RSS

ทวารสังคหะ

คือ การรวบรวมช่องทางรู้อารมณ์ของจิตและเจตสิก ชื่อว่า “ทวารสังคหะ” คำว่า “ทวาร” แปลว่า ประตู สำหรับเป็นที่เข้าออกของบุคคลทั้งหลายได้ใช้ผ่านเข้าออก เพื่อทำกิจการงานต่างๆ ได้ จิตและเจตสิกที่จะทำกิจการงานเพื่อรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ ก็ต้องอาศัยประตูหรือทวารเช่นเดียวกัน มีจักขุปสาทเป็นต้น ชื่อว่า “ทวาร” เพราะเป็นเหมือนหนึ่งประตูที่ใช้เป็นทางเข้าออกของวิถีจิต ให้เกิดการงาน เห็นอารมณ์ขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีจักขุปสาท คือ จักขุทวารแล้ว ก็จะเห็นอารมณ์ใด ๆ ไม่ได้เลย กล่าวคือ ถ้าสัตว์ทั้งหลายไม่มีปสาทรูปทั้ง ๕ และภวังคจิตเสียแล้ว วิถีจิตใด ๆ ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นไม่ได้แล้ว กรรม คือ การกระทำ, การพูด, การนึกคิดที่ดี หรือไม่ดีก็ตามย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ผิดอะไรกันกับพืช หรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เท่านั้น

ทวาร หรือประตู ที่จิตไปรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้นั้น มี ๖ ทวาร คือ :-

๑. จักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตทวาร องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓. มานทวาร องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาทวาร องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕.กายทวาร องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต ๑๙

เมื่อประตูเข้า-ออกของจิตเจตสิก มีอยู่หลายทางเช่นนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้จัดลำดับของจิต เจตสิกที่อาศัยเกิดทางทวารต่าง ๆ ไว้ ดังต่อไปนี้

คาถาสังคหะ 

(๙) เอกทฺวาริกจิตฺตานิ   ปญฺจฉทฺวาริกานิ จ
ฉทฺวาริกวิมุตฺตานิ   วิมุตฺตานิ จ สพฺพถา ฯ

แปลความว่า จิตอาศัยเกิดทางทวารเดียวก็มี, อาศัยเกิดได้ใน ๕ ทวารก็มี, อาศัยเกิดได้ทั้ง ๖ ทวารก็มี, บางทีก็อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิดบ้าง หรือ บางทีไม่ได้อาศัยทวารทั้ง ๖ บ้าง และจิตที่เกิดขึ้นโดยพ้นจากทวารทั้ง ๖ ก็มีอยู่ทุกประการ

อธิบาย

การเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ย่อมมีได้ ทั้งอาศัยทวารและไม่ต้องอาศัยทวารซึ่งตามที่แสดงไว้ในคาถาสังคหะที่ ๙ นี้ มีรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๕ ประการ คือ

๑. เอกทวาริกจิต คือ จิต เจตสิก ที่อาศัยเกิดได้ทางทวารเดียว
๒. ปัญจทวาริกจิต คือ จิต เจตสิก ที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๕
๓. ฉทวาริกจิต คือ จิต เจตสิก ที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖
๔. ฉทวาริกวิมุตตจิต คือ จิต เจตสิก ที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖ บ้าง บางทีก็เกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารบ้าง (พ้นทวาร)
๕. ทวารวิมุตตจิต คือ จิต เจตสิก ที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยทวารทั้ง ๖ นั้นเลย

จิตที่อาศัยเกิดตามทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวารนั้น ที่เกิดทางปัญจทวาร คืออาศัยเกิดทางตา, หู, จมูก, ลิ้น และกาย มีองค์ธรรม ได้แก่ ปสาทรูป ๕ เป็น รูปทวาร ซึ่งเป็นทางให้ทวิปัญจวิญญาณ เกิดขึ้นรับปัญจารมณ์ อันได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัสถูกต้อง และเป็นเหตุให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางปัญจทวารวิถีอีกด้วย ส่วนจิตที่เกิดทางมโนทวารนั้น เป็นนามทวาร อันได้แก่ ภวังคจิต ซึ่งเป็นทางให้มโนวิญญาณธาตุเกิดขึ้นในอารมณ์ทั้ง ๖ และเป็นเหตุให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางมโนทวารวิถี 

ตามคาถาสังคหะที่กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อแสดงการอาศัยทวารต่างๆ เกิดขึ้นของจิต เจตสิกเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยรูปทวาร ๕ ทวาร นามทวาร ๑ ทวารเท่านั้น ไม่ได้แสดงถึงจำนวนของจิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารต่าง ๆ เหล่านั้น การแสดงถึงจำนวนของจิตที่อาศัยเกิดทาง ทวารใดทวารหนึ่งนั้น มีแสดงไว้ ดังต่อไปนี้

คาถาสังคหะ 

(๑๐) ฉตฺตึสติ ตถา ตีณิ   เอกตึส ยถากฺกมํ
ทสธา นวธา เจติ   ปญฺจธา ปริทีปเย ฯ

แปลความว่า เมื่อกำหนดจำนวนจิต ๕ ประเภทเหล่านั้น มีตามลำดับดังนี้คือ ๓๖-๓-๓๑-๑๐-๙

อธิบาย

คาถาสังคหะที่ ๑๐ นี้ แสดงถึงจำนวนจิตที่เกิดได้ทางทวารต่าง ๆ ๕ ประเภท ดังที่แสดงไว้ในคาถาสังคหะที่ ๙ ซึ่งมีจำนวนดังนี้ คือ :-

๑. เอกทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทวารเดียว มี ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
อัปปนาชวนจิต ๒๖

๒.ปัญจทวาริกจิต จิตที่อาศัยเกิดได้ทางปัญจทวาร มี ๓ ดวง ได้แก่
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
สัมปฏิจฉนจิต ๒

๓. ฉทวาริกจิต จิตที่อาศัเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖ มี ๓๑ ดวง ได้แก่
โสมนัสสันตีรณจิต ๑
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙

๔. ฉทวาริกวิมุตตจิต จิตที่บางที่อาศัยทวารทั้ง ๖ เกิดบางทีไม่ได้อาศัยทวารทั้ง ๖ มี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต ๘

(อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ เมื่อทำหน้าที่สันติรณกิจ หรือตทาลัมพนกิจ 
มหาวิบากจิต ๘ เมื่อทำหน้าที่ตทาลัมพนกิจ

จิต ๑๐ ดวงที่กล่าวมานี้ เมื่อทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยทวารเป็นทางเกิด แต่ถ้าทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ กิจนี้แล้ว ก็ไม่อาศัยทวารเลย)

๕. ทวารวิมุตตจิต จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ โดยไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเลย มีจำนวน ๙ ดวง ได้แก่ มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง


ตามที่กล่าวแล้วข้างต้นนี้ เป็นการแสดงจำนวนจิตที่ต้องอาศัยทวารเกิดและที่ไม่ต้องอาศัยทวารใดๆ เกิดโดยแน่นอนแต่อย่างเดียว แต่เมื่อจะแสดงรายละเอียดของจำนวนจิตที่เกิดได้แต่ละทวาร ทั้งที่เกิดได้แน่นอน (เอกันตะ) และที่ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ย่อมแสดงได้ ดังนี้



แสดงทวาริกจิต และ ทวารวิมุตตจิต
โดยแน่นอน และ ไม่แน่นอน

๑. เอกทวาริกจิต มีจำนวน ๘๐ ดวง
เอกทวาริกจิต เอกันตะ (โดยแน่นอน) มี ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
อัปปนาชวนจิต ๒๖
เอกทวาริกจิต อเนกันตะ (ไม่แน่นอน) มี ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
ตทาลัมพนจิต ๑๑

การแสดงจำนวนจิตโดยเอกทวาริกจิตข้างบนนี้ เป็นการแสดงรวมทั้ง ๖ ทวาร แต่นับเฉพาะจิตที่เกิดได้แต่ละทวารเพียงทวารเดียว ซึ่งเมื่อจะจำแนกโดยพิสดารแล้ว ก็อาจจำแนกออกไปได้อีก คือ

ก. จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
จักขุทวาริกจิต เอกันตะ 
มี ๒ ดวง ได้แก่
 - จักขุวิญญาณ ๒
จักขุทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๔ ดวง ได้แก่
- มโนธาตุ ๓
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
ตทาลัมพนจิต ๑๑

ข. โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
โสตทวาริกจิต เอกันตะ มี ๒ ดวง ได้แก่
โสตวิญญาณ ๒
โสตทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๔ ดวง ได้แก่
- มโนธาตุ ๓
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- กามชวนจิต ๒๙
- ตทาลัมพนจิต ๑๑

ค. ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
ฆานทวาริกจิต เอกันตะ มี ๒ ดวง ได้แก่
ฆานวิญญาณ ๒
ฆานทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๔ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ 
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
ตทาลัมพนจิต ๑๑

ง. ชิวหาทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
ชิวหาทวาริกจิต เอกันตะ มี ๒ ดวง ได้แก่
- ชิวหาวิญญาณ ๒
ชิวหาทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๔ ดวง ได้แก่
- มโนธาตุ ๓
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- กามชวนจิต ๒๙
- ตทาลัมพนจิต ๑๑

จ. กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
กายทวาริกจิต เอกันตะ มี ๒ ดวง ได้แก่
- กายวิญญาณ ๒
กายทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๔ ดวง ได้แก่
- มโนธาตุ ๓
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- กามชวนจิต ๒๙
- ตทาลัมพนจิต ๑๑

ฉ. มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง
มโนทวาริกจิต เอกันตะ มี ๒๖ ดวง ได้แก่
- อัปปนาชวนจิต ๒๖
มโนทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๑ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
ฅ- ตทาลัมพนจิต ๑๑


๒. ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง
ปัญจทวาริกจิต เอกันตะ มี ๓ ดวง ได้แก่
มโนธาตุ ๓
ปัญจทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๔๑ ดวง ได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนจิต ๒๙
ตทาลัมพนจิต ๑๑


๓. ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง
ฉทวาริกจิต เอกันตะ มี ๓๑ ดวง ได้แก่
-โสมนัสสันตีรณจิต ๑
-มโนทวาราวัชชนจิต ๑
-กามชวนจิต ๒๙
ฉทวาริกจิต อเนกันตะ มี ๑๐ ดวง ได้แก่
-อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
-มหาวิบาก ๘

๔. ทวาริกวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง
ทวาริกวิมุตตจิต เอกันตะ มี ๙ ดวง ได้แก่
-มหัคคตวิบากจิต ๙
ทวาริกวิมุตตจิต อเนกันตะ มี ๑๐ ดวง ได้แก่
-อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
-มหาวิบากจิต ๘


เจตสิก กับ ทวาร


๑. วิรตีเจตสิก๓ ดวง คือ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะเ มื่อประกอบกับโลกุตตรจิต ย่อมเกิดเฉพาะทางมโนทวาร
๒. อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง คือ กรุณาและมุทิตาเจตสิก เมื่อประกอบกับมหัคคตจิต หรือกามาวจรจิต ก็ตาม ก็ย่อมเกิดเฉพาะทางมโนทวาร ทางเดียวเช่นกัน
๓. เจตสิกทั้งหมด ๕๒ ดวง เมื่อประกอบกับจิต ๘๐ ดวง (เว้นมหัคคตวิบากจิต ๔) ย่อมเกิดกับจิตได้ในทวารทั้ง ๖ ทั้งที่แน่นอน (เอกันตะ) และไม่แน่นอน (อเนกันตะ)
๔.เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดี ๓) ที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ๔ นั้น เป็นเจตสิกที่เกิดโดยพ้นทวาร (ทวารวิมุต)

การที่จะทราบว่าเจตสิกใด เกิดทางทวารใดนั้น อาศัยการพิจารณาดูว่าเจตสิกใด ประกอบกับจิตใดบ้าง ถ้าจิตนั้นอาศัยเกิดทางทวารใด เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น ๆ ก็อาศัยเกิดทางทวารเดียวกับจิตนั่นเอง

🕀 จำแนกเจตสิกโดยทวาร

๑. เอกทวาริกเจตสิก มี ๕๒ ดวง คือ
เอกทวาริกเจตสิก เอกันตะ มี  ๒ ดวง ได้แก่
- อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง (เกิดได้ทางมโนทวารทางเดียว)     
เอกทวาริกเจตสิก อเนกันตะ มี ๕๐ ดวง ได้แก่
- เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

๒. ปัญจทวาริกเจตสิก มี ๕๐ ดวง คือ
ปัญจทวาริกเจตสิก เอกันตะ ไม่มี (เจตสิกที่ประกอบเฉพาะมโนธาตุ ๓ ไม่มี)
ปัญจทวาริกเจตสิก อเนกันตะ มี ๕๐ ดวง ได้แก่
- เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา)

๓. ฉทวาริกเจตสิก มี ๕๐ ดวง คือ
ฉทวาริกเจตสิก เอกันตะ มี ๑๗ ดวง ได้แก่
- อกุศลเจตสิก ๑๔
- วิรตีเจตสิก ๓
ฉทวาริกเจตสิก อเนกันตะ มี ๓๓ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
-โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)

๔. ทวาริกเจตสิก มี ๕๒ ดวง คือ
ทวาริกเจตสิก เอกันตะ มี ๑๗ ดวง ได้แก่
- อกุศลเจตสิก ๑๔
- วิรตีเจตสิก ๓
ทวาริกเจตสิก อเนกันตะ มี ๓๕ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
- โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓)

๕. ทวารวิมุตตเจตสิก มี ๓๕ ดวง คือ
ทวารวิมุตตเจตสิก เอกันตะ ไม่มี
ทวารวิมุตตเจตสิก อเนกันตะ มี ๓๕ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
- โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓)


🔆อธิบาย

๑. เอกทวาริกเจตสิก มีอัปปมัญญาเจตสิก ๒ (กรุณาเจตสิก มุทิตาเจตสิก) เกิดได้ทางมโนทวารเดียวกันโดยแน่นอน เพราะอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ เกิดขึ้นรับสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ วิถีจิตที่จะรับบัญญัติอารมณ์ได้ ต้องเป็นวิถีจิตที่เกิดทางมโนทวารอย่างเดียว ฉะนั้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ จึงเกิดได้ทางมโนทวาร อย่างเดียวแน่นอน

ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ ดวงนั้น เกิดในทวารได้ไม่แน่นอน คือ เกิดในทวารอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่นเกิดได้ทั้งทวาริกเจตสิก และ ทวารวิมุตตเจตสิก

๒. ปัญจทวาริกเจตสิก เจตสิกที่เกิดได้เฉพาะในปัญจทวาร คือ ประกอบกับมโนธาตุ ๓ โดยเฉพาะนั้น ไม่มี

ส่วนเจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒) ย่อมเกิดได้ในปัญจทวารโดยไม่แน่นอน คือ อาจเกิดในทวารอื่น ๆ อีกด้วยก็ได้

๓. ฉทวาริกเจตสิก เจตสิกที่เกิดได้ในทวารทั้ง ๖ โดยแน่นอน หมายถึง เจตสิกที่จะเกิดขึ้นพ้นจากทวารทั้ง ๖ ทวารหนึ่งทวารใดไม่ได้ มีจำนวน ๑๗ ดวง ได้แก่

  • อกุศลเจตสิก ๑๔ เมื่อประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ย่อมเกิดในทวาร ๖ เสมอ
  • วิรตีเจตสิก ๓ ที่ประกอบกับมหากุศล ๘ ย่อมเกิดได้ในทวาร ๖ เสมอ

ส่วนเจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒) ย่อมประกอบกับจิตที่เกิดในทวารทั้ง ๖ ก็ได้,  ประกอบกับจิตที่เกิดพ้นจากทวารก็ได้ จึงเป็นฉทวาริกเจตสิกที่ไม่แน่นอน

๔. ทวาริกเจตสิก หมายถึง เจตสิกที่เกิดขึ้นได้ โดยต้องอาศัยทวารเกิด เจตสิกที่เกิดโดยอาศัยทวารเกิดแน่นอนนั้น ได้แก่ เจตสิก ๑๗ ดวง ที่เป็นฉทวาริกเจตสิกโดยแน่นอนนั่นเอง ส่วนที่อาศัยทวารเกิดโดยไม่แน่นอน ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรดี ๓) เจตสิก ๓๕ ดวงนี้ อาจประกอบกับจิตที่พ้นจากทวาร คือ ภวังคจิต ๑๙ (มีมหากุศลวิบาก ๘ สันตีรณอกุศล ๑ สันตีรณกุศล ๑ และวิบากฌาณจิต ๙ อนึ่ง ภวังคจิตย่อมมีจำนวนเท่ากับปฎิสนธิจิต คือ มหาวิบาก๘ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก๑ อุเบกขาสันตรีณอกุศวิบาก๑ รูปาวจรวิบาก๕ และอรูปาวจรวิบาก ๔ - วิบากจิตใดที่ทำกิจปฏิสนธิ วิบากจิตนั้นก็ทำกิจภวังค์ และทำกิจจุติ ในภพนั้นๆ) และประกอบจิตอื่น ที่นอกจากจิต ๑๙ ดวง (อุเบกขาสันติรณจิต ๒, มหาวิบาก ๔, มหัคคตวิบาก ๙) นั้นก็ได้

๕. ทวารวิมุตตเจตสิก เจตสิกที่เกิดพ้นทวารโดยแน่นอนนั้น ไม่มี เพราะเจตสิกที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ๔ โดยเฉพาะนั้น ไม่มี

ส่วนเจตสิกที่เกิดพ้นจากทวารโดยไม่แน่นอนนั้น มี ๓๕ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓) ที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ๙

อนึ่ง สำหรับอัปปมัญญเจตสิก ๒ ดวง ที่เกิดพ้นจากทวารนั้น จะเกิดได้เฉพาะขณะที่ประกอบกับรูปาวจรวิบากจิต ๔ (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน) เท่านั้น มหัคคตปัญจมฌานวิบากจิตที่เหลือ คงมีเจตสิกประกอบได้ ๓๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๒. อุเทสวาระ

[ ๑ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น หาระ ๑๖ เป็นไฉน ? คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ

       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งหาระนั้น (สำหรับจดจำหาระ ๑๖)

หาระ มี ๑๖ คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ

หาระ ๑๖ ที่ข้าพเจ้าแสดงนั้นไม่มีการปะปนระคนกัน โดยเนื้อความ. การจำแนกโดยนัยอันสมควรจะมีโดยพิสดาร (ต่อไป)

[ ๒ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น นัย ๕ เป็นไฉน ? คือ นันทิยาวัฏฏนัย, ติปุกขลนัย, สีหวิกกีฬิตนัย, ทิสาโลจนนัย, และ อังกุสนัย.

       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งนัยนั้น (สำหรับจดจำนัย ๕)

พึงทราบว่านัยทั้งปวงมี ๕ ดังนี้ คือ นัยที่ ๑ ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ, นัยที่ ๒ ชื่อว่า ติปุกขละ, นัยที่ ๓ อันสามารถนำมาซึ่งอรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะ, ท่านกล่าวนัยที่ ๔ อันประเสริฐว่า ทิสาโลจนะ, นัยที่ ๕ ชื่อว่า อังกุสะ

[ ๓ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น มูลบท ๑๘ เป็นไฉน ? คือ กุศลบท ๙ และอกุศลบท ๙.

       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น อกุศลบท ๙ เป็นไฉน ? คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ, สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้.

ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น กุศลบท ๙ เป็นไฉน ? คือ สมถะ, วิปัสสนา, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ, อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, และ ออัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในกุศลบทเหล่านี้.

       ๙ บทเหล่านี้ คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ และ วิปัลลาส ๔ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, อัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.

       ๙ บทเหล่านี้ คือ สมถะ, วิปัสสนา, กุศลมูล 3 (อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ) และสติปัฏฐาน ๔ (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.

สมถะเป็นต้นที่เป็นฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย ๙ บท และตัณหาเป็นต้นที่เป็นฝ่ายอกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย ๙ บท. ๑๘ บทเหล่านี้แลชื่อว่า มูลบท.

