วันอาทิตย์

๒. วิสุทธิ ๗

วิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส ที่เป็นไปทางกาย ทางใจ และทางปัญญา กล่าวโดยย่อได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง

ความหมดจดจาก
กิเลส มี ๓ ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ทั้งทางกายทางจิตและปัญญา ถ้าหมดจดจากกิเลสโดยศีล ก็หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ โดยสมาธิ ก็หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง โดยปัญญา ก็หมดจดจากกิเลสอย่างละเอียด 

วิสุทธิเป็นธรรมที่ละเอียดมากและเป็นธรรมชนิดนำไปสู่แดนเกษม คือพระนิพพาน ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานได้นั้นต้องดำเนินไปด้วยวิสุทธิ คือ ต้องดำเนินไปด้วยความหมดจดจากกิเลส วิสุทธิ ๗ นี้มีการดำเนินไปที่เกี่ยวเนื่องกับญาณ ๑๖ ดังนั้นจึงแสดงตารางความสัมพันธ์กันของวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ไว้ที่หน้าสุดท้าย

วิสุทธิมี ๗ คือ 
๑. สีลวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งศีล 
๒. จิตตวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งจิต 
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นที่ถูกต้อง
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นความสงสัย
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นทางปฏิบัติถูกและทางปฏิบัติไม่ถูก 
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณในทางปฏิบัติถูก
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์ของความรู้ความเห็น


๑. สีลวิสุทธิ 

สีลวิสุทธิ หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส ไม่ใช่ศีลเพื่อบำรุงกิเลส เพราะว่าศีลนั้นกิเลสก็อาศัยเกิดได้ เช่นการรักษาศีลเพื่อต้องการได้บุญ อยากได้ไปเกิดอีก อยากร่ำรวย การรักษาศีลหรือทำบุญใดๆ ที่มีเจตนาที่เป็นไปเพื่อความสุข เพื่อความร่ำรวย ศีลอย่างนี้ก็ไม่ใช่ศีลเพื่อทำลายกิเลส ส่วนศีลบริสุทธิ์ที่จะเป็นสีลวิสุทธิต้องเป็น ศีลที่ประพฤติเพื่อปรารถนาพระนิพพาน 

ศีล หมายถึง ธรรมชาติใดที่ประกอบด้วยเจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น หรือของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ที่ชื่อว่าศีล เพราะว่า เป็นความปกติ คือ เป็นปกติอย่างเรียบร้อย มีกิริยาทางกาย ทางวาจาที่ประกอบด้วยความสุภาพเรียบร้อย หรือหมายความว่า เป็นความรองรับ เป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลมีหลายประการ เช่น ศีล ๕ ,ศีล ๘ , ศีล ๑๐ ,ศีล ๒๒๗ ,ศีล ๓๑๑ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยและความรองรับกุศลธรรมนั้นเอง 

ศีลมีจำแนกไว้หลายหมวดหลายนัย ในที่นี้จะแสดงเพียงหมวดเดียวคือ ศีล ๔ อย่าง หมวด ๔ คือ
- ปาติโมกขสังวรศีล
- อินทรียสังวรศีล 
- อาชีวปาริสุทธิศีล
- ปัจจยสันนิสสิตศีล 

๑.๑ ปาติโมกข สังวรศีล คือ ศีลที่สำรวม ระวังไม่ล่วงละเมิดทางกายทางวาจา ความระวังนี้เองคือการสังวร บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล ๕ , ๘ , ๑๐ , ๒๒๗ , ๓๑๑ ย่อมยังความถึงพร้อมในการสังวร บุคคลที่ไม่มีความสำรวมระวังในการอยู่ ในการไป ในการอาศัย ย่อมทำให้ทุกข์เกิดขึ้นได้ การสำรวมในการโคจรที่ดี มี ๓ อย่าง คือ อุปนิสสยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร

    ๑.๑.๑ อุปนิสสยโคจร คือ การโคจรซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ได้แก่ 
            - พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ยังไม่เคยฟัง 
            - พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมทำพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง 
            - พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมสิ้นความสงสัย 
            - พิจารณาว่า ย่อมทำทฤษฎีให้ถูกต้อง 
            - พิจารณาว่า ย่อมทำจิตใจให้ผ่องใส
            - พิจารณาว่า กัลยาณมิตรย่อมยังให้เจริญด้วยศรัทธา
            - พิจารณาในศีล
            - พิจารณาในสุตะ คือการฟังการศึกษาเล่าเรียน 
            - พิจารณาในจาคะ คือการบริจาค
 
            - พิจารณาในปัญญา 

การงานต่างๆ ของบุคคลที่พิจารณาในข้อปฏิบัติ 
๑๐ ประการนี้ จะเป็นการช่วยทำให้การรักษาศีลในขั้นปาติโมกขสังวรศีลเป็นไปได้สะดวกดี เพราะพิจารณาในทุกๆ เรื่องก่อนว่าสิ่งใดกระทำแล้วเป็นไปเพื่อละกิเลสจึงกระทำ สิ่งใดกระทำแล้วเป็นการบำรุงกิเลสก็งดเว้นเสีย

    ๑.๑.๒ อารักขโคจร คือ การไปในที่ต่างๆ ก็ให้กำหนดไม่ให้
มองสอดส่าย สังวรระวัง เดินอย่างสำรวม ไม่เหลียวดูสิ่งล่อตาล่อใจต่างๆ ไม่ดูสตรี ไม่ดูบุรุษ อย่างนี้คือมีความอารักขาดูแลตนในการไปในที่ต่างๆ 

    ๑.๑.๓ อุปนิพันธโคจร คือ การโคจรไปในที่ต่างๆ โดยสำรวม ระวังผูกจิตไว้ โดยการกำหนดสติปัฏฐาน ๔ 

๑.๒ อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมในอินทรีย์ ๖ คือการมีสติสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จากพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า 
มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้นชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ...ดม
กลิ่นด้วยฆานะ...ลิ้มรสด้วยชิวหา...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้เเจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.

อธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ คำว่า เห็นรูปด้วยจักษุนั้นโดยแท้จริงแล้วคือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ จักษุนั้นเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต จิตก็เห็นรูปไม่ได้เพราะไม่จักษุ แต่เพราะทวารกับอารมณ์กระทบกัน บุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วยจิตที่เกิดขึ้นที่จักษุนั้นเอง การไม่ยึดถือซึ่งนิมิต คือ การไม่ยึดถือนิมิตเครื่องหมายว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือความสวยงามซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น การไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ คือ ไม่ยึดถือในกิริยาอาการต่างๆ เช่นเห็นว่า ยิ้มสวย เวลายิ้มมีลักยิ้มที่แก้ม กิริยาที่หัวเราะก็น่ารัก เป็นต้นซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น

อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ อภิชฌา คือโลภะ โทมนัส คือ โทสะ เมื่อมีการสำรวมอินทรีย์ในทวารทั้งหลายแล้วอกุศลธรรมอันลามกก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลมีสติในการสำรวมสังวรระวังอยู่ ก็จะสามารถกั้นอกุศลที่จะเกิดขึ้นจากการเห็น การได้ยิน เป็นต้นได้ บุคคลที่ไม่สำรวมอินทรีย์ก็เหมือนคนที่มุงหลังคาไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดถูกตัวเสมอ คล้ายกับกิเลสที่รั่วไหลเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมรั่วรดจิตใจเสมอ ตนก็จะต้องเช็ดน้ำตาเรื่อยไป ถ้าหากว่าผู้ที่มีการสำรวมอินทรีย์ก็เหมือนกับคนที่มุงหลังคาดีแล้ว ฝนย่อมไม่รั่วลงมารดตัว ตนก็ไม่ต้องเช็ดน้ำฝน นี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีการสำรวมอินทรีย์แล้วกิเลสก็ไม่รั่วเข้ารดใจ เมื่อเห็นหรือได้ยินแล้ว อกุศลธรรมต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น



๑.๓ อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ศีลที่เกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพโดยบริสุทธิ์เป็นการประกอบอาชีพโดย สัมมาอาชีวะ สำหรับฆารวาสคือการเว้นมิจฉาชีวะต่างๆ สำหรับพระภิกษุ สามเณร คือเว้นจากการประจบประแจง การเป็นทูตให้แก่ญาติโยม เป็นต้น

๑.๔ ปัจจยสันนิสสิต ศีล คือ ศีลที่อาศัย การบริโภค ปัจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอาทิว่า “ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อกำจัดเสียซึ่งความเย็น...” ความแยบคายในการใช้สอยในการบริโภคนั้นมีความสำคัญเพราะจะได้ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ไม่หลงใหลได้ปลื้มกับทรัพย์ภายนอกเกินควร ใช้สอยอย่างรู้คุณค่าและประโยชน์ที่ตรงชัดที่จะได้รับมิใช่ใช้สอยเพื่อประกาศฐานะยศฐาบรรดาศักดิ์ ส่วนในด้านของภิกษุก็ได้แก่ ก่อนที่จะ รับประเคนอะไรก็ต้องพิจารณาก่อนว่าควรรับไหมรับมาเพื่ออะไร ถ้าเป็นอาหารบิณฑบาตเมื่อเวลาจะฉันก็ต้องพิจารณาว่า ฉันเพื่ออะไร ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น

