตรอันเป็นที่รัก
  • นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยความกลัว เช่น ระลึกถึงความตายอย่างกะทันหันของบุตร
  • นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยอุเบกขา เช่น สัปเหร่อที่เคยชินกับความตายจนวางเฉยไม่รู้สึกสลดหรือสังเวชใจ
  • นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยปัญญา เช่น เมื่อระลึกถึงความตายแล้วเห็นว่าเป็นธรรมชาติของชีวิต ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด
วิธีการเจริญมรณานุสสติ ในการระลึกถึงความตาย ๔ ประการ ความตายที่ใช้ การเจริญมรณานุสสติ มีเฉพาะชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ เท่านั้น ส่วนสมุทเฉทมรณะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น เราจึงไม่สามารถเห็นได้ทั่วไป ขณิกมรณะ มีการเกิดดับเป็นไปทุกขณะ เรา ยังไม่สามารถเห็นความจริงของการเกิดดับนั้น สมมุติมรณะ ก็ไม่ทำให้เราเกิดความสังเวชใจ และการระลึกถึงความตายต้องระลึกถึงความตายที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญญาเท่านั้น เพราะถ้าระลึกถึงความตายด้วย ความทุกข์กังวล ความกลัว หรือเห็นความตายแล้ววางเฉย ไม่ปลงธรรมสังเวช อย่างนี้ไม่สามารถกำจัดทุกข์ได้

การเจริญมรณานุสสติ ไม่ใช่พร่ำบริกรรมท่องบ่นว่า “ตายๆๆๆ” โดยไม่ได้กำหนดพิจารณา แต่ต้องพิจารณาว่า ความตายเป็นสิ่งที่ต้องประสบอย่างแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ตัวเราก็จะต้องตาย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงอำนาจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยวิชชาและ จรณะ พระโมคคัลลาน์เถระผู้ทรงฤทธิ์ เป็นต้น ก็ยังไม่มีใครรอดพ้นความตายไปได้ ชีวิตนั้นไม่มีนิมิตหมายว่าจะตายเมื่อไร เป็นโรคอะไรตาย ตายเวลาใด สถานที่ใด ไม่มีใครรู้ได้คนที่จะอายุยืนถึง ๑๐๐ ปีมีน้อยนัก จึงไม่ควรประมาทมัวเมาในชีวิต ควรขวนขวายหาทางดับทุกข์ให้สำเร็จพระนิพพาน เหมือนคนที่ไฟไหม้ศีรษะต้องหาทางดับไฟให้ได้โดยเร็ว

พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญผู้ที่
เจริญมรณานุสสติ ทุกลมหายใจว่าเป็นผู้ไม่ประมาทจะเป็นผู้สิ้นกิเลสอาสวะได้เร็ว การเจริญมรณานุสสติไม่สามารถให้ได้ฌาน ได้แต่เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น มรณานุสสติช่วยเตือนสติไม่ให้ประมาทในชีวิต ให้เร่งสร้างความดี เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลอื่นๆ ต่อไป แต่มรณานุสสติก็เป็นสิ่งทวนกระแสความรู้สึกของคนทั่วไป เพราะคนกลัวความตาย ไม่ชอบการพลัดพราก แม้เพียงเอ่ยถึงความตาย ก็รู้สึกพรั่นพรึง เห็นเป็นลางร้าย จึงเป็นกรรมฐานที่เจริญได้ยาก

อานิสงส์ของผู้ที่เจริญมรณานุสสติ คือ
๑. เป็นผู้ขวนขวายในกุศลธรรม สนใจ ใฝ่ใจในธรรมชั้นสูง
๒. เป็นผู้ไม่ชอบความชั่ว หลีกเลี่ยงความชั่ว
๓. ไม่สะสมสิ่งของที่เกินความจำเป็น
๔. คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง
๕. ละความไยดีในชีวิตเสียได้
๖. อยู่เป็นสุข
๗. ไม่กลัวตาย
๘. ไม่หลงสติในเวลาตาย
๙. หากยังไม่สำเร็จพระนิพพานก็จะไปสู่สุคติ

จบ มรณานุสสติ

๙. กายคตาสติ 

กายคตาสติ หมายความว่า การระลึกถึงลักษณะอาการของกายส่วนต่างๆ ๓๒ ประการ หรือเรียกว่าโกฏฐาส ๓๒ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีโกฏฐาส เป็นอารมณ์ คำว่า กาย แปลว่า กอง หมายถึงกองของสิ่งประกอบ ๓๒ อย่าง มีดังนี้
๑. ผม (เกสา)            ๒. ขน (โลมา)
๓. เล็บ (นขา)            ๔. ฟัน (ทันตา)     
๕. หนัง (ตโจ)            ๖. เนื้อ (มังสัง)
๗. เอ็น (นหารู)            ๘. กระดูก (อัฐิ)
๙. เยื่อในกระดูก (อัฐิมิญชัง)            ๑๐. ไต (วักกัง)
๑๑. หัวใจ (หทยัง)            ๑๒. ตับ (ยกนัง)
๑๓. พังผืด (กิโลมกัง)            ๑๔. ม้าม (ปิหกัง)
๑๕. ปอด (ปัปผาสัง)            ๑๖. ไส้ใหญ่ (อันตัง)
๑๗. ไส้น้อย (อันตคุณัง)            ๑๘. อาหารใหม่ (อุทริยัง)
๑๙. อาหารเก่า (กรีสัง)            ๒๐. สมอง (มัตถเก มัตถลุงคัง)
๒๑. น้ำดี (ปิตตัง)            ๒๒ . น้ำเสลด (เสมหัง)
๒๓. น้ำหนอง (ปุพโพ)            ๒๔. น้ำเลือด (โลหิตัง)
๒๕. น้ำเหงื่อ (เสโท)            ๒๖. น้ำมันข้น (เมโท)
๒๗. น้ำตา (อัสสุ)            ๒๘. น้ำมันเหลว (วสา)
๒๙. น้ำลาย (เขโฬ)            ๓๐. น้ำมูก (สิงฆานิกา)
๓๑. น้ำไขข้อ (ลสิกา)            ๓๒. น้ำมูตร (มุตตัง)

หมายเหตุ ข้อ ๒๐ มัตถลุงคัง(สมอง) นี้เดิมทีนั้นในพุทธภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมบท (มัตถลุงคัง)สมอง ไว้ในบท อัฏฐิมิญชัง(เยื่อในกระดูก) แล้ว ต่อมาปฐมสังคีติการกาจารย์ทั้งหลายได้ แยกบทมัตถลุงคัง จากบท อัฏฐิมิญชัง มาโดยเฉพาะ โดยนำมาต่อจากบท กรีสัง(อาหารเก่า) เพื่อจะได้ครบจำนวนปถวีฐาตุ ๒๐

การพิจารณาอาการ ๓๒ ประการนี้ ส่งผลสำเร็จได้ ๓ ทาง คือ
๑. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว พิจารณาสังขารร่างกายโดยความเป็นปฎิกูล ปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นโดยเป็นปฏิกูลนี้ สามารถบรรลุได้ถึงปฐมฌานเท่านั้น อย่างนี้จัดเป็น สมถกรรมฐาน
๒. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว ปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้น เป็นปฏิภาคนิมิตชนิดวัณณกสิณเมื่อเจริญแล้วสามารถบรรลุไปถึงปัญจมฌานได้ อย่างนี้จัดเป็น สมถกรรมฐาน
๓. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว ให้เห็นความเป็นธาตุ สมาธิก็ได้เพียงอุปจารสมาธิ หรืออุปจารภาวนาเท่านั้น

ถ้าท่านผู้เจริญกายคตาสติหาเหตุปัจจัยของความเป็นธาตุนั้น ก็จะสามารถ
บรรลุวิปัสสนาได้ เช่น พิจารณาธาตุใดที่แข็ง เหล่านั้นเป็นธาตุดิน สิ่งที่ไหลเอิบอาบเกาะกุม เหล่านั้นเป็นธาตุน้้า สิ่งใดคือความเย็นความร้อน เหล่านั้นเป็นธาตุไฟ สิ่งใดมีการพัดไหวไปมา เคลื่อนไปได้ เช่นลมหายใจเข้าออก เหล่านั้นเป็นธาตุลม อย่างนี้จัดเป็น วิปัสสนากรรมฐาน

วิธีการเจริญกายคตาสติ
๑. การเจริญกายคตาสติ สำหรับบุคคลที่มีปัญญาระดับกลาง ต้องใช้เวลาในการเจริญ ๕ เดือนกับอีก ๑๕ วัน บุคคลมี ๓ จำพวก คือ
    (๑) ติกขบุคคล ใช้เวลาน้อยกว่าที่กำหนด
    (๒) มัชฌิมบุคคล ใช้
เวลา ๕ เดือน ๑๕ วัน
    (๓) มันทบุคคล ใช้เวลามากกว่านั้น
๒. ผู้ที่จะเจริญกายคตาสติ ก่อนลงมือปฏิบัติต้องรู้กิจเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้ดีเสียก่อน กิจเบื้องต้นมีอยู่ ๒ ประการ คือ
    ๒.๑ อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่าง คือ
        ๒.๑.๑ การพิจารณาโดยการท่องด้วยวาจา
        ๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ
        ๒.๑.๓ การพิจารณาโดยความเป็นวรรณะ คือ สีดำ ขาว หรือแดง
        ๒.๑.๔ การพิจารณาโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน
        ๒.๑.๕ การพิจารณาโดยความเป็นที่เกิด (คือ เกิดอยู่ส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย)
        ๒.๑.๖ การพิจารณาโดยที่ตั้ง ( คือ ตั้งอยู่ในร่างกายส่วนใด)
        ๒.๑.๗ การพิจารณาโดยกำหนดขอบเขต (เช่น เส้นผม กำหนดเขตโดยผมนั้นหยั่งลงในศีรษะประมาณปลายเม็ดข้าวเปลือก และในรูที่เส้นผมหยั่งลงนั้น ไม่มีผม ๒ เส้นอยู่ด้วยกัน กำหนดเขตปลายผมนั้น สุดความยาวของเส้นผม
    ๒.๒ มนสิการโกสัลละ ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่าง คือ
        ๒.๒.๑ การพิจารณาไปตามลำดับ (ไม่กระโดดข้ามหมวด)
        ๒.๒.๒ การพิจารณาโดยไม่รีบร้อนนัก
        ๒.๒.๓ การพิจารณาโดยไม่เฉื่อยช้านัก
        ๒.๒.๔ การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น
        ๒.๒.๕ การพิจารณาโดยก้าวล่วงบัญญัติ
        ๒.๒.๖ การพิจารณาโดยทิ้งอาการ ๓๒ ที่ไม่ปรากฏโดยสี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขตตามลำดับ
        ๒.๒.๗ การพิจารณาในอาการ ๓๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงอัปปนา
        ๒.๒.๘ การพิจารณาโดย อธิจิตตสูตร
        ๒.๒.๙ การพิจารณาโดย สีติภาวสูตร
        ๒.๒.๑๐ การพิจารณาโดย โพชฌังคโกสัลลสูตร

อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติในอุคคหโกสัลละ ๗
๒.๑ อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่าง คือ
    ๒.๑.๑ การท่องด้วยวาจา
    ๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ

ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มต้นด้วยการท่องด้วยวาจาทุกคนไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือบุคคลที่ทรงพระไตรปิฎกก็ตาม เพราะว่าการท่องด้วยวาจานั้นเป็นเหตุสำคัญที่จะให้ได้รับความสะดวกสบายในการพิจารณาด้วยใจ

การเจริญกายคตาสตินี้ ผู้เจริญจะต้องบริกรรมด้วยการท่องในหมวดหนึ่งๆ โดยความเป็นอนุโลม ๕ วัน ปฏิโลม ๕ วัน และอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน การเจริญด้วยการท่องด้วยวาจาโดยใช้คำบริกรรมเป็นภาษาบาลี หรือภาษาไทยก็ได้ ท่องไปจนครบถ้วนถูกต้องตามหลัก(ทั้ง ๑๑ ลำดับ)แล้ว ไม่หมวดใดก็หมวดหนึ่งจะต้องปรากฏชัดเจนมากทางใจเมื่อหมวดใดหมวดหนึ่งปรากฏในเวลานั้น สัญญาความจำไว้ว่าเป็นสัตว์ เป็นชีวิต เป็นบุคคล ก็จะไม่เกิดขึ้น (แต่ถ้าไม่ปรากฏ สัญญาความจำว่าเป็นสัตว์ เป็นชีวิต เป็นบุคคลก็ยังมีอยู่)

๒.๑.๑ การท่องด้วยวาจา
ลำดับที่ ๑ หมวดที่ ๑
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า
หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๑ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๒ 
หมวดที่ ๒
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า
ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อรวมเวลาการท่องหมวดที่ ๒ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๓ คือหมวดรวมกันเป็น ๑๐ อาการ
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า
ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต, ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๔หมวดที่ ๓
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า
ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ
รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๓ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๖ หมวดที่ ๔
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า
สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่
รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๔ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๕ คือหมวดรวมกันเป็น ๑๕ อาการ
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า
ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๗ หมวดรวมกันเป็น ๒๐ อาการ
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๘ หมวดที่ ๕
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า
น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า
น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี
รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๕ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๙ หมวดรวมกันเป็น ๒๖ อาการ
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้ำมันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ นำดี มันสมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดรวม = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๑๐ หมวดที่ ๖
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า
น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า
น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า
น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร , น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา
รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๖ = ๑๕ วัน

ลำดับที่ ๑๑ หมวดรวมกันเป็น ๓๒ อาการ
👉 ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ไส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร
👉 ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา , น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ , ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ , หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม 
👉 ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร, น้ำมูตร น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย น้ำมันเหลว น้ำตา, น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม
รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ฉะนั นต้องท่องด้วยวาจารวม ๑๑ ลำดับ = ๑๖๕ วัน หรือรวมเป็น ๕ เดือน ๑๕ วัน

๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ
ตอนท่องด้วยวาจา เช่น การท่องในหมวดแรกว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดหนึ่งๆนั้น ผู้เจริญจะต้องท่องอย่างเดียวว่า “ผม ขน เล็บ ฟัน หนังๆๆ ” ไม่ต้องพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นธาตุ แต่อย่างใดทั้งสิ น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น หมายความว่า ถ้าผู้ปฏิบัติท่องบ่นและพร้อมกับพิจารณาโดยความเป็นสีแล้ว ขณะที่ทำการท่องบ่นพิจารณาอยู่นั้นหากวัณณนิมิต คือ สีปรากฏขึ้น ผู้เจริญก็อาจจะเข้าใจเพราะนิมิตที่เกิดขึ้นตรงกับการพิจารณา แต่ถ้านิมิตที่เกิด ขึ้นกลับเป็นปฏิกูลนิมิต คือ ความเป็นปฏิกูล หรือธาตุนิมิต คือ ความเป็นธาตุ(ปถวี อาโป เตโช) เช่นนี้ ผู้เจริญก็จะเข้าใจผิดไปว่า การเจริญนี้ผิดไปเสียแล้ว เพราะนิมิตที่ปรากฏนั้นไม่ตรงกับการพิจารณา ถ้าผู้ปฏิบัติท่องบ่นด้วยวาจาอย่างเดียว แล้วนิมิตที่เกิดจะเป็นวัณณนิมิตก็ดี ปฏิกูลนิมิตก็ดี ธาตุนิมิตก็ดี ผู้เจริญก็จะไม่เข้าใจผิด

ท่องด้วยวาจาแล้ววัณณนิมิตปรากฏ หรือ ปฏิกูลนิมิตปรากฏ หรือ ธาตุนิมิตปรากฏ ถ้าวัณณนิมิตปรากฏ ก็ให้เข้าใจว่า เพราะผู้ปฏิบัติมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญวัณณกสิณมาแต่ภพก่อนๆ วัณณนิมิตจึงปรากฏ ก็ให้รู้ไว้ว่าวัณณกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้นั้น ดังนั้นควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีต่อไป หรือปฏิกูลนิมิตปรากฏ ธาตุนิมิตปรากฏ ก็เป็นเพราะผู้ปฏิบัติมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญปฏิกูล หรือ ธาตุมาแต่ภพก่อนๆ ก็ให้รู้ว่าปฏิกูลกรรมฐาน
หรือ ธาตุกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาต่อไป

การที่วัณณนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดมีสีอยู่ ขณะที่กำลังท่องบ่นว่า เกสาๆ หรือ ผมๆ อยู่นั้น สีดำ สีขาว สีแดง อันเป็นวัณณนิมิตก็จะปรากฏได้ (ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นสีในทางใจด้วย)เพราะผมมีหลายสี ส่วน ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น วัณณนิมิตก็ปรากฏได้เช่นเดียวกัน ผลจากการเพ่งวัณณนิมิต คือให้ได้รูปฌาน ๕ เมื่อได้รูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌาน ๕ นั้นแล้ว ก็อาศัยรูปฌานนั้นๆ เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาต่อไปจนสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้

การที่ปฏิกูลนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดเป็นปฏิกูลอยู่แล้ว(ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลทางใจด้วย) ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล คือให้ได้ถึง รูปปฐมฌาน จากนั้นก็อาศัยปฐมฌานสมาธิเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจนกระทั่งสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้

การที่ธาตุนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาส ๒๐ มี ผม เป็นต้น จนถึง สมอง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปถวีธาตุ โกฏฐาสที่เหลือ ๑๒ มี น้ำดี เป็นต้น จนถึง น้ำมูตร จัดเป็นอาโปธาตุ (ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ในทางใจด้วย) ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไปนั้นได้เพียงอุปจารสมาธิไม่ถึงรูปฌาน จากนั้นก็อาศัยอุปจารสมาธินี้เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไป จนสำเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้

๒.๑.๓ – ๒.๑.๗ การพิจารณาโดยความเป็นสี รูปร่างสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และกำหนดขอบเขต
การพิจารณาโดยความเป็นสี รูปร่างสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และขอบเขต สามารถพิจารณาในอาการหนึ่งไปพร้อมกัน ดังนี้
๑. ผม นั้นมีสีดำ แดง ขาว มีสัณฐานยาวกลม เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งหุ้มกะโหลกศีรษะ สองข้างจดหมวกหู ข้างหน้าจดหน้าผาก ข้างหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของผมเบื้องต่ำเส้นหนึ่งๆ หยั่งลงในหนังหุ้มศีรษะเข้าไปประมาณเท่ากับปลายข้าวเปลือก เบื้องบนมีขอบเขตแค่อากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี ผมก็เป็นผม ไม่ใช่ขน ไม่ใช่เล็บ มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๒. ขน สีดำบ้าง เหลืองบ้าง มีสัณฐานดังรากตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่ในหนังทั่วตัว เว้นที่หนังศีรษะ และฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยรากของตนที่แยงเข้าในหนังหุ้มร่างกายประมาณเท่าไข่เหา เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นอยู่เส้นเดียว ไม่มีติดกัน ๒ เส้น มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย ขนก็เป็นขนไม่ใช่ ผม เล็บ ฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๓. เล็บ มีสีขาว มีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้ง ๒ ส่วน คือ เล็บมือเกิดอยู่ส่วนบน เล็บเท้าเกิดอยู่ส่วนล่าง ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบเขตกำหนดด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้าน ภายในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกันเล็บ ๒ อันติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย เล็บก็คือเล็บ เล็บไม่ใช่ผม ขน ฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๔. ฟัน ได้แก่ฟัน ๓๒ ซี่ ของผู้มีฟันเต็ม ฟันมีสีขาว มีสัณฐานต่างๆ คือ ฟันสี่ซี่ตรงกลางอยู่ด้านหน้า ข้างล่างเหมือนเม็ดน้ำเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลำดับบนก้อนดินเหนียว ฟันสี่ซี่นี้มีรากเดียว มีสัณฐานเหมือนดอกมะลิตูม ถัดจากฟันหน้าเข้าไปข้างละซี่มี ๒ ราก ๒ ง่าม มีสัณฐานเหมือนไม้ค้ำยันถัดไปฟันข้างละ ๒ ซี่ มี ๓ ราก ปลาย ๓ แง่ ถัดไปฟันข้างละ ๓ ซี่ มี ๔ ราก ปลาย ๔ แง่ นี้คือฟันแถวล่าง ส่วนฟันแถวบนก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ฟันเกิดอยู่ส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ ขอบเขต เบื้องต่ำกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ฟัน ๒ ซี่ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย ฟันก็คือฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๕. หนัง ที่หุ้มร่างกาย ถ้าเป็นส่วนผิวหนัง มีสีดำบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้าง ส่วนหนังหนานั้นมีแต่สีขาวอย่างเดียว มีสัณฐานเท่ากับร่างกาย เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตั้งอยู่โดยรึงรัดทั่วไปทั้งตัวขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่น ๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น บุคคลใดได้เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ดี หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายกันก็ดี ตกอยู่ในจานอาหารก็รังเกียจ หรือหากไม่ได้สระผมหลายวันก็จะมีกลิ่นที่น่ารังเกียจ เส้นผมเกิดบนศีรษะที่ชุ่มไปด้วยเลือดและน้ำเหลือง เป็นปฏิกูลน่าขยะแขยง 