อุทเทสวาระ จบ 


ขยายความโดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

อุเทสวาระ  คือหัวข้อของเนื้อหา หรือเป็นมาติกาที่จะนำไปขยาย

ในอุเทสวาระให้เอาหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ มามาบอกว่าหาระ ๑๖ คืออะไร, นัย ๕ คืออะไร, มูลบท ๑๘ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อันนี้ไม่แปลให้เพราะต้องท่องอย่างเดียว แต่ในนิทเทศวาระจะบอกอีกครั้งนึงอันนี้คือถ้าไปแปลเฉย ๆ แปลแบบธรรมดา ๆ โดยที่ไม่รู้อรรถะมันแปลแล้วไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไหร่ แต่ในอรรถกถาท่านก็แปลให้อะนะ แต่ของอาตมาแปลไม่ได้ ก็เป็นภาษาบาลีทั้งหมดเลย เราจะค่อยไปทําความเข้าใจต่อเมื่อเรียนนิทเทศวาระ

สรุปว่าหาระ ๑๖ ก็ควรจำ เทศนา วิจโย ยุตฺติ ปทฎฺฐาโน ลกฺขโณ จตุพยูโห อาวฎโฎ วิภตฺติ ปริวตฺตโน เนี่ยนะท่องเป็นภาษาบาลีก็อาจจะคุ้นหน่อย ใครถนัดภาษาไทยก็เอา

หาระ ๑๖ ประกอบด้วย

๑. เทศนาหาระ คือ แนวทางในการแสดงประกอบด้วย อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ จุดมุ่งหมาย อุบายและการชักชวน
๒. วิจยหาระ คือ แนวทางในการจำแนกบท คำถาม และคำตอบ
๓. ยุตติหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบความเหมาะสมโดยพยัญชนะและอรรถ
๔. ปทัฎฐานหาระ คือ แนวทางในการแสดงปทัฎฐาน (เหตุใกล้) โดยอนุโลมนัยและปฎิโลมนัย
๕. ลักขณหาระ คือ แนวทางในการแสดงธรรมอื่นที่มิได้กล่าวไว้โดยตรง
๖. จตุพยูหหาระ คือ แนวทางในการอธิบายวิธี ๔ กลุ่ม คือ
    - รูปวิเคราะห์
    - ความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า, พระสาวก
    - เหตุของการแสดงธรรม
    - การเชื่อมโยงพระสูตร
๗. อาวัฎฎหาระ คือ แนวทางในการเวียนไปสู่ธรรมที่เสมอกันและไม่เสมอกัน
๘. วิภัตติหาระ คือ แนวทางในการจำแนกสภาวะธรรม (เหตุใกล้ , ภูมิ) โดยทั่วไปและไม่ทั่วไป
๙. ปริวัตตนหาระ คือ แนวทางในการเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
๑๐. เววจนหาระ คือ แนวทางในการแสดงคำไวพจน์ (คำความหมายเหมือนกัน)
๑๑. ปัญญัตติหาระ คือ แนวทางในการแสดงบัญญัติ
๑๒. โอตรณหาระ คือ แนวทางในการหยั่งลงสู่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และปฎิจสมุปบาท
๑๓. โสธนหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบบท อรรถของบท คำถามและคำตอบ
๑๔. อธิฎฐานหาระ คือ แนวทางในการโดยสามัญทั่วไปหรือโดยพิเศษ
๑๕. ปริกขารหาระ คือ แนวทางในการแสดงเหตุปัจจัย
๑๖. สมาโรปนหาระ คือ แนวทางในการยกขึ้นแสดงด้วยเหตุใกล้ คำไวพจน์ การภาวนา และการละกิเลส

หาระ ๑๖ ที่ข้าพเจ้าแสดงนั้นไม่มีการปะปนระคนกัน โดยเนื้อความ การจำแนกโดยนัยอันสมควรจะมีโดยพิสดาร (ต่อไป) อันนี้ให้เข้าใจหัวข้อเฉย ๆ ถ้าเป็นหนังสือสมัยนี้เราก็เรียกว่าสารบัญ ตรงนี้นะคือในภาษาบาลีเขาไม่ได้พิมพ์แบบเราที่จะบอกสารบัญอยู่ในหน้านี้ บทนี้ เพราะฉะนั้นอุเทสวาระก็คือสารบัญนั่นเอง ส่วนสังคหวาระก็คือคํานํา อุเทสวาระคือสารบัญหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งจะเรียกว่า "มาติกา" ก็ได้ หัวข้อหรือแม่บท ในพระไตรปิฎกเนี่ยเค้าจะไม่อยู่ๆ แล้วแสดงอธิบายไปโดยที่ไม่มีแม่บท จะต้องวางหัวข้อไว้ก่อนหรือเรียกว่าแม่บทแล้วจะขยายไปตามแม่บท พอจบแล้วขึ้นหัวข้อใหม่แล้วขยายไปตามนั้นอันนี้คือลักษณะพระไตรปิฎกเป็นแบบนั้น

นัย ๕  ก็คือ
๑. นันทิยาวัฏฏนัย คือนัยที่เหมือนการเวียนของดอกกฤษณาที่เวียนจากด้านในไปด้านนอก โดยเวียนจากธรรมฝ่ายหลักไปสู่ธรรมคล้อยตาม กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยตัณหาและอวิชชาโดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และการนำเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายโวทานด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
๒. ติปุกขลนัย คือนัยที่งามด้วยส่วนทั้ง ๓ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ในฝ่ายสังกิเลส (ฝ่ายเศร้าหมอง) และงามด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ในฝ่ายโวทาน (ฝ่ายหมดจด) กล่าวคือการประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยอกุศลมูล ๓ อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะโดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และประกอบเนื้อความพุทธพจน์ของฝ่ายโวทานด้วยกุศลมูล ๓ อันได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
๓. สีหวิกกีฬิตนัย คือนัยที่เหมือนการย่างกายของราชสีห์คือพระผู้มีพระภาคเพราะแสดงวิปัลลาสและอินทรีย์ ๕ ที่เป็นปฎิปักษ์ต่อวิปัลลาสเหล่านั้น กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยสุภสัญญาเป็นต้น โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายโวทานด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ 
๔. ทิสาโลจนนัย คือนัยที่สอดส่องกุศลธรรมเป็นต้นโดยความเป็นหัวข้อหลักแห่งนัย ๓
๕. อังกุสนัย คือนัยที่เหมือนตาขอซึ่งเกี่ยวธรรมมารวมกันไว้ในนัย ๓ อย่างแรก

มูลบท ๑๘ แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ
กุศลบท กับ อกุศลบท อย่างละ ๙

อกุศลบท
ชุดที่ ๑ ตัณหา, อวิชา
ชุดที่ ๒ โลภะ, โทสะ, โมหะ
ชุดที่ ๓ วิปลาส ๔ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา)

ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้ อันนี้คือหัวข้อของอกุศล สารพัดอกุศลเนี่ยมีประธานอยู่ ๙ บทนี้แหละ 

กุศลบท
ชุดที่ ๑ สมถะ, วิปัสสนา
ชุดที่ ๒ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
ชุดที่ ๓ สติปัฏฐาน ๔ (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา และ อนัตตสัญญา

ถ้าแยกคู่นะคือ ตัณหากับอวิชา จะอยู่ในกลุ่มนันทิยาวัฎฎนัย โลภะ, โทสะ,โมหะ อยู่ในกลุ่มติปุกขลนัย สุภสัญญาเป็นต้นอยู่ในสีหวิกกีฬิตนัย ส่วนสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอกุศลคือกุศล กุศลบทนี้ก็แบ่งออกเป็น ๙ อีกเหมือนกัน คือสมถะกับวิปัสสนา สมถะนี่เป็นตัวกําจัดตัณหา วิปัสสนาเป็นตัวกําจัดอวิชชา อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นเครื่องกําจัดโลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็สุภสัญญาเป็นต้น ก็คือสติปัฏฐานนั่นแหละเป็นตัวที่กําจัดวิปลาส อย่างอสุภสัญญาก็คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อสุขสัญญาก็คือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อนิจจสัญญาก็คือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อนัตตสัญญาก็คือธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง ก็คือสติปัฏฐาน ๔ เป็นเครื่องกําจัดวิปลาส ๔ 

สรุป
ในอุเทศวาระแบ่งเป็น ๓ กลุ่มนะจํา ๓ กลุ่มเอาไว้ คือ
กลุ่มที่ ๑. หาระ ๑๖ เป็นหลักในการพิจารณาพยัญชนะ (ศัพท์)
กลุ่มที่ ๒. นัย ๕ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย ๓ นัยนี้เป็นหลักในการพิจารณาอรรถะ ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย เรียกว่า กรรมนัยหรือโวหารนัย เป็นเพียงการตรวจดูธรรมที่แสดงแล้วโดยอรรถนัย ๓ อย่างข้างต้นเท่านั้น ไม่มีการพรรณนาอรรถต่างหาก
กลุ่มที่ ๓. มูลบท ๑๘ ประกอบด้วยอกุศลมูล ๙ กุศลมูล ๙

อันเนี้ยอุเทสวาระเค้ามีอยู่เท่านี้เลยตามหัวข้อ  หาระและนัยเหล่านี้ ผู้ศึกษาสามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้ เพราะท่านกำหนดจากพระบาลีแล้วนำมาวางเป็นกฎเกณฑ์ เป็นหลักในการศึกษา ดังนั้นคัมภีร์เนตติจึงจัดเป็นสังวรรณนาสูตรที่ขยายความตามสมควรแก่พระบาลีที่เป็นสังวัณเณตัพพสูตร หรือสูตรที่ควรขยาย

ไม่ทราบใครพอจับอะไรได้บ้างไหม จริงอ่ะนะจับได้ ๓ อย่างเนี่ยใช้ได้ เอาอย่างแรกก่อนนะคัมภีร์หมายความว่าอย่างไร คัมภีร์นี้ในเนติเพราะนําไปสู่มรรค ผล นิพพาน อันนี้ก็ใช้ได้แล้วหนึ่ง สองศาสนามีกี่อย่าง ๓ ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวช ปริยัติมีสอง คืออรรถกับพยัญชนะ คัมภีร์เนตติแปลว่านําไปสู่มรรคผลนิพพานคัมภีร์เนตติเนี่ยมีหัวข้ออยู่ ๓ กลุ่ม หาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๕ วงศ์พระสุมนพุทธเจ้า

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ตอนที่ ๑๕ (ความยาว ๑.๓๙ ชม.)


พระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ต่อมาจากวงศ์ของพระมงคลพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนโดยธรรมทั้งปวง

พระประวัติ
พระสุมนะพุทธเจ้า ประสูติเป็นพระสุมนะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเมขละนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมา สุมนะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สิริวัฒนะ โสมวัฒนะ และอิทธิวัฒนะ มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๖๐,๐๐๐ นาง วันหนึ่ง พระสุมนะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา เมื่อพระนางวฏังสิกาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อนูปมะกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม จำนวน ๓๐ โกฏิ

สุมนะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ อโนมนิคม เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางอนุปมา ธิดาของอโนมเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอนุปมาชีวก ปูลาดใต้ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง) เป็นโพธิบัลลังก์ กำจัดเหล่ามารให้พ้นไป และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น พระสุมนะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๓๐ โกฏิ พร้อมสรณกุมารพระอนุชาต่างมารดา และภาวิตัตตมาณพบุตรปุโรหิต ที่ราช
อุทยาน ในเมขละนคร ทำให้พระภิกษุ ๓๐ โกฏินั้น พร้อมพระอนุชาและบุตรปุโรหิต สำเร็จเป็นพระอริยบุคล พระสุมนะพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง ๙๐ ศอก พระพุทธรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายส่องแสงสว่างไสวไปทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่พระวิหารอังคาราม พระศาสนาดำรงอยู่ ๙๐,๐๐๐ ปีแล้วอันตรธานไป

ธรรมาภิสมัยในพุทธกาล ของพระสุมนะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๒ แสดงธรรมย่ำยีพวกเดียรถีย์ ณ สุนันทวดีนคร ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑,๐๐๐ โกฏิ
วาระที่ ๓ แสดงนิโรธปัญหาแก่พระเจ้าอรินทมะ ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ

ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ



ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธโคดม
สมัยของพระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดเป็น พญานาคราช มีนามว่า พญาอดุลยวาสุกรี ปกครองนาคพิภพ เมื่อได้รู้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็มีใจปีติยินดีอย่างยิ่ง จึงออกจากนาคพิภพ พร้อมทั้งเหล่าบริวาร เฝ้าพระพุทธองค์พร้อมทั้งพระอริยสงฆ์ สั่งให้บริวารนาคพิภพ ทำการประโคมดนตรีที่ไพเราะเลิศ และได้อุทิศถวายผ้าภูษาทิพย์มีสีงามประเสริฐแด่พระพุทธองค์และเหล่าพระอริยสงฆ์ ทรงถึงพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง

ครังนั้นพระสุมนะพุทธเจ้า ตรัสพุทธพยากรณ์ว่า
"พญาอดุลยนาคราชนี้ นานไปในอนาคตกำหนดได้ ๒ อสงไขยกับอีกเศษแสนกัป จะได้ตรัสรุเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดม ในภัทรกัปหนึ่ง" หลังจากนั้นพระนิยตโพธิสัตว์ ก็เพียรสร้างบารมีเรื่อยๆ มา จนสิ้นอายุขัย


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๔ วงศ์พระมงคลพุทธเจ้า

📿 ฟังธรรมบรรยาย: พระพุทธเจ้าพระนามว่า “มังคล”

⏱️ ความยาว 1 ชั่วโมง 46 นาที • เครื่องเล่นเสียงธรรมะจาก Archive.org




🪷 พระพุทธเจ้าลำดับที่ ๓: พระมังคลพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าลำดับถัดจาก พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ทรงมีพระนามว่า “พระมังคล” เป็นผู้ทรงกำจัดความมืดในโลกด้วยแสงธรรมอันบริสุทธิ์

👑 พระชาติ

  • ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ แห่งนคร อุตระ
  • พระชนก: พระอุตระ
  • พระชนนี: พระนางอุตรา
  • พระมเหสี: พระนางยสวดี
  • พระราชโอรส: เจ้าชายสีวละ
  • พระสนมนารีกำนัลใน: ๓๐,๐๐๐ นาง
  • ปราสาท ๓ หลัง: ยสวา, สุจิมา, สิริมา

🐎 การเสด็จออกบวช

  • ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
  • เสด็จออกผนวชด้วย อัสสวราชยานต้น
  • บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม
  • ได้ตรัสรู้ พระสัมโพธิญาณ

📜 การแสดงธรรม ธรรมาภิสมัย

หลังจากได้รับอาราธนาจากพรหม ทรงประกาศ ธรรมจักร โดยมีธรรมาภิสมัย ๓ วาระ:

  • วาระที่ ๑: แก่สัตว์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • วาระที่ ๒: แสดงธรรมที่ภพของ ท้าวสักกะ แก่เทพ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • วาระที่ ๓: แสดงธรรมแก่พระเจ้าจักรพรรดิ สุนันทะ และบริวาร ๙๐ โกฏิ

👥 การประชุมสาวก

  • ครั้งที่ ๑: พระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • ครั้งที่ ๒: พระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • ครั้งที่ ๓: พระสาวก ๙๐ โกฏิ

🧘‍♂️ บุคคลสำคัญในพระศาสนา

  • พระอัครสาวก: พระสุเทวเถระ และ พระธรรมเสนเถระ
  • พระอุปัฏฐาก: พระปาลิตะเถระ
  • พระอัครสาวิกา: พระสีวลาเถรี และ พระโสกาเถรี
  • อัครอุปัฏฐาก: นันทอุบาสก และ วิสาขอุบาสก
  • อุปัฏฐายิกา: อนุฬาอุบาสิกา และ สุมนาอุบาสิกา

🌳 ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ไม้โพธิพฤกษ์: ต้นกากะทิง
  • พระชนมายุ: ๙๐,๐๐๐ ปี
  • พระวรกาย: สูง ๘๐ ศอก
  • พระรัศมี: แผ่ซ่านออกไป หลายแสนโลกธาตุ

🙏 เสด็จปรินิพพาน

  • สถานที่: พระราชอุทยานชื่อ เวสสระ
  • พระสถูป: สูง ๓๐ โยชน์ ประดิษฐานในอุทยาน

✨ พุทธพยากรณ์แด่พระโคตมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าโคตมในอดีตกาล เคยเป็นพราหมณ์นามว่า สุรุจิ รู้จบไตรเพท ทรงมนต์ ท่านได้เข้าเฝ้าพระมังคลพุทธเจ้า บูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และน้ำนมโค พระพุทธเจ้าทรงประทานพยากรณ์ว่า:

“ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก”

พราหมณ์สุรุจิเมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส อธิษฐานบารมี ๑๐ ประการ ถวายเรือน บวชในสำนักพระพุทธเจ้า เล่าเรียนพระสูตร พระวินัย เจริญพรหมวิหาร ถึงที่สุดในอภิญญา และไปเกิดในพรหมโลก



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๑. สังคหวาระ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

[๐] ชาวโลกพร้อมทั้งทวยเทพผู้รักษาโลก ย่อมนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐพระองค์ใดในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบคำสอนอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น

       (ศาสนาทั้ง ๓ ประการ เรียกว่าคำสอนอันประเสริฐ, ในบรรดาศาสนา ๓ ประการเหล่านั้น ปริยัติศาสนาชื่อว่า สูตร). สูตรมี ๑๒ บท, สูตรทั้งปวงนั้นจัดเป็นพยัญชนบท (ศัพท์) และอรรถบท (อรรถ) ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยสังเขปว่า ศัพท์คืออะไร อรรถคืออะไร

       คัมภีร์เนตติที่มีหาระ ๑๖, นัย ๕, มูลบท ๑๘ ซึ่งช่วยให้เข้าใจปริยัติศาสนานี้ พระมหากัจจายนเถระได้แสดงไว้

หาระ ทั้งหลายช่วยในการพิจารณาศัพท์ของสูตร, นัย ๓ อย่าง (คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย) ช่วยในการพิจารณาอรรถของสูตร, หาระ และ นัย ทั้ง ๒ อย่างนั้น สามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้, คัมภีร์เนตติที่เป็นสังวรรณนาสูตรนี้ ย่อมขยายความตามสมควรแก่สังวัณเณตัพพสูตร (สูตรที่ควรขยาย)

ผู้ศึกษาพึงทราบพระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีทั้งสองอย่างนั้น ในการศึกษานั้น หาระ และนัยที่จะกล่าวเป็นลำดับต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจ อรรถแห่งพระพุทธพจน์ อันมีองค์ ๙

       สังคหวาระ จบ

เรียบเรียงการขยายความโดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

๑. สังคหวาระ คือการสรุปใจความของคัมภีร์

คัมภีร์เนตติปกรณ์คือคัมภีร์ที่ทําให้รู้จักอรรถกับพยัญชนะนั่นเองว่าเออศัพท์เนี่ยสามารถมองได้กี่แง่กี่มุมเหมือนกับว่าใครไปเลือกซื้อของอย่างหนึ่ง ปกติย่อมไม่ใช่เห็นแล้วซื้อเลย จะต้องเอามาเลือกดูโดยรอบเสียก่อน ดูจนรอบหมดแล้วก็ต้องสอบถามราคา ถามราคาเทียบกับที่อื่น ทั้งหมดแล้วจึงตัดสินใจซื้อ ฉันใด เราอ่านพระไตรปิฎกก็เหมือนกัน ผู้ที่เรียนเนติปกรณ์จะมองคําสอนในพระไตรปิฎกโดยรอบ ทีนี้ไอ้การที่จะมองโดยรอบเค้าก็มีวิธีมอง วิธีพิจารณาที่จะให้เห็นโดยรอบนั่นก็คือหาระกับนัยยะ ใจความของพระไตรปิฎกก็มีอยู่สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นคืออรรถกับพยัญชนะ อรรถ มี ๖ พยัญชนะ มีอีก ๖
หาระ คือ คําอธิบายพยัญชนะ 
นัย คือ คำอธิบายอรรถ

ทีนี้มาขึ้นตัวคัมภีร์ เนตติปกรณ์นี้โดยสรุปในเนื้อหามีหาระ ๑๖ มีนัย ๕ และก็มีมูลบท ๑๘ ซึ่งช่วยให้เข้าใจปริยัตติศาสนา ชื่อว่าสูตร สูตรมี ๑๒ บท, สูตรทั้งปวงนั้นจัดเป็นพยัญชนบท (ศัพท์) และอรรถบท (อรรถ) ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยสังเขปว่า ศัพท์คืออะไร อรรถคืออะไร โดยพระมหากัจจายนะเถระแสดงไว้แล้ว ในคาถา เป็นคําประกาศถึงลักษณะปริยัติศาสนา คืออรรถกับพยัญชนะ ส่วนคัมภีร์เนติปกรณ์จะกล่าวถึงหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ ที่เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจในอรรถกับพยัญชนะทั้งหมด หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือวิชาว่าด้วยการตีความตามคําสอนก็ไม่ผิด คือศึกษาแล้วก็มีหลักในการไปตีความคําสอน

ทีนี้ท่านก็สรุปว่าหาระทั้ง ๑๖ นะช่วยกันพิจารณาศัพท์ของสูตร ส่วนนัย ๕ สามนัยแรกคือ นันทิยาวัฎฎนัย ๑ ติปุกขลนัย ๑ สีหวิกกีฬิตนัย ๑ อันนี้ช่วยพิจารณาอรรถของสูตร ที่เหลืออีกสองนัยใช้ดึงมาเข้าในสามนัย (มีอธิบายในภายหลัง) หาระและนัย สามารถนําไปใช้ได้ในสูตรทั้งหมด สรุปว่าคัมภีร์เนตติปกรณ์สามารถนำไปใช้ได้ในพระไตรปิฎกทั้งหมดเลย

พระไตรปิฎกเอาหลักเนตติปกรณ์ไปพิจารณา

คัมภีร์เนตติปกรณ์ที่เป็นสังวรรณนาสูตรนี้ ย่อมขยายความตามสมควรแก่สังวัณเณตัพพสูตร ก็สองคําเองนะ สังวรรณนากับสังวัณเณ สังวรรณนาแปลว่าคําอธิบาย สังวัณเณตัพพะแปลว่าควรอธิบาย อย่างเช่นสังวัณเณตัพพหมายถึงพระไตรปิฎกคือก็ต้องอธิบายอีกครั้งหนึ่ง สังวรรณนาคือเนตติปกรณ์ เป็นตัวอธิบายพระไตรปิฎก หรือถ้าพูดในหนึ่งก็บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนเทศน์ พระมหากัจจายนะเป็นคนอธิบาย ว่านั้นเถอะสังวัณเณตัพพตัวนั้นหมายถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธพจน์ สังวรรณนาหมายถึงพระมหากระจายนะผู้แสดงอธิบายให้เห็น ก็คํานวณว่าต้องตีความให้คนเค้ารู้ เดี๋ยวเราคนไม่รู้ไปตีความกันเอาเองก็เดือดร้อนเหมือนกัน

ผู้ศึกษาพึงทราบพระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีทั้งสองอย่างนั้นในการศึกษานั้น หาระและนัยที่จะกล่าวเป็นลําดับต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจอรรถแห่งพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ 
  • ๑. สุตตะ ได้แก่ พระ​สูตร​ทั้ง​หลาย รวม​ถึง​พระ​วินัย​ปิฎก และ​นิท​เทส
  • ๒. เคยยะ คือ พระ​สูตร​ทั้งหมด​ที่มีคาถา​
  • ๓. เวย​ยา​กรณะ คือ พระ​อภิธรรม​ปิฎก และพระพุทธ​พจน์​ที่​ไม่​จัด​เข้า​ใน​องค์ ๘
  • ๔. คาถา คือ พระ​ธรรมบท เถร​คาถา เถรี​คาถา และ​คาถา​ล้วนๆ ที่​ไม่มี​ชื่อ​สูตร​ใน​สุต​นิ​บาต
  • ๕. อุทาน คือ พระ​สูตร ๘๒ สูตร ที่​พระ​พุทธองค์​ทรง​เปล่ง​​ด้วย​โสมนัส​ญาณ
  • ๖. อิ​ติวุ​​ตกะ คือ พระ​สูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้น​ด้วย​คำ​ว่า​ วุตฺตํ เหตํ ภคว​ตา (ข้อ​นี้​สมจริง​ดัง​คำที่​พระ​ผู้มี​พระ​ภาค​​ตรัส​ไว้​แล้ว)
  • ๗. ชาตกะ คือ เรื่อง​อดีต​ชาติ​ของ​พระ​ผู้มีพระ​ภาค​และ​พระสา​วก​
  • ๘. อัพ​ภูต​ธรรม คือ พระ​สูตร​ที่​ประ​กอ​บด้ว​ยอัจฉ​ริ​ยอัพ​ภูต​ธรรม (ธรรมที่ยิ่งด้วยคุณพิเศษอันน่าอัศจรรย์)
  • ๙. เวทัล​ละ คือ พระ​สูตร​ที่​เมื่อ​ถาม​แล้ว จะได้​ความ​รู้​แจ้ง และความ​ยิน​ดี​ยิ่งๆ ขึ้น
อรรถะก็คืออรรถ ๖ ประการ พระพุทธพจน์เนี่ยถ้าว่าไปจะนับว่าเป็น ๑ ก็ได้ นับ ๒ ก็ได้ นับ ๓ ก็ได้นับ ๕ ก็ได้นับ ๙ ก็ได้ คําสอนของพระพุทธเจ้าถ้า นับ ๑ ก็คือมีจุดประสงค์อันเดียว เพื่อวิมุตติรส เหมือนน้ําทะเลเนี่ยนะทะเลถึงจะไปลงที่ประเทศไหนก็ตามถ้าดื่มน้ําเค็มเหมือนกันหมด ที่กล่าวไปหมายถึงว่าพระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่แรกตรัสรู้จนถึงก่อนวันที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานก็มีจุดมุ่งหมายอยู่อันเดียว คือ วิมุตติรส ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น แปลว่ามีจุดประสงค์ที่ชัดเจนคืออรหัตผล นับ ๒ แบ่งเป็นธรรมกับวินัย ธรรม คือรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปสู่อบาย ส่วนวินัยก็คืออุบายเป็นเครื่องฝึกกายวาจาเป็นต้นนั่นเอง แบ่งเป็น ๓ ก็คือไตรปิฎก ๓ ปิฎก ก็คือศีล สมาธิ ปัญญา วินัยปิฎกเป็นศีล สุตตันปิฏกเป็นสมาธิ อภิธรรมปิฏกเป็นปัญญา ศีลกําจัดโทสะสมาธิกําจัดราคะ ปัญญากําจัดโมหะ ถ้าแบ่งเป็น ๕ ก็เรียกว่าองค์นิกาย ๕ ทีฆนิกาย (หมวดยาว ๓๔ สูตร) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง ๑๕๒ สูตร) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา ๗๗๖๒ สูตร)  อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์มี ๙๕๕๗ สูตร) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย ในพระสูตรมี ๑๕ คัมภีร์ พระวินัยก็สงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย พระอภิธรรมก็สงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย) แต่ถ้าว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ คือ สุตะ เคยยะ เวย​ยา​กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตกะ ชาตกะ อัพ​ภูต​ธรรม เวทัล​ละ ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ คือสังคหวาระ เนื้อความโดยสรุปของคัมภีร์เนติปกรณ์

ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือโดยเฉพาะปริยัติ เนี่ยแบ่งออกเป็น ๒  คืออรรถกับพยัญชนะ 
อรรถนี้แบ่งออกเป็น ๖ พยัญชนะแบ่งออกเป็น ๖ พระมหากระจายนะท่านแสดงคัมภีร์เนติปกรณ์กล่าวถึงหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาพระไตรปิฏกเข้าใจในอรรถ ๖ กับพยัญชนะ ๖ ให้มากยิ่งขึ้น ทีนี้ย้อนมาถึงคําว่า คัมภีร์เนติปกรณ์ มีความหมายว่าอย่างไร ? พระบาลีนั่นแหละคือศัพท์, คือพยัญชนะ เนื้อความแห่งพระบาลีนั่นแหละคืออรรถ พระพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรมย่อมสมบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ ใช้ถ้อยคําสมบูรณ์หมด เนื้อความก็เข้าใจถูกต้อง เขามีอย่างนี้ว่า "คําพูดใดที่ไม่มีอรรถคําพูดนั้นไร้ประโยชน์" คําพูดใดที่ตั้งคําพูดไว้ไม่ดี เนื้อความ เนื้อหาก็คลาดเคลื่อน แต่พระพุทธเจ้าสอนไม่เป็นอย่างนั้น ของพระพุทธองค์สมบูรณ์ทั้งคําพูด สมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ทีนี้ดูในคัมภีร์เนติปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วยหาระ ๑๖ นัย ๕ และมูลบท ๑๘ นักศึกษาควรจดจํา ถ้าจําไม่ได้ก็เข้ามาดูบ่อย ๆ คําว่าคําภีร์เนตติ แปลว่า สามารถนําเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน

คือตัวที่นําสัตว์เนี่ยเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สัตว์บรรลุมรรคผลนิพพาน คําว่าเนตติ แปลว่า นําไป เช่นตัณหาเนี่ยก็ชื่อว่าเนตติเหมือนกัน นำไปเหมือนกัน แต่ตัณหานี่นําไปสู่กามภพ รูปภพและอรูปภพตัณหาชื่อว่าเนตติ ตัณหานําไปเกิดใหม่ ฉันใด คัมภีร์เนตติปกรณ์ก็นําไปเหมือนกัน แต่นําไปสู่มรรคผลนิพพาน ตัณหานําไปเกิด แต่คัมภีร์เนตติปกรณ์นําไปเพื่อเลิกเกิด จุดหมายคือ "นํา" เหมือนกันแต่คนละทางกัน เปรียบเทียบอุปมาว่าถ้าตัดต้นไม้ ใช้อะไรตัด ก็ใช้ขวานตัดใช่มั้ย เครื่องมือในการช่วยตัด ถ้าจะเดินทางไปไกลๆ ตามทางนี้อาศัยอะไร ก็อาศัยรถเป็นเครื่องมือในการช่วยเดินทาง ผู้ที่จะมีความรู้เข้าใจคําสอนพระพุทธเจ้าเหมือนกันก็ใช้คัมภีร์เนตติปกรณ์นี้แหล่ะ เป็นเครื่องมือช่วยนําให้เข้าใจคําสอน หรือคัมภีร์เป็นที่แนะนําเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน ซึ่งหมายความว่านักศึกษาทั้งหลายที่ปรารถนามรรคผลนิพพานต้องมาเรียนคัมภีร์นี้นะ แต่บางท่านก็บอก เอ๊ะ..เรียนคัมภีร์นี้คำภีร์เดียวก็พอหรือ ? (ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก) คือหมายถึงว่าสําหรับผู้ที่อยากจะขยายพุทธพจน์ย่อให้พิสดารได้ คือไม่คิดอะไรแง่เดียว ไม่มองอะไรสิ่งเดียว ควรศึกษาเนตติปกรณ์ เพราะเนตติปกรณ์เป็นคัมภีร์ที่ไม่ได้มองอะไรแง่เดียว แต่มองรอบด้านจริงๆ โดยการมองรอบทั้งอรรถและพยัญชนะเป็นอย่างดี 

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กิจจสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งกิจชื่อว่า “กิจจสังคหะ

คาถาสังคหะ
ปฏิสนฺธาทโย นาม-  กิจฺจเภเทน จุทฺทส
ทสธา ฐานเภเทน   จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ

แปลความว่า บรรดาจิตทั้งหลายที่ปรากฏขึ้น มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งกิจ มี ๑๔ กิจ ว่าโดยประเภทแห่งฐาน มี ๑๐ ฐาน

🔅 อธิบาย

ในบรรดาการงานทั้งหลาย ที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา หรือใจ ต่าง ๆ เหล่านี้ จะสำเร็จลุล่วงลงได้ ก็ล้วนแต่จะต้องอาศัยจิตและเจตสิก เป็นผู้ควบคุมและสั่งการให้การงานที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา ใจ ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นไปได้จนเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ทางกาย ให้สำเร็จเป็นการกระทำต่าง ๆ มีการนั่ง-นอน-ยืน-เดิน-ขีด-เขียน เป็นต้น การงานเหล่านี้สำเร็จลงได้ เพราะจิตเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตเจตสิกไม่สั่งให้กระทำแล้ว การงานนั้นๆ ก็จะสำเร็จลงไม่ได้

ทางวาจา ให้สำเร็จเป็นการพูด, การอ่าน, การร้องเพลง, ร้องไห้, การปาฐกถา, การแสดงธรรม, การด่าทอ-บริภาษ เป็นต้น เหล่านี้สำเร็จลงได้เพราะจิตและเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตและเจตสิกไม่สั่งให้พูดแล้ว การงานนั้นก็จะสำเร็จลงไม่ได้แน่นอน

ทางใจ การงานที่เกี่ยวกับใจ มีการคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ นั้น จิตและเจตสิกเป็นผู้สั่งตนเองให้กระทำการคิดถึง ไม่ได้สั่งให้กายหรือวาจากระทำ อุปมา


ปกิณณกสังคหวิภาค จิต เจตสิกนั้น เหมือนหัวหน้าผู้บริหารงานต่าง ๆ มีหน้าที่สั่งให้ผู้อื่นทำ คือ กายและวาจาเป็นผู้กระทำการงาน เป็นการทำงาน, การพูด และสั่งตนเอง คือ สั่งให้ จิต-เจติก คิดนึกเรื่องราวต่างๆ อีกด้วย ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า จิต เจตสิก เกิดขึ้นและดับไปเหมือนกระแสน้ำ มีความเป็นไปแห่งจิต เจตสิกรวดเร็ว ดุจแล่นไปในอารมณ์อยู่ตลอดเวลาและด้วยสามารถยังกิจต่างๆ ให้สำเร็จหลายๆ อย่าง โดยที่จิต เจตสิกนั้นเป็นประธานในธรรมทั้งปวง มีการนั่ง, นอน, พูด และคิดนึก เป็นต้น

ฉะนั้น จิต เจตสิกทุกดวงที่ปรากฏขึ้นนั้น ย่อมมีหน้าที่การงานของตน ๆ อยู่เสมอ จิต เจตสิกจะปรากฏขึ้นโดยไม่มีหน้าที่การงานอะไรเลยนั้นย่อมไม่มี อนึ่ง การทำกิจการงานของจิต เจตสิกนั้น จำเป็นต้องมีสถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานนั้น สถานที่ทำกิจของจิต เจตสิกเหล่านี้ ชื่อว่า ฐาน

ถ้าจะอุปมาแล้ว จิต เจตสิก เปรียบเหมือนผู้ทำงาน กิจ เปรียบเหมือนการงานต่าง ๆ ฐาน เปรียบเหมือนสถานที่ทำงาน ความสำเร็จแห่งการงานต่างๆ นั้น จึงย่อมประกอบด้วย จิต เจตสิก กิจ คือ หน้าที่การงาน และฐาน คือ สถานที่ทำงาน เรื่องจิต เจตสิกนั้นได้แสดงมาแล้วในปริจเฉทก่อนๆ ต่อนี้ไปจะได้แสดง กิจและฐาน โดยลำดับต่อไป


แสดงกิจของจิต ๑๔ 

หน้าที่ของจิต เจตสิก ที่ทำกิจการงานทั้งหมดนั้น มีอยู่ ๑๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่ คือ หน้าที่ของจิต ที่ทำหน้าที่เกิดขึ้นสืบต่อไปในภพใหม่ เป็นขณะจิตแรกที่ปรากฏขึ้นในภพใหม่นั้น และจะปรากฏขึ้นเพียงขณะจิตเดียวเท่านั้นในภพชาติหนึ่ง ๆ

๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ คือ จิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ หมายความถึงรักษากรรมวิบากของรูปธรรม นามธรรม สืบต่อจากปฏิสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกัมมชรูป ให้ดำรงอยู่ได้ในภพนั้นๆ ตราบเท่าอำนาจแห่งชนกกรรมจะส่งผลให้เป็นไปเท่าที่อายุสังขาร จะพึงตั้งอยู่ได้ ภวังคจิตนี้ เป็นหน้าที่ตามธรรมดาของจิต ที่จะต้องทำกิจนี้อยู่เสมอ จิตจะหยุดทำกิจนี้ ก็ต่อเมื่อขณะที่มีอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันมาคั่นตอน ให้จิตขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเสียเท่านั้น พ้นจากการขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่แล้ว จิตจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาองค์แห่งภพนี้อยู่เสมอตลอดเวลา

๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่ปรากฏใหม่ คือ จิต ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ ๖ ที่มาถึงตนทั้งทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร เป็นจิตขณะแรกที่ทิ้งจากภวังคกิจ แล้วจะต้องทำหน้าที่อาวัชชนกิจนี้ทันที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นจิตที่ทำหน้าที่ต้อนรับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันภพ กล่าวได้ว่าเป็นจิตดวงที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่

๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่เห็น คือ จิตที่ทำหน้าที่เห็นรูปารมณ์ จิตนี้มีชื่อเรียกว่าจักขุวิญญาณเพราะอาศัยจักขุวัตถุรู้เห็นรูปารมณ์ ถ้าไม่มีจักขุปสาททำหน้าที่เป็นจักขุวัตถุแล้วทัสสนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่เห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่เห็นนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ทัสสนกิจ จะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ขณะที่จักขุวิญญาณเกิดขึ้นในจักขุทวารวิถีเท่านั้น

๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน คือ จิตที่ทำหน้าที่ได้ยินสัททารมณ์ จิตนี้มีชื่อว่าโสตวิญญาณเพราะอาศัยโสตวัตถุเกิด เพื่อได้ยินสัททารมณ์ ถ้าไม่มีโสตปสาททำหน้าที่เป็นโสตวัตถุแล้ว สวนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่ได้ยินจะเกิดขึ้นไม่ได้และจิตที่ทำหน้าที่ได้ยินนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ สวนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ขณะที่โสตวิญญาณเกิดขึ้นในโสตทวารวิถี

๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่รู้กลิ่น คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้กลิ่นคันธารมณ์ จิตนี้ชื่อว่าฆานวิญญาณ เพราะอาศัยฆานวัตถุรู้กลิ่นคันธารมณ์ถ้าไม่มีฆานปสาททำหน้าที่เป็นฆานวัตถุแล้วฆายนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่นก็มีขึ้นไม่ได้ และกิจที่ทำหน้าที่รู้กลิ่นนี้ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ฆายนกิจ จะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือขณะที่ฆานวิญญาณเกิดขึ้นในฆานทวารวิถี

๗. สายนกิจ ทำหน้าที่รู้รส คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้รสารมณ์ จิตนี้เรียกว่าชิวหาวิญญาณ เพราะอาศัยชิวหาวัตถุรู้รสารมณ์ ถ้าไม่มีชิวหาปสาททำหน้าที่เป็นชิวหาวัตถุแล้ว สายนกิจจิตที่ทำหน้าที่รู้รสารมณ์ก็จะมีขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่รู้รสนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ สายนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ชิวหาวิญญาณ ที่เกิดในชิวหาทวารวิถี

๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่รู้สัมผัสกาย คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้การกระทบโผฏฐัพพารมณ์ จิตนี้ชื่อว่ากายวิญญาณ เพราะอาศัยกายวัตถุเพื่อทำกิจรู้ การกระทบถูกต้องสัมผัสโผฏฐัพพารมณ์ถ้าไม่มีกายปสาทเพื่อทำหน้าที่เป็นกายวัตถุแล้วผุสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้ การกระทบโผฏฐัพพารมณ์ก็จะมีขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่ผุสนกิจนี้ ในวิถีจิตหนึ่งๆ ผุสนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือขณะกายวิญญาณเกิดในกายทวารวิถีเท่านั้น

๙. สัมปฏิจฉนกิจ ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในปัญจทวารวิถีหนึ่ง ๆ สัมปฏิจฉนกิจจะเกิดขึ้นเพียงขณะจิตเดียวเท่านั้น

๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนกิจในปัญจทวารวิถีจิตหนึ่ง ๆ สันตีรณกิจจะเกิดขึ้นขณะเดียวเท่านั้น

๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ โวฏฐัพพนกิจ คือ จิตที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ โดยความเป็น กุศล, อกุศล เป็นต้น จิตนี้ ชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวารวิถีในวิถีจิตที่สมบูรณ์ วิถีจิตหนึ่ง ๆ ย่อมเกิดได้ขณะจิตเดียว ในวิถีจิตที่ไม่สมบูรณ์ คือ ในโวฏฐัพพนวาระ อาจเกิดได้ ๒-๓ ขณะ

๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์ ๖ ด้วย กุศลจิต, อกุศลจิต, สเหตุกกิริยาจิต, หสิตุปปาทจิต และโลกุตตรวิบากจิต ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ที่เป็นกามวิถีแล้ว ส่วนมากเกิดติดต่อกัน ๗ ขณะ และในอัปปนาวิถี อาจเกิดขึ้นได้มากมายจนประมาณมิได้ก็มี

๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ  คือ จิตที่ ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนจิตเสพแล้ว ในกามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่มีกำลังแรง ในวิถีจิตทีรับอติมหันตารมณ์หรือวิภูตารมณ์ ซึ่งมีจิตที่ชื่อว่า ตทาลัมพนจิต แล้วจะทำตทาลัมพนกิจ และเป็น ๒ ขณะจิตสุดท้ายในวิถีจิตที่เป็นตทาลัมพนวาระ

๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่ดับสิ้นไปจากภพ คือ จิตที่ ทำหน้าที่สิ้นจากภพปัจจุบัน เป็นจิตดวงสุดท้ายที่จะปรากฏในภพชาตินั้น และจะปรากฏได้เพียงขณะจิตเดียว ในภพชาติหนึ่ง คล้ายคลึงกับปฏิสนธิกิจ จิตที่ทำหน้าที่จุตินี้ เป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิต และภวังคจิตนั่นเอง


แสดงการจำแนกกิจ ๑๔ โดยจิต

๑. ปฏิสนธิกิจ จิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันติรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘  ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง
๒. ภวังคกิจ จิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง

๓. อาวัชชนกิจ จิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ใหม่ มี ๒ ดวง คือ : -

  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง

๔. ทัสสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่เห็น มี ๒ ดวง คือ :-

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง

๕. สวนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน มี ๒ ดวง คือ :-

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง

๖. ฆายนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่น มี ๒ ดวง คือ :-

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

๗. สายนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้รส มี ๒ ดวง คือ :-

  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง

๘. ผุสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ถูกต้องสัมผัส มี ๒ ดวง คือ :-

  • กายวิญญาณ ๒ ดวง

๙. สัมปฏิจฉนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ มี ๒ ดวง คือ :-

  • สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง

๑๐. สันตีรณกิจ จิตที่ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ มี ๓ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง

๑๑. โวฏฐัพพนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ มี ๑ ดวง คือ :-

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง

๑๒. ชวนกิจ จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์ มี ๕๕ ดวง คือ :-

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง
  • มหัคคตกิริยาจิต ๙ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

๑๓. ตทาลัมพนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ มี ๑๑ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต ๓ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง

๑๔. จุติกิจ จิตที่ทำหน้าที่ดับสิ้นไปจากภพ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง


แสดงการจำแนกจิตโดยประเภทแห่งกิจ

๑. จิตที่ทำกิจได้ ๕ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ทำกิจ ๕ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. สันตีรณกิจ
  • ๕. ตทาลัมพนกิจ

๒. จิตที่ทำกิจได้ ๔ อย่าง มี ๘ ดวง ได้แก่ มหาวิปากจิต ๘ ทำกิจ ๔ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. ตทาลัมพนกิจ

๓. จิตที่ทำกิจได้ ๓ อย่าง มี ๙ ดวง ได้แก่ มหัคคตวิปากจิต ๙ ทำกิจ ๓ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ

๔. จิตที่ทำกิจได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ทำกิจ ๒ อย่าง คือ :-

  • ๑. สันตีรณกิจ
  • ๒. ตทาลัมพนกิจ

มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ทำกิจ ๒ อย่าง คือ :-

  • ๑. โวฏฐัพพนกิจ
  • ๒. อาวัชชนกิจ (มโนทวารวิถี)

๕. จิตที่ทำกิจได้ ๑ อย่า มี ๖๘ ดวง (หรือ ๑๐๐ ดวง) ได้แก่

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทำกิจ อาวัชชนกิจ (ปัญจทวารวิถี)
จักขุวิญญาณ ๒ ทำกิจ ทัสสนกิจ
โสตวิญญาณ ๒ ทำกิจ สวนกิจ
ฆานวิญญาณ ๒ ทำกิจ ฆายนกิจ
ชิวหาวิญญาณ ๒ ทำกิจ สายนกิจ
กายวิญญาณ ๒ ทำกิจ ผุสนกิจ
สัมปฏิจฉนจิต ๒ ทำกิจ สัมปฏิจฉนกิจ
อกุศลจิต ๑๒ ทำกิจ ชวนกิจ
หสิตุปปาทจิต ๑ ทำกิจ ชวนกิจ
มหากุศลจิต ๘ ทำกิจ ชวนกิจ
มหากิริยาจิต ๘ ทำกิจ ชวนกิจ
มหัคคตกุศลจิต ๙ ทำกิจ ชวนกิจ
มหัคคตกิริยาจิต ๙ ทำกิจ ชวนกิจ
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ทำกิจ ชวนกิจ

แสดงการจำแนกเจตสิก ๕๒ โดยกิจ ๑๔ มี ๗ นัย

๑. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑ กิจ มี ๑๗ ดวง :-

  • อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้นและอกุศลจิต ๑๒ ดวงนั้น ทำหน้าที่เสพอารมณ์ เป็นชวนกิจอย่างเดียว
  • วิรตีเจตสิก ຕ ดวง ประกอบกับมหากุศลจิต ๘ และโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ เป็นชวนกิจ 

๒. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๔ กิจ มี ๒ ดวง คือ :

  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ ปฏิสนธิกิจ,ภวังคกิจ, จุติกิจ,ชวนกิจ

อธิบาย อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ ถ้าประกอบกับมหากุศลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๔, รูปาวจรกุศลจิต ๔, รูปาวจรกิริยาจิต ๔ ทำหน้าที่ชวนกิจ แต่ถ้าประกอบกับรูปาวจรวิบาก ๔ ทำหน้าที่ ๓ อย่าง คือ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ รวมอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำกิจได้ ๔ กิจ ดังกล่าวข้างต้น

๓. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๕ กิจ มี ๒๑ ดวง คือ :-

  • ฉันทเจตสิก ๑ ดวง
  • โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

เจตสิกทั้ง ๒๑ ดวงนี้ทำหน้าที่ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. ชวนกิจ ๕. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย ฉันทเจตสิก ๑, โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙, ปัญญาเจตสิก ๑ รวมเจตสิก ๒๑ ดวงนี้ ไม่ประกอบในอเหตุกจิต ๑๘ จึงเว้นกิจที่อเหตุกจิตทำหน้าที่ ๙ กิจ คือ อาวัชชนกิจ, ทัสสนกิจ, สวนกิจ, ฆายนกิจ, สายนกิจ, ผุสนกิจ, สัมปฏิจฉนกิจ, สันตีรณกิจ และโวฏฐัพพนกิจ ซึ่งกิจทั้ง ๔ นี้ เป็นหน้าที่ของอเหตุกจิตโดยเฉพาะ ฉะนั้น จึงคงทำหน้าที่ได้เพียง ๕ กิจ ดังกล่าวแล้วนั่นเอง

๔. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๖ กิจ มี ๑ ดวง คือ :-

  • ปีติเจตสิก ทำหน้าที่ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. สันตีรณกิจ ๕. ชวนกิจ ๖. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย ปีติเจตสิกนี้
๑. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นอกุศล, กุศล, กิริยา และผลจิต ย่อมทำหน้าที่ ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ทำหน้าที่สันตีรณกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นรูปาวจรวิบาก ๓ ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ
๔. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็น มหาวิบาก ๔ ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และตทาลัมพนกิจ

๕. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๗ กิจ มี ๑ ดวง คือ

  • วิริยเจตสิก ทำหน้าที่ ๗ กิจ คือ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. อาวัชชนกิจ ๕. โวฏฐพพนกิจ ๖. ชวนกิจ ๗. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย วิริยเจตสิกนี้
๑. ประกอบกับอกุศลจิต, กุศลจิต, กิริยาจิตและผลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ และ โวฏฐัพพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับมหาวิบากจิต ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๔. เมื่อประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ

๖. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๙ กิจ มี ๓ ดวง คือ :-

วิตกเจตสิก, วิจารเจตสิก, อธิโมกข์เจตสิก ทำหน้าที่ ๙ กิจ ได้แก่

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒.ภวังคกิจ 
  • ๓.จุติกิจ 
  • ๔. อาวัชชนกิจ 
  • ๕. สัมปฏิจฉนกิจ
  • ๖. สันตีรณกิจ
  • ๗. โวฏฐพพนกิจ
  • ๘. ชวนกิจ
  • ๙.ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย วิตก วิจาร และอธิโมกข์เจตสิก ๓ ดวงนี้
๑. เมื่อประกอบกับอกุศลจิต, กุศลจิต, กิริยาจิต และผลจิต ก็ทำหน้าที่ ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ และ โวฏฐพพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับสัมปฏิจฉนจิต ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ
๔. เมื่อประกอบกับสันตีรณจิต ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ, ตทาลัมพนกิจ, ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ
๕. เมื่อประกอบกับมหาวิบากจิต ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๖. เมื่อประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ


๗. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑๔ กิจ มีจำนวน ๗ ดวง คือ :-

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๒ ทำหน้าที่ ๑๔ กิจ คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. อาวัชชนกิจ
  • ๕.ทัสสนกิจ
  • ๖. สวนกิจ
  • ๗. ฆายนกิจ
  • ๘. สายนกิจ
  • ๙. ผุสนกิจ
  • ๑๐. สัมปฏิจฉนกิจ
  • ๑๑. สันตีรณกิจ
  • ๑๒. โวฏฐพพนกิจ
  • ๑๓. ชวนกิจ
  • ๑๔. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ฉะนั้นจึงทำหน้าที่ ๑๔ อย่างได้ทั้งหมด การจำแนกกิจโดยจิต และจำแนกจิตโดยกิจได้แสดงมาแล้ว ต่อไปนี้จะได้แสดงฐาน คือ สถานที่ทำการงานของจิตและเจตสิก ซึ่งมีอยู่โดยสังเขป ๑๐ ฐาน

แสดงฐาน ๑๐ อย่าง

๑. ปฏิสนธิฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานสืบต่อภพใหม่
๒. ภวังคฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานรักษาองค์แห่งภพ
๓. อาวัชชนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานพิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ปัญจวิญญาณฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงาน เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รู้รส, รู้ถูกต้องสัมผัส
๕. สัมปฏิจฉนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานรับปัญจารมณ์
๖. สันตีรณฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานไต่สวนปัญจารมณ์
๗. โวฏฐัพพนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานตัดสินปัญจารมณ์
๘. ชวนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานเสพอารมณ์
๙. ตทาลัมพนฐาน คือ สถานที่ ที่ทำงานรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ
๑๐. จุติฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานสิ้นจากภพ


แสดงการจำแนกฐาน โดยจิต

๑. ปฏิสนธิฐานเป็นสถานที่ทำงานสืบต่อภพใหม่ของจิต ๑๙ ดวง คือ: -

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

๒. ภวังคฐาน เป็นสถานที่ทำงานรักษาองค์แห่งภพของจิต ๑๙ ดวง คือ : -

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

๓. อาวัชชนฐาน เป็นสถานที่ทำงานพิจารณาอารมณ์ของจิต ๒ ดวง คือ :-

  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑

๔. ปัญจวิญญาณฐาน เป็นสถานที่ทำงานในการ เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รู้รส, รู้ถูกต้องสัมผัส ของจิต ๑๐ ดวง คือ :-

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

๕. สัมปฏิจฉนฐาน เป็นสถานที่รับปัญจารมณ์ของจิต ๒ ดวง คือ :-

  • สัมปฏิจฉนจิต ๒

๖. สันตีรณฐาน เป็นสถานที่ไต่สวนปัญจารมณ์ของจิต ๓ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต 

๗. โวฏฐพพนฐาน เป็นสถานที่ตัดสินปัญจารมณ์ของจิต คือ :-

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑

๘. ชวนฐาน เป็นสถานที่เสพอารมณ์ของจิต ๕๕ ดวง คือ :-

  • อกุศลจิต ๑๒
  • หสิตุปปาทจิต ๑
  • มหากุศลจิต ๘
  • มหากิริยาจิต ๘
  • มหัคคตกุศลจิต ๙
  • มหัคคตกิริยาจิต ๙
  • โลกุตตรจิต ๘

๙. ตทาลัมพันฐาน เป็นสถานที่ทำงานรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะของจิต ๑๑ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต ๓
  • มหาวิบากจิต ๘
๑๐. จุติฐาน เป็นสถานที่ทำงานสิ้นไปจากภพ ของจิต ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาส้นตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

แสดงการจำแนกจิตโดยกิจและฐาน

คาถาสังคหะ

อฏฺฐสฏฐิ ตถา เทฺว จ   นวาฎฺฐ เทฺว ยถากฺกมํ
เอกทฺวิติจตุปญฺจ—   กิจฺจฐานานิ นิทฺทิเส ฯ

แปลความว่า แสดงจำนวนจิตโดยหน้าที่ และฐาน ตามลำดับ ดังนี้คือ

จิตมีหน้าที่ ๑ และฐาน ๑ มีจำนวน ๖๘ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๒ และฐาน ๒ มีจำนวน ๒ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๓ และฐาน ๓ มีจำนวน ๙ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๔ และฐาน ๔ มีจำนวน ๘ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๕ 
และฐาน ๕ มีจำนวน ๒ ดวง

อธิบาย

จิตที่ทำหน้าที่ ๑ อย่าง ที่ฐาน ๑ ฐาน มีจำนวน ๖๘ ดวง คือ :-

จักขุวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
โสตวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ สวนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ฆานวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ฆายนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ชิวหาวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ สายนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
กายวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ผุสนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
สัมปฏิจฉนจิต ๒  ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ ที่ สัมปฏิจฉนฐาน
ชวนจิต ๕๕ ทำหน้าที่ชวนกิจ ที่ ชวนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๒ อย่าง ที่ฐาน ๒ ฐาน มีจำนวน ๒ ดวง คือ :-

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ 
- ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
- ทำหน้าที่ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
- ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ ที่ โวฏฐัพพนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๓ อย่าง ที่ฐาน ๓ ฐาน มีจำนวน ๙ ดวง คือ :-

มหัคคตวิบากจิต ๙
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๔ อย่าง ที่ฐาน ๔ ฐาน มีจำนวน ๘ ดวง คือ :-
มหาวิบากจิต ๘
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน
- ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๕ อย่าง ที่ฐาน ๕ ฐาน มีจำนวน ๒ ดวง คือ :-
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน
- ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
- ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สักกชนบทและศากยวงศ์

🔅สักกชนบท

ตั้งอยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ ตอนเหนือของชมพูทวีป เหตุที่ชื่อว่า สักกชนบท เพราะถือตามภูมิประเทศเดิมเป็นดงไม้สักกะ

เมืองกบิลพัสดุ์

มีเรื่องเล่าโดยย่อว่า พระเจ้าโอกกากราชมีพระราชโอรส ๔ และพระราชธิดา ๕ พระองค์ เมื่อพระมเหสีทิวงคต พระองค์มีพระมเหสีใหม่ได้ประสูติพระราชโอรส ๑ พระองค์ ทรงเป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่ง จึงพลั้งพระโอษฐ์ให้พร พระนางได้ตรัสขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของตน พระเจ้าโอกกากราชตรัสห้ามหลายครั้งก็ยังทูลขออยู่อย่างนั้น จึงยอมพระราชทานราชสมบัติให้ตามคำขอของพระนาง ครั้นจะไม่พระราชทานให้ก็กลัวจะเสียสัตย์ ตรัสเรียกพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์มาเข้าเฝ้าแล้วตรัสเล่าความจริงให้ทราบและให้ไปสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระองค์ทิวงคตแล้วให้กลับมายึดราชสมบัติคืน ดังนั้นพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์จึงไปสร้างเมืองใหม่อยู่ที่ดงไม้สักกะ ได้พบกับกบิลดาบส ตรัสเล่าความประสงค์ของตนให้ทราบ พระดาบสได้แนะนำให้สร้างเมืองตรงที่อยู่ของตน และบอกว่าสถานที่นี้เป็นที่มงคล เมืองนี้จะมีชื่อเสียงต่อไปในภายภาคหน้า เมืองใหม่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะว่าเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส

ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์

พระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อสร้างเมืองใหม่เสร็จแล้วพี่น้องจึงอภิเษกสมรสกันเองเพราะกลัวว่าชาติตระกูลของตัวเองจะไม่บริสุทธิ์ เว้นไว้แต่พระเชษฐภคินี (พี่สาวคนโต) ยกไว้ในฐานะพระราชมารดา กษัตริย์วงศ์นี้จึงได้ชื่อว่า ศากยวงศ์

ศากยวงศ์ ได้พระนามนี้ เพราะสาเหตุ ๓ ประการ คือ
        ๑. เพราะตั้งตามอาณาจักรหรือชนบท คือ สักกชนบท
        ๒. เพราะตั้งตามความสามารถของพระโอรสโดยลำพังปกครองประเทศได้รุ่งเรือง จนพระบิดาตรัสชมว่า เป็นผู้องอาจ
        ๓. เพราะกษัตริย์วงศ์นี้ได้อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่น้องที่เรียกกันว่า สกสกสังวาส

ส่วนพระเชษฐภคินีภายหลังมีจิตปฏิพัทธ์กับพระเจ้ากรุงเทวทหะจึงได้อภิเษกสมรสด้วยกัน ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ กษัตริย์วงศ์นี้ชื่อว่า โกลิยวงศ์

กษัตริย์ศากยะได้สืบราชสมบัติมาถึงพระเจ้าชัยเสนะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าสีหหนุและพระนางยโสธรา ต่อมาพระเจ้าสีหหนุได้ครองราชสมบัติจึงอภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนาน้องสาวของพระเจ้าอัญชนะ กรุงเทวทหะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๗ พระองค์ พระราชโอรส ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ พระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ ปมิตาและอมิตา ส่วนพระนางยโสธราน้องสาวของพระเจ้าสีหหนุได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัญชนะกรุงเทวทหะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองค์ พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะและทัณฑปาณิ พระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ มายาและปชาบดีโคตมี

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะเจริญวัย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ เมืองเทวทหะ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตา เมืองเทวทหะ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ ชื่อว่า พระราหุล

สักกชนบท แบ่งออกเป็น ๓ นคร

๑. พระนครเดิมของพระเจ้าโอกกากราช
๒. พระนครกบิลพัสดุ์
๓. พระนครเทวทหะ

การปกครอง

การปกครองนครเหล่านี้ไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจน แต่สันนิษฐานตามประเพณี ปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งได้มีอำนาจสิทธิ์ขาด


🔅พระโคตรของศากยวงศ์

เรียกว่า “โคตมะ” แต่บางครั้งก็เรียกว่า “อาทิตยโคตร” (ครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเจ้าพิมพิสารขณะเสด็จไปเมืองราชคฤห์เมื่อออกบวชใหม่ๆ)

พระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า

พระเจ้าชัยเสนะ ทวด (พระไปยกา)
พระเจ้าสีหหนุ ปู่ (พระอัยกา)
พระนางกัญจนา ย่า (พระอัยยิกา)
พระเจ้าอัญชนะ ตา (พระอัยกา)
พระนางยโสธรา ยาย (พระอัยยิกา)
พระเจ้าสุปปพุทธะ ลุง (พระมาตุลา)
พระนางอมิตา ป้า (พระปิตุจฉา)
พระนางปชาบดี น้า (พระมาตุจฉา)
พระเจ้าสุทโธทนะ พ่อ (พระชนก)
พระนางสิริมหามายา แม่ (พระชนนี)
พระนันทกุมาร น้องชาย (พระอนุชา)
พระนางรูปนันทา น้องสาว (พระขนิษฐภคินี)
พระนางยโสธรา (พิมพา) ภรรยา (พระชายา)
พระราหุล ลูก (พระโอรส)



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS