แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาจิตตีย์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาจิตตีย์ แสดงบทความทั้งหมด

ราชวรรคที่ ๙

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ราชวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อันเตปุรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไปยังราชตระกูลพระมหากษัตริย์อันทรงราชาภิเษกแล้ว เดินตรงย่างก้าวล่วงธรณีพระทวารเข้าไปในตำหนักที่พระบรรทม เวลาเสด็จอยู่กับนางกษัตริย์รัตนมเหสี พระราชเทวียังมิได้ออกที่เฝ้า ณ ภายใน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. รัตนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้เห็นของ ๆ คฤหัสถ์เจ้าของลืมไว้ หรือตกอยู่ที่นอกอารามเขตวัดหรือนอกอาวาสเขตที่พักที่แรม จะเป็นเพชร พลอย ทอง เงิน รูปพรรณต่าง ๆ ที่นับว่ารัตนก็ดี สิ่งที่เป็นที่ยินดีควรเก็บงำสงวนไว้ ตั้งแต่มีดพร้าเป็นต้นไป นับว่ารัตนสมมติก็ดี จึงเก็บเอามาเองหรือให้ผู้อื่นเก็บมารักษาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ตกอยู่ในอาราม ในอาวาส ของที่ตกอยู่ในอารามหรืออาวาสนั้น ภิกษุได้พบเห็นแล้วจึงเก็บเองหรือให้ผู้อื่นเก็บไว้ ด้วยสันนิษฐานเข้าใจว่าจะเป็นของ ๆ ใคร เจ้าของจะมาเอาไป อันนี้เป็นวัตรปฏิบัติสมควรถ้าไม่เก็บเอามารักษาไว้ ต้องอาบัติวัตตเภททุกกฏ

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีกิจที่จะไปบ้านในเวลาตั้งแต่ล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งเช้า เพื่อนภิกษุมีอยู่ มิได้อำลาบอกเล่าให้รู้ก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่เป็นการรีบด่วนที่ควรจะพึงไป

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกระทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำซึ่งกล่องสำหรับใส่เข็มให้แล้ว ไปด้วยกระดูก ๑ งาช้าง ๑ เขาหรือนอ ๑ พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีอันทำลายเสียเป็นวินัยกรรม ถ้ายังมิได้ทำลายเสียก่อน สำแดงอาบัติไม่ตก ถ้าเป็นของผู้อื่นให้ ภิกษุเอามาใส่เข็มเมื่อใด ต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อนั้น ถ้าภิกษุทำให้ผู้อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ

๕. มัญจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้มีเท้าสูงประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต (๑๐ นิ้ว ๓ กระเบียดช่างไม้) แม่แคร่รองเชิงข้างล่างต่างหาก วัดแต่พื้นแม่แคร่ขึ้นไปถึงพื้นเตียงเป็นประมาณ ถ้าสูงกว่า ๕ นิ้วพระสุคตเจ้าขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดรอนให้ต่ำลงมาตามประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๖. ตุโลนัทธสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงให้ทำเตียงหรือสั่งหุ้มพื้นด้วยปกผ้าลาดคลุมไว้เบื้องบน พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เลิกรื้อนุ่นขึ้นเสียให้หมดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๗. นีสีทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้านิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง จึงทำให้พอประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายยาวคืบหนึ่งฉีก ๓ แฉก ติดต่อเข้าตามผืน วัดตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (คือ ยาว ๑ ศอก ๕ นิ้ว ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๓ อนุกระเบียด ชาย ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๒ อนุกระเบียดช่างไม้) ถ้าทำให้กว้างยาวเกินประมาณนี้ พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๘. กัณฑปฏิจฉาทิสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับปิดซับแผลหิด แผลฝี จึงทำให้ต้องด้วยประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบตามคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๒ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๙. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับอาบน้ำฝน จึงทำให้ควรประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ อนุกระเบียดอย่างช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำจีวรยาวกว้างมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินขนาดจีวรพระสุคตขึ้นไป พอเสร็จแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้หย่อนย่อมลงก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ขนาดจีวรพระสุคตนั้นยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๖ ศอก ๑ นิ้ว ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก ๓ กระเบียดช่างไม้) ภิกษุจะทำจีวรห่มพึงให้รู้ประมาณจีวรพระสุคต แล้วทำให้ย่อมลงมา จีวรจึงใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ

จบราชวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สหธัมมิกวรรคที่ ๘

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สหธัมมิกวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท ดังนี้
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเป็นคนสอนยาก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนด้วยพระวินัยสิกขา ตนคิดจะไม่ปฏิบัติก็โต้เถียงต้านทานว่า “ข้าพเจ้ายังไม่ได้ไต่ถามภิกษุอื่น ที่ทรงพระวินัยเป็นผู้รู้เห็นตราบใด ก็จะยังไม่ศึกษาเล่าเรียนในข้อสิกขาบทตราบนั้น” ภิกษุผู้กล่าวโต้เถียงต่อภิกษุทั้งหลายด้วยไม่ปรารถนาสิกขาบท ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุอันรักใคร่ต่อสิกขาบทเมื่อจะศึกษาพระวินัยวัตรพึงให้รู้แจ้งชัด ที่ไม่สันทัดพึงไต่ถาม รู้ความแล้วพึงปรึกษาสอบสวนให้รู้แจ้ง อันนี้แลเป็นวัตรกิจอันควรในพระวินัยสิกขาบท

๒. วิเลขนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไม่เอื้อเฟื้อต่อสิกขาบทเมื่อมีภิกษุแสดงพระปาฏิโมกข์ คือ อ่านเล่าท่องสวดแลคัดข้อสิกขาบทขึ้นเจรจาหวังจะให้รู้ข้อปฏิบัติ พึ่งโต้ตอบติเตียนสิกขาบทว่า “จะต้องการอะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยที่จะยกขึ้นเล่าอ่านเจรจา ไม่เห็นว่าจะเป็นคุณความดีสิ่งใด เพียงแต่จะเป็นโทษที่จะเกิดความรำคาญขุ่นเคืองน้ำใจไม่ให้มีความสุข” ภิกษุติเตียนสิกขาบทด้วยอุบายนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. โมหาโรปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันทำกิจผิดเป็นการละเมิดพระพุทธบัญญัติมาแล้ว เมื่อภิกษุได้แสดงพระปาฏิโมกข์อยู่ทุกระยะกึ่งเดือน แกล้งกลบเกลื่อนโทษตนว่าหลงทำความผิด ทำเป็นมารยากล่าวว่า “เราพึ่งรู้ฟังได้ยินได้ฟังเดี๋ยวนี้ว่า ธรรมอันนี้นับเนื่องมาในพระสูตร นับเข้าในพระวินัย เป็นข้อห้ามมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน” ถ้าว่าภิกษุเหล่าอื่นพึงรู้ว่าเธอองค์นั้น เมื่อแสดงพระปาฏิโมกข์อยู่แต่ก่อนมาก็ได้มานั่งฟังอยู่ถึงสองครั้งสามครั้งมาแล้ว จะว่าให้มากมายไปทำอะไร อันการที่ภิกษุจะพ้นจากอาบัติเพราะไม่รู้นั้นย่อมไม่มี ภิกษุนั้นล่วงสิกขาบทใด ๆ พระวินัยธรพึงปรับอ้างโทษตามบัญญัติในสิกขาบทนั้นๆ แต่โทษที่กล่าววาจาว่าเป็นคนหลง พระสงฆ์จึงยกโทษ🔎โมหาโรปนกรรม(๗๔) เป็นองค์อาบัติยิ่งขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงติเตียนว่า “ดูก่อนอาวุโส ไม่เป็นลาภมากมายของท่านเสียแล้วเสียทีที่ท่านเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา อะไรเล่าเมื่อภิกษุแสดงพระปาฏิโมกข์อยู่ ท่านก็ไม่ได้นำพาจะจดจำใส่ใจไว้บ้างเลย” ให้ภิกษุผู้ฉลาดพึงสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ประกาศโทษในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อจบกรรมวาจาลงภิกษุนั้นยังทำเป็นว่าหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าแกล้งทำเป็นว่าหลง พระสงฆ์ยังไม่ได้ทำโมหาโรปนกรรมก่อน เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๔. ปหารทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งโกรธขัดเคืองต่อภิกษุด้วยกันแล้ว จึงให้ซึ่งประหาร คือตีรันชกต่อย ทุบ ถอง ถีบ เตะ ซัด ขว้าง ตลอดลงมาจนถึงทิ้งกลีบอุบลเป็นที่สุด ให้ถูกต้องกายภิกษุอื่นด้วยความโกรธ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตีผู้อื่นนอกจากภิกษุตลอดลงไปถึงสัตว์เดรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งโกรธขัดเคืองต่อภิกษุด้วยกัน แล้วจึงเงือดเงื้อฝ่ามือ หรือเครื่องประหารที่เนื่องอยู่ในมือ ตลอดจนถึงดอกอุบลเป็นที่สุด ให้ภิกษุที่ตนโกรธนั้นตกใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเลือดเนื้อแก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. อมูลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันเกิดความพิโรธ ริษยา พึ่งตามกำจัด โจทก์หากล่าวโทษภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ไม่มีเหตุเดิมที่เป็นเลศอิงอ้างได้ ด้วยหมายใจจะให้ได้ความอับอาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทก์ด้วยอาบัติอื่น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

๗. สัญจิจจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดหยอกเย้าเพื่อนภิกษุด้วยกัน ให้เกิดความรำคาญไม่สบายใจเล่นสักครู่สักพักหนึ่ง แกล้งตั้งความรังเกียจให้เป็นความร้อนใจ ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือแกล้งว่าเราเห็นว่าท่านยังไม่ครบ ๒๐ ปีถ้วนในการอุปสมบท หรือว่าท่านฉันเพลในเวลาบ่าย ท่านนั่งในที่ลับกับหญิงเป็นต้น อย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แกล้งว่าสามเณรต้องอาบัติทุกกฏ

๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะวิวาทกันอยู่ จึงเข้าไปแอบอ้อมมองคอยฟังความว่า ภิกษุทั้งหลายจะกล่าวทุ่มเถียงด่าทอกันอย่างไร จะให้ได้ยินความนั้นถนัด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าไม่จำเพาะหน้าตรง ๆ ประสงค์จะระงับความวิวาทไม่เป็นอาบัติ

๙. ขียนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ให้ฉันทะยินยอมพร้อมใจแก่ภิกษุทั้งหลายอันทำสังฆกรรมเป็นธรรม ต้องตามพระวินัยบัญญัติแล้วภายหลังกลับติเตียนว่ากรรมนั้นไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ากรรมนั้นไม่เป็นธรรมจริง แม้ติเตียนก็ไม่มีโทษ

๑๐. ปักกมนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันมาประชุมด้วยสงฆ์ในหมู่สงฆ์แล้ว เมื่อมีกิจวินัยบัญญัติอยู่ยังมิทันเสร็จ หรือเวลาสวดญัตติไม่ทันจบ ไม่ได้ให้ฉันทะแก่สงฆ์ลุกขึ้นหลีกหนี้ไปเสียเฉย ๆ ทำให้สังฆกรรมกำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๑. จีวรทานขียนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้มาประชุมด้วยสงฆ์บอกกล่าวพร้อมเพรียงกัน ยกจีวรลาภที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ออกให้แก่ภิกษุที่รับธุระสงฆ์แล้ว ภายหลังกลับติเตียนยกโทษว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมนำจีวรลาภของสงฆ์ไปให้ตามมิตรตามสหาย ภิกษุผู้ติเตียนต้องอาบัติปาจิตจีย์ ถ้าติเตียนในลาภสิ่งอื่นที่ควรแจกนอกจากจีวร เป็นอาบัติทุกกฏ

๑๒. ปุคคลปริณามนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่าลาภที่ทายกตั้งจิตจะอุทิศถวายแด่สงฆ์ ไปชักโยงให้แก่บุคคล คือจำเพาะตัวภิกษุเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบสหธัมมิกวรรค ๑๒ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สัปปาณวรรคที่ ๗

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉานให้ตายลงด้วยตามเจตนา ไม่เลือกว่าสัตว์เล็กใหญ่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์โดยโทษนี้ล่วงพระพุทธบัญญัติ แต่จะมีโทษน้อยมากนั้นเป็นตามโทษที่โลกจะพึงเว้นโดยธรรมดา

๒. สัปปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นหรือรังเกียจว่าน้ำมีตัวสัตว์เป็น ก็มิได้กรองให้บริสุทธิ์ก่อน ฝ่าฝืนบริโภคบ้วนปากล้างหน้า เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าสังฆกรรมมีอธิกรณ์ อันพระสงฆ์ได้ชำระเสร็จแล้วโดยเป็นธรรมและมาเลิกถอนกรรมนั้นเสีย โต้แย้งว่าพระสงฆ์ทำไม่เป็นธรรม เพื่อจะทำใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ทุฏฐลลปฏิจฉาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้อาบัติชั่วหยาบของภิกษุอยู่เต็มใจ คือรู้ว่าภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ช่วยคิดปิดบัง เอื้อนอำอาบัติของภิกษุนั้นไว้ไม่ให้แพร่งพราย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุฏฐุลลาบัติในสิกขาบทนี้ เฉพาะแต่สังฆาทิเสสอย่างเดียว

๕. อนวีสติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่ากุลบุตรมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ทั้งนับในครรภ์และให้อุปสมบท ยกเป็นภิกษุขึ้นด้วย🔎ญัตติจตุตถกรรม(๗๑)วาจา พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา ทั้งคณะสงฆ์ต้องอาบัติทุกกฏทุกรูปด้วยกัน ผู้อุปสมบทนั้นก็หาเป็นภิกษุไม่ เป็นแต่เพียงสามเณรเท่านั้น

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ได้เห็นว่าพวกหมู่โจรที่คอยปล้นตีชิง หรือหมู่พ่อค้าจะบังของต้องห้ามข้ามด่านข้าม🔎ขนอน(๗๒)รู้ว่าเป็นคนร้ายอยู่เต็มใจและได้ชักชวนพวกโจรหรือพ่อค้านั้นเป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. มาตุคามสังวิธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุชักชวนมาตุคามหรือหญิงมนุษย์เป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อริฏฐสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเกิดทิฏฐิผิดคิดเห็น🔎วิปลาส(๗๓) พึงติเตียนพระพุทธศาสนา “ธรรมวินัยเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นธรรม ทำอันตรายแก่ผู้ที่ต้องเสพ โดยที่จริงธรรมวินัยเหล่านั้นไม่ทำอันตรายแก่ใครได้ หาเป็นจริงดังพระองค์ตรัสไว้ไม่” เมื่อเธอมีทิฏฐิผิดกล่าวตู่พระพุทธเจ้าดังนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงทักท้วงว่ากล่าวสั่งสอน จะให้ละความที่ถือผิดนั้นเสีย ยังกล่าวแข็งขึ้นดื้อดึงอยู่อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายพึ่งพาไปยังท่ามกลางสงฆ์ แล้วสวดสมนุภาสน์ประกาศโทษจนจบกรรมวาจาที่ ๓ ลง ถ้าเธอยังไม่ละความถือผิดนั้น
เสียได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อุกจิตตสัมโภคสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นว่าภิกษุอันกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ได้สวดสมนุภาสน์ ประกาศโทษแล้ว ยังหาละทิฏฐิผิดเสียไม่ก็สมโภคคบหาร่วมกินร่วมอาวาสอยู่หลับนอนด้วยกัน ภิกษุผู้คบนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. นาสิตสิกขาบท
ความว่า สมณเทศ คือสามเณรอันจวนจะได้อุปสมบท หากกล่าวติเตียนพระพุทธวจนะ ดังที่ภิกษุกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๘ นั้น ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนแล้ว ก็ยังหาละทิฏฐินั้นเสียไม่ จึงให้ฉิบหายเสียจากเพศสมณะขับไล่ไปเสียแล้ว ภิกษุรูปใด เมื่อรู้แล้วก็ยังชักโขงเล้าโลมสมณเทศนั้นมาไว้ให้ปฏิบัติอยู่กินหลับนอนในสำนักตน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบสัปปาณวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สุราปานวรรคที่ ๖

 ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สุราปานวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สุราปานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ดื่มสุราคือน้ำเหล้าที่กลั่นด้วยข้าวสุกและแป้งเป็นต้น และดื่มกินเมรัย คือน้ำเมาที่ดองด้วยน้ำรสดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น ให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อังคุลิปโตทุกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะเย้าหยอกหัวเราะเล่นงี้แหย่ กระทบกระทั่งเย้าหยอกภิกษุที่รักแร้และสะเอวเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าจี้สามเณรหรือคฤหัสถ์ เป็นอาบัติทุกกฏ

๓. อุทกหัสสธัมมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเล่นน้ำดำผุดดำว่าย เผ่น โลด โดด เล่นเป็นการคะนอง ตั้งแต่น้ำท่วมข้อเท้าเป็นต้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. อนาทริยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เอื้อเฟื้อต่อพระวินัยสิกขาบท ครั้นภิกษุอื่นสอนก็แสดงกายวาจาให้ผู้สอนรู้ว่าไม่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟัง ไม่ปฏิบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งหลอนหลอกภิกษุด้วยรูป รส กลิ่น เสียง และจับต้องให้ตกใจต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าหลอนหลอกสามเณรหรือคฤหัสถ์ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. โชติสมาทหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้ก่อไฟขึ้นผิงเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อขึ้นให้ตนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ติดไฟด้วยกิจอื่น ๆ คือจะต้มน้ำและรมบาตรเป็นต้น ดังนี้ผิงก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าหนาวนักเหลือทนก็นับว่าเป็นไข้ ก่อไฟผิงก็ไม่มีโทษ

๗. นหานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศเขตโสฬสชนบท ยังไม่ถึงกึ่งเดือนอาบน้ำหรือทา🔎จุณ(๖๘) อันละลายน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่สมัย ๖ คือ
        อุณหสมัย ตั้งแต่เดือน ๗ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘ จัดเป็นคราวร้อน ๑
        ปริฬาหสมัย ตั้งแต่แรมเดือน ๘ ไปถึงเพ็ญเดือน ๙ จัดเป็นคราวกระวนกระวาย ๑
        คิลานสมัย คราวเจ็บไข้ ๑
        กัมมสมัย คราวเมื่อทำการงาน ๑
        อัทธานคมนสมัย คราวเมื่อเดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        วาตวุฏฐิสมัย คราวเมื่อต้องลมฝนธุลีต้องกาย ๑
ทั้ง ๖ สมัยนี้อาบน้ำได้ สิกขาบทนี้ห้ามแต่ในมัชฌิมประเทศ พ้นเขตนั้นเช่นสยามประเทศนี้อาบน้ำได้ทุกวัน ไม่เป็นอาบัติ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้จีวรมาใหม่ เมื่อจะนุ่งห่ม จึงทำพินทุกัปปะ คือจุดวงกลมลงที่มุมผ้าด้วยสี ๓ อย่าง คือสีเขียว ๑ สีดำคล้ำ ๑ สีตม ๑ เพื่อจะให้เสียสี เขียนเป็นวงเป็น🔎วินัยกรรม(๖๙) ๕ ว่า “อิมพินทุกปุป กโรมิ” ดังนี้ก่อนจึงนุ่งห่ม จุดวงขนาดใหญ่ให้เท่าวงหน่วยตานกยูง จุดวงขนาดเล็กให้เท่าหลังตัวเรือดก็ได้ ถ้าไม่จุดวงเป็นวินัยกรรมก่อน เอาผ้ามานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อปัจจุทธารกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุวิกัปจีวรไว้แก่ภิกษุหรือนางภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร นางสามเณรี ด้วยตนเองแล้ว เมื่อจะคืนเอามาเป็นของตนนั้น มิให้ผู้รับวิกัปทำวินัยกรรมถอนคืนให้ก่อน เอาผ้านั้นมานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าคิดว่ายืมเอามานุ่งห่มก่อนตามความคุ้นเคยกัน ไม่เป็นอาบัติ

๑๐. อปนีธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะหยอกเย้าเพื่อนกัน หัวเราะเล่น แกล้งซ่อนบาตรหรือจีวร ผ้ารองนั่ง กล่องเข็ม 🔎สายกายพันธน์(๗๐) ของภิกษุเพื่อนกันไว้ก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นซ่อนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าซ่อนของสิ่งอื่นนอกจากบริขาร ๕ สิ่งนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ

จบสุราปานวรรค ๑๐ สิกขาบท ดังนี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

อเจลกวรรคที่ ๕

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

อเจลกวรรคที่ ๕ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อเจลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุหยิบยกของบริโภคอื่นส่งให้แก่ชีเปลือยหรือปริพาชกชายหญิง อันบวชมิได้มีลัทธิเฉพาะพระพุทธศาสนาด้วยมือตนเอง แม้ถึงบิดามารดาของตนอันบวชในลัทธิเช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อุยโยชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ชักชวนภิกษุด้วยกันเป็นเพื่อนพากันเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมใด ๆ ได้ให้ทายกให้บิณฑบาตหรือไม่ได้ให้แก่ภิกษุนั้นก็มิได้ว่า แต่ภิกษุผู้ชักโยงนั้นปรารถนาจะใครลอบล่วงสิกขาบท กลัวจะเป็นสิ่งกีดขวาง จึงขับส่งเสียว่า “ท่านจงไปให้พ้นเราเถิด เราเจรจากับท่านหรือนั่งกับท่านไม่เป็นความสบาย เราชอบจะอยู่แต่ผู้เดียวจึงจะสบาย” ภิกษุที่ถูกขับพอไปลับฝาหรือล่วงอุปจาร ๑๒ ศอก ภิกษุขับต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าขับส่งให้คืนกลับด้วยธุระอื่น ๆ มิได้เป็นอาบัติ

๓. สโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเข้าไปในตระกูลเดินตรงจู่โจมเข้าไปนั่งในเรือนเป็นที่นอน มีชนสองผัวเมียเขาเชยชมกันอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปฐมรโหนิสสัชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งกับมาตุคาม คือหญิงมนุษย์ตั้งแต่เด็กแรกคลอดขึ้นไป ในที่ลับตา ฝากั้น ม่านกั้น ประตูบัง ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แม้ว่าหญิงสักร้อยสักพันคนก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ถึงร้อยถึงพันคนเท่าตัวหญิงนั้น

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งอยู่กับหญิงมนุษย์อันรู้ความสองต่อสองในที่แจ้ง ไม่มีเครื่องกั้นบังกลางวัด กลางนอกชานบ้านไม่มีใคร ๆ แลเห็นเป็นเพื่อน ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. จาริตตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ของทายกไว้แล้ว ไม่บอกกล่าวอำลาภิกษุอันมีอยู่ที่ควรจะอำลาได้ ฉันแล้วก็ดี ยังไม่ฉันก็ดี ในเวลาเช้าชั่วเที่ยง ถ้าไปสู่ตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่นิมนต์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัยทั้ง ๒ คือคราวเมื่ออยู่จำพรรษาแล้ว คุ้มได้ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ ชื่อว่าจีวรทานสมัย ๑ คือคราวเมื่อกรานกฐินอนุโมทนาแล้ว คุ้มได้ถึงเพ็ญเดือน ๔ ชื่อว่าจีวรกาลสมัย ๑ ถ้าไม่ได้เข้าปุริมพรรษา หรือขาดพรรษาไซร้ ไม่มีคราวที่จะคุ้มอาบัติได้เลย

๗. มหานามสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้จะขอยาและเครื่องยาในที่ปวารณาไว้แก่สงฆ์ได้แต่ภายใน ๔ เดือน ถ้าพ้น ๔ เดือนไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์เว้นแต่ทายกปวารณาใหม่ขอได้อีก ๔ เดือน ถ้าปวารณาจะถวายเป็นนิจ ก็ขอได้เป็นนิจไป ไม่ต้องห้าม

๘. อุยยุตตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมุ่งจิตคิดจักใครไปดูขบวนเสนายกทัพไปสู่สงครามไปถึงยุทธภูมิ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ไปด้วยการอื่น ไปประจวบเฉพาะเข้าเอง ไม่มีโทษ

๙. เสนาวาสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีเหตุที่จะไปด้วยหมู่เสนา ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เสนาได้เพียงสองสามราตรี ถ้าอยู่เกินขึ้นไปถึงเวลาค่ำคืนที่ ๔ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ความว่า เมื่อภิกษุอาศัยอยู่ในหมู่เสนาที่ตั้งชุมนุมอยู่ภายในสองสามราตรีนั้นถ้าไปดูเขารบกัน หรือไปดูเขาตรวจพล หรือไปดูขบวนพยุหทัพ ขบวนจตุรงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบอเจลกวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

โภชนวรรคที่ ๔

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

โภชนวรรคที่ ๔ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของกินทายก
ตั้งไว้ในโรงทาน อุทิศทั่วไปแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์มิได้เลือกหน้า ภิกษุไม่เป็นไข้ยังจะเดินทางไปถึงกึ่งโยชน์ได้ พึงฉันได้แต่เพียงวันเดียว ถ้าไปฉันเรียงวันเป็นสองวันต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. คณโภชนสิกขาบท
ความว่า ทายกไปนิมนต์
ภิกษุในอาวาสเดียวกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ออกชื่อโภชนะว่า นิมนต์ไปกินข้าว กินเนื้อ กินปลา หรือนิมนต์ด้วยภาษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นโวหารคฤหัสถ์ ภิกษุไปรับโภชนะนั้นมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๗ ประการคือ
        เป็นไข้ ๑
        อยู่จำพรรษาแล้ว ตั้งแต่ออกพรรษาจน
ถึงเพ็ญเดือนสิบสอง ๑
        กรานกฐินแล้วไปถึงเพ็ญเดือน
สี่ ๑
        เดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        ไปทางเรือ ๑
        เป็นคราวประชุมใหญ่ ๑
        เป็นคราวสมณะต่างพวกต่าง
หมู่มานิมนต์ ๑
ถ้าได้ ๗ สมัยนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด
ฉันได้ ไม่มีโทษ

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับนิมนต์
ฉันเช้าของทายกไว้แล้ว รุ่งเช้าฉันโภชนะอื่น ๆ เสียก่อนแล้วจึงไปฉันที่นิมนต์นั้นต่อภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๓ ประการ คือ
        เป็นไข้ ๑
        จำพรรษาแล้ว
คุ้มได้หนึ่งเดือน ๑
        กรานกฐินแล้วคุ้มได้สี่เดือน ๑

๔. กาณมาตาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุไปเที่ยว
บิณฑบาต มีตระกูลทายกชายหญิงนำเอาขนมหรือข้าวสัตตุของกินต่าง ๆ อันทำไว้เพื่อเป็นเสบียงหรือเป็นของฝากมาปวารณาถวายให้พอตามประสงค์ ภิกษุพึงรับได้เพียงเต็ม ๓ บาตร พอเสมอขอบบาตร อย่าให้พูนล้นขอบปากบาตรขึ้นไป ถ้ารับเกิน ๓ บาตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ารับถึง ๓ บาตร นำมาแล้วจึงเอาไว้เป็นของตนแต่บาตรเดียว เหลือนั้นแจกเฉลี่ยไปให้ทั่วแก่ภิกษุ ถ้าไม่แบ่งปัน ต้องวัตตเภททุกกฏ

