๒. อุทเทสวาระ

เตลกฎาหคาถา ข้อ ๕๕:
ทุกฺขํ อนิจฺจมสุภํ วต อตฺตภาวํ    มา สํกิเลสย น วิชฺชติ ชาตุ นิจฺโจ
อมฺโภ น วิชฺชติ หิ อปฺปมปีห สารํ    สารํ สมาจรถ ธมฺมมลํ ปมาทํ.
“ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าทำสรีระที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่งาม ให้เศร้าหมองด้วยกามวิตกเป็นต้นเลย สิ่งคงที่ถาวรย่อมไม่มี แก่นสารแม้เล็กน้อยในสรีระนี้หามีไม่ เชิญท่านทั้งหลายประพฤติธรรมอันมีแก่นสาร ความประมาทย่อมไม่เหมาะสมเลย"

 ❀❀❀ ๒. อุทเทสวาระ 

 (ปริจเฉทแสดงอุเทศ)

👉หาระ ๑๖

ถามว่า : หาระ ๑๖ ประการในเรื่องนั้น คืออะไร
ตอบว่าหาระ ๑๖ ประการ คือ 

  • ๑. เทศนาหาระ คือ แนวทางในการแสดงประกอบด้วย อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ จุดมุ่งหมาย อุบายและการชักชวนฃ
  • ๒. วิจยหาระ คือ แนวทางในการจำแนกบท คำถาม และคำตอบ
  • ๓. ยุตติหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบความเหมาะสมโดยพยัญชนะและอรรถ
  • ๔. ปทัฎฐานหาระ คือ แนวทางในการแสดงปทัฎฐาน (เหตุใกล้) โดยอนุโลมนัยและปฎิโลมนัย
  • ๕. ลักขณหาระ คือ แนวทางในการแสดงธรรมอื่นที่มิได้กล่าวไว้โดยตรง
  • ๖. จตุพยูหหาระ คือ แนวทางในการอธิบายวิธี ๔ กลุ่ม คือ
    - รูปวิเคราะห์
    - ความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
    - เหตุของการแสดงธรรม
    - การเชื่อมโยงพระสูตร
  • ๗. อาวัฎฎหาระ คือ แนวทางในการเวียนไปสู่ธรรมที่เสมอกันและไม่เสมอกัน
  • ๘. วิภัตติหาระ คือ แนวทางในการจำแนกสภาวะธรรม (เหตุใกล้ , ภูมิ) โดยทั่วไปและไม่ทั่วไป
  • ๙. ปริวัตตนหาระ คือ แนวทางในการเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
  • ๑๐. เววจนหาระ คือ แนวทางในการแสดงคำไวพจน์ (คำความหมายเหมือนกัน)
  • ๑๑. ปัญญัตติหาระ คือ แนวทางในการแสดงบัญญัติ
  • ๑๒. โอตรณหาระ คือ แนวทางในการหยั่งลงสู่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และปฎิจสมุปบาท
  • ๑๓. โสธนหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบบท อรรถของบท คำถามและคำตอบ
  • ๑๔. อธิฎฐานหาระ คือ แนวทางในการโดยสามัญทั่วไปหรือโดยพิเศษ
  • ๑๕. ปริกขารหาระ คือ แนวทางในการแสดงเหตุปัจจัย
  • ๑๖. สมาโรปนหาระ คือ แนวทางในการยกขึ้นแสดงด้วยเหตุใกล้ คำไวพจน์ การภาวนา และการละกิเลส

คาถาสรุป คือ

เทสนาหาระ วิจยหาระ ยุตติหาระ ปทัฏฐานหาระ ลักขณหาระ จตุพยูหหาระ อาวัฏฏหาระ วิภัตติหาระ ปริวัตนหาระ เววจนหาระ ปัญญัตติหาระ โอตรณหาระ โสธนหาระ อธิฏฐานหาระ ปริกขารหาระ และสมาโรปนหาระ หาระทั้ง ๑๖ ประการนี้ แสดงไว้โดยมีเนื้อความไม่ปะปนกัน อนึ่ง การจำแนกหาระเหล่านั้นอย่างเหมาะสมโดยพิสดารจะปรากฏต่อไป

👉นัย ๕

ถามว่า : นัย ๕ ประการในเรื่องนั้น คืออะไร
ตอบว่า : นัย ๕ ประการ คือ

  • ๑. นันทิยาวัฏฏนัย นัยที่เหมือนการเรียนของดอกกฤษณาที่เวียนจากด้านในไปด้านนอก โดยเวียนจากธรรมฝ่ายหลักไปสู่ธรรมคล้อยตาม กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยตัณหาและอวิชชา โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และการนำเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายโวทานด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
  • ๒. ติปุกขลนัย นัยที่งามด้วยส่วนทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะในฝ่ายสังกิเลส (ฝ่ายเศร้าหมอง) และงามด้วยอโลภะ อโทสะ และอโมหะในฝ่ายโวทาน (ฝ่ายหมดจด) กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายเศร้าหมองด้วยอกุศลมูล ๓ อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และการประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายหมดจดด้วยกุศลมูล อันได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ โดยจําแนกตามสัจจะ ๔
  • ๓. สีหวิกกีฬิตนัย นัยที่เหมือนการย่างกรายของราชสีห์คือพระผู้มีพระภาค เพราะแสดงวิปัลลาสและอินทรีย์ ๕ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวิปัลลาสเหล่านั้น กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายเศร้าหมองด้วยสุภสัญญาเป็นต้น ๔ โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และการประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายหมดจดด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น ๔ โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
  • ๔. ทิสาโลจนนัย นัยที่สอดส่องกุศลธรรมเป็นต้นโดยความเป็นหัวข้อหลักแห่งนัย ๓ อย่างแรก
  • ๕. อังกุสนัย นัยที่เหมือนตาขอซึ่งเกี่ยวธรรมมารวมกันไว้ในนัย ๓ อย่างแรก

คาถาสรุป คือ

นัยแรกที่แสดงข้อความ ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ นัยที่ ๒ ชื่อว่าติปุกขละ นัยที่ ๓ ชื่อว่า สีหวิกกีฬตะ นัยที่ ๔ อันยอดเยี่ยม ชื่อว่าทิสาโลจนะ นัยที่ ๕ ชื่อว่า อังกุสะ พึงทราบนัยทั้ง ๕ ประการทั้งปวง


👉มูลบท ๑๘

ถามว่า : มูลบท ๑๘ บท ในเรื่องนั้น คืออะไร
ตอบว่า : มูลบท ๑๘ บท คือ มูลบท ๙ ฝ่ายกุศล และมูลบท ๙ ฝ่ายอกุศล

ถามว่า : มูลบทฝ่ายอกุศล ๙ บท คืออะไร
ตอบว่า : มูลบทฝ่ายอกุศล ๙ บท คือ ตัณหา อวิชชา โลภะ โทสะ โมหะ สุภสัญญา (ความสำคัญว่างาม) สุขสัญญา (ความสำคัญว่าสุข) นิจจสัญญา (ความสําคัญว่าเที่ยง) และอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ธรรมฝ่ายอกุศลทั้งปวงย่อมถึงการประมวลรวมไว้ในมูลบท ๙ บทใดบทหนึ่ง (มูลบท คือ บทเดิม หมายถึง บทที่จะนำมาจำแนกเป็นนัยต่างๆ และสาสนปัฏฐานคือสูตรแสดงคำสอน ที่จะกล่าวถึงต่อไป บทเต็มเหล่านี้ คือ ธรรมฝ่ายกุศล หรือธรรมฝ่ายอกุศล ซึ่งแบ่งออกเป็นอย่างละ ๙ อย่าง ดังนั้น ก่อนจะจำแนกเป็นนัยทั้ง ๕ และสาสนปัฏฐาน จึงควรสังเกตก่อนว่ามูลบทคืออะไร แล้วจึงจําแนกไปตามสมควรในฝ่ายกุศลหรือฝ่ายอกุศล

ข้อควรรู้ :
ตัณหาและโลภะ โดยองค์ธรรมคือ โลภเจตสิก แม้อวิชชาและโมหะ โดยองค์ธรรมก็คือโมหเจตสิก แต่ในที่นี้ท่านกล่าวแยกกันตามชื่อที่ปรากฏในพระสูตร

ถามว่า : มูลบทฝ่ายกุศล ๙ บท คืออะไร
ตอบว่า : มูลบทฝ่ายกุศล ๙ บท คือ สมถะ วิปัสสนา อโลภะ อโทสะ อโมหะ อสุภสัญญา (ความสําคัญว่าไม่งาม) ทุกขสัญญา (ความสําคัญว่าทุกข์) อนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยง) และอนัตตสัญญา (ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตน) ธรรมฝ่ายกุศลทั้งปวงย่อมถึงการประมวลรวมไว้ในมูลบท ๙ บทใดบทหนึ่ง

ข้อควรรู้ :
อสุภสัญญาเป็นต้น ๔ ประการ โดยองค์ธรรม คือ สติปัฏฐาน ๔ มีกายานุปัสสนาเป็นต้น 
ในที่นี้ท่านแสดงไว้โดยมีสัญญาเป็นหลัก แต่มุ่งให้หมายถึงสติที่ประกอบร่วมกับสัญญา

ธรรมฝ่ายกุศลจําแนกออกเป็น ๔ กลุ่ม และเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมฝ่ายอกุศลเป็นคู่ๆ กัน คือ

๑. สมถะ    การอบรมจิตเพื่อให้เกิดสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อ    ตัณหา
๒. วิปัสสนา    การอบรมจิตเพื่อให้เกิดปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อ    อวิชชา
๓. กุศลเหตุ ๓    อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุเป็นปฏิปักษ์ต่อ    โลภเหตุ โทสเหตุ และโมหเหตุ
๔. สัญญา ๔    อสุภสัญญา เป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาวิปัลลาสมี    สุภสัญญา เป็นต้น

ในอุเทศของมูลบท ๑๘ ท่านแสดงมูลบท ๙ ฝ่ายกุศล และมูลบท ๙ ฝ่ายอกุศล แต่ในการจําแนกมูลบทดังกล่าวได้อธิบายมูลบทฝ่ายอกุศลไว้ก่อน การใช้คำในลักษณะนี้เป็นสำนวนทางภาษาที่เรียกว่า ปัจจาสัตตินัย คือ นัยที่กล่าวถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งในที่นี้เป็นการใกล้กับประโยคหลังที่จะกล่าวต่อไป ส่วนการแสดงตามลำดับ นิยมใช้โดยทั่วไปเรียกว่า ยถากกมนัย คือ นัยกล่าวตามลำดับ

คาถาสรุป

ต่อไปนี้เป็นอุเทศในมูลบทนั้นว่า
    บท (ฝ่ายอกุศล) ๙ คือ ตัณหา อวิชชา โลภะ โทสะ โมหะ และ วิปัลลาส ๔ (สุภสัญญา สุขสัญญา นิจจสัญญา อัตตสัญญา] เป็นอารมณ์ของกิเลส (เพราะเป็นที่ประชุมแห่งอกุศลธรรมทั้งปวง)
    บท (ฝ่ายกุศล) ๙ คือ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) และสติปัฏฐาน ๔ (อสุภสัญญา ทุกขสัญญา อนิจจสัญญา และอนัตตสัญญา) เป็นอารมณ์ของอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น (เพราะเป็นที่ประชุมแห่งอินทรีย์)

ธรรมฝ่ายกุศลประกอบร่วมกับมูลบท ๙ และฝ่ายอกุศลก็ประกอบร่วมกับมูลบท ๙ นี้แลชื่อว่ามูลบท ๑๘

ข้อควรรู้ :
ธรรมฝ่ายกุศล ๙ ประการมีสมถะเป็นต้นเป็นอารมณ์ของอินทรีย์ กล่าวคือ ผู้ที่จะอบรมอินทรีย์ ๕ ให้แก่กล้าต้องอาศัยธรรมฝ่ายกุศลเหล่านั้น นอกจากนี้ เมื่อต้องการจะอธิบายข้อความที่เกี่ยวกับอินทรีย์ก็ต้องอธิบายโดยมีธรรมเหล่านั้นเป็นหลัก ส่วนธรรมฝ่ายอกุศลพึงทราบโดยนัยตรง
กันข้าม

คำว่า อุททาน เป็นคำไวพจน์ของ สงฺคหวจนคำสรุป แปลตามศัพท์ว่า คำรักษาข้อความที่กล่าวมาแล้ว มาจาก อุ บทหน้า = เบื้องบน, คำที่กล่าวมาแล้ว + ทา ธาตุ = รักษา + ยุ ปัจจัยในกรณสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า อุทฺธํ ทานํ รกฺขณํ อุทฺทานํ (อุททานะ คือ คำรักษาในเบื้องบน)

อุทฺเทสวาโร
จบ อุทเทสวาระ














อารมณ์พิสดาร

❁ อารมณ์พิสดาร 🥀

ตามที่ได้แสดงประเภทของอารมณ์ต่างๆ มาแล้ว มีอารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ และยังจำแนกประเภทของอารมณ์ออกเป็น ๔ ประเภท โดยกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ บัญญัติอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ เนื่องจากสภาวะของอารมณ์นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีชื่อเรียกได้หลายอย่างต่าง ๆ กัน โดยนัยแห่งเทศนา ฉะนั้น เมื่อจะรวบรวมประเภทของอารมณ์ต่าง ๆ นั้นโดยพิสดารแล้ว มีอยู่ ๒๑ อย่าง คือ :-

แสดงอารมณ์พิสดาร ๒๑ ประเภท

๑. กามอารมณ์ ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๒. มหัคคตอารมณ์ ได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗, เจตสิก ๓๕, ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๓. นิพพานอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๔. นามอารมณ์ ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน ๑ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๕. รูปอารมณ์ ได้แก่ รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖
๖. ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่กำลังเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖
๗. อดีตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่ดับไปแล้ว ได้อารมณ์ ๖
๘.อนาคตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่จะเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖
๙. กาลวิมุตตอารมณ์ ได้แก่ นิพพาน, บัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๑๐. บัญญัติอารมณ์ ได้แก่ อัตถบัญญัติ, สัททบัญญัติ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์
๑๑. ปรมัตถอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน ได้อารมณ์ ๖
๑๒. อัชฌัตตอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดขึ้นภายในตนเอง ได้อารมณ์ ๖
๑๓. พหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น และรูปที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งนิพพาน, บัญญัติ ได้อารมณ์ ๖
๑๔. อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่เกิดภายในตนและภายนอกตน ได้อารมณ์ ๖
๑๕. ปัญจารมณ์ ได้แก่ วิสัยรูป ๗ ได้อารมณ์ ๕
๑๖. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่าง ๆ
๑๗. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่างๆ
๑๘. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ
๑๙. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่างๆ
๒๐. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น-ร้อน, อ่อน-แข็ง, หย่อนตึง
๒๑. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต, เจตสิก, ปสาทรูป, สุขุมรูป, นิพพาน, บัญญัติ 

แสดงการจําแนกจิตที่รับอารมณ์โดยพิสดาร 🥀
โดยแน่นอน และไม่แน่นอน

🠞 ๑. กามอารมณ์

จิตที่รับกามอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

 ก. จิตที่รับกามอารมณ์แน่นอนมี ๒๕ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • สันตีรณจิต ๓ ดวง
  • หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
ข. จิตที่รับกามอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่ 