อินทรียสังวร กับปาติโมกขสังวร ต่างกันอย่างไร ? ถ้ามีปาติโมกขสังวร ไม่ต้องมีอินทรียสังวรได้ไหม ?
อินทรียสังวรเป็นการสังวรในขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น แต่ปาติโมกขสังวรนั้นเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อไม่ให้ไปรับรูป เสียง เป็นต้น เช่นข้อห้ามในศีล คือ ไม่ให้ดูฟังการฟ้อนรำขับร้อง แต่เมื่อเวลาเห็นได้ยินแล้วถ้าไม่มีอินทรียสังวรกำกับไว้ก่อน กิเลสก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้

ฉะนั้นถ้ามีปาติโมกขสังวรแล้วก็ควรปฏิบัติควบคู่กับอินทรียสังวร
ด้วย จะทำให้ผู้ปฏิบัติทำลายความชอบใจและความไม่ชอบใจได้ อินทรียสังวรสามารถชำระกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง ละอภิชฌา(โลภ)และโทมนัส(โทสะ) ที่เกิดทางใจได้ และสามารถทำลายกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานได้ มีทิฏฐิ เป็นต้น ส่วนปาติโมกขสังวรศีล ทำลายได้แต่กิเลสอย่างหยาบ คือกิเลสทางกายกับวาจา

เหตุที่ทำให้ ศีลทั้ง ๔ อย่าง สำเร็จสรุปได้ดังนี้

ศีล เหตุที่ทำให้สำเร็จ 
๑. ปาติโมกขสังวรศีล สำเร็จได้ด้วยศรัทธา ตัวอย่างเช่น พระเถระที่ถูกโจรมัดด้วยเถาหญ้านาง (ท่านมีศรัทธาในการรักษาศีลข้อห้ามตัดทำลายของเขียว แม้ต้องแลกด้วยชีวิตก็ยอม) ท่านนอนเจริญวิปัสสนาอยู่อย่างนั้นตลอด ๗ วัน ได้บรรลุพระอนาคามีผล แล้วมรณภาพในดงนั่นเอง

๒. อินทรียสังวรศีล สำเร็จได้ด้วยสติ ถ้ามีสติในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บาปอกุศลทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น

๓. อาชีวปาริสุทธิศีล สำเร็จได้ด้วยวิริยะ เพราะวิริยะที่ปรารภธรรมโดยชอบแล้วก็เป็นการประหาณมิจฉาอาชีวะได้

๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล สำเร็จได้ด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถมองเห็นโทษและอานิสงส์ของปัจจัยทั้งหลายได้



๒. จิตตวิสุทธิ

จิตตวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งจิต การชำระ จิตใจให้ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์ จิตตวิสุทธิมี ๒ อย่าง คือ

๑. สมถสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่มีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ชำระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจากมลทินคือ นิวรณ์ ๕ จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดยตรง อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศลหรือมหากิริยา ที่มี สมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ ส่วนอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติปรมัตถ์ ที่เนื่องด้วยสมถกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์

๒. วิปัสสนาสมาธิ ได้แก่ ขณิกสมาธิสมาธิชั่วขณะที่อยู่ในมหากุศล หรือมหากิริยา จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดยอ้อม จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ มีการพิจารณา อารมณ์ โดยรูปนาม โดยความเป็นไตรลักษณ์ โดยอริยสัจจ์ ๔ เป็นต้น

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ

ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก หรือปัญญาที่รู้ถูกเข้าใจถูก คือ ความรู้ความเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุให้ข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามได้โดย
๑. ลักษณะ คือ รู้ลักษณะ เฉพาะตนของรูปนาม
๒. รส คือ รู้หน้าที่หรือกิจของรูปนาม
๓. ปัจจุปัฏฐาน คือ รู้ผลหรืออาการปรากฏของรูปนาม
๔. ปทัฏฐาน คือ รู้เหตุที่ใกล้ชิดของรูปนาม

ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ที่มีรูปนาม เป็นอารมณ์ การกำหนดรู้ แม้จะไม่ครบทั้ง ๔ข้างต้น เพียงแต่รู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิเมื่อว่าโดยญาณ ๑๖ จัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ

คำถาม-ตอบ เพื่อให้รู้จักรูปนาม
๑. จะเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ได้อย่างไร ?
การที่จะ
พิจารณาจนเห็นว่านามรูปนี้ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ของตน เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร และไม่ใช่สัตว์ บุคคล ต้องเป็นปัญญาที่รู้และเข้าใจในสภาพธรรมของรูปและนามจริงๆ

๒. จะเอาปัญญาจากไหนมาเข้าใจ ?
ต้องเป็นทิฏฐิขั้นวิสุทธิที่
เข้าใจถูกรู้ถูกในรูปนาม

๓. จะมีทิฏฐิวิสุทธิได้อย่างไร ?
ต้องได้มาจากการพิจารณารูป
นาม

๔. การพิจารณานามรูปนั้นพิจารณาอย่างไร ?
ต้องพิจารณาตาม
แนวมหาสติปัฏฐาน ๔ แต่ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ จะต้องศึกษารูปและนามให้เข้าใจให้ดีก่อน จึงจะสามารถกำหนดได้ ถ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามก็กำหนดไม่ถูก เช่น ต้องรู้ว่าลมหายใจเป็นรูป จิตที่กำหนดระลึกรู้ลมหายใจเป็นนาม หรือการพิจารณาอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน จะต้องพิจารณาอิริยาบถเหล่านั้นว่าเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ? เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้วก็จะพบว่า เพราะจิตเป็นปัจจัยทำให้อิริยาบถเป็นไปได้ และอิริยาบถจะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องด้วยกายที่เกี่ยวกับธาตุ ๔ เมื่อจิตคิดจะเดิน ธาตุ ๔ นี้ก็ทำงาน เมื่อจิตคิดจะนั่งธาตุ ๔ ก็ทำงาน เมื่อจิตคิดจะยืนธาตุ ๔ ก็ทำงาน เพราะว่าธาตุ ๔ ทำงานปรุงแต่งต่างกัน อิริยาบถก็เป็นไปต่างกัน และธาตุ ๔ ก็เกิดขึ้นได้ด้วยเจตนาที่เข้าปรุงแต่งจิต เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาได้อย่างนี้ก็จะทราบว่าจิตนี้สามารถจะเป็นปัจจัยให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปได้ตามเจตนา ที่ปรุงแต่งจิตนั่นเอง เวลาจะเดิน ธาตุทั้ง ๔ ก็จะทำงานโดยธาตุเบา คือ ธาตุลมกับธาตุไฟจะมีกำลัง ส่วนธาตุหนักคือธาตุดินกับธาตุน้ำจะอ่อนกำลัง ทำให้เท้ายกขึ้นแล้วเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยกำลังของธาตุไฟกับธาตุลม เมื่อวางเท้าลงธาตุไฟกับธาตุลมก็จะอ่อนกำลัง แต่ธาตุดินกับธาตุน้ำก็มีกำลังทำให้หย่อนเท้าเหยียบลงพื้นไว้ได้ เป็นต้น

ต้องกำหนดรู้ว่าธาตุทั้ง ๔ เป็นรูป จิตและเจตสิกที่พิจารณาธาตุ ๔ เป็นนาม ฉะนั้นทิฏฐิวิสุทธิต้องเป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานและพิจารณารูปนามได้ถูกต้อง จนปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคลตัวตน เราเขา ได้จริงๆ ปัญญาในทิฏฐิวิสุทธินี้เป็นปัญญาขั้นภาวนาไม่ใช่ปัญญาขั้นการศึกษา แต่ต้องปฏิบัติพิจารณารูปนามจนทำลายความเข้าใจผิดความสำคัญผิดว่าเป็นเราออกไปจากจิตใจให้ได้

๕. อะไรเป็นเครื่องปิดบังความเป็นจริงของรูปนาม? เครื่องปิดกั้นความจริงของนามรูป มีหลายประการดังนี้
    ๕.๑ ฆนสัญญา หมายถึง ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของรูปนามนั้นปิดบังอนัตตา ทำให้เราเห็นว่ารูปนามนั้นเป็นก้อนเป็นแท่ง เช่นเห็นว่ารูปก็มีรูปเดียว นามก็มีนามเดียว ทั้งรูปทั้งนามก็คือตัวตนของเรานี้เอง เมื่อถูกความเป็นกลุ่มก้อนปิดบังไว้เช่นนี้ความรู้สึกว่าไม่ใช่เราก็ไม่เกิดขึ้น 


    ๕.๒ สันตติ หมายถึง ความสืบต่อ จึงทำให้เห็นติดกันทำให้ปิดบังอนิจจัง คือความไม่เที่ยงไว้ ทำให้เห็นเป็นของเที่ยงเพราะความสืบต่อที่รวดเร็วจนไม่เห็นความขาดช่วงขาดตอนของรูป ของนาม

    ๕.๓ อิริยาบถปิดบังทุกข์ เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถจึงไม่เห็นว่ารูปนามนั้นเป็นทุกข์ เพราะอิริยาบถที่เปลี่ยนไปเช่น จากอิริยาบถเดิน เปลี่ยนเป็นนั่งในขณะที่นั่งใหม่ๆ ก็จะรู้สึกสุขสบาย แต่พอนั่งไปนานๆ ก็ทุกข์อีกต้องเปลี่ยนอิริยาบถอีก อันที่จริงในขณะที่นั่งใหม่ๆ ตอนนั้นก็ทุกข์เหมือนกันแต่ทุกข์เกิดน้อยเพราะเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ๆ แต่พออยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ ทุกข์ก็มากขึ้นๆ จะเห็นได้ว่าอิริยาบถนั้นปิดบังทุกข์ไว้ ทำให้เห็นว่าเป็นสุข แท้ที่จริงแล้วตอนที่สุขนั้นนั่นก็เป็นทุกข์เหมือนกันเพราะสภาพเช่นนี้ก็จะไม่คงอยู่ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนี้เองคือสภาพของทุกข์จริงๆ คือ มีสภาพที่ทนอยู่ในไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ที่จะเห็นอนัตตา ว่ารูปนามนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จะต้องเข้าใจในอุบายที่จะทำลายฆนสัญญาให้กระจายออกมาเสียก่อนจึงจะเห็นอนัตตาได้

