แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระสูตร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระสูตร แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์

พระพุทธดำรัส (๑๗)

🙏 พระพุทธดำรัส 🙏

🔅 อาสวะไม่สิ้นไปเป็นรายวัน
ปัญหา ในขณะบำเพ็ญเพียร ผู้บำเพ็ญจะมีทางรู้ได้หรือไม่ว่าในแต่ละวัน อาสวะสิ้นไปวันละเท่าใด?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือย่อมปรากฏที่ด้ามมีดของนายช่างไม้ หรือลูกมือของนายช่างไม้แต่นายช่างไม้ หารู้ไม่ว่า วันนี้ด้ามมีดของเขาสึกหรอไปประมาณเท่านี้ วานนี้สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณเท่านี้ นายช่างไม้... มีความรู้แต่ว่ามันสึกไปแล้ว ๆ แม้ฉันใด “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบความเพียรในภาวนาอยู่ หารู้ไม่ว่า วันนี้อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ วานนี้สิ้นไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้ ถึงอย่างนั้นเมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็มีความรู้แต่ว่าสิ้นไปแล้ว ๆ ฉันนั้นเหมือนกันแล”

นาวาสูตร


🔅 

ควรเจริญอนิจจสัญญา
ปัญหา การเจริญอนิจสัญญา (ความหมายรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง) ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างไร? มีอุปมาด้วยอะไรบ้าง?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง.... รูปราคะทั้งปวง...ภวราคะทั้งปวง.... อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ เปรียบเหมือนในถูดูใบไม้ร่วง ชาวนาไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก....เหมือนคนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวแล้วจับปลายเขย่า ฟาดสลัดออก เหมือนเมื่อพวงมะม่วงหลุดจากขั้ว มะม่วงทั้งหมดที่ติดอยู่กับขั้ว ย่อมหยุดไปตามขั้วนั้น เหมือนไม้กลอนแห่งเรือนยอดทุกอันชี้ไปสู่ยอด ทอดไปสู่ยอดประชุมลงที่ยอด เหมือนไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากใด ๆ เหมือนไม้จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นมีกลิ่นที่แก่นใคร ๆ เหมือนมะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกใด ๆ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนแสงพระจันทร์ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนในฤดูใบไม้ร่วงท้องฝ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้าย่อมส่องแสงและเปล่งแสงไพโรจน์กำจัดความมืดในอากาศทั่วไป....”

สัญญาสูตร


🔅 อวิชชาคือไม่รู้อะไร
ปัญหา อวิชชา ความไม่รู้นั้น หมายถึงไม่รู้อะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งหนทางให้ถึงความดับรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนี้เรียกว่าอวิชชา”

อวิชชาสูตร


🔅 พระธรรมกถึกแท้
ปัญหา พระภิกษุที่เรียกว่าพระธรรมกถึก (ผู้สอนธรรม) นั้นคืออย่างไร ? ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม? ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าผู้ถึงนิพพานในปัจจุบัน ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ควรจะเรียกว่าพระธรรมกถึก

“หากภิกษุ ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ควรจะเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

“หากภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไซร้ ควรจะเรียกว่า ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธรรมกถึกสูตร


🔅 คนแก่ตายในเรือนจำ
ปัญหา คนเช่นไรชื่อว่าแก่และตายในที่จองจำ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นตน เห็นตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณในตนหรือเห็นตนในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้แล้ว เป็นผู้ถูกจองจำคือ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณผูกมัดไว้ ถูกเครื่องผูกมัดทั้งภายในภายนอกจองจำไว้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้ง ๆ ถูกจองจำ ย่อมตายทั้งๆ ถูกจองจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ทั้งๆ ถูกจองจำ”

พันธนสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ เป็นฐานสังโยชน์-อุปาทาน

ปัญหา สังโยชน์และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คืออะไร อุปาทานและธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าสังโยชน์.....

“รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรม เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้นชื่อว่าอุปาทาน”

สังโยชน์สูตร, อุปาทานสูตร 




🔅 เลื่อนฐานะด้วยการพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญหา ภิกษุผู้มีศีลก็ดี พระโสดาบันก็ดี พระสกทาคามีก็ดี พระอนาคามีก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ควรพิจารณาธรรมอะไรอย่างรอบคอบและพิจารณาอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ภิกษุผู้เป็นอนาคามี และแม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕ โดยรอบคอบ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน...

“ภิกษุผู้มีศีล (เมื่อทำได้ดังนี้) พึงกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ภิกษุผู้เป็นอนาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหันตตผล ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ และธรรมเหล่านี้ ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัปชัญญะ”

สีลสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ คือมาร
ปัญหา ขันธ์ ๕ คือมาร อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนราธะ เมื่อ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่ จึงมีมาร มีผู้ฆ่าให้ตาย มีผู้ตาย เพราะเหตุนั้น เธอจงพิจารณาให้เห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นมาร เป็นผู้ฆ่าให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ....”

มารสูตร


🔅 พระพุทธเจ้ากับปัญหาทางอภิปรัชญา
ปัญหา ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงนิยมตอบโต้กับใครในปัญหาทางอภิปรัชญา อันลึกซึ้งที่ไม่มีประโยชน์ทางปฏิบัติโดยตรงเป็นความจริงหรือไม่ ?

พระราธะทูลถาม “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?”
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย
พระราธะ “ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลาย กำหนัด”
พระราธะ “ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น”
พระราธะ “ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ เธอถามปัญหาเลยขอบเขตไปเสียแล้ว เธอไม่สามารถจะเอาที่สุดของปัญหาได้ ดูก่อนราธะ พรหมจรรย์เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่นิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่สุด...”

มารสูตร


🔅 ทำไมจึงเรียกว่า "สัตว์"
ปัญหา คำว่า “สัตว์” ในทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร? เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า “สัตว์”?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นผู้ข้องอยู่ในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นผู้ติดพันอยู่ในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า "สัตว์"

“ดูก่อนราธะ เปรียบเหมือนพวกเด็กชายเด็กหญิงที่เล่นอยู่กับเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบใดที่พวกเขายังไม่สิ้นความยินดี ยังไม่สิ้นความพอใจ ยังไม่สิ้นความรัก ยังไม่สิ้นความกระหาย ยังไม่สิ้นความดิ้นรน ยังไม่สิ้นความทะยานอยากในเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบนั้นพวกเขาย่อมอาลัย ย่อมมัวเล่นย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนน้อยทำด้วยดิน แต่ว่าเมื่อใดพวกเด็กชายเด็กหญิงเหล่านั้นสิ้นความยินดี สิ้นความพอใจ ในเรือนน้อยทำด้วยดินเหล่านั้นเมื่อนั้นแลพวกเขาย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด เรือนน้อยทำด้วยเหล่านั้นด้วยมือและเท้า

“ดูก่อนราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำให้เป็นของเล่นไม่ได้ ซึ่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้นเหมือนกันแล...”

