แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เจตสิกสังคหวิภาค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เจตสิกสังคหวิภาค แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์

เจตสิกที่ทำให้จิตต่างกัน

คาถาสังคหะ
อนุตฺตเร ฌานธมฺมา   อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม
วิรตี ญาณปีติ จ   ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ

แปลความว่า 
ในโลกุตตรจิต องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกุตตรจิตต่างกัน
ในมหัคคตจิต อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และองค์ฌาน ๕ ย่อมทำให้มหัคคตจิตต่างกัน
ในกามาวจรโสภณจิต ปีติเจตสิก ๑, วิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิตต่างกัน

อธิบาย
ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือ องค์ฌานทั้ง ๕ ย่อมทำความต่างกันแห่งธรรมที่มีอยู่ในทุติยฌานเป็นต้น ให้ต่างจากธรรมที่มีอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น ในบรรดาเจตสิกธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อนุตฺตเร ฌานธมฺมา เป็นอาทิฯ ซึ่งหมายถึงฌานธรรมนั้นด้วยอำนาจ วิตก วิจาร, ปีติ และสุข ในอนุตตรจิต มีความแปลกแตกต่างกันคือ :-

  • วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตรปฐมฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตอื่นๆ
  • วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตรทุติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตที่เหลือ ๓ มีโลกุตตรตติยฌานจิต เป็นต้น
  • ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตรตติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรจตุตถฌานจิตและปัญจมฌานจิต
  • สุข (โสมนัส) เวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตรจตุตถฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรปัญจมฌานจิต
  • อุเบกขาเวทนา ทำให้โลกุตตรปัญจมฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรฌานจิตอื่น
นอกนั้นในมหัคคตจิตนั้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ได้แก่ กรุณาและมุทิตาเจตสิก ทำให้มหัคคตจิต ๑๒ คือ ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน ต่างกันกับ ปัญจมฌานจิต ๑๕ ส่วนองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกียปฐมฌานจิต ต่างกันกับโลกียฌานจิตที่เหลือเป็นต้น เช่นเดียวกับโลกุตตรจิตใน กามาวจรโสภณจิต นั้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิต ต่างกันดังนี้ :-

  • วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมทำให้มหากุศลจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต และมหากิริยาจิต
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้จิตเป็นญาณสัมปยุตจิต ต่างกันกับ ญาณวิปยุตจิต
  • ปีติเจตสิก ๑ ย่อมทำให้โสมนัสสหคตจิต ต่างกันกับ อุเบกขาสหคตจิต
  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำให้มหากุศลจิต และมหากิริยาจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต

🔅อกุศลสังคหนัย

ในคาถาสังคหะที่ ๑๔ ได้แสดงหลักของสังคหนัยโดยย่อไว้ว่า อกุศลจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๗ ดวง (สตฺตวีสตฺยปุญฺญฺมฺหิฯ) ในคาถาสังคหะ ๒๑ นี้ เป็นบทขยายความอกุศลสังคหนัยโดยพิสดาร

คาถาสังคหะ

เอกูนวีสฏฺฐารส   วีเสกวีส วีสติ
พาวีส ปณฺณรสาติ   สตฺตธากุสเล จิตา ฯ

แปลความว่า ในอกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย นัยหนึ่งๆ มีเจตสิกประกอบ ๑๙, ๑๘, ๒๐, ๒๑, ๒๐, ๒๒, และ ๑๕ ตามลำดับแห่งอกุศลจิต

นัยที่ ๑ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๒ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๕ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๗ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๓ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔

นัยที่ ๔ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
- โมจตุกเจตสิก ๔
- โลภเจตสิก ๑
- มานเจตสิก ๑
- ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๕ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๖ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวง คือ
โมหมูลจิตดวงที่ ๑ คือ วิจิกิจฉาสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

โมหมูลจิตดวงที่ ๒ คือ อุทธัจจสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔

🔅สัพพากุศลโยคีเจตสิก
สัพพากุศลโยคีเจตสิก หมายถึงเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด มีจำนวน ๑๔ ดวง ดังคาถาสังคหะต่อไปนี้

คาถาสังคหะ
สาธารณา จ จตฺตาโร   สมานา จ ทสาปเร
จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ   สพฺพากุสลโยคิโน ฯ

แปลความว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก ๔ (โมจตุก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์, ปีติ, ฉันทะ) รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้เรียกว่าสัพพากุศลโยคีเจตสิก (เจตสิก ๑๔ ดวงที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด)

อธิบาย สัพพากุศลโยคีเจตสิก ๑๔ คือเจตสิกที่ประกอบได้ในอกุศลทั้งหมด ได้แก่เจตสิกต่อไปนี้คือ :-

ในบรรดาอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น เมื่อดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวง (สัพพากุศลโยคีเจตสิก) ประกอบรวมด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน

🔅อเหตุกสังคหนัย

คาถาสังคหะ

ทฺวาทเสกาทส ทส   สตฺต จาติ จตุพุพิโธ
อฏฺฐารสาเหตุเกสุ   จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย คือมีเจตสิกประกอบ ๑๒, ๑๑, ๑๐ และ ๗ ตามลำดับ

นัยที่ ๑ 
อธิบาย ในอเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
เจตสิก ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ที่ประกอบในหสิตุปปาทจิต ๑

นัยที่ ๒
ก. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติ, ฉันทะ) ที่ประกอบในมโนทวาราวัชชนจิต ๑
ข. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิริยะ, ฉันทะ) ที่ประกอบในโสมนัสสันตีรณจิต ๑

นัยที่ ๓ 
เจตสิก ๑๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะ, ปีติ, และฉันทะ) ที่ประกอบในมโนธาตุ ๓ คือ :-            - ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
         - สัมปฏิจฉนจิต ๒

นัยที่ ๔
เจตสิก ๗ ดวง ได้แก่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๓ ที่ประกอบในทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐

ข้อสังเกต อเหตุกจิต ๑๔ ดวงนั้น มีอัญญสมานาเจตสิกประเภทเดียวที่เข้าประกอบได้ แต่ประกอบได้อย่างมากที่สุดเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น เจตสิกอีกดวงหนึ่งคือ ฉันทเจตสิก เข้าประกอบกับอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงไม่ได้เลย เพราะฉันทเจตสิกมีลักษณะที่เป็นความพอใจในอารมณ์ หรือมีความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์ ส่วนอเหตุกจิตนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจปัจจัยประชุมพร้อมกัน ไม่ได้อาศัยความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์เหมือนจิตดวงอื่นๆ เช่น โลภมูลจิต หรือมหากุศลจิตเป็นต้น เมื่อมีปัจจัยประชุมกันแล้ว อเหตุกจิตต้องเกิดทันที

เช่น เมื่อมีรูปารมณ์, มีประสาทตาดี, มีแสงสว่าง และมีความตั้งใจที่จะดูมาประชุมกัน จักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นอเหตุกจิตก็เกิดขึ้น ฉะนั้น สภาวะของฉันทเจตสิกจึงไม่จำเป็นต้องเกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย

คาถาสังคหะ

อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ   สตฺต เสสา ยถารหํ
อิติ วิตฺถารโต วุตฺตา   เตตุตึสวิธสงฺคหา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ มีสัพพจิตตสาธารณเจตสิกประกอบได้ทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วนปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ย่อมประกอบได้ตามสมควร และเมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้ว ย่อมนับสังคหะได้ ๓๓ นัย

คาถาสังคหะ
อิตฺถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ   สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ
ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ   จิตฺเตน สมมุทฺทิเสติ ฯ

แปลความว่า เมื่อได้เข้าใจสัมปโยคนัยและสังคหนัยที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ โดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมแสดงถึงจำนวนเจตสิกเท่ากับจิตตามสมควรที่ประกอบได้

อธิบาย คาถานี้ แสดงถึงการนับเจตสิกอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัย และสังคหนัย ซึ่งมีความหมายว่า เจตสิกดวงใดประกอบด้วยจิตได้กี่ดวงก็นับเจตสิกดวงนั้นว่า มีจำนวนเท่ากับจำนวนจิตที่เจตสิกนั้นประกอบได้ คือ
    - สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ๑๒๑ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกมีอยู่ ๗ ดวง จึงนับจำนวนจิตพิสดารของสัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้งสิ้น ๘๔๗
    - ปกิณณกเจตสิก ๖ คือ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง, วิจารได้ ๖๖ ดวง, อธิโมกข์ได้ ๑๑๐ ดวง, วิริยะได้ ๑๐๕ ดวง ปีติได้ ๕๑ ดวงและฉันทะได้ ๑๐๑ ดวง ปกิณณกเจตสิก เมื่อนับจำนวนพิสดารได้ จึงมี ๔๘๘ ดวง
    - อกุศลเจตสิก ๑๔ นับจำนวนโดยพิสดารได้ ๔๓ คือ :-
            โมจตุกเจตสิก ๔๘
            โลติกเจตสิก ๑๖
            โทจตุกเจตสิก ๘
            ถีทุกเจตสิก ๑๐
            วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

    - โสภณเจตสิก ๒๕ นับจำนวนโสภณเจตสิกโดยพิสดารได้ ๒๐๐๘ คือ :-
            โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง แต่ละดวงประกอบโสภณจิตทั้งหมด ๙๑ จึงนับจำนวนโสภณสาธารณเจตสิกได้ ๑๗๒๙
            วิรตีเจตสิก ๓ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๔๔ จึงนับว่าจำนวนวิรตีเจตสิกโดยพิสดารได้ ๑๔๔
            อัปปมัญญาเจตสิก ๒ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๒๘ จึงนับจำนวนอัปปมัญญาเจตสิกโดยพิสดารได้ ๕๖
            ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง ประกอบกับจิตได้ ๗๙ ปัญญาเจตสิกโดยพิสดาร จึงมีจำนวน ๗๙

ฉะนั้น โสภณเจตสิก เมื่อนับโดยพิสดาร จึงมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๐๘ ดวง และเจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง เมื่อนับจำนวนอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัยและสังคหนัย มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๔๒๖ ดวง

สรุปความในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงภาวะของเจตสิกปรมัตถ์ทั้ง ๕๒ ดวง พร้อมทั้งการที่เจตสิกธรรมเหล่านั้นเข้าประกอบกับจิต โดยสัมปโยคนัย และสังคหนัย

สัมปโยคนัย หมายถึงเจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดได้บ้าง ซึ่งได้แสดงสัมปโยคนัยไว้ ๑๖ นัยคือ 
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ มีสัมปโยค ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ มีสัมปโยค ๖ นัย
อกุศลเจตสิก ๑๔ มีสัมปโยค ๕ นัย
โสภณเจตสิก ๒๕ มีสัมปโยค ๔ นัย

รวมเจตสิก ๕๒ มีสัมปโยค ๑๖ นัย

สังคหนัย หมายถึงจิตแต่ละดวง มีเจตสิกใดเข้าประกอบได้บ้าง ซึ่งแสดงสังคหะไว้ ๓๓ นัยคือ
โลกุตรจิต ๔๐ มีสังคหะ ๕ นัย
มหัคคตจิต ๒๗ มีสังคหะ ๕ นัย
กามาวจรโสภณเจตสิก ๒๔  มีสังคหะ ๑๒ นัย
อกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย
อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย

รวมจิต ๑๒๑ มีสังคหะ ๓๓ นัย


🙏 ตทุภยมิสสกนัย

ตทุภยมิสสกนัย หมายถึงแสดงความเป็นไปของเจตสิกตามนัยทั้ง ๒ รวมกัน คือ สัมปโยคและสะงคหะ ดังต่อไปนี้

🔅 อัญญสมานาราสี ๑๓
ผัสสเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นผัสสะ)
เวทนาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเวทนา) 
สัญญาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นสัญญา)
เอกัคคตาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเอกัคคตา)
ชีวิตินทรียเจตสิก  เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นชีวิตินทรีย์)
มนสิการเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นมนสิการ)
วิตกเจตสิก เกิดในจิต ๕๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิตก)
วิจารเจตสิก เกิดในจิต ๖๖ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิจาร)
อธิโมกขเจตสิก เกิดในจิต ๗๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นอธิโมกข์และวิจิกิจฉา)
วิริยเจตสิก เกิดในจิต ๗๓ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิริยะ)
ปีติเจตสิก  เกิดในจิต ๕๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๔๖ (เว้นโทจตุกะ ๔, วิจิกิจฉาและปีติ)
ฉันทเจตสิก  เกิดในจิต ๖๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นฉันทะและวิจิกิจฉา)

🔅 อกุศลราสี ๑๔
โมหเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นโมหะ)
อหิริกเจตสิก 
เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอหิริกะ)
อโนตตัปปเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอโนตตัปปะ)
อุทธัจจเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอุทธัจจะ)
โลภเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโลภะ)
ทิฏฐิเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นทิฏฐิ, มานะ)
มานเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นมานะ, ทิฏฐิ)
โทสเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโทสะ)
อิสสาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นอิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ)
มัจฉริยเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นมัจฉริยะ, อิสสา, กุกกุจจะ)
กุกกุจจเจตสิก  เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นกุกกุจจะ, อิสสา, มัจฉริยะ)
ถีนเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นถีนะ)
มิทธเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นมิทธะ)
วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๔ (เว้นวิจิกิจฉา)

🔅 โสภณราสี ๒๕
สัทธาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสัทธา)
สติเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสติ)
หิริเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นหิริ)
โอตตัปปเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นโอตตัปปะ)
อโลภเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโลภะ)
อโทสเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโทสะ)
ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นตัตตระ)
กายปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปัสสัทธิ)
จิตตปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปัสสัทธิ)
กายลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายลหุตา)
จิตตลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตลหุตา)
กายมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายมุทุตา)
จิตตมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตมุทุตา)
กายกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายกัมมัญญตา)
จิตตกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตกัมมัญญตา)
กายปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปาคุญญตา)
จิตตปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปาคุญญตา)
กายุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายุชุกตา)
จิตตุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตุชุกตา)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา๒)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาวาจา)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมากัมมันตะ)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาอาชีวะ)
กรุณาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
มุทิตาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
ปัญญาเจตสิก เกิดใน จิต ๔๗ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นปัญญา)

 🙏 อวสานคาถา 🙏

อิจฺจานิรุทธรจิเต  อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
ทุติโย ปริจฺเฉโทยํ สมเสเนว นิฏฐิโต ฯ.

ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ จบลงด้วยประการฉะนี้ ฯ

วันศุกร์

สังคหนัย

สังคหะ ตามบาลีไวยากรณ์เป็นนามกิริยา แปลว่า การสงเคราะห์หรือการรวบรวม ซึ่งโดยนัยนี้หมายความ แสดงการที่ จิต แต่ละดวงได้รวบรวมเจตสิกเข้ามาประกอบไว้ได้เท่าใด และได้แก่เจตสิกอะไรบ้าง หรือมีเจตสิกจำนวนเท่าใดอะไรบ้างที่นำมาสงเคราะห์ลงในจิตได้แต่ละดวง ยกจิตเป็นประธานสามารถประกอบกับเจตสิกได้จำนวนเท่าใด

คาถาสังคหะ
ฉตฺตีสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตฺตึส มหคฺคเต
อฏฺฐตฺตึสาปิ ลพฺภนฺติ  กามาวจรโสภเณ ฯ
สตฺตวีสตฺยปุญญมฺหิ  ทฺวาทสาเหตุเกติ จ
ยถาสมฺภวโยเคน  ปัญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า
โลกุตรจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ดวง
มหัคคตจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๕ ดวง
กามาวจรโสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๘ ดวง
อกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒๗ ดวง
อเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๑๒ ดวง

นี้คือการนับจำนวนเจตสิกที่สงเคราะห์ลงในจิตโดยสังคหะได้ ๕ นัยคือ

๑. อนุตตรสังคหนัย
อนุตตรสังคหนัย คือนัยที่แสดงการสงเคราะห์เจตสิกลงในโลกุตตรจิตหรือที่เรียกว่า สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

คาถาสังคหะ
ฉตฺตีส ปญฺจตึสาถ  จตุตตึส ยถากฺกมํ
เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจว๋  ปญฺจธานุตฺตเร ฐิตา ฯ

แปลความว่า
โลกุตตรจิต ๔๐ ดวงนั้น มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-

นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๖ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปฐมฌานจิต ๘
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกุตตร ทุติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกุตตร ตติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร จตุตถฌานจิต ๘
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปัญจมฌานจิต ๘

อธิบาย โลกุตตรจิต เมื่อนับจำนวนโดยย่อแล้วได้ ๔ ดวง คือ มรรคจิต ๔ และผลจิต ๔ โลกุตตรจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ เจตสิกประกอบเท่ากันหมดทุกดวง แต่เมื่อนับโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงแล้ว จึงมีสังคหะ ๕ นัยด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานคือ :-

- นัยที่ ๑ ปฐมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปฐมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๒ ทุติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรทุติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๓ ตติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรตติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก, วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๔ จตุตถฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรจตุตถฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปัญจมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)


๒. มหัคคตสังคหนัย

คาถาสังคหะ
ปญฺจตฺตึส จตุตฺตึส  เตตุตึสาถ ยถากฺกมํ
ทฺวตฺตึส เจว ตึสาติ  ปญฺจธาว มหคฺคเต ฯ

แปลความว่า
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-

นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกีย ปฐมฌานจิต ๓
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกีย ทุติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกีย ตติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๒ ดวง ประกอบในโลกีย จตุตถฌานจิต ๓
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๐ ดวง ประกอบในโลกีย ปัญจมฌานจิต ๑๕

อธิบาย มหัคคตจิต ๒๗ ดวงคือ รูปาวจรจิต ๑๕ และอรูปาวจรจิต ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งฌาน ทำให้เจตสิกที่เข้าประกอบไม่เท่ากัน จึงมีสังคหะ ๕ นัย คือ :-

- นัยที่ ๑ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๒ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๔ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวงได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๕ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓, อรูปาวจรจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒)


๓. กามาวจรโสภณสังคหนัย

คาถาสังคหะ
อฏฐตุตึส สตุตตฺตึส   ทฺวยํ ฉตฺตีสกํ สุเภ
ปญฺจตฺตึส จตุตตึส   ทฺวยํ เตตุสกํ กุริเย ฯ
เตตฺตึส ปาเก ทฺวตฺตึส   ทฺวเยกตฺตึสกํ ภเว
สเหตุกามาวจร   ปุญฺญปากกุริยามเน ฯ

แปลความว่า เจตสิกธรรม ๓๘-๓๗ (๓๗ สองครั้ง) และ ๓๖ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๕-๓๔ (๓๔ สองครั้ง) และ ๓๓ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๓-๓๒ (๓๒ สองครั้ง) และ ๓๑ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๘

อธิบาย ในบรรดาสเหตุกกามาวจรกุศล, กิริยา และวิบาก หรือกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะ ๑๒ นัยดังนี้คือ :-

    ๑. สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๘, ๓๗, ๓๗ และ ๓๖ ดวง
    ๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๕, ๓๔, ๓๔ และ ๓๓ ดวง
    ๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๓, ๓๒, ๓๒ และ ๓๑ ดวง

๑. สเหตุกกามาวจรกุสลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๔ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ 5
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก)โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘

๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๔

๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ รวมสังคหนัยแห่งกามาวจรจิตมี ๑๒ นัย


โสภณเจตสิกที่ไม่ประกอบกับโสภณจิตบางดวง

ในโสภณเจตสิก ๒๕ ดวงนั้น มีเจตสิกบางดวงที่ไม่อาจเข้าประกอบกับโสภณจิตบางประเภทได้ ดังคาถาสังคหะคือ :-

คาถาสังคหะ
น วิชฺชนฺเตตฺถ วิรตี   กฺริเยสุ จ มหคฺคเต
อนุตฺตเร อปฺปมญฺญา   กามปาเก ทฺวยํ ตถา ฯ

แปลความว่า ในจำนวนโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงนั้น
มหากิริยาจิต และ มหัคคตจิต วิรตีเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
โลกุตตรจิต อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
มหาวิบากจิต ทั้งวิรตีเจตสิก และ อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ

อธิบาย ในมหากิริยาจิต ๔ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบเลยเพราะมหากิริยาจิตเป็นจิตของพระอรหันต์ ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวงแล้วจึงไม่มีกิจที่จะต้องพึงเว้นจากบาปธรรมใดๆ อีก วิรตีเจตสิกซึ่งเป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่เว้นจากบาปธรรมทั้งกาย วาจา และอาชีพ จึงไม่ประกอบกับมหากิริยาจิต

ในมหัคคตจิต ๒๗ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบ เพราะมหัคคตจิตมีบัญญัติและอดีตปรมัตถ์เป็นอารมณ์กรรมฐาน ไม่ใช่มีวิรมิตัพพวัตถุเป็นอารมณ์

ในโลกุตตรจิต ๔ หรือ ๔๐ นั้น ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก ๒ เข้าประกอบเพราะอัปปมัญญาเจตสิก ต้องมีสัตว์เป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียว

ในมหาวิบากจิต ๘ ทั้งวิรตีเจตสิก ๓ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ไม่ประกอบด้วยเลย เพราะในมหาวิบากเป็นผลของมหากุศลที่สุกแล้ว ไม่ยังวิญญัติให้เกิดคือ จะกระทำกิจเว้นหรือหามาเพิ่มเติมอีกไม่ได้ มีสภาพเป็นผลหรือเงาของกรรมเท่านั้น กรรมเป็นอย่างไร วิบากของกรรมก็ยังเป็นเงาไปฉะนั้นและไม่ได้กระทำสัตว์บัญญัติให้เป็นอารมณ์ไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ประกอบด้วย

วันพฤหัสบดี

อนิยตโยคี และ นิยตโยคีเจตสิก

อนิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราวไม่แน่นอน
นิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอน

คาถาสังคหะ
อิสฺสามจฺเฉรกุกฺกุจฺจ      วิรติกรุณาทโย
นานา กทาจิ มาโน จ       ถีนมิทฺธํ ตถา สห ฯ

แปลความว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิรตีเจตสิก ๓ กับกรุณา มุทิตา รวมเจตสิก ๘ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราว และ ไม่ประกอบพร้อมกัน เรียกเจตสิกทั้ง ๘ นี้ว่า “นานากทาจิเจตสิก” มานเจตสิกก็ประกอบกับจิตเป็นครั้งคราวไม่แน่นอนจึงชื่อว่า “กทาจิเจตสิก” ถีนะมิทธะเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราว แต่ประกอบกับจิตพร้อมกันจึงชื่อว่า “สหกทาจิ”

คาถาสังคหะ
ยถาวุตฺตานุสาเรน      เสสา นิยตโยคิโน
สงฺคหญฺง ปวกฺขามิ      เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ

แปลความว่า เจตสิก ๔๑ ดวงที่เหลือจาก ๑๑ ดวง ดังกล่าวแล้วนั้นเป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอน จึงชื่อว่า “นิยตโยคีเจตสิก”

อธิบาย
เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ดวง เมื่อกล่าวโดยประกอบกับจิตแล้วจําแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. อนิยตโยคีเจตสิก ๑๑ ดวง
    ๒. นิยตโยคีเจตสิก ๔๑ ดวง

๑. อนิยตโยคีเจตสิก 

เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ในบางครั้งบางคราวไม่แน่นอน ได้แก่ เจตสิก ๑๑ ดวง คือ :-

  • มานะ ๑ ดวง
  • อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ๓ ดวง
  • ถีนะ มิทธะ ๒ ดวง
  • สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ๓ ดวง
  • กรุณา มุทิตา ๒ ดวง

เจตสิกทั้ง ๑๑ ดวงนี้ที่ประกอบจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอนนั้นหมายความว่า เจตสิกเหล่านี้กำหนดไว้ว่า สามารถประกอบกับจิตดวงใดได้บ้าง และเมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้น บางครั้งเจตสิกเหล่านี้ก็ประกอบ บางครั้งก็ไม่เข้าประกอบ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ประกอบเป็นครั้งคราวไม่แน่นอน และในกลุ่มอนิยตโยคีเจตสิก ๑๑ ดวงนี้ ยังจำแนกออกไปเป็น ๓ จำพวก ตามลักษณะการประกอบกับจิต คือ :-

    🔅 นานากทาจิเจตสิก มี ๘ ดวง คือ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (โลกิยวิรตี ๓) กรุณา มุทิตา เจตสิก ๘ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอน และไม่ประกอบพร้อมกันด้วย แม้ว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ จะอยู่ในกลุ่มของโทจตุกเจตสิกด้วยกัน หรือแม้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะจะเป็นวิรตีเจตสิก (โลกียวิรตี) ด้วยกัน หรือ กรุณา มุทิตา จะเป็นอัปปมัญญาเจตสิกด้วยกัน แต่ขณะประกอบกับจิตนั้น ย่อมไม่ประกอบพร้อมกัน เพราะว่าอารมณ์เป็นขอบเขตจำกัดโดยเฉพาะ การประกอบได้เป็นครั้งคราว และไม่ประกอบพร้อมกันของเจตสิกนี้ จึงชื่อว่า “นานากทาจิเจตสิก”

    🔅 กทาจิเจตสิก มี ๑ ดวง ได้แก่ มานเจตสิก เพราะมานเจตสิกเป็นเจตสิกดวงเดียวในกลุ่มโลติกเจตสิก (โลภะ ทิฏฐิ มานะ) ที่เป็นอนิยตโยคีเจตสิก ฉะนั้นการประกอบกับจิตได้ไม่แน่นอนของเจตสิกดวงเดียวนี้จึงชื่อว่า “กทาจิเจตสิก”

    🔅 สหกทาจิเจตสิก มี ๒ ดวง ได้แก่ ถีนะ มิทธะ เจตสิก ๒ ดวงนี้ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราว แต่ประกอบพร้อมกันทั้ง ๒ ดวง จึงชื่อว่า “สหกทาจิเจตสิก”

แสดงการประกอบของอนิยตโยคีเจตสิก

อนิยตโยคีเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอนนั้นเพราะเจตสิกเหล่านี้มีอารมณ์จำกัดขอบเขตไว้โดยเฉพาะจึงจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ประกอบกับจิตได้ทั่วไป ดังกำหนดไว้ กล่าวคือ

มานเจตสิก ที่กำหนดว่า ประกอบกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวงนั้นย่อมประกอบได้ไม่แน่นอน หมายความว่า ถ้าเวลาใดทิฏฐิคตวิปปยุตจิตเกิดขึ้นโดยสภาวะที่ถือตัวคือ อหํคาห เวลานั้นมานเจตสิกก็ประกอบ แต่ถ้าเวลาใดทิฏฐิคตวิปปยุตจิตเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับความถือตัว เวลานั้นมานเจตสิกก็ไม่ประกอบ จึงนับว่า มานเจตสิกย่อมประกอบเป็นครั้งคราว จัดเป็นกทาจิเจตสิก

อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ เจตสิก ๓ ดวงนี้ กำหนดว่าประกอบกับ โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น ย่อมประกอบได้ไม่แน่นอนและประกอบได้ไม่พร้อมกัน ที่ประกอบได้ไม่แน่นอนนั้น หมายความว่า เวลาใดที่โทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยไม่มีความอิจฉาริษยา ตระหนี่ หรือรำคาญใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ คงมีแต่โทสมูลจิตเกิดขึ้นจากอารมณ์อย่างอื่น เวลานั้นเจตสิกทั้ง ๓ ดวงไม่ได้ประกอบกับโทสมูลจิตเลย คงมีแต่โทสเจตสิกในกลุ่มของโทจตุกเจตสิกประกอบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ถ้าเวลาใดโทสมูลจิตเกิดขึ้น โดยมีความริษยาคุณความดีของผู้อื่นเป็นอารมณ์แล้ว เวลานั้นโทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยมีอิสสาเจตสิกเข้าประกอบด้วย แต่มัจฉริยะและกุกกุจจะย่อมไม่เข้าประกอบ หรือถ้าเวลาใดจิตเกิดขึ้น โดยมีความตระหนี่สมบัติของตนเป็นอารมณ์เวลานั้นโทสมูลจิตก็มีมัจฉริยเจตสิกเข้าประกอบ แต่อิสสาและกุกกุจจะย่อมไม่เข้าประกอบ หรือเวลาใดโทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยมีความรำคาญใจในทุจริตที่ได้ทำไปแล้ว หรือในสุจริตที่ยังไม่ได้ทำ เวลานั้นโทสมูลจิตก็มีกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ แต่อิสสาและมัจฉริยะย่อมไม่เข้าประกอบด้วย

ถีนมิทธเจตสิก เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ กำหนดว่าประกอบกับอกุศลสสังขาริกจิต ๕ ดวงนั้น ก็ประกอบได้ไม่แน่นอน เพราะถ้าเวลาใดอกุศลสสังขาริกจิตเกิดขึ้นก็จริง แต่จิตนั้นยังเข้มแข็งอยู่ไม่หดหู่ท้อถอยจากอารมณ์เวลานั้นถีนมิทธเจตสิกก็ไม่เข้าประกอบ แต่เมื่ออกุศลสสังขาริกจิตเกิดขึ้นแล้วมีความไม่เข้มแข็งท้อถอยจากอารมณ์เวลาใด เวลานั้นถีนมิทธเจตสิกก็เข้าประกอบ และการประกอบของถีนมิทธเจตสิก ๒ ดวงนี้ ย่อมเข้าประกอบพร้อมกันเสมอ

วิรตีเจตสิก ๓ ดวงคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิต ๑๖ หรือ ๔๘ ดวง ที่ว่าเป็นอนิยตโยคีเจตสิกจำพวกนานากทาจินั้น มุ่งหมายเอาโลกียวิรตีเจตสิกคือ วิรตีเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิต ๘ ดวงนั้น ส่วนโลกุตตรวิรตีคือ วิรตีเจตสิกที่ประกอบกับโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ นั้นเป็น นิยตเอกโตเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบได้แน่นอนและพร้อมกันเสมอ ดังที่พระอนุรุทธาจารย์แสดงว่า

วิรตโย ปน ติสฺโสปิ โลกุตตรจิตฺเตสุ สพฺพณปินิยตา เอกตโว ลพฺภนฺติ ฯ
โลกิเยสุ ปน กามาวจรกุสเลเสฺวว กทาจิ สนฺทิสฺสนฺติ วิสุ วิสุํ ฯ


แปลความว่า วิรตีเจตสิก ๓ ดวงนั้น เมื่อประกอบกับโลกุตตรจิต ย่อมประกอบได้แน่นอนและพร้อมกัน (นิยตเอกโต) ในฐานะกระทำหน้าที่ประหารทุจริต ทุราชีวะเป็นสมุจเฉท แต่เมื่อประกอบกับโลกียจิต คือมหากุศลจิตนั้น ย่อมประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราว และประกอบไม่พร้อมกัน

การที่วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ประกอบในมหากุศลจิตได้ไม่แน่นอน และไม่พร้อมกันนั้น เพราะถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยอาศัยสัทธา สติ ปัญญา เมตตา กรุณา มิได้เกี่ยวกับการเว้นทุจริต ทุราชีวะ เวลานั้นมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็มิได้มีวิรตีเจตสิกประกอบด้วยเลย แต่ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นวจีทุจริต ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้นมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นก็ประกอบด้วยสัมมาวาจาเจตสิก แต่สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะไม่เข้าประกอบ ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นกายทุจริต ๓ อันไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้นมหากุศลจิตเกิดขึ้นก็ประกอบด้วยสัมมากัมมันตเจตสิก แต่สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะไม่เข้าประกอบ ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ในการประกอบอาชีพการงานเวลานั้นมหากุศลจิตเกิดขึ้นจะประกอบด้วยสัมมาอาชีวเจตสิก แต่ส่วนสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่ได้เข้าประกอบด้วย

อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงคือ กรุณา และมุทิตา เป็นเจตสิกที่ประกอบได้ในจิต ๒๘ ดวงไม่แน่นอนนั้น เพราะเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้น โดยอาศัย สัทธา สติ ปัญญา สัมมาวาจา เป็นต้น ไม่ได้เกี่ยวกับความรู้สึกสงสารสัตว์หรือยินดีสัตว์มีสุขแล้ว เวลาที่มหากุศลจิตนั้นเกิดขึ้นก็ไม่มี อัปปมัญญาเจตสิกประกอบร่วมด้วยเลย หรือเวลาใดที่พระโยคาวจรเจริญฌานโดยอาศัยกสิณเป็นกรรมฐานจนรูปาวจรฌานจิตเกิด เวลานั้นไม่ได้อาศัยสัตวบัญญัติกรรมฐาน อัปปมัญญาเจตสิกก็ไม่เข้าประกอบ แต่ถ้าเวลาใดมหากุศลจิต มหากิริยาจิต หรือรูปาวจรฌานจิต เกิดขึ้นโดยอาศัยทุกขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือเป็นกรรมฐาน เวลานั้นกรุณาเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิต ๒๘ คือมหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ และรูปาวจรฌานจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓) มุทิตาเจตสิกไม่ได้เข้าประกอบด้วย แต่ถ้าเวลาใดจิต ๒๘ ดวงนั้น มีสุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือเป็นกรรมฐานแล้ว มุทิตาเจตสิกจึงเข้าประกอบกับจิต ๒๘ ดวงดังกล่าวนั้น แต่กรุณาเจตสิกหาประกอบด้วยไม่ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้จึงประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราว และประกอบไม่พร้อมกันด้วย จึงชื่อว่า นานากทาจิเจตสิก


๒. นิยตโยคีเจตสิก 

ได้แก่ เจตสิกที่เหลือจากอนิยตโยคีเจตสิกอีก ๔๑ ดวงคือ :-

  • สัพพจิตตสาธารณเจตสิก  ๗
  • ปกิณณกเจตสิก  ๖ ดวง
  • โมจตุกเจตสิก  ๔ ดวง
  • โลภเจตสิก ๑ ดวง
  • ทิฏฐิเจตสิก ๑ ดวง
  • โทสเจตสิก ๑ ดวง
  • วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ดวง
  • โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

แสดงการประกอบของนิยตโยคีเจตสิก

เจตสิกทั้ง ๔๑ ดวงนี้ย่อมประกอบกับจิตที่ประกอบได้ตามกำหนดไว้โดยแน่นอนเสมอ กล่าวคือ เวลาใดจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ เกิดขึ้น เวลานั้น สัพพจิตตสาธารณเจตสิกย่อมเข้าประกอบด้วยแน่นอนเสมอ

- เวลาใดจิต ๕๕, ๖๖, ๗๘ (๑๑๐), ๗๓ (๑๐๕), ๕๑, ๖๙ (๑๐๑) เกิดขึ้นเวลานั้น ปกิณณกเจตสิก คือวิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปิติ ฉันทะ ย่อมเข้าประกอบจิตตามลำดับนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดอกุศลจิต ๑๒ เกิดขึ้น เวลานั้น โมจตุกเจตสิก คือโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโลภมูลจิต ๘ เกิดขึ้น เวลานั้น โลภเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับโลภมูลจิตนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวงเกิดขึ้น เวลานั้น ทิฏฐิเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโทสมูลจิต ๒ ดวงเกิดขึ้น เวลานั้น โทสเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดวิจิกิจฉาสัมปยุตจิตเกิดขึ้น เวลานั้น วิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ เกิดขึ้น เวลานั้น โสภณสาธารณเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับโสภณจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ เกิดขึ้น เวลานั้น ปัญญาเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ

ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า เจตสิก ๔๑ ดังกล่าวเป็นนิยตโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอนเสมอ อนึ่งวิรตีเจตสิก ๓ ดวงถ้าประกอบกับโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ก็ชื่อว่าเป็นนิยตโยคีเจตสิกเหมือนกัน แต่จัดเป็นนิยตโยคีเจตสิกพิเศษที่ประกอบกับจิตโดยแน่นอน และประกอบพร้อมกันเสมอ เรียกว่า “นิยตเอกโตเจตสิก”

วันจันทร์

แสดงปัญญาเจตสิกที่ประกอบกับจิต



ในสัมมาทิฏฐิสูตร แสดงฐานะของปัญญาไว้ ๖ ประการ คือ

๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม เป็นของตน
๒. ฌานสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่รู้อุบาย ในการทำใจให้สงบจากนิวรณ์ ตลอดจนปัญญาในอภิญญาจิต
๓. วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่เข้าไปรู้เห็น รูป-นามว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
๔. มรรคสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่ทำกิจ ในการประหารอนุสัยกิเลส โดยมีพระนิพพาน เป็นอารมณ์
๕. ผลสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่เสวยผลจากการที่มรรคญาณได้ทำการประหารอนุสัยกิเลสแล้ว โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า “เสวยวิมุตติสุข”
๖. ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาที่เกิดขึ้นภายหลังมรรคญาณผลญาณสำเร็จแล้ว เพื่อพิจารณาธรร,อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ ประการคือ :- ๑) กิเลสที่ละแล้ว ๒) กิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๓) มรรคจิต ๔) ผลจิต ๕) พระนิพพาน

🔅 สัมปโยคนัย
อารัมภบทแห่งสัมปโยคนัย

คาถาสังคหะ

เตสํ จิตฺตาวิยุตตานํ  ยถาโยคมิโต ปรํ
จิตฺตุปฺปาเทสุ ปจฺเจกํ  สมฺปโยโค ปวุจฺจติ ฯ

แปลความว่า ต่อไปนี้ จะแสดงการประกอบโดยเฉพาะของเจตสิกธรรมที่มีสภาพเกิดพร้อมกับจิต ขณะที่จิตเกิดขึ้นตามที่จะประกอบได้