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ คือ ญาณ(ปัญญา) ที่ข้ามพ้นจากความสงสัย เช่น สงสัยใน ชาตินี้ ชาติหน้า สงสัยว่าตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณานามรูป ทำให้เข้าใจได้ถูกต้องว่นามรูปนี้มีอยู่จริง แต่สัตว์บุคคลนั้นไม่มีในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก มีแต่รูปกับนามเท่านั้น แล้วรูปนามนี้มาจากไหน ใครเป็นคนสร้างรูปนามนี้ คำตอบในเรื่องนี้ก็ต้องเจริญปัญญาให้ถึงขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ จึงจะหมดความสงสัยได้

การปฏิบัติ คือ การกำหนดรูปนามต่อมาจากทิฏฐิวิสุทธิ กำหนดต่อไปอยู่เนืองๆ ก็จะทราบว่า รูปนามนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร รูปใดเกิดขึ้นก็จะรู้ว่าเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร นามใดเกิดขึ้นก็จะรู้ได้ว่า นามนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร ปัญญาความรู้ในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธินี้จะรู้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแตกฉานในปริยัติ ก็สามารถรู้ปัจจัยได้มาก เช่นรู้โดยวัฏฏะว่า รูปนามขันธ์ ๕ มาจากกรรม กิเลส วิบาก หรือรู้ไปตามนัยของปฏิจจสมุปบาท คือปัจจัยให้เกิดรูปนามในปฏิสนธิ ได้แก่อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

ผู้ปฏิบัติในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิแล้วจะรู้เหตุปัจจัยของธรรมว่าธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ จิตแต่ละดวงเกิดขึ้น เช่น โทสะจิตเกิดขึ้นเพราะอะไร เกิดขึ้นเพราะเห็นรูปแล้วปรุงแต่งว่ารูปที่เห็นนั้นไม่ชอบใจโทสะก็เกิดขึ้น โทสะที่เกิดขึ้นแล้วนั้นก็ดับไปสิ้นไปเมื่อสิ้นเหตุสิ้นปัจจัยแล้วโทสะดวงใหม่ก็สามารถเกิดขึ้นอีกเมื่อมีเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับธรรมนั้นๆ ก็ดับ

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือความรู้ในหนทาง ทั้งทางถูกและทางผิด เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งสังขาร และมีอุปกิเลส ๑๐ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ปัญญาที่กำหนดวินิจฉัยลักษณะว่าวิปัสสนูปกิเลส เหล่านี้ไม่ใช่มรรค เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งตัณหามานะ ทิฏฐิ โดยแท้ แต่วิปัสสนาญาณที่ดำเนินไปตามวิถีซึ่งพ้นจากวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ แล้ว เป็นปัญญาที่รู้หนทางที่ถูกต้อง การเห็นตามความเป็นจริงทั้ง ๒ นี้ เป็นมรรค ชื่อว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะรู้เห็นทางพ้นทุกข์และมิใช่ทางพ้นทุกข์

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ถ้าวิสุทธิที่ ๔ ไม่มีแล้ว วิสุทธิที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็มีไม่ได้ ที่ผ่านมาในกังขาวิตรณวิสุทธินั้นเพียงรู้ถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้รูปนามเกิด แต่ยังไม่เห็นความดับของรูปนามที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันนั้นได้ เพราะว่าปัญญาในขั้นนี้ยังอ่อนอยู่ วิธีการปฏิบัติ คือ ต้องกำหนดรูป-นาม ต่อไปอีกเนืองๆ จนกระทั่งเห็นความดับของรูปนาม แต่ความดับของรูปนามที่ตนเห็นในตอนนี้ยังไม่ได้เห็นความดับของรูปนามจริงๆ เพียงแต่เห็นการเกิดใหม่ของรูปนามอยู่เนื่องๆ เห็นฝ่ายเกิดอยู่เนืองๆ จึงทำให้ทราบถึงความดับไปของรูปนามเก่าก่อนที่รูปนามใหม่จะเกิดขึ้น ปัญญาในขั้นนี้ยังมีกิเลสเกิดได้ คือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่เกิดจากกำลังของสมาธิ กิเลสที่

จะเกิดขึ้นได้ในขณะนั้นเป็นกิเลสที่ละเอียดมากและกำลังปัญญายังอ่อนอยู่ จึงรู้ไม่เท่าทัน ปัญญาจึงไม่สามารถจะปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้ เพราะขณะนั้นกำลังสมาธิแรงกว่าปัญญา ทำให้เกิดมีแสงสว่าง มีความสุข มีความสงบเยือกเย็น เป็นต้น เกิดขึ้นได้ เหล่านี้เป็นสิ่งขัดขวางความก้าวหน้าของปัญญา ทำให้หลงติดอยู่ในทางที่ไม่ใช่หนทางแห่งมรรค 


๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกในการเห็นแจ้ง อันเป็นเครื่องดำเนินไป สู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว เป็นหนทางที่จะเดินไปในธรรมที่บริสุทธิ์คือพระนิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิที่ ๕ นั้น เป็นปัญญาที่ชำระวิปัสสนูปกิเลสได้หมดสิ้น จะเห็นได้ว่าในวิสุทธิที่ ๕ นั้น ยังมีอุปกิเลสเข้าไปอาศัยเกิดในอารมณ์ของวิปัสสนาได้ ผู้ปฏิบัติจึงต้อง ทำความเข้าใจอารมณ์ที่ถูกและอารมณ์ที่ไม่ถูก จึงจะชำระกิเลสที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนเกิดปัญญาเข้าใจในข้อปฏิบัตินั้นว่าถูกต้องดี และปราศจากความเข้าใจผิดโดยประการทั้งปวงแล้ว จึงจะดำเนินเข้าสู่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณทัสสนวิสุทธิ คือความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค มรรคญาณทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคญาณเป็นต้น ชื่อว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะชำระใจให้พ้นจากมลทิน คือ ตัวโมหะ ความหลง ญาณทัสสนวิสุทธินี้เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจากปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิที่เดินถูกทางแล้ว เรื่อยมาจนบรรลุพระนิพพาน 



🙏เมื่อรู้จักหนทางแห่งปัญญาคือวิสุทธิ ๗ แล้ว ผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติ 
ต้องดำเนินตามทางแห่งปัญญาในวิสุทธินั้นๆ ให้ได้ตามลำดับ เมื่อทราบถึงหนทางแห่งปัญญา ทราบการเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ต้องปฏิบัติอยู่เสมอๆ เนืองๆ และในระหว่างการปฏิบัตินั้นก็ต้องสังเกตจิตใจ สังเกตอารมณ์ที่กำลังเจริญ ซึ่งผลของการปฏิบัติจะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องนั้นก็มีสิ่งที่สังเกตได้ ได้แก่ ลักษณะ ๓ อนุปัสสนา ๓ ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป



๑.๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน 

เป็นหลักการใช้สติพิจารณาธรรมอันเป็นสภาวะโดยรวมทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งภายนอกและภายใน ในการพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรมนั้น ต้องกำหนดรู้ไปตามลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ลึกซึ้งกว่าการเห็นกาย เวทนา และจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว ถ้าหากพิจารณาในข้อปฏิบัตินี้ให้ตรงจุดอันเป็นการปฏิบัติแบบพิจารณา ธรรมคือรู้ความจริง
แบบสัจจะ คือ อริยสัจจ์ การปฏิบัติไม่ใช่แค่ให้กำหนดรู้เรื่องสภาวธรรมอันเป็นทุกข์ทั้งปวง เท่านั้น แต่ยังต้องมีการกำหนดรู้ทาง แห่งการดับทุกข์รวมไว้ด้วย 

เริ่มต้นพิจารณา ให้รู้โดยเปรียบเทียบว่า เราเหมือนกับถูกย่างอยู่ในเพลิงทุกข์อย่างไร โดยเริ่มพิจารณาจากทุกข์หยาบๆ เช่น ความใคร่ในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย ต้องศึกษาและปฏิบัติวิธีการเอาตัวออกมาจากไฟเสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดกำจัดเชื้อไฟ อาวุธสำคัญของการเจริญธัมมานุปัสสนา คือ ต้องรู้เข้าไปในธรรมทั้งปวงว่ามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรน่ายึดมั่นถือมั่นแม้แต่นิดเดียว 
 

ว่าด้วยการใช้สติ
พิจารณานิวรณ์ 

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาธรรม (คือรูปนาม) ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลายอยู่ ดังต่อไปนี้:
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาธรรม (คือรูปนาม)ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ นิวรณ์๕ ดังนี้:
๑. เมื่อกามฉันทะ (ความยินดีพอใจหรือโลภะตัณหา ) มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนด รู้ทันว่า "กามฉันทะมีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "กามฉันทะไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๒. เมื่อพยาบาท (โทสะความโกรธความคิดร้าย การปองร้าย)มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้ กำหนดรู้ ทันว่า "
พยาบาท มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา" หรือเมื่อพยาบาท ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้ทันว่า "พยาบาทไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๓. เมื่อถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) มีอยู่ ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนดรู้ทันว่า "ถีนมิทธะมีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "ถีนมิทธะไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๔. เมื่อ อุทธัจจะและกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและ รำคาญใจ )มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้ทันว่า " อุทธัจจะและกุกกุจจะมีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "อุทธัจจะและกุกกุจจะไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๕. เมื่อวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย ) มีอยู่ ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนด รู้ทันว่า"วิจิกิจฉามีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้ทันว่า "วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"

