วันอังคาร

ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ(หน้า๕)

ในปฏิจจสมุปปาณธรรมตามมติในนิกายเถรวาทเรานั้น มีภวะจักร อันเป็นตัวการอยู่ ๒ ตัวคือ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑ ในภาเวตปธรรม ปหานตปธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรนิกาย จตุกนิบาตแสดงไว้ว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แก่อะไร ?
ควรกำหนดรู้ได้แก่นาม ๑ รูป ๑ เข้าไปกำหนดรู้เท่าทัน
ธรรมที่ควรละคืออะไร ? ปหานตัปกิจปหานตัปกิจคืออะไร ?
นามรูปนี้เป็นปริญเญยกิจ ควรเข้าไปกำหนดให้รู้เท่า ปหานตัปกิจได้แก่ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑ ควรแก่การเข้าไปละเข้าไปประหาร
ธรรมที่เป็นสัมชิกาตัปปกิจควรเข้าไปทำให้แจ้งคืออะไร ?
ได้แก่นิพพาน
ธรรมที่ควรเข้าไปเจริญเป็นภาเวตปกิจอบรมให้มีขึ้นคืออะไร ?
คือมัคมีองค์ ๘ 

เพราะฉะนั้นในที่นี้เราจะเห็นว่า พระองค์ทรงแสดงปฏิจจสมุปปาณธรรม ฉะนั้น รวบรัดคือมุ่งเอาคำว่า อวิชชากับภวตัณหา อวิชชากับภวตัณหานี้ท่านว่าเป็นนปุพโกติ นปุพโกติแปลว่า เบื้องต้นไม่ปรากฏ เราจะสืบสาวราวเรื่องไปต้นตอว่า อวิชชากับภวตัณหา นั้นมีปฐมเหตุอะไร เบื้องต้นมาจากไหนไม่ปรากฏ ท่านใช้ศัพท์ว่านปุพโกติ

ทำไมถึงเอาอวิชชากับภวตัณหาเป็นในทางเช่นเดียวกัน ?
ความจริงก็เป็นอันเดียวกัน ภวตัณหาอันใดอวิชชาก็อันนั้น อวิชชาใด ภวตัณหาก็อันนั้น แต่ว่านี้แสดงถึง ๒ นัย คือว่าแสดงว่าสัตว์ที่จะพึงไปถือปฏิสนธิในทุกขคติภูมิ พระองค์ทรงแสดงโดยนัยแห่งอวิชชา
อำนาจแห่งอวิชชาพาสัตว์ไปปฏิสนธิในทุคติ ถ้าหากว่าสัตว์จะไปปฏิสนธิในคติภูมิ พระองค์ทรงแสดงโดยนัยแห่งภวตัณหา เพราะฉะนั้นอวิชชานำไปสู่ปฏิสนธิในภพน้อยภพใหญ่ "ภวาภวะ" ในภพน้อยภพใหญ่ แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามาคู่กับภวตัณหาแล้วอวิชชาในที่นี้ ท่านหมายมุ่งเอาว่าไปปฏิสนธิเป็นตัวนำของสัตว์ที่จะพาไปสู่ปฏิสนธิในทุคติภูมิ ส่วนภวตัณหานั้นมีหน้าที่นำสัตว์ไปปฏิสนธิในสุคติภูมิ เพราะเหตุว่าสัตว์ใดถึงซึ่งสสตทิฏฐิย่อมเจริญ ฌาณบ้าง เจริญศีลบ้าง เพื่อหวังความที่ตนเทียงในภพหน้าก็ดี เพื่อหวังเห็นว่าสวรรค์เป็นของเทียงก็ดี เห็นพรหมโลกเที่ยงก็ดี สัตว์นั้นย่อมสหรจรน์ด้วยภวตัณหาเป็นปัจจัยเป็นแม่นแท้ เมื่อภวตัณหาเป็นรากเหง้า เพราะภวตัณหานั้นในนิเทศนั้นท่านแก้ว่าได้แก่ตัวสสตทิฏฐนั้นเอง แต่ว่าภวตัณหาย่อมพาสัตว์ไปท่องเที่ยวในภพใหญ่น้อยเป็นลำดับไป นี้อันหนึ่ง


แต่ว่า อีกอย่างหนึ่งทรงแสดงด้วยอำนาจของอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารโดยลำดับนั้น แสดงแก่สัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต สัตว์ใดซึ่งหนักในทิฏฐิจริต ทรงแสดงอวิชชาเป็นลำดับตามนัยปฏิจจสมุปปาณธรรมเป็นลำดับให้ฟัง แต่สัตว์ใดที่มีเชื้อตัณหาจริตเป็นมูล ก็ทรงแสดงภวตัณหาเป็นเหตุต้นเป็นลำดับให้ฟัง นี้เป็นการยักย้ายแตกต่างกันระหว่างภวจักร ๒ กล่าวคือ อวิชากับภวตัณหา ถ้ามาคู่กันก็ต้องแยกแยะอย่างนี้ แต่โดยปกติทั่วๆไปแล้ว ก็ทรงแสดงอวิชชานี่แหล่ะเป็นรากเหง้าต้นตอของวัฎฎะทั่วๆไป แต่โดยนัยพิเศษในกรณีที่ว่าถ้าพบพระพุทธพจน์ที่มีคำว่า อวิชชากับภวตัณหามาคู่กันแล้ว ก็ให้ทำความเข้าใจอย่างนี้ว่ามีอรรถาธิบายแตกต่างกันอย่างนี้ว่า อวิชชาเป็นเบื้องต้นนั้น ทรงแสดงแก่สัตว์ผู้หนักในทิฏฐิจริต ถ้าหากว่า ทรงแสดงปฏิจจสมุปปาณธรรมโดยนัยมีภวตัณหาเป็นเบื้องต้นนั้น ทรงแสดงแก่สัตวผู้หนักในภวตัณหา เพราะฉะนั้นสัตว์ผู้จะถือปฏิสนธิในทุคติภูมิ ทรงแสดงโดยรากเหง้าคืออวิชชา สัตว์ที่จะถือปฏิสนธิในสุคติภูมิ ทรงแสดงโดยรากเหง้าคือภวตัณหา ให้ทำความเข้าใจ ในข้อแตกต่างระหว่างคำว่า อวิชชากับภวตัณ หาที่มาคู่กันในนัยอันนี้ด้วย แต่โดยทั่วๆ ไปแสดงอวิชชาเป็นต้นตอใหญ่ ทั้งอวิชชากับภวตัณหาท่านใช้คำว่านปุพโกติ มีเบื้องต้นไม่ปรากฏ เราจะสืบสาวราวเรื่องอะไรเป็นต้นตอว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไร สืบสาวไม่ได้ เบื้องต้นไม่ปรากฏจริง ๆ เพราะว่ามันเป็นวงจรหมุนกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวจักร จักรคือวงกลมที่หมุนไปนั่นเอง อวิชชาโดยปกตินั้นท่านก็แสดงว่าได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ความไม่รู้ในนามรูปโดยเที่ยง ความเป็นจริง พูดง่ายๆ ว่าความไม่รู้ในลักษณะญาณ รู้ว่านี่เป็น นี่ไม่เที่ยง นี่เป็นทุกข์ นี่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่รู้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นอวิชชาเหมือนกัน

ส่วนคำว่า "สังขาร" ในคำว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในที่นี้คำว่าสังขาร ยังมีบางคนเข้าใจผิด คือว่าในอภิธรรมปิฎกวิภังคปกรณ์แก้ว่า ปุญญาภิสังขารโร อปุญญาภิสังขาโร อเนญชาภิสังขาโร กายะสังขาโร วจีสังขาโร สัญญาสังขาโร มโนสังขาโร บางอันใช้ว่าจิตตสังขาโร อยํ มุจติ สังขารา นี้แหละเรียกว่าสังขาร เพราะฉะนั้นในที่นี้เราก็มีปัญหาว่า ปุญญาภิสังขารหมายเอาคือใน อปุญญาภิสังขาร หมายเอาแค่ไหน อเนญชาภิสังขาร ท่านที่เคยเป็นนักศึกษาอภิธรรมมาแล้วก็คงเข้าใจ พูดทีเดียวก็เข้าใจเลย ในอรรถากถาสัมโมหะวิโมทนีปกรณ์ท่านพูดย่อๆ กุศลเจตนาที่เป็นกามาพจร รูปาวจร ๑๓ ดวง กุศลเจตนาที่เป็นไปในจิต ๑๓ ดวงนี้ด้วยปุญญาภิสังขาร กุศลเจตนาที่เป็นไปในจิตที่เป็นไปในกามาพจรกุศล รูปาวจรกุศล รวมทั้งหมด ๑๓ ดวงนี้ชื่อว่าปุญญาภิสังขาร

อปุญญาภิสังขารได้แก่อะไร ? ท่านก็แก้ว่าได้แก่เจตนาที่เป็นไปในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนั้นเอง ชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร ส่วนอเนญชาภิสังขารนั้นได้แก่เจตนาที่เป็นไปในอรูปาวจรกุศลจิต ๔ ดวง อันนั้นชื่อว่าอเนญชาภิสังขาร นี้ไม่มีปัญหา คือในศัพท์คำว่ากายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร มีปัญหาขึ้นมา บางท่านแก้ว่า กายสังขารเป็นไฉน ? แก้บอกว่าได้แก่อัสสาสะปัสสาสะ วจีสังขารเป็นไฉน ? ได้แก่วิตกวิจาร จิตสังขารเป็นไฉน ? ได้แก่สัญญากับเวทนา ถ้าแก้อย่างนี้ผิด ไม่ใช่นัยในลังขารในปฏิจจสมุปปาณธรรม

คำว่ากายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารนั้นมี ๒ นัย นัยหนึ่งคือกายสังขาร ได้แก่วิตกวิจารที่ปรุงแต่งให้เกิดคำออกมา ให้เกิดวจีกรรม วจีเพศ ออกมา เพราะคนเราจะพูดต้องมีวิตกวิจารเสียก่อนต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่ตัวจะพูดนั้นเสียก่อน และต้องไตร่ตรองในอารมณ์นั้นเสียก่อนจึงจะหลุดออกมาได้ เพราะฉะนั้นท่านกล่าวว่ากายสังขาร อัสสาสะปัสสาสะนั้นเป็นเครื่องที่ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ วจีสังขาร คือวิตกวิจารที่ปรุงแต่งวาจาออกมา ส่วนจิตสังขารนั้นได้แก่สัญญากับเวทนาที่ปรุงแต่งจิต เป็นองค์ประกอบของจิต

กายสังขารคืออัสสาสะปัสสาสะ วจีสังขารคือวิตกวิจาร จิตสังขารนั้นคือสัญญากับเวทนา แต่ว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่ใช่สังขาร ๓ นัยนี้ แม้ชื่อจะเหมือนกันว่า กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารก็จริง แต่ไม่ใช่ตามนัย ๓ อันนี้ ถ้าเป็นนัย ๓ อันนี้จิตยังไม่มีเวทนา สัญญาจะมีได้อย่างไร ? มีไม่ได้ นามรูปยังไม่มี อัสสาสะปัสสาสะจะมีได้อย่างไร ? มีไม่ได้ นามรูปสฬายตนะยังไม่มีแล้ว วจีเพศจะมีได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้นจะไปแก้ว่ากายสังขารวจีสังขารจิตสังขารตามนัยว่ากายสังขารคืออัสสาสะปัสสาสะไม่ถูก วจีสังขารเกิดไม่ได้ วิตก วิจารไม่ถูก หรือว่าจิตสังขารคือสัญญาเวทนาไม่ถูก ไม่ใช่อย่างนั้นนัย ๓ อันนี้ ถ้ากล่าวไว้ในเกี่ยวกับการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าผู้ที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นย่อมดับสังขาร ๓ สังขาร ๓ คือ อัสสาสะปัสสาสะ วิตกวิจาร สัญญาเวทนา แต่ในปฏิจจสมุปบาทไม่ได้พูดเรื่องเกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ถ้าอย่างนั้นได้แก่อะไร?

กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา กับมโนสัญเจตนา กายสังขารเป็นไฉน ?
กายสัญเจตนานั้นเองที่เป็นไปในรูปาวจรกุศลบ้าง กามาพจรกุศลบ้าง ๑๓ ควงนั้นแหละที่เป็นไปตามนั้น วจีสังขารเป็นไฉน ? ก็ได้แก่วจสัญเจตนา เช่นว่าเรากล่าววจีกรรมเป็นคำสดุดีพุทธคุณก็ดี หรือกล่าวผรุสวาจาออกมา เจตนาใดอันสหจรพร้อมกับอกุศลจิตตุปบาทที่เกิดขึ้นพร้อมกับผรุสวาจา วจีสัญเจตนา เจตนาใดซึ่งสหจรกับกุศลจิตตุปบาทพร้อมกับที่เราเปล่งคำสดุดีพุทธคุณ อันนั้นเป็นกุศลเจตนา นี้เป็นเจตนาอย่างนี้ ส่วนจิตสังขารนั้นคือมโนสัญเจตนา พูดง่าย ๆ ว่าเจตนาที่เป็นไปในส่วนมโนกรรมที่เป็นไปทั้งฝ่ายกามาพจร รูปาวจร อรูปาวจร ชื่อว่าจิตสังขารในที่นี้ เพราะฉะนั้นคำว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดอย่างนี้
สังขาร ๖ ดังที่อธิบายมานี้คือ
๑. ปัญญาภิสังขาร 
๒. อปุญญาภิสังขาร 
๓. อเนญชาภิสังขาร 
๔. กายสังขาร 
๕. วจีสังขาร 
๖. จิตสังขาร
เป็นอย่างนี้ที่ท่านแสดงโดยนัยนี้

สังขารเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณในที่นี้ก็ได้แก่วิบากจิต ๑๙ ดวง ที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล ๓๒ ดวง ด้วยอำนาจแห่งปวัตติกาล ชื่อว่า วิญญาณในที่นี้ พูดง่าย ๆ ว่าสังขารนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ๒ ชนิด วิญญาณหนึ่งเรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณหรือปฏิสนธิจิต อีก อย่างหนึ่งเรียกว่าปวัตติวิญญาณ ปวัตติวิญญาณนับเอาตั้งแต่ปฐมภวังค์หลังจากปฏิสนธิขณะดับไปแล้วเป็นต้นไป ที่สุดในชาติหนึ่งภพหนึ่ง เป็นชื่อว่าปวัตติวิญญาณทั้งหมด จิตที่เกิดมาตั้งแต่ปฏิสนธิแล้วชื่อว่าปวัตติวิญญาณทั้งหมด เพราะฉะนั้นเป็นไปให้เกิดวิญญาณอย่างนี้ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนาม นามในที่นี้ท่านแก้ว่าได้แก่ขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สังขารขันธ์ก็หมายความว่าเจตสิกธรรมนั่นเองที่เกิดขึ้นมา เพราะเมื่อมีจิตแล้วก็ต้องมีเจตสิกเกิดเป็นลำดับต่อมา และรูปในที่นี้ได้แก่กัมมัชรูปที่สหจรกับปฏิสนธิวิญญาณ ตั้งแต่ปฐมปฏิสนธิขณะหมายถึงตัวกัมมัชรูปโดยตรงในที่นี้เป็นต้นต้อโดยตรง ส่วนสฬายตนะ ผัสสะ อันนี้เข้าใจง่าย ซึ่งก็ได้แก่อายตนะ ๖ ผัสสะคือความกระทบกันระหว่าง อายตนะภายใน ภายนอกแล้วก็วิญญาณที่เกิดพร้อมในอายตนะทั้ง ๖ นั้นชื่อว่าผัสสะ เวทนาก็เหมือนกันเข้าใจง่าย ตัณหากับอุปาทาน อันนี้แตกต่างกัน แต่ความจริงองค์ธรรมอันเดียวคือเป็นนิโรธะ เป็นองค์ธรรมที่แตกต่างกันอย่างนี้ตัณหานั้น คือ สภาพใดที่ปรากฏในอารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงชื่อว่าตัณหา เปรียบเหมือนกับโจรยื่นมือไปด้วยเจตนาจะลักของเขา แต่ยังไม่ถูกของนั้น เพียงแต่อาการที่ยื่นมือไปเพื่อจะลัก อาการอย่างนี้เป็นอาการของตัณหา อุปาทานได้แก่อาการที่โจรลักของนั้นแล้วก็ถือเอาว่าเป็นของของตน นี่เป็นอาการของอุปาทาน นี่เราจะเห็น ความแตกต่างของตัณหากับอุปาทาน ตัณหานั้นมีความทุกข์เพราะแสวงหาเป็นมูล อุปาทานมีความทุกข์เพราะอารักขาเป็นมูล (อ่านหน้าต่อไป)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น