๕. ปวาริตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดค้างอยู่ มีทายกนำเอาสิ่งของมาเพิ่มเติม ถ้าห้ามว่าพอแล้วดังนี้ ก็เป็นอันชื่อว่าห้ามภัตรแล้ว เมื่อลุกขึ้นพ้นจากที่นั่งฉันไปแล้ว ฉันไม่ได้อีกในวันนี้ ถ้าฉันโภชนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าภิกษุ
อื่นฉันโภชนะแล้ว ห้ามภัตรแล้ว คิดจะติเตียนยกโทษโจทก์ด้วยอาบัติ แกล้งเอาขนมของกินหรือข้าวสุกมาปวารณาแค่นขึ้นให้ฉันอีก ภิกษุนั้นฉันอีกเมื่อไร ภิกษุผู้แค่นขึ้นให้ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
และขนมของฉันต่าง ๆ ในวิกาล คือเวลาล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งอรุณ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้เป็น🔎อจิตตกะ(๖๗) ถ้าล่วงเวลาถึงไม่แกล้งฉันก็ไม่พ้นโทษ เมล็ดข้าวสุก ชิ้นเนื้อ ชิ้นปลาติดฟันถึงเวลาบ่าย รสข้าวสุกของกินนั้นจะระคนด้วยเขฬะกลืนล่วงลำคอลงไป คงเป็นวิกาลโภชนะ ฉันแล้วจึงให้ชำระบ้วนปากแยงฟันเสีย อย่าให้มีอามิสติดค้างอยู่ได้จนกว่าเวลาบ่าย จึงจะควร

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับโภชนะ
ขนมของฉันต่าง ๆ เก็บงำไว้ฉันวันหน้าต่อไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของฉัน
อันประณีต คือเนยใส เนยข้น น้ำมันลูกไม้และน้ำมันเปลวสัตว์ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ น้ำนมสด และน้ำนมส้ม ๙ สิ่งนี้ภิกษุมิได้เจ็บไข้ไปเที่ยวขอมาได้แต่มิใช่
ญาติ มิใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ขอของฉันนอกจาก ๙ สิ่งนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๐. ทันตโปณสิกขาบท
ความว่า ของฉันสิ้น
ทุกสิ่ง ยกเสียแต่น้ำที่กรองแล้ว ไม่เจือด้วยอามิสและไม้สีฟันเท่านั้น ของทั้งปวงถ้าคฤหัสถ์หรือสามเณรมิได้ประเคนให้ เมื่อกลืนล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ายังมิได้ประเคน ภิกษุจับต้องเสียแล้ว ถึงประเคนใหม่ก็ไม่ขึ้น คงเป็นอาบัติ ถ้าจะรับประเคนก็พึงรับประเคนในหัตถบาส คือผู้ประเคนจดศอกหรือเข่ามาถวายภายในศอกคืบ จึงเป็นอันรับประเคน ถ้าห่างออกจากศอกคืบออกไป ภิกษุรับจับต้องแล้วเอามาประเคนใหม่ ก็เป็นอุคคหิตคือประเคนไม่ขึ้น ฉัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (น้ำกรองแล้ว ถ้าไม่มีฝาปิด ผงลงได้ ก็ต้องประเคนใหม่ เพราะผงก็เป็นอามิส แต่ต้องเป็นน้ำที่ภิกษุกรองเอง ของเคี้ยวของฉันที่ไม่มีฝาปิด ผงลงได้ รับประเคนไว้แล้วลุกห่างไปศอกคืบ ต้องประเคนใหม่ ถ้ามีภิกษุนั่งอยู่ในหัตถบาสคุ้มได้)

หมายเหตุ : ข้อความในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

จบโภชนวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