ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ(หน้า๕)
ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ (หน้า๔)
เพราะฉะนั้นถ้าเราพิจารณาปฏิจจสมุปบาทด้วยสายนิโรธวารแล้ว ก็ทำลายสัสสตทิฏฐิได้ อวิชชาดับ สังขารดับ, สังขารดับ วิญญาณดับ, เป็นลำดับ แล้วสัสสตทิฏฐิก็หายไป สัสสตทิฏฐิเกิดเพราะความหลงผิดว่าเกิดแล้วเป็นเที่ยง เกิดแล้วไม่มีดับอีก เมื่อมีเกิดย่อมมีดับ อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเราถือว่ามีเกิดขึ้น แต่ไม่ยอมให้ดับ เกิดแล้วเที่ยงไม่ได้ มันขัดกับหลักเหตุผล อันใดเกิด อันนั้นก็ต้องดับ เพราะฉะนั้นถ้าเราถือหลักปฏิจจสมุปบาทในสายนิโรธวารว่า อวิชชาดับ สังขารดับ เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็ต้องดับ เมื่อรู้อย่างนี้ สัสสตทิฏฐิก็ดับ อุจเฉททิฏฐิหรือเรียกว่านัตถิกทิฏฐิ เพราะเห็นแต่ข้างดับ ไม่เห็นข้างเกิด สัสสตทิฏฐิเห็นแต่ข้างเกิด ไม่เห็นข้างดับ อุจเฉททิฏฐิเห็นแต่ข้างดับไม่เห็นข้างเกิด เห็นว่าดับหมด เอ ! ร่างกาย
มัชฌิมาปฏิปทาโดยประการฉันใด ปฏิจจสมุปบาทโดยประการฉันนั้น ธรรมะในปฏิจจาสมุปบาทนั้น พิจารณาไปแล้วก็สำเร็จเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร ? ถ้ามาจับยกมรรคแปดออกเป็นมัชฌิมาปฏิปทาตัวมรรคแปดนั้นเป็นธรรมข้อปฏิบัติ ธรรมข้อปฏิบัติเพื่อถึงอะไร ? เพื่อถึงญาณทัสสนะที่แทงทะลุในปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับ เมื่อแทงทะลุปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับเช่นนี้ได้แล้ว นิพพานก็หนีไม่พ้น นิพพานเราก็ได้ทันที เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงได้ตรัสกับท่านมหากัจจายนะว่า "ดูก่อนกัจจายนะ เพราะเหตุที่พิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นเป็นลำดับ ความคิดในส่วนสุดอีกข้างหนึ่งของเราก็ไม่มี เพราะพิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่าดับไปเป็นลำดับ ความคิดในส่วน
อัตถิตาความมีอยู่คืออะไร ? คือสัสสตทิฏฐถือว่าทุกสิ่งมี ผิด! มีอันนั้นไม่ใช่ มีเที่ยง ขึ้นชื่อว่ามี มีอันนั้น มีอย่างปฏิจจสมุปบาท แต่มีอย่างสมบูรณภาพนียม ผิด!
ถือว่าทุกสิ่งเป็นนัตถิตา ไม่มีก็ผิด ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลาง ไม่ติดตั้งอัตถตาความมีอยู่ ไม่ติดทั้งในนัตถตา ความไม่มีอยู่ คือได้แก่การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทดังได้ว่ามานี่แหละ อันเข้าหลักอย่างพุทธพจน์ย่อที่ยกมาให้ฟังว่า อิมัสมิง สติ อิทังโหติ อิมัสสุปาทา อิทะมุปัชชติ อิมัสมิง อัสสติ อิทั้ง นโหติ อิมัชนิโรธา อิทั้งนิรุชชตีติ ดังได้ยกมา สิ่งอันนี้มี อันนั้นจึงมี อันนี้เกิดขึ้น อันนั้นจึงเกิด เพราะสิ่งอันนั้นไม่มี อันนี้ก็ไม่มี สิ่งอันนั้นดับ อันนี้จึงดับ และภาษิตพระอัสสชิเถรเจ้ายกขึ้นแสดงแก่พระสารีบุตรว่า เยธมฺมา เหตุปพฺพวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต คือแสดงปฏิจจสมุปบาทนี่เอง จึงได้กล่าวว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นหัวใจของพุทธศาสน์ ว่า “ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับสิ้นไปแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้นด้วย นี่พระมหาสมณะองค์นั้นมีปรกติวาทะอย่างนี้
ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด คำว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้ก็ได้แก่ปฏิจจสมุปปัณณธรรม มีเหตุเป็นแดนเกิด ส่วนปฏิจจสมุปปาณธรรมหมายถึงว่า ธรรมที่อาศัยกันเกิดพร้อมกัน คำว่า "ปฏิจจะ" มีอรรถว่าอาศัยหรือความประชุมพร้อมแห่งเหตุ อาศัยอะไร ? อาศัยความประชุมกันเกิดขึ้นพร้อมแห่งเหตุ อุปปาณะ คือความเกิดขึ้น เมื่อเข้าสนธิแล้วก็เป็น ปฏิจจะ+สัง+ปาณ เป็นปฏิจจสมุปปาณะ แปลว่าธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปปาณธรรม จึงแปลว่า ธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น
เมื่อเกิดสุขเวทนากต้องการให้ได้สุขยิ่งขึ้น เกิดนันทิราคะ เกิดเป็นตัณหา เวทนาเป็นปัจจยาตัณหา
ถ้าหากว่าได้รับทุกขเวทนาก็อยากจะดิ้นรนให้พ้นไปเสีย อาการที่ดิ้นรนอยากจะให้พ้นไปเสีย พ้นไปเพื่ออะไร ? เพื่อไปรองรับอารมณ์ที่สบายที่ตัวสำคัญนึกหมายว่าเป็นสุขเข้ามาแทน เพราะฉะนั้นอาการที่ต้องการดินรนเพื่อพ้นไปจากทุกขเวทนา เพื่อแลกกับอารมณ์ที่ตนนึกว่าดีกว่ามาแทนที่ อาการอย่างนี้ก็ยังเป็นอาการที่เรียกว่าตัณหา เป็นอาการของนันทิราคะอีกรูปหนึ่ง อันนี้ต่างกว่าอาการนิพพิทา นิพพิทาคือความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเพื่อต้องการความดับ ไม่ต้องการที่จะเอาอารมณ์ที่เป็นสุขเข้ามาเพิ่ม ส่วนทุกขเวทนาที่ต้องการพ้นไปในวิสัยที่สัตว์ยังมีนันทิราคะ ต้องการสลัดเอาอารมณ์ที่เป็นทุกข์นี้ออกไป เพื่อเอาอารมณ์ที่ชอบใจเข้ามาแทนที่ นี้ต่างกับอาการนิพพิทา เราอย่าไปสับสนกันกับอาการนิพพิทา
ประการที่ ๓ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตั้งแต่ที่สุดถึงเบื้องต้น อันนี้เรียกว่าปฏิโลมเทศนานัย คือจับความตั้งแต่ว่าทุกขโทมนัสอุปายาสของเรานี้หนอ มีอะไรเป็นเหตุ ? มีอะไรเป็นปัจจัย ? ครั้นใช้โยนิโสมนสิการใคร่ครวญพิจารณาดอย่างนี้แล้วประจักษ์ว่าเพราะชาตินี่แล้วเป็นเหตุ เราจึงมีชรามีทุกข์โสกะปริเทวะต่าง ๆ ครั้น พิจารณาไปอีกว่าชาตินี้ หนอมีอะไรเป็นเหตุ ? มีอะไรเป็นปัจจัย ? ด้วยโยนิโสมนสิการใคร่ครวญโดยดีแล้วที่ประจักษ์ว่า
เพราะภวะคือภพนี้เอง เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ใคร่ครวญปฏิโลมขึ้นไปอีก
มีอุปาทานเป็นปัจจัย อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีเวทนาเป็นปัจจัย เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีสฬายตนะเป็นปัจจัย สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ?
ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย ๆ ก็ประจักษ์ว่าภพ
ภพมีอะไรเป็นปัจจัย? ก็เพราะมีอุปาทาน
อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะตัณหา ตัณหามี
เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะผัสสะ
ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสฬายตนะ
สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะนามรูป
นามรูป มีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะเป็นวิญญาณ
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสังขาร
สังขารมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะอวิชชา
มาสุดแค่อวิชชา อันนี้เป็นปฏิโลมเทศนานัยเป็น ๔ นัยด้วยกัน นี่เป็นมติของท่านพุทธโฆษะที่ท่านแสดงไว้อย่างพิศดารในสัมโมหะวิโมทนีปกรณ์ ในที่นี้เราก็อธิบายถึงลักษณะปฏิจจสมุปปาณธรรมตามมติใน นิกายเถรวาทก่อน (อ่านต่อหน้าต่อไป)
ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ(หน้า๓)
ถ้าจะเปรียบในหลักปฏิจจสมุปบาทก็คล้ายกับไม้สามขาหย่าง ๓ อันผูกเข้าด้วยกัน แยกอันใดอันหนึ่งออกกตั้งเป็นขาหย่างไม่ได้ ต้องล้ม เพราะฉะนั้นปัจจัยแต่ละอัน ๆ ที่มาผูกด้วยกันแต่ละปัจจัยก็ยังอาศัยปัจจัยเกิดอีกเป็นชั้น ๆ ต่อไป ไม่ใช่ว่าอย่างอวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานผูก อวิชชาก็ไม่ต้องเกิดจากปัจจัยชี ! อวิชชาก็เกิดจากปัจจัยเพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้ธรรมที่ทำให้เกิดรูปก็ไม่เที่ยง" อย่านึกว่ารูปไม่เที่ยงแล้วธรรมที่จะทำให้เกิดรูปนั้นเที่ยงนะ ถ้าคิดอย่างนั้นเป็นสมบูรณภาพนิยม วิ่งเข้าหาลัทธิสมบูรณภาพนิยม ที่ถือว่าความไม่เที่ยงต้องมีรากฐานบนความเที่ยง ความไม่จริงต้องมีรากฐานบนความจริง ลัทธิคำสอนอย่างนี้เป็นสมบูรณภาพนิยม
พระพุทธศาสนาสอนอย่างนี้ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณนี้ไม่เที่ยง แม้ธรรมที่ให้เกิดรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณก็ไม่เที่ยงไปด้วย" ไม่ใช่ว่ารูปเวทนาสัญญาสังขารไม่เที่ยงแล้วธรรมที่ทำให้เกิดรูปเวทนาสัญญาสังขารนั้นมันจะเป็นอันติมะ มันจะเที่ยงถ้าอย่างนั้นเป็นสมบูรณภาพนิยม เพราะลัทธิสมบูรณภาพนิยมนั้นจะต้องพยายามคิดความไม่เที่ยงจากความเที่ยงเสมอ คือคิดว่าที่ว่าไม่ดี ๆ จะต้องมีความดีอยู่เป็นแก่น ที่ว่าไม่เที่ยงเป็นของเก๊ เป็นมายา จะต้องมีรากฐานบนของจริง เป็นของไม่เก๊ เป็นของไม่มายา ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว วิ่งเข้าหาสมบูรณภาพนิยม
ท่านที่ชอบเทวะ พวกบูชาเทวนิยมก็ไปติดแก่พระเจ้า ว่าพระเจ้าเบื้องต้นไม่ปรากฏ ท่ามกลางไม่ปรากฏ เบื้องปลายไม่ปรากฏ พวกที่ไปติดจิตก็ไปติดจิตสากล ว่าจิตสากลนี่ไม่เกิดไม่ดับ กลายเป็นลัทธิจิตอมตะไปก็มี และพวกที่ถือวัตถุก็ไปติดปรมาณูว่าปรมาณนี้ชั้นสุดท้ายแล้วแยกไปอีกไม่ได้แล้ว นี่พวกวัตถุ พวกนี้ทั้งหมดเป็นสมบูรณภาพ ดังนั้นพระพุทธศาสนาค้านพวกนี้จึงได้สอนปฏิจจสมุปบาทให้ฟังว่า ที่นึกว่าธรรมที่สุด มันยังไม่ที่สุด มันยังแยกธาตุต่อไปอีกได้ ที่นึกว่าแยกไม่ได้ เพราะว่าญาณทัสสนะตามไม่ถึง เหมือนอย่างนักวิทยาศาสตร์สมัยก่อน ความรู้ตามไม่ถึงเลยนึกว่าปรมาณูเป็นอันติมะ มีธาตุแท้อยู่ในโลก แต่พอไอสไตน์เกิดขึ้นคิดทฤษฎีสัมพันธภาพ รู้เข้าแล้วปรมาณูอิเล็กตรอนโปรตรอนสลายตัวหมดเป็นพลังงาน
แล้วพลังงานเวลานี้อาจจะคิดอันต่อไปอีกว่า แม้พลังงานก็ไม่เที่ยงไม่ใช่อันติมะ มันก็ดับสลายตัวไปอีก เพราะฉนั้นความเจริญของวิทยาศาสตร์ จึงกลับมาพิสูจน์หลักปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าว่าเป็นของจริง นี้อันนี้เราเห็นกันได้ชัดเจนที่เดียว คราวนี้เมื่อเป็นปฎิจจสมุปบาทแล้ว ปฎิจจสมุปบัณณะคืออะไร?
คำว่าปฎิจจสมุปบัณณธรรมนั้นแปลว่าธรรมอันเกิดแต่เหตุที่แอบอิงอาศัยเกิด เรียกว่าปฎิจจสมุปปัณณธรรม ธรรมอันใดเป็นปฎิจจสมุปปาณธรรม ธรรมอันนั้นก็ย่อมเป็นปฏิจจสมุปบัณธรรมด้วย ธรรมอันใดเป็นปฏิจจสมุปบัณธรรม ธรรมอันนั้นก็ย่อมจะเป็นปฏิจจสมุปปาณธรรมด้วยทุกอัน ยกตัวอย่าง
อวิชชาเป็นปฏิจจสมุปปาณธรรม ในขณะเดียวกันอวิชชาก็เป็นปฏิจจสมุปบัณธรรม
คืออะไร ? คืออาสวะ อาสวานัง สมุปาทา อวิชายะ ปวะตะติ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ อวิชชาจึงได้หมุนไป จึงได้ทัศนาขึ้น ปวัตติ เรียกว่าทัศนา ถ้าสมัยนี้เรียกว่าพัฒนานั้นเอง เพราะความอุบัติเกิดขึ้นแห่งอาสวะ อวิชชาจึงได้พัฒนาการขึ้นมาได้ จึงได้พัฒนาจากอาสวะขึ้นมา ไม่ใช่ว่าอวิชชาสุดโต่งกันแค่นั้น ไม่ใช่นะ ! ถ้าอย่างนั้นอวิชชาก็เป็นปฐมเหตุนะซิ ผิดกฎปฏิจจสมุปบาท
กฎปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นเรื่องของวงล้อหาเบื้องต้นที่สุดมิได้ หมุนเวียนไปเรื่อย(วัฏฏจักร) ถ้าหากถือว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุอันติมะแล้ว ก็กลายวิ่งไปหาสมบูรณภาพนิยมอีก คือกลายเป็นว่าสิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งนั้นเป็นเหตุวันยังค่ำ เป็นผลไม่ได้ แต่ตามหลักพุทธมตินั้น สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งนั้นต้องเป็นผลในตัวมันเอง สิ่งใดเป็นผล สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นเหตุในตัวมันเอง สิ่งที่จะไม่เป็นเหตุไม่เป็นผลมีอันเดียวคือนิพพาน พันเหตุกับพันผล ถ้าตราบใดยังเป็นเหตุยังเป็นผลอยู่แล้ว ตราบนั้นในผลนั้นก็ต้องมีเหตุ ในเหตุก็เป็นผล อวิชชาเป็นเหตุของสังขาร แต่ในขณะเดียวกัน อวิชชาก็เป็นผลของอาสวะ อาสวะเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาขึ้น และถ้าหากว่า ตั้งคำถามบอกว่าอาสวะล่ะมาจากอะไร ?
พระพุทธศาสนาไม่กล่าวหาปฐมเหตุ แต่สอนเป็นวัฏฏจักร อาสวะก็มาจากอวิชชา หมุนเวียนกัน เพราะในอาสวะนั่นเองมีคำว่าอวิชชาสวะอยู่ด้วย มันเป็นวัฏฏจักร มนุษย์เราไม่อย่างนั้น ชอบค้นหาต้นเดิม ว่าต้นเดิมจริง ๆ ที่ไม่ต้องมาจากเหตุอะไรมีบ้างไหม ? ถ้าจะว่ามี ? โกหก ! เพราะว่ามันกลายเป็นว่าเหตุต้นเดิมที่เราว่าเป็นเหตุนั้นเกิดจากความไม่เข้าใจของเราเลยสำคัญว่าเหตุอันนั้นเป็นเหตุสุดท้าย ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นฝนที่ตกลงมา เราบอกว่าฝนนี้เกิดจากน้ำ คนโบราณมีความรู้เพียงแค่นี้ ว่าฝนเกิดจากน้ำ หาต้นเหตุไปไม่ได้ก็บัญญัติว่าน้ำนี้เป็นปฐมเหตุ ไม่มีอะไรเป็นเหตุของน้ำนี้อีกแล้ว ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น ก็บอกว่าแม้แต่น้ำก็ไม่ใช่ตัวปฐมเหตุ เพราะน้ำเองก็เกิดจากไฮโดรเย่นกับออกซิเย่นประกอบกันเข้า และกว่าจะมาเป็นฝนนี้ต้องอาศัยแสงแดด อาศัยอากาศหลายอย่าง อาศัยความกดดันจึงได้เกิดเป็นเมล็ดฝนลงมาได้ เพราะฉะนั้นที่นึกว่าเป็นปฐมเหตุนั้นเป็นเพียงความโง่ช่วงหนึ่ง ที่ปัญญาญาณของเราตามไปไม่ถึง คือว่าเหตุผลเรานั้นไม่ได้มองตลอดไป ไปจับเอาช่วงใดช่วงหนึ่งแล้วไม่สามารถคิดทะลุต่อไป ก็เลยอับจนเพียงแค่นั้น
ท้าวมหาพรหมหลงผิดนึกว่าตัวเองเป็นคนสร้างสรรพสิ่ง หลงผิด ที่หลงผิดคืออย่างนี้ เพราะในสมัยหนึ่ง เมื่อเกิดไฟประลัยกัลปล้างโลกแล้ว แสนโกฏิจักรวาฬได้วินาศไป แล้วตั้งต้นจักรวาฬกันใหม่ ในขณะที่แสนโกฏิจักรวาพวินาศนั้น ฉกามาวจรสวรรค์ก็ถูกไหม้ไปด้วย โลกวินาศด้วยไฟไหม้ไปด้วย พรหมโลกยังไม่ไหม้ ท้าวมหาพรหมองค์สุดท้ายที่จะจากมา เห็นพรหมโลกองค์อื่นจุติเคลื่อนจากพรหมโลกลงมา อาจมาเกิดข้างล่างหมด มีองค์สุดท้ายอยองค์หนึ่งข้างบนนึกว่า เอ! เรานี่เป็นสิ่งเดียวอยู่ในนี้ พรหมมีอายุตั้งเป็นกัปป์ ๆ อยู่ๆ ไปก็ลืมหมด จับต้นชนปลายไม่ถูกว่า เอ! เรามาอยู่แต่เมื่อไรนี่ แต่เมื่อใช้ทิพยเนตรทิพยญาณสอดส่องดูแล้ว อ้าว ! เรานี่มีอายุเก่าแก่ก่อนพวกสัตว์ทั้งหลายในโลกธาตุนี้นี่นา
เอ! งั้นเราเป็นอภิธูแล้วสิ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้รังสฤษดิ์ เป็นผู้บรรดาล ท้าวมหาพรหมก็หลงผิดด้วยอำนาจโมหะจริตครอบงำนึกว่าตัวเองเป็นผู้สร้างโลกนี้ ในวรรณคดีบาลีได้แสดงปฐมเหตุว่าทำไมพระเจ้าที่จะสร้างโลกจึงนึกว่าตัวเป็นผู้สร้างโลกขึ้นมาเพราะอะไร? เพราะเกิดจากอย่างนี้ในวรรณคดีบาลีมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี ในพระสูตรสุตตันตปิฎกนี่แหละมี และในอัคคัญสูตร แสดงถึงความวิวัฒนาการของโลก บอกว่าพวกอาภัสสรพรหมเมื่อเกิดประลัยกัปป์ไหม้โลกแล้ว โลกปถพีก็ตั้งขึ้นใหม่ กลิ่นหอมของดินฟุ้งไปหลายแสนโกฏิ พวกอาภัสสรพรหมได้กลิ่นหอมของดินแล้วก็ลงมาจะกินง้วนดิน ทีนี้พวกอาภัสสรพรหมบางเหล่าเกิดความว้าเหว่ มีองค์หนึ่งเกิดความว้าเหว่ว่า
เอ! เราอยู่คนเดียวเปลี่ยวกาย อยากจะหาเพื่อน พอคิดแค่นี้ พรหมจรรย์อื่นที่ชั้นสูงกว่าก็จุติลงมา ถือปฏิสนธิมาเกิดใหม่ ตัวก็นึกว่า เอ! เพียงลำพังความคิดของเรานี้ ชีวิตต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นเป็น ๒ เป็น ๓ เป็น ๔ เป็น ๕ เรานี้แล้วเป็นผู้สร้างของพวกนี้ขึ้นมา ถ้าเราไม่คิด ทำไมของพวกนี้จะมีได้เล่า
ความจริงตัวเองไม่มีญาณทัสสนะจะไปตามรู้ว่า พวกเหล่านี้เขามาจากชั้นสูงกว่าตัว ตัวไม่มีญาณทัสสนะจะไปพบสิ่งที่สูงยิ่งกว่าตัว ไม่รู้หรอก ! พวกนี้เขาอาจพ้นจากภพชั้นสูงแล้วลงมาอยู่ชั้นเดียวกับตัว แต่บังเอิญเวลานั้น แค่คิดขึ้นก่อนเท่านั้นเอง ตัวคิดอยากจะมีเพื่อนกินง้วนดิน กินคนเดียวมันเปล่าเปลี่ยว อยากจะหาคนคุยด้วย หาคนสนทนาด้วย เพียงคิดเท่านี้ก็ประสพเหมาะเข้ามาเกิดชั่วระยะความคิดตัวก็เลยหลงผิดว่าเราเป็นผู้สร้างเขากระมัง แล้วอำนาจจิตของเราเป็นผู้แต่งเขาขึ้นแล้ว เราเป็นผู้สร้างแล้ว เราเป็นผู้รังสฤษดิ์แล้ว เพราะฉะนั้น เราเป็นมหาบิดา คือเป็นพ่อใหญ่ของโลก นี่ตำนานในวรรณคดีบาลีเราได้แสดงไว้อย่างนี้ว่า พรหมพวกนี้เป็นสสตทิฏฐิทั้งนั้น เพราะสำคัญผิดนึกว่าตัวเที่ยง ตัวเป็นผู้รังสฤษดิ์ อันนี้เป็นต้นตอที่จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า เพราะเหตุว่าไปจับช่วงระยะเหตุผลผิด คือว่าไปตันแค่เหตุแล้วไม่รู้ว่า เหตุอันนี้มาจากผลอีกอันหนึ่งไม่รู้หรอก ! คล้ายกับฝนมาจากน้ำแล้วไปต้นแค่นี้ว่าน้ำนี้เที่ยงแล้ว น้ำนี่แน่นอนแล้ว น้ำนี้นี่อันติมะแล้ว อื่นจากนี้ไม่มีอีกแล้ว เป็นประธานแห่งสรรพสิ่งแล้ว ไปตันแค่นี้
แต่พระพุทธเจ้าของเราไม่ยอมตันเพียงแค่นี้ สอบต่อไปอีกว่าน้ำนี้มาจากไหน ไฮโดรเย่นกับออกซิเย่นมาจากไหน ไล่สอบไปกันเรื่อย ในที่สุดก็สอนหลักปฏิจจสมุปบาท สิ่งอันนี้เกิด อันนั้นจึงเกิด, อันนั้นดับ อันนี้จึงดับ, หลักปฏิจจสมุปบาทจึงได้ทำลายสัสสตทิฏฐิ ทำลายอุจเฉททิฏฐิ
ทำลายอย่างไร ? คือว่าสัสสตทิฏฐิเห็นเที่ยงใช่ไหม? บอกว่าร่างกายชีวิตจิตใจอาตมันเที่ยง พรหมเที่ยง พระเจ้าเที่ยง ผู้สร้างเที่ยง เหตุเที่ยง ความที่เห็นเที่ยงอันนี้เพราะไม่รู้ว่าความดับของสิ่งนั้นก็มี ไม่ใช่ไม่มี ไม่ใช่จะอยู่ได้เสมอไป อย่างเช่นสังขารเป็นต้น สังขาร ไม่ใช่ว่าจะอยู่ได้ตลอดไป มันก็ต้องดับเมื่อสิ้นปัจจัย (อ่านหน้าต่อไป)
หน้า๑ หน้า๒ หน้า๓ หน้า๔ หน้า๕ หน้า๖ หน้า๗
อ. เสถียร โพธินันทะ #๑
ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และอดีตเลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
๑. ประวัติมนุษยชาติและศาสนา | |
๒. ศาสนาของชนชาติอริยกะโบราณ | |
๓. การตั้งถิ่นฐานและศาสนาของชาวอารยัน | |
๔. เหตุการณ์สมัยพุทธกาล | |
๕. ปฐมสังคายนา | |
๖. ทุติยสังคายนา | |
๗. การรุกรานของพวกกรีกและพระเจ้าอโศก | |
๘. ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา | |
๙. การแผ่ขยายของพุทธศาสนา | |
๑๐. การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา | |
๑๑. พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ | |
๑๒. พทธศาสนาในเอเซียบรูพา ๑ | |
๑๓. พทธศาสนาในเอเซียบรูพา ๒ | |
๑๔. พุทธศาสนาในจีน ๑ | |
๑๕. พุทธศาสนาในจีน ๒ | |
๑๖. พุทธศาสนาในธิเบต | |
๑๗. พุทธศาสนาในญี่ปุ่น | |
๑๘. พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ | |
๑๙. พุทธศาสนาในประเทศไทย | |
๒๐. สุนทรียภาพในพระพุทธศาสนา | |
๒๑. พุทธวิธีในการปฏิรูป | |
๒๒. ประวัติ อ.เสถียร โพธินันทะ | |
๒๓. ปฏิจจสมุปบาท ๑ | |
๒๔. ปฏิจจสมุปบาท ๒ | |
๒๕. ปฏิจจสมุปบาท ๓ | |
๒๖. ปฏิจจสมุปบาท ๔ | |
๒๗. คัมภีร์กถาวัตถุ ๑ | |
๒๘. คัมภีร์กถาวัตถุ ๒ | |
๒๙. ขันทวาที | |
๓๐. ปกติวาทีสมวายวาที |
๑.๘ ธรรมนิยาม
ธรรมนิยาม คือ หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดาตามที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปของมันเอง พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ มันก็มีก็เป็นไปของมันอยู่อย่างนั้นๆ (นิยามแปลว่ากำหนดอันแน่นอน) มี ๒ หมวดสำคัญ คือ
๑. ไตรลักษณ์
๒. ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าจะเข้าใจไตรลักษณ์ให้ชัด ต้องลงให้ถึงปฏิจจสมุปบาท เช่น ที่ว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงนั้น มันไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างเลื่อนลอย แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงต้องศึกษาระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย ข้อสังเกตที่สำคัญ (เทียบเคียงกับหลัก อริยสัจ ๔) เมื่อขันธ์ ๕ เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท โดยมีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจึงมีสภาพเป็นที่ตั้ง ที่ก่อตัวของทุกข์ หรือเป็นที่รวมไว้แห่งศักยภาพของการที่จะเป็นทุกข์ (เข้าใจว่าเพ่งที่ทุกข์ทางใจเป็นหลัก) ขันธ์ ๕ อันประกอบพร้อมด้วยความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทานขันธ์ ๕) จึงเป็นความหมายของ ทุกขอริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท ถือเป็นความหมายของ สมุทัยอริยสัจ ดังที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร
นอกจากธรรมที่เป็นสังขตธรรมหรือสังขาร ก็ยังมีธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ซึ่งพ้นเหนือปฏิจจสมุปบาท ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงไม่เป็น อนิจจัง และทุกขัง นี่ก็คือ นิโรธอริยสัจ อันได้แก่ นิพพาน
ส่วนอริยสัจข้อที่ ๔ มรรค คือ วิธีปฏิบัติในการที่จะให้กระบวนการปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร ไม่เป็นไป หรือพลิกกลับเป็นปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารนั่นเอง ในการปฏิบัติเมื่อแยกแยะออกไปแล้วจัดเป็นระบบชีวิตที่ดีงามเรียกว่า มรรคมีองค์ ๘
พุทธพจน์ “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้?
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศกคร่ำครวญ เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ
เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก คือ ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทางกาย และทางใจ
อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจเพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเขาไม่รู้ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง
ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว, นี้แล เรียกว่า ปุถุชน ผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก คร่ำครวญ เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ก็ฉันนั้น ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ
อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันระเริงเข้ากับกามสุข เพราะอริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก เมื่อไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดี ข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเธอรู้ตามที่มันเป็นอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง
ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว นี้เรียกว่า อริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่า ผู้ปราศจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่าง ระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้” (สัลลัตถสูตร)
สังขตธรรม (ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง, สิ่งทั้งหลายในโลกทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เรียกว่า นิยาม ๕ คือ ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอน เพราะเมื่อมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นๆแล้ว ก็จะมีความเป็นไปอย่างนั้นๆแน่นอน ประกอบด้วย
๑. อุตุนิยาม : เกี่ยวกับอุณหภูมิ
๒. พีชนิยาม : เกี่ยวกับพันธุกรรม
๓. จิตตนิยาม : เกี่ยวกับการทำงานของจิต
๔. กรรมนิยาม : การกระทำและผล
๕. ธรรมนิยาม : อาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย (ข้ออื่นๆรวมลงได้ในข้อนี้ทั้งหมด)
อาจมีอีก ๑ อย่าง คือ
๖. สมมตินิยาม : กฎระเบียบต่างๆที่มนุษย์ตั้งขึ้นใช้ในสังคม ไม่มีผลกับความจริงตามธรรมชาติ และอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความจริงตามธรรมชาติก็ได้ สังคมที่เจริญแล้วคนทั้งหลายมีปัญญา มักบัญญัติสมมตินิยาม ได้สอดคล้องกับกรรมนิยาม เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม
ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ(หน้า๒)
คำว่า "ปัณณธรรม" นี้แหละในสมัยโบราณได้พัฒนาการมานานในรูปของคำว่าปัจจยุคปัณณธรรม คำนี้แหละมาจากในพระสูตรว่าปฏิจจสมุปปัณณธรรม มาถึงยุคพัฒนาทางอภิธรรม ศัพท์นี้ พระอาจารย์ก็ได้เขียนขึ้นว่าเป็นปัจจยุคปัณณธรรม คำที่เกิดจากปัจจัยคำนี้ ด้านในพระสูตรเรียกว่าปัณณธรรม เพราะฉะนั้นในปัฏฐานที่ท่านกล่าวว่าเป็นปัจจยธรรม ๑ ปัจจยะสมุปปัณณธรรม หรือปัจจยุคปัณณธรรม ๑ อันนี้มีแล้วในพระสูตร คือในคำว่าปาณธรรมกับปัณณธรรม
ทั้ง ๒ คำนี้แตกต่างกันอย่างไร ?
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่าอะไรที่เป็นปาณธรรม ธรรมอันอาศัยการเกิด ? ทำไมจึงเป็นธรรมอันอาศัยการเกิด ? เพราะว่าตามพุทธมติ สรรพสิ่งในโลกนี้ที่เป็นไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะยืนอยู่ได้โดยเอกเทศ โดยตัวของมันเอง พุทธมติค้านเรื่องสมบูรณภาพนิยมไม่ว่าสมบูรณภาพนิยมนั้นจะปรากฏในรูปของวิญญาณ อันเป็นทิพย์ก็ดี หรือปรากฏในรูปของพระเจ้าอันเป็นทิพยสภาวะ เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ไม่ปรากฏ ก็ดี พระพุทธศาสนาคัดค้านทั้งสิ้น เพราะถือว่าสรรพสิ่งในโลกล้วนแต่อิงอาศัยกันเกิดทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้โดด ๆ เดี่ยว ๆ โดยไม่ต้องแอบอิงอีกสิ่งหนึ่งสัมพันธ์กันเกิด
ทั้งนี้เราจะพูดง่าย ๆ ว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องสัมพันธภาพนิยมก่อนไอสไตน์ตั้งสองพันกว่าปี ไอสไตน์เพิ่งจะมาค้นพบหลักทฤษฎีสัมพันธภาพนิยมในชั่วระยะเพียงไม่นานมานี้เอง แต่ว่าพระพุทธศาสานั้น ได้เข้าถึงหลักแห่งสัมพันธภาพนิยมตั้งสองพันกว่าปีมาแล้ว เพราะมองว่าสรรพสิ่งที่เป็นโลก โลกธรรมทั้งหมดนี้สัมพันธ์กันทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นธาตุแท้ของบริสุทธิ์เป็นอยู่ด้วยตัวมันเองไม่มีเลย หลักการอันนี้ในวิทยาศาสตร์สมัยก่อนหน้าไอสไตน์ไม่มีใครเชื่อ เพราะว่าวิทยาศาสตร์สมัยก่อนนั้นเชื่อว่าธาตุแท้มีอยู่ในโลกที่เป็นอันติมะ (ความจริงสุดท้าย ความจริงสูงสุด) ไม่สามารถจะย่อยได้อีกแล้ว ไม่สามารถกระจายได้อีกแล้ว เป็นธาตุแท้ทั้งหมดเพียงแค่นี้
วิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนนั้นสอนอย่างนี้ ก็คล้ายกันกับไวเสสิกะในสัททัสสนะของอินเดีย ลัทธิไวเสสิกะสอนว่าปรมาณูนี้เป็นอสังขตะ เราไม่สามารถจะแยกปรมาณูออก ปรมาณูนั้นเป็นอันติมะชิ้นสุดท้ายของสสาร ไม่สามารถจะแยกย่อยสลายปรมาณูไปได้อีกแล้ว ไวเสสิกะสอนอย่างนี้ ซึ่งลัทธินี้มีอายุก่อนนักวิทยาศาสตร์จะค้นพบหลักปรมาณูตั้งหลายพันปีที่เดียว อันนี้เราต้องชมเชยความก้าวหน้าในทางความคิดของนักปราชญ์อินเดียในสมัยโบราณเป็นอย่างมาก ที่มีความก้าวหน้าถึงขั้นรู้จักปรมาณู รู้จักความเที่ยงแท้ของปรมาณู แต่พอพระพุทธเจ้าอุบัติ พระพุทธเจ้าก็สอนว่า แม้แต่ปรมาณูที่พวกท่านนึกว่าเป็นอันติมะนั้นก็ยังไม่ใช่อันติมะ แต่ยังแยกได้อีก มันไม่ใช่มีด้วยลำพังตัวมันเอง มันต้องแอบอิงปัจจัยอีกหลาย ๆ สิ่งปรุงมันขึ้นมา เพราะฉะนั้นการที่ลัทธิไวเสสิกะจะถือว่าปรมาณูเป็นอันติมะนั้นเป็นโมฆะไปเสียแล้ว พระพุทธองค์ไม่ทรงรับรองในทิฎฐิของไวเสสิกะ ไม่ถือว่ามีสิ่งอันสมบูรณ์ในเอกภพ ถ้าหากว่าสิ่งสมบูรณ์ในเอกภพจะพึงมี สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ของในเอกภพแต่เป็นของนอกเอกภพออกไป นั่นคือโลกุตตรธรรมหรือพระนิพพาน
พระนิพพานเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับโลก ไม่เป็นโลก แต่ถ้าหากว่าเป็นโลกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแก่นโลกหรือเป็นพฤติการณ์ของโลกล้วนแต่ไม่เป็นสิ่งสมบูรณ์ทั้งสิ้น เพราะอะไร ? เพราะโลกเป็นปฏิจจสมุปบาทแอบอิงอาศัยปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้นมา ไม่มีภาวะโดดเดี่ยวที่เป็นอยู่ได้โดยตัวมันเอง ถ้าสิ่งใดที่จะเรียกว่าเป็นภาวะโดดเดี่ยวเป็นอยู่ได้ในตัวมันเองนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่โลก สิ่งนั้นต้องตรงกันข้ามโลก คือ โลกุตตระ คือพระนิพพานนั้นเอง นิพพานนั้นดับโลก เพราะฉะนั้นจึงดับในสิ่งที่เป็นปฏิจจสมุปบาท สิ่งอันใดเป็นโลก อันนั้นก็เป็นปฏิจจสมุปบาท อันนี้พุทธภาษิตก็มีเป็นอันมากในพระสูตรที่ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าโลก โลกเป็นไฉน ? ธรรมชาติใดย่อมแปรเปลี่ยนไปได้ ธรรมชาดนั้นชื่อว่าโลก" เพราะฉะนั้นไม่ว่าเป็นปรมาณูก็ตาม ไม่ว่าเป็นพลังงานอะไรต่าง ๆ ก็ตามถ้าเป็นโลกแล้วมันแปรเปลี่ยนไปได้ทั้งนั้น มันแปรปรวนไปได้ทั้งนั้น แล้วแต่ปัจจัยของมัน เพราะสรรพสิ่งที่ปรากฏแก่เรานั้นเป็นปฏิจจสมุปปาณธรรม
คราวนี้เมื่อเรามาพูดถึงปฏิจจสมุปปาณธรรม ก็ทำให้นึกถึงปาฐกถาของศาสตราจารย์ชาวเยอรมันที่เคยมาพูดที่นี้ วันนั้นผมไม่ได้มาฟังหรอก ฟังจากข้อเขียนที่ภายหลังที่มาพูดแปลออกมาแล้ว ศาสตราจารย์บอนชมิดท์ ชาวเยอรมันที่มาพูดบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทในคืนตรัสรู้หรอก มาตรัสรู้หลังจากวันตรัสรู้แล้ว อ้างอิงพระสูตรบ้าง หลักฐานต่าง ๆ มาอ้างบ้าง น่าเสียดาย วันนั้นผมเองก็ไม่ได้มาฟังด้วย คือข้อเสนอของศาสตราจารย์บอนชมิดท์นั้นผิดพลาดจากข้อเท็จจริงทีเดียว อาจจะเกิดจากตัวท่านเองไม่ได้ค้นคว้าหรืออาจจะลืมไป ความจริงหลักฐานในพระสูตรแสดงไว้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทในวันตรัสรู้ แสดงไว้ชัดเจน ยกตัวอย่างในสิขายตนะสูตร แห่งบาลีติกนิบาตอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ชื่อว่า โลกกับสมุทัยนั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้นแล สังขารจึงมี เพราะสังขารนั้นแล วิญญาณจึงมี" แสดงเป็นลำดับ แสดงเป็นปฏิจจสมุปบาท โลกกับสมุทัย คือเหตุเกิดของโลกนั้นได้แก่ปฏิจจสมุปบาท และในประการตรงกันข้ามก็ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ว่าโลกนิโรธนั้นเป็นไฉนเล่า ? ก็แยกเป็นนิเทศว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารดับ, สังขารดับ วิญญาณดับ, วิญญาณดับ นามรูปดับ, นามรูปดับ สฬายตนะ สฬายตนะดับ ผัสสะดับ. ผัสสะดับ เวทนาดับ เวทนาดับ ตัณหาดับ, ตัณาราดับ อุปาทานดับ, อุปาทานดับ ภพดับ, ถ้าพบดับแล้ว ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ และกองทุกข์กองมหึมาก็ดับสลายไปด้วย นี้แล ชื่อว่าโลกนิโรธ เพราะฉะนั้นหลักฐานในอังคุตรนิกายอันหนึ่ง หลักฐานอีกอันหนึ่งในบาลีสังยุตตนิกายนิทานวรรค ทรงแสดงบอกว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลที่ตถาคตยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น ได้มนสิการว่า เพราะอะไรหนอ โสกะปริเทวะจึงมี ? ทุกขโทมนัสอุปายาสจึงมี ? ครั้นคิดค้นแล้วก็ปรากฏว่า เพราะชาตินั่นเอง โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสจึงมี คิดค้นต่อไปอีกว่า เพราะอะไรหนอ ชาติจึงมี ? ก็ได้พบความจริงว่า เพราะภพนั่นเองชาติจึงมี อย่างนี้เป็นรูปของปฏิโลม คิดย้อนขึ้น ทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม ทั้งปฏิโลม ทั้งอนุโลม ตถาคตจึงพบว่า ถ้าหากว่าอวิชชาดับแล้ว ของพวกนี้ก็ดับเป็นทิวแถวกันหมดทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตได้มารู้แจ้งแล้วในปฏิจจสมุปบาท จึงกล้าปฏิญาณตนว่าเป็นสัมมาสัมพทธะ อันยังธรรมจักรให้หมุนไป ซึ่งเทวดามารพรหมสมณพราหมณ์ ไม่มีคนใดคนหนึ่งที่สามารถยังธรรมจักรนี้หมุนกลับไปได้”
นี่ พุทธภาษิตในอาคตะสถานเป็นอันมาก มีปรากฏมากมาย ไม่ทราบว่าท่านศาสตราจารย์เยอรมันไม่ได้ดูหรืออย่างไรก็ไม่รู้ มากล่าวตู่บอกว่า พระพุทธเจ้านะไม่ได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทในวันตรัสรู้ ตรัสรู้แต่อริยสัจจ์ อริยสัจจ์นั่นแหละคือปฏิจจสมุปบาท แต่ว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นถูกอริยสัจจ์ครอบปฏิจจสมุปบาท ครอบอย่างไร ? ทุกขอริยสัจจกับสมุทัยอริยสัจจ์นั้นได้แก่ปฏิจจสมุปบาท สายสมุทยวาระ คือสายโลกกับสมุทัย
เหตุเกิดของโลกได้แก่อะไร ? ได้แก่ อวิชชา ตัณหาอุปาทานเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นปฏิจจสมุปบาทสายสมุทวาระ ก็คือทุกขอริยสัจจ์กับสมุทัยอริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาทสายนิโรธวาระ อวิชชาดับ สังขารดับ เป็นลำดับนั้น ก็ได้แก่นิโรธอริยสัจจ์นั่นเอง โลกนิโรธนั้นเอง และอันใดเป็นโลกนิโรธ อันนั้นก็เป็นมรรคด้วย คือการที่ปฏิบัติเพื่อความดับอันนั้นแลเป็นมรรคสัจจ์ เพราะเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาทนั้นอยู่ในอริยสัจจ์นั่นเอง ไม่ใช่หนีไปไหนเลย
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ในยามสุดท้ายแห่งราตรีหรือในอาสวักขยะญาณ อันเป็นเหตุให้ได้อาสวักขยะญาณ ญาณนั้นแลตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทอันใด อริยสัจจ์ก็อันนั้น อริยสัจจ์อันใด ปฏิจจสมุปบาทก็อันนั้นเอง ไม่ได้ต่างไปจากไหนเลย เรามาเข้าใจผิดมาแยกเอาเองต่างหากว่าปฏิจจสมุปบาทก็ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจจ์ก็ส่วนอริยสัจจ์ ในบาลีอุทานวรรคมีเค้าความอันหนึ่งที่ชวนให้นึกว่าพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทหลังตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ คือว่าในบาลีอันนั้นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลังวันวิสาขปุณณมีแล้วได้ทรงพิจารณาธรรมะแล้วในขณะที่พิจารณานั้น ได้ทรงยกเอาปฏิจจสมุปบาทขึ้นพิจารณา ข้อนี้เองที่ท่านบอนชมิดท์ที่เอามาอ้างบอกว่า นี่แหละพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ปฏิจจสมุปบาทหลังตรัสรู้ ข้อนี้เอง แต่บาลีเนื้อความอุทานวรรคข้อนั้นเป็นเพียงแต่แสดงว่า พระองค์นำปฏิจจสมุปบาทขึ้นมาพิจารณาเป็นปัจจเวกขณญาณ ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาทำให้มีขึ้นหลังวันตรัสรู้ ไม่ใช่เลย เพียงแต่ทรงมนสิการว่า อวิชามี สังขารมี วิญญาณมี เป็นลำดับ มนสิการ ท่านใช้ศัพท์ว่า "กาโร มนสิการ" ไม่ได้ใช้คำว่า "อภิสัมโพธิ" คือเข้าไปทำให้แจ้ง หรือเข้าไปแทงให้ทะลุ เปล่าเลย เพราะทำให้แจ้งตั้งแต่ในอาสวักขยญาณ ราตรีสุดท้ายแห่งวันตรัสรู้แล้ว ไม่ต้องมาทำให้แจ้งกันบ่อยๆ อีกแล้ว เป็นเพียงแต่ยกขึ้นมาพิจารณาทบทวนอีกที
นี่แหละที่ทำให้ท่านโปรเฟสเซอร์ชาวเยอรมันเข้าใจผิดไปคว้าเอาตอนนี้บอกว่า นี่แหละพระพุทธเจ้ามารู้ปฏิจจสมุปบาทหลังวันตรัสรู้ เพราะฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายที่ฟังปาฐกถาวันนั้นแล้วโปรดทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องตามที่ว่ามานด้วยว่า พระพุทธเจ้านั้นตรัสรู้อริยสัจจ์กับปฏิจจสมุปบาทเหมือนกัน อันเดียวกัน ปฏิจจสมุปบาทสงเคราะห์เข้าในอริยสัจจ์ ๔ ให้เข้าใจอย่างนี้ด้วย จะได้ไม่หลงผิดต่อไป เมื่อเรารู้ว่าปฏิจจสมุปบาทได้แก่ธรรมที่อิงอาศัยกันเกิดแล้ว คำว่า "อิมัสมิง สติ อิทัง โหติ" ข้อนี้สำคัญที่สุด อธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างย่อที่สุด เรียกว่าหัวใจปฏิจจสมุปบาทก็ว่าได้
อิมัสมิง สติ อิทั้งโหติ เพราะสิ่งอันนี้มี สิ่งอันนั้นจึงมี อันหนึ่ง
อิมัสสปาทา อิทะมุปัชชติ เพราะสิ่งอันนี้เกิด สิ่งอันนั้นจึงเกิด
อิดัง นโหติ เพราะสิ่งอันนี้ไม่มี สิ่งอันนั้นก็ไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทั้ง นิรุชชตีติ เพราะสิ่งอันนี้ดับ สิ่งอันนั้นจึงดับ
นี่เป็นลูกโซ่กันเลย เป็นสายโซ่ที่เดียว ที่กล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผลนั้น นอกจากจะเป็นเหตุผลในแง่คำสั่งสอน เหตุผลในแง่เผยแพร่ เหตุผลในแง่ตรรกะ เหตุผลในแง่อะไรร้อยแปดอะไรก็ตาม แต่ว่าเหตุผลอันเป็นแก่นสารสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นสาระสำคัญในพุทธศาสนานั้นก็คืออันนี้ เหตุผลอันนี้ อิมัสมิงสติ สิ่งนี้มี อิทัง โหติ สิ่งนั้นก็มี เพราะอันนี้มี อันนั้นก็มี อันนี้มีอันนั้นมี อันนี้คืออะไร? อวิชชา สังขารมี อิมัสมิงสติ เปรียบว่าอวิชชา อิทัง โหติ เปรียบว่าสังขาร เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นมันก็มี อิมัสสุปาทา สิ่งนี้เกิด อิทะมุปัชชติ สิ่งอันนั้นมันจึงเกิดได้ อวิชชา เกิดแล้วสังขารมันจึงเกิดขึ้นมาได้ ถ้าหากว่าอวิชชาไม่เกิดแล้ว สังขารอันนั้นก็ไม่เกิด
อันหนึ่ง อิมัสมิง อัสสติ ถ้าอันนี้ไม่มีแล้ว อิทัง โหติ อันโน้นก็ไม่มี อวิชชาถ้าไม่มีแล้ว สังขารก็มีไม่ได้ อิมัสสะ นิโรธา อิทั้ง นิรุชชตีติ เพราะอันนี้มันดับ อันนั้นก็พลอยดับไปด้วย เมื่ออวิชชาดับ สังขารก็พลอยดับไปด้วย อันนี้เป็นหลักเหตุผล หรือหลักหัวใจย่อ ๆ ของปฏิจจสมุปบาท แสดงอย่างนี้ เป็นหลักย่อ ๆ (อ่านหน้าต่อไป)
หน้า๑ หน้า๒ หน้า๓ หน้า๔ หน้า๕ หน้า๖ หน้า๗
ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ(หน้า๑)
ก่อนที่จะพูดถึงปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้โปรดทำความเข้าใจว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายที่สูง และแตกต่างกับหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์ ก็ตรงปฏิจจสมุปบาทนี้เอง เพราะว่าในนานาลัทธิของศาสนาพราหมณ์นั้นก็ดี หรือว่าในนานาลัทธิในภาคตะวันตกก็ดี หรือนานาลัทธิในภาคตะวันออกของโลกก็ดี ลัทธิเหล่านั้น ปรัชญาเหล่านั้นล้วนแต่มิได้สอนลักษณะธรรมะแบบปฏิจจสมุปบาทซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนมาทั้งสิ้น
อะไรที่เรียกว่าสมบูรณภาพนิยม ?
ก่อนหน้าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติ ไม่เคยมีการรู้กันมาก่อนเลยว่า หลักปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นไฉน แม้จะมีบางลัทธิอย่าง ลัทธิสางขยะ อันเป็นลัทธิที่เก่าก่อนกว่าพุทธศาสนาของเรา ในลัทธิสางขยะนั้นมีลีลาคล้ายกับจะสอนปฏิจจสมุปบาทเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่ แม้จะมีลีลาแสดงเรื่องตัดตระต่าง ๆ ที่เกิดการวิกาลแปรเปลี่ยนออกจากสิ่ง ๒ สิ่ง สิ่งหนึ่งเรียกว่าปุรุสะหรืออาตมัน อีกสิ่งหนึ่งเรียกว่าประกริตหรือในภาษาบาลีเรียกว่าปกติ สันสกฤต ก็ว่าเป็นประกริต ประกริตกับปรุสะมีความสัมพันธ์กัน แล้วก็เกิดความวิกาลออกมา เกิดเป็นวัฏฏสงสาร เกิดความเป็นไป ชีวิตก็วิวัฒนาการเกิดขึ้น ลักษณะอย่างนี้ยังไม่ใช่เป็น ปฏิจจสมุปบาท เพราะว่าลัทธิสางขยะยังยืนยันว่ามีของจริงอยู่ ๒ ชั้น คือปุรุสะกับประกริต เพราะยังเป็นสมบูรณภาพอยู่ หนีไม่พ้นสมบูรณภาพนิยม คือถือว่าของไม่เที่ยงต้องเกิดจากของเที่ยง ของไม่เที่ยงต้องมี