นอกจากนี้ ก็ให้รู้ทันเหตุเกิดแห่งพยาบาท , แห่งถีนมิทธะ ,อุทธัจจะและกุกกุจจะ , วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นนั้นด้วย และให้รู้ทันเหตุแห่งการละ (โดยตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน) ชึ่งพยาบาท ถีนมิทธะ ,อุทธัจจะและกุกกุจจะ , วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วด้วย และให้รู้ทันเหตุดับกล่าวคืออริยมรรคที่ละได้แล้วนั้นด้วย
 
ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณาโดยมีวิธีการปฏิบัติโดยสรุป คือ 
๑. ควรนำวิธีข้างต้นนี้มาพิจารณาสภาวธรรมภายในคือนิวรณ์ภายในจิตของตน ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรม
๒. หรือจะนำนิวรณ์ภายใน จิตของตนมาพิจารณาเปรียบเทียบกับนิวรณ์ภายนอก คือนิวรณ์ของผู้อื่น ให้เห็นว่า แม้นิวรณ์ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรมเหมือนกับนิวรณ์ของเรานั่นเอง
๓. หรือจะใช้สติพิจารณาทั้งนิวรณ์ภายในและภายนอกให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรม สลับกันไปก็ได้
๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งนิวรณ์ หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งสภาวธรรม หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด -ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด -ดับแห่งสภาวธรรมสลับกันไปก็ได้
๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงสภาวธรรมเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา ) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นำเอานิวรณ์มา พิจารณาตามนัยข้างต้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพียงต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญสติเท่านั้น จึงไม่ควรที่
จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขาร (มีนิวรณ์ เป็นต้น) ใดๆ ที่กำลังเกิดดับอยู่

ว่าด้วยการใช้สติพิจารณาขันธ์
 พิจารณาธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้
๑. นี้คือรูป นี้คือเหตุที่ทำให้รูปเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งรูป นี้คือเหตุที่ทำให้รูปดับ หรือนี้คือความดับแห่งรูป
๒. นี้คือเวทนา นี้คือเหตุที่ทำให้เวทนาเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งเวทนา นี้คือเหตุที่ทำให้เวทนาดับ หรือนี้คือความดับแห่งเวทนา
๓. นี้คือสัญญา นี้คือเหตุที่ทำให้สัญญาเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งสัญญา นี้คือเหตุที่ทำให้สัญญาดับ หรือนี้คือความดับแห่งสัญญา
๔. นี้คือสังขาร นี้คือเหตุที่ทำให้สังขารเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งสังขาร นี้คือเหตุที่ทำให้สังขารดับ หรือนี้คือความดับแห่งสังขาร
๕. นี้คือวิญญาณ นี้คือเหตุที่ทำให้วิญญาณเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งวิญญาณ นี้คือเหตุที่ทำให้วิญญาณดับ หรือนี้คือความดับแห่งวิญญาณ

ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติสรุปเหมือนกับการพิจารณานิวรณ์ เพียงเปลี่ยนจากนิวรณ์เป็นสภาวธรรมของขันธ์ ๕ 
 
ว่าด้วยการใช้สติพิจารณาอายตนะ 
พิจารณาธรรมคืออายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้
๑. นี้คือตา(จักขุประสาท) นี้คือรูป นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทำให้
สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
๒. นี้คือหู(โสตประสาท) นี้คือเสียง นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทำให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
๓. นี้คือจมูก(ฆานประสาท) นี้คือกลิ่น นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่
ทำให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
๔. นี้คือลิ้น(ชิวหาประสาท) นี้คือรส นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทำให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
๕. นี้คือกาย(กายประสาท) นี้คือโผฏฐัพพารมณ์ นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยกายและโผฏฐัพพารมณ์ทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
และนี้คือสาเหตุที่ทำให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
๖. นี้คือใจ นี้คือธรรมารมณ์ นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทำให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก

ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นมาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติเหมือนกันกับการพิจารณาขันธ์ ๕ เพียงเปลี่ยนเป็นสภาวธรรมของอายตนะ 
 
ว่าด้วยการใช้สติพิจารณาโพชฌงค์ 
พิจารณาธรรมคือโพชฌงค์ ๗ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้
๑. เมื่อสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้ กำหนดรู้ทันว่า "สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา" หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๒. เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้ กำหนดรู้ทันว่า "ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๓. เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนดรู้ทันว่า "วิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดาน
ของเรา" หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "วิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๔. เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนด รู้ทันว่า "ปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา" หรือเมื่อปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๕. เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้กำหนดรู้ทันว่า "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา" หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๖. เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้กำหนดรู้ว่า "สมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา" หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"
๗. เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานก็ให้รู้กำหนดรู้ว่า "อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา " หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดาน ก็ให้รู้ทันว่า "อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิตสันดานของเรา"

นอกจากนี้ ก็ให้รู้ทันเหตุเกิดคือโยนิโสมนสิการ แห่งสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม-โพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นด้วย และให้รู้ทันเหตุ (อรหัตมรรค) ที่ทำให้สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีความสมบูรณ์ด้วย ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติเหมือนกันกับการอายตนะ เพียงเปลี่ยนเป็นสภาวธรรมของโพชฌงค์ 

ว่าด้วยการใช้สติพิจารณาอริยสัจ ๔ 
พิจารณาธรรมกล่าวคืออริยสัจ ๔ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้
รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปนามที่กำลังเกิดดับอยู่นี้ เรียกว่าทุกข์
รู้ตามความเป็นจริงว่า ตัณหาความอยากอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เรียกว่าทุกขสมุทัย
รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรม (นิพพาน) อันไม่มีความเกิดดับนี้ เรียกว่าทุกขนิโรธ
รู้ตามความเป็นจริงว่า กลุ่มธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงนิพพานนี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๑. ทุกขอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจได้แก่อะไรบ้าง
ชาติทุกข์ (เกิด)
ชราทุกข์ (แก่)
มรณทุกข์ (ตาย)
โสกทุกข์ (ทุกข์โศก)
ปริเทวทุกข์(คร่ำครวญ)
ทุกขทุกข์ (เจ็บปวดทางกาย)
โทมนัสทุกข์ (เสียใจ)
อุปายาสทุกข์ (คับแค้นใจ)
อัปปิยสัมปโยคทุกข์ (การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก )
ปิยวิปโยคทุกข์ (ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก)
อลาภทุกข์ (ความสิ้นหวัง,การไม่ประสบผลสำเร็จ,การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ )

ซึ่งเมื่อว่าโดยสรุปแล้ว ทุกขอริยสัจก็คืออุปาทานขันธ์ ๕ นี้เอง 
ภิกษุทั้งหลาย ชาติทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ชาติทุกข์ คือ การถือกำเนิดเกิดครั้งแรก การอุบัติการถือปฏิสนธิในครรภ์เป็นต้น การได้อัตภาพเป็นตัวเป็นตน การบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ การบังเกิดขึ้นแห่งอายตนะของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์
นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ชาติทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ชราทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ชราทุกข์คือ ความแก่เฒ่า ความคร่ำคร่า อาการที่มีฟันหลุด มีผมหงอก มีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมโทรมแห่งรูป ความหย่อนสมรรถภาพแห่งประสาทอินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ชราทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย มรณทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย มรณทุกข์คือ การจุติจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง การเคลื่อนย้ายจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง การแตกสลายหายไป ความตาย มฤตยูการถึงแก่กรรม การแตกดับแห่งขันธ์ ๕ การทอดทิ้งร่างกาย การ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แลเรียกว่ามรณทุกข์ 

ภิกษุทั้งหลาย โสกทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย โสกทุกข์ คือ ความเศร้าโศกเสียใจ อาการเศร้าโศกเสียใจ ความรันทดใจ ความทุกข์ระทมใจ ของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โสกทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวทุกข์ คือ การร้องไห้รำพึงรำพัน การคร่ำครวญ การเพ้อพร่ำของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ปริเทวทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ทุกขทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขทุกข์คือ ความทุกข์ทางกาย ความเจ็บปวดทางกาย ความลำบากกาย ความไม่สบายกาย ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ทุกขทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสทุกข์ คือความทุกข์ทางใจ ความเจ็บปวดทางใจ ความลำบากใจ ความไม่สบายใจ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โทมนัสทุกข์ 

ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสทุกข์ คือ ความคับแค้นใจ ความเครียดทางใจ ของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โทมนัสทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย อัปปิยสัมปโยคทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย อัปปิยสัมปโยคทุกข์ คือ การที่ได้พบประสบเจอกับอารมณ์เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่เราไม่พึงปรารถนาไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจ หรือการที่ได้คบค้าสมาคม การที่ได้อยู่ร่วมคลุกคลีบุคคลผู้ที่ไม่ใช่มิตร ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ไม่หวังความสงบสุขและความเจริญแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์ 

ภิกษุทั้งหลาย ปิยวิปโยคทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ปิยวิปโยคทุกข์ คือ การพลัดพรากจากอารมณ์เช่นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่พึงปรารถนาที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ หรือการพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก ผู้เป็นมิตรผู้หวัง
ความเจริญหวังประโยชน์หวังความสงบสุขแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ปิยวิปโยคทุกข์ 

ภิกษุทั้งหลาย อลาภทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย อลาภทุกข์ คือ การที่เหล่าสัตว์ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เช่น
๑. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เกิดในภพใหม่เลย หรือขอความเกิดในภพใหม่อย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้หากเป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ก็จะไม่พึงสำเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ 
๒. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้แก่ หรือขอความแก่อย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ก็ จะไม่พึงสำเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์
๓. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บปุวยเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เจ็บปุวยเลย หรือขอความเจ็บปุวยอย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้หากเป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ก็จะไม่พึงสำเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แลเรียกว่า อลาภทุกข์
๔. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้ตายเลย หรือขอความตายอย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ความ
ปรารถนานี้จะไม่พึงสำเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่าอลาภทุกข์
๕. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเลย " ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ความปรารถนานี้จะไม่สำเร็จได้อย่างแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธทุกข์ คืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธทุกข์ คือ รูปูปาทานขันธ์ (รูปขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) เวทนูปาทานขันธ์ (เวทนาขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) สัญญูปาทานขันธ์ (สัญญาขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึด
มั่น) สังขารูปาทานขันธ์ (สังขารขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) วิญญาณูปาทานขันธ์ (วิญญาณที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อุปาทานขันธทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้แล เรียกว่า ทุกขอริยสัจ 

๒. สมุทยสัจ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ซึ่งเป็นความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลินในอัตภาพและอารมณ์นั้นๆ อันเป็นเหตุให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด

กามตัณหา คือ ความอยาก ความกระหายในกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 
ภวตัณหา คือ ความอยาก ความกระหายในกามภพ รูปภพ อรูปภพของบุคคลผู้มีความเห็นผิด คิดว่าโลกเที่ยง ซึ่งเป็นเหตุทำให้บุคคลนั้นปรารถนาที่จะวนเวียนมาเกิดในภพเหล่านั้นอีก จัดเป็นความอยากที่เจือด้วยสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นผิดคิดว่าโลกเที่ยง ) ทำให้ไม่อยากที่จะหลุดพ้นจากวัฏฏะ แม้ความยินดีในฌาน ก็จัดเป็นภวตัณหาเช่นกัน 
วิภวตัณหา คือ ความอยาก ความกระหายในการตาย เพราะเชื่อว่าหลังจากที่ตายไปแล้วการเวียนว่ายตายเกิดก็เป็นอันจบกัน นั่นก็หมายความว่าความทุกข์ทั้งปวงได้ดับลงแล้วอย่างสิ้นเชิง (อุจเฉททิฏฐิ)

เมื่อตัณหาทั้งสามนี้ย่อมเกิด ที่สังขารอันมีสภาพที่น่ารัก น่ายินดี และนอนเนื่องอยู่ในสังขารอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดีนั้นนั่นเอง สังขารอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ได้แก่ 
จักษุอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่จักษุนี้
โสตะอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่โสตะนี้
ฆานะอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่ฆานะนี้
ชิวหาอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่ชิวหานี้
กายอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่กายนี้
มโนอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่มโนนี้
รูปอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่รูปนี้
เสียงอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่เสียงนี้
กลิ่นอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่กลิ่นนี้
รส อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่รสนี้
โผฏฐัพพะ (สัมผัส) อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่โผฏฐัพพะนี้ 
ตลอดจนธรรมารมณ์อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดีจักขุวิญญาณอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี โสต
วิญญาณอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดีฆานวิญญาณ...ชิวหาวิญญาณ...กายวิญญาณ....มโนวิญญาณ...จักขุ
สัมผัส...โสตสัมผัส..ฆานสัมผัส..ชิวหาสัมผัส...กายสัมผัส..มโนสัมผัส อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดีก็ตัณหา
ทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่นี้

ตลอดจนเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส อันมีสภาพที่น่ารัก น่ายินดีก็แลตัณหาทั้งสามนี้ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่นี้

๓. นิโรธสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง
ได้แก่ ความดับกิเลสไม่เหลือด้วยวิราคะ ความปล่อยวาง ความสละคืน ความพ้น ความไม่ติดตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ? รูปที่น่ารักน่ายินดีมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้เมื่อดับ ก็ดับที่รูปนี้ รูปที่น่ารักน่ายินดี ได้แก่ จักขุเป็นรูปที่น่ารักน่ายินดีตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุนี้เมื่อดับก็ดับที่จักขุนี้เป็นต้น

๔. มัคคสัจจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง
ได้แก่ อริยมรรคมีองค์๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ)
๒.สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
๗.สัมมาสติ(ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)

๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์(ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
๔. สัมมากัมมันตะ คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
๖. สัมมาวายามะ คือ 
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
- สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
- สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
- สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหายภิญโญภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๗. สัมมาสติ คือ
- การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
- การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ เป็นต้น
- การพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นต้น
- การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ 
 ๘. สัมมาสมาธิ คือ
- สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
- เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
- เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
- เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ด้วยวิธีนี้ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่าธรรมมีอยู่ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลก  ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ ๔ อยู่อย่างนี้แล

อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปีพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ....๔ ปี....๓ ปี .....๒ ปี....๑ ปี... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ เดือน.... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... ครึ่งเดือน.... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

หรือบุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ 
เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ 
เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว จึงกล่าวคำดังพรรณนามาฉะนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบมหาสติปัฏฐาน



สรุปการเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือ หลักการปฏิบัติที่มี๔ ระดับ แต่
ละระดับก็มีความ สัมพันธ์กันโดยตรงกับฐานของสติ ถ้าฝึกปฏิบัติไป
ตลอดสายแล้วผลที่จะปรากฏเกิดขึ้นได้ คือ
- ระดับที่ ๑ รู้ว่ากายไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๒ รู้ว่าความรู้สึกสุข ทุกข์เฉยๆ ไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๓ รู้ว่าจิตไม่ใช่ตัวตน
- ระดับที่ ๔ รู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่มีบุคคล เราเขาหญิงชาย

ขั้นตอนการปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติศึกษาเข้าใจดีแล้ว ทดลองฝึกหัดปฏิบัติในแต่ละหมวดแล้ว ก็อาจสลับรู้ระหว่างธรรมหยาบกับละเอียดเพื่อความประจักษ์แจ้งยิ่งๆ ขึ้นไป ได้ แต่ที่สำคัญคือทุกระดับในการปฏิบัติ แม้ในกายานุปัสสนาอันเป็นการพิจารณาสภาพธรรมที่หยาบที่สุด ก็อาจมีผลส่งให้จิตทำลายอุปาทานในตัวตน เข้าถึงมรรคผลได้ทั้งสิ้น จึงไม่มีสิ่งใดที่จะบอกได้ว่าการรู้สภาพธรรมที่หยาบกับละเอียดนั้นอย่างไหนที่มีคุณภาพยิ่งหย่อนกว่ากัน หากพิจารณาแนวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้แล้วก็จะพบว่าเป็น ขั้นตอนที่เหมาะสม คือทรงสอนให้รู้ในสิ่งที่รู้ได้ง่ายก่อน ในตอนแรกมีการแบ่งรูป แบ่งนามเพื่อง่ายต่อการเอาสติไป
กำหนดรู้ว่าสิ่งนี้คือรูป สิ่งนี้คือนาม แต่สุดท้ายก็ ลงเอยด้วยการเห็นรูปนามควบคู่กันเป็น “ ธรรม” นั่นเอง 




วันเสาร์

๑.๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 

จิตเป็นสิ่งถูกรู้ได้ยากกว่าเวทนา เพราะปกติคนเราจะถูกความรู้สึกนึกคิดห่อหุ้มไว้ เป็นเปลือกหนาชั้นแรกสุด หากขาดการรองรับจากการรู้ระดับต้นๆ เช่น การมีสติกำหนดรู้กายในกายานุปัสสนาและการกำหนดรู้เวทนาในเวทนานุปัสสนา ก็จะเข้าถึงการรู้สภาพจริงๆ ของจิตในปัจจุบันขณะได้ยากมาก เมื่อพิจารณาข้อปฏิบัติการดูจิตก็คือให้รู้จักจิตทุกแบบ ไม่ยกเว้นแม้แต่จิตที่นิ่ง หรือจิตที่หลุดพ้น

พระพุทธองค์ทรงมีอุบายวิธีให้รู้จักจิตอย่างเหมาะสมในขั้นต้น คือให้ดูที่เปลือกหยาบของจิตก่อน คือให้รู้ตามจริงว่าจิตมีราคะเป็นอย่างไร จิตมีโทสะเป็นอย่างไร จิตมีโมหะเป็นอย่างไร พอเห็นบ่อยๆ ก็ค่อยๆ เข้าใจสภาวะของจิตแบบหยาบได้เองว่ามีลักษณะอย่างไร เมื่อเห็นสภาวจิตแบบหยาบได้ ต่อไปก็ค่อยพัฒนาไปเห็นสภาวจิตแบบละเอียดได้เช่นกัน และสรุปสุดท้ายก็ให้รู้ว่าจิตทุกสภาวะนั้นมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาเหมือนกัน

หลักการใช้สติพิจารณาจิต 

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรพิจารณาจิตดังต่อไปนี้ คือถ้าจิตมีราคะ (โลภ กำหนัด) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้มีราคะ”
ถ้าจิตปราศจากราคะ ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ปราศจากราคะ”
ถ้าจิตมีโทสะ (โกรธ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้มีโทสะ”
ถ้าจิตปราศจากโทสะ ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ปราศจากโทสะ”
ถ้าจิตมีโมหะ (หลง) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้มีโมหะ”
ถ้าจิตปราศจากโมหะ ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ปราศจากโมหะ”
ถ้าจิตหดหู่ ก็ให้กำหนดรู้ว่า “ จิตดวงนี้หดหู่”
ถ้าจิตฟุู้งซ่าน ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ฟุู้งซ่าน”
ถ้าจิตบรรลุฌาน ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้บรรลุฌาน”
ถ้าจิตยังไม่บรรลุฌาน ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ยังไม่บรรลุฌาน”
ถ้าจิตยังมีจิตอื่นสูงกว่า ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ยังมีจิตอื่นสูงกว่า”
ถ้าจิตไม่มีจิตอื่นสูงกว่า ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ไม่มีจิตอื่นสูงกว่า”
ถ้าจิตเป็นสมาธิ ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้เป็นสมาธิ”
ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ไม่เป็นสมาธิ”
ถ้าจิตหลุดพ้นจากกิเลส ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้หลุดพ้นจากกิเลส”
ถ้าจิตยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ จิตดวงนี้ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส”

ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณาโดยมีวิธีการปฏิบัติโดย

สรุป คือ 

๑. ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีข้างต้นนี้มาพิจารณา จิตภายในคือจิตของตนให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิต
๒. หรือจะนำจิตภายในมาพิจารณาเปรียบเทียบกับ จิตภายนอกคือ จิตของผู้อื่น ให้เห็นว่าจิตของผู้อื่นก็เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิตเหมือนกับจิตของเรานั่นเอง
๓. หรือจะใช้สติพิจารณาทั้งจิตภายในและจิตภายนอกให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิต สลับกันไปก็ได้
๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งจิต หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งจิต หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด -ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด -ดับแห่งจิต สลับกันไปก็ได้
๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงจิตเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นำเอาจิตมาพิจารณาตามนัยข้างต้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพียงต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญสติเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขาร (จิต) ใดๆ ที่กำลังเกิดดับอยู่

 

จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


วันพุธ

🔊 พระวัปปเถระ

วัปปเถรคาถา สุภาษิตว่าด้วยการเห็นและไม่เห็นอันธพาล
"บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่ด้วย ส่วนคนอันธพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะย่อมไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นและคนอันธพาลผู้เห็น"

เล่นออดิโอ 🔈

พระวัปปเถระ เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อคราวที่มหาบุรุษประสูติใหม่ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่านได้รับเชิญในการเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ ท่านได้เห็นพระลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยากรณ์ศาสตร์ของมหาบุรุษ จึงเกิดความเลื่อมใสและเคารพในพระองค์เป็นอันมาก มีความหวังว่าอยากจะเห็นพระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ในคราวที่ตนจะสิ้นชีวิตจึงได้สั่งสอนบุตรของตนไว้ว่า เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ติดตามเสด็จเมื่อนั้น ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษออกทรงผนวชแล้วและกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยา พระวัปปะพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จพระมหาบุรุษ คอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ คาดหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมแล้วจักได้สั่งสอนให้ตนได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง เมื่อเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ทรงประพฤติมานานถึง ๖ ปี จึงมีความเห็นร่วมกันว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากในกามคุณเสียแล้วและพระองค์คงไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความเลื่อมใส พากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

     เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" เป็นปฐมเทศนา เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย

     พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์ แก่กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์

ท่านได้ช่วยเป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระศาสนา เมื่อท่านดำรงอายุสังขารพอสมควร ก็ ดับขันธปรินิพพาน





วันเสาร์

🔊 พระอัญญาโกณฑัญญะ


เล่นออดิโอ🔈
พระอัญญาโกณฑัญญะ ตอนที่ ๑

พระอัญญาโกณฑัญญะ ตอนที่ ๒

พระอัญญาโกณฑัญญะ ตอนที่ ๓

พระอัญญาโกณฑัญญะ ตอนที่ ๔


พระอัญญาโกณฑัญญะ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู

🙏พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านโทณวัตถุ อันไม่ห่างไกล จากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยาจบไตรเพท และวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ

🔅ร่วมทำนายพระลักษณะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีทำนายพระลักษณะตามราชประเพณี ให้คัดเลือกพราหมณ์ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจาก ๑๐๘ คน เหลือ ๘ คน และมีโกณฑัญญะ อยู่ในจำนวน ๘ คน นี้ด้วย ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดจึงทำนายเป็นคนสุดท้าย ฝ่ายพราหมณ์ ๗ คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของสิทธัตถะอย่างละเอียด เห็นถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ครบทุกประการแล้ว จึงยกนิ้วมือขึ้น ๒ นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ในการทำนายเป็น ๒ นัย เหมือนกันทั้งหมดว่า “พระราชกุมารนี้ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปราบปราม ได้รับชัยชนะทั่วปฐพีมณฑล จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก แนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า” ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และการเกิดในภพนี้ก็จะเป็นภพสุดท้าย จึงมีปัญญามากกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของพระกุมารโดยละเอียดแล้ว ได้ยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์ อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวเท่านั้นว่า “พระราชกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”

🔅 ออกบวชติดตามสิทธัตถะ
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง ๒๙ ปี เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชาโกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้ง ๗ คนที่ร่วมทำนายด้วยกันนั้น โดยกล่าวว่า:- “บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะออกบวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกันเถิด” บุตรพราหมณ์เหล่านั้นยอมออกบวชเพียง ๔ คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ โกณฑัญญะ จึงพามาณพทั้ง ๔ คนนั้นพร้อมทั้งตนด้วยรวมเป็น ๕ ได้นามบัญญัติว่า “ปัญจวัคคีย์” ออกบวชสืบเสาะติดตามถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนมาพบพระองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพากันเข้าไปอยู่เฝ้าทำกิจวัตรอุปัฏฐาก ด้วยการจัดน้ำใช้ น้ำฉัน และ ปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง เมื่อพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงพระดำริว่า “วิธีนี้คงจะไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง

🔅 ปัญจวัคคีย์ปลีกตัวหลีกหนี ฝ่ายปัญจวัคคีย์ ผู้มีความเลื่อมใสในการปฏิบัติแบบทรมานร่างกาย ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ให้ประทับอยู่ ตามลำพังพระองค์เดียว พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้นพระโพธิสัตว์ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนาและตรัสรู้ตามได้โดยเร็วในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วันแล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เอง ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ๕ พักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฝ่ายปัญจวัคคีย์นั่งสนทนากันอยู่ เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกลเข้าใจว่า พระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงทำกติกากันว่า:- “พระสมณโคดม นี้ คลายความเพียรแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก พวกเราไม่ควรไหว้ ไม่ควรลุกขึ้นต้อนรับ ไม่รับบาตรและจีวรของพระองค์เลย เพียงแต่จัดอาสนะไว้ เมื่อพระองค์ปรารถนาจะประทับนั่ง ก็จงนั่งตามพระอัธยาศัยเถิด” ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ต่างพากันลืมกติกาที่นัดหมายกันไว้ กลับทำการต้อนรับ เป็นอย่างดีดังที่เคยทำมา แต่ยังใช้คำทักทายว่า “อาวุโส” และเรียกพระนามว่า “โคดม” อันเป็นถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพ ดังนั้น

พระพุทธองค์ทรงห้ามแล้วตรัสว่า:- “อย่าเลย พวกเธออย่างกล่าวอย่างนั้น บัดนี้ ตถาคตได้บรรลุอมตธรรมเองโดยชอบแล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็จะบรรลุ อมตธรรมนั้น”

“อาวุโสโคดม แม้พระองค์บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์เห็นปานนั้น ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอัน ใด บัดนี้พระองค์คลายความเพียรนั้นแล้วหันมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมาก แล้วจะบรรลุ อมตธรรมได้อย่างไร?”

พระพุทธองค์ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ ให้ระลึกถึงความหลังว่า “ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า วาจาเช่นนี้เราเคยพูดกับท่านบ้างหรือไม่”

ปัญจวัคคีย์ ระลึกขึ้นได้ว่า พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ


🔅 ฟังปฐมเทศนา
พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระธัมมจักกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ซึ่งเนื้อความในพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธองค์ทรงตำหนิหนทางปฏิบัติอันไร้ประโยชน์ ๒ ทาง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
    ๑ กามสุขัลลิกานุโยค การปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไป แสวงหาแต่กามสุขอันพัวพันหมกมุ่นแต่รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งเลวทราม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นกิจของคนกิเลสหนา มิใช่ของพระอริยะ มิใช่ทางตรัสรู้หาประโยชน์มิได้
    ๒ อัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติตนให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป กระทำตนให้ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น จากนั้นพระพุทธองค์ตรัสชี้แนะวิธีปฏิบัติ แบบ “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ การปฏิบัติแบบกลาง ๆ ไม่ย่อหย่อนเกินไปแบบประเภทที่หนึ่ง และไม่ตึงเกินไป แบบประเภทที่สอง ดำเนินตามทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค คือทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ได้แก่
    ๑ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (ปัญญาเห็นในอริยสัจ ๔)
    ๒ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ (ดำริออกจากกาม เบียดเบียนและพยาบาท)
    ๓ สัมมาวาจา เจรจาชอบ (เว้นจากวจีทุจริต ๔)
    ๔ สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ (เว้นจากกายทุจริต ๓)
    ๕ สัมมาอาชีพ เลี้ยงชีพชอบ (เว้นจากเลี้ยงชีพในทางที่ผิด)
    ๖ สัมมาวายะมะ เพียรชอบ (เพียรละความชั่วทำความดี)
    ๗ สัมมาสติ ระลึกชอบ (ระลึกในสติปัฏฐาน ๔)
    ๘ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตไว้ชอบ (เจริญฌานทั้ง ๔)
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความพอพระทัยด้วยพระดำรัสว่า:- “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ” ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ คำว่า “อัญญา” จงเป็นคำนำหน้า ชื่อของท่านโกณฑัญญะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเป็นที่รู้ทั่วกันว่าพระอัญญาโกณฑัญญะ

🔅 พระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา
ต่อจากนั้น ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ด้วย พระดำรัสว่า:- “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นับว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกในโลก และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” วันต่อ ๆ มา ท่านที่เหลืออีก ๔ คน ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และอุปสมบทด้วยกันทั้งหมด พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระปัจวัคคีย์ มีญาณแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูงได้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” คือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน โปรดพระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลด้วยกันทั้งหมด ขณะนั้นมีพระอรหันต์ เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย

🔅 ได้รับยกย่องทางรัตตัญญู
พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระพุทธองค์ทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนาพร้อมกับพระสาวกรุ่นแรก จำนวน ๖๐ รูป ท่านได้เดินทางไปยังบ้านเดิมของท่าน ได้นำหลานชายชื่อ ปุณณมันตานี ซึ่งเป็นบุตรของ นางมันตานี ผู้เป็นน้องสาวของท่าน มาบวช และได้มีชื่อว่า พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เพราะความที่ท่านเป็นพระเถระ ผู้มีอายุพรรษากาลมาก มีประสบการณ์มาก จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในทางผู้รัตตัญญู หมายถึง ผู้รู้ราตรีนาน

🔅 บั้นปลายชีวิต
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้น อยู่ในสถานที่อันสงบวิเวกตามลำพัง ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตวิลาสินี กล่าวไว้ตรงกันว่า เป็นเวลา ๑๒ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพานท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ ป่าหิมพานต์ ตามลำพัง นอกจากต้องการความสงบดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่าน อีก ๓ ประการคือ
    ๑ ท่านไม่ประสงค์จะเห็นพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์ กิจการพระศาสนาด้านต่าง ๆ ที่ต้องมาแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้เฒ่าชราอย่างท่าน ซึ่งสังขารนับวันจะร่วงโรย และใกล้แตกดับเข้าไปทุกขณะ
    ๒ ท่านได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ที่ต้องคอยต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ ซึ่งมีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ การอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านจึงไม่เหมาะสมสำหรับพระแก่ชราอย่างท่าน
    ๓ ท่านเบื่อหน่ายในความดื้อรั้น ของพระสัทธิวิหาริกรุ่นหลัง ๆ ที่มักประพฤตินอกลู่นอกทาง ห่างไกลจากการบรรลุมรรคผล ท่านได้อยู่จำพรรษาในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์เป็นเวลานาน ๑๒ ปี วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้วได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมากได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน



พระอรหันต์

พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล
🔈 พระอัญญาโกณฑัญญะ  เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
🔈 พระวัปปเถระ  
🔈 พระภัททิยเถระ   เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
🔈 พระมหานามเถระ
🔈 พระมหาอัสสชิเถระ
🔈 พระยสเถระ
🔈 พระวิมลเถระ
🔈 พระสุพาหุเถระ
🔈 พระปุณณชิเถระ
🔈 พระควัมปติเถระ
🔈 พระอุรุเวลกัสสปเถระ
🔈 พระนทีกัสสปเถระ
🔈 พระคยากัสสปเถระ
🔈 พระสารีบุตรเถระ
🔈พระโมคคัลลานเถระ
🔈พระมหากัสสปเถระ
🔈พระมหากัจจายนเถระ
🔈พระอชิตเถระ
🔈พระติสสเมตเตยยเถระ
🔈พระปุณณกเถระ
🔈พระเมตตคูเถระ
🔈พระโธตกเถระ
🔈พระอุปสีวเถระ
🔈พระนันทกเถระ
🔈พระเหมกเถระ
🔈พระโตเทยยเถระ
🔈พระกัปปเถระ
🔈พระชตุกัณณีเถระ
🔈พระภัทราวุธเถระ
🔈พระอุทยเถระ
🔈พระโปสาลเถระ
🔈พระโมฆราชเถระ
🔈พระปิงคิยเถระ
🔈พระราธเถระ
🔈พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
🔈พระกาฬุทายีเถระ
🔈พระนันทเถระ
🔈พระราหุลเถระ
🔈พระอุบาลีเถระ
🔈พระภัททิยเถระ
🔈พระอนุรุทธเถระ
🔈พระอานนทเถระ
🔈พระภคุเถระ
🔈พระกิมพิลเถระ
🔈พระโสณโกฬิวิสเถระ
🔈พระรัฏฐปาลเถระ
🔈พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
🔈พระมหาปัณถกเถระ
🔈พระจูฬปัณถกเถระ
🔈พระโสณกุฏิกัณณเถระ
🔈พระลกุณฏกภัทิยเถระ
🔈.พระสุภูติเถระ
🔈พระกังขาเรวตเถระ
🔈พระวักกลิเถระ
🔈พระโกณฑธานเถระ
🔈พระวังคีสเถระ
🔈พระปิลินทวัจฉเถระ
🔈พระกุมารกัสสปเถระ
🔈พระมหาโกฏฐิตเถระ
🔈พระโสภิตเถระ
🔈พระนันทกเถระ
🔈พระมหากัปปินเถระ
🔈พระสาคตเถระ
🔈พระอุปเสนเถระ
🔈พระขทิรวนิยเรวัตตเถระ
🔈พระสีวลีเถระ
🔈พระพาหิยทารุจิริยเถระ
🔈พระพากุลเถระ
🔈พระทัพพมัลลบุตรเถระ
🔈พระอุทายีเถระ
🔈พระอุปวาณเถระ
🔈พระเมฆิยเถระ
🔈พระนาคิตเถระ
🔈พระจุนทเถระ
🔈พระยโสชเถระ
🔈พระสภิยเถระ
🔈พระเสลเถระ
🔈พระมหาปรันตปเถระ
🔈พระนาลกเถระ
🔈พระองคุลิมาลเถระ

สมสีสีบุคคล

สมสีสีบุคคล คือบุคคล เมื่อคราวบรรลุอรหัตตมรรค ความสิ้นอาสวะ และ ความสิ้นชีวิต จะเป็นไปในคราวเดียวกัน เหตุเพราะศรีษะทั้งสองประเภท คือ อวิชชาในอกุศลจิตร อันเป็นกิเลสศรีษะ และ ชีวิตินทรีย์ในจุติจิตร อันเป็น ปวัตตศรีษะ ถึงความเสื่อมสิ้นกำลังไปพร้อมๆกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันเลย คือ ในขณะที่บรรลุอรหัตตมรรนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่ออรหัตตมรรคญาณ อรหัตตผลญาณ และอรหัตตปัจเวกขณะญาณสิ้นสุดลงตามลำดับแล้ว จิตรก็ลงสู่ภวังค์ถัดไปจุติจิตรก็ปรากฏขึ้น แต่เพราะความสูญสิ้นกำลังของชีวิตินทรีย์ในจุติจิตรนั่นเอง เป็นเหตุให้ปฏิสนธิจิตรเกิดขึ้นไม่ได้พระอรหันต์จึงสิ้นภพสิ้นชาติได้ก็ด้วยประการฉะนี้แล

การสิ้นภพสิ้นชาติแบบสมสีสี มี 3 ประเภทคือ
๑. อริยาปถสมสีสี ที่ใช้อิริยาบถสี่ เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๒. โรคสมสีสี ที่ใช้โรค(เวทนา)ที่รุมเร้าอยู่เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๓. ชีวิตสมสีสี ใช้อารมณ์(อื่นจากอิริยาบถและโรค) ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ เช่น บาดแผลที่เกิดจากการเชือดคอเป็นต้น


เพื่อความเข้าใจประเภทอารมณ์ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ได้ถูกต้องชัดเจน คัมภีร์นิสสยอักษรล้านช้างจึงนำตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงทราบว่าหมู่ภิกษุ ๖๐ รูปในอตีตชาติ ร่วมกันเป็นพรานฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ กรรมนั้นตามมาทันในชาตินี้ คือต้องถูกฆ่าตายแล้วก็ต้องเสวยกรรมนั้นในนรก จึงทรงแนะนำให้เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ด้วยวิบากกรรมที่รุนแรง แทนที่จะเบื่อหน่ายด้วยปัญญากลับเบื่อหน่ายด้วยโทสะ รุนแรงถึงกับยับยั้งไม่อยู่ จึงฆ่าซึ่งกันและกันบ้าง ร้องขอหรือจ้างวานด้วยของใช้สอยบ้าง เป็นความเบื่อหน่ายที่รุนแรงด้วยโทสะก็จริงแต่ก็ไม่ได้อาศัยเรือน(กาม) จึงไม่มีกำลังส่งผลนำไปปฏิสนธิในนรกภูมิได้ การที่พระพุธทองค์ทรงพระกรุณาแนะนำมรณานุสติกรรมฐานให้แก่หมู่พระภิกษุเหล่านี้ก็เพื่อกันไม่ให้พวกพระภิกษุเหล่านั้นตกนรกได้ ก็ด้วยอารมณ์เช่นนี้นั่นเอง ส่วนตัวอย่างที่เบื่อหน่ายปัญจขันธ์รุนแรงด้วยปัญญาก็ เช่น พวกโจรใช้เถาหัวด้วน มัดพระเถระรูปหนึ่ง ให้นอนอยู่ที่ตัมพปัณณิทวีป เมื่อไฟป่าลามมาถึง
เพราะความเบื่อหน่ายเห็นโทษการมีปัญจขันธ์อย่างรุนแรง และเห็นคุณของปาติโมกขสังวรศีลอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ย่อมตัดเถาวัลย์ เจริญวิปัสสนา เป็นชีวิตสมสีสี ปรินิพพาน (วิสุทธิมรรค ปาติโมกขสังวรศีล)