นี้เป็นตัวอย่างของการพิจารณา ซึ่งผู้ปฏิบัติที่สนใจปฏิบัติจริง ๆ ต้องศึกษาต่อเพิ่มเติมจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ประโยชน์ของการพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็น สี สัณฐาน เป็นต้น
ปกติแล้วคนทั้งหลายเมื่อเห็นกันและกันแล้ว ก็จะสำคัญผิดถือว่าเป็นคนนั้นเป็นชาย คนนี้เป็น หญิง สวย ไม่สวย เป็นอยู่อย่างนี้เสมอไป จิตใจก็เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมี ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิเป็นต้น อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อได้พิจารณาผม ขน เล็บ เป็นต้น โดยความเป็นสี สัณฐาน ได้แล้ว ก็ทำให้ความเห็นผิดว่าเป็นหญิง ชาย สวย ไม่สวย ก็จะไม่เกิดขึ้น มีแต่สี หรือปฏิกูลนิมิต หรือ ธาตุนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งก็ปรากฏขึ้น จิตใจก็จะผ่องใสปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่จะให้ได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล

การพิจารณาอาการ ๓๒ โดยพิจารณาสี สัณฐาน เป็นการพิจารณาให้เห็น
ส่วนต่างๆ ของอาการ ๓๒ ยิ่งคิดยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นความแยกส่วน ตลอดจนเห็นความจริง นอกจากจะพิจารณาในอุคคหโกสัลละ ๗ แล้วยังมีขั้นตอนการพิจารณาอีก ๑๐ ข้อ

๒.๒ การพิจารณาโดยมนสิการโกสัลละ ๑๐ ขั้นตอน
๒.๒.๑ การพิจารณาไปตามลำดับ ภายหลังจากการศึกษาและปฏิบัติในอุคคหโกสัลละ ๗ ประการแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติไม่ต้องทำการท่องบ่นด้วยวาจา แต่ต้องทำการพิจารณาโกฏฐาส ๓๒ เหล่านั้นด้วยใจ โดยสี สัณฐาน ที่ตั้ง ที่เกิด ขอบเขต ให้ถูกตรงตามหลักแห่งข้อนี้ คือต้องพิจารณาไปตามลำดับ ไม่ลักลั่น ไม่กระโดดข้ามหมวด
๒.๒.๒ การพิจารณาโดยไม่รีบร้อนนัก ขณะกำลังพิจารณาไปโดยลำดับอยู่นั้น อย่าพิจารณาให้เร็วนัก เพราะจะทำให้ สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสนั้นจะปรากฏไม่ชัด
๒.๒.๓ การพิจารณาโดยไม่เฉื่อยช้านัก ขณะกำลังพิจารณาไปโดยลำดับอยู่นั้น อย่าพิจารณาให้ช้านัก เพราะจะทำให้ สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสนั้น จะปรากฏโดยความเป็นของสวยงาม ทำให้กรรมฐานไม่ถึงที่สุด คือไม่ให้ได้ฌาน มรรค ผล นั่นเอง
๒.๒.๔ การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น การปฏิบัติกรรมฐานนั้น เปรียบเหมือนกับคนที่เดินไปใกล้เหวซึ่งมีช่องทางชั่วรอบเท้าเดียว จะต้องระวังอย่างที่สุดเพื่อไม่ให้พลาดตกลงไป ฉันใด ผู้ปฏิบัติต้องพยายามป้องกันความฟุ้งซ่านของจิตใจ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์กรรมฐานเช่นเดียวกัน
๒.๒.๕ การพิจารณาโดยการก้าวล่วงบัญญัติ ในขณะที่พิจารณาไปตามลำดับอยู่นั้น ได้ มีการพิจารณานามบัญญัติและสัณฐานบัญญัติอยู่ด้วย เพื่อจะให้ปฏิกูลนิมิตปรากฏ เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงนามบัญญัติคือ ผม ขน เป็นต้น และสัณฐานบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐูาน แต่อย่างใดอีก เปรียบเหมือนคนเห็นบ่อน้ำในป่าเวลาหาน้ำยาก จึงได้ทำเครื่องหมายเพื่อจำไว้จะได้สะดวกแก่การที่จะมาหาน้ำดื่มและอาบในครั้งต่อๆ ไป ครั้นมาบ่อยๆ เข้าก็ชำนาญในทางนั้นดีไม่จำเป็นที่จะต้องจำเครื่องหมายนั้นอีก เช่นเดียวกัน เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ผู้เจริญก็พึงก้าวล่วงบัญญัติ
๒.๒.๖ การพิจารณาโดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏโดย สีสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ไปตามลำดับ ในขณะที่พิจารณาไปตามลำดับ โดยอนุโลมตั้งแต่ ผม จนถึง สมอง พิจารณาตามลำดับโดยปฏิโลมตั้งแต่ สมอง จนถึง ผม ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตว่า โกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏไม่ชัด ก็ให้ละการพิจารณาโกฏฐาสอันนั้น หรือ หมวดนั้นไป แล้วพิจารณาโกฏฐาสอันอื่น หรือหมวดอื่นที่เหลือ ซึ่งมีการปรากฏชัดมากต่อไป และในระหว่างนั้นก็พึงสังเกตดูอีกว่าโกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏชัดกว่าก็ให้พิจารณาแต่โกฏฐาสนั้น หรือหมวดนั้น แล้วละทิ้งที่ไม่ค่อยชัดไป ให้คัดเลือกอย่างนี้เรื่อยไปจนเหลือโกฏฐาส ๒ และต่อจากนั้นก็สังเกตดูอีกว่าใน ๒ อย่างนั้น อันไหนปรากฏชัดมากกว่า ก็ให้พิจารณาอันนั้นละอันที่ปรากฏชัดน้อยไป การพิจารณาโกฏฐาสนี้ เมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ต้องถือเอาเพียงอันเดียว ไม่ได้ถือเอาทั้งหมด
๒.๒.๗ การพิจารณาโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอัปปนา เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาโดยการละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ชัดไปตามลำดับจนกระทั่งเหลืออันเดียว จากนั้นก็พิจารณาในโกฏฐาสอันนั้นจนถึงได้ฌาน ไม่ต้องพิจารณาโกฏฐาสที่ละทิ้งไปแล้วๆ นั้นอีก อันที่จริงแล้วการพิจารณาโกฏฐาสทั้ง ๓๒ ประการก็ยังผลให้ได้เข้าถึงอัปปนาเหมือนกัน ฉะนั้นการที่ต้องเจริญโกฏฐาสทั้ง ๓๒ ในระยะแรกนั้น ก็เพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ ประการ คือ
            ๑. ในขณะที่กำลังพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็นอนุโลม ปฏิโลม ในหมวดทั้ง ๖ ตามลำดับปฐมฌานอาจเกิดขึ้นก็ได้
            ๒. ถ้าหากว่าฌานไม่เกิด ก็จะได้พิจารณาคัดเลือกโกฏฐาสอื่นต่อไปว่า โกฏฐาสใดจะเหมาะ สมกับอัธยาสัยของตนที่สุด ตามหลักข้อที่ ๖
๒.๒.๘ พิจารณาจิต (อธิจิตตสูตร) (ตั้งแต่ข้อ ๒.๒.๘–๒.๒.๑๐ เป็นการพิจารณาตามในพระสูตร) ผู้ปฏิบ้ติต้องพิจารณาในนิมิตทั้ง ๓ คือ สมาธินิมิต จิตใจที่สงบ ปัคคหนิมิต ความพยายาม อุเบกขานิมิต ความวางเฉย พิจารณาดูว่าอย่างใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แล้วแก้ไขเพิ่มเติมนิมิตนั้นๆ ให้เสมอกัน จนกระทั่งสมาธิของตนขึ้นสู่อธิจิต คือ สมาธิที่มีกำลังยิ่งสามารถทำจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานได้ ทั้งนี้เพราะว่าถ้าสมาธินิมิตมาก ความเกียจคร้านย่อมเกิดขึ้น ถ้าปัคคหนิมิตมาก ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้น ถ้าอุเบกขานิมิตมาก ก็จะไม่ถึงฌาน มรรค ผล ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรใฝ่ใจในนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งให้มากเกินไป แต่ควรใฝ่ใจนิมิตทั้ง ๓ ให้เสมอกัน
๒.๒.๙ พิจารณาธรรมที่ปรากฏ (สีติภาวสูตร) พึงพิจารณาตามข้อธรรม ๖ ประการ คือ
            ๑. ย่อมข่มจิตใจในคราวที่ควรข่ม คือ จิตมีความเพียรมากไป
            ๒. ย่อมประคองจิตในคราวที่ควรประคอง คือ จิตมีการง่วงเหงา ท้อถอย หดหู่
            ๓. ย่อมปลอบจิตในคราวที่ควรปลอบ คือ จิตไม่ยินดีในการงาน
            ๔. ย่อมพักผ่อนจิตในคราวที่ควรพักผ่อน คือ จิตดำเนินอยู่ด้วยดีในอารมณ์กรรมฐาน ไม่มีการฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา ท้อถอย
            ๕. มีจิตใจน้อมไปในมรรค ผล
            ๖. มีความยินดีในพระนิพพาน

เมื่อพิจารณาตามข้อธรรม ๖ ประการแล้ว ถ้าข้อใดปรากฏแก่เรา ก็ให้แก้ไขโดยปฏิบัติตามหลักโพชฌงค์ ในข้อ ๒.๒.๑๐ ต่อไป
๒.๒.๑๐ ปฏิบัติโดยหลักโพชฌงค์(โพชฌังคโกสัลลสูตร) การปฏิบัติ คือ คราวใดจิตใจมีการง่วง เหงา ท้อถอย ไม่มีความเพียร ในคราวนั้นต้องอบรมธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น และคราวใดจิตใจมีความเพียรมากจนฟุ้งซ่านในคราวนั้นต้องอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น (ทบทวนโพชฌงค์)


ความลำบากในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน
ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นั้น อนุสสติ ๑๐ และ พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ยากกว่ากรรมฐานอื่นๆ เพราะเหตุว่าผู้ปฏิบัติจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อนจึงจะลงมือปฏิบัติได้ มิฉะนั้นจะปฏิบัติไม่ถูก แต่การเจริญ กายคตาสตินี้ยิ่งลำบากมาก เพราะว่าผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาวิธีเจริญกายคตาสติกรรมฐาน ตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการ เมื่อศึกษาและปฏิบัติตามแล้วก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น หลังจากนั้นก็ได้ฌาน มรรค ผล ต่อไป

สำหรับบุคคลที่ปฏิบัติตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ แล้วนิมิตไม่ปรากฏ ก็ต้องศึกษาและปฏิบัติตามนัยมนสิการโกสัลละ ๑๐ ประการต่อไป แล้วจึงจะได้นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง และได้ฌาน มรรค ผล ตามความปรารถนา ถึงแม้ว่าการปฏิบัติจะลำบากสักเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าได้นึกถึงอานิสงส์และคำยกย่องชมเชย ของท่านอรรถกถาจารย์ที่แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาแล้ว ชาวพุทธก็ควรยินดีพอใจในการปฏิบัตินี้โดยไม่ย่อท้อ อานิสงส์และคำยกย่องชมเชยนั้นมีดังนี้

อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยอาศัยการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้มีมากมาย นับจำนวนมิได้
๒. บุคคลใดทำการปฏิบัติกายคตาสติกรรมฐาน บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ ก็นับสงเคราะห์ว่าเป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น
๓. ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคอรรถกถาได้แสดงว่า การเจริญกายคตาสตินี้ จะมีได้เฉพาะในสมัยพุทธกาลเท่านั้น(หมายถึงในเวลาที่พุทธศาสนายังตั้งอยู่) ถ้าสิ้นพุทธศาสนาแล้วจะมีไม่ได้เลย แม้ว่าพวกเดียรถีย์ที่ตั้งตัวเป็นศาสดาทำการปฏิบัติเผยแผ่ลัทธิแก่ชนทั่วไปในสมัยใดๆก็ตาม ก็มิอาจรู้ถึงวิธีเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมิใช่เป็นวิสัยของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น หากแต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ว่า 

🔅ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อภิกษุได้เจริญแล้ว และเจริญติดต่อกันให้เพิ่มพูนทวีมากยิ่งขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชสลดใจอย่างใหญ่หลวงในกาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ในปัจจุบันภพนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความโปร่งใจอย่างใหญ่หลวงจากโยคะ ย่อมเป็นไปเพื่อมีสติสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า ย่อมเป็นไปเพื่อความเห็นในกายเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในภพนี้ทันตาเห็น ย่อมเป็นไปเพื่อท้าให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ พระนิพพาน และผลสมาบัติธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร ?
คือ กายคตาสตินี้เอง

🔅 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดประพฤติปฏิบัติกายคตาสติ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน บุคคลเหล่าใดมิได้ประพฤติปฏิบัติกายคตาสติ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือพระนิพพาน

🔅 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดพยายามปฏิบัติกายคตาสติจนสำเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน ไม่ผิดทางพระนิพพาน บุคคลเหล่าใดไม่พยายามปฏิบัติกายคตาสติให้สำเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน เสื่อมจากพระนิพพาน ผิดทางพระนิพพาน 


🙏หมายเหตุ กายคตาสติที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องชมเชย และท่านอรรถกถาจารย์ก็ยกย่องไว้ 
มิได้มุ่งหมายเฉพาะแต่ ๓๒ โกฏฐาสอย่างเดียว แม้อสุภะ ๑๐ อานาปานสติ การกำหนดอิริยาบถใหญ่น้อย การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ล้วนแต่จัดเข้าเป็นกายคตาสติด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่แจ้งไว้ในกายานุปัสสนาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร สำหรับกายคตาสติในอนุสสติ ๑๐ นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ ๓๒ โกฏฐาสเท่านั้น

จบ กายคตาสติ


๑๐. อานาปานสติ 
อานาปานสติ หมายความว่า สติที่เกิดขึ้นโดยมีการระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก อานะ คือลมหายใจเข้า อปานะ คือลมหายใจออก สติคือความระลึก ดังนั้น อานาปานสติหรืออานาปานัสสติ คือ การมีสติระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์

อานาปานสติ เป็นกรรมฐานหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ และเป็นสติปัฏฐานด้วย การเจริญอานาปานสติจึงเป็นไปได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า :- 🔅ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ ๗ เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์”

“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล อันพระโยคีเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน เปรียบเสมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อนให้อันตรธานไปสงบโดยพลัน ฉะนั้น

นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอานาปานสติว่าเป็นอริยวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) และตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า) นับว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่สำคัญยิ่ง พระพุทธองค์ทรงสนับสนุนให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติการเจริญอานาปานสติหากจะให้จิตสงบถึงระดับฌานต้องหาสถานที่ที่สงบสงัด เช่น เรือนว่าง ในถ้ำ โคนต้นไม้หรือในป่าที่ไม่มีผู้ใดหรือเสียงรบกวน เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์กับฌาน เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้วให้นั่งคู้บัลลังก์หรือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรงอย่าค้อมมาข้างหน้าหรือแอ่นไปข้างหลัง เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจรดกัน การนั่งในท่านี้มีผลดีคือทำให้ตัวตรง เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลมหายใจเดินสะดวก นั่งได้นาน สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้จะนั่งห้อยเท้า นั่งบนเก้าอี้ก็ได้ ให้เลือกเอาอิริยาบถที่นั่งได้สบายพอดี ผ่อนคลาย ไม่ฝืนเกินไป และเป็นท่านั่งที่ทำให้นั่งได้นาน เมื่อนั่งไปเรียบร้อยแล้วให้หลับตาลงเบาๆ อย่าเกร็ง ในการเริ่มแรกให้หายใจยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ ที่เรียกว่าหายใจเข้าให้เต็มปอด ให้จิตใจโปร่งสบาย ต่อไปก็ให้หายใจตามปกติธรรมดา คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกให้รู้ชัด รู้สึกตัวตลอดไม่หลงลืมหรือเผลอสติ เมื่อหายใจออกก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออก หายใจเข้าก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้า หายใจออกยาวก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น การกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ให้นับไปด้วย จะได้ไม่เผลอสติหรือลืมกำหนด

วิธีเจริญอานาปานสติ
ผู้ปฏิบัติพึงกำหนดสติหายใจออก กำหนดสติหายใจเข้า
๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
๓. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
๔. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
๕. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
๖. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
๗. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า
๘. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
๙. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า
๑๐. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
๑๑. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
๑๒. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
๑๓. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
๑๔. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
๑๕. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
๑๖. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืนหายใจเข้า

ในที่นี้ คำว่า สำเหนียก หมายความว่า มีสติกำหนดที่จุดลมหายใจกระทบ สำหรับคนจมูกยาวลมจะกระทบที่กระพุ้งจมูก สำหรับคนจมูกสั้นลมจะกระทบที่เหนือริมฝีปากบน เพราะส่วนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าออก ถ้ารู้การกระทบก็แสดงว่ามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ไม่ต้องพิจารณาลมที่เข้าไปแล้วหรือลมที่ออกไปแล้ว มีสติกำหนดรู้อยู่ ณ บริเวณจุดที่ลมกระทบเท่านั้น เพราะการที่พิจารณาตามลมที่เข้ามาหรือออกไปนั้นจะเป็นเหตุทำให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตก็จะกระสับกระส่าย ภาวะอย่างนี้เป็นโทษ การหายใจก็ไม่ควรหายใจแบบตั้งใจทำ เช่น หายใจยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป เพราะจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตจะกระสับกระส่าย สิ่งเหล่านี้เป็นโทษไม่ควรปฏิบัติ

ควรปฏิบัติไปตามสมควร คือ ไม่พากเพียรหนักหรือหย่อนเกินไป ถ้าหย่อนเกินไป ความหดหู่และเซื่องซึม(ถีนมิทธะ) ก็จะครอบงำ ถ้าพากเพียรมากเกินไปก็จะฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)

การเตรียมตัวขั้นพื้นฐานก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ
ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติควรศึกษาข้อปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ๔ ประการ ดังนี้
๑ . การนับลม การนับลมแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ
        ๑.๑ การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับช้าๆ ดุจคนตวงข้าวเปลือก การนับช้าๆ นั้นหมายความว่า ต้องนับแต่ลมหายใจเข้าหรือหายใจออกที่รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้น ส่วนลมหายใจที่ไม่รู้สึกชัดเจนทางใจให้ทิ้งเสีย ไม่ต้องนับ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็ควรกำหนดการหายใจเข้าออกอย่างช้าพอประมาณเพื่อจะได้กำหนดรู้ทันและนับถูก

ลมออกนับ ๑ ลมเข้านับ ๑
ลมออกนับ ๒ ลมเข้านับ ๒
ลมออกนับ ๓ ลมเข้านับ ๓

ให้นับเช่นนี้ จนถึง ๕,๕ แล้วเริ่มใหม่นับ ๑,๑ จนถึง ๖,๖ แล้วเริ่มใหม่นับ ๑,๑ ถึง ๗,๗ ..... เริ่มใหม่นับ ๑,๑ ถึง ๑๐, ๑๐ เมื่อถึง ๑๐ ,๑๐ แล้วย้อนกลับมานับที่ ๑,๑ ถึง ๕,๕ ใหม่ ดังนี้

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

        ๑. ๒ นับลมเข้าออกด้วยวิธีนับเร็ว ไม่ต้องเอาสติตามลมเข้าลมออก ให้เอาสติกำหนดการกระทบของลมที่กระพุ้งจมูก หรือที่เหนือริมฝีปากบน แล้วแต่ว่าจะรู้สึกชัดเจนที่ไหน การนับไม่ต้องนับเป็นคู่ ให้นับ ๑ ถึง ๕ แล้วเพิ่ม ๑ ถึง ๖ จนกระทั่งนับ ๑ ถึง ๑๐ และย้อนกลับมานับ ๑ ถึง ๕ ใหม่ จนสติแน่วแน่

๑, ๒, ๓, ๔, ๕,
๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖,
๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗,
๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘,
๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙,
๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐,

๑, ๒, ๓, ๔, ๕,

๒. การติดตาม เมื่อนับลมแล้ว ผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่อง อย่างนี้เรียกว่าการติดตาม (หมายถึงการมีสติติดตามรู้การกระทบของลมอยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าการติดตาม มิได้หมายถึงตามลมที่หายใจเข้าไปในท้องแล้ว หรือ ลมหายใจออก)

๓. การกระทบ เมื่อรู้แล้วว่าลมหายใจของเรานั้นกระทบ ณ จุดใด ก็ให้ทำสัญญาจำไว้ว่าลมหายใจของเราจะกระทบ ณ จุดนี้ อย่างนี้เรียกว่า รู้การกระทบ การปฏิบัติในอานาปานสติจะทิ้งการรู้การกระทบไม่ได้เลย เพราะว่าเมื่อนับลมหายใจตามวิธีการในข้อที่ ๑ แล้ว จนชำนาญก็ให้ทิ้งการนับลมหายใจได้ แต่ก็ต้องกำหนดรู้ลมหายใจโดยการกระทบอยู่ตลอด
๔. การตั้งมั่น เมื่อมีความชำนาญในการกระทบแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ทำให้มากให้มั่นคง และควรทำให้ปีติ สุข และธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในที่นี้ตั้งมั่นด้วย เช่น เมื่อกำหนดลมหายใจแล้วจิตใจมีความเบิกบาน ก็พยายามทำความเบิกบานให้เกิดขึ้นบ่อยๆในขณะปฏิบัติ

ประโยชน์ในการปฏิบัติตามเป็นขั้นตอน
👉 การนับลมทำให้ระงับวิจิกิจฉา
👉 การติดตามทำให้ระงับวิตกที่หยาบ และทำให้อานาปานสติเกิดขึ้นไม่ขาดตอน
👉 การกระทบทำให้กำจัดความฟุ้งซ่าน และทำให้สัญญามั่นคง
👉 การตั้งมั่น ทำให้ปีติและสุขเกิดขึ้น

อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่ต่างจากกรรมฐานอื่นๆ คือ กรรมฐานอื่นๆ ยิ่งปฏิบัติอารมณ์ยิ่งปรากฏชัด แต่อานาปานสติเมื่อเจริญไปแล้ว ลมหายใจยิ่งละเอียดจนเหมือนกับว่าไม่มีลมหายใจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ในการปฏิบัติว่า บุคคลทั้งหลายที่ยังไม่ตายก็ต้องมีลมหายใจ แล้วใส่ใจในการกระทบของลมให้มากขึ้นลมหายใจก็จะกลับคืนมา

วิธีฝึกอานาปานสติ ๑๖ ประการ
ประการที่ ๑ และประการที่ ๒ เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น การมีสติระลึกรู้ในลมหายใจที่เข้าออกว่ายาว ว่าสั้นนั้น ก็รู้ได้ตอนที่มีสติรู้ว่าลมหายใจกระทบนานหรือไม่ ถ้าลมหายใจกระทบนานก็แสดงว่าลมหายใจยาว ถ้ากระทบไม่นานก็แสดงว่าลมหายใจสั้น การกำหนดรู้อย่างนี้จะทำให้ไม่หลงลืมสติ ไม่หลงลืมการกำหนดลม

ประการที่ ๓ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า รู้กายทั้งปวงมีวิธีการ ๒ อย่าง คือ โดยความไม่หลง และโดยอารมณ์
    ๓.๑ ผู้ปฏิบัติอานาปานสติ และเจริญสมาธิโดยการกำหนดรู้การกระทบของลมหายใจพร้อมด้วยปีติและสุขอย่างนี้ จะมีผลทำให้ไม่หลงลืมการกำหนดลมหายใจ
    ๓.๒ ลมหายใจเข้าและออกนี้ เมื่อกำหนดโดยเป็นอารมณ์แล้ว ก็ต้องให้รู้ว่าลมหายใจนี้เป็นรูป ส่วนจิตและสติที่กำหนดรู้การกระทบนี้เป็นนาม การกำหนดอย่างนี้เป็นวิปัสสนา คือรู้ทั้งสิ่งที่ถูกรู้ (ลมหายใจที่กระทบ) และรู้สิ่งที่รู้การกระทบ (จิตและเจตสิกนั่นเอง)

ประการที่ ๔ เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ถ้าถามว่า อะไรคือกายสังขาร ? ตอบว่า ลมหายใจนั่นเอง คือ เป็นกายสังขาร ลมหายใจแรก ๆ เป็นลมหายใจหยาบระคนด้วยความเร้าร้อนเพราะจิตเร้าร้อน แต่ถ้ากำหนดรู้ลมหายใจที่หยาบนั้นได้เท่าทัน ต่อไปลมหายใจก็ละเอียด ลมหายใจละเอียดนั้นจัดว่าเป็นกายสังขารที่สงบระงับ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติต่อไปจนปฐมฌานเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยกายสังขารที่สงบระงับ

ประการที่ ๕ เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าออกทำปีติให้เกิดขึ้นในฌาน ๒ ปีตินี้สามารถรู้ได้โดยวิธีการ ๒ อย่าง คือ
    (๑) โดยความไม่
หลง
    (๒) โดยอารมณ์ ในที่นี้ ผู้ปฏิบัติเข้าฌานและรู้ปีติโดยไม่หลง โดยการตรวจสอบ โดยการครอบงำ
และโดยอารมณ์
- รู้โดยอารมณ์ คือ เมื่อผู้ปฏิบัติอานาปานสติจนได้ฌานที่ ๒ เข้าฌาน ๒ ที่มีปีติ สุข เอกัคคตา ปีติย่อมเป็นธรรมชาติที่ผู้ปฏิบัตินั้นรู้แจ้งใน อารมณ์นั้น เมื่อออกจากฌานแล้วก็พิจารณาปีติที่เคยได้แล้ว 
- รู้โดยไม่หลงลืม ? คือ ครั้นเข้าฌาน ๒ ที่มีปีติ ออกจากฌาน ๒ แล้ว ผู้ปฏิบัติพิจารณาปีติที่ประกอบในฌานที่ ๒ นั้นโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ปีติก็เป็นอันได้ชื่อว่ารู้แจ้งแล้วโดยไม่หลงลืม การรู้ลักษณะของปีติโดยความสิ้นไปเสื่อมไปนี้ เป็นการรู้ด้วยวิปัสสนาปัญญา

ประการที่ ๖ เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้าออก เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าออก ทำสุขให้เกิดขึ้น ในฌาน ๓ สุขนี้สามารถรู้ได้โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕

ประการที่ ๗ เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจออก เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจเข้า “จิตตสังขาร” หมายถึง “สัญญาและเวทนา ” ผู้ปฏิบัติทำจิตตสังขารเหล่านี้เกิดขึ้นในฌาน ๔ รู้โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕

ประการที่ ๘ เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจออก เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า จิตตสังขารนี้ คือ “สัญญาและเวทนา ” ผู้ปฏิบัติระงับจิตตสังขาร โดยวิธีการ ๒ อย่างเหมือนกับประการที่ ๕

ประการที่ ๙ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออก เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายเข้าออก จิตรู้การเข้ามาและออกไปของอารมณ์ โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕

ประการที่ ๑๐ เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า “ปีติ” หมายถึงความรื่นเริง บันเทิง ปลื้ม เบิกบาน ในฌาน ๒ ผู้ปฏิบัติทำจิตให้บันเทิง

ประการที่ ๑๑ เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายใจเข้าออก ตั้งจิตอยู่กับอารมณ์ด้วยสติ และด้วยฌาน เมื่อทำให้จิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทำให้อานาปานสติสำเร็จ

ประการที่ ๑๒ เราจักเปลื้องจิต หายใจออก เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายใจเข้าออก ถ้าจิตเฉื่อยชา หดหู่ จงทำจิตให้หลุดพ้นจากความหดหู่ ถ้าจิตมีความขวนขวายมากเกินไป จงทำจิตให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ถ้าจิตฟูขึ้น จงทำจิตให้พ้นจากราคะ ถ้าจิตคับแค้น จงทำจิตให้พ้นจากโทสะ ถ้าจิตเศร้าหมอง จงทำจิตให้พ้นจากอุปกิเลส ถ้าจิตไม่มุ่งหน้าต่ออารมณ์ และไม่พอใจอยู่กับอารมณ์นั้น จงทำจิตของตนให้มุ่งหน้าต่ออารมณ์นั้น เปลื้องจิตจากนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา เปลื้องจิตจากสุข -สัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา เปลื้องจิตจากอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา จงพยายามฝึกตนอย่างนี้

ประการที่ ๑๓ เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าและออก พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง คือ ขณะหายใจเข้าออกพิจารณาตามเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้

ประการที่ ๑๔ เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก คิดอย่างนี้ว่า “นี้คือความไม่เที่ยง นี้คือความไม่กำหนัด นี้คือความดับ นี้เป็นนิพพาน” จงพยายามฝึกตนอย่างนี้

