อารมณ์พิสดาร

❁ อารมณ์พิสดาร 🥀

ตามที่ได้แสดงประเภทของอารมณ์ต่างๆ มาแล้ว มีอารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ และยังจำแนกประเภทของอารมณ์ออกเป็น ๔ ประเภท โดยกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ บัญญัติอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ เนื่องจากสภาวะของอารมณ์นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีชื่อเรียกได้หลายอย่างต่าง ๆ กัน โดยนัยแห่งเทศนา ฉะนั้น เมื่อจะรวบรวมประเภทของอารมณ์ต่าง ๆ นั้นโดยพิสดารแล้ว มีอยู่ ๒๑ อย่าง คือ :-

แสดงอารมณ์พิสดาร ๒๑ ประเภท

๑. กามอารมณ์ ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๒. มหัคคตอารมณ์ ได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗, เจตสิก ๓๕, ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๓. นิพพานอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๔. นามอารมณ์ ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน ๑ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๕. รูปอารมณ์ ได้แก่ รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๖. ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่กำลังเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖
๗. อดีตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่ดับไปแล้ว ได้อารมณ์ ๖
๘.อนาคตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่จะเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖
๙. กาลวิมุตตอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน, บัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๑๐. บัญญัติอารมณ์ ได้แก่ อัตถบัญญัติ, สัททบัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๑๑. ปรมัตถอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน ได้อารมณ์ ๖
๑๒. อัชฌัตตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดขึ้นภายในตนเอง ได้อารมณ์ ๖
๑๓. พหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น และรูปที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งนิพพาน, บัญญัติ ได้อารมณ์ ๖
๑๔. อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดภายในตนและภายนอกตน ได้อารมณ์ ๖
๑๕. ปัญจารมณ์ ได้แก่ วิสัยรูป ๗ ได้อารมณ์ ๕
๑๖. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่าง ๆ
๑๗. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่างๆ
๑๘. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๑๙. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่างๆ
๒๐. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น-ร้อน, อ่อน-แข็ง, หย่อนตึง
๒๑. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, ปสาทรูป, สุขุมรูป, นิพพาน, บัญญัติ 

แสดงการจําแนกจิตที่รับอารมณ์โดยพิสดาร 🥀
โดยแน่นอน และไม่แน่นอน

🠞 ๑. กามอารมณ์

จิตที่รับกามอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

 ก. จิตที่รับกามอารมณ์แน่นอนมี ๒๕ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • สันตีรณจิต ๓ ดวง
  • หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
ข. จิตที่รับกามอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่ 

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับกามอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗
  • โลกุตตรจิต ๘

🠞 ๒. มหัคคตอารมณ์ จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ มี ๓๗ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ไม่ได้ มี ๕๔ ดวง คือ

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๓. นิพพานอารมณ์ จิตที่รับนิพพานอารมณ์ได้ มี ๑๙ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับนิพพานอารมณ์แน่นอนมี ๘ ดวง ได้แก่

  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับนิพพานอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๑๑ ดวง ได้แก่

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง
  • มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับนิพพานอารมณ์ไม่ได้ มี ๗๒ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต
  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนะ)
  • มหากุศลญาณวิปปยุตจิต
  • มหากิริยาญาณวิปปยุตจิต
  • มหาวิบากจิต
  • มหัคคตจิต

🠞 ๔. นามอารมณ์ จิตที่รับนามอารมณ์ได้ มี ๕๗ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับนามอารมณ์แน่นอนมี ๑๔ ดวง ได้แก่

  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับนามอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับนามอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๔ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๕. รูปอารมณ์ จิตที่รับรูปอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรูปอารมณ์แน่นอนมี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับรูปอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรูปอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๖. ปัจจุบันอารมณ์ จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์แน่นอนมี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวีปัญจวิญญาณ -มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๗. อดีตอารมณ์ จิตที่รับอดีตอารมณ์ได้ มี ๔๙ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอดีตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับอดีตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวีปัญจวิญญาณ -มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอดีตอารมณ์ไม่ได้ มี ๔๒ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๘. อนาคตอารมณ์ จิตที่รับอนาคตอารมณ์ได้ มี ๔๓ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอนาคตอารมณ์แน่นอน - ไม่มี 
ข. จิตที่รับอนาคตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอนาคตอารมณ์ไม่ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๙. กาลวิมุตตอารมณ์ จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ได้ มี ๖๐ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์แน่นอนมี ๒๙ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๑๒ ดวง
  • อภิญญาจิต ๑๒ ดวง

ค. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๑๐. บัญญัติอารมณ์ จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ได้ มี ๕๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์แน่นอนมี ๒๑ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๙ ดวง คือ

  • อเหตุกจิต (มโนทวาราวัชชนะ) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๑. ปรมัตถอารมณ์ จิตที่รับปรมัตถอารมณ์ได้ มี ๗๐ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปรมัตถอารมณ์แน่นอนมี ๓๙ ดวง ได้แก่

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนะ) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับปรมัตถ์อารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่ :-

  • อกุศลจิต ๘ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๘ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๘ ดวง

ค. จิตที่รับปรมัตถอารมณ์ไม่ได้ มี ๒๑ ดวง ได้แก่ :-

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๑๒. อัชฌัตตอารมณ์ จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ได้ มี ๖๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ไม่ได้ มี ๒๙ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๓. พหิทธอารมณ์ จิตที่รับพหิทธอารมณ์ได้ มี ๘๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับพหุทธอารมณ์แน่นอนมี ๒๖ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับพหุทธอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับพหุทธอารมณ์ไม่ได้ มี ๙ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง


🠞 ๑๔. อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์แน่นอน - ไม่มี
ข. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ไม่แน่นอน มี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๕. ปัญจารมณ์ จิตที่รับปัญจารมณ์ได้ มี ๔๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปัญจารมณ์แน่นอนมี ๓ ดวง ได้แก่

  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับปัญจารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจ. - มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ มี ๔๕ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๖. รูปารมณ์ จิตที่รับรูปารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรูปารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับรูปารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรูปารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๗. สัททารมณ์ จิตที่รับสัททารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับสัททารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับสัททารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับสัททารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จุกขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๘. คันธารมณ์ จิตที่รับคันธารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับคันธารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๘. คันธารมณ์ จิตที่รับคันธารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับคันธารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๙. รสารมณ์ จิตที่รับรสารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรสารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับรสารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรสารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๒๐. โผฎฐัพพารมณ์ จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์น่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • กายวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๒๑. ธรรมารมณ์ จิตที่รับธรรมารมณ์ได้ มี ๗๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับธรรมารมณ์แน่นอนมี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับธรรมารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ, มโนธาตุ) ๔๑ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับธรรมารมณ์ไม่ได้ มี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง



การรับอารมณ์ของจิต


เราได้ทราบแล้วว่า “จิต” นั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตที่เกิดขึ้นทุกขณะ ย่อมต้องมีอารมณ์เสมอและจิตที่เกิดขณะหนึ่ง ๆ ย่อมมีอารมณ์ได้อย่างเดียวเท่านั้น จะมีอารมณ์หลายๆ อย่างในขณะจิตเดียวกัน หาได้ไม่ แต่การรับอารมณ์ของจิตนั้น จิตบางดวง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขณะใดก็ตามก็จะรับแต่อารมณ์เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียว รับอารมณ์อย่างอื่นไม่ได้ แต่ก็มีจิตหลายดวงที่อาจรับอารมณ์อย่างอื่นก็ได้ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตมีอารมณ์ได้หลายอย่าง

ฉะนั้น ต่อไปนี้ จะได้แสดงถึงการรับอารมณ์ของจิตทั้งที่มีอารมณ์ได้หลายอย่าง และที่มีอารมณ์อย่างเดียว คือ :-

๑. จิตที่รับอารมณ์ได้อย่างเดียว    มี ๒๘ ดวง
๒. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒ อย่าง    มี ๒ ดวง
๓. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง    มี ๓ ดวง
๔. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๖ อย่าง    มี ๔๓ ดวง
๕. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง    มี ๓ ดวง
๖. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง    มี ๙ ดวง
๗. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง    มี ๓ ดวง



 อธิบาย 
๑. จิตที่รับอารมณ์ได้อย่างเดียว มี ๒๘ ดวง คือ :-

จุกขุวิญญาณ ๒ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน 
โสตวิญญาณ ๒ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
ฆานวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
ชิวหาวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
กายวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน

อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ กสิณคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ นัตถิภาวบัญญัติ
วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ วิญญาณัญจายตนวิบากจิต ๑ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ อากาสานัญจายตนกุศลที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้และภพก่อน
เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต ๑ มีอารมณ์อย่างเดียว คืออากิญจัญญายตนฌานกุศลที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้ และภพก่อน

โลกุตตรจิต ๘ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ นิพพาน

๒.จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง คือ :-

วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ ๒ อย่าง คือ :-

  • อากาสานัญจายตนกุศล ที่เคยเกิดแก่ตนแล้ว ในภพนี้หรือภพก่อน
  • อากาสานัญจายตนกิริยา ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้

เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ ๒ อย่าง คือ :-

  • อากิญจัญญายตนกุศล ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้ หรือภพก่อน
  • อากิญจัญญายตนกิริยา ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้

๓. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

มโนธาตุ ๓
  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ มีอารมณ์ ๕ อย่าง คือ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์

๔. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๖ อย่าง มี ๔๓ ดวง คือ :-

มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ตทาลัมพนจิต ๑๑ กามชวนจิต ๒๙ อภิญญาจิต ๒ มีอารมณ์ ๖ อย่าง คือ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์, ธรรมารมณ์

๕. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๑๒ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อานาปานบัญญัติ ๑, มัชฌัตตสัตวบัญญัติ (อุเบกขาพรหมวิหาร) ๑

๖. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง คือ :-

รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๑๔ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อานาปานบัญญัติ ๑, ปิยมนาปสัตวบัญญัติ (เมตตา) ๑, ทุกข์ตสัตวบัญญัติ (กรุณา)๑, สุขิตสัตวบัญญัติ (มุทิตา)๑ ,

๗.จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๒๕ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อสุภบัญญัติ ๑๐, โกฏฐาสบัญญัติ (กายคตาสติ)๑, อานาปานบัญญัติ ๑, ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ๑, ทุกข์ตสัตวบัญญัติ ๑, สุขิตสัตวบัญญัติ ๑

🔆เจตสิก กับ อารมณ์ 🔆🌳

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และการปรากฏขึ้นของจิตนั้น ย่อมประกอบพร้อมกับเจตสิก โดยเจโตยุตตลักขณะ คือ เจตสิกนั้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับจิต เอกุปปาทะ ดับพร้อมกันกับจิต เอกนิโรธะ มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต เอกาลัมพนะ และมีที่อาศัยอันเดียวกันกับจิต เอกวัตถุกะ ฉะนั้น เจตสิกธรรมทั้งหลายนั้นย่อมมีการรับอารมณ์ได้เช่นเดียวกันกับจิต เมื่อจิตรับรู้อารมณ์อันใดเจตสิกที่ประกอบกับจิตก็ย่อมจะต้องรับรู้อารมณ์อันนั้นด้วย เมื่อจำแนกการรับอารมณ์โดยทั่วไปของเจตสิกแล้ว อาจจำแนกได้ดังนี้ คือ :-

  • เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) รับ ปัญจารมณ์
  • เจตสิก ๕๒ รับ ธรรมารมณ์
  • อกุศลเจตสิก ๑๔ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกียะและบัญญัติ
  • อิสสาเจตสิก ๑ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็น พหิทธารมณ์
  • วิรตี (โลกียะ) ๓ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็น กามอารมณ์
  • วิรตี (โลกุตตระ) ๓ รับ อารมณ์ คือนิพพาน
  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ รับ ธรรมารมณ์ ที่เป็น บัญญัติอารมณ์ (สัตว์) และพหิทธารมณ์
  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกียะ, โลกุตตระ, อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต, กาลวิมุต, อัชฌัตตะ และพหิทธะ

จําแนกเจตสิกรับอารมณ์ ๒๑ โดยแน่นอน และ ไม่แน่นอน

  • ๑. เจตสิกที่รับ กามอารมณ์ โดยแน่นอนไม่มี
  • ๒. เจตสิกที่รับ กามอารมณโดยไม่แน่นอน มี ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา ๒)     
  • ๓. เจตสิกที่รับ มหัคคตอารมณ์ โดยแน่นอนไม่มี
  • ๔. เจตสิกที่รับ มหัคคตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ (เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
  • ๕. เจตสิกที่รับ นิพพานอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๖.  เจตสิกที่รับ นิพพานอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๓๖ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๗. เจตสิกที่รับ นามอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๘. เจตสิกที่รับ นามอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๙. เจตสิกที่รับ รูปอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๐. เจตสิกที่รับ รูปอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๑. เจตสิกที่รับ ปัจจุบันอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๒. เจตสิกที่รับ ปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๓. เจตสิกที่รับ อดีตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๔. เจตสิกที่รับ อดีตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๑๕. เจตสิกที่รับ อนาคตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๖. เจตสิกที่รับ อนาคตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๗. เจตสิกที่รับ กาลวิมุตตอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญา ๒
  • ๑๘. เจตสิกที่รับ กาลวิมุตตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๙. เจตสิกที่รับ บัญญัติอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญา ๒
  • ๒๐. เจตสิกที่รับ บัญญัติอารมณ์ โดยไม่แน่นอน ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๑. เจตสิกที่รับ ปรมัตถอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๓ ดวง คือ วิรตี ๓
  • ๒๒. เจตสิกที่รับ ปรมัตถอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๓. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๒๔. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๕. เจตสิกที่รับ พหิทธอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๓ ดวง คือ อิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒
  • ๒๖. เจตสิกที่รับ พหิทธอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๗. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๒๘. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๙. เจตสิกที่รับ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๓๐. เจตสิกที่รับ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๓๑. เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๓๒. เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๓๓. เจตสิกที่รับ ธรรมารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญาเจตสิก ๒
  • ๓๔. เจตสิกที่รับ ธรรมารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)