๑.๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนานี้มีสภาพของความเป็นนาม นามจะรู้ได้ยากกว่ารูป แต่เวทนาก็ยังเป็นสิ่งถูกรู้ได้ง่ายกว่าสภาพของจิต เพราะความรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ที่เรียกว่าเวมนานั้นเกิดขึ้นเนื่องจากผัสสะ คือ การกระทบทางตา หูจมูก ลิ้น และกาย แม้แต่ความคิดซึ่งเข้ากระทบใจอยู่ตลอดก็มีผัสสะที่ให้ความรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ได้ หากพิจารณาข้อปฏิบัติอันเป็นที่สุดของเวทนาก็คือให้รู้จักเวทนาทุกชนิด ทุกเงื่อนไข โดยเริ่มจากง่ายๆ คือให้รู้ว่า อย่างนี้สุข อย่างนี้ทุกข์ อย่างนี้เฉยๆ

เวทนาเป็นนามธรรมที่มีลักษณะ
เฉพาะที่สังเกตเห็นได้ เช่น สุขใจ กับ ทุกข์ใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเห็นลักษณะของเวทนา ซึ่งเวทนาแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การพิจารณาจะต้องเป็นไปเพื่อเข้าใจสภาพความเป็นจริง เพื่อปล่อยวาง ฉะนั้นการปฏิบัติในหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตจะเข้าไปรู้ธรรมชาติในระดับที่ละเอียดขึ้นกว่ากายานุปัสสนาแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่เข้าใกล้สัจจะที่เกี่ยวกับอนิจจังของสภาวะแห่งรูปและนามได้ดีอีกด้วย


หลักการใช้สติพิจารณาเวทนา 

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรพิจารณาเวทนา ดังต่อไปนี้คือ

ถ้ารู้สึกเป็นสุข ก็ให้กำหนดรู้ว่า “ สุข”
ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ ก็ให้กำหนดรู้ว่า “ ทุกข์”
ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า“ ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์(เฉยๆ)”
ถ้ารู้สึกเป็นสุขที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ สุขนี้อิงอามิส”
ถ้ารู้สึกเป็นสุขที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ สุขนี้ไม่อิงอามิส”
ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ ทุกข์นี้อิงอามิส”
ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนด รู้ว่า “ ทุกข์นี้ไม่อิงอามิส”
ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนดรู้ว่า “ ความไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) นี้อิงอามิส”
ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กำหนดรู้ว่า “ ความไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) นี้ไม่อิงอามิส

การรู้สุขเวทนาแบบชาวโลกที่รู้กันทั่วๆไป เช่น เด็กอ่อนที่ยังนอนแบเบาะอยู่
เมื่อได้กินนมก็ย่อมรู้ชัดว่าเรากำลังสุขอยู่ การรู้แบบนี้ไม่เป็นไปเพื่อละทิฏฐิ ตัณหา มานะ ฉะนั้น การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่ได้มุ่งหมายความรู้สุขเวทนาเป็นต้น เหมือนอย่างที่เด็กอ่อนรู้นั้น แต่ต้องกำหนดรู้สุขเวทนานั้นที่สภาวะลักษณะว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุ เช่น สุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะมีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นแล้วมีความสุขทางกาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการรับรู้อารมณ์โดยใคร เวทนาที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่สัตว์บุคคล แต่ที่เป็นไปได้ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ จึงมีการรับรู้(เสวย)อารมณ์นั้นๆ แต่เพราะไม่เข้าใจความเป็นจริงอย่างนี้ บุคคลทั้งหลายจึงยึดถือเอาความเป็นไปแห่งเวทนานั้นว่าเราเสวยเวทนา 

ฉะนั้น คำว่าเราสุข เราทุกข์ จึงเป็นเพียงแค่โวหารเรียกขานกันเท่านั้น ความเป็นจริงหามีเราสุข เราทุกข์ไม่ มีแต่อารมณ์กับการรับรู้อารมณ์เท่านั้น ดังตัวอย่างจากอรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ แสดงไว้ว่า พระเถระรูปหนึ่งท่านไม่สบาย ถอนหายใจพลาง นอนกลิ้งไปมาอยู่ ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งถามท่านว่า ท่านขอรับ ที่ตรงไหนของท่านที่โรคเสียดแทง พระเถระตอบว่า ชื่อว่าที่ซึ่งโรคเสียดเฉพาะแห่งไม่มี เวทนาต่างหากเสวย เพราะกระทำวัตถุให้เป็นอารมณ์ ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านควรจะยับยั้งไว้ตั้งแต่เวลาที่รู้ มิใช่หรือ พระเถระตอบว่า ผมกำลังยับยั้ง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ การยับยั้งไว้เป็นของประเสริฐ พระเถระได้ยับยั้งไว้แล้ว ลำดับนั้นลมเสียดแทงถึงหัวใจ ใส้ใหญ่ได้ออกมากองอยู่บนเตียง พระเถระได้ชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูว่า ยับยั้งไว้ขนาดนี้สมควรหรือยัง ภิกษุหนุ่มนิ่ง พระเถระประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วปรินิพพานทันที (เป็นพระอรหันต์ประเภทชีวิตสมสีสี)

การกำหนดเวทนา เวทนาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการรับกระทบกับอารมณ์ คือมี ผัสสะ เวทนา วิญญาณ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เกิดแต่เฉพาะผัสสะเท่านั้น แต่เวทนาที่รับรู้อารมณ์ก็เกิดขึ้นพร้อมกันกับผัสสะตลอดจนกระทั่งธรรมอื่นอันได้แก่ สัญญา ความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ 

เจตนา คือความจงใจ ตลอดจน วิญญาณ ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฉะนั้นผู้ปฏิบัติจะกำหนดเวทนาก็ย่อมจะต้องกำหนดเจตสิกธรรม คือ ผัสสะนั้นด้วยเมื่อการกระทบอารมณ์เกิดขึ้นแล้วเวทนา สัญญา และธรรมอื่นๆ ก็เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้วก็จะทราบชัดว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกรชกาย(รูปร่างกาย)นี้ เมื่อพิจารณากรชกายก็จะเห็นแต่เพียงมหาภูตรูปและอุปาทายรูปนั้นเอง ธรรม (อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา)ที่อาศัยมหาภูตรูปและอุปาทายรูปเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นเพียงนาม ฉะนั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นขันธ์ ๕ คือ รูปเป็นรูปขันธ์ ธรรมที่เหลือเป็นนามขันธ์ ๔ เมื่อพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้แล้วก็จะมีแต่เพียงรูปกับนามเท่านั้น มีแต่ขันธ์ ๕ เท่านั้น สิ่งที่จะพ้นไปจากรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมไม่มี 

เมื่อพิจารณาโดยขันธ์ ๕ ได้แล้วก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า ขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น ก็จะพบว่าเพราะอวิชชา(ความไม่รู้)เป็นต้นเหตุ เพราะความไม่รู้จึงไปทำบุญบ้างทำบาปบ้าง เมื่อเหตุบุญเหตุบาปมีแล้วผลย่อมปรากฏโดยการนำเกิดขึ้นมาในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อสาวหาเหตุได้ถูกต้องแล้วว่า เพราะอวิชชาเป็นเหตุนี้เองจึงทำให้มาเกิดและได้รับเวทนาเหล่านี้อยู่ในขณะนี้ ต่อจากนั้นก็ยกขันธ์ ๕ นั้นขึ้นสู่การพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งทั้งมวลไม่มีอย่างอื่นที่เป็นสัตว์หรือบุคคล มีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น แล้วพิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไปตามลำดับแห่งวิปัสสนา

ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติสรุป ดังนี้ 

๑. นำวิธีข้างต้นมาพิจารณาเวทนา คือเวทนาที่เป็นความรู้สึกของตนให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา
๒. หรือพิจารณาเปรียบเทียบเวทนาภายในกับภายนอก โดยการเปรียบเทียบเวทนาของตนกับของบุคคลอื่น ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา
๓. หรือจะใช้สติพิจารณารู้สลับกันไปมาระหว่างเวทนาภายในกับเวทนาภายนอก ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา 
๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมอันเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งเวทนา หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด-ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด-ดับแห่งเวทนา สลับกันไปก็ได้
๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียง เวทนาคือความรู้สึกเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา ) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นำเอา เวทนาคือความรู้สึกมาพิจารณาตามนัยข้างต้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญสติยิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขารใดๆ ที่กำลังเกิดดับอยู่ 

จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (โดยสังเขป)


วันจันทร์

สถานการณ์พุทธศาสนาจากอินเดียสู่เอเซีย



หัวข้อ มองสงครามอเมริกา-ตาลีบัน ผ่านภูมิหลังชมพูทวีป
ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔


หัวข้อ ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย


หัวข้อ มาลายูสู่แหลมทอง


หัวข้อ 
ศูนย์พุทธโลก
ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