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับกามอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗
  • โลกุตตรจิต ๘

🠞 ๒. มหัคคตอารมณ์ จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ มี ๓๗ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ไม่ได้ มี ๕๔ ดวง คือ

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๓. นิพพานอารมณ์ จิตที่รับนิพพานอารมณ์ได้ มี ๑๙ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับนิพพานอารมณ์แน่นอนมี ๘ ดวง ได้แก่

  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับนิพพานอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๑๑ ดวง ได้แก่

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง
  • มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับนิพพานอารมณ์ไม่ได้ มี ๗๒ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต
  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนะ)
  • มหากุศลญาณวิปปยุตจิต
  • มหากิริยาญาณวิปปยุตจิต
  • มหาวิบากจิต
  • มหัคคตจิต

🠞 ๔. นามอารมณ์ จิตที่รับนามอารมณ์ได้ มี ๕๗ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับนามอารมณ์แน่นอนมี ๑๔ ดวง ได้แก่

  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับนามอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับนามอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๔ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๕. รูปอารมณ์ จิตที่รับรูปอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรูปอารมณ์แน่นอนมี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับรูปอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรูปอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๖. ปัจจุบันอารมณ์ จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์แน่นอนมี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวีปัญจวิญญาณ -มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๗. อดีตอารมณ์ จิตที่รับอดีตอารมณ์ได้ มี ๔๙ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอดีตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับอดีตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวีปัญจวิญญาณ -มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอดีตอารมณ์ไม่ได้ มี ๔๒ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๘. อนาคตอารมณ์ จิตที่รับอนาคตอารมณ์ได้ มี ๔๓ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอนาคตอารมณ์แน่นอน - ไม่มี 
ข. จิตที่รับอนาคตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ-มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอนาคตอารมณ์ไม่ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๙. กาลวิมุตตอารมณ์ จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ได้ มี ๖๐ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์แน่นอนมี ๒๙ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๑๒ ดวง
  • อภิญญาจิต ๑๒ ดวง

ค. จิตที่รับกาลวิมุตตอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๑๐. บัญญัติอารมณ์ จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ได้ มี ๕๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์แน่นอนมี ๒๑ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๙ ดวง คือ

  • อเหตุกจิต (มโนทวาราวัชชนะ) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๑. ปรมัตถอารมณ์ จิตที่รับปรมัตถอารมณ์ได้ มี ๗๐ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปรมัตถอารมณ์แน่นอนมี ๓๙ ดวง ได้แก่

  • อเหตุกจิต (เว้นมโนทวาราวัชชนะ) ๑๗ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับปรมัตถ์อารมณ์ไม่แน่นอนมี ๓๑ ดวง ได้แก่ :-

  • อกุศลจิต ๘ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๘ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • อภิญญาจิต ๘ ดวง

ค. จิตที่รับปรมัตถอารมณ์ไม่ได้ มี ๒๑ ดวง ได้แก่ :-

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

🠞 ๑๒. อัชฌัตตอารมณ์ จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ได้ มี ๖๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์แน่นอนมี ๖ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง

ข. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ไม่ได้ มี ๒๙ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๓. พหิทธอารมณ์ จิตที่รับพหิทธอารมณ์ได้ มี ๘๒ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับพหุทธอารมณ์แน่นอนมี ๒๖ ดวง ได้แก่

  • รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
  • อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับพหุทธอารมณ์ไม่แน่นอนมี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับพหุทธอารมณ์ไม่ได้ มี ๙ ดวง ได้แก่

  • วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง
  • เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ ดวง


🠞 ๑๔. อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์แน่นอน - ไม่มี
ข. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ไม่แน่นอน มี ๕๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต ๕๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ไม่ได้ มี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๕. ปัญจารมณ์ จิตที่รับปัญจารมณ์ได้ มี ๔๖ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับปัญจารมณ์แน่นอนมี ๓ ดวง ได้แก่

  • มโนธาตุ ๓ ดวง

ข. จิตที่รับปัญจารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจ. - มโนธาตุ) ๔๑ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้ มี ๔๕ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๖. รูปารมณ์ จิตที่รับรูปารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรูปารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับรูปารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรูปารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๗. สัททารมณ์ จิตที่รับสัททารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับสัททารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับสัททารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับสัททารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จุกขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๘. คันธารมณ์ จิตที่รับคันธารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับคันธารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๑๘. คันธารมณ์ จิตที่รับคันธารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับคันธารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับคันธารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๑๙. รสารมณ์ จิตที่รับรสารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับรสารมณ์แน่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับรสารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับรสารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • กายวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

🠞 ๒๐. โผฎฐัพพารมณ์ จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์น่นอนมี ๒ ดวง ได้แก่

  • กายวิญญาณ ๒ ดวง

ข. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๖ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ) ๔๔ ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับโผฎฐัพพารมณ์ไม่ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง
  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง
  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง
  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง


🠞 ๒๑. ธรรมารมณ์ จิตที่รับธรรมารมณ์ได้ มี ๗๘ ดวง คือ :-

ก. จิตที่รับธรรมารมณ์แน่นอนมี ๓๕ ดวง ได้แก่

  • มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ข. จิตที่รับธรรมารมณ์ไม่แน่นอนมี ๔๓ ดวง ได้แก่

  • กามจิต (เว้นทวิปัญจวิญญาณ, มโนธาตุ) ๔๑ดวง
  • อภิญญาจิต ๒ ดวง

ค. จิตที่รับธรรมารมณ์ไม่ได้ มี ๑๓ ดวง ได้แก่

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
  • มโนธาตุ ๓ ดวง



การรับอารมณ์ของจิต


เราได้ทราบแล้วว่า “จิต” นั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตที่เกิดขึ้นทุกขณะ ย่อมต้องมีอารมณ์เสมอและจิตที่เกิดขณะหนึ่ง ๆ ย่อมมีอารมณ์ได้อย่างเดียวเท่านั้น จะมีอารมณ์หลายๆ อย่างในขณะจิตเดียวกัน หาได้ไม่ แต่การรับอารมณ์ของจิตนั้น จิตบางดวง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขณะใดก็ตามก็จะรับแต่อารมณ์เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียว รับอารมณ์อย่างอื่นไม่ได้ แต่ก็มีจิตหลายดวงที่อาจรับอารมณ์อย่างอื่นก็ได้ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตมีอารมณ์ได้หลายอย่าง

ฉะนั้น ต่อไปนี้ จะได้แสดงถึงการรับอารมณ์ของจิตทั้งที่มีอารมณ์ได้หลายอย่าง และที่มีอารมณ์อย่างเดียว คือ :-

๑. จิตที่รับอารมณ์ได้อย่างเดียว    มี ๒๘ ดวง
๒. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒ อย่าง    มี ๒ ดวง
๓. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง    มี ๓ ดวง
๔. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๖ อย่าง    มี ๔๓ ดวง
๕. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง    มี ๓ ดวง
๖. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง    มี ๙ ดวง
๗. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง    มี ๓ ดวง



 อธิบาย 
๑. จิตที่รับอารมณ์ได้อย่างเดียว มี ๒๘ ดวง คือ :-

จุกขุวิญญาณ ๒ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน 
โสตวิญญาณ ๒ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
ฆานวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
ชิวหาวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน
กายวิญญาณ ๒ คือ มีอารมณ์อย่างเดียว โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน

อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ กสิณคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ นัตถิภาวบัญญัติ
วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ วิญญาณัญจายตนวิบากจิต ๑ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ อากาสานัญจายตนกุศลที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้และภพก่อน
เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต ๑ มีอารมณ์อย่างเดียว คืออากิญจัญญายตนฌานกุศลที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้ และภพก่อน

