วันจันทร์

เจตสิกที่ทำให้จิตต่างกัน

คาถาสังคหะ
อนุตฺตเร ฌานธมฺมา   อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม
วิรตี ญาณปีติ จ   ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ

แปลความว่า 
ในโลกุตตรจิต องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกุตตรจิตต่างกัน
ในมหัคคตจิต อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และองค์ฌาน ๕ ย่อมทำให้มหัคคตจิตต่างกัน
ในกามาวจรโสภณจิต ปีติเจตสิก ๑, วิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิตต่างกัน

อธิบาย
ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือ องค์ฌานทั้ง ๕ ย่อมทำความต่างกันแห่งธรรมที่มีอยู่ในทุติยฌานเป็นต้น ให้ต่างจากธรรมที่มีอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น ในบรรดาเจตสิกธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อนุตฺตเร ฌานธมฺมา เป็นอาทิฯ ซึ่งหมายถึงฌานธรรมนั้นด้วยอำนาจ วิตก วิจาร, ปีติ และสุข ในอนุตตรจิต มีความแปลกแตกต่างกันคือ :-

  • วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตรปฐมฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตอื่นๆ
  • วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตรทุติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตที่เหลือ ๓ มีโลกุตตรตติยฌานจิต เป็นต้น
  • ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตรตติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรจตุตถฌานจิตและปัญจมฌานจิต
  • สุข (โสมนัส) เวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตรจตุตถฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรปัญจมฌานจิต
  • อุเบกขาเวทนา ทำให้โลกุตตรปัญจมฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรฌานจิตอื่น
นอกนั้นในมหัคคตจิตนั้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ได้แก่ กรุณาและมุทิตาเจตสิก ทำให้มหัคคตจิต ๑๒ คือ ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน ต่างกันกับ ปัญจมฌานจิต ๑๕ ส่วนองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกียปฐมฌานจิต ต่างกันกับโลกียฌานจิตที่เหลือเป็นต้น เช่นเดียวกับโลกุตตรจิตใน กามาวจรโสภณจิต นั้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิต ต่างกันดังนี้ :-

  • วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมทำให้มหากุศลจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต และมหากิริยาจิต
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้จิตเป็นญาณสัมปยุตจิต ต่างกันกับ ญาณวิปยุตจิต
  • ปีติเจตสิก ๑ ย่อมทำให้โสมนัสสหคตจิต ต่างกันกับ อุเบกขาสหคตจิต
  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำให้มหากุศลจิต และมหากิริยาจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต

🔅อกุศลสังคหนัย

ในคาถาสังคหะที่ ๑๔ ได้แสดงหลักของสังคหนัยโดยย่อไว้ว่า อกุศลจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๗ ดวง (สตฺตวีสตฺยปุญฺญฺมฺหิฯ) ในคาถาสังคหะ ๒๑ นี้ เป็นบทขยายความอกุศลสังคหนัยโดยพิสดาร

คาถาสังคหะ

เอกูนวีสฏฺฐารส   วีเสกวีส วีสติ
พาวีส ปณฺณรสาติ   สตฺตธากุสเล จิตา ฯ

แปลความว่า ในอกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย นัยหนึ่งๆ มีเจตสิกประกอบ ๑๙, ๑๘, ๒๐, ๒๑, ๒๐, ๒๒, และ ๑๕ ตามลำดับแห่งอกุศลจิต

นัยที่ ๑ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๒ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๕ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๗ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๓ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔

นัยที่ ๔ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
- โมจตุกเจตสิก ๔
- โลภเจตสิก ๑
- มานเจตสิก ๑
- ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๕ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๖ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวง คือ
โมหมูลจิตดวงที่ ๑ คือ วิจิกิจฉาสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

โมหมูลจิตดวงที่ ๒ คือ อุทธัจจสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔

🔅สัพพากุศลโยคีเจตสิก
สัพพากุศลโยคีเจตสิก หมายถึงเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด มีจำนวน ๑๔ ดวง ดังคาถาสังคหะต่อไปนี้

คาถาสังคหะ
สาธารณา จ จตฺตาโร   สมานา จ ทสาปเร
จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ   สพฺพากุสลโยคิโน ฯ

แปลความว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก ๔ (โมจตุก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์, ปีติ, ฉันทะ) รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้เรียกว่าสัพพากุศลโยคีเจตสิก (เจตสิก ๑๔ ดวงที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด)

อธิบาย สัพพากุศลโยคีเจตสิก ๑๔ คือเจตสิกที่ประกอบได้ในอกุศลทั้งหมด ได้แก่เจตสิกต่อไปนี้คือ :-

ในบรรดาอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น เมื่อดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวง (สัพพากุศลโยคีเจตสิก) ประกอบรวมด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน

🔅อเหตุกสังคหนัย

คาถาสังคหะ

ทฺวาทเสกาทส ทส   สตฺต จาติ จตุพุพิโธ
อฏฺฐารสาเหตุเกสุ   จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย คือมีเจตสิกประกอบ ๑๒, ๑๑, ๑๐ และ ๗ ตามลำดับ

นัยที่ ๑ 
อธิบาย ในอเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
เจตสิก ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ที่ประกอบในหสิตุปปาทจิต ๑

นัยที่ ๒
ก. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติ, ฉันทะ) ที่ประกอบในมโนทวาราวัชชนจิต ๑
ข. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิริยะ, ฉันทะ) ที่ประกอบในโสมนัสสันตีรณจิต ๑

นัยที่ ๓ 
เจตสิก ๑๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะ, ปีติ, และฉันทะ) ที่ประกอบในมโนธาตุ ๓ คือ :-            - ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
         - สัมปฏิจฉนจิต ๒

นัยที่ ๔
เจตสิก ๗ ดวง ได้แก่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๓ ที่ประกอบในทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐

ข้อสังเกต อเหตุกจิต ๑๔ ดวงนั้น มีอัญญสมานาเจตสิกประเภทเดียวที่เข้าประกอบได้ แต่ประกอบได้อย่างมากที่สุดเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น เจตสิกอีกดวงหนึ่งคือ ฉันทเจตสิก เข้าประกอบกับอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงไม่ได้เลย เพราะฉันทเจตสิกมีลักษณะที่เป็นความพอใจในอารมณ์ หรือมีความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์ ส่วนอเหตุกจิตนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจปัจจัยประชุมพร้อมกัน ไม่ได้อาศัยความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์เหมือนจิตดวงอื่นๆ เช่น โลภมูลจิต หรือมหากุศลจิตเป็นต้น เมื่อมีปัจจัยประชุมกันแล้ว อเหตุกจิตต้องเกิดทันที

เช่น เมื่อมีรูปารมณ์, มีประสาทตาดี, มีแสงสว่าง และมีความตั้งใจที่จะดูมาประชุมกัน จักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นอเหตุกจิตก็เกิดขึ้น ฉะนั้น สภาวะของฉันทเจตสิกจึงไม่จำเป็นต้องเกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย

คาถาสังคหะ

อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ   สตฺต เสสา ยถารหํ
อิติ วิตฺถารโต วุตฺตา   เตตุตึสวิธสงฺคหา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ มีสัพพจิตตสาธารณเจตสิกประกอบได้ทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วนปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ย่อมประกอบได้ตามสมควร และเมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้ว ย่อมนับสังคหะได้ ๓๓ นัย

คาถาสังคหะ
อิตฺถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ   สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ
ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ   จิตฺเตน สมมุทฺทิเสติ ฯ

แปลความว่า เมื่อได้เข้าใจสัมปโยคนัยและสังคหนัยที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ โดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมแสดงถึงจำนวนเจตสิกเท่ากับจิตตามสมควรที่ประกอบได้

อธิบาย คาถานี้ แสดงถึงการนับเจตสิกอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัย และสังคหนัย ซึ่งมีความหมายว่า เจตสิกดวงใดประกอบด้วยจิตได้กี่ดวงก็นับเจตสิกดวงนั้นว่า มีจำนวนเท่ากับจำนวนจิตที่เจตสิกนั้นประกอบได้ คือ
    - สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ๑๒๑ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกมีอยู่ ๗ ดวง จึงนับจำนวนจิตพิสดารของสัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้งสิ้น ๘๔๗
    - ปกิณณกเจตสิก ๖ คือ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง, วิจารได้ ๖๖ ดวง, อธิโมกข์ได้ ๑๑๐ ดวง, วิริยะได้ ๑๐๕ ดวง ปีติได้ ๕๑ ดวงและฉันทะได้ ๑๐๑ ดวง ปกิณณกเจตสิก เมื่อนับจำนวนพิสดารได้ จึงมี ๔๘๘ ดวง
    - อกุศลเจตสิก ๑๔ นับจำนวนโดยพิสดารได้ ๔๓ คือ :-
            โมจตุกเจตสิก ๔๘
            โลติกเจตสิก ๑๖
            โทจตุกเจตสิก ๘
            ถีทุกเจตสิก ๑๐
            วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

    - โสภณเจตสิก ๒๕ นับจำนวนโสภณเจตสิกโดยพิสดารได้ ๒๐๐๘ คือ :-
            โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง แต่ละดวงประกอบโสภณจิตทั้งหมด ๙๑ จึงนับจำนวนโสภณสาธารณเจตสิกได้ ๑๗๒๙
            วิรตีเจตสิก ๓ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๔๔ จึงนับว่าจำนวนวิรตีเจตสิกโดยพิสดารได้ ๑๔๔
            อัปปมัญญาเจตสิก ๒ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๒๘ จึงนับจำนวนอัปปมัญญาเจตสิกโดยพิสดารได้ ๕๖
            ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง ประกอบกับจิตได้ ๗๙ ปัญญาเจตสิกโดยพิสดาร จึงมีจำนวน ๗๙

ฉะนั้น โสภณเจตสิก เมื่อนับโดยพิสดาร จึงมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๐๘ ดวง และเจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง เมื่อนับจำนวนอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัยและสังคหนัย มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๔๒๖ ดวง

สรุปความในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงภาวะของเจตสิกปรมัตถ์ทั้ง ๕๒ ดวง พร้อมทั้งการที่เจตสิกธรรมเหล่านั้นเข้าประกอบกับจิต โดยสัมปโยคนัย และสังคหนัย

สัมปโยคนัย หมายถึงเจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดได้บ้าง ซึ่งได้แสดงสัมปโยคนัยไว้ ๑๖ นัยคือ 
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ มีสัมปโยค ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ มีสัมปโยค ๖ นัย
อกุศลเจตสิก ๑๔ มีสัมปโยค ๕ นัย
โสภณเจตสิก ๒๕ มีสัมปโยค ๔ นัย

รวมเจตสิก ๕๒ มีสัมปโยค ๑๖ นัย

สังคหนัย หมายถึงจิตแต่ละดวง มีเจตสิกใดเข้าประกอบได้บ้าง ซึ่งแสดงสังคหะไว้ ๓๓ นัยคือ
โลกุตรจิต ๔๐ มีสังคหะ ๕ นัย
มหัคคตจิต ๒๗ มีสังคหะ ๕ นัย
กามาวจรโสภณเจตสิก ๒๔  มีสังคหะ ๑๒ นัย
อกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย
อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย

รวมจิต ๑๒๑ มีสังคหะ ๓๓ นัย


🙏 ตทุภยมิสสกนัย

ตทุภยมิสสกนัย หมายถึงแสดงความเป็นไปของเจตสิกตามนัยทั้ง ๒ รวมกัน คือ สัมปโยคและสะงคหะ ดังต่อไปนี้

🔅 อัญญสมานาราสี ๑๓
ผัสสเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นผัสสะ)
เวทนาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเวทนา) 
สัญญาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นสัญญา)
เอกัคคตาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเอกัคคตา)
ชีวิตินทรียเจตสิก  เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นชีวิตินทรีย์)
มนสิการเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นมนสิการ)
วิตกเจตสิก เกิดในจิต ๕๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิตก)
วิจารเจตสิก เกิดในจิต ๖๖ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิจาร)
อธิโมกขเจตสิก เกิดในจิต ๗๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นอธิโมกข์และวิจิกิจฉา)
วิริยเจตสิก เกิดในจิต ๗๓ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิริยะ)
ปีติเจตสิก  เกิดในจิต ๕๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๔๖ (เว้นโทจตุกะ ๔, วิจิกิจฉาและปีติ)
ฉันทเจตสิก  เกิดในจิต ๖๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นฉันทะและวิจิกิจฉา)

🔅 อกุศลราสี ๑๔
โมหเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นโมหะ)
อหิริกเจตสิก 
เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอหิริกะ)
อโนตตัปปเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอโนตตัปปะ)
อุทธัจจเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอุทธัจจะ)
โลภเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโลภะ)
ทิฏฐิเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นทิฏฐิ, มานะ)
มานเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นมานะ, ทิฏฐิ)
โทสเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโทสะ)
อิสสาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นอิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ)
มัจฉริยเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นมัจฉริยะ, อิสสา, กุกกุจจะ)
กุกกุจจเจตสิก  เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นกุกกุจจะ, อิสสา, มัจฉริยะ)
ถีนเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นถีนะ)
มิทธเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นมิทธะ)
วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๔ (เว้นวิจิกิจฉา)

🔅 โสภณราสี ๒๕
สัทธาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสัทธา)
สติเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสติ)
หิริเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นหิริ)
โอตตัปปเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นโอตตัปปะ)
อโลภเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโลภะ)
อโทสเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโทสะ)
ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นตัตตระ)
กายปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปัสสัทธิ)
จิตตปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปัสสัทธิ)
กายลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายลหุตา)
จิตตลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตลหุตา)
กายมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายมุทุตา)
จิตตมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตมุทุตา)
กายกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายกัมมัญญตา)
จิตตกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตกัมมัญญตา)
กายปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปาคุญญตา)
จิตตปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปาคุญญตา)
กายุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายุชุกตา)
จิตตุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตุชุกตา)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา๒)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาวาจา)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมากัมมันตะ)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาอาชีวะ)
กรุณาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
มุทิตาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
ปัญญาเจตสิก เกิดใน จิต ๔๗ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นปัญญา)

 🙏 อวสานคาถา 🙏

อิจฺจานิรุทธรจิเต  อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
ทุติโย ปริจฺเฉโทยํ สมเสเนว นิฏฐิโต ฯ.

ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ จบลงด้วยประการฉะนี้ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น