สัตตสูตร


🔅 เหตุเกิดความเห็นว่าทุกสิ่งนิ่งอยู่กับที่
ปัญหา ในสมัยพุทธกาล สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างตั้งอยู่มั่นคงตรงแน่ว ดุจเสาระเนียด ไม่มีอะไรเคลื่อนไหว ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก ความเห็นเช่นนั้นเกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยอะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่ เพราะถือมั่นยึดมั่นในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ จึงเกิดความเห็นขึ้นมาว่าลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล เป็นของตั้งมั่นคงดุจเสาระเนียด “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ และแม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้วทราบแล้ว รู้แจ้งแล้วถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือทุกข์เล่า”
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งนั้น ความเห็นอย่างนี้ว่า ลมย่อมพัด เป็นของตั้งมั่นคงดุจเสาระเนียดจะพึงเกิดขึ้นได้หรือ ?
“ไม่พึงเกิดความเห็นเช่นนั้นได้เลย พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดและพระอริยสาวก ละความสงสัยในฐานะทั้ง๖ เหล่านี้ได้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และแม้ในทางปฏิบัติก็เพื่อความดับทุกข์ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเราเรียกว่า พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน....”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของอชิตะ เกสกัมพล
ปัญหา ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล มีแนวคำสอนว่าอย่างไร? และแนวคำสอนเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “อชิตะ เกสกัมพล มีความเห็นว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้น (โอปปาติกะ) ไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งชัดโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเราเป็นแต่เพียงที่ประชุมของมหาภูตรูป ๔ เมื่อใดทำกาลกิริยา(ตาย) เมื่อนั้นธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งที่วางศพ หามเอาคนตายไป เสียงบทสวดสรรเสริญเขามีไปจนถึงป่าช้า กระดูกทั้งหลายกลายเป็นสีเทาดุจสีนกพิราบ เครื่องเซ่นสังเวยทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยเถ้า ท่านนี้เคนเขลาบัญญัติไว้ คนเหล่าใดประกาศลัทธิอัตติกวาท คำของคนเหล่านั้นเป็นคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ เป็นคำบ่นเพ้อเมื่อร่างกายแตกสลายทั้งพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากความตายไม่มีอะไรเลย...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของปุราณกัสสปะ
ปัญหา ท่านศาสดาปุราณกัสสปะมีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ปุราณกัสสปะ มีความเห็นว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่นดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่อง ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้กับภรรยาของเขา พูดเท็จ ผู้ทำเชื่อว่าไม่ได้ทำบาป แม้หากผู้ใดจะให้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองเนื้อเดียวกัน บาปเพราะการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคาให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ ให้บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชาบุญเพราะการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ไม่มีแก่เขา....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของมักขลิ โคสาล
ปัญหา ท่านศาสดามักขลิ โคสาล มีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “มักขลิ โคสาล มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหมาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไมมีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติ ทั้ง ๖ เท่านั้น....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของปกุทธะ กัจจายนะ
ปัญหา ท่านศาสดาปกุทธะ กัจจายนะ มีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ปกุทธะ กัจจายนะ มีความเห็นว่า มีความเห็นว่า สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีใครทำ ไม่มีใครเป็นเหตุให้ทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครเป็นเหตุให้เนรมิต เป็นภพไม่มีผล ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอด ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันและกัน

“สภาวะ ๗ กองนั้น คืออะไร? คือ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ.... แม้ผู้ใดจะเอาศาสตราอันคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องระหว่างสภาพวะ ๗ กองเท่านั้น

“อนึ่ง มีกำเนิดที่เป็นใหญ่ ๑,๔๐๖,๖๐๐ มีกรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓กรรม ๑ และกรรมกึ่ง มีทางดำเนิน ๖๒ มีอันตรกัลป์ ๖๒ มีอภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ มีอาชีวะ ๔,๙๐๐ ปริพพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาต ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ ๗ นิคัณฐครรภ์ ๗ สภาวทิพย์ ๗ มนุษย์ ๗ ปิศาจ ๗ สวะ ๗ ปมใหญ่ ๗ ปมเล็ก ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวเล็ก ๗ ฝันใหญ่ ๗ ฝันเล็ก ๗๐๐ มีมหากัลป์ ๘,๔๐๐,๐๐๐

“ทั้งคนพาลและบัณฑิตท่องเที่ยวเร่ร่อนไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ ในการท่องเที่ยวนั้น จะหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยังไม่สุกงอมให้สุกงอมด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์ หรือว่าเราจักผลักดันกรรมที่สุกงอมแล้วกระทำให้หมดสิ้นไปเสียดังนี้ไม่ได้เลย ในการท่องเที่ยวไปนั้น ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ที่อาจทำให้สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ไม่มีความเสมอและความเจริญ ไม่มีการเพิ่มขึ้นและลดลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไปเสวยสุขและทุกข์เองเหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่ออกไปเอง...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑


🔅 พระโสดาบัน ๒ ประเภท
ปัญหา พระโสดาบัน ประเภทสัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี มีคุณสมบัติอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ..จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...เวทนาเกิด แต่จักขุสัมผัส... แต่โสตสัมผัส... แต่ฆานสัมผัส... แต่ชิวหาสัมผัส... แต่กายสัมผัส... แต่มโนสัมผัส...รูปสัญญา... สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพะสัญญา... ธัมมสัญญา...รูปเจตนา.... สัททเจตนา... คันธเจตนา... รสเจตนา... โผฏฐัพพะเจตนา... ธัมมเจตนา...รูปตัณหา.... สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพะตัณหา... ธัมมตัณหา...ปฐวีธาตุ... อาโปธาตุ... เตโชธาตุ... วาโยธาตุ... อากาศธาตุ... วิญญาณธาตุ...รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้ อย่างนี้เราเรียกบุคคลผู้นี้ว่า สัทธานุสารี (ผู้ดำเนินไปในศรัทธา) ก้าวลงสู่สัมมัตนิยาม (แนวทางอันมั่นคงแห่งความเป็นมนุษย์สมบูรณ์) ก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัปบุรุษล่วงภูมิแห่งปุถุชน ไม่มีทางจะทำกรรมที่จะนำไปสู่นรก กำเนิดเดียรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต จักไม่ทำกาละ (ตาย) ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีใดธรรมเหล่านี้ที่ทนทานต่อการพิจารณาด้วยปัญญาได้ตามสมควร เราเรียกบุคคลนี้ว่า ธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินไปในธรรม) ผู้ได้รู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า....”

โอกกันตสังยุต



🔅 พระอรหันต์กับการเข้าฌาน
ปัญหา ในการปฏิบัติสมาธิจนถึงขั้นฌาน พระอรหันต์ท่านเข้าฌาน อยู่ในฌาน และออกจากฌานหรือไม่? เพราะเหตุใด?

พระสารีบุตรตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว เนื่องจากว่าพระสารีบุตรมีอายุถอนอหังการ มมังการ มานะได้นานแล้ว”

สารีปุตตสังยุต



🔅 การเลี้ยงชีพของสมณะ
ปัญหา การเลี้ยงชีพอย่างไม่ถูกต้อง และถูกต้องของสมณะคืออย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ “ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าก้มหน้าบริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูฤกษ์ยาม สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าแหงนหน้าบริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยการประกอบกิจการส่งข่าวสารและรับใช้ สมณพราหมณ์นี้เรียกว่ามองดูทิศใหญ่บริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพ ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าดูทิศน้อยบริโภค
“ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเรานั้นมิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม แล้วจึงบริโภค...”

สูจิมุขีสูตร ขันธ


🔅 อายตนะกับไตรลักษณ์
ปัญหา อายตนะภายในและภายนอกเกี่ยวข้องกับไตรลักษณ์อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ของเรา....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตย่อมไม่เพลิดเพลินตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ที่เป็นปัจจุบัน

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน...”

อนิจจวรรคที่ ๑


🔅 คุณโทษของอายตนะ
ปัญหา อายตนะภายในและภายนอกมีโทษอย่างเดียวหรือว่ามีคุณด้วย ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขความยินดีเกิดขึ้นเพราะอาศัย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...นี้เป็นคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ การกำจัด การละความยินดีพอใจใน ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...นี้เป็นความสลัดออก

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขความยินดีเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูป... เสียง... กลิ่น... รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) การกำจัด การละความยินดีใน รูปฯ เสียงฯ นี้เป็นการสลัดออกแห่ง (อายตนะภายนอก ๖)

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเที่ยวแสวงหาคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ได้พบคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ได้เห็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ได้พบแห่ง (อายตนะภายใน ๖) แล้ว ได้เห็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา ได้เที่ยวแสวงหาวิธีสลัดออกแห่ง (อายตนะภายใน ๖) ได้พบทางสลัดออกแห่ง (อายตนะภายใน ๖) แล้วเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเที่ยวแสวงหาคุณแห่ง รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ได้พบคุณแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) แล้ว เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) ได้พบโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) แล้ว เราได้แสวงหาวิธีสลัดออกแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) ได้พบวิธีสลัดออกแล้ว.....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดยินดีใน (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) ถ้าโทษแห่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายใน (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) ถ้ามีวิธีสลัดออกซึ่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจาก (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ว่า เป็นคนซึ่งโทษแห่งอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ว่าเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกว่าเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายเห็นยังไม่เป็นผู้ออกไปจากไป หลุดพ้นจากโลก พร้อมทั้งกาลโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่เพียงนั้น...”

ยมกวรรคที่ ๑


🔅 เพลินอายตนะ ไม่พ้นทุกข์
ปัญหา คนเช่นใด มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์มากกว่าคนอื่นๆ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลิน ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์

เรากล่าวว่าผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์

“ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

อภินันทนสูตรที่ ๑-๒



🔅 อายตนะกับทุกข์
ปัญหา อายตนะกับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

“ส่วน ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่ง (อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖) นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ....”

อุปปาทสูตรที่ ๑-๒


🔅 อะไรคือสิ่งทั้งปวง
ปัญหา ตามหลักพุทธศาสนา อะไรคือสิ่งทั้งปวง? และควรจะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงนั้นอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรคือสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูปหูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ... ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบอกปฏิเสธทั้งปวง แล้วบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นพึงเป็นแต่คำกล่าวพล่อย ๆ เท่านั้นแต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยที่จะเป็นไปได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“หู เสียง โสตวิญญาณ...โสตสัมผัส...สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ....ฆานสัมผัส... สุขเวทนา ทุขกเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ...ชิวหาสัมผัส...สุขเวทนา ทุขกเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ... กายสัมผัส...สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ....”

สัพพวรรคที่ ๓



🔅 อะไรคือของร้อน
ปัญหา อะไรเป็นของร้อน? ร้อนเพราะอะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

“โสต เสียง โสตวิญญาณ...โสตสัมผัสเป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ....ฆานสัมผัสเป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ...ชิวหาสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ... กายสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส”

อาทิตตปริยายสูตร



🔅 ผู้ไม่สำคัญหมายย่อมไม่ถือมั่น
ปัญหา ข้อปฏิบัติอันเหมาะสมแก่การกำจัดความถือตนเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวงด้วยอำนาจ ตัณหา มานะทิฏฐิ คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมไม่สำคัญหมาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ย่อมไม่สำคัญหมายในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายจากตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายว่าตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... เป็นของเราย่อมไม่สำคัญหมาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายแต่รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายว่า รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใน (วิญญาณทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายจักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใจ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา อันมี (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นปัจจัย ย่อมไม่สำคัญหมายใน (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า เวทนาทั้ง ๓ นั้นเป็นของเรา

“ย่อมไม่สำคัญหมายสิ่งทั้งปวง ในสิ่งทั้งปวง แต่สิ่งทั้งปวง ย่อมไม่สำคัญ หมายว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญหมายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไปถือมั่นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับทุกข์เย็นสนิทเฉพาะตน....”

สารูปสูตร

วันพุธ

พระพุทธดำรัส (๑๖)

🙏 พระพุทธดำรัส 🙏

🔅 พระอรหันต์กับพระพุทธเจ้า
ปัญหา พระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวกเหมือนกันและแตกต่างกันในแง่ไหนบ้าง

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย... คลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความถือมั่นในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ คนจึงเรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย... คลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ คนจึงเรียกว่า ปัญญาวิมุต

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้ จะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน มีอะไรเป็นลักษณะเฉพาะ มีอะไรเป็นเหตุแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธะกับภิกษุผู้เป็นปัญญาวิมุต “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้นำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำทางที่ยังไม่มีใครรู้ให้รู้ บอกทางที่ยังไม่มีใครบอกเป็นผู้รู้แจ้งหนทาง เข้าใจทางฉลาดในทาง “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง เป็นผู้มาภายหลัง อันนี้แลเป็นข้อแปลกกัน.....”

พุพธสูตร




🔅 ความหมายของอนัตตา
ปัญหา คำว่า “อนัตตา” มีความหมายว่าอย่างไร

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนอันเป็นอมตภาพตามทัศนะของฮินดู) ถ้าหากว่า... จักเป็นอัตตาไซร้ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่า ขอรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น.... จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา....”

ปัญจวัคคิยสูตร


🔅 เหตุมีปัจจัยมี
ปัญหา เจ้าลิจฉวี นามว่ามหาลี เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ท่านปูรณกัสสปะสอนว่า สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์เอง โดยไม่มีเหตุปัจจัย พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนมหาลี เหตุมีปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยจึงเศร้าหมอง เหตุมีปัจจัยมีเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยจึงบริสุทธิ์
“.....ดูก่อนมหาลี หากรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้เป็นทุกข์ถ่ายเดียว รับแต่ทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์มิได้ประกอบด้วยสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดใน รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็เพราะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณเป็นสุข สุขตามสนองหยั่งลงสู่ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์เสมอไป ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป เพราะกำหนัดจึงเกาะเกี่ยวผูกพัน เพราะเกาะเกี่ยวผูกพันจึงเศร้าหมอง....ดูก่อนมหาลี สัตว์ทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยจึงเศร้าหมองด้วยอาการอย่างนี้.....
“.....ดูก่อนมหาลี หากว่ารูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้จักเป็นสุขถ่ายเดียว ตกลงสู่สุขก้าวลงสู่สุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายใน รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็เพราะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณตกลงสู่ทุกข์ หยั่งลงสู่ทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขเสมอไป ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์..... สัตว์ทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยจึงบริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนี้.....

มหาลิสูตร


🔅 ติดขันธ์ ก็ติดบ่วงมาร
ปัญหา เพราะเหตุไรคนจึงติดบ่วงมาร จะพ้นจากบ่วงมารได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้ยังยึด รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้นจากมาร.... “.....ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคล คิดสร้างภาพ (ศัพท์บาลีใช้คำว่า “มญฺญมาโน”ภาษาไทยแปลว่า “สำคัญ” ฉบับอังกฤษใช้คำว่า imagining แปรว่า “คิดสร้างภาพ” ซึ่งชัดกว่า) รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ก็ต้องถูกมารมักไว้ เมื่อไม่คิดสร้าง จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร “.....ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลเพลิดเพลินรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงพ้นจากมาร....

อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร


🔅 วิธีคิดเกี่ยวกับขันธ์ ๕
ปัญหา บุคคลควรคิดและปฏิบัติเกี่ยวกับขันธ์ ๕ อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ของตน ล้วนจูงใจให้กำหนัด ควรละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ เสีย....”

อนิจจสูตร ฯลฯ ขันธ


🔅 วิธีกำจัดอหังการ มมังการ
ปัญหา บุคคลรู้เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีความยึดถือว่ามีเรา (อหังการ) ความยึดถือว่าเป็นของเรา (มมังการ) และอนุสัยคือความถือตัว (มานานุสัย) ในกายที่มีวิญญาณนี้ และสรรพนิมิตภายนอก?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนราธะ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือไกล อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อน ราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก...”

ราธสูตร ขันธ


🔅 เทพเจ้าอมตะมีหรือไม่
ปัญหา ศาสนาบางศาสนาเชื่อว่ามีเทวดาที่มีอมตะเที่ยงแท้ แน่นอน ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนามีทัศนะอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชออกจากที่อาศัยในเวลาเย็นแล้วเหยียดกาย แล้วเหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๔ ครั้งแล้วออกเดินไปเพื่อหากิน.... พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราชบันลือสีหนาท อยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว... พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกพระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่เข้าใจว่าแน่นอน... ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ติดยู่ในกายตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับเทวโลกเช่นนี้แล”

สีหสูตร ขันธ


🔅 จำชาติก่อนได้ คือจำขันธ์ ๕ ได้
ปัญหา การที่บุคคลบางคนสามารถระลึกชาติก่อนได้นั้น เขาระลึกอะไรได้ และระลึกอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง.... ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ หรือ ขันธ์ ใดขันธ์หนึ่ง... คือ ย่อมตามระลึกถึง รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ดังนี้วาในอดีตกาลเราเป็นผู้มี รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างนี้....”

ขัชชนิสูตร


🔅 ความหมายของขันธ์แต่ละอย่าง
ปัญหา คำว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ละอย่างมีความหมายอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะกระทบกระทั่ง (คำบาลีว่า รุปฺปติ อรรถกถาแปลไว้หลายอย่าง เช่น เบียดเบียน กระทบ กดขี่ ทำลาย หรือแตกสลาย ใน ตท. แปลไว้ว่า สลายไป) จึงเรียกว่ารูป กระทบกระทั่งกับอะไร กระทบกระทั่งกับหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง เพราะสัมผัสแหงเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง

“เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะรู้สึกอะไร รู้สึกเป็นสุขบ้าง รู้สึกเป็นทุกข์บ้าง รู้สึกกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง

“เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง

“เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง สังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมคืออะไร ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ

“เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรับรู้ (ตท. แปลว่า รู้แจ้ง) จึงเรียกว่าวิญญาณ รับรู้อะไร รับรู้รสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง”

ขัชชนิสูตร


🔅 วิธีสร้างความหน่ายในขันธ์
ปัญหา เราควรจะพิจารณาขันธ์ ๕ อย่างไร จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูก รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาลเราก็ถูกรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ กินแล้วถ้าเราชื่นชมรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ในอนาคต.... เราก็ถึงถูกรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ กิน เหมือนกับที่ถูกกินอยู่ในปัจจุบันนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพ่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ปัจจุบัน”

ขัชชนิสูตร


🔅 วิธีรุนแรงในการสอน
ปัญหา พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้วิธีรุนแรงในการอบรมพระภิกษุสงฆ์ จนบางครั้งต้องทรงแก้ไขใหม่หรือไม่?

คำตอบ “.....สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุเรื่องหนึ่ง.... ในเวลาหลังภัตตาหาร..... เสด็จไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักในกลางวัน.... ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม... ได้เกิดพระปริวิตกขึ้นว่า เราแลได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ให้ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น พวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นานเพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเรา พึงคลางแคลงใจ พึงมีใจแปรปรวนไปเหมือนลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ พึงคลางแคลงใจ พึงมีใจแปรปรวนไปเหมือนลูกโคน้อยๆ เหมือนกับพืชที่ยังอ่อน ๆ ไม่ได้น้ำ พึงผันแปรไปเปลี่ยนแปรไป ถ้ากระไร เราพึงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้อนุเคราะห์มาแล้วเมื่อก่อนฉะนั้นเถิด....”

ปิณโฑลยสูตร


🔅 โลกประณามการบิณฑบาต
ปัญหา คนทั้งหลายมีทัศนคติต่อการออกบิณฑบาตของพระภิกษุอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาวิธีการเลี้ยงชีพทั้งหลาย การออกบิณฑบาตเป็นอาชีพต่ำทราม ภิกษุทั้งหลายย่อมได้รับคำแช่งด่าในโลกว่า “ท่านดีแต่อุ้มบาตรเที่ยวขอก้อนข้าว !”

ปิณโฑลยสูตร


🔅 ผู้บิณฑบาตควรคิดอย่างไร
ปัญหา ในการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ พระภิกษุควรจะคิดอย่างไร และควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายมุ่งต่อประโยชน์ อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ จึงเข้าสู่ภาวะแห่งการเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนี้แล ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ หนีโจร ไม่ใช่มีหนี้ ไม่ใช้ผู้มีภัย ไม่ใช่ไม่มีอาชีพ....
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรนี้บวชแล้วเพราะคิดว่า เราทั้งหลายถูก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้มีทุกข์ประจำแล้ว ไฉนหนอ พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ปรากฏได้ .... แต่ว่ากุลบุตรนั้นมากไปด้วยความโลภจัด มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย มิจิตพยาบาท มีความดำริที่ถูกทำให้เสียหายแล้ว มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตผันแปร ไม่สำรวมอินทรีย์ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเช่นนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วยไม่ทำประโยชน์ คือความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วย เรากล่าวว่าเขาเปรียบด้วยดุ้นฟืน ในที่เผาศพซึ่งติดไฟทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนด้วยคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไมได้ จะใช้เป็นฟืนในป่าก็ไม่ได้”

ปิณโฑลยสูตร


🔅 อุปาทานคือยึดถืออะไร
ปัญหา ในปฏิจจสมุปบาท มีอุปาทานคือความยึดถือเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่ง ความยึดถือนั้นหมายถึงยึดถืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว.... ย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เรายึดถือสิ่งใดในโลกอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีเลย เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้นเอง เพราะความยึดถือเป็นปัจจัย ภพพึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติพึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะโสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ พึงมีได้ด้วยประการอย่างนี้

ปิณโฑลยสูตร


🔅 รู้อย่างไร อาสวะจึงจะสิ้น
ปัญหา ทางพุทธศาสนาถือว่า ความรู้เห็นแจ้งจะทำให้อาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปได้ รู้อย่างไร เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไป?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ผู้มิได้รับรู้แล้ว....ย่อมพิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นและเป็นสังขาร... สังขาร... สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหานั้นเกิดจากเวทนา เวทนานั้นเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา...
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ว่าพิจารณาเห็นตนในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่มีความเห็นอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา... ก็มีความเห็นว่าเที่ยงแท้เช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... เป็นผู้ไม่มีความเห็นเช่นนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น แต่ว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึงมีของ ของเราก็ไม่พึงมี เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... ก็ความเห็นว่าขาดสูญเช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
“ปุถุชน... เป็นผู้ไม่มีความเห็นว่า ถ้าเราไม่พึงมีของของเราก็ไม่พึงเรา
เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่แน่ใจสัทธรรม.... ก็ความเห็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง...เช่นนั้นก็เป็นสังขาร....
“ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหาเกิดจากเวทนา เวทนาเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้นแม้ ตัณหา เวทนา ผัสสะ อวิชชา นั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ”

ปาลิเลยยสูตร


🔅 อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญหา อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกันหรือต่างกัน ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานก็อันนั้น และ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้ และอุปาทานเป็นอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้ แต่ความยินดีและความกำหนัดในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นแลเป็นอุปาทาน”

ปุณณมสูตร


🔅 พระอรหันต์สิ้นชีพแล้วไปไหน
ปัญหา พระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลสอาสวะแล้ว เมื่อสิ้นชีพดับขันธ์ ย่อมขาดสูญหมดสิ้นไป ไม่เกิดอีกใช่หรือไม่?

พระสารีบุตรตอบ “.....ดูก่อนท่านยมกะ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระยมกะ “ไม่เที่ยง ท่านสารีบุตร”

พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่า รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีใน รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือไม่?
พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีมี รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือ?
พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์ บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันชาตินี้ก็ยังไม่ได้ ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า.... พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมหายสูญ ย่อมหมดสิ้นไป ย่อมไม่เกิดอีก.... ดูก่อนท่านยมกะ ถ้าชนเหล่าพึงถามท่านว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วเป็นอย่างไร ท่าน.... จะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร?”
พระยมกะ “ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมฟังกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว”

พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดเรียนรู้แล้ว ฉลาดในอริยธรรม ย่อมไม่เห็น รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่เห็นรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ในตน ย่อมไม่เห็นตนในรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณอันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง อันเป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ อันเป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา อันปัจจัยปรุงแต่งว่าปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นผู้ฆ่าว่าเป็นผู้ฆ่า เขาย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นซึ่ง รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของเรา อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันอริยสาวกไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน”

ยมกสูตร


🔅 พระพุทธเป็นหนึ่งกับพระธรรม
ปัญหา มีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้ากับพระธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นอันเดียวกัน ถ้าเห็นอย่างหนึ่ง ก็เห็นอีกอย่างหนึ่ง จริงหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนวิกกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วิกกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม....”

วิกกลิสูตร


🔅 วิธีคิดเมื่อเสวยสุข-ทุกข์
ปัญหา เมื่อได้เสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์) ควรจะกระทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอัสสชิ อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยทุขเวทนาก็ทราบชัดว่า ทุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน

“หากว่าเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุขมสุขเวทนาก็ปราศจากความยินดียินร้าย หากว่าเสวยเวทนา อันเป็นที่สุดแห่งกำลังกาย ก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกำลังกาย ถ้าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ก็ทราบชัดว่าเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตกทำลาย ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดีจักเป็นของเย็น.... อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อเพราะหมดน้ำมันและไส้ ก็พึงดับไป....”

อัสสชิสูตร


🔅 อุปาทานขันธ์กับ "เรา"
ปัญหา “เรา” กับอุปาทานขันธ์ ๕ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

พระเขมกะตอบ “.....ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่กล่าว รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณว่าเป็นเรา ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจาก รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ แต่ผมไม่ได้ถือว่าเราเป็น (ขันธ์ ๕ ) นี้ เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี กลิ่นดอกปทุมก็ดี กลิ่นดอกบุณฑริกก็ดี ผู้ใดหนอจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่ากลิ่นกลิ่น กลิ่นสีหรือว่ากลิ่นเกสร...
“ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า “เรามีอยู่” ไม่ได้ ในสมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ มานะ ฉันทะ อนุสัยที่ว่า “เรามีอยู่” นั้น ที่ยังถอนไม่ได้ ก็ย่อมถึงการเพิกถอนได้ ... เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทินเจ้าของมอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้นในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำต่างเกลือหรือในโคมัย แล้วเอาซักในน้ำใสสะอาด ผ้านั้นเป็นของสะอาด ขาวผ่องก็จริง แต่ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือหรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของ เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้กลิ่นนันก็หายไป”

เขมกสูตร


🔅 แนวคิดเรื่องทวินิยม
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับ “ความมีอยู่” และ ความไม่มีอยู่” อันเป็นปัญหาทางปรัชญาที่ลึกซึ้ง?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนกัจจานะ ชาวโลกโดยมากติดอยู่ในทวินิยม ยึดถือความมีอยู่ ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ความไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ความมีในโลกย่อมไม่มี ชาวโลกส่วนมากยึดมั่นถือมั่นในระบบและลัทธิต่าง ๆ แต่อริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งการยึดถือในระบบ ซึ่งอนุสัยคือจุดยืน และลัทธิว่า “นั่นคืออัตตาของเรา” ย่อมไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ในข้อที่ว่า “ทุกข์เหล่านั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อจะดับไปย่อมดับไป” อริยสาวกย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

“ดูก่อนกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ดูก่อนกัจจานะ มีความเห็นสุดโต่งอยู่ ๒ อย่าง คือ ความเห็นสุดต่างอันหนึ่งที่ว่า “สิ่งทั้งปวงมีอยู่” และความเห็นสุดโต่งที่สองว่า “สิ่งทั้งปวงย่อมไม่มี” ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยสิ้นราคะโดยไม่มีอะไรเหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้....”

ฉันนสูตร


🔅 ผู้ไม่วิวาทกับใคร
ปัญหา มีผู้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงขัดแย้งกับโลกในการสั่งสอน จริงหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับโลกแต่โลกย่อมวิวาทกับเรา บุคคลผู้สอนแต่ธรรมอยู่ไม่วิวาทกับใครๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี สิ่งในที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เรากล่าวสิ่งนั้นว่ามี..””
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี คืออะไร? คือ รูปที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่าไม่มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เที่ยง ยั่งยืน โลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่าไม่มี....
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี คืออะไร? คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่า มี....

ปุปผสูตร


🔅 อุปมาของขันธ์ ๕
ปัญหา เราจะอธิบายขันธ์ ๕ โดยเปรียบเทียบกับอะไร จึงจะเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงนำลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุ พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นพิจารณาอยู่ กลุ่มฟองน้ำนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย แม้ฉันใดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงในฤดูใบไม้ร่วง (สารทสมัย) ฟองน้ำในน้ำย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นพิจารณาอยู่ กลุ่มฟองน้ำนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย แม้ฉันใดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันนั้น
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดดย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย พยับแดดนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันนั้น สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฉันนั้นเหมือนกันแล
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม่แก่น ถือเอาจอบอันคมพึงเข้าไปสู่ป่า พึงเห็นต้นกล้วยขนาดใหญ่ ลำต้นตรง ยังอ่อน ยังไม่เกิดแกน พึงตัดโคน ตัดปลาย ปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้แต่กระพี้ในต้นกล้วยนั้น เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย ต้นกล้วยนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันใด สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกล พึงเล่นกลที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่งเมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย กลนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันใด วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเป็นของว่างฉันนั้นเหมือนกันแล”

เผณปิณฑสูตร


🔅 จิตสร้างความวิจิตร
ปัญหา เพราะเหตุใดขันธ์ ๕ ของคนและของดิรัจฉานจึงมีความวิจิตรแตกต่างกันออกไป ใครเป็นผู้สร้างความวิจิตรเหล่านั้น?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาพวิจิตรที่ชื่อว่าจรณะ เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ? ภาพวิจิตรชื่อจรณะแม้นั้นแล จิตเป็นผู้คิดขึ้นเพราะเหตุนั้น จิตนั้นแหละจึงวิจิตรกว่าภาพวิจิตรชื่อจรณะนั้น....
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นหมู่สัตว์อื่นแม้หมู่หนึ่ง ซึ่งวิจิตรเหมือนสัตว์ในกำเนิดดิรัจฉาน... แม้สัตว์ในกำเนิดดิรัจฉานเหล่านั้นก็เป็นผู้ถูกจิตคิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย จิตนั้นเองจึงวิจิตรกว่าสัตว์ในกำเนิดดิรัจฉาน...
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือช่างเขียนเมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี ทั้งเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบทุกส่วน ลงที่ผ่านกระดาษเกลี้ยงเกลา หรือที่ฝาหรือที่แผ่นผ้า แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้ ย่อมสร้างรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นแหละ ให้เกิดขึ้น”


คัททูลสูตร


🔅 หวังแต่ไม่ทำก็หมดหวัง
ปัญหา การตั้งความปรารถนาด้วยใจเฉยๆ จะทำให้คนสามารถบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ? ควรปฏิบัติอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๙ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยสวัสดี ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ ออกมาโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบความเพียรในภาวนา ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นจิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ ได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบความเพียรในภาวนาอยู่ ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ จิตย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น (เหมือน) ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่นอนทับด้วยดี ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะไม่เกิดความปรารถนาว่า ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ออกมา โดยสวัสดี ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายเปลือกไข่ออกมาได้โดยสวัสดี”

นาวาสูตร 

พระพุทธดำรัส (๑๕)

 🙏 พระพุทธดำรัส 🙏


🔅 ทุกข์เกิดจากยึดถือขันธ์ ๕ เป็นต้น
ปัญหา ความยึดถือขันธ์ ๕ เป็นอัตตา ก่อให้เกิดทุกข์อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ในโลกนี้มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ย่อมเห็นรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ว่าเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ย่อมเห็นรูป (เป็นต้น) ในตน ย่อมเห็นตนในรูป (เป็นต้น) รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณของเขานั้นย่อมแปรปรวนไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะเหตุที่รูป (เป็นต้น) ของเขาแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณ(จิต) ของเขาจึงพลอยผันแปรไปตามความผันแปรแห่งรูป (เป็นต้นนั้น) ความสะดุ้งและความทุกข์อันเกิดแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปรแห่งรูป (เป็นต้น) ย่อมเข้าครอบงำจิตของปุถุชนนั้น เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว มีความลำบากใจ มีความห่วงใย และความสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น... ความสะดุ้งและความถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล....”

อุปาทานปริตัสสนาสูตร ที่ ๑


🔅 สุขเกิดเพราะไม่ยึดขันธ์ ๕ เป็นต้น
ปัญหา ความไม่ยึดถือขันธ์ ๕ เป็นอัตตา ก่อให้เกิดสุขอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมไม่เห็นรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ว่าเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป (เป็นต้น) ย่อมไม่เห็นรูป ในตน ย่อมไม่เห็นตนในรูป  รูป ของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไปเพราะรูป แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณ (จิต) ของเขาจึงไม่ผันแปรไปตามความผันแปรแห่งรูป (เป็นต้นนั้น) ความสะดุ้ง และความทุกข์อันเกิดแต่ความหมุนเวียนแปรปรวนแห่งรูป ย่อมไม่เข้าครอบงำจิตของอริยสาวกนั้น เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล”

อุปาทานปริตัสสนาสูตร ที่ ๑


🔅 อัตตา-อนัตตา ในขันธ์ ๕
ปัญหา การเห็นหลัก อัตตา และ อนัตตา คือเห็นอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ยังมิได้เรียนรู้ในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ส่วน อริยสาวกในพระพุทธศาสนา ผู้ได้เรียนรู้แล้วย่อมพิจารณาเห็นว่า รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.....”

อุปาทานปริตัสสนาสูตร ที่ ๒ 


🔅 ขันธ์ ๕ ในกาลทั้ง ๓ กับไตรลักษณ์
ปัญหา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไร คิดอย่างไร เกี่ยวกับขันธ์ ๕ ในกาลทั้ง ๓?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ส่วนรูป (เป็นต้น) ที่เป็นปัจจุบันนั้นไม่ต้องพูดถึง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีความอาลัยในรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูป (เป็นต้น) ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน”

อตีตานาคตปัจจุปันนสูตร ที่ ๑-๓


🔅 ไตรลักษณ์เกี่ยวข้องกัน
ปัญหา ไตรลักษณ์ทั้ง ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง....”

อนิจจาสูตร ที่ ๒


🔅 เหตุให้ขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์
ปัญหา ทำไมขันธ์ ๕ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แม้ปัจจัยที่ให้รูป (เป็นต้นนั้น) เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รูป (เป็นต้น) ที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาเล่า?”

อนิจจเหตุสูตรฯ


🔅 นิโรธดับอะไร
ปัญหา อริยสัจจ์ที่ ๓ คือ นิโรธ ที่แปลว่าความดับนั้น คือ ดับอะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอานนท์ รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา... มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา... มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่ง รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั้นเรียกว่า นิโรธ... ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แลเรียกว่า นิโรธ...

อานันทสูตร


🔅 ภาระหนักของมนุษย์
ปัญหา ภาระอันหนักของมนุษย์คืออะไร? จะปลงลงได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ คือ ภาระ อุปาทานขันธ์ ๕ คืออะไร? คือ รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นี้เรียกว่า ภาระ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้แบกภาระคือใคร? ผู้แบกภาระ คือ บุคคล... ที่มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ นี่เรียกว่า ผู้แบกภาระ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกรณ์สำหรับแบกภาระคืออะไร ? ตัณหาที่นำไปเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี ทำให้หลงเพลิดเพลินในภพนั้น ๆ กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ เรียกว่า อุปกรณ์ เครื่องแบกภาระ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปลงภาระคืออย่างไร? คือการดับตัณหา สิ้นความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง การสละทอดทิ้งหลุดพ้นจากตัณหาอย่างไม่มีเยื่อใยนี้ เรียกว่า การปลงภาระลง...”

ภารสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ ควรเรียนรู้
ปัญหา ตามหลักพระพุทธศาสนา อะไรคือสิ่งที่ควรเรียนรู้ และ ปริญญา ที่แท้จริงนั้นคืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรเรียนรู้นั้นคืออะไร ? รูป เป็นธรรมที่ควรเรียนรู้ เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เป็นธรรมที่ควรเรียนรู้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริญญาคือใคร? คือความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ นี้เรียกว่า ปริญญา "

ปริญญาสูตร


🔅 คนที่เหมาะสมต่อการสิ้นทุกข์
ปัญหา บุคคลควรปฏิบัติต่อขันธ์ ๕ อย่างไร จึงจะสิ้นทุกข์ได้ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ไม่รู้จริง ไม่รู้ทั่วถึง ไม่เบื่อหน่าย ไม่สละเสียซึ่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จัดเป็นคนอาภัพต่อการสิ้นทุกข์
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่รู้จริง รู้ทั่วถึง เบื่อหน่าย และสละเสียซึ่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จึงเป็นผู้เหมาะสมต่อการสิ้นทุกข์

ปริชานสูต


🔅 วิธีดับขันธ์ ๕
ปัญหา บุคคลจะดับขันธ์ ๕ ได้อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความใคร่ ความพอใจ ในรูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้รูป (เป็นต้นนั้น) ก็จะเป็นอันถูกละ ถูกตัดราก เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ถูกทำให้เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ ไม่มีการเกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา....”

ฉันทราคสูตร


🔅 แง่ดีและเสียของขันธ์ ๕
ปัญหา ขันธ์ ๕ มีแต่แง่ทุกข์อย่างเดียว หรือว่ามีแง่สุขอยู่บ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เราเคยรำพึงว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสละคืน? เรารำพึงต่อไปว่า ความสุข ความเบิกบานใจเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป (เป็นต้น) มีอยู่ นี้เป็นคุณของรูป รูป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ.... การกำจัดเสีย การประหารเสียซึ่งความใคร่ ความพอใจในรูป (เป็นต้นนั้น) นี้เป็นการสละคืนขันธ์ ๕
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่เรายังไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง ซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งการสละคืนว่าเป็นการสละคืนแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตราบนั้น เราก็ไม่ปฏิญาณว่าตนได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก...
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเรารู้แจ้งตามความเป็นจริง.... เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณ... ญาณคือความเห็นแจ้งได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ความพ้นทุกข์ของเราไม่มีผันแปร ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ไม่มีภพใหม่อีก....”

อัสสาทสูตรที่ ๑ 

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเคยท่องเที่ยวแสวงหาคุณแห่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ รูป (เป็นต้นนั้น) มีคุณอย่างใด เราก็ได้พบคุณอย่างนั้น .... มีคุณเท่าใด เราก็ได้เห็นแจ้งด้วยปัญญาเท่านั้น .... เราเคยท่องเที่ยว แสวงหาโทษของ รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เราก็ได้พบโทษ.... ได้เห็นโทษด้วยปัญญา..... เราเคยท่องเที่ยวแสวงหาการสลัดออกซึ่งขันธ์ ๕ เราก็ได้พบการสลัดออก...”

อัสสาทสูตรที่ ๒ 

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ยินดีเพลิดเพลินในรูป (เป็นต้นนั้น) แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีเพลินเพลิด....
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าโทษแห่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายในรูป (เป็นต้นนั้น) แต่เพราะโทษแห่งรูป มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่าย...
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าการสลัดออกซึ่ง รูป (เป็นต้นนั้น) จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่แล่นออกไปจากรูป แต่เพราะการสลัดออกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป.....ได้

อัสสาทสูตรที่ ๓ 


🔅 เพลิดเพลินขันธ์ ๕ เพลิดเพลินทุกข์
ปัญหา คนเช่นใด มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์มากกว่าคนอื่น?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเพลิดเพลิน รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์เรายืนยันว่าผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลไม่เพลิดเพลินรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ผู้นั้นไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์เรายืนยันว่าผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

อภินันทนสูตร


🔅 มีขันธ์ ๕ ก็มีทุกข์
ปัญหา ขันธ์ ๕ กับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรคทั้งหลาย เป็นความปรากฏแห่งชรา มรณะ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบระงับความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่ง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นสงบระงับแห่งโรคทั้งหลาย เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา มรณะ

อุปปาทสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ เหมือนใบไม้นอกตัวเรา
ปัญหา การถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นของตน เป็นการถูกต้องหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย เพื่อละได้แล้วจักเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข.... ก็อะไรเล่าไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย? รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชนพึงเก็บเอาไป หรือเผาไฟ หรือกระทำตามที่เห็นเหมาะสมซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในพระเชตวันนั้น ท่านควรคิดว่า ฝูงชนเอาไปหรือเผา หรือกระทำตามที่เห็นเหมาะสม ซึ่งเราทั้งหลายกระนั้นหรือ?
“ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า หามิได้พระเจ้าข้า
“พระพุทธองค์ตรัสถามว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
“ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่เราหรือ นับเนื่องด้วยเรา
“อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ไม่ใช่ของท่าน จงละเสีย เมื่อละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข”

นตุมหากสูตร ที่ ๑


🔅 คิดถึงอะไร เป็นสิ่งนั้น
ปัญหา ภิกษุรูปหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดแต่โดยย่อ เพื่อจักได้นำไปปฏิบัติต่อไป พระโอวาทย่อว่าอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมครุ่นคิดในสิ่งใด ย่อมเข้าไปมีส่วนเป็นสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่เข้าไปมีส่วนในสิ่งนั้น.... ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึง รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ย่อมเข้าไปมีสวน เป็น รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงรูป (เป็นต้น) นั้น ก็ไม่เข้าไปมีส่วนเป็นรูป (เป็นต้นนั้น)

ภิกขุสูตร ที่ ๑


🔅 เพราะหน่ายจึงรู้ เพราะรู้จึงพ้น
ปัญหา ชาวพุทธควรมีทัศนคติต่อขันธ์ ๕ อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คืออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายอย่างมากใน รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เมื่อเป็นผู้อยู่ด้วยความเบื่อหน่ายอย่างมากในรูป (เป็นต้น) ย่อมรอบรู้ รูป (เป็นต้นนั้น) เมื่อรอบรู้... ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความระทม ความแค้นใจ ความแห้งใจ เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมีธรรมอันเหมาะสม คือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.... เห็นความทุกข์... เห็นความเป็นอนัตตาในรูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตาในรูป ย่อมรอบรู้ในรูป เมื่อรอบรู้ .... ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ... เรากล่าวว่าย่อมหลุดพ้นจากทุกข์


อนุธรรมสูตร ที่ ๑-๔


🔅 ที่พึ่งของชาวพุทธ
ปัญหา อะไรคือที่พึ่งอันแท้จริงของชาวพุทธ และจะพึ่งได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอจะมีตนเป็นที่พึ่ง.... มีธรรมเป็นที่พึ่ง....จะต้องพิจารณาโดยรอบคอบว่า ความโศก ความคร่ำครวญ ความระทม ความแค้นใจ ความแห่งใจ มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็น รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ว่าเป็นต้น เห็นตนว่ามีรูป (เป็นต้น) เห็นรูป ในตน ย่อมเห็นตนในรูป รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั้นของเขาย่อมแปรไป.....ความโศก ความคร่ำครวญ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุรู้ว่า รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง แปรปรวนไป.... ดับไป เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบดังนี้ว่ารูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ในกาลก่อนและในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาดังนี้ ย่อมละความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ได้ เพราะละความโศกได้จึงไม่เดือดร้อน เพราะไม่เดือดร้อนจึงอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า เป็นผู้ดับเย็นแล้วอย่างครบถ้วน”

อัตตทีปสูตร 


🔅 เกิดมีตน ก็เกิดมีทุกข์
ปัญหา ความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และจะดับได้อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้แล้ว ในโลกนี้ ย่อมเข้าในรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ว่าเป็นต้น ย่อมเห็นตนว่ามีรูป (เป็นต้น) ย่อมเห็นรูป (เป็นต้น) ในตน ย่อมเห็นตนในรูป (เป็นต้น).... นี้เรียกว่าทางดำเนินอันจะให้เกิดความเห็นว่ามีตัวตน... อันจะยังสัตว์ให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในโลกนี้ ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมไม่เข้าใจ
รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ ว่าเป็นต้น ย่อมไม่เข้าใจว่าตนมีรูป ย่อมไม่เข้าใจว่ารูป มีในตน ย่อมไม่เข้าใจว่าตนในรูป (เป็นต้น).....นี้เรียกว่าทางดำเนินอันจะยังสัตว์ให้เกิดความดับตัวตน... เรียกว่าการพิจารณาเห็นอันจะยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์

ปฏิปทาสูตร


🔅 อุปาทานขันธ์ คืออะไร
ปัญหา สิ่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ นั้น คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือใกล้ มีอาสวะ ในตัว เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน ขันธ์คือ รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕

ปัญจักขันธสูตร


🔅 ขันธ์ตนกับขันธ์คนอื่น
ปัญหา บุคคลควรพิจารณาเปรียบเทียบขันธ์ ๕ ของตนกับ ขันธ์ ๕ ของคนอื่นหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมพิจารณาเห็นว่า เราประเสริฐกว่าเขา... เราเท่าเทียมกับเขา.. เราเลวกว่าเขาโดย รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง “..... ดูก่อนโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่า เราประเสริฐกว่าเขา... เราเท่าเทียมกับเขา.. เราเลวกว่าเขาโดย รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการเห็นธรรมตามความเป็นจริง....”

โสณสูตร ที่ ๑


🔅 วิญญาณอาศัยขันธ์ ๕
ปัญหา วิญญาณจะมีอยู่โดยไม่ต้องอาศัยขันธ์ ๕ ได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้ายึดรูป พึงดำรงอยู่ได้ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปซ่องเสพด้วยความยินดี พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์... วิญญาณที่เข้ายึดเวทนา... สัญญา.... สังขาร...พึงดำรงคงอยู่ได้ วิญญาณที่มี รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...เป็นอารมณ์ มี รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร... เป็นที่ตั้ง เข้าไปซ่องเสพ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร ) ด้วยความยินดี พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยไม่ต้องอาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุละราคะในรูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญาณธาตุได้แล้ว อารมณ์ (แห่งวิญญาณ) ก็เป็นอันตัดขาดเพราะละราคะนั้นได้ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งย่อมไม่งอกงาม ไม่สร้างต่อ (อนภิสงฺขจฺจ) ย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นจึงอิ่มเอิบ (สนฺตุสิตํ) เพราะอิ่มเอิบจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งจึงดับเย็นสนิทเฉพาะตน ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ครบถ้วนแล้ว กิจที่ควรทำได้เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อให้เกิดผลเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว”

อุปายสูตร


🔅 วิญญาณอาศัยรูป
ปัญหา วิญญาณธาตุ ต้องอาศัย รูป เวทนา สัญญา สังขารอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุพืช ๕ อย่างนี้... คือ พืชงอกจากเหง้า ๑ พืชงอกจากลำต้น ๑ พืชงอกจากข้อ ๑ พืชงอกจากยอด ๑ พืชงอกจากเมล็ด ๑ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ไม่เน่า ไม่ถูกลม แดด ทำให้เสีย ยังเพาะขึ้น ที่เขาเก็บไว้อย่างดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ พืช ๕ อย่างนี้พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ ? ไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้.... ที่เขาเก็บไว้อย่างดี และมีดิน มีน้ำ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ? ....ได้ พระพุทธเจ้าข้า “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นที่ตั้งทั้ง ๔ ของวิญญาณ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เหมือนธาตุดิน พึงเห็นความยินดีเพลิดเพลินเหมือนธาตุน้ำ พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหารเหมือนพืช ๕ อย่าง...ฯ”

พืชสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ ความเกิดและความดับขันธ์ ๕
ปัญหา ขันธ์ ๕ เหตุให้เกิดขันธ์ ๕ ความดับขันธ์ ๕ และทางปฏิบัติเพื่อดับขันธ์ ๕ คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปคืออะไร คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป ความเกิดขึ้นแห่งรูปก่อนมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด.... เป็นปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งรูป...

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาคืออะไร เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนา เกิดแต่จักษุสัมผัส (ตากระทบกับรูป) โสตสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมีเพราะเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.... เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งเวทนา

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาคืออะไร สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ ความจำหมายในรูป ความจำหมายในเสียง ความจำหมายในกลิ่น ความจำหมายในรส ความจำหมายในโผฏฐัพพะ ความจำหมายในธรรมารมณ์.... นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.... เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งสัญญา

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารคืออะไร เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ สัญเจตนา (ความจงใจมุ่งหวังอย่างแรง) ในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรมารมณ์.... นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.... เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งสังขาร

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณคืออะไร วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ ความรับรู้อารมณ์ทางตา...ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น..ทางกาย...ทางมโน...นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.... เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ”

ปริวัฏฏสูตร


🔅 วิธีพิจารณา ขันธ์ ๕
ปัญหา พุทธศาสนิกชนควรจะรู้จักขันธ์ ๕ ในด้านไหนบ้างและควรเพ่งพินิจขันธ์ ๕ คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่ายอดบุรุษผู้เสร็จกิจ.... ฐานะ ๗ ประการเป็นอย่างไร
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

รู้ชัดซึ่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
เหตุเกิดแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
คุณแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
โทษแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณฯ

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง
โดยความเป็นอายตนะประการหนึ่ง
โดยเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง

อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ”

สัตตัฏฐานสูตร