โลกุตตรจิต ๘ มีอารมณ์อย่างเดียว คือ นิพพาน

๒.จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง คือ :-

วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ ๒ อย่าง คือ :-

  • อากาสานัญจายตนกุศล ที่เคยเกิดแก่ตนแล้ว ในภพนี้หรือภพก่อน
  • อากาสานัญจายตนกิริยา ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้

เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑ มีอารมณ์ ๒ อย่าง คือ :-

  • อากิญจัญญายตนกุศล ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้ หรือภพก่อน
  • อากิญจัญญายตนกิริยา ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ตน ในภพนี้

๓. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

มโนธาตุ ๓
  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ มีอารมณ์ ๕ อย่าง คือ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์

๔. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๖ อย่าง มี ๔๓ ดวง คือ :-

มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ตทาลัมพนจิต ๑๑ กามชวนจิต ๒๙ อภิญญาจิต ๒ มีอารมณ์ ๖ อย่าง คือ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์, ธรรมารมณ์

๕. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๑๒ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อานาปานบัญญัติ ๑, มัชฌัตตสัตวบัญญัติ (อุเบกขาพรหมวิหาร) ๑

๖. จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง คือ :-

รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๑๔ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อานาปานบัญญัติ ๑, ปิยมนาปสัตวบัญญัติ (เมตตา) ๑, ทุกข์ตสัตวบัญญัติ (กรุณา)๑, สุขิตสัตวบัญญัติ (มุทิตา)๑ ,

๗.จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ดวง คือ :-

รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ มีอารมณ์ ๒๕ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐, อสุภบัญญัติ ๑๐, โกฏฐาสบัญญัติ (กายคตาสติ)๑, อานาปานบัญญัติ ๑, ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ๑, ทุกข์ตสัตวบัญญัติ ๑, สุขิตสัตวบัญญัติ ๑

🔆เจตสิก กับ อารมณ์ 🔆🌳

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และการปรากฏขึ้นของจิตนั้น ย่อมประกอบพร้อมกับเจตสิก โดยเจโตยุตตลักขณะ คือ เจตสิกนั้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับจิต เอกุปปาทะ ดับพร้อมกันกับจิต เอกนิโรธะ มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต เอกาลัมพนะ และมีที่อาศัยอันเดียวกันกับจิต เอกวัตถุกะ ฉะนั้น เจตสิกธรรมทั้งหลายนั้นย่อมมีการรับอารมณ์ได้เช่นเดียวกันกับจิต เมื่อจิตรับรู้อารมณ์อันใดเจตสิกที่ประกอบกับจิตก็ย่อมจะต้องรับรู้อารมณ์อันนั้นด้วย เมื่อจำแนกการรับอารมณ์โดยทั่วไปของเจตสิกแล้ว อาจจำแนกได้ดังนี้ คือ :-

  • เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) รับ ปัญจารมณ์
  • เจตสิก ๕๒ รับ ธรรมารมณ์
  • อกุศลเจตสิก ๑๔ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกียะและบัญญัติ
  • อิสสาเจตสิก ๑ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็น พหิทธารมณ์
  • วิรตี (โลกียะ) ๓ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็น กามอารมณ์
  • วิรตี (โลกุตตระ) ๓ รับ อารมณ์ คือนิพพาน
  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ รับ ธรรมารมณ์ ที่เป็น บัญญัติอารมณ์ (สัตว์) และพหิทธารมณ์
  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญาเจตสิก ๑ รับ อารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกียะ, โลกุตตระ, อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต, กาลวิมุต, อัชฌัตตะ และพหิทธะ

จําแนกเจตสิกรับอารมณ์ ๒๑ โดยแน่นอน และ ไม่แน่นอน

  • ๑. เจตสิกที่รับ กามอารมณ์ โดยแน่นอนไม่มี
  • ๒. เจตสิกที่รับ กามอารมณโดยไม่แน่นอน มี ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา ๒)     
  • ๓. เจตสิกที่รับ มหัคคตอารมณ์ โดยแน่นอนไม่มี
  • ๔. เจตสิกที่รับ มหัคคตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ (เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
  • ๕. เจตสิกที่รับ นิพพานอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๖.  เจตสิกที่รับ นิพพานอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๓๖ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๗. เจตสิกที่รับ นามอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๘. เจตสิกที่รับ นามอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๙. เจตสิกที่รับ รูปอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๐. เจตสิกที่รับ รูปอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๑. เจตสิกที่รับ ปัจจุบันอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๒. เจตสิกที่รับ ปัจจุบันอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๓. เจตสิกที่รับ อดีตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๔. เจตสิกที่รับ อดีตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๑๕. เจตสิกที่รับ อนาคตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๑๖. เจตสิกที่รับ อนาคตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๗. เจตสิกที่รับ กาลวิมุตตอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญา ๒
  • ๑๘. เจตสิกที่รับ กาลวิมุตตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๑๙. เจตสิกที่รับ บัญญัติอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญา ๒
  • ๒๐. เจตสิกที่รับ บัญญัติอารมณ์ โดยไม่แน่นอน ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๑. เจตสิกที่รับ ปรมัตถอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๓ ดวง คือ วิรตี ๓
  • ๒๒. เจตสิกที่รับ ปรมัตถอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๗ ดวง (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๓. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๒๔. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๕. เจตสิกที่รับ พหิทธอารมณ์ โดยแน่นอน มี ๓ ดวง คือ อิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒
  • ๒๖. เจตสิกที่รับ พหิทธอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๗. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๒๘. เจตสิกที่รับ อัชฌัตตพหิทธอารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๔๙ ดวง (เว้นอิสสา ๑, อัปปมัญญา ๒)
  • ๒๙. เจตสิกที่รับ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๓๐. เจตสิกที่รับ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๓๑. เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ โดยแน่นอน ไม่มี
  • ๓๒. เจตสิกที่รับ ปัญจารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)
  • ๓๓. เจตสิกที่รับ ธรรมารมณ์ โดยแน่นอน มี ๒ ดวง คือ อัปปมัญญาเจตสิก ๒
  • ๓๔. เจตสิกที่รับ ธรรมารมณ์ โดยไม่แน่นอน มี ๕๐ ดวง (เว้นอัปปมัญญา ๒)




๑. สังคหวาระ

สังคหวาระ (ปริจเฉทย่อความ)

👉 กลุ่มศัพท์และกลุ่มอรรถ ๑๒

ทฺวาทส ปทานิ สุตฺตํ     ตํ สพฺพํ พฺยญฺชนญฺจ อตฺโถ จ
ตํ วิญฺเญยฺยํ อุภยํ     โก อตฺโถ พฺยญฺชนํ กตมํ.
“พระพุทธพจน์เป็นกลุ่ม[ศัพท์และอรรถ] ๑๒ ประการ ทั้งหมดนั้นเป็นศัพท์และอรรถ บัณฑิตพึงเข้าใจทั้งสองประการนั้นว่าอรรถเป็นอย่างไร ศัพท์เป็นอย่างไร”

คำว่า ปทานิ แปลว่า “กลุ่ม” หมายถึง กลุ่มศัพท์ (พยัญชนบท) ๖ ประการ และกลุ่มอรรถ (อรรถบท) ๖ ประการ ท่านจะแสดงเรื่องนี้ในข้อต่อไป

คําว่า สุตฺตํ โดยทั่วไปหมายถึงพระสูตร แต่ในที่นี้หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ในฉบับนี้จึงแปลว่า “พระพุทธพจน์" ตามคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาว่า พุทฺธวจนํ (พระพุทธพจน์)

 👉❁ หาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘

โสฬสหารา เนตฺตี     ปญฺจนยา สาสนสฺส ปริเยฏฺฐิ
อฏฺฐารสมูลปทา     มหกจฺจาเนน นิทฺทิฏฺฐา.
"แบบแผนที่ใช้อธิบายความหมายของพระพุทธพจน์ มีหาระ ๑๖ นัย ๕ และมูลบท ๑๘ อันพระมหากัจจายนะแสดงไว้แล้ว"


เนตติอันเป็นแบบแผนในการอธิบายพระพุทธพจน์นั้น ประกอบด้วยหลักสำคัญ ๓ ประการ ดังนี้ คือ
  • ๑. หาระ แนวทางอธิบายรูปศัพท์ในพระพุทธพจน์ มี ๑๖ ประเภท
  • ๒. นัย วิธี คือ หลักการอธิบายสภาวธรรมที่เป็นความหมายในพระพุทธพจน์ มี ๕ ประเภท
  • ๓. มูลบท บทเดิม มี ๑๘ ประเภท

หาระเป็นต้นเหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจพระพุทธพจน์ที่ลุ่มลึกด้วยอรรถและพยัญชนะอย่างถูกต้อง

    คำว่า เนตฺติ แปลว่า "คัมภีร์แนะแนว" คือ แนวเข้าใจพระพุทธพจน์นั่นเอง มีเนื้อความตามรูปศัพท์ ๓ ประการ คือ

  • ๑. คัมภีร์นำเวไนยชนไปสู่อริยธรรม = เวเนยฺยสตฺเต อริยธมฺมํ นยตีติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ)
  • ๒. คัมภีร์ที่ใช้นำเวไนยชนไปสู่ทางแห่งโสดาปัตติมรรค = ทสฺสนมคฺคํ นยนฺติ ตายาติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๓. คัมภีร์ที่เป็นฐานะนำเวไนยชนไปสู่พระนิพพาน = นียนฺติ เอตฺถ เวเนยฺยา นิพฺพานํ สมฺปาปิยนฺตีติ เนตฺติ (ลง ติ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)

คัมภีร์เนตติ อรรถกถากล่าวว่า คาถานี้เป็นคำกล่าวของพระธรรมสังคาหกาจารย์ผู้สังคายนาพระธรรมวินัย เพราะท่านผู้แต่งย่อมจะไม่เรียกตนเองว่า "พระมหากัจจายนะ" อย่างไรก็ตาม ฎีกาของเนตติปกรณ์ซึ่งแต่งโดยพระธรรมบาลเถระ (Dhammapāla Thera) ผู้แต่งอรรถกถาของคัมภีร์นี้ได้กล่าวว่า ข้อความข้างต้นเป็นมติของอาจารย์บางคน ไม่ใช่มติที่อาจารย์ทั้งหลายยอมรับเป็นเอกฉันท์ เพราะอาจารย์ทั้งหลายเชื่อกันว่าคาถานี้เป็นภาษิตของพระมหากัจจายนะจริงๆ ตามนัยนี้ข้อความในเนตติปกรณ์จัดเป็นภาษิตของพระมหากัจจายนะทั้งสิ้น แม้พระพุทธเจ้าก็มักตรัสพระธรรมเทศนาในทำนองนี้ว่า ทสพลสมนฺนาคโต ภิกฺขเว ตถาคโต จตูหิ จ เวสารชฺเชหิ สมนฺนาคโต อาสภํ ฐานํ ปฏิชานาติ, ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ. "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยกำลัง ๑๐ และเวสารัชชญาณ ๔ ย่อมปฏิญาณฐานะอันอาจหาญ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย" อนึ่ง คาถามาตราพฤตินี้ได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา ดังจะเห็นได้ว่าพระอัสสชิเถระได้แสดงธรรมโดยสังเขปแก่ปริพาชกชื่ออุปติสสะ ด้วยคาถามาตราพฤติว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา     เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ     เอวํวาที มหาสมโณ.
"ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้นและตรัสความดับไปของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงมีวาทะเช่นนี้"

    คำว่า เนตฺตี มีการทีฆะ อิ เป็น อี เพื่อรักษาคณะฉันท์ เพราะควรใช้เป็นเอกพจน์ และวิเสสนะคือ ปริเยฎฺฺฐิ ก็เป็นเอกพจน์ตรงกัน

    คำว่า มหกจฺจาเนน มีศัพท์เดิมว่า มหากจฺจาเนน รัสสะ อา ใน หา เป็น อ เพื่อรักษาฉันท์

    คำว่า กจฺจาน เป็นค่าไวพจน์ของ กจฺจายน ต่างกันที่ค่านี้ลง ฌาน ปัจจัย ส่วน กจฺจายน ลง ณายน ปัจจัย


👉❁ หาระและนัยแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร

หารา พฺยญฺชนวิจโย     สุตฺตสฺส นยา ตโย จ สุตตตฺโถ
อุภยํ ปริคฺคหีตํ     วุจฺจติ สุตฺตํ ยถาสุตฺตํ
"หาระเป็นคำอธิบายรูปศัพท์ของพระพุทธพจน์ ส่วนนัย ๓ ประการ เป็นความหมายของพระพุทธพจน์ ทั้งสองอย่างนั้นเมื่อประกอบไว้ย่อมแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร"

    คำว่า "ทั้งสองอย่างนั้นเมื่อประกอบไว้ย่อมแสดงพระพุทธพจน์ตามสมควร" หมายความว่า พระพุทธพจน์แต่ละแห่งมีความหมายต่างกัน การนำหลักของเนตติปกรณ์ไปอธิบายความก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมตามฐานะที่สมคว ในบางแห่งอาจใช้หลักของเนคติปกรณ์อธิบายรูปศัพท์ บางแห่งก็ใช้อธิบายความหมาย ตามสมควรแก่พระพุทธพจน์นั้นๆ

    คำว่า หาร แปลว่า "แนวทาง" หมายถึง แนวทางอธิบายรูปศัพท์ในพระพุทธพจน์ คำอธิบายรูปศัพท์นี้สามารถใช้อธิบายเนื้อความของรูปศัพท์ด้วย เพราะเนื้อความปรากฏอยู่ในรูปศัพท์ มีความหมาย ๑๐ ประการ คือ

  • ๑. แนวทางที่ใช้ขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส = หรียนฺติ เอเตหิ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๒. แนวทางที่เป็นฐานะขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัสสาส = หรียนฺติ เอตฺถ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)
  • ๓. แนวทางที่ขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส - หรนฺติ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๔. การขจัดความไม่รู้ ความสงสัย และวิปัลลาส - หรณํ สุตฺตเคยฺยาทิวิสยา อญฺญาณสํสยวิปลฺลาสาติ หารา (หร ธาตุ = ขจัด + ณ ปัจจัยในภาวสาธนะ)
  • ๕. แนวทางที่ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมพึงกล่าว - หรียนฺติ โวหรียนฺติ ธมุมสํวณฺณกธมฺมปฏิคคาหเกหีดิ หารา (หร ธาตุ = กล่าว + ณ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)
  • ๖. แนวทางที่เหมือนสร้อยมุก (โดยดับกิเลสอันเร่าร้อนเหมือนสร้อยมุกที่ดับความเร่าร้อนทางสรีระและทำให้เกิดความเย็นสบาย) = หารา วิยาติ หารา (หาร ศัพท์ + ณ ปัจจัยในอุปปมาตัทธิต)
  • ๗. แนวทางที่ยังความไม่รู้เป็นต้นให้อันตรธานไป = หารยนฺติ อญฺญาณาทีนนฺติ หารา (หร ธาตุ = อันตรธาน + เณ การิตปัจจัย + ณ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ)
  • ๘. แนวทางที่อธิบายเนื้อความ = หรนฺติ อาจิกฺขนฺตีติ หารา (หร ธาตุ = กล่าว + ณ ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ)
  • ๙. แนวทางที่จูงใจผู้ฟัง = โสตุชนจิตฺตํ หรนฺตีติ หารา (หร ธาตุ = นำไป + ณ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๑๐. แนวทางที่ทำให้ผู้ฟังเพลิดเพลิน = โสตุชนจิตฺตํ รเมนฺตีติ หารา (รมุ ธาตุ = เพลิดเพลิน+ เณ การิตปัจจัย + ณ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ) เมื่อมีรูปเป็น รามา ให้แปลง ร เป็น ห และแปลง ม เป็น ร จึงสำเร็จรูปเป็น หารา ด้วยนิรุตตินัย คือ นัยที่แสดงวิธีประกอบรูปศัพท์โดยไม่ใช้สูตรในคัมภีร์ไวยากรณ์เป็นช้อบังคับ

    คำว่า นย แปลว่า "นัย, วิธี คือ หลักวิธีในการอธิบายสภาวธรรมที่สำคัญในพระพุทธพจน์ อันมีอวิชชาเป็นต้นที่เป็นมูลบท โดยจำแนกตามหลักอริยสัจ ๔ ตามสมควร มีเนื้อความตามศัพท์ ๘ ประการ คือ

  • ๑. วิธีแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ สํกิเลเส โวทานานิ จ วิภาคโต ญาเปนฺตีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๒. วิธีที่ใช้แสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ ตานิ เอเตหีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
  • ๓. วิธีที่เป็นฐานะแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ ตานิ เอตฺถาติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในอธิกรณสาธนะ)
  • ๔. การแสดงความเศร้าหมองและความหมดจด - นยนฺติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในภาวสาธนะ)
  • ๕. วิธีที่ผู้แสดงธรรมนำมาแสดง = นียนฺติ สยํ ธมฺมกถิเกหีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)
  • ๖. วิธีที่เหมือนเอกัตตนัย (นัยที่เข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกันด้วยความสืบต่อ) เป็นต้น = นยา วิยาติ นยา (นย ศัพท์ + อ ปัจจัยในอุปมาตัทธิต)
  • ๗. วิธีที่แสดงเนื้อความของปริยัติธรรม = ปริยตฺติอตฺถสฺส เนนฺตีติ นยา (นี ธาตุ = นำไป, แสดง + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
  • ๘.วิธีที่เว้นจากความเศร้าหมอง = สํกิเลสโต ยมนฺตีติ นยา (ยมุ ธาตุ = เว้น + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ) เมื่อมีรูปเป็น ยมา ให้แปลง ม เป็น น และสลับเสียง จึงสำเร็จรูปเป็น นยา ด้วยนิรุตตินัย

    คำว่า วุจฺจติ คัมภีร์อรรถกถาอธิบายเป็น กัตตุวาจกว่า วทติ สํวณฺเณติ (ย่อมกล่าว คือ ย่อมอธิบาย) ท่านแสดงว่า วุจฺจติ เป็นกรรมกัตตา คือ กัตตาที่มีรูปเป็นกรรมวาจก ดังคำว่า สยเมว กโฎกรียเต ("เสื่อย่อมกระทำเอง" , สยเมว ปานียํ ปียเต (น้ำย่อมดื่มเอง) การประกอบกรรมกัตตานี้มีประโยชน์เพื่อแสดงว่า ผู้ที่เข้าใจหาระและนัยเป็นอย่างดีย่อมจะสามารถอธิบายพระพุทธพจน์ได้โดยง่าย ดังคัมภีร์เนติฎีกาอธิบายว่า

เอเตน หารนเยสุ วสีภาเวน สุตฺตสํวณฺณนาย สุกรตํ ทสฺเสติ.
"คำนั้นแสดงว่าการอธิบายสูตรเป็นของง่ายด้วยความเป็นผู้ช่ำชองในหาระและนัย"

คำปฏิญญา

ยา เจว เทสนา ยญฺจ     เทสิตํ อุภยเมว วิญฺเญยฺยํ
ตตฺรายมานุปุพฺพี     นววิธสุตฺตนฺตปริเยฏฺฐีติ.
"ศัพท์และความหมายทั้งสองประการ บัณฑิตพึงเรียนรู้โดยแท้ ต่อไปนี้เป็นการอธิบายนวังคสัตถุสาสน์ในเรื่องนั้นตามลำดับ"

(คำว่า เทสนา คือ ศัพท์ สำเร็จรูปมาจาก ทิสี (อุจฺจารเณ = กล่าว) + ยุ ปัจจัยในกรณสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า เทสียเต เอเตนาติ เทสนา ส่วนคำว่า เทสิต คือ ความหมาย ลง ต ปัจจัยในกรรมสาธนะ (มีรูปวิเคราะห์ว่า เทสียเตติ เทสิตํ) เพราะศัพท์เป็นเครื่องแสดงความหมาย และความหมายเป็นผลที่ถูกศัพท์แสดงให้รู้ ดังข้อความกล่าวว่า

สทฺโท ญาปกเหตุ. อตฺโถ ญาเปตพฺพผลํ.
"ศัพท์เป็นเหตุแสดงให้รู้ ความหมายเป็นผลที่ถูกแสดงให้รู้"

ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์อรรถกถาจึงอธิบาย เทสนา ว่า ปาโฐ (ศัพท์) และอธิบาย เทสิตํ ว่า ตทตฺโถ (ความหมายของศัพท์นั้น

สงฺคหวาโร
จบ สังคหวาระ

อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต

ในจำนวนจิตทั้งหมด ส่วนมากแล้วจำเป็นต้องอาศัยทวารเกิดเสมอ เรียกจิตที่อาศัยทวารเกิดนี้ว่า “ทวาริกจิต” แต่ยังมีจิต ๑๙ ดวง เป็นจิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารใดเลย ดังกล่าวแล้วใน “ทวารสังคหะ” จิต ๑๙ ดวงนั้น ได้แก่

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

จิตทั้ง ๑๙ ดวงนี้ ขณะทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ ทั้ง ๓ อย่างนี้ แม้จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใด เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมในอดีตก็จริง แต่ก็ต้องรับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖ อยู่เสมอ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องในปัจจุบันภพ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อนที่มรณาสันนชวนะ (จิตที่เสพอารมณ์เมื่อใกล้จะตาย) รับเอามาเมื่อใกล้จะตาย แล้วแต่การเสพอารมณ์เมื่อใกล้จะตายของผู้นั้นจะได้รับอารมณ์อะไร ถ้าเมื่อใกล้จะตาย รับรูปารมณ์ รูปารมณ์ นั้น ก็เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต หรือเมื่อใกล้จะตาย มรณาสันนชวนะรับเอาสัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์แล้ว สัททารมณ์ เป็นต้นเหล่านั้นก็เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต จึงกล่าวได้ว่า อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต คือ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น


อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต ที่เกี่ยวเนื่องด้วยมรณาสันนชวนะนั้น มีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า กรรมอารมณ์, กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์

คือถ้าอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏแก่ผู้ที่ใกล้จะตายนั้น ได้แก่ ปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์, สัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ ใน ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้แล้ว เรียกอารมณ์นั้นว่า กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ ก็ได้ แล้วแต่สภาพของอารมณ์ที่มาปรากฏเป็นนิมิตหมายให้นั้น

ส่วนธรรมารมณ์ที่ปรากฏเมื่อใกล้จะตายนั้น เรียกว่า กรรมอารมณ์ ก็ได้กรรมนิมิตอารมณ์ ก็ได้, คตินิมิตอารมณ์ ก็ได้ ย่อมแล้วแต่สภาพของอารมณ์ที่มาปรากฏนั้น อารมณ์ของทวารวิมุตตจิตนั้น จึงได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ เป็นอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏแก่ผู้ที่ใกล้จะตาย ในมรณาสันนชวนะ อารมณ์นี้ต้องปรากฏแก่สัตว์ทั่วไป เว้นแต่อสัญญสัตตพรหมและพระอรหันต์

ส่วนอารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏทางตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ในเวลาปกติ นั้นไม่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์หรืออารมณ์ ๖ ที่ปรากฏแก่พระอรหันต์ เมื่อเวลาจะนิพพานก็ไม่เรียกว่า กรรม, กรรมนิมิต, คตินิมิตอารมณ์ เช่นเดียวกัน เพราะไม่มีการเกิดต่อไปอีกแล้ว ส่วนสัตว์ทั้งหลายที่ยังต้องมีการเกิด - การตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ (เว้นอสัญญสัตตพรหม) จะต้องมีกรรมอารมณ์, กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ปรากฏขึ้นเมื่อใกล้ตายเสมอ

กรรมอารมณ์ 🥀

กรรมอารมณ์ ได้แก่ ธรรมารมณ์ที่เกี่ยวกับ กุศลกรรม, อกุศลกรรม ที่เป็นคุรุกรรม, อาจิณณกรรม, อาสันนกรรม หรือ กฏตตากรรม ซึ่งจะส่งผลให้ปฏิสนธิในภพหน้า ที่เป็นเหมือนกับการแสดงตัวให้เด่นชัดเฉพาะหน้าปรากฏในมโนทวาร หรือกุศลกรรม, อกุศลกรรม ที่ให้เกิดปฏิสนธินั้น ย่อมปรากฏในทางใจด้วยอำนาจทำตนให้เหมือนกับเกิดขึ้นใหม่ ๆ การปรากฏแห่งกรรมอารมณ์ จึงมี ๒ อย่าง

๑. กรรมอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นโดยกุศลกรรม-อกุศลกรรม แสดงตัวให้เด่นชัด “อภิมุขีภูตํ” เป็นการปรากฏขึ้นด้วยอำนาจแห่ง “ปุพฺเพกตสัญฺญา” คือ อดีตสัญญาที่จิตใจจดจำเรื่องภายในตนที่เป็นมาแล้วในกาลก่อน เช่น กุศลกรรมของตนที่เคยเกิดปีติโสมนัสในขณะทำบุญให้ทาน รักษาศีล, เจริญภาวนา เมื่อ ๑๐-๒๐ ปีที่ล่วงมาแล้ว มาบัดนี้ยังรำลึกจำกุศลปีติโสมนัสนั้น ๆ ได้อยู่ หรืออกุศลกรรมที่ตนเคยเสียอกเสียใจในขณะประสบอัคคีภัย, ถูกโกงเมื่อ ๑๐-๒๐ ปีล่วงมาแล้ว หรือที่เคยโกรธแค้นผู้ใดในกาลก่อน ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายก็หวนระลึกจำความเสียใจ หรือความโกรธแค้นในอดีตนั้นขึ้นมาได้ ข้อนี้ อุปมาเหมือนผู้ใหญ่ที่มีอายุมากแล้ว นึกถึงความเยาว์วัยของตน เมื่อครั้งเป็นหนุ่มสาว มีความเบิกบานสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างใด ก็ยังนึกจำความเบิกบานสนุกสนานในครั้งกระนั้นได้ การปรากฏแห่งกรรมอารมณ์ตามปุพฺเพกตสัญฺญา ก็เป็นฉันนั้น

ส่วนผู้ใกล้จะตาย ที่จดจำเรื่องภายนอกตน มีกิริยาอาการ วัตถุสิ่งของ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีนิมิตเครื่องหมายอย่างนี้ อย่างนั้น เหล่านี้จัดว่า เป็น กรรมนิมิตอารมณ์ (ไม่ใช่กรรมอารมณ์)

๒. กรรมอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นโดยกุศลกรรม-อกุศลกรรม ทำตนให้เหมือนกับการเกิดขึ้นใหม่ ๆ คือ ปรากฏขึ้นด้วยอำนาจ “สมฺปติกตสญฺญา” คือ สัญญาความจำเรื่องราวภายในตน เป็นไปคล้าย ๆ กับว่ากำลังกระทำอยู่เดี๋ยวนี้ เช่น กุศลกรรมที่ตนเคยปีติโสมนัส ในขณะทำบุญ, ให้ทาน รักษาศีล, เจริญภาวนา หรืออกุศลกรรมที่เคยเสียใจ เพราะไฟไหม้บ้าน หรือถูกโกงจนล้มละลาย หรือเคยโกรธแค้นผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเวลาล่วงมาหลายปีแล้ว ครั้นเมื่อเวลาใกล้ตาย ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้น คล้ายกับว่า ตนกำลังทำบุญให้ทาน รักษาศีล, เจริญภาวนาอยู่ หรือความโกรธแค้นเกิดขึ้น คล้ายๆ กับว่า ตนกำลังทะเลาะวิวาทอยู่กับใครสักคน ข้อนี้อุปมาเหมือนหนึ่ง ความสนุกสนานที่เกิดขึ้นในใจแก่ผู้ที่กำลังหลับในเวลากลางคืนเนื่องจากฝันไป เพราะเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน จากที่ได้ดูหนัง ดูละคร ดูกีฬา มาเมื่อตอนเย็น กรรมอารมณ์ที่กล่าวมาแล้วนี้ ปรากฏได้เฉพาะมโนทวาร จะไม่ปรากฏทางปัญจทวารเลย กรรมอารมณ์นี้ ย่อมคิดถึงการกระทำที่ล่วงมาแล้ว เป็นอดีตอารมณ์

ถ้ากรรมอารมณ์เป็นกุศลกรรม ย่อมนำไปสู่สุคติ
ถ้ากรรมอารมณ์เป็นอกุศลกรรม ย่อมนำไปสู่ทุคติ



❁ กรรมนิมิตอารมณ์ 🥀
กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ที่เป็นเหตุของการกระทำ

กมฺมสฺส นิมิตฺตํ = กมุมนิมิตฺตํ (อารมฺมณํ).

แปลความว่า อารมณ์ที่เป็นเหตุของการกระทำ ชื่อว่า กรรมนิมิตอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ สี, เสียง, กลิ่น, รส, เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง, หย่อน, ตึง และสภาพที่รู้ได้ทางใจ โดยมุ่งหมายเอาแต่เฉพาะอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของแต่ละบุคคลเท่านั้นที่ตนได้กระทำด้วยกาย วาจา ใจ อารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของตน ที่เป็นกรรมนิมิตได้นี้มี ๒ อย่าง คือ :-

๑. อุปลัทธกรรมนิมิต ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่ตนไปประสบพบเห็นเป็นประธานในขณะกระทำ

  • ก. ฝ่ายกุศล เช่น ทาน (ที่เคยให้), เลี้ยงพระ, ใส่บาตร, ถวายกฐิน, ทอดผ้าป่า, สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล วัดวาอาราม สำนักปฏิบัติ, อาหารคาวหวาน (ที่เคยถวาย)
  • ข. ฝ่ายอกุศล เช่น ปาณาติบาต, สัตว์ที่ถูกฆ่า, ทรัพย์สินที่ถูกขโมย, สตรีที่ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร, เห็นภาพกิริยาอาการของตนที่ทำทุจริตต่าง ๆ

๒.อุปกรณ์กรรมนิมิต ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่ตนได้ประสบมา แต่มิใช่ฐานะเป็นประธานแห่งการกระทำ เป็นเพียงเครื่องประกอบอุดหนุนในขณะการกระทำเท่านั้น

  • ก. ฝ่ายกุศล เช่น พระพุทธรูป, ดอกไม้ธูปเทียน, ถ้วยชาม, ขันถาด, เสื่ออาสนะ, โต๊ะ, เก้าอี้, การศึกษาเล่าเรียนธรรม, หนังสือ, ครู อาจารย์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นเครื่องใช้ในการทำกุศล
  • ข. ฝ่ายอกุศล เช่น แห, อวน, หอก, ดาบ, ปืน ที่ใช้ในการล่าสัตว์, ขวดเหล้า, กับแกล้ม, พรรคพวก ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้อื่นๆ ที่อุดหนุนทุจริตกรรมให้สำเร็จ

ในนิมิตทั้ง ๒ อย่างนี้ สรุปความว่า บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกี่ยวกับการทำดี ทำชั่ว โดยตรง เป็น อุปลัทธกรรมนิมิต สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่เป็นเครื่องประกอบให้การอุดหนุนแก่การทำดี ทำชั่ว เหล่านั้นเป็นอุปกรณ์กรรมนิมิต ถ้าเมื่อใกล้จะตาย กรรมนิมิตต่างๆ เหล่านี้ เป็นเครื่องหมายปรากฏเฉพาะหน้า มีอารมณ์เป็นฝ่ายกุศลแล้ว ก็จะนำไปสู่สุคติ ถ้ากรรมนิมิตอารมณ์เหล่านั้นเป็นฝ่ายอกุศลแล้ว ย่อมนำไปสู่ทุคติ

❁ คตินิมิตอารมณ์ 🥀
คตินิมิตอารมณ์ หมายความว่า อารมณ์แห่งภพชาติที่จะพึงถึง คืออารมณ์ที่จะได้เสวยในภพถัดไป

คติยา นิมิตฺตํ = คตินิมิตฺตํ” (อารมฺมณํ).

แปลความว่า อารมณ์ของภพชาติที่จะพึงถึง ชื่อว่า คตินิมิต คตินิมิตนี้ ก็ได้แก่ อารมณ์ ๖ นั่นเอง อารมณ์ ๖ นี้ หาใช่เป็นอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวข้องของภพชาตินี้ไม่ แต่เป็นอารมณ์ ๖ ที่จะพึงได้พบเห็น และได้เสวยในภพหน้าส่วนเดียว

คตินิมิตอารมณ์นี้ มี ๒ อย่าง คือ :-

๑.อุปลภิตัพพคตินิมิต หมายความว่า อารมณ์ ๖ ของภพชาติที่จะพึงพบเห็น เช่น ถ้าจะไปเกิดในเทวโลก จะเห็นราชรถ, วิมาน, เทพบุตร, เทพธิดา, เครื่องประดับ, สวนสวรรค์, พันธุ์บุปผาชาติ เป็นต้น ถ้าจะไปเกิดเป็นมนุษย์ จะเห็นครรภ์มารดา, ห้อง, เรือน, เห็นเครื่องใช้, บ้านเมือง, หมู่บ้าน เป็นต้น ถ้าจะไปเกิดเป็นดิรัจฉาน ย่อมเห็นสัตว์ต่าง ๆ มีช้าง, ม้า, วัว, ควาย, แมว, สุนัข, นก, ปลา, กา, ไก่ เป็นต้น หรือเห็นสถานที่อยู่ของดิรัจฉาน เช่น ห้วย, หนอง, คลองบึง, ป่าไม้, ต้นไม้, ถ้ำ เหล่านี้ เป็นต้น ถ้าจะไปเกิดเป็นเปรตและอสุรกาย ย่อมจะเห็นป่าทึบ, เหว, ทะเล, แม่น้ำ, ภูเขา, สถานที่อันสงบเงียบน่าหวาดเสียว อันเป็นที่อยู่ของพวกเปรตพวกอสุรกาย เป็นต้น

ถ้าจะไปเกิดในนิรยภูมิ ย่อมเห็นเครื่องประหัตประหาร เห็นสุนัข, กา, นกแร้ง ที่เป็นสัตว์นรกที่น่ากลัว, เห็นพระยายม, เห็นนายนิรยบาล และ สถานที่เหล่านี้ มีเปลวเพลิง ควันที่ฟุ้งตลบ เหล่านี้ เป็นต้น

๒.อุปโภคคตินิมิต หมายความว่า อารมณ์ ๖  ของชาติที่จะพึงได้เสวย เช่น นั่งในราชรถ เที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ มีสวนสวรรค์ เป็นต้น ทำให้เกิดความสนุกสนานเบิกบานใจ บริโภคสุทธาโภชน์ร่วมกับเทพบุตร เทพธิดา สวมใส่ทิพย์อาภรณ์ เป็นต้น ถ้าจะเกิดในมนุษยภูมิ ย่อมมีนิมิตเหมือนกับว่าตนกำลังเดินไปสู่ที่สนทนาปราศรัยกับผู้หนึ่งผู้ใด หรือประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ถ้าจะไปเกิดในดิรัจฉานภูมิ รู้สึกว่า ตนได้เป็นสัตว์เดรัจฉานพวกใดพวกหนึ่ง หรือเห็นที่อาศัยของสัตว์เหล่านั้น หรือกำลังเล่นหยอกล้ออยู่กับสัตว์นั้นๆ ถ้าจะไปเกิดเป็นเปรตและอสุรกาย ย่อมเกิดความรู้สึกว่าตนกำลังเดินไปในสถานที่ต่างๆ อันน่าหวาดเสียวหรือร่างกายของตนปรากฏเป็นที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือกำลังอดอยากหิวกระหาย ต้องการจะบริโภค กำลังแสวงหาน้ำและอาหาร เหล่านี้ เป็นต้น

ถ้าจะไปเกิดในนิรยภูมิ ย่อมมีความรู้สึกเหมือนว่า ตนกำลังถูกฉุดคร่าทุบตีอยู่ ถูกสุนัขขบกัดอยู่ หรือถูกจองจำด้วยพันธนาการต่าง ๆ หรือเที่ยวไปในสถานที่อดอยากทุรกันดาร เที่ยวไปในสถานที่บุคคลถูกจองจำอยู่ มีความหวาดเสียวอย่างเหลือล้น เหล่านี้ เป็นต้น

ส่วนที่จะไปเกิดในพรหมโลกนั้น คตินิมิตทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมไม่มี จะมีแต่บัญญัติกรรมนิมิต และมหัคคตกรรมนิมิต เท่านั้น เพราะนิมิตทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นผลแห่งฌานจิต ซึ่งมหัคคจิต ย่อมรับบัญญัติอารมณ์ และมหัคคตอารมณ์เท่านั้น อันเป็นอารมณ์ที่ส่งให้ปฏิสนธิในพรหมโลกได้คตินิมิตนี้ ย่อมปรากฏทางทวารทั้ง ๖ แต่ทางเดียว คือ เห็นทางทวาร ๖ และจัดเป็นอนาคตอารมณ์ เพราะจะได้ประสบนิมิตนั้น ๆ ต่อไป

ประมวลอารมณ์ของทวารวิมุต คือ :-

กรรมอารมณ์ เมื่อ

  • กล่าวโดยอารมณ์ ได้เฉพาะธรรมารมณ์
  • กล่าวโดยทวาร เกิดเฉพาะทางมโนทวาร
  • กล่าวโดยกาล เป็นอดีตอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ เมื่อ

  • กล่าวโดยอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖
  • กล่าวโดยทวาร ได้แก่ ทวาร ๖
  • กล่าวโดยกาล เป็นอารมณ์ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และกาลวิมุติ

คตินิมิตอารมณ์ เมื่อ

  • กล่าวโดยอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖
  • กล่าวโดยทวาร ได้แก่ ทวาร ๖
  • กล่าวโดยกาล เป็นได้เฉพาะอนาคต และกาลวิมุติ