🔅 ๑. ย้อนทางเข้าสู่แดนพุทธภูมิ
มองผ่านๆ ข้ามพุทธกาล สู่ยุคอโศก
วัชซีสูญอำนาจ - มคธขึ้นเป็นศูนย์อำนาจ
ถ้าไม่ประมาท ก็ไม่เสื่อม
มคธผ่านสู่ยุคอโศก
ทรัพย์และอำนาจ สู่ความหมายและคุณค่าใหม่
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
อโศกมหาราช - อโศกธรรม
ธรรมวิชัย: หลักการใหญ่ที่นำเข้าสู่พุทธธรรม
ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ
เทียบกันแล้ว ควรสรุปได้
ความกล้าหาญในทางสันติ
เลิกบูชายัญ เพียงเป็นฐาน สู่ความงอกงามในธรรม
🔅 ๒. เฝ้าพระพุทธเจ้า ที่ประทับ
ราชคฤห์: ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ศรัทธาและปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ธรรม เป็นอิสระจากคน คนถึงธรรม เป็นอิสระจากสังขาร
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้ให้เจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อม
🔅 ๓. ความยิ่งใหญ่ ที่ทําให้ทั้งเจริญและเสื่อม
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมา ก็เกิดการศึกษาแก่มวลชน
วัดในพระพุทธศาสนา: ต้นกำเนิดมหาวิทยาลัยของโลก
นาลันทากับความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย
อวสานมาถึง เมื่อทัพมุสลิมเตอร์กลงดาบสุดท้าย
ร่องรอยที่เหลืออยู่ และเค้าการฟื้นฟู หลังหมดสิ้นไปแล้ว
พระพุทธศาสนาในมือของพุทธบริษัท
🔅 ๔. หัวใจธรรม จากจุดศูนย์กลาง
ราชคฤห์: ศูนย์อำนาจการเมือง เรื่องที่ร้อน
ก) ราชคฤห์ ถึง ปารีบุตร
ข) เรื่องของราชคฤห์
มาฆบูชา กับ หัวใจพระพุทธศาสนา
จากราชคฤห์นั้น เวฬุวันแผ่ความร่มเย็นแห่งมาฆบูชา
สาระของโอวาทปาฏิโมกข์
ก) คาถาที่ ๑ ซึ่งเป็นตอนแรก
ข) คาถาที่ ๒ คือตอนกลาง
ค) คาถาที่ ๓ (กับครึ่งคาถา) คือตอนท้าย
มาฆบูชา ขึ้นมาเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา
หัวใจเดียว แต่มีสีห้อง
วิธีอริยสัจ ได้ผลชะงัด ตั้งแต่สอนนักเรียน จนถึงปลุกระดมคน
ละชั่ว ทำดี ยังไม่พอ ต้องต่อด้วยไม่มีกิเลสเหลือในใจ
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
ความรัก วัดระดับการพัฒนาของคน
ถึงความรักจะดี ก็ไม่พอที่จะเลี้ยงลูกและอภิบาลโลก
มนุษย์กับมนุษย์รักกัน แต่มนุษย์ทุกคนต้องอยู่ให้ดีกับธรรม
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน ทั้งโลกจนถึงลูก จะสุขสันต์แท้จริง
มาฆบูชา พัฒนาความรักแห่งวาเลนไทน์ และให้ดุลแห่งธรรม
🔅 ๕. โพธิพฤกษ์ - โพธิญาณ
ตรัสรู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
ตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก คนเปิดปากปิดหู ไม่อยากฟังว่าตัวต้องทำอะไร
จากเทพสู่ธรรม ธรรมกำหนดกรรม กรรมเรียกร้องสิกขา
ก) จาก เทพสูงสุด เป็น ธรรมสูงสุด
ข) จาก “ธรรม” แห่งแคบเข้ามาที่ “กรรม”
ค) เพื่อให้ “กรรม” ผลดี คนต้องมีการ “ศึกษา”
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
