วันพฤหัสบดี

อนิยต ๒

อนิยต ๒

๑. อลังกัมมนียสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรูปเดียวนั่งอยู่ด้วย🔎มาตุคาม(๔๑) คนเดียวในที่ลับตา มีฝากั้นม่านกั้นเป็นที่ควรจะเสพเมถุนได้ ถ้ามีอุบาสกอุบาสิกามีถ้อยคำควรเชื่อได้ ได้เห็นอาการของภิกษุแลมาตุคามนั้น แลพึงโจทก์ด้วยอาบัติปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์แต่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนเห็น ภิกษุก็รับสมอ้างตามคำโจทก์ จึงให้พระวินัยธร ปรับโทษ ตามปฏิญาณของภิกษุนั้นเป็นประมาณ

๒. นาลังกัมมนียสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งกับมาตุคามอย่างนั้น ก็แต่ที่ ๆ นั่งนั้นไม่มีที่บังที่มุง ไม่ควรจะเสพเมถุนได้ ควรแต่จะเจรจาคำหยาบ เปรียบปรายเกี้ยวพานกันได้เท่านั้น ถ้ามีอุบาสกอุบาสิกามีถ้อยคำควรจะเชื่อได้ ได้เห็น ได้ยิน แล้วมาโจทก์ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุก็รับสมตามคำโจทก์ จึงให้พระวินัยธรปรับโทษตามคำปฏิญาณของพระภิกษุนั้นเป็นประมาณ

สิกขาบททั้งสองนี้ มีอาบัติธรรมไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นแบบแผนที่🔎พระวินัยธร(๔๒)จะตัดสินโทษของภิกษุผู้อาบัติอธิกรณ์นั้น ๆ

จบอนิยต ๒ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น