ประการที่ ๑๕ เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติเมื่อรู้ชัดนิวรณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริงแล้วพิจารณาว่า นิวรณ์เหล่านี้ไม่เที่ยง ความดับของนิวรณ์เหล่านี้คือนิพพาน จงมีทัศนะที่สงบ และจงพยายามฝึกตนอย่างนี้

ประการที่ ๑๖ เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึ่งรู้ชัดทุกข์โทษตามความเป็นจริง พิจารณาสิ่งเหล่านี้ โดยความไม่เที่ยง เธอทำให้ตัวเองพ้นจากทุกข์โทษ อยู่ในความดับ คือนิพพาน จงศึกษาและพยายามฝึกตน บัณฑิตพึงเข้าใจดังนี้

สังขารทุกอย่างถูกนำไปสู่ความระงับ กิเลสทุกอย่างถูกละทิ้งไป ตัณหาถูกทำลาย ราคะสิ้นไป เป็นความสงบที่เกิดจากนิพพาน

หมายเหตุ วิธีฝึกอานาปานสติ ๑๖ ประการนี้ ๑๒ ประการแรกทำให้ได้ทั งสมถะและวิปัสสนา ส่วน ๔ สุดท้าย ทำให้ได้วิปัสสนาอย่างเดียว

นิมิตของอานาปานสติ
ผู้เจริญอานาปานสติจนนิมิตเกิดขึ้น นิมิตจะมีหลายลักษณะ บางท่านนิมิตปรากฏเหมือนกับปุยนุ่น เหมือนกับปุยฝ้าย เหมือนกับสายลม บางท่านปรากฏเหมือนดวงดาว เหมือนเม็ดมณี เหมือนเม็ดไข่มุกดา บางท่านนิมิตปรากฏเป็นสิ่งมีสัมผัสหยาบเหมือนเม็ดฝ้าย และเหมือนเสี้ยนไม้แก่น บางท่านเหมือนสายสังวาลยาวเหมือนพวงดอกไม้ เป็นต้น

การปฏิบัติอานาปานสติจะบรรลุธรรมในสติปัฏฐาน ๔ ได้หรือไม่ ?
สติปัฏฐานที่เริ่มกำหนดลมหายใจออกยาวและเข้ายาว คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐานที่เริ่มจากรู้ปีติ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐานที่เริ่มจากการรู้จิต คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติปัฏฐานที่เริ่มจากการเห็นความไม่เที่ยง คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้ปฏิบัติพึงบำเพ็ญอานาปานสติอย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สิ่งที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติของบุคคล ที่เรียกว่าสัปปายะหรือ อสัปปายะ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ คือ
สัปปายะ คือ สิ่งที่สบายมี ๗ ประการ
๑. อาวาส ที่อยู่เป็นที่สบาย
๒. โคจร ที่บิณฑบาต หรือแหล่งอาหารไม่อดอยาก
๓. ภัสสะ พูดคุยแต่เรื่องที่เสริมการปฏิบัติ
๔. บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทำให้จิตใจผ่องใส มั่นคง
๕. โภชนะ อาหารให้พอเหมาะ และถูกกับธาตุ
๖. อุตุ สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิเหมาะกับร่างกาย
๗. อิริยาบถ อิริยาบถเป็นที่สบาย

อสัปปายะ คือ สิ่งที่ไม่สบายมี ๗ ประการ
ตรงข้ามกับสัปปายะ เช่น อาวาส หรือที่พักที่อยู่ไม่สบาย หรืออุตุ ไม่สัปปายะ คืออากาศไม่สบายแก่ผู้ปฏิบัติเช่น ร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไป เป็นต้น และควรจะปฏิบัติในอัปปนาโกศล ๑๐

อัปปนาโกศล ๑๐ ได้แก่
๑. ทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย ที่อยู่ และชำระกายให้สะอาด
๒. ต้องเข้าใจในการกำหนดลมหายใจ
๓. ต้องข่มจิตในคราวที่จิตมีความพยายามมาก
๔. ต้องยกจิตในคราวที่จิตง่วงเหงา หรือเกียจคร้านในการเจริญภาวนา
๕. ทำจิตที่เหี่ยวแห้งให้เบิกบานปีติโสมนัส
๖. วางเฉยต่อจิตที่กำลังดำเนินงานสม่ำเสมออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
๗. เว้นการคลุกคลีกับคนที่ไม่มีสมาธิ
๘. คบหากับบุคคลที่มีสมาธิ
๙. อบรมอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้มีกำลังเสมอกัน)
๑๐. มีจิตน้อมที่จะได้อัปปนาฌาน

หากปฏิบัติดังนี้ปฏิภาคนิมิตก็จะไม่เสื่อมหายไปและ ได้รูปฌานตามลำดับ ถึงขั้นสูงสุด คือปัญจมฌานได้ หรือถึงแม้ว่าผู้เจริญอานาปานสติเพียรปฏิบัติแล้วนิมิตไม่เกิดก็อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ เพราะถึงแม้นิมิตไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีสติกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างสม่ำเสมอนั้น เป็นการปฏิบัติที่ทำให้จิตกุศล ทำให้กุศลเจริญขึ้นอยู่เนื่อง ๆ เช่นนี้เป็นการเจริญกุศลขั้นสูง ก็ขอให้เพียรสั่งสมกุศลนี้ให้ต่อเนื่องไป

อานิสงส์ของอานาปานสติ คือ
๑. ทำให้ได้ถึงรูปปัญจมฌาน
๒. เป็นบาทของมรรค ผล
๓. ป้องกันไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่าน
๔. ผู้ที่สำเร็จอรหัตตผลโดยใช้อานาปานสติเป็นบาทฐาน ย่อมสามารถกำหนดรู้อายุสังขารของตนว่าจะอยู่ได้เท่าใด

อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญและทรงปฏิบัติอยู่เสมอ เป็นบาทฐานไปสู่
วิปัสสนา เป็นกรรมฐานที่ไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์มาปฏิบัติ ต่างจากกรรมฐานอื่นๆ เช่น กสิณ อสุภะ ที่ต้องหาอุปกรณ์ ต้องจัดเตรียมการ แต่อานาปานสติใช้เพียงลมหายใจที่มีอยู่แล้วกับตัวเรา และเป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติแล้วเบาสบายปลอดโปร่ง

ในอนุสสติ ๑๐ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสสติ มรณานุสสติ ๘ ประการแรกนี้ เมื่อปฏิบัติแล้วสามารถยังสมาธิเพียงขั้นอุปจารสมาธิเท่านั้น เพราะการเจริญในอารมณ์กรรมฐานแต่ละอย่างนั้นมีความหลากหลาย เช่น พุทธานุสสติ ต้องพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้าถึง ๙ ประการ ทำให้จิตไม่สามารถตั้งมั่นได้ ฉะนั้นจึงมีผลสำเร็จเพียงขั้นอุปจารสมาธิ

ส่วนอนุสสติที่เหลืออีก ๒ คือ กายคตาสติ และ อานาปานสติ เมื่อเจริญแล้วยังสมาธิได้ขั้นสูงถึงอัปปนาสมาธิ ผู้เจริญกายคตาสติจนบรรลุถึงอัปปนาสมาธิแล้วย่อมยังผลให้สำเร็จฌานในขั้นปฐมฌานเท่านั้น แต่อานาปานสติยังผลให้ได้ถึงขั้นรูปปัญจมาฌาน

จบ อานาปานสติ