พระรัตนตรัยเป็นยอดสรณะ ที่โยงเราไปยังปัญญาซึ่งเห็นอริยสัจ
ถ้าคนไม่ประสานกับธรรม ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
🔅 ๖. จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ฝนตกใหญ่ ทำให้เวลาน้อย เรียนได้เพียงที่ทางและถ้อยคำ
ก) ธรรมจักร ๒ ความหมาย
ข) วัด ที่เหลือแต่ซาก
ค) หลักศิลาจารึกอโศก แห่งที่เลื่องชื่อ
ง) เขาขัณฑสถูป
จ) ธัมมราชิกาสถูป
ฉ) ธัมเมกขสถูป
ช) สิปตนมฤคทายวัน ทำไมเป็น สารนาถ
ฌ) พาราณสี ชื่อนี้ทําไมยืนยงนัก
🔅 ๗. รักษาแผ่นดินไทย ให้เป็นแผ่นดินธรรม
พาราณสี ที่พระไทยมาศึกษา
ชาวพุทธไทย ใส่ใจบุญด้านทาน แต่การศึกษาไม่เอา
- แม้แต่รัฐ ก็ยังคอยตัด ไม่ให้เด็กได้เรียนศีลธรรม
- ชาวพุทธไทย ไม่รู้ว่าเป็นชาวพุทธอยู่ที่ไหน
- พระเณรไทยก็เคว้งคว้าง ไม่รู้จะตั้งต้นและจะตั้งตัวไว้ที่ไหน
- พระมาศึกษาในต่างแดน ถ้าก้าวให้ดี จะเป็นที่ตั้งต้นความหวังแก่สงฆ์ไทย
- พระเณรที่เรียนสายใหม่ ช่วยตรึงสถานการณ์ไว้
พาราณสี ถิ่นเริ่มตั้งหลัก แผ่ขยาย และสืบสายประเพณี
เมตตาที่มีปัญญา จึงพาโลกสู่สันติสุขได้
เตอร์กจากไหน จึงมาอยู่ตุรกี
อิสลามรวมอาหรับ
อิสลามแผ่ไพศาล
ชีอะฮ์แยกออกมา
สุหนี่นำอิสลามครองสเปน จ่อแดนจีน
จากยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่ยุคมุสลิมเตอร์ก
- กาหลิฟเป็นใหญ่ แล้วกลายเป็นหุ่นเชิดของสุลต่าน
มุสลิมเตอร์ก มุสลิมมองโกล รุ่งแล้วเลื่อนลับ
- คืนสู่มุสลิมอาหรับ ที่เป็นฐานเดิม
🔅 ๘. ถ้าสังเวชเป็น ก็จะได้เห็นธรรมกาย
ยิ่งเหน็ดเหนื่อยยากลำบาก ก็ยิ่งมีเครื่องบูชาที่จะถวายเพิ่มมากๆ
เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
ก) ทางเสร็จ: ราชคฤห์ ถึง กุสินารา
ข) ธรรมหลักใหญ่ ที่เป็น พหุสานุศาสน
ค) พุทธบริษัท ๔ มีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะรักษาพระพุทธศาสนาได้
ง) ถ้ามรรคมีองค์ ๘ ยังมีการปฏิบัติอยู่ ผู้เป็นอรหันต์ก็ยังมีได้
จ) พระพุทธเจ้าล่วงลับไป ชาวพุทธมีธรรมวินัย เป็นศาสดา
ฉ) พระวาจาสุดท้าย ที่ฝากไว้ ชาวพุทธจะต้องใส่ใจ ถือเป็นยอดสําคัญ
ช) อนิจจัง เพื่อให้ไม่ประมาท ต้องประกบอนิจจัง ที่ปลงให้สบายใจ
ฌ) อนิจจัง ให้สังเวช จะได้แข็งขันไม่ประมาท
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง
🔅 ๙. ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
คติจากสังเวชนียสถาน
ทําประโยชน์ของตนให้ถูกให้ดี จะเป็นที่พึ่งของโลกได้
รูปกาย-ธรรมกาย ปรากฏและเป็นไป ที่สังเวชนียสถาน ๔
มีโยนิโสมนสิการ เรื่องร้ายก็กลายเป็นดี
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะโยนิโสมนสิการ
คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา
พระพุทธเจ้าเสด็จมา ประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
อิสรภาพของมนุษย์ จะได้มาด้วยการศึกษาที่ถึงธรรม
จะอาศัยสิ่งกล่อมอยู่สบายๆ หรือจะใช้ความเพียรและปัญญาที่เป็นอิสระ
อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งเสียทันที ถ้าปรุงแต่งดี ได้ถึงฌานสมาบัติอย่างสูง
สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้มและให้ครบ
หลายเรื่องที่ควรรู้ให้ชัด
จะนอนคุดคู้อยู่ด้วยการอ้อนวอนปรารถนา หรือจะเดินหน้าด้วยอธิษฐาน
ใช้เวลาสักนิด กับเรื่องภวังคจิต
คนไทยอธิษฐานเพื่อจะได้ - พระให้อธิษฐานเพื่อจะทำ
ปัญญา ที่ชี้นำ ให้เข้ามาและเดินหน้าไปในทางสายกลาง
ความได้ดุลพอดี ทีเป็นลักษณะสําคัญของทางสายกลาง ธันโดษดี
สันโดษดี, สันโดษไม่ดี - ไม่สันโดษไม่ดี, ไม่สันโดษดี
ทางสายกลางแห่งความพอดี มาลงที่ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นอันหนึ่งเดียว
🔅 ๑๐. ทางสายกลาง เพื่อชีวิตสังคมที่สุขสมบูรณ์
สาวัตถี ถิ่นปิยชนเปี่ยมศรัทธา
เรื่องร้อนที่ราชคฤห์ มาระงับได้ที่สาวัตถี
เคารพรัก-ร่มเย็น เป็นบรรยากาศของสาวัตถี
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
การเมืองของชมพูทวีป: สืบสู่อินเดียหลังพุทธกาล
จะเจริญอย่างเดียวไม่เสื่อมก็ได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดคือตัวมนุษย์และในตัวมนุษย์ ปัจจัยสำคัญที่สุด คือกรรม -ไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
ความไม่ประมาท คือความสามารถจัดการกับอนิจจัง
ความประมาท สำคัญอย่างไรจึงทําให้ความไม่ประมาท กลายเป็นธรรมยิ่งใหญ่
เรียบง่าย แต่ระวัง อย่าให้กลายเป็นมักง่าย
ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์ ดีกว่าปล่อยให้มักง่าย แต่ผลที่ได้ไม่ยั่งยืน
มองอินเดียกับฝรั่ง ให้เห็นความแตกต่างที่เป็นคติแก่ไทย
ถ้ามนุษย์พัฒนาจริง ก็ต้องพ้นวงจรแห่งความเจริญแล้วเสื่อม
ไม่ประมาท จึงสามารถธำรงทางสายกลาง
ความไม่ประมาท มาช่วยปรับให้พอดี จึงเป็นทางสายกลาง
ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ ทำให้ชีวิตและสังคมอยู่พอดี
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ดุลยภาพพื้นฐาน ที่ประสานคน กับธรรมชาติและสังคม
ธรรมเป็นบรรทัดฐานแห่งความถูกต้องของวินัย
วินัยเป็นบรรทัดฐานแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องตามธรรม
วินัยกันไว้ ไม่ให้เอาธรรมมาอ้างในทางที่ผิด
ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์
วินัยเอาปัจจัยพิเศษของมนุษย์เข้าไปใส่กระบวนธรรม
ชาวพุทธ คือผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย
เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย
เศรษฐกิจพาวิบัติ เมื่อมันถูกจัดเป็นจุดหมาย
ทุกข์ จึงดับทุกข์ได้ ไม่ใช่ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์
เข้าถึงระบบสัมพันธ์ของธรรมแล้ว ก็จัดแยกจับโยงได้ทั่วสรรพสิ่ง
🔅 ๑๑. รักษาธรรม คือรักษาความเป็นไท
แนะนำถ้ำอชันตา เอลโลรา
ก) หมู่ถ้ำอชันตา
ข) หมู่ถ้ำเอลโลรา
ข้อสังเกต เทียบระหว่างชันตา กับเอลโลรา.
ถ้าแยกเป็น ก็มองเห็นพุทธศาสนา
ถ้ำกับชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
หลังพุทธกาลนานนักหนา คามวาสี-อรัญญวาสีจึงมีขึ้นมา
มองวัด เห็นความคลี่คลาย หรือความคลาดเคลื่อน
เถรวาท-มหายาน-ฮินดู-เชน ทยอยมา เป็นปริศนายังค้าง
วัดถ้ำ พุทธก็มี ฮินดูก็ทำ เกิดจากเงื่อนจํา หรือสื่อความหมายอะไร
จากเทพสูงสุด สู่ธรรมสูงสุด มนุษย์พ้นอำนาจพรหม สู่ความเป็นพุทธ
ฮินดูฟื้น พุทธศาสนาฟุบ
เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา ยกมาดูกันแค่นี้ก็มองเห็น
วัดถ้ำ: พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย เนื้อในคนละอย่าง
ดูของข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร
ถ้าจะยังเป็นพุทธ ต้องรักษาหลักการไว้
พระรัตนตรัย สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง
ต้นโพธิ์ พระสถูป พระพุทธรูป ทยอยมา
อชันตา-เอลโลรา แถมมีโพธิสัตว์รูปด้วย
พระโพธิสัตว์: เสริมพลังเดินหน้า หรือพาเขาออกจากทาง
บทเรียนที่มักถูกลืม
● นารายณ์อวตาร
● ศิวะอวตาร
● ปุษยมิตร มิหิรกุล: ศาศางกะ โค่นในระหว่าง
● ทัพมุสลิมเตอร์ก ล้างปิดรายการ
๑๗๐๐ ปี หลักการแค่นี้ รักษาไม่ได้
คู่ต่าง คือคู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของพระโคตมพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ จนถึงดับขันธปรินิพพาน
๐๑.ศากยวงศ์
๐๒.พระโพธิสัตว์จุติ
๐๓.ประสูติ
๐๔.คำทำนายโหราจารย์
๐๕.เสด็จออกบรรพชา
๐๖.ตรัสรู้
๐๗.เสวยวิมุติสุข
๐๘.ปฐมเทศนา
๐๙.พุทธกิจ ๔๕ พรรษา
- ๐๙.๑ พรรษาที่ ๑ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๒ พรรษาที่ ๒-๔ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๓ พรรษาที่ ๕ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๔ พรรษาที่ ๖ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๕ พรรษาที่ ๗ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๖ พรรษาที่ ๘ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๗ พรรษาที่ ๙ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๘ พรรษาที่ ๑๐ 🔊 (ไฟล์เสียง)
- ๐๙.๙ พรรษาที่ ๑๑-๔๕
๑๐.ปรินิพพาน
สถานที่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์๔ สังเวชนียสถาน
แห่งที่๑ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ปักไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังทราบว่าตรงจุดนี้ เป็นที่ที่พระบรมศาสดาออกจากพระครรภ์ของพระมารดา ปัจจุบันสถานที่นี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูตินี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดีย-เนปาลประมาณ ๓๒ กิโลเมตร ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้ ภาษาทางราชการเรียกว่า "ลุมมินเด" แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังเรียกว่า "ลุมพินี"
แห่งที่ ๒ วิหารตรัสรู้ สถานที่ตรัสรู้นี้ แต่เดิมทีเดียวในสมัยพุทธกาลนั้น คือตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองคยา แคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์ เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธคยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา (ห่างจากจังหวัดคยา ๑๒ กิโลเมตร) รัฐพิหาร มีเมืองหลวงชื่อ ปัฎนะ หรือ ปัฎนา (หรือชื่อเดิมว่า ปาฎลีบุตร) ;

แห่งที่ ๓ ธัมเมกขสถูป คือสถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป สถานที่นี้อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร
แห่งที่ ๔ สถูปและวิหารปรินิพพานที่เมืองกุสินารา คือ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุาทิเสสนิพพานธาตุดับไม่มีส่วนเหลือ คือทั้งกิเลส ทั้งเบญจขันธ์ดับหมด ตามปกติพระอรหันต์ทั่วไปๆไปจะนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกนั้นเป็นการดับกิเลส ส่วนเบญจขันธ์ยังอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพาน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่จิตเข้าสู่แดนพระนิพพานเท่านั้น เป็นจิตที่สะอาด ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว ดังเช่นพระพุทธเจ้า นิพพานครั้งแรกนี้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ส่วนนิพพานครั้งที่ ๒ ก็คือ อนุปาทิเสสนิพาน ดังได้กล่าวแล้วนั้นเอง สถานที่นิพพานที่พุทธประวัติระบุว่า สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ปัจจุบันมีสถูปและวิหารเป็นสัญลักษณ์ เป็นอุทยานที่ได้รับการรักษาจากทางการอินเดียเป็นอย่างดี มีต้นสาละและไม้อื่นปลูกอยู่ทั่วไป ให้ความร่มรื่นพอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น