วันอังคาร

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โอวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์ไม่สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณี พึงละเมิดบังคับสั่งสอนนางภิกษุณีด้วย
🔎ครุธรรม(๖๕) ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสอนด้วยธรรมสิ่งอื่นจากครุธรรม เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๒. สมมติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณีแล้ว ถ้าสอนนางภิกษุณีเวลาพระอาทิตย์อัสดงพลบค่ำไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุปัสสยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
แล้ว แลไปสอนนางภิกษุณีถึงอาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเป็นไข้ จึงไปสอนถึงอารามได้

๔. อามิสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันริษยา
เสแสร้งแกล้งนินทากล่าวร้ายว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่🔎
อามิส(๖๖) ลาภสักการะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสำคัญในใจว่าจริงไม่แกล้งติเตียน หรือภิกษุผู้สอนเห็นแก่ลาภจริง ถึงจะติเตียนก็ไม่มีโทษ

๕. จีวรทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุให้จีวรของ
ตนแก่นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน ไม่มีโทษ

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งเย็บเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีอันมิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. อัทธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนางภิกษุณี
ชักชวนกันเดินไปทางเดียวกันในระหว่างบ้านหนึ่ง ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะล่วงระยะบ้านนั้น ๆ เว้นไว้แต่ไปทางไกลเป็นทางประกอบโจรภัย จึงไม่มีโทษที่จะต้องห้าม

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนาง
ภิกษุณีชักชวนกันไปเรือลำเดียวกัน ขึ้นล่องตามลำแม่น้ำลำคลอง ทางใต้น้ำ เหนือน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากไม่มีโทษ

๙. ปริปาจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่า
บิณฑบาตของฉัน อันนางภิกษุณีเที่ยวขอร้อง ชักนำคฤหัสถ์ไปนิมนต์ให้สำเร็จด้วยกำลังตน แลฉันบิณฑบาตนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เริ่มขึ้นก่อนถ้าสิ่งของที่ภิกษุหรือสามเณรร้องบอก เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับภิกษุณี 
ตัวต่อตัวเป็นสองด้วยกัน นั่งในที่ลับตามีฝาแลม่านกั้นเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภิกขุโนวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น