๑. สังคหวาระ

สังคหวาระ (ปริจเฉทย่อความ)

👉 กลุ่มศัพท์และกลุ่มอรรถ ๑๒

ทฺวาทส ปทานิ สุตฺตํ     ตํ สพฺพํ พฺยญฺชนญฺจ อตฺโถ จ
ตํ วิญฺเญยฺยํ อุภยํ     โก อตฺโถ พฺยญฺชนํ กตมํ.
“พระพุทธพจน์เป็นกลุ่ม[ศัพท์และอรรถ] ๑๒ ประการ ทั้งหมดนั้นเป็นศัพท์และอรรถ บัณฑิตพึงเข้าใจทั้งสองประการนั้นว่าอรรถเป็นอย่างไร ศัพท์เป็นอย่างไร”

คำว่า ปทานิ แปลว่า “กลุ่ม” หมายถึง กลุ่มศัพท์ (พยัญชนบท) ๖ ประการ และกลุ่มอรรถ (อรรถบท) ๖ ประการ ท่านจะแสดงเรื่องนี้ในข้อต่อไป

คําว่า สุตฺตํ โดยทั่วไปหมายถึงพระสูตร แต่ในที่นี้หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ในฉบับนี้จึงแปลว่า “พระพุทธพจน์" ตามคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาว่า พุทฺธวจนํ (พระพุทธพจน์)

 👉❁ หาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘

โสฬสหารา เนตฺตี     ปญฺจนยา สาสนสฺส ปริเยฏฺฐิ
อฏฺฐารสมูลปทา     มหกจฺจาเนน นิทฺทิฏฺฐา.
"แบบแผนที่ใช้อธิบายความหมายของพระพุทธพจน์ มีหาระ ๑๖ นัย ๕ และมูลบท ๑๘ อันพระมหากัจจายนะแสดงไว้แล้ว"


เนตติอันเป็นแบบแผนในการอธิบายพระพุทธพจน์นั้น ประกอบด้วยหลักสำคัญ ๓ ประการ ดังนี้ คือ
  • ๑. หาระ แนวทางอธิบายรูปศัพท์ในพระพุทธพจน์ มี ๑๖ ประเภท
  • ๒. นัย วิธี คือ หลักการอธิบายสภาวธรรมที่เป็นความหมายในพระพุทธพจน์ มี ๕ ประเภท
  • ๓. มูลบท บทเดิม มี ๑๘ ประเภท

หาระเป็นต้นเหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจพระพุทธพจน์ที่ลุ่มลึกด้วยอรรถและพยัญชนะอย่างถูกต้อง

    คำว่า เนตฺติ แปลว่า "คัมภีร์แนะแนว" คือ แนวเข้าใจพระพุทธพจน์นั่นเอง มีเนื้อความตามรูปศัพท์ ๓ ประการ คือ

  • ๑. คัมภีร์นำเวไนยชนไปสู่อริยธรรม = เวเนยฺยสตฺเต อริยธมฺมํ นยตีติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ)
  • ๒. คัมภีร์ที่ใช้นำเวไนยชนไปสู่ทางแห่งโสดาปัตติมรรค = ทสฺสนมคฺคํ นยนฺติ ตายาติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๓. คัมภีร์ที่เป็นฐานะนำเวไนยชนไปสู่พระนิพพาน = นียนฺติ เอตฺถ เวเนยฺยา นิพฺพานํ สมฺปาปิยนฺตีติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)

คัมภีร์เนตติ อรรถกถากล่าวว่า คาถานี้เป็นคำกล่าวของพระธรรมสังคาหกาจารย์ผู้สังคายนาพระธรรมวินัย เพราะท่านผู้แต่งย่อมจะไม่เรียกตนเองว่า "พระมหากัจจายนะ" อย่างไรก็ตาม ฎีกาของเนตติปกรณ์ซึ่งแต่งโดยพระธรรมบาลเถระ (Dhammapāla Thera) ผู้แต่งอรรถกถาของคัมภีร์นี้ได้กล่าวว่า ข้อความข้างต้นเป็นมติของอาจารย์บางคน ไม่ใช่มติที่อาจารย์ทั้งหลายยอมรับเป็นเอกฉันท์ เพราะอาจารย์ทั้งหลายเชื่อกันว่าคาถานี้เป็นภาษิตของพระมหากัจจายนะจริงๆ ตามนัยนี้ข้อความในเนตติปกรณ์จัดเป็นภาษิตของพระมหากัจจายนะทั้งสิ้น แม้พระพุทธเจ้าก็มักตรัสพระธรรมเทศนาในทำนองนี้ว่า ทสพลสมนฺนาคโต ภิกฺขเว ตถาคโต จตูหิ จ เวสารชฺเชหิ สมนฺนาคโต อาสภํ ฐานํ ปฏิชานาติ, ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ. "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยกำลัง ๑๐ และเวสารัชชญาณ ๔ ย่อมปฏิญาณฐานะอันอาจหาญ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย" อนึ่ง คาถามาตราพฤตินี้ได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา ดังจะเห็นได้ว่าพระอัสสชิเถระได้แสดงธรรมโดยสังเขปแก่ปริพาชกชื่ออุปติสสะ ด้วยคาถามาตราพฤติว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา     เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ     เอวํวาที มหาสมโณ.
"ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้นและตรัสความดับไปของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงมีวาทะเช่นนี้"

    คำว่า เนตฺตี มีการทีฆะ อิ เป็น อี เพื่อรักษาคณะฉันท์ เพราะควรใช้เป็นเอกพจน์ และวิเสสนะคือ ปริเยฎฺฺฐิ ก็เป็นเอกพจน์ตรงกัน

    คำว่า มหกจฺจาเนน มีศัพท์เดิมว่า มหากจฺจาเนน รัสสะ อา ใน หา เป็น อ เพื่อรักษาฉันท์

    คำว่า กจฺจาน เป็นค่าไวพจน์ของ กจฺจายน ต่างกันที่ค่านี้ลง ฌาน ปัจจัย ส่วน กจฺจายน ลง ณายน ปัจจัย


👉❁ หาระและนัยแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร

หารา พฺยญฺชนวิจโย     สุตฺตสฺส นยา ตโย จ สุตตตฺโถ
อุภยํ ปริคฺคหีตํ     วุจฺจติ สุตฺตํ ยถาสุตฺตํ
"หาระเป็นคำอธิบายรูปศัพท์ของพระพุทธพจน์ ส่วนนัย ๓ ประการ เป็นความหมายของพระพุทธพจน์ ทั้งสองอย่างนั้นเมื่อประกอบไว้ย่อมแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร"

    คำว่า "ทั้งสองอย่างนั้นเมื่อประกอบไว้ย่อมแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร" หมายความว่า พระพุทธพจน์แต่ละแห่งมีความหมายต่างกัน การนำหลักของเนตติปกรณ์ไปอธิบายความก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมตามฐานะที่สมคว ในบางแห่งอาจใช้หลักของเนคติปกรณ์อธิบายรูปศัพท์ บางแห่งก็ใช้อธิบายความหมาย ตามสมควรแก่พระพุทธพจน์นั้นๆ

    คำว่า หาร แปลว่า "แนวทาง" หมายถึง แนวทางอธิบายรูปศัพท์ในพระพุทธพจน์ คำอธิบายรูปศัพท์นี้สามารถใช้อธิบายเนื้อความของรูปศัพท์ด้วย เพราะเนื้อความปรากฏอยู่ในรูปศัพท์ มีความหมาย ๑๐ ประการ คือ

  • ๑. แนวทางที่ใช้ขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส = หรียนฺติ เอเตหิ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๒. แนวทางที่เป็นฐานะขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัสสาส = หรียนฺติ เอตฺถ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)
  • ๓. แนวทางที่ขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส - หรนฺติ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๔. การขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส - หรณํ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในภาวสาธนะ)
  • ๕. แนวทางที่ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมพึงกล่าว - หรียนฺติ โวหรียนฺติ ธมุมสํวณฺณกธมฺมปฏิคคาหเกหีดิ หารา (หร ธาตุ = กล่าว + ณ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)
  • ๖. แนวทางที่เหมือนสร้อยมุก (โดยดับกิเลสอันเร่าร้อนเหมือนสร้อยมุกที่ดับความเร่าร้อนทางสรีระและทำให้เกิดความเย็นสบาย) = หารา วิยาติ หารา (หาร ศัพท์ + ณ ปัจจัยในอุปปมาตัทธิต)
  • ๗. แนวทางที่ยังความไม่รู้เป็นต้นให้อันตรธานไป = หารยนฺติ อญฺญาณาทีนนฺติ หารา (หร ธาตุ = อันตรธาน + เณ การิตปัจจัย + ณ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ)
  • ๘. แนวทางที่อธิบายเนื้อความ = หรนฺติ อาจิกฺขนฺตีติ หารา (หร ธาตุ = กล่าว + ณ ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ)
  • ๙. แนวทางที่จูงใจผู้ฟัง = โสตุชนจิตฺตํ หรนฺตีติ หารา (หร ธาตุ = นำไป + ณ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๑๐. แนวทางที่ทำให้ผู้ฟังเพลิดเพลิน = โสตุชนจิตฺตํ รเมนฺตีติ หารา (รมุ ธาตุ = เพลิดเพลิน+ เณ การิตปัจจัย + ณ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ) เมื่อมีรูปเป็น รามา ให้แปลง ร เป็น ห และแปลง ม เป็น ร จึงสำเร็จรูปเป็น หารา ด้วยนิรุตตินัย คือ นัยที่แสดงวิธีประกอบรูปศัพท์โดยไม่ใช้สูตรในคัมภีร์ไวยากรณ์เป็นช้อบังคับ

    คำว่า นย แปลว่า "นัย, วิธี คือ หลักวิธีในการอธิบายสภาวธรรมที่สำคัญในพระพุทธพจน์ อันมีอวิชชาเป็นต้นที่เป็นมูลบท โดยจำแนกตามหลักอริยสัจ ๔ ตามสมควร มีเนื้อความตามศัพท์ ๘ ประการ คือ

  • ๑. วิธีแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ สํกิเลเส โวทานานิ จ วิภาคโต ญาเปนฺตีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๒. วิธีที่ใช้แสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ ตานิ เอเตหีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๓. วิธีที่เป็นฐานะแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ ตานิ เอตฺถาติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)
  • ๔. การแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในภาวสาธนะ)
  • ๕. วิธีที่ผู้แสดงธรรมนำมาแสดง = นียนฺติ สยํ ธมฺมกถิเกหีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)
  • ๖. วิธีที่เหมือนเอกัตตนัย (นัยที่เข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกันด้วยความสืบต่อ) เป็นต้น = นยา วิยาติ นยา (นย ศัพท์ + อ ปัจจัยในอุปมาตัทธิต)
  • ๗. วิธีที่แสดงเนื้อความของปริยัติธรรม = ปริยตฺติอตฺถสฺส เนนฺตีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๘.วิธีที่เว้นจากความเศร้าหมอง = สํกิเลสโต ยมนฺตีติ นยา (ยมุ ธาตุ = เว้น + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ) เมื่อมีรูปเป็น ยมา ให้แปลง ม เป็น น และสลับเสียง จึงสำเร็จรูปเป็น นยา ด้วยนิรุตตินัย

    คำว่า วุจฺจติ คัมภีร์อรรถกถาอธิบายเป็น กัตตุวาจกว่า วทติ สํวณฺเณติ (ย่อมกล่าว คือ ย่อมอธิบาย) ท่านแสดงว่า วุจฺจติ เป็นกรรมกัตตา คือ กัตตาที่มีรูปเป็นกรรมวาจก ดังคำว่า สยเมว กโฎกรียเต ("เสื่อย่อมกระทำเอง" , สยเมว ปานียํ ปียเต (น้ำย่อมดื่มเอง) การประกอบกรรมกัตตานี้มีประโยชน์เพื่อแสดงว่า ผู้ที่เข้าใจหาระและนัยเป็นอย่างดีย่อมจะสามารถอธิบายพระพุทธพจน์ได้โดยง่าย ดังคัมภีร์เนติฎีกาอธิบายว่า

เอเตน หารนเยสุ วสีภาเวน สุตฺตสํวณฺณนาย สุกรตํ ทสฺเสติ.
"คำนั้นแสดงว่าการอธิบายสูตรเป็นของง่ายด้วยความเป็นผู้ช่ำชองในหาระและนัย"

คำปฏิญญา

ยา เจว เทสนา ยญฺจ     เทสิตํ อุภยเมว วิญฺเญยฺยํ
ตตฺรายมานุปุพฺพี     นววิธสุตฺตนฺตปริเยฏฺฐีติ.
"ศัพท์และความหมายทั้งสองประการ บัณฑิตพึงเรียนรู้โดยแท้ ต่อไปนี้เป็นการอธิบายนวังคสัตถุสาสน์ในเรื่องนั้นตามลำดับ"

(คำว่า เทสนา คือ ศัพท์ สำเร็จรูปมาจาก ทิสี (อุจฺจารเณ = กล่าว) + ยุ ปัจจัยในกรณสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า เทสียเต เอเตนาติ เทสนา ส่วนคำว่า เทสิต คือ ความหมาย ลง ต ปัจจัยในกรรมสาธนะ (มีรูปวิเคราะห์ว่า เทสียเตติ เทสิตํ) เพราะศัพท์เป็นเครื่องแสดงความหมาย และความหมายเป็นผลที่ถูกศัพท์แสดงให้รู้ ดังข้อความกล่าวว่า

สทฺโท ญาปกเหตุ. อตฺโถ ญาเปตพฺพผลํ.
"ศัพท์เป็นเหตุแสดงให้รู้ ความหมายเป็นผลที่ถูกแสดงให้รู้"

ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์อรรถกถาจึงอธิบาย เทสนา ว่า ปาโฐ (ศัพท์) และอธิบาย เทสิตํ ว่า ตทตฺโถ (ความหมายของศัพท์นั้น

สงฺคหวาโร
จบ สังคหวาระ

วิกิ

ผลการค้นหา