อธิบาย ธรรมที่ชื่อว่า

“จิตฺตาวิยุตฺต” มีอรรถว่า “ไม่แยกกันกับจิต” ซึ่งได้แก่ เจตสิก
“จิตฺตุปฺปาท” มีอรรถว่า ความเกิดขึ้นของจิตพร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วย ฉะนั้น สัมปโยคนัยจึงมีความหมายว่า เจตสิกแต่ละดวงนั้น ดวงหนึ่งๆ ประกอบกับจิตได้เท่าไร ได้แก่จิตอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการยก เจตสิกเป็นประธานว่าสามารถประกอบกับจิตได้กี่ดวง

หลักเกณฑ์แห่งสัมปโยคนัย

คาถาสังคหะ

สตฺต สพฺพตฺถ ยุชฺชนุติ  ยถาโยคํ ปกิณฺณกา
จุฑฺทสากุสเลเสฺวว  โสภเณเสฺวว โสภณา ฯ

แปลความว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ประกอบได้ในจิตทั้งหมดทุกดวง
ปกิณณกเจตสิก ๖ ประกอบได้ในจิตเฉพาะเท่าที่ควรประกอบได้
อกุศลเจตสิก ๑๔ ประกอบได้ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น
โสภณเจตสิก ๒๕ ประกอบได้ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง เท่านั้น

อธิบาย คาถาสังคหะนี้ เป็นการแสดงหลักเกณฑ์ของสัมปโยคนัยโดยสังเขป เพื่อเป็นหลักในการศึกษาสัมปโยคนัย โดยพิสดารต่อไป


สัมปโยคนัยแห่งอัญญสมานาเจตสิก

อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง มีสัมปโยคะ ๗ นัยคือ :-

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการเจตสิก ประกอบได้ในจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ทั้งหมดทุกดวง นับเป็น ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ ได้แก่ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ และฉันทะ เจตสิก ประกอบได้ในจิต เฉพาะเท่าที่ควรประกอบได้ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง นับเป็นสัมปโยคะ ๖ นัย

  • นัยที่ ๑ สัมปโยคของสัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงนั้น ประกอบได้ในจิตทั้งหมด มีความหมายชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว ส่วนปกิณณกเจตสิก ๖ ดวงนั้น มีคาถาสังคหะที่ ๕ และที่ ๖ แสดงความหมายได้ดังต่อไปนี้คือ :-

คาถาสังคหะ (ที่ ๕)

ฉสฏฺฐี ปญฺจปญฺญาส  เอกาทศ จ โสฬส
สตฺตติ วีสติ เจว ปกิณฺณกวิวชฺชิตา ฯ

แปลความว่า “จิตทั้งหลายที่ปกิณณกเจตสิก ๖ ประกอบไม่ได้นั้น มีจำนวนตามลำดับดังนี้คือ :- ๖๖ ดวง, ๕๕ ดวง, ๑๑ ดวง, ๑๖ ดวง, ๗๐ ดวง, ๒๐ ดวง” ซึ่งหมายความว่า

วิตกเจตสิก    ประกอบไม่ได้กับจิต    ๖๖ ดวง
วิจารเจตสิก                "                     ๕๕   "   
อธิโมกขเจตสิก          "                      ๑๑   "   
วิริยเจตสิก                  "                      ๑๖   "
ปีติเจตสิก                   "                      ๗๐   "
ฉันทเจตสิก                "                      ๒๐   " 

คาถาสังคหะ (ที่ ๖)

ปญฺจปญฺญาส ฉสฎฺจยฎ  จัสตุตติ ติสตฺตติ
เอกปญฺญาส เจกูน  สตฺตติ สปฺปกิณฺณกา ฯ

แปลความว่า “จิตทั้งหลายที่ปกิณณกเจตสิก ๖ ประกอบได้นั้น มีจำนวนตามลำดับดังนี้ คือ :- ๕๕ ดวง, ๖๖ ดวง, ๗๘ (๑๑๐) ดวง, ๗๓ (๑๐๕) ดวง, ๕๑ ดวง, ๖๙ (๑๐๑) ดวง” ซึ่งหมายความว่า

วิตกเจตสิก    ประกอบได้กับจิต        ๕๕ ดวง
วิจารเจตสิก                "                     ๖๖   "   
อธิโมกขเจตสิก          "                      ๗๘ (๑๑๐) ดวง  
วิริยเจตสิก                  "                      ๗๓ (๑๐๕)   " 
ปีติเจตสิก                   "                      ๕๑ ดวง
ฉันทเจตสิก                "                      ๖๙ (๑๐๑) ดวง

อธิบาย ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ประกอบกับจิตเฉพาะที่ควรประกอบได้ดังคาถาสังคหะที่แสดงแล้วนั้นมี ๖ นัย ซึ่งจะได้แสดงการประกอบของปกิณณกเจตสิกทั้ง ๖ โดยพิสดารดังนี้


  • นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง ประกอบไม่ได้ ๖๖ ดวง

วิตกเจตสิก 
ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง คือ
- อกุศลจิต ๑๒
- อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔
- ปฐมฌานจิต ๑๑
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๖๖ ดวง คือ
- ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
- ทุติยฌานจิต ๑๑
- ตติยฌานจิต ๑๑
- จตุตถฌานจิต ๑๑
- ปัญจมฌานจิต ๒๓


  • นัยที่ ๓ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง ประกอบไม่ได้ ๕๕ ดวง ได้แก่ :-
วิจารเจตสิก
ประกอบกับจิตได้
 ๖๖ ดวง คือ
- อกุศลจิต ๑๒
- อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔
- ปฐมฌานจิต ๑๑
- ทุติยฌานจิต ๑๑
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๕๕ ดวง คือ
- ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
- ตติยฌานจิต ๑๑
- จตุตถฌานจิต ๑๑
- ปัญจมฌานจิต ๒๓


  • นัยที่ ๔ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๗๘ ดวง หรือ ๑๑๐ ดวง ประกอบไม่ได้ ๑๑ ดวง ได้แก่ :-
อธิโมกขเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๗๘ (๑๑๐) ดวง คือ
- อกุศลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉา ๑) 
- อเหตุกจิต ๘  (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔
- มหัคคตจิต ๒๗
- โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๕๕ ดวง คือ
- วิจิกิจฉาสัมปยุตจิต ๑
- ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐


  • นัยที่ ๕ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๗๓ ดวง หรือ ๑๐๕ ดวง ประกอบไม่ได้ ๑๖ ดวง ได้แก่ :-

วิริยเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๗๓ (๑๐๕) ดวง คือ
- อกุศลจิต ๑๒
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- หสิตุปาทจิต ๑
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔
- มหัคคตจิต ๒๗
- โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๑๖ ดวง คือ
- อเหตุกจิต ๑๖ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปาทจิต ๑)


  • นัยที่ ๖ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง ประกอบไม่ได้ ๗๐ ดวง ได้แก่ :-

ปิติเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง คือ
- โสมนัสโลภมูลจิต ๔ 
- โสมนัสสันตีรณจิต ๑
- โสมนัสหสิตุปาทจิต ๑
- โสมนัสกามาวจรโสภณจิต ๑๒
- ปฐมฌาณจิต ๑๑
- ทุติยฌาณจิต ๑๑
- ตติยฌาณจิต ๑๑
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๗๐ ดวง คือ
- อุเบกขาโลภมูลจิต ๔
- โทสมูลจิต ๒
- โมหมูลจิต ๒
- อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔
- กายวิญญาณจิต ๒
- อุเบกขากามาวจรโสภณจิต ๑๒
- จตุตถฌานจิต ๑๑
- ปัญจมฌานจิต ๒๓


  • นัยที่ ๗ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๙ ดวง หรือ ๑๐๑ ดวง ประกอบไม่ได้ ๒๐ ดวง ได้แก่ :-

ฉันทเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๖๙ (๑๐๑) ดวง คือ
- โลภมูลจิต ๘
- โทสมูลจิต ๒
- กามาวจรโสภณจิต ๒๔
- มหัคคตจิต ๒๗
- โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
ประกอบกับจิตไม่ได้ ๒๐ ดวง คือ
- โมหมูลจิต ๒
- อเหตุกจิต ๑๘

👉 ข้อสังเกต 👈 ถ้าเจตสิกดวงใดประกอบได้กับโลกุตตรจิตทั้งหมด ก็นับจิตอย่างย่อ (๘๙) ถ้าเจตสิกดวงใดประกอบกับโลกุตตรจิตไม่ได้ทั้งหมด นับจิตอย่างพิสดาร (๑๒๑)

อนึ่ง การประกอบของปกิณณกเจตสิก โดยเฉพาะวิตก วิจาร ปีติเจตสิก กับโลกุตตรจิตนั้น มุ่งหมายเอาโลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่เป็นฌานลาภีเท่านั้น ถ้าพระอริยบุคคลนั้นเป็นสุกขวิปัสสก วิตก วิจาร ปีติเจตสิกย่อมประกอบได้ทั้งหมด ถ้าโลกุตตรจิตนั้นเกิดขึ้นพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ปีติก็ประกอบได้ด้วย ถ้าโลกุตตรจิตนั้นเกิดขึ้นพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ปีติก็ประกอบไม่ได้

สรุปความว่า สัมปโยคแห่งอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวงนั้นมี ๗ นัย คือ :-

  • นัยที่ ๑ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ประกอบได้กับจิตทั้งหมด
  • นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง ประกอบไม่ได้ ๖๖ ดวง
  • นัยที่ ๓ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง ประกอบไม่ได้ ๕๕ ดวง
  • นัยที่ ๔ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๗๘ (๑๑๐) ดวง ประกอบไม่ได้ ๑๑ ดวง
  • นัยที่ ๕ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๗๓ (๑๐๕) ดวง ประกอบไม่ได้ ๑๖ ดวง
  • นัยที่ ๖ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง ประกอบไม่ได้ ๗๐ ดวง
  • นัยที่ ๗ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๙ (๑๐๑) ดวง ประกอบไม่ได้ ๒๐ ดวง


สัมปโยคนัยแห่งอกุศลเจตสิก

อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง เมื่อกล่าวโดยสัมปโยค คือการประกอบของอกุศลเจตสิก กับอกุศลจิตนั้นมี ๕ นัย ดังแสดงในคาถาสังคหะที่ ๗ และที่ ๘ คือ :-

คาถาสังคหะ (ที่ ๗-๘)

สพฺพาปุญฺเญสุ จตฺตาโร   โลภมูเล ตโย กตา
โทสมูเลสุ จตฺตาโร   สสงฺขาเร ทฺวยนฺตถา ฯ
วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉา   จิตฺเต จาติ จตุทฺทส
ทฺวาทสากุสเลเสฺวว   สมฺปยุชชนฺติ ปญจธา ฯ

แปลความว่า “อกุศลเจตสิก ๑๔ ย่อมประกอบกับอกุศลจิตเท่านั้น” โดยจำแนกการประกอบได้เป็น ๕ นัยคือ :-

- เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับอกุศลจิตได้ทั้งหมด
- เจตสิก ๓ ดวง ย่อมประกอบกับโลภมูลจิต
- เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต
- เจตสิก ๒ ดวง ย่อมประกอบกับสสังขาริกจิต
- วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาสัมปยุตจิต (โมหมูลจิต)

อธิบาย อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง มีสัมปโยค ๕ นัยคือ :-

  • นัยที่ ๑ เจตสิก ๔ ดวง ที่ชื่อว่า “โมจตุกเจตสิก” คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิตได้ทั้งหมด (๑๒ ดวง)
  • นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวง ที่ชื่อว่า “โลติกเจตสิก” คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะเจตสิกนั้น
    - โลภเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ทั้ง ๘ ดวง
    - ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะในทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง
    - มานเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะในทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง
  • นัยที่ ๓ เจตสิก ๔ ดวง ที่ชื่อว่า “โทจตุกเจตสิก” คือ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจเจตสิก ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวง
  • นัยที่ ๔ เจตสิก ๒ ดวง ที่ชื่อว่า “ถีทุกเจตสิก” คือ ถีนะกับมิทธเจตสิก ย่อมประกอบกับอกุศลสสังขาริกจิต ๕ ดวง ได้แก่
    - โลภมูลจิต ที่เป็นสสังขาริกจิต ๔ ดวง
    - โทสมูลจิต ที่เป็นสสังขาริกจิต ๑ ดวง
  • นัยที่ ๕ วิจิกิจฉาเจตสิก ประกอบได้ในวิจิกิจฉาสัมปยุตจิต ๑ ดวงเท่านั้น


สัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก

โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ย่อมประกอบกับโสภณจิตทั้งหมด ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงเท่านั้น จำแนกการประกอบออกเป็น ๔ นัย ตามคาถาสังคหะที่ ๙ และที่ ๑๐ คือ :-

คาถาสังคหะ (ที่ ๙-๑๐)

เอกูนวีสติ ธมฺมา  ชายนฺเตกูนสฏฺฐิยํ
ตโย โสฬสจิตฺเตสุ  อฏฺฺฐวีสติยํ ทฺวยํ ฯ
ปญฺญา ปกาสิตา สตฺต  จตุตาฬีสวิเธสุปิ
สมฺปยุตตา จตุเธวํ  โสภเณเสฺวว โสภณา ฯ

แปลความว่า “โสภณเจตสิก ๒๕ ย่อมประกอบกับโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงเท่านั้น” โดยจำแนกการประกอบได้เป็น ๔ นัยคือ :-

- เจตสิก ๑๙ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง
- เจตสิก ๓ ดวง  ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ หรือ ๔๘ ดวง
- เจตสิก ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง
- ปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง

อธิบาย โสภณเจตสิก ๒๕ ดวงนั้น ย่อมประกอบได้เฉพาะในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงเท่านั้น จะประกอบกับอโสภณจิต คืออกุศลจิตและอเหตุกจิตไม่ได้ ฉะนั้น การประกอบในโสภณจิตจึงแสดงไว้โดยสัมปโยคนัยได้ ๔ นัย คือ :-

  • นัยที่ ๑ เจตสิก ๑๙ ดวง ที่ชื่อว่า “โสภณสาธารณเจตสิก” คือ :-

สัทธาเจตสิก ๑
สติเจตสิก ๑
หิริเจตสิก ๑
โอตตัปปเจตสิก ๑
อโลภเจตสิก ๑
อโทสเจตสิก ๑
ตัตตรมัชฌัตตตา ๑
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ ๒
กายลหุตา จิตตลหุตา ๒
กายมุทิตา จิตตมุทุตา ๒
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ๒
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา ๒
กายชุกตา จิตตุชุกตา ๒

เจตสิก ๑๙ ดวงนี้ประกอบได้กับโสภณจิตทั้งหมด ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง คือ ขณะใดที่โสภณจิตทั้ง ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น โสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวง ต้องเข้าประกอบพร้อมกับจิตนั้นเสมอไม่มีเว้นเลย เจตสิกนี้จึงชื่อว่า “โสภณสาธารณเจตสิก"

  • นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวง ที่ชื่อว่า “วิรตีเจตสิก” คือ :-
สัมมาวาจาเจตสิก ๑
สัมมากัมมันตเจตสิก ๑
สัมมาอาชีวเจตสิก ๑

เจตสิก ๓ ดวงนี้ประกอบได้กับจิต ๑๖ หรือ ๔๘ ดวง ได้แก่ มหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวงเหล่านั้น

ข้อสังเกตจากสัมปโยคนัยที่ ๒

วิรตีเจตสิกประกอบได้กับมหากุศลจิต ๘ และโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ นั้น เพราะวิรตีเจตสิก ๓ ดวงนี้ เมื่อประกอบกับมหากุศลจิต ย่อมเกิดขึ้นโดยการเว้นจากทุจริตกรรม เป็นการเว้นชั่วขณะหนึ่งๆ ในการรับโลกียอารมณ์เท่านั้น จึงเป็นกุศลชาติ คือ มหากุศลจิตเกิดเสมอ จะเป็นอกุศลชาติ,วิปากชาติ หรือกิริยาชาติไม่ได้ โดยเหตุนี้ วิรตีเจตสิก ๓ ดวง จึงไม่ประกอบกับมหาวิบากจิต และไม่ประกอบกับมหากิริยาจิตด้วย เพราะมหากิริยาจิตนั้นเป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเว้นจากทุจริตกรรมทั้งปวง อันมรรคจิตประหารแล้วโดยเด็ดขาด จึงไม่จำเป็นต้องมีวิรตีประกอบอีก

วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ที่ไม่ประกอบกับมหัคคตจิตนั้น เพราะอารมณ์ของมหัคคตจิตนั้น มีกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีวิรมิตัพพวัตถุเป็นอารมณ์ เพื่อให้เกิดการเว้นจากทุจริตกรรม ฉะนั้นวิรตีเจตสิก ๓ ดวง จึงไม่ประกอบกับมหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง

วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้น ย่อมเป็นโลกุตตรวิรตีมีฐานะเป็นมัคคังคเจตสิก ถ้าวิรตีเจตสิก ๓ ดวงนี้ไม่เกิด โลกุตตรจิตก็เกิดไม่ได้เพราะไม่ครบองค์แห่งมรรค ฉะนั้นการประกอบกับโลกุตตรจิตของวิรดีเจตสิกจึงต้องต่างกับโลกียวิรตีที่ประกอบกับมหากุศลจิต ย่อมประกอบได้ทีละดวง เช่น มหากุศลจิตใดเกิดขึ้นโดยเว้นจากมิจฉาวาจา ในมหากุศลจิตนั้นย่อมมีสัมมาวาจาเจตสิกประกอบ ส่วนสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวเจตสิกไม่ประกอบดังนี้เป็นต้น จะประกอบพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง อย่างโลกุตตรวิรดีที่ประกอบกับโลกุตตรจิตไม่ได้

  • นัยที่ ๓ เจตสิก ๒ ดวง ที่ชื่อว่า “อัปปมัญญาเจตสิก” คือ :-

กรุณาเจตสิก ๑
มุทิตาเจตสิก ๑

เจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบได้กับจิต ๒๘ ดวง ได้แก่ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓)

ข้อสังเกตจากสัมปโยคนัยที่ ๓

อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ไม่ประกอบกับมหาวิบากจิต ๘ ดวง รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ไม่ประกอบในมหาวิบากจิต ๔ เพราะมหาวิบากจิตจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปรมัตถกามอารมณ์ ส่วนอัปปมัญญานั้นอาศัยสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ อัปปมัญญาเจตสิกจึงประกอบไม่ได้ในมหาวิบากจิต ๘ ดวง

อัปปมัญญาไม่ประกอบในรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ ดวง เพราะรูปาวจรปัญจมฌานจิตมีมัชฌัตตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์บ้าง บัญญัติอารมณ์อื่นบ้าง ซึ่งไม่ใช่ทุกขิตสัตว์หรือสุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ฉะนั้นอัปปมัญญาเจตสิกจึงไม่ประกอบในรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ ดวงดังกล่าว 

อัปปมัญญาเจตสิกไม่ประกอบในอรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เพราะอรูปาวจรจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น เป็นจิตที่รับมหัคคตารมณ์ และบัญญัติอารมณ์อื่นๆอันเป็นอารมณ์ละเอียด จึงเสวยอารมณ์เป็นอุเบกขาเวทนา ดังนั้น ทุกขเวทนาและสุขเวทนาแห่งสัตว์ จึงเป็นกรรมฐานของอรูปาวจรจิตไม่ได้ อัปปมัญญาเจตสิกจึงไม่ประกอบในอรูปาวจรทั้ง ๑๒ ดวงนั้น อัปปมัญญาเจตสิกไม่ประกอบกับโลกุตตรจิต ๔ หรือ ๔๐ เพราะโลกุตตรจิตนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์ไม่ใช่มีสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ฉะนั้นอัปปมัญญาเจตสิกจึงไม่ประกอบกับโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

  • นัยที่ ๔ ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรียเจตสิก ประกอบได้กับจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่ กามาวจรโสภณญาณสัมปยุตจิต ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐



วันอังคาร

โสภณเจตสิก

โสภณเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดีงาม เมื่อประกอบกับจิตแล้ว ย่อมทำให้จิตผ่องใสไม่เศร้าหมองเร่าร้อน ตั้งอยู่ในความดีงาม เว้นจากบาปธรรมและทุจริตกรรมต่างๆ เจตสิกประเภทนี้ จึงชื่อว่า โสภณเจตสิก ส่วนจิตที่มีชื่อว่า อโสภณจิตนั้น ย่อมแสดงว่าจิตเหล่านั้นมิได้ประกอบด้วยโสภณเจตสิกเลย ฉะนั้นจึงเห็นว่าโสภณเจตสิกนั้น ย่อมประกอบได้ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงเท่านั้น

โสภณเจตสิก มีจำนวน ๒๕ ดวง ตามแผนผังต่อไปนี้ :-



โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง แบ่งออกเป็น ๔ นัย คือ :-

  • ก. โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
  • ข. วิรตีเจตสิก ๓ ดวง
  • ค. อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง
  • ง. ปัญญินทรียเจตสิก ๑ ดวง


อธิบาย ก. โสภณสาธารณเจตสิก

มี ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่ประกอบได้ทั่วไปในโสภณจิตทั้งหมด ๕๙ ดวง หรือ ๙๑ ดวง หมายความว่า เมื่อโสภณจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้นก็ตาม จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ ประกอบกับจิตนั้นด้วยเสมอ โสภณสาธารณเจตสิกทั้งหมดมี ๑๙ ดวง จะได้แสดงสภาวะของเจตสิกต่างๆ เหล่านี้โดยลำดับ

➤  สัทธาเจตสิก

สัทธาเจตสิก คือ ความเชื่อและเลื่อมใสในสิ่งที่ควรเชื่อ ได้แก่ ความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อเหตุผลในเรื่องกรรม และผลของกรรมตามความเป็นจริง มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    สทฺธหน ลักขณา มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เป็นลักษณะ
    ปสาทน รสา มีการยังสัมปยุตธรรมให้ผ่องใส เป็นกิจ
    อกาฬุสสิย ปัจจุปัฏฐานา มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
    สทฺเธยฺยวตฺถุ ปทฏฺฐานา มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้

ลักขณาทิจตุกะของสัทธาเจตสิกอีกนัยหนึ่ง

    โอกปฺปน ลกฺขณา มีความปลงใจเชื่อด้วยปัญญา เป็นลักษณะ
    ปกฺขนฺทน รสา มีความแล่นไป เป็นกิจ
    อธิมุตติ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความน้อมใจเชื่อ เป็นผล
    สทฺธมฺมสวนาทิ โสดาปตฺติยงฺค ปทฏฺฐานา มี🔎องค์แห่งโสดาปัตติมรรค มีการฟังพระสัทธรรม เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

สัทธานี้ จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคลได้ประกอบคุณงามความดีเป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่พระรัตนตรัย กรรม และผลของกรรมเป็นต้น สัทธา คือความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อนี้ จำแนกออกไปได้ ๔ ประการคือ :-

    กัมมสัทธา ได้แก่ ความเชื่อกรรม (เชื่อเหตุ)
    วิปากสัทธา ได้แก่ เชื่อผลของกรรม (เชื่อผล)
    กัมมัสสกตาสัทธา ได้แก่ เชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนๆ (เชื่อทั้งเหตุ และผล)
    ตถาคตโพธิสัทธา ได้แก่ เชื่อในความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งสัทธา มี ๔ ประการคือ :-

    ๑. รูปปฺปมาณสทฺธา เชื่อเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
    ๒. ลูขปฺปมาณสุทธา เชื่อเพราะเห็นความประพฤติเคร่งครัด
    ๓. โฆสปฺปมาณสทฺธา เชื่อเพราะได้ฟังเสียงลือว่า ชื่อเสียงดีต่างๆ
    ๔. ธมฺมปฺปมาณสทฺธา เชื่อเหตุผลเพราะได้ฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

สัทธานั้น เมื่อเกิดขึ้นขณะใด ย่อมมีอันทำให้สัมปยุตธรรมผ่องใสประดุจสารส้มที่ทำน้ำที่ขุ่นให้ใสขึ้นฉะนั้น


➤  สติเจตสิก

สติเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความระลึกได้ในอารมณ์ และให้สังวรอยู่กับกุศลธรรมเป็นลักษณะ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ เป็นลักษณะ
    อสมฺโมหรสา มีความไม่หลงลืม เป็นกิจ
    วิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฺฐานา มีความจดจ่อต่ออารมณ์ เป็นผล
    ถิรสญฺญา ปทุฏฐานา (วา) มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้
     (หรือ) กายาทิสติปัฏฐาน ปทฏฺฐานา มีสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

