วันจันทร์

มหาสติปัฏฐานสูตร (หน้า ๒)

 มหาสติปัฏฐานสูตร (หน้า ๑)


หมวดสัจจะ

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’


ทุกขสัจจนิทเทส

ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ 
ชาติ (ความเกิด) เป็นทุกข์
ชรา (ความแก่) เป็นทุกข์
มรณะ (ความตาย) เป็นทุกข์
โสกะ (ความโศก) เป็นทุกข์
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) เป็นทุกข์
ทุกข์ (ความทุกข์กาย) เป็นทุกข์
โทมนัส (ความทุกข์ใจ) เป็นทุกข์
อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นทุกข์
การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์
การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์

โดยย่อ อุปาทานขันธ์๑- ๕ เป็นทุกข์

ชาติ เป็นอย่างไร คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ

ชรา เป็นอย่างไร คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นอย่างไร คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตาย กล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มรณะ

โสกะ เป็นอย่างไร คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โสกะ

ปริเทวะ เป็นอย่างไร คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปริเทวะ

ทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากกายสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์

โทมนัส เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์อันเกิดจากมโนสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โทมนัส

อุปายาส เป็นอย่างไร คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อุปายาส

การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่มีความเกษมจากโยคะของเขา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์

การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือกับบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาความเกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดาบิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว มิตร อำมาตย์หรือญาติสาโลหิต ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์

การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลย’ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา  ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดาเลย และขอความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อย่าได้มาถึงเราเลย’ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์


โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือ เวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ


สมุทยสัจจนิทเทส

ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ
ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดขึ้นในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ก็ตัณหานี้แหละเมื่อเกิดขึ้น เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน

คือ ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้ (ปิยรูปสาตรูป หมายถึงสภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ เป็นส่วนอิฏฐารมณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดตัณหา)

อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก คือ
จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ 
ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้
โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ฆานะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ
ชิวหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กายเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
มโน
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้
เสียงเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กลิ่นเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รส
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธรรมารมณ์
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้
โสตวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ฆานวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
กายวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
มโนวิญญาณเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้
โสตสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ 
ฆาน
สัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ชิวหาสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กายสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาซึ่งเกิดจากจักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดจากจักขุสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากฆาน
สัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิด
จากมโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปสัญญา (ความกำหนดหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้
สัททสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
คันธสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมสัญญาเป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปสัญเจตนา (ความจำนงในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้
สัททสัญเจตนาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปตัณหา (ความอยากได้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้
สัททตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ
คันธตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ
โผฏฐัพพตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูป 
ฯลฯ

รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้
สัททวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก  ฯลฯ
คันธวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้
สัททวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก  ฯลฯ
คันธวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ


นิโรธสัจจนิทเทส

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ ความดับกิเลสไม่เหลือด้วยวิราคะ ความปล่อยวาง ความสละคืน ความพ้น ความไม่ติด ก็ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน คือ

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้ อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก คือ

จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุนี้
โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ฆานะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ชิวหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กายเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
มโนเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปนี้
เสียงเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กลิ่นเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสเป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธรรมารมณ์เป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ

จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้
โสตวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ฆาน
วิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ
กายวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ

จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้
โสตสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ฆานสัมผัสเป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ
ชิวหาสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
กายสัมผัสเป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ
มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
เวทนาที่
เกิดจากมโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้
สัททสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพสัญญา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้
สัททสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ
โผฏฐัพพสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมสัญเจตนาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้
สัททตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธตัณหาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
รสตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพตัณหา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้
สัททวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธวิตกเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
รสวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตกเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ฯลฯ
ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้
สัททวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
คันธวิจารเป็นปิยรูป
สาตรูปในโลก ฯลฯ
รสวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจารเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก 
ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ


มัคคสัจจนิทเทส

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)       
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)     
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)         
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

สัมมาสติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างนี้แล

หมวดสัจจะ จบ


อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

ภิกษุทั้งหลาย
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปี พึงหวัง
ได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี  อย่าว่าแต่ ๗ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๖ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๖ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๕ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๕ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๔ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๔ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๓ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๓ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๒ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๒ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๑ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๑ ปีจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๗ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๖ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๖ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๕ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๔ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๓ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๓ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๒ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๒ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๑ เดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี อย่าว่าแต่ ๑ เดือนจงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอดครึ่งเดือน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี ภิกษุทั้งหลาย ครึ่งเดือน จงยกไว้
- บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว จึงกล่าวคำดังพรรณนามาฉะนี้”

