สัจจกนิครนถ์ : ท่านพระโคดม ท่านสอนใครต่อใครว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ข้าพเจ้าจะกล่าวอย่างนี้ว่า รูปก็คือตัวตนเรา เวทนาก็คือความรู้สึกของเรา สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ของเรา สังขารก็คือความปรุงแต่งต่างๆของเรา วิญญาณก็คือจิตวิญญาณของเรา ขันธ์ทั้ง ๕ อย่างนี้ล้วนเป็นอัตตาตัวตนของเราทั้งสิ้น ท่านจะกล่าวว่าขันธ์เหล่านี้ไม่ใช่ของเราได้อย่างไร?
พระพุทธองค์ทรงซักถามสัจจกนิครนถ์ด้วยอุปมา
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสีย ถามครั้งที่สอง ก็นิ่ง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับสัจจกนิครนถ์ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กาลบัดนี้ ท่านจงตอบคำถาม ไม่ใช่กาลที่ท่านควรนิ่ง ดูกรอัคคิเวสสนะ ผู้ใด อันตถาคตถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง แล้วมิได้ตอบสัจจะธรรมนั้น ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงในที่เช่นนั้น
สมัยนั้น ท้าววชิรปาณีสักกเทวราช (มีเพียงพระผู้มีพระภาคกับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่) ถือกระบองเพชรลุกเป็นไฟรุ่งเรืองลอยอยู่ในเวหา ณ เบื้องบนศีรษะสัจจกนิครนถ์ ประกาศว่า ถ้าสัจจกนิครนถ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง มิได้แก้ปัญหา เราจักผ่าศีรษะสัจจกนิครนถ์นั้นเจ็ดเสี่ยงในที่นี้แหละ ในทันใดนั้น สัจจกนิครนถ์ ตกใจกลัวจนขนชัน ได้ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงถามมาอีกครั้งเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้
พระพุทธเจ้า : ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นตัวตนของเรา อำนาจของท่านย่อมอยู่เหนือรูป เช่นเดียวกับราชามีอำนาจเหนืออาณาเขต ดังเช่นนั้น ท่านจึงสั่งรูปของท่านจงเป็นไปอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นไปอย่างนี้เลย (จงไม่แก่ จงไม่เจ็บ จงไม่ตาย) สั่งดังนี้ได้หรือ?สัจจกนิครนถ์ : ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ

พระองค์ตรัสว่า "เป็นด้วยฤทธิ์ของนันโทปนันทนาคราช" พระเถระหลายองค์กราบทูลขอรับอาสาไปทรมานนันโทปนันทนาคราช แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต แต่ทรงให้พระโมคคัลลานะไปทรมาน (การทรมานคือการปราบพยศของกิเลสด้วยวิธีของพระพุทธองค์ ซึ่งจะใช้วิธีแตกต่างกันไปตามจริตของผู้ที่ต้องถูกทรมาน) ในที่นี้ให้พระโมคคัลลานะนิรมิตกายเป็นนาคราช ใหญ่กว่านันโทปนันทนาคราชสองเท่า แล้วไปตวัดรัดนันโทปนันทนาคราชเข้าไว้กับเขาพระสุเมรุ โดยแน่นหนาถึง ๑๕ รอบ นาคราช พ่นพิษให้เป็นควันและเปลวไฟ ท่านก็พ่นควันพ่นเปลวไฟบ้าง พิษและเปลวไฟของพญานาคราชไม่มีอานุภาพพอที่จะทำให้พระอรหันต์อย่างพระโมคคัลลานะรู้สึกแสบร้อนแต่อย่างใด มีแต่ตัวของพญานาคราชเองที่ร้อนจนทนไม่ไหว จึงขอให้ท่านโมคคัลลานะจำแลงเป็นพญานาคเลย ท่านก็คืนอัตภาพเป็นพระเถระดังเก่า แล้วก็แสดงฤทธิ์เหาะเข้าช่องจมูกของฉันโทปนันทนาคราช เข้าไปเบื้องขวาก็ออกเบื้องซ้าย เข้าเบื้องซ้ายก็ออกเบื้องขวา นาคราชก็ยิงโมโห คิดว่าถ้าท่านเหาะเข้าไปในปากเมื่อไหร่จะเคี้ยวเสียให้ละเอียด ท่านโมคคัลลานะท่านก็รู้ใจพญานาค จึงเหาะเข้าทางปาก เข้าไปเดินจงกรมอยู่ในท้องแล้วเดินกลับออกมายืนอยู่ข้างนอก นาคราชอ้าปากคอยจะบดเคี้ยวแต่ก็ไม่ทัน ครั้นตัวเองที่เคยมีทิฎฐิคิดว่าตนยิ่งใหญ่มีฤทธิ์มากก็เริ่มคลายทิฎฐิตน เพราะทำอย่างไรก็เห็นท่าจะสู้ฤทธิ์ท่านโมคัลลานะไม่ไหว จึงเริ่มหนี ท่านโมคคัลลานะก็จำแลงเป็นครุฑใหญ่บินไปตามจับ นาคราชแพ้ฤทธิ์ท่านโมคคัลลานะ จึงได้สำรอกทิฎฐิมานะของตนออกแล้วจำแลงเป็นมานพเข้าไปกราบนมัสการขอขมาท่านโมคคัลลานะ แต่ท่านโมคัลลานะท่านว่าท่านรับคำขอขมานี้ไม่ได้ จึงพาไปเฝ้าทูลต่อพระพุทธเจ้า แล้วพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พญานาคาราชเมื่อคลายพยศลง และได้รับฟังพระสัทธรรมจากองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็บังเกิดมีความเลื่อมใสขอเข้าถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
🔅 พระธรรมานุภาพที่ ๘ พกาพรหมผู้มีฤทธิ์
พระพุทธองค์ก็ตรัสเตือนสติท้าวมหาพรหมขึ้นว่า " ดูกร มหาพรหม ความคิดของท่านนี้น่าเห็นใจนัก บัดนี้ตัวท่านเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นผู้มีความเห็นวิปริตผิดคลาดเคลื่อนไปเสียแล้ว เพราะถูกอวิชชาคือกิเลสได้เข้าห่อหุ้มดวงจิต จึงเห็นผิดจากธรรมไปเช่นนี้ "

👉 อ่านเรื่องถัดไป
พระธรรมานุภาพที่ ๑ เรื่อง พระยามาร
พระธรรมานุภาพที่ ๒ เรื่อง อาฬวกยักษ์
พระธรรมานุภาพที่ ๓ เรื่อง ช้างนาฬาคิรี
พระธรรมานุภาพที่ ๔ เรื่อง องคุลิมาลโจร
พระธรรมานุภาพที่ ๕ เรื่อง นางจิญจมาณวิกา
พระธรรมานุภาพที่ ๖ เรื่อง สัจจกนิครนถ์
พระธรรมานุภาพที่ ๗ เรื่อง นันโทปนันทนาคราช
พระธรรมานุภาพที่ ๘ เรื่อง พกาพรหม