สติ มีลักษณะ ๒ ประการ ดังที่แสดงในมิลินทปัญหา คือ :-

    ๑. อปิลาปนลักขณาสติ
    ๒. อุปคัณหณลักขณาสติ

๑. อปลาปนลักขณาสติ ได้แก่ สติที่เตือนให้ระลึกไปในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมสิ่งนี้ดีสิ่งนั้นชั่ว, สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์, ธรรมสิ่งนี้เป็นสติปัฏฐาน ๔, สิ่งนี้เป็นพละ ๕, สิ่งนี้เป็นโพชฌงค์ ๗, สิ่งนี้เป็นมรรค ๘ หรือสิ่งนี้เป็นสมถกรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นฌาน, เป็นสมาบัติ, เป็นวิชา, เป็นวิมุตติ, เป็นกองจิต, กองเจตสิก เมื่ออปิลาปนลักขณาสติ เตือนให้ระลึกถึงธรรมเหล่านี้แล้ว ก็มิได้ส้องเสพธรรมอันมิควรเสพ กลับเสพธรรมที่ควรเสพ สตินี้ จึงหมายถึงสติที่ประกอบทั่วไปในโสภณจิต ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรม โดยทำหน้าที่กั้นกระแสแห่งนิวรณ์ธรรม จะประกอบด้วยปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยปัญญาก็สามารถให้ระลึกถึงกุศลธรรมโดยชอบได้

๒. อุปคัณหณลักขณาสติ ได้แก่ สติที่ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี ย่อมระลึกว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการะ, ธรรมสิ่งนี้มิได้มีอุปการะ ถือเอาแต่ธรรมที่เป็นประโยชน์ ธรรมที่เป็นอุปการะ ดุจนายประตูของพระบรมกษัตริย์ ถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตูพระราชวัง ก็ห้ามเสียมิให้เข้า ผู้ใดมีอุปการะแก่พระบรมกษัตริย์ ก็ปล่อยให้เข้าไปสู่พระราชฐาน ย่อมกำจัดเสียซึ่งคนอันไม่ใช่ข้าฯเข้าเฝ้า ถือเอาแต่คนที่เป็นข้าฯให้เข้าสู่พระราชฐานนั้นได้ อุปคัณหณลักขณาสติ จึงเป็นสติที่อุปการะแก่ปัญญาโดยตรง ได้แก่สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณากาย, เวทนา, จิต, ธรรม ที่เรียกว่าเจริญ “สติปัฏฐาน ๔” อันเป็นปุพพภาคมรรค ซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งมรรค พรหมจรรย์ที่จะอุปการะให้แจ้งพระนิพพาน

ฉะนั้น สติ จึงมี ๒ อย่างคือ :-

  • สติ ที่ประกอบกับโสภณจิตโดยทั่วไป ในขณะระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บจำไว้ตามนัยปริยัติด้วยอปลาปนลักขณาสติ
  • สติ ที่กระทำความรู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความจริงในการเจริญสติปัฏฐานตามนัยปฏิบัติด้วยอุปคุณหณลักขณาสติ

➤   หิริเจตสิก

หิริเจตสิก คือธรรมชาติที่ละอายต่อบาป ได้แก่ สภาพความเกลียดและละอายต่อการงานอันเป็นทุจริต มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :

    ปาปโต ชิคุจฺฉนลกฺขณา มีความเกลียดต่อบาป เป็นลักษณะ
    ปาปานํ อกรณรสา 
มีการไม่ทําบาป เป็นกิจ
    ปาปโต สงฺโกจนปัจฺจุปฏฺฐานา 
มีความละอายต่อบาป เป็นผล
    อตฺตคารว ปทฏฺฐานา 
มีความเคารพตนเอง เป็นเหตุใกล้


➤  โอตตัปปเจตสิก

โอตตัปปเจตสิก คือธรรมชาติที่สะดุ้งกลัวต่อบาป ได้แก่ สภาพความสะดุ้งกลัวต่อการงานอันเป็นทุจริต มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    อุตฺตาสนลกฺขณํ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ
    ปาปานํ อกรณรสํ มีการไม่ทําบาป เป็นกิจ
    ปาปโต สงฺโกจนปจจุปฏฐานํ มีความละอายต่อบาป เป็นผล
    ปรคารว ปทฏฺฐานํ มีความเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้


👉 หิริ และโอตตัปปเจตสิก ทั้งสองนี้ย่อมปรากฏขึ้นในโอกาสที่เว้นจากความชั่ว หิริ นั้นมีอันเกลียดบาปเป็นลักษณะ โอตตัปปะ นั้น มีอันสะดุ้งกลัวต่อบาปเป็นลักษณะ หิริ เปรียบเหมือนหญิงสาวผู้มีสกุล ที่ขยะแขยงรังเกียจต่อบาปธรรมด้วยอำนาจความเคารพตน และอาศัยเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน ได้แก่เหตุภายใน ๘ ประการ คือ

  • ๑. กุละ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงตระกูลของตน
  • ๒. วยะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงวัยของตน
  • ๓. พาหุสัจจะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงการศึกษาของตน
  • ๔. ชาติมหัคคตะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงชาติภูมิอันประเสริฐของตน
  • ๕. สัตถุมหัคคตะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงพระศาสดา, บิดามารดา, ครูอาจารย์
  • ๖. ทายัชชมหัคคะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงทายาทที่เป็นใหญ่
  • ๗. สหพรหมจารีมหัคคตะ  ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงเพื่อนสหพรหมจารี ที่เป็นใหญ่
  • ๘. สุรภาวะ ละอายต่อบาปโดยคำนึงถึงความแกล้วกล้าเข้มแข็งของตน

โอตตัปปะ เปรียบเหมือนหญิงแพศยา ผู้มีความเกรงกลัวต่อบาปธรรมด้วยอำนาจเคารพผู้อื่น และโอตตัปปะนี้อาศัยเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน ได้แก่เหตุภายนอก ๔ ประการ คือ :-

  • ๑. อตฺตานุวาทภยํ กลัวต่อการติเตียนตนเอง
  • ๒. ปรวาทานุภยํ กลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น
  • ๓. ทณฺฑภยํ กลัวต่อราชทัณฑ์ คือกฎหมายบ้านเมือง
  • ๔. ทุคฺคติภยํ กลัวต่อภัยในอบายภูมิ

ความละอายและความสะดุ้งกลัว อันเป็นสภาพธรรมของหิริ และโอตตัปปะนี้ไม่เป็นอกุศล เพราะเป็นการละอายและเกรงกลัวในบาปทุจริตโดยพิจารณาเห็นโทษแล้วว่า ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ เหมือนกับผู้พิจารณามรณานุสสติโดยเอาความตายมาเป็นอารมณ์ หรือผู้ที่กำลังพิจารณาอสุภกรรมฐาน ซึ่งขณะจิตที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น จิตย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายอกุศล หิริและโอตตัปปะนี้ก็เช่นกัน ย่อมพิจารณาถึงบาปทุจริตแล้วไม่กระทำกรรมชั่ว ย่อมบริหารตนให้หมดจด ด้วยเหตุนี้หิริและโอตตัปปะ จึงจัดว่าเป็นธรรมที่คุ้มครองโลก สมดังพุทธดำรัสในอังคุตรนิกายทุกนิบาตว่า

“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม ๒ ประเภทนี้ย่อมคุ้มครองโลก ธรรม ๒ ประการคืออะไรบ้าง คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายสุกกธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมคุ้มครองโลก ถ้าหากสุกกธรรม ๒ ประการนี้ไม่พึงคุ้มครองโลกไซร้ในโลกนี้จะไม่พึงปรากฏคำว่า มารดา บิดา พี่ ป้า น้า อา สามี ภรรยา ครู อาจารย์ ฯ ชาวโลกจักได้ถึงความปะปนกันเหมือนอย่าง แพะ แกะ ไก่ สุกร และสุนัข ฉะนั้นดูกร ภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม ๒ ประการนี้แลคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้นจึงยังปรากฏคำว่า มารดา บิดา พี่ ป้า น้า อา ครู อาจารย์ ฯ” ดังนี้

➤  อโลภเจตสิก

อโลภเจตสิก คือธรรมชาติที่ไม่อยากได้ไม่ติดใจในอารมณ์ ได้แก่สภาพจิตที่ไม่อยากได้ และไม่ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ หรือธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ ชื่อว่าอโลภะ เป็นมูลรากแห่งกุศลธรรม มีอรรถ ๔ ประการโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    อลคฺคภาวลกฺขโณ (วา) มีความไม่ติดอยู่ในอารมณ์ เป็นลักษณะ
     (หรือ) อเคธลกฺขโณ มีความไม่กำหนัดยินดีในอารมณ์ เป็นลักษณะ
    อปริคฺคหรโส มีความไม่หวงแหน เป็นกิจ
    อนลฺลินภาวปัจจุปัฏฐาโน  มีความไม่ยึดมั่นในอารมณ์ เป็นผล
    โยนิโสมนสิการ ปทฏฺฐาโน มีการกระทำในใจต่ออารมณ์อันแยบคาย เป็นเหตุใกล้

สภาพของอโลภะ ที่มีความไม่ติดอยู่ในอารมณ์เป็นลักษณะนั้น เหมือนหยาดน้ำที่ไม่ติดอยู่บนใบบัว มีความไม่หวงแหนเป็นกิจเหมือนภิกษุผู้ปล่อยวาง มีความไม่ยึดมั่นในอารมณ์เป็นผลเหมือนบุรุษผู้ตกลงไปในของที่ไม่สะอาด ฉะนั้นคุณธรรมของอโลภะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรค ย่อมได้เสพแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะ

➤  อโทสเจตสิก

อโทสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ประทุษร้าย ได้แก่ สภาพที่ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์ มีความไม่โกรธ ไม่ปองร้าย ไม่เบียดเบียน เป็นมูลรากแห่งกุศลธรรม มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    อจณฺฑิกลกฺขโณ (วา) มีความไม่ดุร้าย เป็นลักษณะ
    (หรือ) อวิโรธลกฺขโณ มีความไม่แค้นเคือง เป็นลักษณะ
    อาฆาตวินยรโส (วา) มีการกำจัดความอาฆาต เป็นกิจ 
    (หรือ) ปริฬาหวินยรโส มีการกำจัดความเร่าร้อน เป็นกิจ
    โสมภาวปจฺจุปฏฐาโน มีความร่มเย็นผ่องใส เป็นผล
    โยนิโสมนสิการ ปทุฏฐาโน มีการกระทำในใจต่ออารมณ์อันแยบคาย เป็นเหตุใกล้

สภาพของอโทสะที่มีความไม่ดุร้ายหรือไม่มีความเกรี้ยวกราดเป็นลักษณะเปรียบเหมือนมิตรผู้อนุบาลช่วยเหลือ มีการกำจัดความอาฆาตหรือกำจัดความเร่าร้อนเป็นกิจ เปรียบเหมือนกลิ่นจันทร์หอม มีความร่มเย็นเป็นผล เปรียบเหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญ ฉะนั้นคุณธรรมของอโทสะนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความหนุ่มสาว เพราะคนที่ไม่โกรธ ไม่ถูกไฟคือโทสะแผดเผาให้หนังเหี่ยวย่นเป็นริ้วรอยและให้ผมหงอก ย่อมยังความเป็นหนุ่มสาวให้อยู่ได้นานๆ ขันติ คือ ความอดทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก นั่นเอง

➤ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

ตัดตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เป็นกลางในสัมปยุตธรรมนั้นๆ ได้แก่ การทำเจตสิกให้สม่ำเสมอในโสภณกิจของตน ไม่มีความยิ่งหย่อน มี อรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    จิตฺตเจตสิกานํ สมวาหิตลกฺขณา มีการทำจิต และเจตสิกให้เป็นไปสม่ำเสมอ เป็นลักษณะ
    อูนาธิกตานิวารณรสา (วา) มีการห้ามจิตและเจตสิก ไม่ยิ่งและหย่อน เป็นกิจ
    (หรือ) ปกฺขปาตุปจฺเฉทนรสา มีการตัดขาดการตกไปในความยิ่งและหย่อนของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    มชฺฌตฺตภาวปัจฺจุปฏฺฐานา มีความฉลาดเป็นกลาง โดยเพ่งเฉยต่อจิตและเจตสิก เป็นผล
    สมฺปยุตฺตปทฏฺฐานา มีสัมปยุตธรรม เป็นเหตุใกล้
    
ตัดตรมัชฌัตตตาเจตสิกนี้ เป็นตัวกลางที่ทำให้จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะนั้น ทำกิจของตนๆ โดยสม่ำเสมอ เหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยที่วิ่งเรียบไป ฉะนั้น

