วันอังคาร

สุราปานวรรคที่ ๖

 ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สุราปานวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สุราปานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ดื่มสุราคือน้ำเหล้าที่กลั่นด้วยข้าวสุกและแป้งเป็นต้น และดื่มกินเมรัย คือน้ำเมาที่ดองด้วยน้ำรสดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น ให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อังคุลิปโตทุกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะเย้าหยอกหัวเราะเล่นงี้แหย่ กระทบกระทั่งเย้าหยอกภิกษุที่รักแร้และสะเอวเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าจี้สามเณรหรือคฤหัสถ์ เป็นอาบัติทุกกฏ

๓. อุทกหัสสธัมมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเล่นน้ำดำผุดดำว่าย เผ่น โลด โดด เล่นเป็นการคะนอง ตั้งแต่น้ำท่วมข้อเท้าเป็นต้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. อนาทริยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เอื้อเฟื้อต่อพระวินัยสิกขาบท ครั้นภิกษุอื่นสอนก็แสดงกายวาจาให้ผู้สอนรู้ว่าไม่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟัง ไม่ปฏิบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งหลอนหลอกภิกษุด้วยรูป รส กลิ่น เสียง และจับต้องให้ตกใจต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าหลอนหลอกสามเณรหรือคฤหัสถ์ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. โชติสมาทหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้ก่อไฟขึ้นผิงเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อขึ้นให้ตนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ติดไฟด้วยกิจอื่น ๆ คือจะต้มน้ำและรมบาตรเป็นต้น ดังนี้ผิงก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าหนาวนักเหลือทนก็นับว่าเป็นไข้ ก่อไฟผิงก็ไม่มีโทษ

๗. นหานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศเขตโสฬสชนบท ยังไม่ถึงกึ่งเดือนอาบน้ำหรือทา🔎จุณ(๖๘) อันละลายน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่สมัย ๖ คือ
        อุณหสมัย ตั้งแต่เดือน ๗ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘ จัดเป็นคราวร้อน ๑
        ปริฬาหสมัย ตั้งแต่แรมเดือน ๘ ไปถึงเพ็ญเดือน ๙ จัดเป็นคราวกระวนกระวาย ๑
        คิลานสมัย คราวเจ็บไข้ ๑
        กัมมสมัย คราวเมื่อทำการงาน ๑
        อัทธานคมนสมัย คราวเมื่อเดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        วาตวุฏฐิสมัย คราวเมื่อต้องลมฝนธุลีต้องกาย ๑
ทั้ง ๖ สมัยนี้อาบน้ำได้ สิกขาบทนี้ห้ามแต่ในมัชฌิมประเทศ พ้นเขตนั้นเช่นสยามประเทศนี้อาบน้ำได้ทุกวัน ไม่เป็นอาบัติ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้จีวรมาใหม่ เมื่อจะนุ่งห่ม จึงทำพินทุกัปปะ คือจุดวงกลมลงที่มุมผ้าด้วยสี ๓ อย่าง คือสีเขียว ๑ สีดำคล้ำ ๑ สีตม ๑ เพื่อจะให้เสียสี เขียนเป็นวงเป็น🔎วินัยกรรม(๖๙) ๕ ว่า “อิมพินทุกปุป กโรมิ” ดังนี้ก่อนจึงนุ่งห่ม จุดวงขนาดใหญ่ให้เท่าวงหน่วยตานกยูง จุดวงขนาดเล็กให้เท่าหลังตัวเรือดก็ได้ ถ้าไม่จุดวงเป็นวินัยกรรมก่อน เอาผ้ามานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อปัจจุทธารกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุวิกัปจีวรไว้แก่ภิกษุหรือนางภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร นางสามเณรี ด้วยตนเองแล้ว เมื่อจะคืนเอามาเป็นของตนนั้น มิให้ผู้รับวิกัปทำวินัยกรรมถอนคืนให้ก่อน เอาผ้านั้นมานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าคิดว่ายืมเอามานุ่งห่มก่อนตามความคุ้นเคยกัน ไม่เป็นอาบัติ

๑๐. อปนีธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะหยอกเย้าเพื่อนกัน หัวเราะเล่น แกล้งซ่อนบาตรหรือจีวร ผ้ารองนั่ง กล่องเข็ม 🔎สายกายพันธน์(๗๐) ของภิกษุเพื่อนกันไว้ก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นซ่อนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าซ่อนของสิ่งอื่นนอกจากบริขาร ๕ สิ่งนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ

จบสุราปานวรรค ๑๐ สิกขาบท ดังนี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น