แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่๔ จิตคืออะไร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่๔ จิตคืออะไร แสดงบทความทั้งหมด

๔. เจตสิกกลุ่มที่ ๓

เจตสิกกลุ่มที่ ๓ เรียกว่า โสภณเจตสิก เจตสิกฝุายดี แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ
ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง
ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง
ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง
ง. ปัญญินทรียเจตสิก มี ๑ ดวง

โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกฝ๋ายดีงามจะเข้าประกอบจิตปรุงแต่งจิตเฉพาะจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นหรือเกิดขึ้นในขณะที่จิตใจของคนที่ทำดี พูดดี คิดดี มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นต้น มีรายละเอียดดังนี้

ก. โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวงโสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ จะเข้าประกอบกับจิตที่เป็นกุศลเช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โสภณสาธารณเจตสิกจะเกิดประกอบกับโสภณจิต โสภณจิตได้แก่ มหากุศลจิต๘ มหาวิปากจิต๘ มหากิริยาจิต๘ รูปาวจรจิต๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต๘ หรือ ๔๐ ดวง

โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. ศรัทธา เป็นธรรมชาติที่มีความเชื่อ มีความเลื่อมใส เมื่อศรัทธา เกิดขึ้นแล้วย่อมเสมือนเป็นหัวหน้านำไปสามารถให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้ ทำให้จิตใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นธรรมชาติที่เป็นฝ่ายกุศลธรรมฝ่ายเดียวเท่านั้น
๒. สติ เป็นธรรมชาติที่มีความระลึกได้ สติจะระลึกและใคร่ครวญธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูล (กุศลธรรม) สิ่งใดเป็นธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล (อกุศลธรรม) แล้วสามารถเลือกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม ละทิ้งอกุศลธรรมได้ สติที่เป็นสัมมาสติเป็นส่วนหนึ่งแห่งองค์มรรคด้วย ดังนั้นสัมมาสติคือความระลึกชอบจะสามารถนำให้ออกไปจากทุกข์ได้ สติเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเพราะตั้งมั่นในอารมณ์ และเหมือนนายประตูเพราะคอยรักษาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ เป็นต้นไว้ได้ กล่าวคือเมื่อสติเกิดขึ้นได้ขณะดู ฟัง เป็นต้น ก็จะไม่ทำให้อกุศลธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีการเห็น การได้ยินนั้นเองเป็นเหตุเพราะมีสตินั้นเองเป็นผู้รักษาเหมือนนายประตูที่คอยตรวจตราผู้ที่จะผ่านไปมา
๓. หิริ เป็นธรรมชาติที่มีความละอายต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย ละอายต่อการประกอบอกุศลกรรมทั้งปวง ละอายต่อการทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
๔. โอตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว สะดุ้งกลัว หวั่นเกรงต่อบาป เมื่อคิดจะกระทำความชั่วไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก เมื่อเกิดความเกรงกลัวต่อผลของบาปนั้น ก็จะหยุดการทำชั่ว หิริ และ โอตตัปปะ มีสภาพที่คล้ายกัน จะเปรียบเทียบธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ดังนี้

๕. อโลภะ เป็นธรรมชาติที่ไม่โลภ ไม่ติดใจในกามคุณอารมณ์ ไม่กำหนัดยินดีในอารมณ์ ไม่หวงแหนในทรัพย์และคุณความดี สภาพของอโลภะที่มีความไม่ติดอยู่ในอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนหยาดน้ำที่ไม่ติดอยู่บนใบบัว
๖. อโทสะ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความดุร้าย ไม่แค้นเคือง ไม่อาฆาต มีความอดทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ มีความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
๗. ตัตตรมัชฌัตตตา (อ่านว่า ตัด-ตระ-ระ-มัด-ชัด-ตะ-ตา) เป็นธรรมชาติที่เป็นกลางที่ทำให้จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะนั้น ทำกิจของตนๆโดยสม่ำเสมอ เหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยที่วิ่งเรียบไปฉะนั้น
๘.-๙. กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ (อ่านว่า กา-ยะ-ปัด-สัด-ธิ, จดิ-ตะ-ปัด-สัด-ธิ) กายปัสสัทธิ เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) เช่น ขณะที่ใส่บาตรความทุกข์ใจที่เคยมีมาก่อนก็ สงบไป การปรุงแต่งจิตใจในขณะนั้นก็ไปเป็นในการงานกุศล สงบจากความเร่าร้อน จิตตปัสสัทธิ เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้จิต (วิญญาณขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้มีลักษณะ คือเมื่อเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้วทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความเร่าร้อน คือมีหน้าที่กำจัดความเร่าร้อนออกไป เสีย
๑๐.-๑๑. กายลหุตา จิตตลหุตา กายลหุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความ เบาให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตลหุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเบาให้จิตในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ การทำให้จิตและเจตสิกนี้บรรเทาจากความหนัก เมื่อเจตสิกนี้เกิดขึ้นมีหน้าที่กำจัดความหนักของจิตและเจตสิก ฉะนั้น กายลหุตาและจิตตลหุตาเจตสิกนี้ จึงหมายถึงอาการแห่งภาวะที่เบา ความเบานี้มีความหมายว่า ธรรมเหล่านี้เปลี่ยนไปได้เร็ว คือ สามารถเปลี่ยน โดยฉับพลันจากภาวะที่จิตยังหนักอยู่ด้วยเพราะมีกิเลส ไปเป็นสภาพจิตที่เป็น กุศลได้ทันที เช่น ในขณะที่จิตมีถีนมิทธะ (หดหู่ท้อถอย) เข้าครอบงำ เมื่อกายลหุตาจิตตลหุตาเข้าประกอบกับจิตที่เป็นมหากุศลแล้ว ก็สามารถขับไล่ความหดหู่ความง่วงนอนนั้นให้หมดไปได้ในขณะนั้น
๑๒.-๑๓. กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายมุทุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความ อ่อนให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตมุทุตา คือ ธรรมชาติที่ทำความอ่อนให้จิตในการงานอันเป็นกุศล ทำให้จิตอ่อนโยนรับอารมณ์อันเป็นกุศลได้ง่าย เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ ทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความกระด้าง มีหน้าที่ยับยั้งทำให้ความกระด้างของจิตและเจตสิกไม่ให้ เกิดขึ้น
๑๔.-๑๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-กัม-มัน-ยะ ตา) กายกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเหมาะควรแก่การงานทำให้ เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเหมาะควรแก่การงานอันเป็นกุศลให้จิต เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ มีการทำให้จิตและเจตสิกเข้าสู่สภาวะที่สงบจากความที่ไม่ควรแก่การงาน มีหน้าที่คือกำจัดความไม่ควรแก่การงานของจิตและเจตสิก
๑๖.-๑๗. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-ปา-คุน-ยะ-ตา) กายปาคุญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล จิตตปาคุณญตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตคล่องแคล่วในการงานอันเป็นกุศล เจตสิก ทั้ง ๒ ดวงนี้ มีสภาพทำให้จิตเข้าถึงสภาวะที่คล่องแคล่ว มีหน้าที่คือ กำจัดความไม่คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล ๑๘.-๑๙. กายุชุกตา จิตตุชุกตา (อ่านว่า กา-ยุ-ชุ-กะ-ตา) กายุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ มีความชื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล จิตตุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต มีความซื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ มีความซื่อตรงของจิตและเจตสิก มีหน้าที่กำจัดความไม่ซื่อตรงของจิตและเจตสิก

สรุป โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวงนี้เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิต กลุ่มที่เป็นโสภณจิต คือประกอบกับจิตที่ดีงาม ซึ่งเป็นจิตฝ่ายดีที่ควรอบรมสั่งสมให้เกิดมีขึ้นในตนเองหรือในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ

ข. วิรตีเจตสิก วิรตีเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้งดเว้นจากการทำบาปอกุศลทั้งหลาย
การงดเว้นมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. เว้นจากการทำบาป โดยอัธยาศัยเพราะมีจิตเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย
๒. เว้นจากการทำบาป ตามกำหนดเวลาเช่น การสมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ในวันพระจึงงดเว้น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น
๓. เว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล

วิรตีเจตสิกมี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมัตตะ สัมมาอาชีวะ มีรายละเอียดดังนี้
๑. สัมมาวาจา คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จาก การทำอกุศลทางวาจา คืองดเว้นจากการพูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ เป็นการงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ในชีวิตประจำวันทั่วไปก็ไม่พูดโกหก หรือส่อเสียดใครๆ ไม่พูดคำหยาบ ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ
๒. สัมมากัมมันตะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทำอกุศลทางกาย คืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นการงดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ไม่พักผ่อนหย่อนใจด้วยการตกปลา เพราะเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น
๓. สัมมาอาชีวะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เป็นการงดเว้นการทำบาปทางกาย ทางวาจา ในการประกอบอาชีพ เช่น ไม่ประกอบ อาชีพฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ค้ากาม ทำการงานอาชีพอย่างสุจริตไม่โกหก หลอกลวง เป็นต้น สรุป วิรตีเจตสิกจะเข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกามาวจรกุศล ในกุศลทั่วไป นั้นวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ จะเข้าประกอบกับจิตได้ครั้งละดวงเท่านั้น ไม่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้พร้อมกันทีเดียว ๓ ดวง กล่าวคือขณะที่งดเว้นการพูดปดที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ ในขณะนั้นจะมีสัมมาวาจาเจตสิกเข้า ประกอบกับกามาวจรกุศลจิต แต่จะไม่มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าประกอบเป็นต้น วิรตีเจตสิกที่ประกอบในจิตของปุถุชน จะเกิดได้ทีละดวงเท่านั้นและไม่แน่นอน แต่ถ้าประกอบกับจิตของพระอริยบุคคล จะเกิดประกอบกับจิต พร้อมกันทั้ง ๓ ดวงและแน่นอนด้วย เพราะวิรตี ๓ เป็นองค์มรรคด้วย
ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ คือ กรุณาเจตสิก มุทิตาเจตสิก
๑. กรุณา คือธรรมชาติที่เป็นความสงสาร เป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความสงสารในสัตว์โลกทั้งหลาย หวั่นไหว นิ่งอยู่ไม่ได้เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้รับความทุกข์จากภัยต่างๆ หรือได้รับทุกข์จากการสูญเสียทรัพย์สมบัติ ทนไม่ได้กับความทุกข์ที่ผู้อื่นกำลังได้รับ หรือจะได้รับความทุกข์ในกาล ข้างหน้า มีความต้องการให้เขาพ้นไปจากความทุกข์
๒. มุทิตา คือธรรมชาติที่เป็นความยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นกำลังได้รับความสุข ปรารถนาให้เขาเหล่านั้นมีความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้นในชีวิตประจำวันถ้าเห็นคนยากจนหรือคนขอทานกำลังได้รับความทุกข์หรือได้รับความอดอยาก ถ้าใจเกิดความกรุณา ก็อาจจะสละทรัพย์ หรือ สิ่งของเพื่อทำให้เขาบรรเทาจากทุกข์นั้น ขณะนั้นกุศลจิตมี กรุณาเจตสิก เกิดประกอบ หรือในชีวิตประจำวันถ้าได้พบบุคคลที่ประสบกับความสุขความสมหวัง ถ้าใจเกิดมุทิตาก็จะพลอยยินดีในความสุขสมหวังนั้น ปรารถนาให้เขาได้รับความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขณะนั้นกุศลจิต มีมุทิตาเจตสิกเกิดประกอบ บุคคลทั้งหลายถ้าทำให้กรุณาและมุทิตาเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญพรหมวิหารธรรม จิตใจจะมีความอ่อนโยนเป็นสมาธิ ผู้เจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม จะทำให้มีความสุขปราศจากทุกข์และศัตรู มีความสุขทั้ง หลับและตื่น มีเทวดารักษา เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ไฟ ยาพิษ และอาวุธไม่กล้ำกรายมาถึง ทำให้สีหน้าผ่องใสเมื่อใกล้ตายก็มีจิตผ่องใส เข้าถึงสุคติภพ

ง. ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง คือ ปัญญาเจตสิก
๑. ปัญญาเจตสิก คือธรรมชาติที่รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง ใคร่ครวญ ปัญญานี้จัดเป็นอินทรีย์ด้วย จัดเป็นพละด้วย มีบทเปรียบเทียบปัญญาไว้หลายประการ คือ ปัญญาเหมือนอาวุธ เหมือนแสงสว่าง เหมือนแผ่นดิน เหมือนดวงแก้ว เป็นต้น

จำแนกปัญญาปัญญา ๒ มี ๒ประเภท
๑. โลกียปัญญา ปัญญาที่ยังข้องอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔

ปัญญา ๓ มี ๒ภาค ก,ข
ปัญญา ๓ (ก)
๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หรือพระไตรปิฎก
๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการนำเอาสิ่งที่ศึกษามาแล้ว มาคิดพิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริง
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ปัญญา ๓ (ข) ๑. กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นกำเนิดบุคคลทั้งหลายทำกรรมดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนทั้งนั้น เช่น บุคคลใดลักขโมยทำลายทรัพย์เขา ผลของอกุศลนั้นย่อมทำให้ทรัพย์ของเขาพินาศไป ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมก็จะเข้าใจความเป็นไปของชีวิตตนและบุคคลทั้งหลายได้
๒. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน จะเกิดกับผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ จะมีความเข้าใจชัดในรูปนาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจว่ามีลักษณะ เปลี่ยนแปลงไม่มั่นคง และบังคับบัญชาไม่ได้ ตกอยู่ในกฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๓. โลกุตตรปัญญา ปัญญารู้ในอริยสัจ ๔ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้รู้ แจ้งแทงตลอดในความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ได้แก่
๓.๑ ทุกขสัจ รู้แจ้งว่ารูปนามเป็นทุกข์มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สามารถจะทนอยู่ ในสภาพเดิมได้ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ การแก่เจ็บตายก็เป็นทุกข์ เป็นต้น
๓.๒ สมุทัยสัจ รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัวโลภเจตสิก หรือ ตัณหาคือความยินดีพอใจ ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกหาที่สิ้นสุดไม่ได้
๓.๓ นิโรธสัจ ปัญญาที่เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือนิพพาน เป็นการดับสนิทของตัณหาอันเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์และการเวียนเกิดเวียนตาย
๓.๔ มรรคสัจ การรู้แจ้งทางให้ถึงซึ่งนิพพาน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น

ปัญญานั้นมีการส่องสว่างเป็นลักษณะ เหมือนกับการตามประทีปไว้ในที่มืด ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏธรรมดา แสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งที่ควรทำและไม่ควรทำ ทั้งเลวและ ประณีต ทั้งดำและขาว ทั้งที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เช่นเดียวกับหมอผู้ ฉลาดย่อมรู้จักเภสัชอันเป็นที่สบายและไม่สบายแห่งคนไข้ทั้งหลายฉะนั้น


เจตสิกกลุ่มที่ ๒ หน้า ๒


อ่านหน้าที่แล้ว


ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ


๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิกคือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)
ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ
สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน


๓. เจตสิกกลุ่มที่ ๒


เจตสิกฝ่ายไม่ดีเรียกว่า อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ

ก. โมจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ข. โลติกเจตสิก มี ๓ ดวง
ค. โทจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ง. ถีทุกเจตสิก มี ๒ ดวง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก มี ๑ ดวง

อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว บาป หยาบ ไม่งาม ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิต จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตชั่ว หยาบ เป็นบาป เป็น จิตที่ไม่ดี เศร้าหมอง เร่าร้อน 

ก. โมจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความหลง ได้แก่
๑. โมหเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เป็นความหลง ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ โมหะเมื่อ เกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้ลุ่มหลง โมหะจัดเป็นอวิชชาเพราะเป็นศัตรูกับวิชชา หรือเพราะรู้แต่ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เมื่อโมหะเกิดขึ้นย่อมปล้น กุศลจิต ปิดกั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและปิดกั้นพระนิพพาน โมหะจัดเป็น มูลเป็นรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งปวง

๒. อหิริกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อหิริกะนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายใน ๔ ประการ คือ
        ๒.๑ ไม่พิจารณาถึงชาติ เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีชาติสมบูรณ์
การประพฤติทุจริตต่างๆ นี้เป็นการกระทำของพวกคนเลวคนต่ำทราม บุคคลเมื่อไม่พิจารณา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่าง หนึ่งให้สำเร็จได้ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
ทางกาย ๓ คือ ฆ่า สัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดทางกาม
ทางวาจา ๔ คือ โกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ
ทางใจ ๓ คือ เพ็งเล็งอยากได้ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
        ๒.๒ ไม่พิจารณาถึงวัย เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้อยู่ในวัยกลางคน , วัยสูงอายุ การทำความชั่วทั้งหลายไม่ควรเกิดขึ้นกับคนวัยเช่นเรานี้ เมื่อ ไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จได้
        ๒.๓ ไม่พิจารณาถึงความแกล้วกล้า เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้ที่แกล้วกล้า , มีความสามารถ การประพฤติความชั่วเป็นการกระทำของคนที่ไม่มี ความสามารถ เมื่อไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้
        ๒.๔ ไม่พิจารณาถึงความคงแก่เรียน เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทาง ธรรม การกระทำความชั่วนี้เป็นการกระทำของคนอันธพาล ไม่ใช่การกระทำของคนฉลาด เมื่อไม่พิจารณาว่าการกระทำความชั่วเช่นนี้ไม่สมควรแก่ผู้คงแก่เรียนผู้ฉลาดเช่นเรา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้

๓. อโนตตัปปเจตสิก คือธรรมชาติที่ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อโนตตัปปะเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายนอก ๒ ประการ คือ
        ๓.๑ ไม่เกรงกลัวต่อการติเตียนของผู้อื่นจึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นได้
        ๓.๒ ไม่เกรงกลัวต่ออบาย มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัชฉาน บุคคลเมื่อไม่กลัวภัยในอบาย จึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆ ให้ประจักษ์แก่ สายตาของผู้อื่นได้

๔. อุทธัจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความฟุูงซ่าน ความไม่สงบใจ มี ความพลุ่งพล่านไปในอารมณ์ จิตที่มีอุทธัจจเจตสิกปรุงแต่งจะมีสภาพ เหมือนกับขี้เถ้าที่ฟุ้งกระจายเพราะถูกลมพัด
สภาวธรรมของโมจตุกกะเจตสิก ๔ ที่ปรากฏ มีข้อสังเกตได้ดังนี้
ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล พึงทราบว่าขณะนั้น มีโมหะ(อวิชชา) คือ ความไม่รู้เกิดขึ้น และมีอหิริกะคือความไม่ละอายเกิดขึ้น และมีอโนตตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อบาปเกิดขึ้น และมีอุทธัจจะคือความฟุูงซ่านกระวนกระวายใจเกิดขึ้นร่วมกันทั้งหมดแล้ว เมื่อศึกษาลักษณะต่างๆของเจตสิกฝ่ายอกุศลนี้แล้ว จึงควรฝึกพิจารณาฝึกสังเกตก็จะพบความจริงของสภาวธรรม ได้ด้วยตนเอง ถ้าพิจารณาได้ถูกสังเกตได้ชัดแจ้งตรงกับความจริงที่กำลังปรากฏก็นับว่าท่านกำลังเจริญวิปัสสนา ถ้าปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ปรากฏเกิดขึ้นกับท่านอยู่เนืองๆเสมอๆ วันหนึ่งท่านก็จะหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม เพราะท่านได้เห็นความจริงของรูปนามได้ด้วยตัวท่านเองแล้ว

สรุป โมจตุกเจตสิก ๔ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เป็นเจตสิกที่เป็นสาธารณะแก่ อกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด และโมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ นี้ ก็เกิดรวมได้ในคราวเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด ๔ ดวง

ข. โลติกเจตสิก ๓ กลุ่มของความโลภได้แก่
๑. โลภเจตสิก เป็นธรรมชาติที่โลภ อยากได้ในอารมณ์ ๖ และมีความ ติดข้องในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ความพอใจในความสวยงามของเรือนร่าง,ในน้ำเสียง อุปมาแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยวย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรฉันใด อกุศลธรรมคือ โลภะก็ฉันนั้น ย่อมนำพาไปสู่อบายอย่างเดียว โลภะนั้นมีลักษณะที่ละเอียดอ่อนจนบางครั้งไม่ทราบเลยว่าโลภะกำลังเกิดขึ้นเช่น ความเยื่อใย,ความห่วงใย,ความผูกพัน,ความหวัง,ความกระหยิ่มใจ เหล่านี้ถ้าพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีโลภะเป็นเหตุอยู่ด้วย ฉะนั้น โลภะ จึงเป็นส่วนของโอฆะ โยคะ
คันถะ อุปาทาน นิวรณ์ และ อนุสัย (รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๘)

๒. ทิฏฐิเจตสิก ในฝ่ายอกุศลนี้มุ่งหมายถึง มิจฉาทิฏฐิ คือ ภาวะของ จิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง มีความเห็นที่แย้งต่อความสัมมาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทำบุญทำบาปไม่มีผลไม่ต้องรับผล บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ จะมีความยึดมั่นในความเห็นผิดนั้นว่าถูก เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ
๑. การได้ฟังอสัทธรรม
๒. การมีมิตรชั่ว
๓. ไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะเจ้า
๔. มีอโยนิโสมนสิการ

๓. มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาดที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ำกว่าคนอื่นบ้าง ความคิดเช่นนี้ทำให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่จะเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย เช่นขอทาน

สรุป โลติกเจตสิก ๓ โลติกเจตสิก ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ จะประกอบกับจิตดังนี้ โลภเจตสิกจะประกอบในโลภมูลจิต ๘ คือ ในขณะใดที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ขณะนั้นโลภเจตสิกก็เกิดประกอบในจิตแล้ว ส่วนทิฏฐิเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ คือในขณะ ที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ด้วยตนเอง ก็จะมีโลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิกประกอบกับจิต เช่น นึกอยากทานอาหารที่มีรสอร่อยถูกใจ มานเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ เป็นบางคราว

ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ

๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิก คือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
        ๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
        ๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
        ๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
        ๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
                ๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
                ๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
        ๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ

สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)

ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ

สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง

จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน



๒. เจตสิกกลุ่มที่ ๑

เจตสิกกลุ่มที่ ๑​ อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มี ๗ ดวง​
ข. ปกิณณกเจตสิก มี ๖ ดวง
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงได้แก่
๑. ผัสสเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง จะเข้าปรุงแต่งกับจิตทุกๆ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกแต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับการกระทบ คือรับกระทบสิ่งที่มาปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กล่าวคือ รับภาพที่มากระทบกับตา รับเสียงที่มากระทบกับหู รับกลิ่นที่มากระทบกับจมูก รับรสที่มากระทบกับลิ้น รับความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึงที่มากระทบกับกาย และรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นแล้วทำให้มีการประชุมพร้อมกันของปัจจัยธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ อารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ผัสสเจตสิกจึงมีหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ดังนี้
    ๑.๑ ประสาน อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องราวต่าง ๆ
    ๑.๒ ประสาน วัตถุ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ๑.๓ ประสาน วิญญาณ ๖ ได้แก่ ธรรมชาติที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด

ในมิลินทปัญหาได้เปรียบเทียบหน้าที่ของผัสสะไว้ว่า อุปมาเช่นแพะ ๒ ตัวชนกัน จักษุเหมือนแพะตัวที่หนึ่ง รูปเหมือนแพะตัวที่สอง ผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้ง ๒ ตัว ผัสสะจึงมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประสานเป็นหน้าที่ ผัสสเจตสิกเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้นการรับอารมณ์ก็ไม่มีตามไปด้วย เช่น มีภาพมากมายที่มีอยู่ด้านหลังของเรา แต่การรับอารมณ์คือภาพที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรานั้นย่อมไม่ปรากฏเลยเพราะผัสสะยังไม่เกิด(ตายังไม่กระทบ) ต่อเมื่อเราหันหน้าไปยังภาพนั้นและเห็นภาพนั้น ผัสสะย่อมเกิดขึ้นและนาอารมณ์คือภาพนั้นมาสู่การรับรู้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าผัสสเจตสิกเมื่อเกิดย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น

๒. เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้รสแห่งอารมณ์ คือรับรู้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง(อุเบกขา) คือไม่สุข ไม่ทุกข์ เวทนาที่จัดไว้ ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา และเวทนาที่จัดไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา อธิบายเวทนา ๕ ดังนี้สุขเวทนา คือ ความสบายทางกาย การได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง) ที่ดีพอเหมาะทาให้กายเป็นสุข มีความสบายทางกาย เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะสุขเวทนาทางกายก็เกิดขึ้นได้ทุกขเวทนา คือ ความไม่สบายทางกาย ได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่พอดีไม่เหมาะทาให้กายเป็นทุกข์โสมนัสเวทนา คือ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจโทมนัสเวทนา คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอุเบกขาเวทนา คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ เป็นการรับรสอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นกลางๆ มีความสงบ ความสงบทางใจนี้ไม่มีปีติประกอบ พึงสังเกตว่าเมื่อรู้สึกเฉยๆ โดยที่ใจไม่มีปีติขณะนั้นใจเป็นอุเบกขา เกิดได้ทั้งกำลังทำกุศลและอกุศล เช่น รับประทานอาหารด้วยโลภะ รสชาติอาหารก็ไม่ได้ทำให้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขณะนั้นจิตเป็นโลภะมีเวทนาเป็นอุเบกขา หรือการทำกุศล เช่น การใส่บาตรที่หน้าบ้านทุกวัน ซึ่งเป็นอารมณ์เดิมทุกๆ วัน บางครั้งจิตเป็นกุศลที่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
สรุปว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ไม่ดี อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ

๓. สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จำ เช่น เด็กเล็ก จำ ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก ผู้ใหญ่จำเรื่องราวต่างๆ ได้ เป็นต้น ทั้งคนและสัตว์จะจำใน ๖ สิ่ง คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและจำเรื่องราวที่คิดนึกทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

๔. เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือการประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมเอาไว้แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญบาป เจตนาที่ได้กระทำสำเร็จแล้วในกุศลและอกุศล จะส่งผลให้เมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลของกรรมที่ได้ทำไว้ คือ เจตนาในกุศลกรรมนำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เจตนาในอกุศลกรรมนำให้เกิดในอบายภูมิ เจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็น กรรม คือ การกระทำดี หรือไม่ดี นั่นเอง

๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์มี ๖ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น เอกัคคตาเจตสิกจะทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปในภาวะต่างๆ เปรียบเหมือนการดำรงอยู่แห่งเปลวไฟของดวงประทีปในที่สงัดลม

๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงรักษานามธรรม คือจิตและเจตสิกให้มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว คำว่า “ชีวิต” มี ๒ อย่าง คือ ชีวิตนาม และ ชีวิตรูป ชีวิตนาม ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนี้เอง ส่วนชีวิตรูปจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องรูปปรมัตถ์

๗. มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่น้อมจิตใจไปสู่อารมณ์ มนสิการ มี ๓ อย่าง คือ
๗.๑ การน้อมไปในอารมณ์ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวารวิถี เรียกว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ
๗.๒ การน้อมไปในอารมณ์ที่เกิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางใจ คือ มโนทวารวิถี เรียกว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ
๗.๓ ทำให้อารมณ์เป็นไป หมายความว่า ทำให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทำให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้ เรียกว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ

สรุป
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เจตสิกทั้ง ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตาชีวิตินทรีย์ มนสิการ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ทุกดวง จึงได้ชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก


ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทั่วไปได้แก่
๑. วิตกเจตสิก
๒. วิจารเจตสิก
๓. อธิโมกข์เจตสิก
๔. วิริยเจตสิก
๕. ปีติเจตสิก
๖. ฉันทเจตสิก

ปกิณณกเจตสิก แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. วิตกเจตสิก คือ ความตรึก ลักษณะของวิตกนั้นเกิดขึ้นทาให้มีการยกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันขึ้นสู่อารมณ์แสดงข้อเปรียบเทียบลักษณะของวิตกไว้ว่าบุรุษชาวบ้านบางคน เพราะอาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภหรือมิตรผู้มีความสัมพันธ์กับพระราชา จึงตามเข้าไปสู่พระราชวังได้ฉันใด จิตเพราะอาศัยวิตกเจตสิก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น-วิตก ถ้าประกอบกับอกุศลจิต จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ จะตรึกในอกุศล เป็นเหตุให้อกุศลธรรมนั้นเจริญ ตั้งมั่น เพราะว่าการตรึกนึกนั้นเป็นเหตุให้อกุศลนั้นมีกำลังมาก -วิตก ถ้าประกอบกับกุศลจิต จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ จะตรึกในกุศลยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความที่เป็นกุศล โดยที่เป็นการดาริ(ตรึก)ที่ตรงกับความจริง และเป็นความดำริ(ตรึก)ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ
๒. วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตรอง พิจารณา อารมณ์ โดยสภาวธรรมของวิตกและวิจารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่วิตกจะมีสภาพหยาบและเกิดขึ้นก่อน และทำให้จิตเข้าไปสู่อารมณ์ก่อน เปรียบเทียบดังนี้ วิตก เหมือนเสียงตีระฆัง วิจารมีสภาวะละเอียด เกิดตามหลังและเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจาร จึงเหมือนเสียงครวญของระฆัง หรืออุปมา เช่น บุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะที่เป็นสนิม เอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรงวิตกเปรียบเหมือนมือที่จับไว้ วิจารเปรียบเหมือนมือที่ขัด ความแตกต่างของวิตกและวิจาร จะปรากฏชัดในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ซึ่งจะได้ศึกษาต่อในเรื่องสมถกรรมฐาน
๓. อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจ เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดำเนินไปตามที่ตัดสินใจโดย
๔. วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม มีความอาจหาญในการงาน บุคคลที่มีวิริยะจะเป็นผู้ที่สามารถทำการงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ไม่ว่าจะยากหรือง่าย จะไม่คำนึงถึงความลำบากของตน จะประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ ในบางครั้งจิตของคนเราเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยในการทาความดี วิธีที่จะปลุกใจให้ทำความดีต่อไปนั้นให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ถ้านึกถึงความทุกข์ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย จะเกิด วิริยะ เพียรพยายามที่จะกระทำกุศลให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ กุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้เราพ้นทุกข์โดยไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น ไม่สามารถให้พ้นไปจากทุกข์ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ แต่การทำกุศลทางใจ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นมิจฉาวายามะ เพราะเพียรผิด
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาวายามะ เพราะเพียรถูก
๕. ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้กายและจิตเกิดความเอิบอิ่ม มีความปลื้มใจ มีความปราโมทย์ ปีติเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่ทำบุญทำกุศล เจริญสมาธิ หรือในขณะที่ยินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ปีติก็เกิดขึ้นได้ ลักษณะของปีติมี ๕ ประการ คือ
    ๕.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทำให้ขนลุก
    ๕.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะเกิดขึ้นเหมือนสายฟ้าแลบเป็นขณะๆ
    ๕.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติซึมซาบเกิดขึ้นในร่างกายแล้วแผ่กระจายเหมือนคลื่นกระทบฝั่งสมุทร
    ๕.๔ อุพเพงคาปีติ ปีติมีกำลัง สามารถยังกายให้ฟูแล้วลอยไปในอากาได้
    ๕.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านทั่วร่างกาย เหมือนสำลีที่ชุ่่มด้วยน้ำข้อเปรียบเทียบระหว่าง ปีติกับสุข ปีติ มีลักษณะ คือ มีความแช่มชื่นในอารมณ์ สุข มีลักษณะ คือ มีการได้รสแห่งอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนคนที่เดินทางไกลเหนื่อยล้า เมื่อพบเห็นน้ำ ปีติก็เกิดขึ้นมีความแช่มชื่นยินดีเพราะได้เห็นน้ำ ถ้าเขาได้ดื่มน้ำก็จะเกิดสุข
๖. ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปรารถนา คือปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ มี รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ฉันทะถึงแม้จะมีความปรารถนาในอารมณ์ ก็ไม่ได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลินกำหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยความต้องการจะให้สำเร็จประโยชน์นั้นๆ อุปมาเหมือนนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ย่อมปรารถนาลูกศรจำนวนมาก ถึงแม้นลูกศรที่ได้มาก็เพื่อการยิงออกไป ไม่ได้เก็บยึดรักษาลูกศรไว้เป็นของตน

ข้อแตกต่างระหว่างฉันทะกับโลภะ-ฉันทะ มีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ติดข้องในอารมณ์-โลภะ มีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วยทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วยการเข้าใจฉันทะและโลภะให้ถูกต้อง เป็นการฝึกให้เข้าใจถูกต้องในนามธรรม ย่อมเป็นประโยชน์เมื่อไปเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้นามและรูป การรู้จักนามก็ต้องรู้จักลักษณะของนาม การรู้จักรูปก็ต้องรู้จักลักษณะของรูป ฉะนั้นเมื่อศึกษาแล้วควรน้อมพิจารณาจิตใจของตนว่าขณะนี้เรามีนามธรรมชนิดใดเกิดขึ้น เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเจริญวิปัสสนา เรามีฉันทะที่จะเจริญวิปัสสนา หรือมีโลภะที่จะเจริญวิปัสสนา ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรามีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์(แสวงหาอารมณ์เพื่อการปฏิบัติธรรม) และสังเกตดูว่าเรายึดมั่นติดข้องในอารมณ์นั้นหรือไม่ ถ้าไม่ติดในอารมณ์นั้น นั่นก็แสดงว่าเรามีฉันทะในการเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าแสวงหาอารมณ์แล้วก็ชอบอารมณ์นั้น ชอบที่จะนั่งตรงที่เราเลือกแล้ว ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ หรือใครๆ จะมานั่งตรงที่ๆเราคิดว่าเป็นของเราไม่ได้ ไม่พอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าสภาวธรรมเป็นโลภะแล้ว เพราะโลภะมีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วย

สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทุกดวง



๑. เจตสิก ๕๒ ดวง

ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง (หรือ ๕๒ ลักษณะ) ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นขันธ์แล้วก็มี ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ บุคคลทั้งหลายเมื่อศึกษาเจตสิกธรรม ๕๒ ดวงนี้แล้ว ก็จะเข้าใจถึงสภาพตามความเป็นจริงที่จิตเป็นกุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้างเพราะว่า มีเจตสิกธรรมปรุงแต่งจิตนั่นเอง

เมื่อเข้าใจสภาพตามความเป็นจริงได้ถูกต้องก็จะสามารถเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้ขันธ์ทั้งหลายได้ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นบุคคลเมื่อจะเจริญวิปัสสนาควรศึกษาพระอภิธรรม เพราะพระอภิธรรมศึกษาในเรื่องปรมัตถ์ธรรมและปรมัตถ์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาก็จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อปัญญาในขั้นปริยัติยังไม่มี ปัญญาขั้นปฏิบัติและปฏิเวธย่อมมีไม่ได้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เปรต หรือ สัตว์เดรัจฉาน
เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง คือมีลักษณะเฉพาะๆตนถึง ๕๒ ลักษณะ แต่ทั้ง ๕๒ ดวงนี้ จะมีลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ ๔ ประการ

เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต

การทำงานของเจตสิก
จิตกับเจตสิก ทั้ง ๒ นี้ เป็นนามธรรมเหมือนกันจึงเข้าประกอบกันได้สนิท จิตอุปมาเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ไม่มีสี เจตสิกอุปมาเหมือนสีต่างๆ เมื่อเอาสีเขียวใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีเขียวไป เมื่อเอาสีแดงใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีแดง ทำให้เรียกชื่อว่า น้ำเขียว น้ำแดง เป็นต้น เมื่ออกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายไม่ดีเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็จะทำให้จิตนั้นกลายเป็นจิตที่ชั่วหยาบ เป็นจิตที่เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดีไปด้วย ถ้าเป็นกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายดี เข้าประกอบกับจิต ก็จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดี มีเมตตา กรุณา มีศรัทธา เป็นต้น

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น เห็นพระกำลังบิณฑบาต (จักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่เห็น) เจตสิกปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร เป็นต้น ในการนี้นับว่าการเห็นเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตก็ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลมีการใส่บาตร เป็นต้น

เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง(ดูตามภาพด้านบน) แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล เรียกว่า อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง
๒. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง
๓. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกุศล เรียกว่า โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง