วันพฤหัสบดี

๓. เจตสิกกลุ่มที่ ๒


เจตสิกฝ่ายไม่ดีเรียกว่า อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ

ก. โมจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ข. โลติกเจตสิก มี ๓ ดวง
ค. โทจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ง. ถีทุกเจตสิก มี ๒ ดวง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก มี ๑ ดวง

อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว บาป หยาบ ไม่งาม ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิต จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตชั่ว หยาบ เป็นบาป เป็น จิตที่ไม่ดี เศร้าหมอง เร่าร้อน 

ก. โมจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความหลง ได้แก่
๑. โมหเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เป็นความหลง ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ โมหะเมื่อ เกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้ลุ่มหลง โมหะจัดเป็นอวิชชาเพราะเป็นศัตรูกับวิชชา หรือเพราะรู้แต่ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เมื่อโมหะเกิดขึ้นย่อมปล้น กุศลจิต ปิดกั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและปิดกั้นพระนิพพาน โมหะจัดเป็น มูลเป็นรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งปวง

๒. อหิริกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อหิริกะนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายใน ๔ ประการ คือ
        ๒.๑ ไม่พิจารณาถึงชาติ เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีชาติสมบูรณ์
การประพฤติทุจริตต่างๆ นี้เป็นการกระทำของพวกคนเลวคนต่ำทราม บุคคลเมื่อไม่พิจารณา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่าง หนึ่งให้สำเร็จได้ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
ทางกาย ๓ คือ ฆ่า สัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดทางกาม
ทางวาจา ๔ คือ โกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ
ทางใจ ๓ คือ เพ็งเล็งอยากได้ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
        ๒.๒ ไม่พิจารณาถึงวัย เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้อยู่ในวัยกลางคน , วัยสูงอายุ การทำความชั่วทั้งหลายไม่ควรเกิดขึ้นกับคนวัยเช่นเรานี้ เมื่อ ไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จได้
        ๒.๓ ไม่พิจารณาถึงความแกล้วกล้า เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้ที่แกล้วกล้า , มีความสามารถ การประพฤติความชั่วเป็นการกระทำของคนที่ไม่มี ความสามารถ เมื่อไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้
        ๒.๔ ไม่พิจารณาถึงความคงแก่เรียน เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทาง ธรรม การกระทำความชั่วนี้เป็นการกระทำของคนอันธพาล ไม่ใช่การกระทำของคนฉลาด เมื่อไม่พิจารณาว่าการกระทำความชั่วเช่นนี้ไม่สมควรแก่ผู้คงแก่เรียนผู้ฉลาดเช่นเรา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้

๓. อโนตตัปปเจตสิก คือธรรมชาติที่ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อโนตตัปปะเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายนอก ๒ ประการ คือ
        ๓.๑ ไม่เกรงกลัวต่อการติเตียนของผู้อื่นจึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นได้
        ๓.๒ ไม่เกรงกลัวต่ออบาย มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัชฉาน บุคคลเมื่อไม่กลัวภัยในอบาย จึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆ ให้ประจักษ์แก่ สายตาของผู้อื่นได้

๔. อุทธัจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความฟุูงซ่าน ความไม่สงบใจ มี ความพลุ่งพล่านไปในอารมณ์ จิตที่มีอุทธัจจเจตสิกปรุงแต่งจะมีสภาพ เหมือนกับขี้เถ้าที่ฟุ้งกระจายเพราะถูกลมพัด
สภาวธรรมของโมจตุกกะเจตสิก ๔ ที่ปรากฏ มีข้อสังเกตได้ดังนี้
ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล พึงทราบว่าขณะนั้น มีโมหะ(อวิชชา) คือ ความไม่รู้เกิดขึ้น และมีอหิริกะคือความไม่ละอายเกิดขึ้น และมีอโนตตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อบาปเกิดขึ้น และมีอุทธัจจะคือความฟุูงซ่านกระวนกระวายใจเกิดขึ้นร่วมกันทั้งหมดแล้ว เมื่อศึกษาลักษณะต่างๆของเจตสิกฝ่ายอกุศลนี้แล้ว จึงควรฝึกพิจารณาฝึกสังเกตก็จะพบความจริงของสภาวธรรม ได้ด้วยตนเอง ถ้าพิจารณาได้ถูกสังเกตได้ชัดแจ้งตรงกับความจริงที่กำลังปรากฏก็นับว่าท่านกำลังเจริญวิปัสสนา ถ้าปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ปรากฏเกิดขึ้นกับท่านอยู่เนืองๆเสมอๆ วันหนึ่งท่านก็จะหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม เพราะท่านได้เห็นความจริงของรูปนามได้ด้วยตัวท่านเองแล้ว

สรุป โมจตุกเจตสิก ๔ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เป็นเจตสิกที่เป็นสาธารณะแก่ อกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด และโมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ นี้ ก็เกิดรวมได้ในคราวเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด ๔ ดวง

ข. โลติกเจตสิก ๓ กลุ่มของความโลภได้แก่
๑. โลภเจตสิก เป็นธรรมชาติที่โลภ อยากได้ในอารมณ์ ๖ และมีความ ติดข้องในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ความพอใจในความสวยงามของเรือนร่าง,ในน้ำเสียง อุปมาแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยวย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรฉันใด อกุศลธรรมคือ โลภะก็ฉันนั้น ย่อมนำพาไปสู่อบายอย่างเดียว โลภะนั้นมีลักษณะที่ละเอียดอ่อนจนบางครั้งไม่ทราบเลยว่าโลภะกำลังเกิดขึ้นเช่น ความเยื่อใย,ความห่วงใย,ความผูกพัน,ความหวัง,ความกระหยิ่มใจ เหล่านี้ถ้าพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีโลภะเป็นเหตุอยู่ด้วย ฉะนั้น โลภะ จึงเป็นส่วนของโอฆะ โยคะ
คันถะ อุปาทาน นิวรณ์ และ อนุสัย (รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๘)

๒. ทิฏฐิเจตสิก ในฝ่ายอกุศลนี้มุ่งหมายถึง มิจฉาทิฏฐิ คือ ภาวะของ จิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง มีความเห็นที่แย้งต่อความสัมมาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทำบุญทำบาปไม่มีผลไม่ต้องรับผล บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ จะมีความยึดมั่นในความเห็นผิดนั้นว่าถูก เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ
๑. การได้ฟังอสัทธรรม
๒. การมีมิตรชั่ว
๓. ไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะเจ้า
๔. มีอโยนิโสมนสิการ

๓. มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาดที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ำกว่าคนอื่นบ้าง ความคิดเช่นนี้ทำให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่จะเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย เช่นขอทาน

สรุป โลติกเจตสิก ๓ โลติกเจตสิก ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ จะประกอบกับจิตดังนี้ โลภเจตสิกจะประกอบในโลภมูลจิต ๘ คือ ในขณะใดที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ขณะนั้นโลภเจตสิกก็เกิดประกอบในจิตแล้ว ส่วนทิฏฐิเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ คือในขณะ ที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ด้วยตนเอง ก็จะมีโลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิกประกอบกับจิต เช่น นึกอยากทานอาหารที่มีรสอร่อยถูกใจ มานเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ เป็นบางคราว

ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ

๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิก คือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
        ๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
        ๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
        ๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
        ๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
                ๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
                ๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
        ๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ

สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)

ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ

สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง

จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 ธันวาคม 2565 เวลา 14:23

    This variant is considered a lot tougher outcome of|as a end result of} the participant should take multiple play under consideration while solely being able to making choices on 바카라사이트 his personal board. ('Games of Tables') first appeared in France through the eleventh century and became a favorite pastime of gamblers. In 1254, Louis IX issued a decree prohibiting his courtroom officers and subjects from taking part in}. Tables games had been played in Germany within the 12th century, and had reached Iceland by the thirteenth century.

    ตอบลบ