แม้ในโลหิตกสิณภาวนาก็มีนัยเช่นเดียวกันนั่นแล เพราะเหตุที่ท่านโบราณอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า เมื่อโยคีบุคคลจะถือเอาโลหิตกสิณโดยภาวะเป็นอุคคหนิมิตนั้น ย่อมถือเอานิมิตในวัตถุที่มีสีแดง คือ ในดอกไม้บ้าง ในผ้าบ้าง ในธาตุที่เป็นสีโดยธรรมชาติบ้าง ดังนี้ ฉะนั้น แม้ในโลหิตกสิณภาวนานี้ สำหรับโยคีบุคคลผู้มีบุญญาธิการอันได้สร้างสมอบรมมาแต่ในชาติปางก่อนนั้น เพียงแต่ได้เห็นกอไม้ดอกซึ่งกำลังออกดอกบานสะพรั่ง เช่น ดอกชบาเป็นต้นเห็นปานนั้น หรือเห็นเครื่องตกแต่งดอกไม้ในที่บูชาหรือเห็นสีธรรมชาติ คือ ผ้าและแก้วสีแดง อย่างใดอย่างหนึ่ง อุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้น
๗. โลหิตกสิณภาวนา
๖. ปีตกสิณภาวนา
แม้ในปีตกสิณภาวนาก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ เพราะเหตุที่ท่านโบราณอรรถกถาจารย์แสดงไว้ว่า โยคีบุคคลเมื่อจะถือเอาปิตกสิณ โดยภาวะเป็นอุคคหนิมิตนั้นย่อมถือเอานิมิตในวัตถุมีสีเหลือง คือในดอกไม้บ้าง ในผ้าบ้าง ในธาตุที่เป็นสีธรรมชาติบ้าง ฉะนั้น แม้ในปีตกสิณภาวนานี้ สำหรับโยคีบุคคลผู้มีบุญญาธิการ อันได้สร้างสมอบรมมาแต่ชาติปางก่อนนั้น เพียงแต่ได้เห็นกอไม้ดอกซึ่งมีดอกบานสะพรั่งเห็นปานนั้น หรือเห็นที่ตกแต่งดอกไม้ในที่บูชา หรือเห็นผ้าหรือธาตุสีเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้น เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นแก่ท่านจิตตคุตตเถระ ได้ยินว่า เมื่อท่านจิตตคุตตเถระนั้นเห็นอาสนะบูชาที่ทำด้วยดอกจันทน์เหลืองในวัดจิตดลบรรพตวิหาร อุคคนิมิตประมาณเท่ากับอาสนะบูชาได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านพร้อมกับการที่ได้เห็นนั่นเที่ยว
๕. นีลกสิณภาวนา
ก็แหละ ลำดับต่อจาก🔎วาโยกสิณภาวนานั้น เพราะมีคำพระบาลีของโบราณอรรถกถาอยู่ว่า โยคีบุคคลเมื่อจะถือเอานีลกสิณ โดยภาวะเป็นอุคคหนิมิตนั้นย่อมถือเอานิมิตในวัตถุมีสีเขียว คือ ในดอกไม้บ้าง ในผ้าบ้าง ในธาตุที่เป็นสีธรรมชาติบ้าง ดังนี้ สําหรับโยคีบุคคลผู้มีบุญญาธิการอันได้สร้างสมอบรมมาแล้วแต่ชาติปางก่อนนั้นเพียงแต่ได้เห็นกอดอกไม้ซึ่งมีดอกบานสะพรั่งเห็นปานนั้น หรือเห็นที่ตกแต่งดอกไม้ ณ สถานที่บูชา หรือเห็นผ้าเขียวและแก้วเขียวอย่างใดอย่างหนึ่ง อุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้นได้