➤ กายปัสสัทธิเจตสิก และ จิตตปัสสัทธิเจตสิก

กายปัสสัทธิเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล จิตตปัสสัทธิเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้จิต (วิญญาณขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล ปัสสัทธิเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :

    กายจิตฺตานํ ทรถวูปสมลลกฺขณา มีการทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความเร่าร้อน เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตทรถนิมฺมทฺทนรสา มีการกำจัดความเร่าร้อนของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํ อปริปุผนฺทนสีติภาวปัจฺจุปัฏฐานา มีความเยือกเย็น ไม่ดิ้นรน เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

พระพุทธองค์ตรัสว่า เวทนากฺขนฺธสฺส เพราะทรงประสงค์เอาเจตสิกขันธ์ ๓ ว่า เป็น กาย และทรงประสงค์เอาวิญญาณขันธ์ เป็น จิต ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะเป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้น (นามขันธ์ ๔) สงบ ปราศจากความกระวนกระวายถึงความปลอดโปร่ง กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิเจตสิกทั้ง ๒ นี้จึงประกอบกับโสภณจิตเท่านั้น และปัสสัทธิเจตสิกแม้จะประกอบกับโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงก็จริง แต่ย่อมยังความสงบในชั้นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ให้แตกต่างกัน


➤ กายลหุตาเจตสิก และ จิตตลหุตาเจตสิก

กายลหุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำความเบาให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล จิตตลหุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำความเบาให้จิต (วิญญาณขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล ลหุตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :-

    กายจิตฺตครุภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้จิตและเจตสิกบรรเทาจากความหนัก เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตครุภาวนิมฺมทุนรสา มีการกำจัดความหนักของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํ อทนฺธตาปัจจุปัฏฐานา มีความไม่หนักของจิตและเจตสิก เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

ธรรมที่มีชื่อ กาย มุ่งหมายถึง เจตสิกขันธ์ ๓ และ จิต มุ่งหมายถึงวิญญาณขันธ์ ดังกล่าวแล้วในสภาวะของกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ ฉะนั้น กายลหุตา และจิตตลหุตาเจตสิกนี้ จึงหมายถึงอาการแห่งภาวะที่เบา ชื่อว่า ลหุตา และความเบานี้ มีความหมายว่า ธรรมเหล่านี้เปลี่ยนไปได้เร็ว “ลหุปริณามตา” คือ สามารถเป็นไปได้โดยฉับพลัน, อทนฺธนตา ปฏิเสธความหนัก คือภาวะที่ไม่เป็นภาระหนัก, อวิตฺถนตา คือ ความกระด้างเพราะไม่มีกิเลสภาระ ได้แก่ ถีนมิทธะ เป็นต้น

กายลหุตาเจตสิก และจิตตลหุตา ที่เป็นอาการแห่งภาวะที่เบาของเจตสิกขันธ์ ๓ และวิญญาณขันธ์ (นามขันธ์ ๔) ซึ่งอยู่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงเท่านั้น


➤ กายมุทุตาเจตสิก และ จิตตมุทุตาเจตสิก

กายมุทุตาเจตสิก คือธรรมชาติที่ทำความอ่อนให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล จิตตมุทุตาเจตสิก คือธรรมชาติที่ทำความอ่อนให้จิต (วิญญาณขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล มุทุตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ โอนอ่อนรับอารมณ์อันเป็นกุศลได้ง่าย มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :

    กายจิตฺตถมฺภวูปสมลกฺขณา มีการทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความกระด้าง เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตถทฺธภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการกำจัดความกระด้างของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    อปฺปฏิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่โกรธ ไม่อาฆาต เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

กายมุทุตา และจิตตมุทุตาเจตสิกนี้ เป็นภาวะที่อ่อนของเจตสิกขันธ์ ๓ และวิญญาณขันธ์ ภาวะที่อ่อนชื่อว่า มุทุตา ขยายความว่า ความสนิทเกลี้ยงเกลาชื่อว่า มทฺทวตา ภาวะที่ไม่กักขฬะชื่อว่า อกกฺขลตา และภาวะที่ไม่กระด้างชื่อว่า อกถินตา มุทิตาเจตสิกทั้ง ๒ นี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส และเป็นธรรมที่ประกอบกับโสภณจิต ทำให้จิตนั้นอ่อนไหว น้อมรับอารมณ์อันเป็นกุศลได้อย่างสนิทสนม

➤ กายกัมมัญญตาเจตสิก และ จิตตกัมมัญญตาเจตสิก

กายกัมมัญญตาเจตสิกเป็นธรรมชาติ ที่ทำความเหมาะควรแก่การงานอันเป็นกุศลให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) จิตตกัมมัญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำความเหมาะควรแก่การงานอันเป็นกุศลให้จิต (วิญญาณขันธ์) กัมมัญญตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :-

    กายจิตฺตกมฺมญฺญภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้จิตและเจตสิกเข้าสู่สภาวะที่สงบจากความที่ไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตกมฺมญฺญภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการกำจัดความไม่ควรแก่การงานของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํ อารมฺมณกรณสมฺปตฺติ ปจฺจุปัฏฐานา มีความถึงพร้อมในการกระทำอารมณ์ให้สมควรแก่จิตและเจตสิก เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

กัมมัญญตาเจตสิกทั้ง ๒ นี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส เป็นธรรมที่ประกอบกับโสภณจิต ทำให้เกิดความพอดี สมควรแก่การงานอันเป็นกุศล

➤ กายปาคุญญตาเจตสิก และ จิตตปาคุญญตาเจตสิก

กายปาคุญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล จิตตปาคุญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต (วิญญาณขันธ์) คล่องแคล่วในการงานอันเป็นกุศล ปาคุญญตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :

    กายจิตฺตานํ อเคลญฺญภาวลกฺขณา มีความไม่อาพาธของจิตและเจตสิก เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตเคลญฺญนิมฺมทฺทรสา มีการกำจัดความอาพาธของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    นิราทีนวปจฺจุปฏฺฐานา มีความปราศจากโทษ เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

ปาคุญญตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส เป็นธรรมที่ประกอบกับโสภณจิต ทำให้จิตเข้าถึงสภาวะที่คล่องแคล่ว ไม่อืดอาดต่อการงานอันเป็นกุศล

➤  กายุชุกตาเจตสิก และ จิตตุชุกตาเจตสิก

กายุชุกตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) มีความซื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล จิตตุชุกตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต (วิญญาณขันธ์) มีความซื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :-

    กายจิตฺตอชฺชวลกฺขณา มีความซื่อตรงของจิตและเจตสิก เป็นกิจ
    กายจิตฺตกุฏิลภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการกำจัดความไม่ซื่อตรงของจิตและเจตสิก เป็นลักษณะ
    อชิมหตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีความซื่อตรงของจิตและเจตสิก เป็นผล
    กายจิตฺตปทุฏฐานา มีจิตและเจตสิก เป็นเหตุใกล้

เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ เป็นธรรมที่ประกอบกับโสภณจิต ทำให้สามารถกำจัดปฏิปักษ์ธรรมคือ มายาปิดบังความชั่วและสาไถย ความโอ้อวดคุณธรรมที่ไม่มีในตนให้สิ้นไป และพร้อมกันนั้น ทำให้เจตสิกและจิตซื่อตรงไม่คดโค้งและงอนต่อการงานอันเป็นกุศล ในอัฏฐสาลินีกล่าวว่า ผู้ใดมีกรรมและทวารทั้ง ๓ ไม่บริสุทธิ์ ผู้นั้นชื่อว่า “คด” เหมือนเยี่ยวโค ผู้ใดมีกรรมและทวารทั้ง ๒ ไม่บริสุทธิ์ ผู้นั้นชื่อว่า “โค้ง” เหมือนเสี้ยวของดวงจันทร์ ผู้ใดมีกรรมและทวารอย่างใดอย่างหนึ่งไม่บริสุทธิ์ ผู้นั้นชื่อว่า “งอน” เหมือนปลายคันไถ


อธิบาย ข. วิรตีเจตสิก

วิรดีเจตสิกเป็นธรรมชาติที่เป็นเครื่องงดเว้นจากบาปธรรม มีปาณาติบาต เป็นต้น ภาวะแห่งการงดเว้นจากบาปธรรมหรือทุจริตกรรมนี้ชื่อวิรัติ และเรียกสภาวธรรม ที่เป็นเครื่องงดเว้นจากบาปธรรมว่าวิรตีเจตสิก ภาวะแห่งการงดเว้นจากบาปธรรมที่ชื่อว่า วิรัตินั้นมี ๓ ประเภท คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑ และสมุจเฉทวิรัติ ๑

    สัมปัตตวิรัติ งดเว้นจากบาปธรรม โดยความถึงพร้อมแห่งอัธยาศัย เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์ เพราะคิดว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมรักชีวิตตน
    สมาทานวิรัติ การงดเว้นจากบาปธรรม โดยการยึดเอาสิกขาบทที่บัญญัติไว้ เช่น การถือศีล ๕ หรืออุโบสถศีล โดยสมาทานจากภิกษุผู้ทรงศีล เป็นต้น
    สมุจเฉทวิรัติ การงดเว้นจากบาปธรรมโดยเด็ดขาด คือวิรัติที่ประกอบเป็นองค์อริยมรรค ทำให้พระโยคาวจรบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้ว พระอริยบุคคลนั้นไม่เกิดความคิดแม้ว่าเราจะฆ่าสัตว์

วิรัติ อันเป็นภาวะแห่งการงดเว้นจากบาปธรรมนี้ มีสภาวะเป็นเจตสิก ปรมัตถ์ที่ชื่อว่า วิรตีเจตสิก ซึ่งมีอยู่ ๓ ดวงคือสัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวเจตสิก

➤  สัมมาวาจาเจตสิก

สัมมาวาจาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิตและโลกุตตรจิต ทำให้เกิดการเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ มีการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ มีอรรถ ๔ ประการโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    ปริคฺคหลกฺขณา มีการป้องกันไว้ซึ่งวจีทุจริต เป็นลักษณะ
    วิรมณรสา มีการเว้นจากมิจฉาวาจา เป็นกิจ
    มิจฺฉาวาจาปหานปจจุปฏฺฐานา มีการประหารมิจฉาวาจา เป็นผล
    สทฺธาหิโรตฺตปฺปาทิคุณ ปทุฏฐานา มีคุณธรรม คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

สัมมาวาจามี ๓ ประการ คือ :-
๑. กถาสมฺมาวาจา คือการกล่าววาจาที่ดีมีศีลธรรม เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฟังเช่น การสอน การสนทนาธรรม เป็นต้น
๒. เจตนาสมฺมาวาจา คือตั้งใจกล่าววาจาสมาทานศีลว่า จะละเว้นจากวจีทุจริต มีการสมาทานว่า จะไม่พูดปด เป็นต้น
๓. วิรตีสมฺมาวาจา คือการงดเว้นวจีทุจริต ๔ และเป็นการงดเว้นเฉพาะหน้า ขณะมีอารมณ์ที่จะกล่าววจีทุจริตออกไป

➤  สัมมากัมมันตเจตสิก

สัมมากัมมันตเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิตและโลกุตตรจิตทำให้เกิดการงานที่เว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานอันเป็นอาชีพ มีอรรถ ๔ ประการโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    สมุฏฐานลกฺขโณ มีการป้องกันกายทุจริต เป็นลักษณะ
    วิรมณรโส มีการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ เป็นกิจ
    มิจฺฉากมฺมนฺต ปหานปจฺจุปัฏฐาโน มีการประหารมิจฉากัมมันตะ เป็นผล
    สทฺธาหิโรตฺตปุปาทิคุณปทฏฐาโน มีคุณธรรมคือสัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

สัมมากัมมันตะมี ๓ ประการ คือ :-
๑. ยถาพลํสมฺมากมุมนุต ได้แก่ การกระทำการงานที่ชอบ ที่ควร มีการประกอบทานกุศล อ่อนน้อมถ่อมตนหรือช่วยเหลือการงาน ที่เป็นประโยชน์ตามสมควรแก่กำลังของตน เป็นต้น
๒. เจตนาสมฺมากมุมนุต ได้แก่ ภาวะที่ตั้งใจสมาทานว่า จะละเว้นจากกายทุจริต มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
๓. วิรตีสมฺมากมฺมนฺต ได้แก่ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ และเป็นการเว้นเฉพาะหน้า ขณะที่มีอารมณ์ที่จะให้ล่วงกายทุจริตมาปรากฏ

➤  สัมมาอาชีวเจตสิก

สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิตและโลกุตตรจิต ทำให้เกิดการเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ มีอรรถ ๔ ประการโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ :-

    โวทานลกฺขโณ มีความผ่องแผ้ว เป็นลักษณะ
    กายชิวปฺปวตฺติรโส มีความเป็นไปแห่งกายและวาจาอันบริสุทธิ์ เป็นกิจ
    มิจฺฉาอาชีวปหานปจฺจุปฏฐาโน มีการประหารมิจฉาชีพ เป็นผล
    สทฺธาหิโรตฺตปฺปาทิคุณปทฏฐาโน มีคุณธรรมคือสัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

สัมมาอาชีวะมี ๒ ประการ คือ :-
๑. วิริยสมมาอาชีวะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกระทำการงานหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
๒. วิรตีสมมาอาชีวะ ได้แก่ การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ และเป็นการงานเว้นเฉพาะหน้าขณะมีอารมณ์เกี่ยวกับอาชีพที่จะให้ล่วงทุจริตกรรมมาปรากฏ

วิรตีเจตสิกทั้ง ๓ ดวงที่กล่าวแล้ว อันได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะร่วมกันอีก คือ :-

    กายทุจฺจริตาทิวตฺถุนํ อวีติกุกสลกฺขณา มีการไม่ก้าวล่วงกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ
    กายทุจฺจริตาทิวตฺถุโต สงฺโกจนรสา มีการเบือนหน้าจากวัตถุแห่งกายทุจริต เป็นต้น เป็นกิจ
    อกิริยาปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่กระทำวัตถุแห่งกายทุจริต เป็นต้น
    สทฺธาหิโรตฺตปฺปิจฺฉตาทิคุณปทุฏฐานา มีคุณธรรม คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ และอัปปิจฉตา (ความเป็นผู้ปรารถนาน้อย) เป็นต้น เป็นเหตุใกล้ เป็นผล

วิรตีเจตสิก จะเกิดได้ย่อมอาศัยวัตถุอันพึงเว้นจากการก้าวล่วงทุจริตกรรม วัตถุอันพึงเว้นนั้นชื่อว่า วิรมิตัพพวัตถุ วิรตีเจตสิก ๓ ดวงนี้ ประกอบในมหากุศลจิตได้ไม่แน่นอน และไม่พร้อมกัน ส่วนขณะที่ประกอบกับโลกุตตรจิต ย่อมประกอบได้แน่นอนและพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง เรียกว่า นิยตเอกโต เป็นศีลในองค์มรรค เพื่อทำหน้าที่ประหารทุจริตทุราชีพโดยเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน


อธิบาย ค. อัปปมัญญาเจตสิก

อัปปมัญญาเจตสิก หมายถึง ธรรมที่แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลายโดยหาประมาณมิได้ ดังวจนัตถะว่า อปฺปมาเณสุ สตฺเตสุ ภวาติ = อปฺปมญฺญฺา แปลความว่า ธรรมที่แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ไม่มีจำกัด ชื่อว่า อัปปมัญญา

ธรรมที่ชื่อว่า อัปปมัญญามี ๔ อย่าง ดังแสดงไว้ในพระบาลีว่า “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เจติ อิมาจตสฺโส อปฺปมญฺฺโญนาม พฺรหฺม วิหาโรติ จปวุจฺจติฯ” แปลความว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ธรรม ทั้ง ๔ อย่างนี้ชื่อว่า อัปปมัญญา เพราะไม่มีประมาณ หรือที่ชนทั้งหลายเรียกว่าพรหมวิหาร เพราะผู้ปฏิบัติธรรมใน ๔ อย่างนี้ ย่อมมีความเป็นอยู่เหมือนพรหม อัปปมัญญาเจตสิก ที่แสดงไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทนี้มี ๒ ดวงได้แก่ กรุณาเจตสิก และ มุทิตาเจตสิก ส่วน เมตตา มีองค์ธรรม คือ อโทสเจตสิก และอุเบกขา มีองค์ธรรม คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก อยู่แล้ว จึงมิได้นำมาแสดงไว้โดยนัยแห่งอัปปมัญญาเจตสิกนี้อีก ต่อไปนี้จะได้แสดงอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง คือ

➤  กรุณาเจตสิก

กรุณาเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความสงสารต่อทุกขิตสัตว์ ได้แก่ ความสงสารสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์ยากลำบากอยู่ หรือที่จะได้รับความทุกข์ยากลำบากในกาลข้างหน้า มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ คือ :-

    ทุกฺขาปนยนาการปวตฺติลกฺขณา มีความเป็นไปโดยอาการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ เป็นลักษณะ
    ปรทุกฺขาสหนรสา มีความกำจัดทุกข์ของผู้อื่น เป็นกิจ
    อวิหึสาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่เบียดเบียน เป็นผล
    ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสน ปทุฏฐานา มีการเห็นสัตว์ผู้ไร้ที่พึ่งถูกทุกข์ครอบงำ เป็นเหตุใกล้

สภาพของกรุณานี้ มีการสงบระงับวิหิงสาเป็นสมบัติ และมีการเกิดความโศกเป็นวิบัติ ที่ชื่อว่า “กรุณา” เพราะย่อมกระทำจิตใจของคนดีให้หวั่นไหวในเมื่อผู้อื่นมีความทุกข์ชื่อว่า “กรุณา” เพราะถ่ายทุกข์ของผู้อื่น หรือกำจัดความทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศ ชื่อว่า “กรุณา” เพราะด้วยอำนาจการแผ่กระจายไปในสัตว์อื่นที่มีทุกข์ เมื่อกรุณาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าถึงความไม่เบียดเบียนผู้อื่น และทำลายความโศกที่เกิดขึ้นกับตนให้หายไป กรุณานี้จึงประกอบได้กับโลกียกุศลจิต และมหากิริยาจิต

➤  มุทิตาเจตสิก

มุทิตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความพลอยยินดีต่อสุขิตสัตว์ ได้แก่ความพลอยยินดีต่อผู้ที่กำลังประสบความสุขอยู่ หรือผู้ที่จะประสบความสุขในกาลข้างหน้า มีอรรถ ๔ ประการ โดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) คือ

    ปรสมฺปตฺติอนุโมทนลกฺขณา มีความพลอยยินดี ในสมบัติของผู้อื่น เป็นลักษณะ
    อนิสฺสายนรสา มีความไม่ริษยา เป็นกิจ
    อรติวิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีการกำจัดความไม่ยินดี เป็นผล
    ปรสมฺปตฺติ ทสฺสนปทฏฺฐานา มีการเห็นสมบัติของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้

สภาพของมุทิตาเจตสิกนี้ ย่อมทำให้จิตใจเข้าถึงการสงบระงับความไม่ยินดีทั้งปวง เป็นสมบัติ และเกิดความกำหนัดยินดีร่าเริง เป็นวิบัติ

➤  ปัญญินทรีย์เจตสิก

ปัญญินทรีย์เจตสิก คือธรรมชาติที่รู้เหตุผลในสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้แก่ ธรรมชาติที่รู้เหตุผลของกรรม ตลอดจนรู้เรื่องอริยสัจ โดยนัยเป็นต้นว่า นี้คือทุกข์ หรือที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ไตรลักษณ์ มีอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นต้น ปัญญา ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่โดยครอบงำอวิชชาเสียได้และมีหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้ทั่วไปตามความเป็นจริง ฉะนั้น “ปัญญา” จึงชื่อว่า ปัญญินทรีย์เจตสิก ซึ่งมีอรรถ ๔ ประการโดยเฉพาะ คือ :-

    ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีการรู้แจ้งสภาวธรรม เป็นลักษณะ
    ธมฺมานํ สภาวปฏิจฺฉาทกโมหนฺธการวิทฺธสนรสา (วา) มีการกำจัดความมืดมนอนธกาล คือโมหะ อันปกปิดมิให้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง เป็นกิจ
    ตถปฺปกาสนรสา (วา) หรือมีการประกาศความจริง เป็นกิจ
    ปรมตฺถปกาสนรสา (วา) หรือมีการประกาศปรมัตถธรรม เป็นกิจ
    จตุสจฺจวิภาวนกิจฺจานรสา มีการยังอริยสัจ ๔ ให้แจ่มแจ้ง เป็นกิจ
    อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลงจากความจริง เป็นผล
    สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้

โดยอรรถดังกล่าวนี้ จึงเห็นว่า ปัญญามีการแทงตลอดตามสภาวะเป็นลักษณะ หรือมีการแทงตลอดไม่ผิดพลาด เป็นลักษณะ ดุจการแทงถูกที่หมายแห่งลูกศรของนายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไปฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์โดยความเป็นจริง เป็นกิจ ดุจดวงประทีปที่ส่องให้เห็นวัตถุในความมืดฉะนั้น มีความไม่หลงลืม เป็นผล ดุจผู้ชี้ทางแก่คนที่จะไปในป่าฉะนั้น และมีความสงบ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญานี้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ทั้งเลวและประณีต ทั้งที่เข้ากันได้และไม่ได้ ดุจนายแพทย์ผู้ฉลาด ย่อมรู้จักเภสัชอันเป็นที่สบายหรือไม่สบายแห่งคนไข้ทั้งหลาย ฉะนั้น สภาวะของปัญญานั้น โดยอรรถว่า ทำให้ปรากฏคือ ทำเนื้อความนั้นๆ ให้แจ่มแจ้ง หรือรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้นๆ คือ รู้ว่ามีภาวะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ภาวะของปัญญา จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่โลกียปัญญาจนถึงโลกุตตรปัญญา ซึ่งเมื่อจำแนกประเภทของปัญญา โดยสังเขปแล้วได้ ๓ ประการคือ :-

๑. กัมมัสสกตาปัญญา คือปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
๒. วิปัสสนาปัญญา คือปัญญาที่รู้ว่า ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, สัจจะ ๔, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ได้แก่ สภาวะของรูปนาม ที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคงและบังคับบัญชาไม่ได้คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
๓. โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ มีทุกข อริยสัจ เป็นต้น

ปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน หรือกัมมัสสกตาปัญญานั้น คือปัญญาที่มีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงต่ออารมณ์ที่เรียกว่า ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ มี ๑๐ ประการคือ :-

๑. อตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผลดี
๒. อตฺถิ ยิฏฐํ เห็นว่า การบูชาต่างๆ ที่กระทำแล้วย่อมมีผลดี
๓. อตฺถิ หุตํ เห็นว่า การเชื้อเชิญบวงสรวง ย่อมมีผลดี
๔. อตฺถิ สุกตทุกฺกตานํ กมุมานํ ผลํวิปากโก เห็นว่า การทำดี หรือทำชั่วมีการให้ได้ผล ทั้งทางตรง และทางอ้อม
๕. อตฺถิ อยํโลโก เห็นว่า โลกนี้มีอยู่คือ ผู้ที่เกิดมาในโลกนี้มี
๖. อตฺถิ ปโรโลโก เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่คือ ผู้ที่จะไปเกิดในโลกอื่นมี
๗. อตฺถิ มาตา เห็นว่า คุณมารดามีอยู่คือ การทำดีทำชั่วต่อมารดานั้น ย่อมจะต้องได้รับผลดีผลร้าย
๘. อตฺถิ ปิตา เห็นว่า คุณบิดามีอยู่คือ การทำดีทำชั่วต่อบิดา ย่อมจะต้องได้รับผลดีผลร้าย
๙. อตฺถิ สตฺตาโอปปาติกา เห็นว่า สัตว์ที่เกิดขึ้น ปรากฏกายโตทันทีนั้นมีอยู่ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานบางจำพวก เทวดา และพรหม
๑๐. อตฺถิ โลเกสมณพรหฺมณา สมฺมาปฏิปันนา เห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ ประจักษ์แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นได้รู้ตามนั้นมีอยู่

ปัญญาที่รู้ความจริงทั้ง ๑๐ ประการดังกล่าวแล้วนี้ชื่อ กัมมัสสกตาญาณ คือรู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนโดยแท้

กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญาทั้ง ๒ นี้ จัดว่าเป็นโลกียปัญญาคือปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรู้โลกียอารมณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้น ตามความเป็นจริงซึ่งได้แก่ปัญญา ที่ประกอบในกามาวจรโสภณญาณสัมปยุตจิต ๑๒ ดวง และมหัคคตจิต ๒๗ ดวง ส่วนโลกุตตรปัญญานั้น เป็นปัญญาที่ไม่เกี่ยวกับการรู้โลกียอารมณ์ แต่เป็นการรู้นิพพานอารมณ์ อันเป็นอารมณ์พิเศษที่พ้นจากการปรุงแต่งใดๆ ในโลก ได้แก่ ปัญญา ที่ประกอบในโลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง