RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๗ อธิบายอรรถกถา รัตนจังกมนกัณฑ์


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวกทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชาจอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทินถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธวงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริสุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาตินี้

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถแห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้

ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๓๒ ชม.)



-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๖ เสด็จถึงราชคฤห์ ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิล ๓ พี่น้องกับบริวาร ๑,๐๐๐ องค์แล้วได้เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุผู้เป็นอดีตชฎิล ๑,๐๐๓ รูปมาถึงเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ยินชื่อเสียงของพระพุทธองค์มาก่อนแล้วว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต (๑๒ หมื่น) เสด็จมาเข้าเฝ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เปลื้องความสงสัยของชาวเมืองราชคฤห์ที่คิดว่า ระหว่างพระพุทธเจ้ากับชฎิลนั้นใครเป็นอาจารย์ของใคร ด้วยการตรัสเชื้อเชิญให้พระอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นหัวหน้าของอดีตชฎิล แสดงถึงเหตุผลที่ทำให้เลิกบูชาไฟ เมื่อชาวราชคฤห์สิ้นความสงสัยแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารอีก ๑๑ นหุตได้บรรลุอริยผล ส่วนอีก ๑ นหุตได้แสดงตนเป็นอุบาสก

ตอนที่ ๖ (ความยาว ๕๕ นาที)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๕ ทรงโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง แสดงอาทิตตปริยายสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานสำคัญที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน 

ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๒๖ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๔ ทรงโปรดพระยสกุลบุตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พระยสเถระ หรือ พระยสะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล

พระยสเถระ เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรก ๆ ในพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้วได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการชักชวนสหายของท่านกว่า ๕๔ คนให้เข้ามาบวชช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล

ตอนที่ ๔ (ความยาว ๑.๓๐ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๓ ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง เพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ๔ 

อนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา ๕ องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น ๖ องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ตอนที่ ๓ (ความยาว ๑.๔๗ ชม.)


-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอน ๑-๒ รัตนจังกมนกัณฑ์/ แสดงพุทธวงศ์/ อัพภันตรนิทาน

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พุทธวงศ์ หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต

ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน(การเล่าประวัติ) ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ ๒๔ พระองค์ เพราะ ๒๔ พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ๒๕ พระองค์ในพุทธวงศ์

ตอนที่ ๑ (ความยาว ๓.๒๗ ชม.)


ตอนที่ ๒
  (ความยาว ๑.๓๕ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เวทนาสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า “เวทนาสังคหะ”

คาถาสังคหะ
สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ   ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส   มิติ เภเทน ปญฺจธา ฯ

แปลความว่า ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือตามประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าโดยอินทริยเภท คือ ประเภทความเป็นใหญ่ของเครื่องรับอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ เพิ่ม โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา รวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเวทนา ๕

อธิบาย “เวทนา” เป็นเจตสิกปรมัตถ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเป็นไปโดยอาการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ หรือเป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่อบรรดาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฏ การสงเคราะห์จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนานี้ มีแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ แสดงโดย อารัมมณานุภวนลักขณนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของอารมณ์ นัยที่ ๒ แสดงโดย อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงถึงสภาพความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของเครื่องรับอารมณ์


นัยที่ ๑ อารัมมณานุภวนลักขณนัย
มีเวทนา ๓
ในบรรดาอารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่นี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ :-
๑. อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี
๒. อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี
๓. มัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ปานกลาง

ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ของสัตว์นั้น ย่อมเป็นไปตามประเภทของอารมณ์ คือ :-

๑. ขณะที่กำลังเสวยอิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกสบายกาย สบายใจ ความรู้สึกสบายกายสบายใจนี้ เรียกว่า “สุขเวทนา”
๒. ขณะที่กำลังเสวยอนิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายนี้ เรียกว่า “ทุกขเวทนา”
๓. ขณะที่กำลังเสวยมัชฌัตตารมณ์อยู่นั้น รู้สึกเฉย ๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ทั้งกายและใจ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนี้ เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา”

แสดงการจำแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๓ (อารัมมณานุภวนลักขณนัย)
๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา ทั้งสุขกายและสุขใจ มี ๖๓ ดวง คือ
- สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
- โสมนัสสหคตจิต ๖๒ ดวง

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา คือ ความทุกข์กายและทุกข์ใจมี
- ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
-โทมนัสสหคตจิต ๒ ดวง

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับอทุกขมสุขเวทนา คือ ความไม่ทุกข์และไม่สุข ทั้งกายและใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ ดวง คือ 


นัยที่ ๒ อินทริยเภทนัย มีเวทนา ๕

คาถาสังคหะ
สุขเมกตฺถ ทุกฺขกฺจ   โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฐีสุ โสมนสฺสํ   ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ

แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒, โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕ (กล่าวโดยอินทริยเภทนัย)

อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทความเป็นใหญ่แห่งเครื่องรับอารมณ์ กล่าวคือ การเสวยอารมณ์ของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมปรากฏชัด ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง เรียกความปรากฏชัดในการเสวยอารมณ์นี้ว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ซึ่งปรากฏได้ ๒ ทาง คือ ทางกาย และทางใจ

ความรู้สึกสบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับสุขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “สุขเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับทุกขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “ทุกขเวทนา”

ความรู้สึกสบายใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโสมนัสสหคตจิตนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โสมนัสเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโทสมูลจิตนั้นย่อมเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โทมนัสเวทนา”

ความรู้สึกเฉย ๆ ที่ปรากฏได้เฉพาะทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาสหคตจิต เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์โดยรู้สึกเฉย ๆ เรียกเวทนานั้นว่า “อุเบกขาเวทนา”

รวมความว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏทางกายกับทางใจนั้น มีเวทนาเกิดได้ ๕ อย่าง คือ :-

๑. ทางกาย 
- ความรู้สึกสบายกาย เรียกว่า สุขเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายกาย เรียกว่า ทุกขเวทนา

๒. ทางใจ
- ความรู้สึกสบายใจ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายใจ เรียกว่า โทมนัสเวทนา
- ความรู้สึกเฉยๆ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

แสดงเวทนา ๕ ที่เกิดพร้อมกับจิต ๑๒๑

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ
๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ทุกขสหคตกายวิญญาณ
๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา (สุขใจ) มี ๖๒ ดวง ได้แก่ กามโสมนัสสหคตจิต ๑๖ ดวง ฌานโสมนัสสหคตจิต ๔๔ ดวง
๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง ได้แก่ โทมนัสสหคตจิต (โทสมูลจิต)
๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา (เฉยๆ) มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามอุเบกขาสหคตจิต ๓๒ ดวง ฌานอุเบกขาสหคตจิต ๒๓ ดวง

เวทนา กับ เจตสิก เวทนากับเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ :-
ก. แสดงว่า เวทนาใด เกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใด เกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก
สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
โสมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนาเจตสิก)
  • อกุศลเจตสิก ๙ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๒๑ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ) 
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓, วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ)
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา
๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ 
ปีติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ :-
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ :-
โมจตุกเจตสิก ๔ ถีนมิทธเจตสิก ๒ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑  อธิโมกขเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา อย่างใดก็ได้

๔.เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๕ มี ๖ ดวง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือเวทนาเจตสิก ๑



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS