แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่๓ ประเภทของจิต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่๓ ประเภทของจิต แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธ

๕. โลกุตตรจิต ๘ ดวง


โลกุตฺตร มาจากคำว่า โลก+อุตฺตร
โลก หมายถึง กามโลก (กามภูมิ) รูปโลก (รูปภูมิ) และอรูปโลก (อรูปภูมิ)
อุตฺตร หมายถึง เหนือ หรือพ้น ฉะนั้น คำว่า โลกุตตร จึงหมายถึงธรรมที่เหนือโลกทั้ง ๓ ธรรมที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ อันหมายถึง นิพพาน ดังนั้น โลกุตตรจิต จึงหมายถึง จิตที่มี นิพพานเป็นอารมณ์

โลกุตตรจิตนั้นมี ๒ ชาติ คือ ชาติกุศล เรียกว่า โลกุตตรกุศลจิต หรือ มรรคจิต มีจำนวน ๔ ดวง ชาติวิปาก เรียกว่า โลกุตตรวิปากจิต หรือ ผลจิต มีจำนวน ๔ ดวง เช่นกัน รวมเป็น โลกุตตรจิต ๘ ดวง

โลกุตตรกุศลจิต หรือมัคคจิต ๔ ดวง
โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่พ้นโลก เป็นจิตที่ประหาณอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน กล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
ดวงที่ ๑ โสดาปัตติมัคคจิต
ดวงที่ ๒ สกทาคามิมัคคจิต
ดวงที่ ๓ อนาคามิมัคคจิต
ดวงที่ ๔ อรหัตตมัคคจิต

โลกุตตรวิปากจิต หรือผลจิต ๔ ดวง
โลกุตตรวิปากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลของโล กุตตรกุศลจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก เป็นจิตที่ประหาณแล้วซึ่งอนุสัยกิเลส เป็นปฏิปัสสัทธิปหาน คือละได้โดยสงบ เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับลงแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันทันทีทันใด โดยไม่มีระหว่างคั่น คือ ไม่มีจิตใดเกิดขึ้นมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า “ อกาลิโก” เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาล รอเวลา ผลจิต ๔ เมื่อกล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
ดวงที่ ๑ โสดาปัตติผลจิต
ดวงที่ ๒ สกทาคามิผลจิต
ดวงที่ ๓ อนาคามิผลจิต
ดวงที่ ๔ อรหัตตผลจิต

เมื่อโสดาปัตติมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด โสดาปัตติผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็นโสดาบันบุคคล
เมื่อสกทาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด สกทาคามิผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น
สกทาคามีบุคคล
เมื่ออนาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อนาคามิผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น อนาคามีบุคคล
เมื่ออรหัตตมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อรหัตตผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น
อรหันตบุคคล


กิเลส ๓ ระดับ
กิเลสทั้งหมดจะเข้าประกอบเฉพาะกับอกุศลจิตเท่านั้น การประหาณกิเลสก็คือการประหาณอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้นเอง กิเลสแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ การประหาณกิเลสแต่ละระดับจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันดังนี้

๑. วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกายหรือทางวาจา กิเลสชั้นนี้ระงับไว้ได้ด้วยศีล สงบได้เป็นครั้งคราวขณะที่ยังมีการรักษาศีลอยู่ การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า ตทังคปหาน
๒. ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เกิดอยู่ภายในใจไม่ถึงกับแสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้สามารถข่มไว้ได้ด้วยอำนาจของสมาธิ (อัปปนาสมาธิ) เป็นเวลานานตราบเท่าที่สมาธิยังไม่เสื่อม การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
๓. อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของตนเอง และผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้นอกจากพระพุทธองค์เท่านั้น ต้องประหาณด้วยปัญญาในมัคคจิตทั้ง ๔ อันเป็นการประหาณได้โดยสิ้นเชื้อ และจะไม่กลับมีขึ้นอีก การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า
สมุจเฉทปหาน
การประหาณกิเลสของพระอริยบุคคล
โสดาปัตติมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความสงสัย ๑ ดวง
สกทาคามิมัคคจิต ประหาณกิเลสที่เหลือให้มีกำลังเบาบางลง
อนาคามิมัคคจิต ประหาณโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
อรหัตตมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และ โมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความฟุูงซ่าน ๑ ดวง
รวมมัคคจิต ๔ ดวง ประหาณอกุศลจิตได้ ๑๒ ดวง จึงไม่มีโอกาส เกิดขึ้นอีกเลย เพราะถูกประหาณอย่างสิ้นเชิงด้วยมัคคจิตทั้ง ๔ เหมือนกับ การถอนรากถอนโคนต้นไม้ ไม่มีโอกาสที่จะงอกขึ้นมาได้อีก


ผลของการประหาณกิเลส
๑. เมื่อโสดาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
โสดาปัตติผลจิต ก็เกิด ขึ้นกับบุคคลนั้นขึ้นมาทันที ชื่อว่าเป็น โสดาบันบุคคล หรือ เสขะบุคคล คือ บุคคลที่จะต้องศึกษาเพียรพยายามประหาณกิเลสส่วนที่เหลือต่อไปอีก ซึ่ง ต้องใช้เวลาอีกไม่เกิน ๗ ชาติ จึงจะประหาณกิเลสได้หมดแล้วจึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

โสดาบันบุคคล มี ๓ ประเภทคือ
ประเภทที่ ๑ เอกพีชีโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะเกิดอีกชาติเดียวก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว
ประเภทที่ ๒ โกลังโกลโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะต้องเกิดอีก ๒ -๖ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้านัก คือปานกลาง
ประเภทที่ ๓ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือ โสดาบันจะต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน

เหตุที่พระโสดาบันแบ่งเป็น ๓ ประเภท เนื่องจากการอบรมอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไม่เท่ากัน คือ อย่างแรงกล้า ปานกลาง และอย่างอ่อน อย่างไรก็ดี พระโสดาบันทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะไม่ไปเกิดใน อบายภูมิ ๔ ชื่อว่าได้ปิดประตูอบายได้อย่างแน่นอนแต่จะไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง ยังมีพระโสดาบันอีกประเภทหนึ่ง ที่มีอัธยาศัยยินดีพอใจในการ ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะจนครบ ๗ ชาติ เรียกว่า วัฏฏภิรตโสดาบัน จะไปเกิด ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น ตลอดจนถึงอกนิฏฐภูมิ เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี วิสาขามหาอุบาสิกา ท้าวสักกเทวราช เป็นต้น
๒. เมื่อสกทาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
สกทาคามิผลจิตย่อม เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ทำให้สำเร็จเป็นสกทาคามีบุคคล สามารถเข้าเสวย วิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากผลของการประหาณกิเลสของสกทาคามิมัคค จิต) ขณะเข้าผลสมาบัติได้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในมนุษยโลกอีกเพียงครั้งเดียว และสำเร็จเป็นพระอรหันต์

พระสกทาคามีบุคคล มี ๕ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๒ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๓ ผู้สำร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกไปเกิดบนเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต
ประเภทที่ ๔ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก มาเกิดในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๕ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก ไปเกิดบนเทวโลก แล้วกลับมาเกิดใน มนุษยโลกอีกครั้งหนึ่งทำความเพียรแล้วบรรลุพระอรหันต์

๓. เมื่อพระอนาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด อนาคามิผลจิตย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นทันที สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ซึ่งจะไม่มาเกิดใหม่ในมนุษยโลกอีก จะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา หรือจะไปเกิดในรูปภูมิ ๑๐ ที่นอกจากสุทธาวาส ๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๔

พระอนาคามีบุคคล มี ๕ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์แล้วนิพพานในกึ่งแรกของอายุในภูมินั้น
ประเภทที่ ๒ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์แล้วนิพพานในกึ่งหลังของอายุในภูมินั้น
ประเภทที่ ๓ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์โดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากแล้วนิพพาน
ประเภทที่ ๔ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ ต้องใช้ความเพียรมาก แล้วนิพพาน
ประเภทที่ ๕ พระอนาคามีเกิดในสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึง ชั้นที่ ๕ ตามลำดับ แล้วเข้านิพพานในชั้นที่ ๕ นั้น

๔. เมื่ออรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
อรหัตตผลจิต ก็จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นทันที บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นการประหาณกิเลสขั้นสุดท้าย คือโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความฟุูงซ่าน ๑ ดวง เป็นการประหาณอกุศลจิต ๑๒ ครบถ้วน อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีที่จะอาศัยเกิด (อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง จะประกอบกับอกุศลมูลจิต ๑๒ ดวง เท่านั้น)



พระอรหันต์
๑. พระอรหันต์ การเรียกชื่อพระอรหันต์ เรียกตามคุณลักษณะ มี ๔ ชื่อ
๒. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะของการหลุดพ้นจากอาสว กิเลส มี ๒ ประเภท
๓. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะระยะเวลาการสร้างบารมี มี ๓ ประเภท
๔. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะปัญญาที่รู้พิเศษ มี ๒ ประเภท
๕. พระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ที่บรรลุอภิญญา

๑. พระอรหันต์ เป็นการเรียกชื่อพระอรหันต์ตามคุณลักษณะ มี ๔ ชื่อ คือ
ชื่อที่ ๑. พระอรหันต์ หมายถึง ผู้บริสุทธิ์จากกิเลส
ชื่อที่ ๒. พระขีณาสพ หมายถึง ผู้สิ้นแล้วซึ่งอาสวกิเลส
ชื่อที่ ๓. อเสขบุคคล หมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ต่อไปอีก
ชื่อที่ ๔. วีตราคะ หมายถึง ผู้สำรอกราคะแล้ว

๒. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะของการหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี ๒ ประเภท
ประเภทที่ ๑ . ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการเจริญ วิปัสสนา
ประเภทที่ ๒. เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จโดยการเจริญสมถและวิปัสสนา

๓. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะระยะเวลาการสร้างบารมี มี ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑. พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการตรัสรู้ด้วย พระองค์เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
ประเภทที่ ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แต่สอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่ได้
ประเภทที่ ๓. พระอรหันต์สาวก ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการรู้ตาม คือรู้แจ้ง ตามความเป็น จริงตามปัญญาตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เฉพาะพระอรหันต์สาวกยัง แบ่งตามความสามารถออกได้อีก ๓ ประเภท คือ
๓.๑ ปกติสาวก หมายถึง พระสาวก หรือพระอรหันต์ ทั่วไป
๓.๒ มหาสาวก หมายถึง พระสาวกผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ๘๐ รูป และส่วนมากจะได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ(มีความเป็นเลิศ)ด้วย
๓.๓ อัคคสาวก หมายถึง อัคคสาวกเบื้องซ้ายและพระอัคคสาวกเบื้องขวา ซึ่งในพุทธศาสนาของพระสมณโคตมนี้ อัคคสาวกเบื้องซ้ายคือ พระโมคคัลลาน์ พระอัคคสาวกเบื้องขวาคือ พระสารีบุตร ซึ่งจะเห็นในโบสถ์ที่ยืนอยู่ด้านซ้าย และขวาของพระประธาน
๔. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะปัญญาที่รู้พิเศษ มี ๒ ประเภท
ประเภทที่ ๑. พระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในผลทั้งปวงที่มาจากเหตุ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในเหตุที่ทำไห้บังเกิดผล
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานในภาษาที่มาของผลและเหตุทั้งปวง
๔. ปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานในธรรม ๓ ประการข้างต้น มีความคล่องแคล่ว ว่องไว เฉียบแหลมคมคาย
ประเภทที่ ๒. พระอรหันต์ธรรมดา ผู้ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ดังกล่าวข้างต้น

๕. พระอรหันต์ ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์และสำเร็จคุณพิเศษคือได้อภิญญา
ด้วย คำว่า อภิญญามีทั้งอภิญญา ๓ และอภิญญา ๖ ( หรือเรียกว่า วิชา ๓ วิชา ๖) รายละเอียดดังนี้ อภิญญา ๖ คือ
๑.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๒.ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์และรู้ว่าตายแล้วไปเกิดที่ไหน
๓.อาสวักขยญาณ รู้วิธีทำกิเลสให้หมดไป
๔.ปริจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
๖. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้



วันอังคาร

๔. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

อรูปาวจรจิต คือ จิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์) ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้องเจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้

อรูปฌานชั้นที่ ๑ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๒​ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนาเอาฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปฌานชั้นที่ ๓​ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญวิญญานัญจายตนฌาน​ บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศนั้นไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆ แล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌานที่เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนจิต ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มีอากาสานัญจายตนฌานมาเป็นอารมณ์ อารมณ์เช่นนี้เรียกว่านัตถิภาว-บัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๔​ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น ส่วนองค์ฌานนั้นเหมือนกันทั้งหมด คือมีเพียงอุเบกขา กับเอกัคคตาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน (รูปฌานที่ ๕) ดังนั้น จึงถือว่า อรูปฌานเป็น ปัญจมฌาน ด้วย อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าอรูปฌานชั้นต่างๆ มีจานวน ๔ ดวง คือ ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต
๒.อรูปาวจรวิปากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต ซึ่งจะนาไปเกิดเป็นอรูปพรหมโลกชั้นต่างๆ ตามกาลังของอรูปาวจรกุศลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเช่นกัน คือ
ดวงที ๑​ คือ อากาสานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต
๓. อรูปาวจรกริยาจิต​ เป็นจิตที่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ ในขณะที่ท่านกาลังเข้าอรูปฌาน เพราะการกระทาใดๆ ของท่านไม่มีวิปากอีกต่อไป จึงเรียกจิตทุกประเภทที่เกิดกับพระอรหันต์ว่า กิริยาจิต ซึ่งแท้จริงแล้วอรูปาวจรกิริยาจิตนั้นก็คือ อรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง ดังนั้นอรูปาวจรกิริยาจิต จึงมี ๔ ดวง เช่นกัน คือ
ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต
อรูปาวจรจิต​ คือ จิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์) ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้องเจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้

อรูปฌานชั้นที่ ๑ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๒ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนาเอาฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปฌานชั้นที่ ๓ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญวิญญานัญจายตนฌาน​ บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศนั้นไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆ แล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌานที่เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนจิต ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มีอากาสานัญจายตนฌานมาเป็นอารมณ์ อารมณ์เช่นนี้เรียกว่านัตถิภาว-บัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน


อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น ส่วนองค์ฌานนั้นเหมือนกันทั้งหมด คือมีเพียงอุเบกขา กับเอกัคคตาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน (รูปฌานที่ ๕) ดังนั้น จึงถือว่า อรูปฌานเป็น ปัญจมฌาน ด้วย อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าอรูปฌานชั้นต่างๆ มีจานวน ๔ ดวง คือ ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต
๒.​ อรูปาวจรวิปากจิต​ เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต ซึ่งจะนาไปเกิดเป็นอรูปพรหมโลกชั้นต่างๆ ตามกาลังของอรูปาวจรกุศลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเช่นกัน คือ
ดวงที ๑​ คือ อากาสานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต
๓. อรูปาวจรกริยาจิต​ เป็นจิตที่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ ในขณะที่ท่านกาลังเข้าอรูปฌาน เพราะการกระทาใดๆ ของท่านไม่มีวิปากอีกต่อไป จึงเรียกจิตทุกประเภทที่เกิดกับพระอรหันต์ว่า กิริยาจิต ซึ่งแท้จริงแล้วอรูปาวจรกิริยาจิตนั้นก็คือ อรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง ดังนั้นอรูปาวจรกิริยาจิต จึงมี ๔ ดวง เช่นกัน คือ
ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต

การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ​ หรือสมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ​ มีรูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ รวม เรียกว่า สมาบัติ ๙ ถ้านับรูปฌาน ๔ ตามนัยแห่งพระสูตรก็จะเป็นรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ นั่นเอง ทั้งสมาบัติ ๙ หรือสมาบัติ ๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยศึกษามาแล้วในสำนักของดาบสทั้ง ๒ ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้ง ๒ มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพียงอย่างเดียวนั้น จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน หรือที่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได้

การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ​ หรือสมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ​ มีรูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ รวม เรียกว่า สมาบัติ ๙ ถ้านับรูปฌาน ๔ ตามนัยแห่งพระสูตรก็จะเป็นรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ นั่นเอง ทั้งสมาบัติ ๙ หรือสมาบัติ ๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยศึกษามาแล้วในสำนักของดาบสทั้ง ๒ ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้ง ๒ มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพียงอย่างเดียวนั้น จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน หรือที่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได้



วันจันทร์

๓. รูปาวจรจิต

รูปาวจรจิต​ หมายถึงจิตที่เป็นรูปฌานนั่นเอง ซึ่งเกิดจากการเจริญสมาธิ(สมถภาวนา) อธิบายคำว่า “ฌาน” คือ จิตมีการเพ่งในอารมณ์ ได้แก่เพ่งในอารมณ์กรรมฐาน มีการเพ่งกสิณเป็นต้น ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกของฌานคือ ธรรมที่คอยขัดขวางไม่ให้ฌานจิตเกิดขึ้น เรียกว่านิวรณ์ มี ๕ ประการ ได้แก่ 

๑. กามฉันทนิวรณ์ คือ ความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้องที่ดี เมื่อใดที่ไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตก็จะไม่สามารถเข้าถึงฌานได้ 
๒. พยาปาทนิวรณ์ คือ ความมุ่งปองร้ายผู้อื่น เปรียบเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้าจิตครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ฌานจิตก็จะเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ปีติข่ม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฌานจิตนี้ 
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น เปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าจิตใจเกิดความท้อถอยไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ที่กำลังเพ่งอยู่ ฌานย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้ วิตกข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้ 
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ ความฟุูงซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจยังนึกคิดในเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะไม่สามารถที่จะเข้าถึงฌานได้ ต้องใช้สุขข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้ 
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ เปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งไว้ ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงฌานไม่ได้ตราบนั้น ต้องใช้วิจารข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้เสีย เมื่อได้ข่มนิวรณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ธรรมที่ขัดขวางมิให้เกิดฌานได้เมื่อใด ฌานจิตจึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ ยังคงมีอยู่ประการใด ประการหนึ่งเพียงประการเดียวฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงสำคัญยิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียก ธรรม ๕ ประการนี้ว่า 

องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌาน จิต กล่าวคือ 
วิตก ทำหน้าที่ ข่มถีนมิทธนิวรณ์ 
วิจาร ทำหน้าที่ ข่มวิจิกิจฉานิวรณ์ 
ปืติ ทำหน้าที่ ข่มพยาปาทนิวรณ์ 
สุข ทำหน้าที่ ข่มอุทธัจจนิวรณ์ 
เอกัคคตา ทำหน้าที่ ข่มกามฉันทนิวรณ์



การข่มนิวรณ์ด้วยองค์ของฌานทั้ง ๕ มีดังนี้
๑. วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เช่นใช้ไฟมาทำกสิณ แล้วยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือการเพ่งดวงกสิณโดยไม่ให้ จิตใจไปนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ถ้าจิตนึกคิดเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะตกไป จากการเพ่งดวงกสิณต้องยกจิตขึ้นสู่การเพ่งใหม่ จิตจะต้องเพ่งอยู่กับดวงกสิณตลอดเวลา เมื่อจิตเกิดความท้อถอย ความง่วง (ถีนมิทธะ) ก็จะเข้า ครอบงำจิตใจได้ (วิตกเจตสิกข่มถีนมิทธเจตสิก)
๒. วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง เหมือนการถลาไปในอากาศของนก (วิตกเหมือนการกระพือปีกของนก)ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรทำจิตใจให้ตั้งมั่นไม่ให้เกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นในจิตใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานจริงหรือ ถ้าเกิดลังเลใจ(วิจิกิจฉา) จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
๓. ปีติ คือ มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์ที่เพ่ง ทำให้เกิด ความอิ่มเอิบใจและมีผลทำให้กายซาบซ่าน มีความฟูกายและใจ ผู้ปฏิบัติเมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ต้องประคองจิตให้มั่นโดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจย่อมเกิดขึ้น ขณะที่จิตมีปีติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่นั้น จะไม่มีความพยาบาทมุ่งร้ายหรือขุ่นเคืองใจเข้ามาแทรกแซงได้ ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
๓.๑. ขุททกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๓.๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
๓.๓. โอกกันติกาปีติ ปลาบปลื้มใจถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๓.๔. อุพเพงคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนตัวลอย
๓.๕. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ
ปีติที่เป็นองค์ฌานที่สามารถข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌานเพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อย
๔. สุข ในองค์ฌานหมายถึงความสุขใจหรือโสมนัสเวทนา เมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์แล้วประคองให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์จนปีติเกิดเช่นนี้แล้ว สุขก็ ย่อมเกิดตามมา ความสุขก็คือความสงบที่ปราศจากความฟุูงซ่านรำคาญใจนั่นเอง
๕. เอกัคคตา คือ จิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว คือจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ที่เพ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอกัคคตามี ๓ ระดับ คือ
๕.๑. ขณิกสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้ชั่วขณะ เป็นสมาธิขณะบริกรรมว่าเตโช ๆ เป็นต้น
๕.๒. อุปจารสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใกล้จะได้ฌาน
๕.๓. อัปปนาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นหรือแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ที่กำหนด ไม่ซัดส่ายไปไหน กิเลสไม่สามารถรบกวนได้ และอัปปนาสมาธิก็คือฌานจิตที่เป็นอัปปนาเกิดขึ้นแล้ว การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็น การประหาณไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม เปรียบประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อมนิวรณ์ก็ไม่มี โอกาสจะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็จะเสื่อมไปได้เมื่อนั้น
ประเภทแห่งฌาน ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทของฌานไว้ ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌานทั้ง ๕ ได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามนัยแห่งพระสูตร จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เหตุที่ทุติยฌานตามนัยแห่งพระอภิธรรมละวิตกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งต่างจากทุติยฌานตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎกที่ละวิตกและวิจารได้พร้อมๆกัน เป็นเพราะว่าการละวิตกและวิจารได้ในเวลาเดียวกันสามารถกระทำได้เฉพาะผู้ปฏิบัติที่เป็นติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) เท่านั้น เหตุนี้ตามนัยแห่งพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวม เป็นฌาน ๘ และเมื่อกล่าวโดยการเข้าฌานสมาบัติ จึงเรียกว่าสมาบัติ ๘ ส่วนตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๙ หรือสมาบัติ ๙ ปฐมฌานจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ครบทั้ง ๕ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สงบราบคาบ แต่หลังจากที่เข้าปฐมฌานได้อย่างชำนิชำนาญแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับฌานจิต ก็จะอ่อนกำลังลงจนไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้เพราะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของปฐมฌานจิต เมื่อมาถึงตอนนี้หากผู้ปฏิบัติต้องการได้ฌานที่สูงขึ้นไปก็
จะต้องละองค์ฌานเบื้องต่ำ อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข ตามลำดับ ฌานจิตก็จะเลื่อนสูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน

รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยการบำเพ็ญสมาธิหรือสมถภาวนา ในตอนแรกย่อมเป็นมหากุศลจิต แต่เมื่อเจริญภาวนาไปจนได้สมาธิแนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จิตจึงเปลี่ยนจากมหากุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต ที่เกิดพร้อมกับ องค์ฌาน ๕ มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๑ จิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกุศล (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกุศล (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
เป็นตติยฌานกุศล (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา
เป็นจตุตถ ฌานกุศล (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
เป็นปัญจมฌานกุศล(ฌานที่ ๕)
รูปาวจรวิปากจิต ๕ เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต ที่ทำหน้าที่นำเกิด (ปฏิสนธิ) ในรูปภูมิ คือเป็นจิตของรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง เท่ากับรูปาวจรกุศลจิตคือ
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็น ตติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานวิปาก
รูปาวจรกิริยาจิต ๕ เป็นจิตของพระอรหันต์ที่เข้าถึงรูปฌาน มีลักษณะเช่นเดียวกับรูปาวจร กุศลจิต แต่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์เท่านั้นจึงชื่อว่า รูปาวจรกิริยาจิตเพราะไม่มีผลเป็นวิปากจิตในอนาคต มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกิริยา



๒. กามาวจรจิต​ ๕๔ดวง

คำว่า กามาวจรจิต” มาจาก กาม+อวจร+จิต 
กาม หมายถึง อารมณ์อันเป็นที่ต้องการ หรือเป็นที่ปรารถนาของกิเลส ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์อันเป็นที่น่ายินดีน่าพอใจ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากามคุณอารมณ์ หรือ กามารมณ์
อวจร หมายถึง อาศัยอยู่หรือท่องเที่ยวไป
จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ฉะนั้น คำว่า กามาวจรจิต จึงมีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑. เป็นจิตที่รับหรือเกี่ยวข้องกับกามคุณอารมณ์
๒. เป็นจิตที่เกิดอยู่เป็นประจำในกามภูมิ ๑๑ ได้แก่ มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ อบายภูมิ ๔ กามาวจรจิตนี้เป็นจิตที่เป็นกุศลก็มี เป็นจิตที่เป็นอกุศลก็มี และเป็นจิตที่เป็นผลของบุญ เป็นผลของบาปก็มี การแสดงออกทางกาย วาจา ทั้งที่เป็นบุญ และบาป สำเร็จได้ก็เพราะกามาวจรจิตเป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น

กามาวจรจิตมีทั้งหมด ๕๔ ดวง แบ่งออกเป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง (ดูรูปประกอบ)



อกุศลจิต​ ๑๒​ดวง​ คือ​ จิตฝ่ายบาปที่เกิดด้วยอำนาจของความโลภ (โลภเหตุ) บ้าง ความโกรธ (โทสเหตุ) บ้าง โดยมีความหลง (โมหเหตุ) เป็น ผู้สนับสนุน
จิตประเภทนี้จะให้ผลเป็นความทุกข์ เพราะเป็นตัวการให้ กระทำบาปทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังต่อไปนี้
– การฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน
– ลักทรัพย์ขโมย ปล้น จี้ ชิงทรัพย์
– ประพฤติผิดในกาม
– พูดโกหกหลอกลวงผู้อื่น
– พูดยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นผิดใจกัน
– กล่าวคำหยาบคายด่าทอผู้อื่น
– พูดเพ้อเจ้อไร้สาระปราศจากประโยชน์
– มีความต้องการอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
– มีความโกรธ อาฆาต พยาบาท คิดประทุษร้าย หรืออิจฉาริษยาผู้อื่น
– มีความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อเรื่องผลของ บุญผลของบาป ไม่เชื่อว่าชาติหน้ามีจริง ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง
อกุศลจิตมีทั้งหมด ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น
๑.โลภมลูจิต ๘ ดวง (อ่านว่า โล-ภะ-มูล-ละ-จิต)
๒.โทสมลูจิต ๒ ดวง (อ่านว่า โท-สะ-มูล-ละ-จิต)
๓.โมหมลูจิต ๒ ดวง (อ่านว่า โม-หะ-มูล-ละ-จิต)
โลภมูลจิต ๘ โลภมูลจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโลภะเป็นมูลเหตุ โลภะเป็นเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดความยินดี พอใจและยึดติดในรูปที่สวย เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอม รสที่อร่อย การสัมผัสถูกต้องทางกายที่น่าอภิรมย์ ตลอดจนความยินดีพอใจและยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โลภมูลจิตเป็นจิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยโสมนัสคือความดีใจก็ได้ เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาคือรู้สึกเฉยๆก็ได้ ประกอบด้วยความเห็นผิดก็ได้ ปราศจากความเห็นผิดก็ได้ เกิดขึ้นเองก็ได้ หรือเกิดจากการชักชวนก็ได้ เมื่อจำแนกตามลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันแล้ว โลภมูลจิตจะมีอยู่ ๘ ดวง แต่ละดวงมีลักษณะเฉพาะดังนี้
โลภมูลจิตดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเอง
โลภมูลจิตดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดจากการชักชวน
โลภมูลจิตดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความดีใจ *ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเอง
โลภมูลจิตดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดจากการชักชวน
โลภมูลจิตดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเอง
โลภมูลจิตดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดจากการชักชวน
โลภมูลจิตดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเอง
โลภมูลจิตดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดจากการชักชวน
ที่กล่าวว่า *ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด คือ เชื่อเรื่องกรรม เชื่อเรื่องผลของกรรม เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง เชื่อว่าโลกนี้มี โลกหน้าก็มี เชื่อว่าเมื่อตายแล้วต้องเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่งแล้วแต่กรรมจะจัดสรร สัตว์อายุสั้นก็เพราะกรรม อายุยืนก็เพราะกรรม เกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวยก็เพราะกรรม มีปัญญาดีหรือโง่เขลาก็เพราะกรรม เป็นต้น แต่ที่ทำบาปลงไปก็เพราะกำลังของโลภมูลจิตมีมากกว่าจึงทำให้ขาดสติสัมปชัญญะไปบ้างในบางครั้ง ซึ่ง ต่างจากผู้ที่มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ที่คิดว่าชาติหน้าไม่มี บุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี กรรมและผลของกรรมก็ไม่มี ดังนั้นจึงกระทำบาปอกุศล ด้วยความประมาทอยู่เป็นประจำ
ตัวอย่างที่ ๑ นายดำเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดว่ากฎแห่งกรรมเป็นเรื่องไร้สาระ วันหนึ่งมีเพื่อนมาชวนไปขโมยเงินในตู้รับบริจาคที่วัดแห่งหนึ่ง นายดำเห็นดีด้วยจึงไปงัดตู้รับบริจาคกับเพื่อนด้วยความดีใจเพราะมีเงินอยู่ในตู้เป็นจำนวนมาก ขณะนั้นโลภมูลจิตดวงที่ ๒ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อกระทำกรรมดังกล่าว เพราะโลภมูลจิตดวงที่ ๒ เป็นจิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิดและเกิดโดยมีการชักชวน โลภมูลจิตนี้ เป็นต้นเหตุสำคัญในการสร้างภพสร้างชาติให้แก่บรรดาสัตว์ทั้งหลาย เพราะบาปอกุศลทั้งหลายมีโลภะอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น แม้กระทั่งโทสมูลจิตที่จะกล่าวถึงต่อไป จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะความไม่สมหวังของโลภะ เมื่อใดที่หมดความทะยานอยาก หมดความใคร่ หมดความปรารถนาในอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจแล้ว ความโกรธ ความเสียใจ ซึ่งเป็นอาการของความไม่สมหวังหรือความผิดหวังก็จะไม่มีอีกต่อไป
โลภมูลจิตเกิดได้กับปุถุชนครบทั้ง ๘ ดวง แต่เกิดกับพระเสกขบุคคล หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีเกิดได้เฉพาะโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวงเท่านั้น(หมายถึงดวงที่ ๓,๔,๗,๘ โลภมูลจิตทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลส อาการปรากฏของโลภมูลจิต ที่เกิดแก่บุคคลในภูมิต่างๆ มีดังนี้
๑. โลภมูลจิตของสัตว์เดรัจฉาน ย่อมอยากกิน อยากนอน และอยากสืบพันธุ์ เป็นต้น
๒. โลภมูลจิตของมนุษย์ ย่อมอยากเห็นสิ่งที่สวยๆงามๆ อยากได้ฟังเสียงที่ไพเราะ อยากได้ กลิ่นหอมๆ อยากได้ลิ้มรสที่อร่อยๆ อยากได้สัมผัสอันประณีต อยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขต่างๆ ตลอดจนความเป็นผู้มีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีอายุยืนยาว
๓. โลภมูลจิตของเทวดา ย่อมอยากได้ทิพยสมบัติยิ่งๆขึ้นไป และยินดีพอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอันประณีต
๔. โลภมูลจิตของพรหม ย่อมยินดีพอใจอยู่ในรูปกรรมฐาน ย่อมเสวยรสของปีติและสุขเป็นอาหาร หรือยินดีพอใจอยู่ในอรูปกรรมฐานดำรงมั่นอยู่ในอุเบกขาและเอกัคคตา
๕. โลภมูลจิตของพระโสดาบันและพระสกทาคามี ยังมีความยินดีพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา แต่น้อยกว่าปุถุชนทั่วไป เพราะมีโลภะ โทสะ โมหะ ที่เบาบางแล้ว และไม่เป็นไปด้วยความเห็นผิดอีกด้วย 
๖. โลภมูลจิตของพระอนาคามี ยังมีความยินดีพอใจในสุขอันเกิดจากการทำฌาน แต่ไม่มีความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอีกต่อไป

โทสมูลจิต โทสมูลจิต คือจิตที่เกิดขึ้นโดยมีโทสะเป็นมูลเหตุ โทสะเป็นเจตสิกธรรมที่เป็นประธานในการปรุงแต่งจิตให้เกิดความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความกลุ้มใจ ความเสียใจ ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่หวงแหน (มัจฉริยะ) ความรำคาญใจ (กุกกุจจะ) ความอาฆาต พยาบาท จองเวร จนถึงขั้นประทุษร้าย ฯลฯโทสมูลจิตนี้ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความไม่พอใจเสมอ เพราะเกิดจากการรับอารมณ์ไม่น่ายินดีและไม่น่าพอใจ เกิดขึ้นเองบ้าง ถูกผู้อื่นหรือสิ่งอื่นชักชวนให้เกิดบ้าง ฉะนั้นโทสมูลจิตจึงมี ๒ ดวง คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความไม่พอใจ
โทสมูลจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้นโดยมีการชักชวน พร้อมด้วยความไม่พอใจ
โทสมูลจิตจะเกิดขึ้นได้เอง เช่น ในขณะที่คิดพยาบาท อาฆาต มุ่งร้าย ปองร้ายผู้อื่น โทสมูลจิตดวงที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อรู้ข่าวการจากไปของคนใกล้ชิดก็จะร้องไห้เสียใจ หรือเมื่อได้ยินเสียงรถจักรยานยนต์ดังหนวกหูก็เกิดความรำคาญใจและด่าออกไป ก็ด้วยโทสมูลจิตดวงที่ ๒ โทสะนี้เป็นอนุสัยกิเลส คือเป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานมาตั้งแต่อดีตชาติแล้ว สัตว์ในอบายภูมิมีเดรัจฉานเป็นต้น ก็มีโทสะ มาเป็นมนุษย์ก็ยังมีโทสะ แม้ไปเป็นเทวดาก็ยังมีโทสะ ถึงแม้เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบันและพระสกทาคามีก็ยังมีโทสะเพียงแต่เบาบางลงเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไปเกิดเป็นพรหมโทสะจะถูกข่มเอาไว้ด้วยอำนาจของฌาน ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์จะไม่มีโทสะหลงเหลืออยู่เลย เพราะโทสะได้ถูกทำลายเป็นการถาวรแล้ว (สมุจเฉทปหาน)

โมหมูลจิต โมหมูลจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโมหะเป็นมูลเหตุ โมหะเป็นเจตสิกธรรมที่ปรุงแต่งให้เกิดความหลงผิดในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า โมหะนี้เป็นรากเหง้าแห่งบาปอกุศลทั้งปวง โมหมูลจิตมี ๒ ดวง คือ
โมหมูลจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความ*สงสัย (วิจิกิจฉา)
โมหมูลจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความ*ฟุูงซ่าน (อุทธัจจะ)
คำว่า“สงสัย” ในที่นี้หมายถึงความสงสัยในเรื่องกรรมและผลของกรรม สงสัยว่าบุญบาปมีจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงสัยในวิชาการหรือเรื่องราวต่างๆทางโลกทั้งสิ้น
คำว่า “ฟุูงซ่าน” ในที่นี้หมายถึง คิดเลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่มีความสงบ ไม่มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว และที่คิดมากมายหลายอย่างนั้นก็คิดไปเฉยๆ คิดไปเรื่อยๆ ไม่ได้มุ่งมั่นจริงจังในสิ่งที่คิดนั้น
สรุปอกุศลจิต ๑๒ 
อกุศลจิต ๑๒ ซึ่งประกอบด้วย โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิต ๒ นี้ เป็นจิตฝุายบาปให้ผลเป็นความทุกข์ เกิดได้ง่ายในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย โดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ
๑ . ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน เป็นอดีตกรรม
๒ . อยู่ในประเทศที่ไม่มีสัปปุรุษ
๓ . ไม่คบหาสมาคมกับสัปปุรุษ
๔ . ไม่ได้ฟังธรรมของสัปปุรุษ
๕ . ตั้งตนไว้ผิด


๑. ประเภทของจิต

จิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ เมื่อประสาทตากระทบกับรูป(รูปารมณ์) ก็เกิดการเห็นโดยจักขุวิญญาณ(จิตที่เกิดทางตา) โดยธรรมชาติของจิตจะเกิดขึ้นและดับไปอย่าง รวดเร็วทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อไปรับอารมณ์ในแต่ละทวาร จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นจะมีอายุสั้นมาก แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไปอีก จะมีจิตมากกว่า ๑ ดวงเกิดขึ้นซ้อนกันในขณะเดียวกันไม่ได้เด็ดขาด เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากจิตดวงก่อนยังไม่ดับลงไป
ตลอดชีวิตในชาติหนึ่งๆ มีจิตที่เกิดขึ้นและดับไปจำนวนมากมายสุดที่จะนับได้ ซึ่งก็หมายความว่าในชาติหนึ่งๆนั้นเรามีการเกิดและตายนับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน เพราะจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราเกิด ๑ ครั้ง จิตดับลง ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราตายลง ๑ ครั้ง ความตายชั่วขณะนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แต่เพราะจิตเกิด-ดับสืบต่อกันรวดเร็วมากจึงปิดบังความจริงในเรื่องนี้ไว้ทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นตัวเราเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา ปัญญาที่เห็นประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป
จิตมีสภาพรู้อารมณ์เป็นลักษณะ หรือเป็นธาตุรู้เท่านั้น ตามสภาวะแล้วจิตจะเกิดโดยลำพังไม่ได้จะต้องมีเจตสิก (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต) เกิดร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือเมื่อจิตเกิดเจตสิกก็เกิดร่วมด้วย เมื่อจิตดับเจตสิกก็ดับพร้อมกับจิตด้วย ประดุจความร้อนและแสงสว่างของไฟที่แยกออกจากกันไม่ได้ฉันนั้น เจตสิกธรรม คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย ดังนี้คือ

ฝ่ายอกุศลได้แก่ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)
ฝ่ายกุศลได้แก่ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง)
ฝ่ายกลางๆ ไม่เป็นอกุศลไม่เป็นอกุศลได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นต้น อาศัยความแตกต่างแห่งลักษณะของจิตที่เกิดขึ้นโดยเจตสิกที่แตกต่างกันดังกล่าวท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๘๙ ดวง (โดยย่อ) หรือ ๑๒๑ ดวง (โดยพิสดาร) ดังแสดงในภาพจิต

เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากันก็เนื่องมาจากมรรคจิตและผลจิต ซึ่งโดยย่อจะนับแค่มรรคจิต ๔ ดวง และผลจิต ๔ ดวง ส่วนโดยพิสดารนั้น จะนำระดับของฌานคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ที่เกิดกับมรรคจิตทั้ง ๔ มาพิจารณาด้วย ทำให้มรรคจิตเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ส่วนผลจิตก็จะ เพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ในทำนองเดียวกัน โดยเหตุที่เจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิต แล้วทำให้จิตมีลักษณะแตกต่างกันไป ท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. กามาวจรจิต
๒. รูปาวจรจิต
๓. อรูปาวจรจิต
๔. โลกุตตรจิต