สําหรับโยคีบุคคลผู้ไม่มีบุญญาธิการนั้น ต้องทำกสินขึ้นเอง ต้องไปเก็บเอาดอกไม้ เช่น ดอกบัวเขียว และดอกกรรณิการ์เขา เป็นต้น เอามาจัดใส่ให้เต็มตะกร้าหรือฝาสมุกพอเสมอขอบปาก เอาแต่กลีบดอกล้วน ๆ โดยที่ไม่ให้มีเกสร หรือก้านปรากฏให้เห็นเลย อีกอย่างหนึ่ง จึงเอาผ้าสีเขียวมาม้วนให้เป็นห่อแล้ว บรรจุใส่ให้เต็มเสมอขอบปากของตะกร้าหรือฝาสมุกนั้น หรือเอาผ้าสีเขียวนั้นมาผูกขึงที่ปากขอบของตะกร้าหรือฝาสมุกนั้นให้ตึงเหมือนอย่างหน้ากลองก็ได้ อีกแบบหนึ่ง จึงเอาธาตุสีธรรมชาติอย่างหนึ่งอย่างใดในบรรดาสีเขียวสัมฤทธิ์ สีเขียวใบไม้ และสีเขียวดอกอัญชัญ มาทาทำเป็นดวงกสิณ ชนิดที่เคลื่อนที่ได้หรือชนิดที่ติดอยู่กับฝา แล้วทาตัดด้วยสีที่ไม่กลืนกัน โดยทำนองดังที่แสดงมาแล้วใน🔎ปฐวีกสิณนั่นแลไม้เหล่านี้มีดอกสีเขียวแก่หรือสีฟ้าโดยธรรมชาติ
ครั้นทำกสิณเสร็จแล้ว แต่นั้นโยคีบุคคลพึงลงมือภาวนา คือ ยังมนสิการให้เป็นไปว่า นีล - นีล หรือว่า สีเขียว สีเขียว ฉะนี้ โดยนัยดังที่ได้แสดงไว้ในปฐวีกสิณ แม้ในนีลกสิณภาวนานี้ ในขั้นอุคคหนิมิต โทษแห่งกสิณยังปรากฏให้เห็นอยู่ คือ เกสร ก้าน และระหว่างกลีบเป็นต้นย่อมปรากฏ ส่วนปฏิภาคนิมิตพ้นไปจากโทษกสิณย่อมปรากฏ เป็นเช่นกับตาลปัตรแก้วมณีที่อยู่กลางแจ้ง คำที่เหลือนักศึกษาจึงทราบโดยนัยที่ได้พรรณนามาแล้วข้างต้นนั่นเทียว
๔. วาโยกสิณภาวนา
🙏 ๔. วาโยกสิณภาวนา
ลักษณะอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
๓. เตโชกสิณภาวนา
🙏 ๓. เตโชกสิณภาวนา
๒. อาโปกสิณภาวนา
🙏 ๒. อาโปกสิณภาวนา

วิธีทําอาโปกสิณ
ความกล้าหาญในทางสันติ
เรื่องไม่จบแค่นั้น ยังต้องย้อนกลับไปท้วงติงมติของผู้รู้ทั้งฝรั่งและอินเดียเพิ่มอีกแง่หนึ่ง คือที่ผู้รู้เหล่านั้นบอกว่า พระเจ้าอโศกสอนธรรมที่เป็นกลาง ซึ่งทุกศาสนายอมรับได้นั้น จริงหรือ? ในการพิจารณาแนวพระราชดำริของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น นอกจากข้อสำคัญที่ ๑ คือสถานะแห่งความเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่แล้ว ข้อที่ ๒ ก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง ข้อที่ ๒ นั้น ก็คือ จุดเปลี่ยนในพระชนมชีพของพระองค์ เมื่อสงครามพิชิตแคว้นกลิงคะ ทำให้ทรงสลดพระทัยต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อนของประชาชนนั้น มันไม่เพียงทำให้ทรงละเลิกการรุกรานทำสงครามเท่านั้น แต่กลายเป็นแรงเหวี่ยงพระองค์ไปในทางตรงข้ามแทบจะสุดทาง คือทำให้ทรงละเลิกการเบียดเบียนทุกอย่าง แม้กระทั่งการทำลายชีวิตสัตว์เล็กสัตว์น้อย และหันมามุ่งในการช่วยเหลือเอื้อประโยชน์
จากสมาช* ที่เป็นงานชุมนุมของราษฎรเพื่อความสนุกสนานด้วยการเสพสุรายาเมา เอาสัตว์ต่างๆ มาแข่งขันและต่อสู้กัน เป็นต้น เปลี่ยมาเป็นวิมานทรรศน์ คือนิทรรศการสิ่งที่ดีงามสวยงามงดงามประณีต มีศิลปะที่ชักนำจิตใจในทางแห่งคุณธรรมและเจริญจิตเจริญปัญญาเป็นต้น จากพิธีมงคล มาเป็นธรรมมงคล จากเภรีโฆษ คือเสียงกลองศึก มาเป็นธรรมโฆษ คือเสียงนัดหมายเชิญชวนมาฟังธรรมหรือทำกิจกรรมที่ดีงาม 👉 <ในคำว่า สมัชชาภิจรณะ ซึ่งแปลกันมาว่า "เที่ยว การเล่น” อันเป็นข้อที่ ๓ แห่งอบายมุข ๖ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของคำและความที่ควรเทียบ: “สมาช” ตรงกับที่ในพระไตรปิฎกใช้ว่า “สมัชชา ในสิงคาลกสูตร อันเป็นวินัยของคฤหัสถ์ (ที.ปา.๑๑/๑๘๑) และทรงแสดงตัวอย่างไว้ ดังที่ท่านแปลให้เข้ากับเรื่องของไทยว่า ฟ้อนรํา ขับร้อง ดนตรี เสภา เพลง เถิดเทิง (เวลานี้ อาจต้องแปลใหม่ให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน) พึงสังเกตว่า รามายณะ ก็ดี อรรถศาสตร์ ก็ดี ให้ส่งเสริม สมาช นี่แก่ราษฎร โดยถือว่าจะช่วยให้ราษฎรเกิดความนิยมชมชอบต่อรัฐ (ทำให้พลเมืองของรัฐที่แพ้หันมาชอบผู้ชนะ)พูดง่ายๆ ว่าใช้เป็นสิ่งกล่อม แต่พระเจ้าอโศกไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนแบบนี้ กลับให้เลิกเสีย>
พระเจ้าอโศกทรงดำเนินไปไกลที่จะไม่ให้มีการเบียดเบียนชีวิตใดๆ เลย ถึงกับทรงทำเป็นตัวอย่างในการเลิกเสวยเนื้อสัตว์ อันอาจเป็นที่มาของอาหารมังสวิรัติของคนรุ่นหลัง ดังความในจารึกศิลาฉบับที่ ๒ ว่า ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้โปรดให้จารึกไว้ ณ ถิ่นนี้ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์มีชีวิตใดๆ เพื่อการบูชายัญ ไม่พึงจัดงานชุมนุมเพื่อการเลี้ยงรื่นเริง (สมาช) ใดๆ เพราะว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงมองเห็นโทษเป็นอันมากในการชุมนุมเช่นนั้น ก็แลการชุมนุมบางอย่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงเห็นชอบว่าเป็นสิ่งที่ดี มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง (ต่างหาก) แต่ก่อนนี้ ในโรงครัวหลวงของพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ สัตว์ได้ถูกฆ่าเพื่อทำเป็นอาหาร วันละหลายแสนตัว ครั้นมาในบัดนี้ เมื่อธรรมโองการนี้อันพระองค์โปรดให้จารึกแล้ว สัตว์เพียง ๓ ตัวเท่านั้นที่ถูกฆ่า คือ นกยูง ๒ ตัว และเนื้อ ๑ ตัว ถึงแม้เนื้อนั้นก็มิได้ถูกฆ่าเป็นประจำ ก็แลสัตว์ทั้งสามนี้ (ในกาลภายหน้า) ก็จักไม่ถูกฆ่าอีกเลย
ในที่นี้ จะไม่พูดถึงเรื่องซึ่งในระดับการแผ่นดินถือได้ว่าเป็นข้อปลีกย่อยหรือเฉพาะอย่าง ที่ได้เอ่ยอ้างมาเหล่านี้ แต่พอดีว่าหลักการสำคัญที่นำทางการปกครองภายในของพระเจ้าอโศก ก็ปรากฏอยู่ในจารึกศิลา ฉบับที่ ๒ นี้ด้วยเรื่องนี้คนทั่วไปอาจจะนึกไม่ถึง นั่นก็คือเรื่องการบูชายัญที่ท่านผู้รู้หลายท่าน ทั้งฝรั่งและอินเดียบอกว่า พระเจ้าอโศกสอนธรรมที่เป็นกลาง ซึ่งทุกศาสนายอมรับได้นั้น ที่จริงก็รู้กันอยู่ว่า ในชมพูทวีปตั้งแต่ก่อนมานานจนบัดนั้น ถึงจะมีศาสดาเจ้าลัทธิมากมาย แต่ศาสนาที่ครอบงำสังคมอินเดีย ด้วยระบบวรรณะ และการบูชายัญเซ่นสรวงแต่มวลเทพ ตามกำหนดแห่งพระเวท เป็นใหญ่อยู่ ก็คือศาสนาพราหมณ์ (ไม่ต้องพูดว่าทุกศาสนายอมรับได้ แต่ควรจะถามว่าพราหมณ์รับได้ไหม) สิ่งที่พระเจ้าอโศกทําอย่างสำคัญก็คือ การห้ามฆ่าสัตว์บูชายัญ แล้วอย่างนี้ ศาสนาพราหมณ์จะยอมรับได้อย่างไร?
การที่เรื่องพระเจ้าอโศกหายไปนั้น คงไม่ใช่เพียงเพราะการรุกรานทำลายของกองทัพมุสลิมเท่านั้น แต่ได้ถูกพราหมณ์พยายามทำให้สลายมาก่อน ทั้งที่พระเจ้าอโศกไม่เพียงยกย่องพราหมณ์ให้รับราชการมีตำแหน่งสำคัญในการแผ่นดินเท่านั้น แต่ยังได้เน้นไว้เสมอในศิลาจารึกให้ปฏิบัติชอบและถวายทานแก่สมณพราหมณ์ เช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก แต่พราหมณ์ก็อดเคียดแค้นไม่ได้ ในเมื่อพระเจ้าอโศกไม่ยอมรับอภิสิทธิ์ของพราหมณ์ตามระบบวรรณะ และที่สำคัญที่สุดคือได้ทรงห้ามฆ่าสัตว์บูชายัญ (เท่ากับเลิกล้มพิธีบูชายัญ) ดังนั้น เรื่องจึงเป็นมาอย่างที่ท่านผู้รู้ของอินเดียเองเขียนไว้ (BK Mukherjee, Asoka, 105, 108-9) ว่า แม้แต่พระนาม “เทวานามปริยะ” ก็ได้ถูกนักไวยากรณ์พราหมณ์ในสมัยต่อมา พยายามอธิบายให้มีความหมายเป็นคนโง่เขลา เนื่องจากอคติของพราหมณ์ต่อพระมหากษัตริย์ชาวพุทธที่โดดเด่นที่สุดเสมือนว่า พราหมณ์ไม่เพียงขุดโค่นพระเจ้าอโศกเท่านั้น แต่อินเดียได้ขุดหลุมฝังพระเจ้าอโศกและกลบให้ลับหายสนิท จนกระทั่งอังกฤษขุดคุ้ยหลุมนั้นออกให้เห็นพระเจ้าอโศกในเวลาประมาณ ๑,๕๐๐ ปีต่อมา จึงกลายเป็นว่า ปฏิบัติการที่เป็นความกล้าหาญในทางสันติของพระเจ้าอโศกดังว่ามานี้ เป็นสิ่งที่ยากจะรักษาไว้ให้คงอยู่ได้ยั่งยืน