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล





มหาสติปัฏฐานสูตร (หน้า ๑)

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

 “ภิกษุทั้งหลาย
ทางที่ผู้ต้องการพระนิพพานควรดำเนินไปนี้เป็นหนทางเดียว หมายความว่า 
(๑) เป็นทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ ไปประพฤติธรรมอยู่แต่ผู้เดียว
(๒) เป็นทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียว คือ พระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำให้เกิดขึ้น
(๓) เป็นทางปฏิบัติในศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนา
(๔) เป็นทางดำเนินไปสู่จุด
หมายเดียว คือพระนิพพาน

เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง

คือ 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
(
อภิชฌาและโทมนัส คือ ความพอใจและความไม่พอใจ เช่น เมื่อมีสุขก็ชอบใจอยากสุขอย่างนั้น เมื่อมีทุกข์ก็ไม่ชอบใจอยากพ้นสภาพนั้น)




  กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย)  

กายานุปัสสนา หมวดลมหายใจเข้าออก

ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’

สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
(
ระงับกายสังขาร หมายถึงผ่อนคลายลมหายใจหยาบให้ละเอียดขึ้นไปโดยลำดับจนถึงขั้นที่จะต้องพิสูจน์ว่ามีลมหายใจอยู่หรือไม่ เปรียบเหมือนเสียงเคาะระฆังครั้งแรกจะมีเสียงดังกังวานแล้วแผ่วลงจนถึงเงียบหายไปในที่สุด)
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’

ภิกษุทั้งหลาย ช่างกลึง หรือลูกมือช่างกลึงผู้มีความชำนาญ
เมื่อชักเชือกยาว
ก็รู้ชัดว่า ‘เราชักเชือกยาว’
เมื่อชักเชือกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราชักเชือกสั้น’ 

แม้ฉันใด 
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’

สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก‘

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายใน (ลมเข้าออกของตน) อยู่
พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายนอก (ลมเข้าออกของผู้อื่น) อยู่

หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุเกิด (แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับ (แห่ง
ลมหายใจ) ในกายอยู่
หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับ 
(แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่

หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดลมหายใจเข้าออก จบ

กายานุปัสสนา หมวดอิริยาบถ

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า ‘เราเดิน’
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า ‘เรายืน’
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า ‘เรานั่ง’
หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า ‘เรานอน’
ภิกษุนั้น เมื่อดำรงกายอยู่โดยอาการใดๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอาการนั้นๆ

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดอิริยาบถ จบ

กายานุปัสสนา หมวดสัมปชัญญะ

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดสัมปชัญญะ จบ

กายานุปัสสนา หมวดมนสิการสิ่งปฏิกูล

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่
ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอดลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’

ภิกษุทั้งหลาย ถุงมีปาก ๒ ข้าง เต็มไปด้วยธัญพืชชนิดต่างๆ คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร คนตาดีเปิดถุงยาวนั้นออก พิจารณาเห็นว่า ‘นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง นี้เป็นเมล็ดงา นี้เป็นข้าวสาร’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้น มีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดมนสิการสิ่งปฏิกูล จบ

กายานุปัสสนา หมวดมนสิการธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ตามที่ดำรงอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้มีความชำนาญ ครั้นฆ่าโคแล้ว แบ่งอวัยวะออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดมนสิการธาตุ จบ

กายานุปัสสนา หมวดป่าช้า ๙ หมวด

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
๑. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้าซึ่งตายแล้ว ๑ วัน ตายแล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวคล้ำ ศพมีน้ำเหลืองเยิ้ม แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๒. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้าซึ่งถูกกาจิกกิน นกตะกรุมจิกกิน แร้งทึ้งกิน สุนัขกัดกิน สุนัขจิ้งจอกกัดกิน หรือสัตว์เล็กๆ หลายชนิดกัดกินอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้นไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๓. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นโครงกระดูกยังมีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๔. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นโครงกระดูกไม่มีเนื้อแต่ยังมีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้นมีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๕. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นโครงกระดูกไม่มีเลือดและเนื้อ แต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้นมีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๖. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นโครงกระดูกไม่มีเอ็นรึงรัดแล้ว กระจุยกระจายไปในทิศใหญ่ ทิศเฉียง คือ กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกหลังอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางทิศหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางทิศหนึ่ง แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้นไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๗. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูกสีขาวเหมือนสีสังข์ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๘. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูกกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า ๑ ปี แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

๙. ภิกษุเห็นซากศพอันเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นกระดูกผุป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แม้ฉันใด ภิกษุนั้นนำกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบให้เห็นว่า ‘ถึงกายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’ ฉันนั้น

ด้วยวิธี (ทั้ง ๙ อย่าง) นี้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘กายมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างนี้แล

หมวดป่าช้า ๙ หมวด จบ


  เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา)  

ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนา’
เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนา’
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา’
เมื่อเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส ’
เมื่อเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส’
เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส’
เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส’
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิส’
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส’

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘เวทนามีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างนี้แล
(อามิส สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจเช่นเงินทอง เป็นต้น)

เวทนานุปัสสนา จบ



  จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต)  

ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
จิตมีราคะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’
จิตปราศจากราคะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’
จิตปราศจากโทสะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ
จิตปราศจากโมหะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหดหู่’
จิตฟุ้งซ่าน  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’
จิตไม่เป็นมหัคคตะ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’
จิตไม่เป็นสมาธิ  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นแล้ว  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’
จิตไม่หลุดพ้น  ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘จิตมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างนี้แล

จิตตานุปัสสนา จบ


  ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรม)  

หมวดนิวรณ์ (เครื่องปิด​กั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี)

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ ๕ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ ๕ อยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เมื่อกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘กามฉันทะภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อกามฉันทะภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘กามฉันทะภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นและกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

๒. เมื่อพยาบาท (ความคิดร้าย) ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘พยาบาทภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อพยาบาทภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘พยาบาทภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และพยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

๓. เมื่อถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ถีนมิทธะภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อถีนมิทธะภายในไม่มีอยู่ก็รู้ชัดว่า ‘ถีนมิทธะภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และ ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

๔. เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

๕. เมื่อวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘วิจิกิจฉาภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘วิจิกิจฉาภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ ๕ อยู่ อย่างนี้แล

หมวดนิวรณ์ จบ


หมวดขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

๑. รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
๒. เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
๓. สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้
๔. สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้
๕. วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ อย่างนี้แล

หมวดขันธ์ จบ

หมวดอายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ อยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. รู้ชัดตา รู้ชัดรูป สังโยชน์ใดอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้นก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๒. รู้ชัดหู รู้ชัดเสียง สังโยชน์ใดอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้นเกิดขึ้นก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๓. รู้ชัดจมูก รู้ชัดกลิ่น สังโยชน์ใดอาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้นเกิดขึ้น ก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๔. รู้ชัดลิ้น รู้ชัดรส สังโยชน์ใดอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้นเกิดขึ้นก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๕. รู้ชัดกาย รู้ชัดโผฏฐัพพะ สังโยชน์ใดอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นเกิดขึ้น ก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๖. รู้ชัดใจ รู้ชัดธรรมารมณ์ สังโยชน์ใดอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นเกิดขึ้น ก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และสังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ อยู่ อย่างนี้แล

หมวดอายตนะ จบ

หมวดโพชฌงค์

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ ๗ อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ ๗ อยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘สติสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘สติสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นและความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๒. เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และความเจริญบริบูรณ์แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๓. เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นและความเจริญบริบูรณ์แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๔. เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ก็รู้ชัดว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นและความเจริญบริบูรณ์แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๕. เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และความเจริญบริบูรณ์แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๖. เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ก็รู้ชัดว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และความเจริญบริบูรณ์แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
๗. เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในของเรามีอยู่’ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มีอยู่’ การเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ ๗ อยู่อย่างนี้แล

หมวดโพชฌงค์ จบ



อ่านต่อหน้า ๒  หมวดสัจจะ กล่าวถึงอริยสัจโดยทั้งหมด 



วันอังคาร

จังกีสูตร

บทวิเคราะห์
กาปทิกะเป็นผู้มีความรอบรู้มากจึงตั้งคำถามถามพระพุทธเจ้าว่า ความรู้จากตำราที่เป็นที่นับถือบ้าง ที่ถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์บ้าง เชื่อว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้องควรยึดไว้ปฎิบัติ ความรู้นอกจากนั้นไม่ควรยึดถือไว้ปฎิบัติใช่หรือไม่?

พระพุทธองค์เป็นผู้ที่ไม่ชอบใช้วิธีหักล้างความรู้เดิมของผู้อื่น จึงกล่าวให้ความรู้แก่มาณพกาปทิกะว่า ความรู้ในข้อปฎิบัติที่รับมานั้นมีองค์ธรรมประกอบด้วย ๕ อย่าง ให้ผล ๒ อย่าง
๑. รับความรู้มาปฎิบัติ เพราะ ศรัทธา
๒. 
รับความรู้มาปฎิบัติ เพราะ ความชอบใจ
๓. รับความรู้มาปฎิบัติ เพราะ ฟังตามๆกันมา
๔. รับความรู้มาปฎิบัติ เพราะ ตรงกับประสบการณ์ของตน
๕. รับความรู้มาปฎิบัติ เพราะ เข้ากันได้กับแนวคิดของตน

จากธรรมทั้ง ๕ นี้ มีผลเป็น ๒ ทางคือ
๑. เรื่องที่คิดว่าจริง กลับเป็นเท็จ ก็ได้
๒. เรื่องที่คิดว่าเท็จ กลับเป็นจริง ก็ได้

มาณพหนุ่มจึงถามพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อว่า ก็แล้วอย่างนั้นจะรู้ได้อย่างไร สิ่งไหนควรเชื่อยึดถือปฎิบัติ สิ่งไหนไม่ควร

พระพุทธองค์จึงให้แง่คิดไว้ว่า การปฎิบัติตามข้อบัญญัติหรือศีล ที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ก็ถือว่าปฎิดีแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับรู้ตามจริง

มาณพหนุ่มจึงถามต่อ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ไหนปฎิบัติจนรู้ตามจริงแล้ว ผู้ไหนยังปฎิบัติไม่ถึงความรู้ตามจริง

พระพุทธองค์จึงให้ข้อสังเกตุไว้ ๓ อย่าง คือ
๑. สังเกตุจากผู้นั้นเป็นผู้มีความโลภ หรือไม่มี
ความโลภ
๒. สังเกตุจากผู้นั้นเป็นผู้มีการประทุษร้าย หรือไม่มี
การประทุษร้าย
๓. สังเกตุจากผู้นั้นเป็นผู้มีความหลง หรือไม่มี
ความหลง

ผู้ที่รู้ตามจริงแล้วก็จะไม่ทำให้ผิดศีล แต่ความรู้ตามจริงเพียงอย่างเดียว ผู้นั้นก็ยังไม่ถึงกับบรรลุรู้ตามความจริงทั้งหมด

(ตรงนี้แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
๑. ปฎิบัติตาม
๒. รู้ตาม
๓. บรรลุรู้ตามจริง)

มาณพหนุ่มจึงถามต่อถึงข้อปฎิบัติอย่างไรล่ะถึงจะไปถึงการบรรลุ

พระพุทธองค์ตอบมาณพแบบปฏิโลมคือย้อนจากปลายมาหาต้น เพื่อความเข้าใจในพระสูตรง่ายขึ้นผู้เขียนได้ทำกราฟเป็นแบบอนุโลมควบคู่เอาไว้ด้วย เพื่อไล่ลำดับเหตุแห่งการบรรลุจากต้นไปหาปลายดังนี้













เริ่มต้นพระสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะของชาวโกศล ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมายมีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย(หมายถึงสิ่งที่ให้แก่บุคคลผู้ประเสริฐ, รางวัลที่ประกอบด้วยอำนาจเต็มเหนือบ้านนั้น)

พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านโอปาสาทะได้ยินข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า

‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดี อย่างแท้จริง”

            ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านรวมกันเป็นหมู่ ไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวันทางทิศเหนือ สมัยนั้น จังกีพราหมณ์พักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน มองเห็นพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านซึ่งล้วนออกจากบ้านเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวัน จึงเรียกอำมาตย์ที่ปรึกษามาถามว่า “พ่ออำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทำไมกัน”

อำมาตย์ที่ปรึกษาตอบว่า “ข้าแต่ท่านจังกี พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น พากันไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดมนั้น”

จังกีพราหมณ์กล่าวว่า “พ่ออำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปหาพวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์แล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านขอรับ จังกีพราหมณ์พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วย”

อำมาตย์ที่ปรึกษารับคำของจังกีพราหมณ์แล้ว เข้าไปหาพวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะแล้วก็บอกว่า “ท่านขอรับ จังกีพราหมณ์พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วย”


ความเป็นผู้ดีของจังกีพราหมณ์

            เวลานั้น พราหมณ์ต่างถิ่น ๕๐๐ คน มีธุระเดินทางมาพักอยู่ในบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะพอได้ฟังว่า “จังกีพราหมณ์จักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วย” จึงพากันเข้าไปหาจังกีพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วถามว่า “ท่านจังกีจักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ”

จังกีพราหมณ์ตอบว่า “จริง เราคิดจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”

พวกพราหมณ์ห้ามว่า “ท่านจังกีอย่าได้ไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมเลย ท่านจังกีไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี เพราะว่า ท่านจังกีเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรเสด็จมาหาท่านจังกี

อนึ่ง ท่านจังกีเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ฯลฯ เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ดุจพรหม มีกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญฯลฯ เป็นผู้มีวาจาไพเราะสุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชน สอนมนตร์แก่มาณพ ๓๐๐ คน ฯลฯ ท่านจังกีเป็นผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ เป็นผู้ที่พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ นอบน้อม ฯลฯ

ท่านจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี”

สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

            เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟังเราบ้าง เรานี่แหละควรไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดม ท่านพระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา ได้ทราบว่า ท่านพระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีพระชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนนีและฝ่ายพระชนก ทรงถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูลด้วยเหตุนี้ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดม ท่านทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงสละเงินทองมากมายทั้งที่ฝังอยู่ในพื้นดินและในอากาศ ผนวชแล้ว ฯลฯ พระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่นมีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกจากพระราชวัง ผนวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ เมื่อพระชนนีและพระชนกไม่ทรงปรารถนา (จะให้เสด็จออกผนวช) มีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ทรงกันแสงอยู่ พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตฯลฯ พระสมณโคดมมีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีอริยศีล(ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ
(๑) ปาติโมกขสังวรศีล(ความสำรวมในพระปาติโมกข์)
(๒) อินทรียสังวรศีล(ความสำรวมอินทรีย์ ๖)
(๓) อาชีวปาริสุทธิศีล(ความบริสุทธิแห่งอาชีวะ)
(๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่อาศัยการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔))
มีศีลที่เป็นกุศล ประกอบด้วยศีลที่เป็นกุศล ฯลฯ มีพระวาจาไพเราะ สุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ ทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชนมากมาย ฯลฯ (หมายความว่า ด้วยพระธรรมเทศนาครั้งเดียวของพระผู้มีพระภาค หมู่สัตว์จำนวน ๘๔,๐๐๐ เทวดาและมนุษย์นับประมาณไม่ได้ย่อมดื่มอมตธรรมคือมรรคและผล เพราะฉะนั้น จึงทรงเป็นอาจารย์ของหมู่สัตว์และทรงเป็นปาจารย์ของพระสาวกผู้ที่ทรงแนะนำได้) ทรงสิ้นกามราคะ ไม่ประดับตกแต่ง ฯลฯ ทรงเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อพราหมณ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูลสูง คือ ขัตติยตระกูลอันบริสุทธิ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ ประชาชนต่างบ้านต่างเมืองพากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม ฯลฯ ทวยเทพหลายพันองค์ถวายชีวิตขอถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ฯลฯ พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ฯลฯ พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ พร้อมทั้งพระราชโอรสและพระมเหสี ทรงถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลพร้อมทั้งพระราชโอรสและพระมเหสี ทรงถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ โปกขรสาติพราหมณ์พร้อมทั้งบุตรภรรยา ก็ได้ถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ พระสมณโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม เราทราบพระคุณของพระสมณโคดมเพียงเท่านี้ แต่พระสมณโคดมไม่ใช่ว่าจะมีพระคุณเพียงเท่านี้ แท้จริงแล้ว พระสมณโคดมมีพระคุณนับประมาณมิได้ ถึงแม้ท่านพระโคดมทรงประกอบด้วยองค์คุณบางอย่าง ก็ไม่ควรเสด็จมาหาเรา โดยที่แท้ เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”

(หลังจากนั้น) จังกีพราหมณ์ได้กล่าวเชิญว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเราทั้งหมดจักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วยกัน”

มาณพชื่อกาปทิกะทูลถามบทมนตร์

            ครั้งนั้น จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วทรงปฏิสันถารเรื่องบางเรื่องพอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่า สมัยนั้น มาณพชื่อกาปทิกะยังเป็นหนุ่มโกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นผู้เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญคัมภีร์โลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาได้พูดสอดขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่กับพระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า “ภารทวาชะผู้มีอายุ เจ้าอย่าพูดแทรกขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่ จงรอให้เขาพูดจบเสียก่อน”

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม อย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เจราจาถ้อยคำไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบในคำนั้นกับท่านพระโคดมได้”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “กาปทิกมาณพจักสำเร็จการศึกษาในปาพจน์คือไตรเพทเป็นแน่แท้ พราหมณ์ทั้งหลายจึงพากันยกย่องเขาถึงเพียงนั้น”

ครั้งนั้น กาปทิกมาณพได้คิดว่า “เมื่อใด พระสมณโคดมจักทอดพระเนตรสบตาเรา เมื่อนั้น เราจักทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม”

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของกาปทิกมาณพด้วยจิต (ของพระองค์) จึงทรงทอดพระเนตรไปทางที่กาปทิกมาณพนั่งอยู่

ครั้งนั้นแล กาปทิกมาณพได้คิดว่า “พระสมณโคดมทรงสนพระทัยเราอยู่ ทางที่ดี เราควรทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม” ลำดับนั้น กาปทิกมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ในบทมนตร์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลายโดยสืบต่อกันมาตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถึงความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมจะตรัสอย่างไร”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย พราหมณ์สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’มีอยู่หรือ”

กาปทิกมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้นไปจน ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”
กาปทิกมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์พราหมณ์ขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายรู้สิ่งนี้ เราทั้งหลายเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”

กาปทิกมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่ง ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็นปาจารย์ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ 

ธรรม ๕ ประการมีผลเป็น ๒ อย่าง

            ภารทวาชะ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด คือ แม้คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหามูลมิได้ มิใช่หรือ”

กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในข้อนี้พราหมณ์ทั้งหลายมิใช่เล่าเรียนกันมาด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่เล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา”

“ภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้อ้างถึงความเชื่อ บัดนี้ท่านอ้างถึงการฟังตามกันมา ธรรม ๕ ประการนี้มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. รุจิ (ความชอบใจ)
๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา)
๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ)
๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)

ธรรม ๕ ประการนี้แล มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน คือ
๑. สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี
๒. สิ่งที่ไม่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
สิ่งที่ชอบใจจริงๆ ฯลฯ สิ่งที่ฟังตามกันมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งที่ตรึกไว้อย่างดี ฯลฯ สิ่งที่พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่ได้พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี

ภารทวาชะ คนผู้ฉลาดเมื่อจะตามรักษาสัจจะ ไม่ควรจะตกลงใจในข้อนั้นอย่างเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

ตรัสตอบถึงการรักษาสัจจะ

            กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร การรักษาสัจจะจึงมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ถ้าบุรุษมีศรัทธา กล่าวว่า ‘เรามีศรัทธาอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่ามีความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรักษาสัจจะย่อมมีได้

บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน

ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีการฟังตามกันมา ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตน

เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรามีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน”
(การรักษาสัจจะ คือการประพฤติดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ 
การรู้สัจจะ คือปัญญาที่ใช้ในการพิจารณา
)

ตรัสตอบถึงการรู้สัจจะ

            กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมหวังการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดีก็ดี บุตรของคหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ใคร่ครวญในธรรม ๓ ประการ คือ
(๑) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ (ความโลภ)
(๒) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (การประทุษร้าย)
(๓) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (ความหลง)
ว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ หรือไม่หนอ (เพราะว่า) ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้นได้หรือหนอ’

เมื่อเขาพิจารณาถึงภิกษุนั้นอยู่ จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ (เพราะว่า) ผู้มีจิตถูกธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เกิดโลภะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่รู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่เห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น

อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่โลภ ท่านผู้นี้แสดงธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรมละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนโลภจะแสดงได้ง่าย’ เมื่อใดเขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะแล้ว

เมื่อนั้นเขาพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’

เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่รู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่เห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น  อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้นี้แสดงธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรมละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนประทุษร้ายจะแสดงได้ง่าย’

เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เมื่อนั้นเขาย่อมพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’

เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่รู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าไม่เห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่หลง ท่านผู้นี้แสดงธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรมละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนหลงจะแสดงได้ง่าย’

เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่าเธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ เมื่อนั้น เขาสร้างศรัทธาในภิกษุนั้นอย่างมั่นคง จึงเกิดศรัทธาแล้วเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วฟังธรรมอยู่ ย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่งพินิจ เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งพินิจมีอยู่ ฉันทะ (ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงความพอใจด้วยความปรารถนาจะทำให้ยิ่งขึ้นอีก) ย่อมเกิด เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมพิจารณา ครั้นพิจารณาแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เธอตั้งความเพียรแล้ว ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งด้วยกาย และเห็นชัดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา

ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะจึงมีได้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมรู้สัจจะได้ และเราย่อมบัญญัติการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว”

ตรัสตอบถึงการบรรลุสัจจะ

            กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมหวังการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ การปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้”

ตรัสตอบถึงธรรมมีอุปการะมาก

            กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมหวังการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าบุคคลไม่ตั้งความเพียรนั้นไว้ ก็จะไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะเขาตั้งความเพียรไว้จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร พระพุทธเจ้าข้า”

ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าบุคคลไม่พิจารณาปัญญาเครื่องพิจารณานั้นก็จะพึงตั้งความเพียรนี้ไว้ไม่ได้ แต่เพราะเขาพิจารณาจึงตั้งความเพียรไว้ได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา พระพุทธเจ้าข้า”

“ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าบุคคลไม่อุตสาหะก็จะพึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะเขาอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ พระพุทธเจ้าข้า”

ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด บุคคลก็จะไม่พึงอุตสาหะ แต่เพราะฉันทะเกิด เขาจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ พระพุทธเจ้าข้า”

ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่งพินิจ ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรม พระพุทธเจ้าข้า”

ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่ไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายก็จะไม่พึงควรแก่การเพ่งพินิจ แต่เพราะเขาไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่งพินิจฉะนั้น ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความจึงมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรม”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความพระพุทธเจ้าข้า”

การทรงจำธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ ถ้าบุคคลไม่ทรงจำธรรมนั้น ก็จะพึงไตร่ตรองเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาทรงจำธรรมไว้ได้จึงไตร่ตรองเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ”

“ธรรมมีอุปการะแก่การทรงจำธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม พระพุทธเจ้าข้า”

การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าบุคคลไม่ฟังธรรมนั้น ก็จะพึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม พระพุทธเจ้าข้า”

การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าบุคคลไม่เงี่ยโสตลง ก็จะพึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง พระพุทธเจ้าข้า”

การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าบุคคลไม่เข้าไปนั่งใกล้ก็จะพึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเขาเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลงได้ ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง”

“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้าข้า”

การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา ก็จะพึงนั่งใกล้ไม่ได้ เพราะเขาเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ได้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้”

“ท่านพระโคดม ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา”

“ภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด บุคคลก็จะไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะศรัทธาเกิด เขาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา”

กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบการรักษาสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบการรู้สัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบการบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนักและข้าพระองค์ก็ชื่มชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงปัญหาข้อใดๆ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบปัญหาข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะโล้นเหล่านี้เป็นสามัญชน เกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นกัณหชาติ (วรรณะศูทร) เป็นใครกันและจะรู้ทั่วถึงธรรมได้อย่างไร ท่านพระโคดมได้ทรงทำให้ข้าพระองค์เกิดความรักสมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ และให้เกิดความเคารพสมณะในหมู่สมณะแล้วหนอ’

ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล