วันอังคาร

๔. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

อรูปาวจรจิต คือ จิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์) ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้องเจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้

อรูปฌานชั้นที่ ๑ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๒​ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนาเอาฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปฌานชั้นที่ ๓​ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญวิญญานัญจายตนฌาน​ บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศนั้นไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆ แล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌานที่เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนจิต ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มีอากาสานัญจายตนฌานมาเป็นอารมณ์ อารมณ์เช่นนี้เรียกว่านัตถิภาว-บัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๔​ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น ส่วนองค์ฌานนั้นเหมือนกันทั้งหมด คือมีเพียงอุเบกขา กับเอกัคคตาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน (รูปฌานที่ ๕) ดังนั้น จึงถือว่า อรูปฌานเป็น ปัญจมฌาน ด้วย อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าอรูปฌานชั้นต่างๆ มีจานวน ๔ ดวง คือ ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต
๒.อรูปาวจรวิปากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต ซึ่งจะนาไปเกิดเป็นอรูปพรหมโลกชั้นต่างๆ ตามกาลังของอรูปาวจรกุศลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเช่นกัน คือ
ดวงที ๑​ คือ อากาสานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต
๓. อรูปาวจรกริยาจิต​ เป็นจิตที่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ ในขณะที่ท่านกาลังเข้าอรูปฌาน เพราะการกระทาใดๆ ของท่านไม่มีวิปากอีกต่อไป จึงเรียกจิตทุกประเภทที่เกิดกับพระอรหันต์ว่า กิริยาจิต ซึ่งแท้จริงแล้วอรูปาวจรกิริยาจิตนั้นก็คือ อรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง ดังนั้นอรูปาวจรกิริยาจิต จึงมี ๔ ดวง เช่นกัน คือ
ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต
อรูปาวจรจิต​ คือ จิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์) ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้องเจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้

อรูปฌานชั้นที่ ๑ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๒ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนาเอาฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปฌานชั้นที่ ๓ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญวิญญานัญจายตนฌาน​ บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศนั้นไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆ แล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌานที่เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนจิต ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มีอากาสานัญจายตนฌานมาเป็นอารมณ์ อารมณ์เช่นนี้เรียกว่านัตถิภาว-บัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิตที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน


อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น ส่วนองค์ฌานนั้นเหมือนกันทั้งหมด คือมีเพียงอุเบกขา กับเอกัคคตาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน (รูปฌานที่ ๕) ดังนั้น จึงถือว่า อรูปฌานเป็น ปัญจมฌาน ด้วย อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าอรูปฌานชั้นต่างๆ มีจานวน ๔ ดวง คือ ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกุศลจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต
๒.​ อรูปาวจรวิปากจิต​ เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต ซึ่งจะนาไปเกิดเป็นอรูปพรหมโลกชั้นต่างๆ ตามกาลังของอรูปาวจรกุศลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเช่นกัน คือ
ดวงที ๑​ คือ อากาสานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนวิปากจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต
๓. อรูปาวจรกริยาจิต​ เป็นจิตที่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ ในขณะที่ท่านกาลังเข้าอรูปฌาน เพราะการกระทาใดๆ ของท่านไม่มีวิปากอีกต่อไป จึงเรียกจิตทุกประเภทที่เกิดกับพระอรหันต์ว่า กิริยาจิต ซึ่งแท้จริงแล้วอรูปาวจรกิริยาจิตนั้นก็คือ อรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง ดังนั้นอรูปาวจรกิริยาจิต จึงมี ๔ ดวง เช่นกัน คือ
ดวงที่ ๑​ คือ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๒​ คือ วิญญานัญจายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๓​ คือ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
ดวงที่ ๔​ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต

การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ​ หรือสมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ​ มีรูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ รวม เรียกว่า สมาบัติ ๙ ถ้านับรูปฌาน ๔ ตามนัยแห่งพระสูตรก็จะเป็นรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ นั่นเอง ทั้งสมาบัติ ๙ หรือสมาบัติ ๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยศึกษามาแล้วในสำนักของดาบสทั้ง ๒ ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้ง ๒ มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพียงอย่างเดียวนั้น จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน หรือที่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได้

การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ​ หรือสมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ​ มีรูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ รวม เรียกว่า สมาบัติ ๙ ถ้านับรูปฌาน ๔ ตามนัยแห่งพระสูตรก็จะเป็นรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ นั่นเอง ทั้งสมาบัติ ๙ หรือสมาบัติ ๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยศึกษามาแล้วในสำนักของดาบสทั้ง ๒ ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้ง ๒ มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพียงอย่างเดียวนั้น จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน หรือที่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น