วันอังคาร

ปกิณกะ ๓

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ


ปกิณกะมี ๓ สิกขาบท 
ในปกิณกะ ๓ สิกขาบทนี้ ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาสำเหนียกหมายไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย รดลงในภูตคามอันเขียวสด คือ กอไม้ หย่อมหญ้า เครือลัดดา เสวาลชาติ อันงอกงามบนบกและในน้ำ

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย ลงไปในน้ำที่ควรจะดื่มกินได้

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายจำไว้ ในปกิณกะสิกขาบทนี้

จบเสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น