🔍 ค้นหาคำอธิบายอื่น ๆ

๑. ปังสุกูลิกงคกถา

๑. ปังสุกูลิกงคกถา

ทีนี้จักพรรณนาถึงการสมาทาน, กรรมวิธี, ประเภท, ความแตก(ขาด) และอานิสงส์แห่งธุดงค์แต่ละประการ ๆ ต่อไป จะพรรณนาปังสุกูลกังคธุดงค์ เป็นประการแรก ดังนี้ :-

๑. คำว่า ผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่ง หมายเอาผู้ทรงจำนิกายอันหนึ่ง ในนิกายทั้ง ๕ มีทีฆนิกายเป็นต้น
๒. เรื่องของพระเถระสองพี่น้องนี้ มีอยู่ในอรรถกถารถวินีตสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย พระเถระผู้พี่ ท่านสมาทานเอาธุดงค์ด้วยตนเองเพราะท่านสันโดษ ไม่ประสงค์ที่จะให้ใคร ๆ ทราบการปฏิบัติของท่าน

การสมาทาน
ในคำสมาทาน ๒ อย่างนี้ คือ คหปติทานจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธผ้าจีวรที่คหบดีถวาย ดังนี้อย่างหนึ่ง ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาองค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ดังนี้อย่างหนึ่ง ปังสุกูลิกังคธุดงค์ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำใดคำหนึ่ง ว่าด้วยการสมาทานอันเป็นประการแรกในปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้

กรรมวิธี
ก็แหละ อันโยคีบุคคลนั้น เมื่อได้สมาทานเอาธุดงค์อย่างนี้แล้ว พึงเอาผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งในบรรดาผ้า ๒๓ ชนิด เหล่านี้คือ
ผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้า,
ผ้าที่ตกอยู่ในตลาด,
ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามถนน,
ผ้าที่เขาทิ้งไว้ ณ กองขยะมูลฝอย,
ผ้าเช็ดครรภ์,
ผ้าที่เขาใช้อาบน้ำมนต์,
ผ้าที่เขาทิ้งไว้ที่ท่า,
ผ้าที่คนเขาไปป่าช้าแล้วกลับมาทิ้งไว้,
ผ้าที่ถูกไฟไหม้,
ผ้าที่โคขย้ำ,
ผ้าที่ปลวกกัด,
ผ้าที่หนูกัด,
ผ้าที่ขาดกลาง,
ผ้าที่ขาดชาย,
ผ้าที่เขาเอามาทำธง,
ผ้าที่เขาวงล้อมจอมปลวก,
ผ้าของสมณะ,
ผ้าที่เขาทิ้งไว้ ณ ที่อภิเษก,
ผ้าที่เกิดด้วยฤทธิ์,
ผ้าที่ตกอยู่ในทาง,
ผ้าที่ลมพัดไป,
ผ้าที่เทวดาถวาย,
ผ้าที่คลื่นซัดขึ้นบก,

ครั้นแล้วจึงฉีกส่วนที่ทุรพลใช้ไม่ได้ทิ้งเสีย เอาส่วนที่ยังแน่นหนาถาวรอยู่มาซักให้สะอาดแล้วทำเป็นจีวร เปลื้องผ้าคหบดีจีวรชุดเก่าออกแล้ว จึงใช้ผ้าชุดบังสุกุลจีวรแทนต่อไปเถิด


อรรถาธิบายชนิดของผ้า
ในบรรดาผ้า ๒๓ ชนิดนั้น
คำว่า โสสานิกะ ได้แก่ผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้า
คำว่า ปาปณิกะ ได้แก่ผ้าที่ตกอยู่ที่ประตูตลาด
คำว่า รถยโจฬะ ได้แก่ผ้าที่ผู้ต้องการบุญทั้งหลายทิ้งไว้ที่ถนนรถ โดยทางช่องหน้าต่าง
คำว่า สังการโจฬะ ได้แก่ผ้าที่คนเขาทิ้งไว้ ณ ที่เทขยะมูลฝอย
คำว่า โสตถิยะ ได้แก่ผ้าที่เขาใช้เช็ดมลทินแห่งครรภ์แล้วทิ้งไว้ ได้ยินมาว่า มารดาของท่านติสสะอำมาตย์ ได้ให้คนเอาผ้ามีราคาเรือนร้อยมาเช็ดมลทินแห่งครรภ์ แล้วให้เอาไปทิ้งไว้ ณ ถนนชื่อตาลเวพิมัคคา* (ถนนชื่อนี้ มีอยู่ในตำบลบ้านชื่อมหาคามในสมัยนั้น ณ ประเทศลังกา) ด้วยมีความประสงค์ว่า ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติทั้งหลายจักได้เอาไปทำจีวร ภิกษุทั้งหลายก็พากันเก็บเอาเพื่อปะผ้าตรงที่ชำรุดนั่นเทียว
คำว่า นหานโจฬะ ได้แก่ผ้าซึ่งคนทั้งหลายอันพวกหมอผีคลุมให้รดน้ำมนต์เปียกทั่วทั้งตัวทิ้งไว้แล้วหลีกหนีไป ด้วยถือว่าเป็นผ้ากาศกัณณี
คำว่า ติตถโจฬะ ได้แก่ผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งไว้ที่ท่าอาบน้ำ
คำว่า คตปัจจาคตะ ได้แก่ผ้าที่พวกมนุษย์ใช้ไปป่าช้า ครั้นกลับมาอาบน้ำแล้วทิ้งไว้
คำว่า อัคคิทัฑฒะ ได้แก่ผ้าที่ถูกไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง จริงอยู่ ผ้าที่ถูกไฟไหม้แล้วเช่นนั้น พวกมนุษย์ย่อม
ทิ้งเสีย
ตั้งแต่คำว่า โคขายิตะ เป็นต้นไป ความปรากฏชัดอยู่แล้ว จริงอยู่ ผ้าที่โคขย้ำแล้วเป็นต้นนั้นมนุษย์ทั้งหลายย่อมทิ้งเสียเหมือนกัน
คำว่า ธชาหฎะ ได้แก่ผ้าที่คนเขาเมื่อจะขึ้นเรือเอามาผูกทำเป็นธงขึ้นไว้ ในเมื่อล่วงเลยทัศนวิสัยของคนเหล่านั้นไปแล้ว จะเอาธงนั้นมาก็สมควร แม้ผ้าที่เขาเอามาผูกทำเป็นธงปักไว้ในยุทธภูมิในเมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายผ่านพ้นไปแล้ว จะเก็บเอาธงนั้นมาก็สมควร
คำว่า ถูปจีวระได้แก่ผ้าที่เขาใช้ทำพลีกรรมเอาไปวงล้อมจอมปลวกไว้
คำว่า สมณจีวระ ได้แก่ผ้าอันเป็นสมบัติของภิกษุ
คำว่า อาภิเสกิกะ ได้แก่ผ้าที่เขาทิ้งไว้ ณ สถานที่อภิเษกของพระราชา
คำว่า อิทธิมยะ ได้แก่ผ้าของเอหิภิกขุ
คำว่า ปันถกะ ได้แก่ผ้าที่ตกอยู่ในระหว่างทาง ก็แหละ ผ้าใดที่พลัดตกไปด้วยความเผลอสติของพวกเจ้าของแล้ว ผ้าเช่นนั้นต้องรอไปสักพักหนึ่งแล้วจึงค่อยเก็บเอา 
คำว่า วาตาหฏะ ได้แก่ผ้าที่ลมพัดไปตกในไกลที่ ก็แหละ ผ้าเช่นนั้นเมื่อไม่เห็นเจ้าของ จะเก็บเอาไป
ก็สมควร 
คำว่า เทวทัตติยะ ได้แก่ผ้าที่เทวดาทั้งหลายถวาย เหมือนอย่างถวายแก่พระอนุรุทธเถระ* (เรื่องเทวดาถวายผ้าทิพย์แก่พระอนุรุทธเถระ ปรากฏใน ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๔)
คำว่า สามททิยะ ได้แก่ผ้าที่คลื่นสมุทรทั้งหลายซัดขึ้นไว้บนบก

ก็แหละ ผ้าใดที่ทายกเขาถวายแก่สงฆ์ด้วย คำว่า สํฆสฺส เทม ดังนี้ก็ดี หรือผ้าที่ภิกษุทั้งหลายเที่ยวขอได้มาก็ดี ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบังสุกุลไม่ได้ แม้ในประเภทผ้าที่ภิกษุด้วยกันถวาย ผ้าใดที่ภิกษุถวายโดยให้รับเอาด้วยส่วนแห่งพรรษาก็ดี หรือที่เป็นผ้าเกิดขึ้นประจำเสนาสนะก็ดี ผ้านั้นก็จัดเป็นผ้าบังสุกุลไม่ได้เช่นกัน เฉพาะผ้าที่ภิกษุถวายโดยไม่ให้รับเอาด้วยส่วนแห่งพรรษาเท่านั้น จึงนับเป็นผ้าบังสุกุล แม้ในบรรดาผ้าที่ภิกษุด้วยกันถวายนั้น ผ้าใดที่พวกทายกทอดวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของภิกษุ แล้วภิกษุนั้นจึงเอามาถวายโดยวางลงในมือของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ผ้าใดที่พวกทายกถวายโดยวางไว้ในมือของภิกษุแล้วภิกษุนั้นจึงเอาไปทอดวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล แม้ผ้านั้นก็จัดเป็นผ้าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ผ้าใดที่พวกทายกทอดวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของภิกษุด้วยแม้ภิกษุนั้นก็เอาไปถวายโดยทอดวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเหมือนอย่างนั้นด้วย ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบริสุทธิ์สองฝ่าย ผ้าใดที่ภิกษุได้มาโดยทายกวางไว้ในมือ แล้วภิกษุนั้นก็วางไว้ในมือของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลอีกทอดหนึ่ง ผ้านั้นไม่จัดเป็นผ้าอย่างอุกฤษฎ์ อันภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลจีวร ครั้นทราบความแตกต่างกันของผ้าบังสุกุลนี้ฉะนี้แล้วจึงใช้สอยจีวรตามควรนั่นเถิดว่าด้วยกรรมวิธีในปังสุกูลิกังคธุดงค์ เพียงเท่านี้

ประเภท
ก็แหละ ประเภทแห่งปังสุกูลกังคธุดงค์นี้ดังนี้ ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ มี ๓ ประเภท คือ ชั้นอุกฤษฎ์ ๑ ชั้นกลาง ๑ ชั้นต่ำ ๑

ในปังสุกูลิกภิกษุ ๓ ประเภทนั้นปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาเฉพาะผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้าเท่านั้น จัดเป็นชั้นอุกฤษฎ์ ปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาผ้าที่ทายกถวายทอดไว้ด้วยความประสงค์ว่า บรรพชิตทั้งหลายจักเก็บเอาไปดังนี้ จัดเป็นชั้นกลาง ปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาผ้าที่ทายกถวายโดยวางทอดไว้ ณ ที่ใกล้เท้า จัดเป็นชั้นต่ำ ฉะนี้ ว่าด้วยประเภทในปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้

ความแตก
ในบรรดาปังสุกูลิกภิกษุ ๓ ประเภทนั้น ในขณะที่ปังสุกูลิกภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยินดีต่อผ้าที่พวกคฤหัสถ์ถวายตามความพอใจตามความเห็นของเขานั่นเที่ยว ธุดงค์ย่อมแตก (ขาด) คือ หายจากสภาพธุดงค์ทันที ว่าด้วยความแตกในปังสุกูลิกังคธุดงค์ เพียงเท่านี้

อานิสงส์
ก็แหละ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังต่อไปนี้ คือ โดยที่มีพระพุทธพจน์อยู่ว่า การบวชอาศัยบังสุกุลจีวร ดังนี้ ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติสมควรแก่ปัจจัยอันเป็นเครื่องอาศัย, เป็นการดำรงตนไว้ในอริยวงศ์ประการที่หนึ่ง (คือ ความสันโดษในจีวร), ไม่เป็นทุกข์ในการรักษา, ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่เกาะอาศัยของผู้อื่น, ไม่หวาดกลัวด้วยโจรภัย, ไม่เป็นการบริโภคด้วยตัณหา, มีบริขารเหมาะสมแก่สมณสารูป, เป็นผู้มีปัจจัยเหมือนดังพระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญไว้ว่า ปัจจัยเหล่านั้น เป็นสิ่งเล็กน้อยด้วยหาได้ง่ายด้วย หาโทษมิได้ด้วย ดังนี้ เป็นผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส, เป็นการสำเร็จผลแห่งคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้นให้เจริญ เป็นการเพิ่มพูนสัมมาปฏิบัติยิ่งขึ้น เป็นการวางไว้ซึ่งทิฏฐานคติแก่มวลชนในภายหลัง ภิกษุผู้สำรวม ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล เพื่อพิฆาตพญามารและเสนามาร ย่อมสง่างามเหมือนดังกษัตริย์ผู้ทรงสวมสอดเกราะแล้ว ย่อมทรงสง่างามในยุทธภูมิ ฉะนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นครูแห่งโลกทรงเลิกใช้ผ้าอย่างดีมีผ้าที่ทำในแคว้นกาสีเป็นต้น แล้วมาทรงใช้ผ้าบังสุกุลจีวรอันใด ใครเล่าที่จะไม่ใช้ผ้าบังสุกุลจีวรอันนั้น

เพราะเหตุฉะนี้แหละ อันภิกษุผู้เห็นภัยในสังสารวัฏเมื่อระลึกถึงคำปฏิญญาณของตน (ที่ให้ไว้แก่อุปัชฌาย์ในเวลาอุปสมบท) พึงเป็นผู้ยินดีในการใช้ผ้าบังสุกุลจีวร อันเป็นเครื่องส่งเสริมการบำเพ็ญความเพียรนั่นเถิด ว่าด้วยอานิสงส์ในปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้

พรรณนาการสมาทาน, กรรมวิธี, ประเภท, ความแตก และอานิสงส์ในปังสุกูลิกังคธุดงค์ ประการแรกนี้ ยุติลงเพียงเท่านี้



ธุดงค์ ๑๓ ประการ

🔅ปริจเฉทที่ ๒ ธุตังคนิเทศ

อารัมภพจนกถา
โดยที่โยคีบุคคลสมาทานเอาศีลแล้วจะต้องทำการสมาทานเอาธุดงค์ต่อไปทั้งนี้เพื่อที่จะทำคุณทั้งหลายมีความเป็นผู้มักน้อยและความสันโดษเป็นต้น อันเป็นเครื่องผ่องแผ้วของศีล ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในสีลนิเทศให้สมบูรณ์ แหละเมื่อโยคีบุคคลทำการสมาทานเอาธุดงค์เช่นนี้แล้ว ศีลของท่านซึ่งถูกชำระล้างมลทินแล้วด้วยน้ำคือคุณ มีความเป็นผู้มักน้อย, ความสันโดษ, ความขัดเกลากิเลส, ความสงัด, ความไม่สั่งสมกิเลส, การปรารภความเพียรและความเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นต้น ก็จักเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ด้วยดี กับทั้งพรตทั้งหลายของท่านก็จักสมบูรณ์ด้วย

อันโยคืบุคคลผู้มีมารยาททั้งปวงบริสุทธิ์แล้วด้วยคุณคือศีลและพรตอันหาโทษมิได้เช่นนี้ ดำรงตนอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่าแก่ ๓ ประการ (คือความสันโดษในจีวร, ความสันโดษในบิณฑบาต, ความสันโดษในเสนาสนะตามมีตามได้) แล้ว จักเป็นบุคคลสมควรเพื่อจะบรรลุอริยวงศ์ประการที่ ๔ ซึ่งได้แก่ความเป็นผู้ยินดีในภาวนา (สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเริ่มแสดงธุดงคกถา ณ บัดนี้


🙏 ธุตังคกถา 🙏

ธุดงค์ ๑๓ ประการ
ก็แหละ พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตธุดงค์ไว้สำหรับกุลบุตรทั้งหลายผู้สละโลกามิสแล้ว ผู้ไม่เสียดายอาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้ปรารถนาจะทำข้อปฏิบัติอันสมควรแก่นิพพานให้ถึงพร้อม รวมเป็น ๑๓ ประการ คือ

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต

๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์
๒. เตจีวริกังคธุดงค์
หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต
๓. ปิณฑบาติกังคธุดงค์
๔. สปทานจาริกังคธุดงค์
๕. เอกาสนิกังคธุดงค์
๖. ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต
๘. อารัญญิกังคธุดงค์
๙. รุกขมูลกังคธุดงค์
๑๐. อัพโภกาสิกังคธุดงค์
๑๑. โสสานิกังคธุดงค์
๑๒. ยถาสันถติกังคธุดงค์
หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต
๑๓. เนสัชชิกังคธุดงค์

วินิจฉัยธุดงค์โดยอาการ ๑๐ อย่าง
นักศึกษาพึงศึกษาให้เข้าใจข้อวินิจฉัยในธุดงค์ ๑๓ ประการนั้น (โดยอาการ ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ)
๑. โดยอรรถวิเคราะห์
๒. โดยลักษณะเป็นต้น
๓. โดยสมาทาน
๔. โดยกรรมวิธี
๕. โดยประเภท
๖. โดยความแตก(ขาด)
๗. โดยอานิสงส์
๘. โดยเป็นกุสลติกะ
๙. โดยแยกออกเป็นคำ ๆ มีคำว่าธุตะเป็นต้น
๑๐. โดยย่อและโดยพิสดาร

วินิจฉัยโดยอรรถวิเคราะห์
ในอาการ ๑๐ อย่างนั้น จะวินิจฉัยโดยอรรถวิเคราะห์เป็นประการแรกดังนี้:

๑. ปังสุกูลิกังคะ
ผ้าใดเป็นเหมือนผ้าที่สะสมด้วยขี้ฝุ่น ณ ที่นั้น ๆ โดยที่ฟุ้งตลบไป เพราะเหตุวางทิ้งไว้บนขี้ฝุ่น ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น ถนน, ป่าช้าและกองขยะมูลฝอยเป็นต้น ผ้านั้นชื่อว่าผ้าบังสุกุล อีกนัยหนึ่ง ผ้าใดถึงซึ่งภาวะที่น่าเกลียด คือ ถึงซึ่งภาวะที่น่าสยะแสยง เหมือนขี้ฝุ่น ผ้านั้นชื่อว่าผ้าบังสุกุล การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลอันได้อรรถวิเคราะห์อย่างนี้ ชื่อว่า ปังสุกุล แปลว่าการทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล, การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ปังสุกูลิโก แปลว่า ผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ชื่อว่า ปังสุกูลิกังคะ เหตุ เรียกว่า องค์ เพราะฉะนั้น นักศึกษาจึงเข้าใจว่าภิกษุนั้นเป็นผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ด้วยเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันใด คำว่า องค์ นี้เป็นชื่อของเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันนั้น

๒. เตจีวริกังคะ
โดยนัยอย่างเดียวกันนั้น การทรงไว้ซึ่งผ้า ๓ ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้าอุตตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑ เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า เตจีวริโก แปลว่าผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้า ๓ ผืนเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้า ๓ ผืนเป็นปกติชื่อว่า เตจีวริยังคะ

๓. ปิณฑปาติกังคะ
การตกลงแห่งก้อนอามิสคือภิกษาหาร ได้แก่การตกลงในบาตรแห่งก้อนข้าวที่ผู้อื่นเขาถวาย ชื่อว่า ปิณฑบาต ภิกษุใดแสวงหาบิณฑบาตนั้น คือเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ๆ แสวงหาอยู่ ภิกษุนั้นชื่อว่า ปิณฑปาติโก แปลว่า ผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาตอีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมของภิกษุนี้ เหตุนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ปิณฑปาตี แปลว่า ผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม บทว่า ปติตํ แปลว่า การเที่ยวไป บทว่า ปิณฺฑปาตี กับบทว่า ปิณฺฑปาติโก ความเหมือนกัน, องค์แห่งภิกษุผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาต หรือองค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม ชื่อว่า ปิณฑปาติกังคะ

๔. สปทานจาริกังคะ
การขาดตอนเรียกว่า ทานะ กิจใดที่ปราศจากการขาดตอนคือไม่ขาดตอนกิจนั้นเรียกว่า อปทานะ กิจใดเป็นไปกับด้วยการไม่ขาดตอน ได้แก่เว้นการขาดระยะ คือ ไปตามลำดับเรือน กิจนั้นชื่อว่า สปทานะ การเที่ยวไป (บิณฑบาต) อย่างไม่ขาดตอน (คือไปตามลำดับเรือน) นี้ เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า สปทานจารี แปลว่า ผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ บทว่า สปทานจารี กับบทว่า สปทานจาริโก ความเหมือนกัน, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ ชื่อว่า สปทานจาริกังคะ

๕. เอกาสนิกังคะ
การฉันในที่นั่งอันเดียว ชื่อว่า เอกาสนะ การฉันในที่นั่งอันเดียวนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า เอกาสนิโก แปลว่า ผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกตินั้น ชื่อว่า เอกาสนิกังคะ

๖. ปัตตปิณฑิกังคะ
บิณฑบาตเฉพาะแต่ในบาตรอย่างเดียวเท่านั้น เพราะห้ามภาชนะอันที่สองเสียชื่อว่า ปัตตปิณโฑ แปลว่า บิณฑบาตในบาตร บิณฑบาตในบาตรเป็นปกติของภิกษุนี้เพราะในขณะหยิบเอาบิณฑบาตในบาตรก็ทำความสำนึกว่าเป็นบิณฑบาตในบาตร เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ปัตตปิณฑิโก แปลว่า ผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกติ องค์แห่งภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกตินั้น ชื่อว่า ปัตตปิณฑิกังคะ

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ
คำว่า ขลุ เป็นศัพท์นิบาตลงในความปฏิเสธ ภัตตาหารที่ได้มาหลังจากที่ตนห้ามแล้ว ชื่อว่า ปัจฉาภัตตัง การฉันปัจฉาภัตนั้น ชื่อว่า ปัจฉาภัตตโภชนัง การฉันปัจฉาภัตเป็นปกติของภิกษุนี้ เพราะรู้อยู่ว่าเป็นปัจฉาภัตในขณะฉันปัจฉาภัต เหตุนั้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ปัจฉาภัตติโก แปลว่า ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตเป็นปกติ ภิกษุผู้มิใช่ปัจฉาภัตติโก ชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติโก แปลว่า ผู้มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตเป็นปกติ (ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม) คำนี้เป็นชื่อของโภชนะที่มากเกินไป ซึ่งท่านห้ามไว้ด้วยอำนาจแห่งการสมาทาน ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาพรรณนาไว้ว่า คำว่า ขลุ ได้แก่นกประเภทหนึ่ง นกขลุนั้นเอาปากคาบผลไม้แล้ว ครั้นผลไม้นั้นล่วงไปจากปากแล้วก็ไม่ยอมกินผลไม้อื่นอีก ภิกษุนี้มีปฏิปทาเหมือนนกขลุนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ขลุปัจฉาภัตติโก แปลว่ามิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุมิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัต เป็นปกตินั้นชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติกังคะ

๘. อารัญญิกังคะ
การอยู่ในป่าเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า อารัญญิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกตินั้น ชื่อว่า อารัญญิกังคะ

๙. รุกขมูลิกังคะ
การอยู่ ณ ที่โคนไม้ชื่อว่า รุกขมูล การอยู่ ณ ที่โคนไม้นั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า รุกขมูลิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติ ชื่อว่า รุกขมูลกังคะ

๑๐. อัพโภกาสิกังคะ
การอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า อัพโภกาสิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ณ ที่กลางแจ้งเป็นปกติ ชื่อว่า อัพโภกาสิกังคะ

๑๑. โสสานิกังคะ
การอยู่ในป่าช้าเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า โสสานิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ ชื่อว่า โสสานิกังคะ

๑๒. ยถาสันถติกังคะ
เสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างไรนั่นเทียว ชื่อว่า ยถาสันถตะ คำนี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่สงฆ์มอบให้แต่แรกด้วยคำว่า เสนาสนะนี้ถึงแก่ท่าน การอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างนั้น เป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า ยถาสันถติโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกตินั้น ชื่อว่า ยถาสันถติกังคะ

๑๓. เนสัชชิกังคะ
การห้ามอิริยาบถนอนเสียแล้วอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติของภิกษุนี้ เหตุนั้นภิกษุนี้ ชื่อว่า เนสัชซิโก แปลว่า ผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติ, องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกตินั้น ชื่อว่า เนสัชชิกังคะ

อรรถาธิบายธุตั้งคะ
ก็แหละ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นนั่นเที่ยวเป็น องค์ แห่งภิกษุผู้ซึ่งได้ชื่อว่า ธุระ เพราะเป็นผู้มีกิเลส (คือตัณหาและอุปาทาน) อันกำจัดแล้ว ด้วยเจตนาเป็นเครื่องสมาทานนั้น ๆ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ธุตังคะ อีกอย่างหนึ่ง ญาณอันได้โวหารว่า ธุระ เพราะเป็นเครื่องกำจัดกิเลส เป็นเหตุแห่งการสมาทานเหล่านั้น ฉะนั้น การสมาทานเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธุตังคะ อีกอย่างหนึ่ง การสมาทานเหล่านั้น ชื่อว่า ธุระ เพราะเป็นเครื่องกำจัดซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกด้วย เป็นเหตุแห่งสัมมาปฏิบัติด้วย เพราะฉะนั้น การสมาทานเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธุตั้งคะ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยในธุดงค์ ๑๓ ประการนั้น โดยอรรถวิเคราะห์เป็นประการแรกเพียงเท่านี้

วินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น
ก็แหละ ธุดงค์หมดทั้ง ๑๓ ประการนั่นแล มีเจตนาเครื่องสมาทานเป็นลักษณะข้อนี้สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่สมาทานได้แก่บุคคล เครื่องสมาทานได้แก่ธรรม คือจิตและเจตสิก เจตนาเป็นเครื่องสมาทานอันใด อันนั้นเป็นตัวธุดงค์ สิ่งที่ถูกห้ามได้แก่วัตถุ และธุดงค์ทั้งหมดนั่นแล” มีการกำจัดความละโมบเป็นรส มีการปราศจากความละโมบเป็นอาการปรากฏ มีอริยธรรมเช่นความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น เป็นปทัฏฐาน คือเป็นเหตุใกล้ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยในธุดงค์ ๑๓ ประการนี้ โดยลักษณะเป็นต้นเพียงเท่านี้

วินิจฉัยโดยการสมาทานเป็นต้น
ก็แหละ ในอาการ ๕ อย่างมีโดยการสมาทานและกรรมวิธีเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ ธุดงค์ ๑๓ ประการนั่นแล
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ก็พึงสมาทานเอาในสำนักของพระผู้มีพระภาคนั่นเทียว,
เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว จึงสมาทานเอาในสำนักของพระมหาสาวก,
เมื่อพระมหาสาวกนั้นไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของพระอรหันตขีณาสพ,
เมื่อพระอรหันตขีณาสพไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของพระอนาคามี,
เมื่อพระอนาคามีไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของพระสกทาคามี,
เมื่อพระสกทาคามีไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของพระโสดาบัน,
เมื่อพระโสดาบันไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก ๓,
เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฎก ๓ ไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก ๒,
เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฏก ๒ ไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก ๑,
เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฎก ๑ ไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่ง,
เมื่อท่านผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่ง ไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านอรรถกถาจารย์,
เมื่อท่านอรรถกถาจารย์ไม่มีอยู่แล้ว พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงธุดงค์,
แม้เมื่อท่านผู้ทรงธุดงค์ก็ไม่มีอยู่แล้ว ก็จงปัดกวาดลานพระเจดีย์ให้สะอาดแล้วนั่งยอง ทำเป็นเหมือนกล่าวสมาทานเอาอยู่ในสำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเถิด

อีกประการหนึ่ง แม้จะสมาทานเอาด้วยตนเองก็ใช้ได้ในข้อนี้ บรรดาพระเถระสองพี่น้องที่วัดเจติยบรรพต จึงยกเอาเรื่องของพระเถระผู้พี่มาเป็นตัวอย่าง เพราะท่านเป็นผู้มีความมักน้อยในธุดงค์ ที่วินิจฉัยมาแล้วนี้ เป็นสาธารณกถาทั่วไปแก่ธุดงค์ทั้งปวง




อานิสงส์ของศีลสมบัติ

อานิสงส์ของศีลสมบัติ

ส่วนการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ โดยประการตรงกันข้ามจากประการที่กล่าวมาแล้ว นักศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้ :-

อีกประการหนึ่งศีลของภิกษุใดปราศจากมลทินดีแล้ว การทรงบาตรและจีวรของภิกษุนั้นย่อมเป็นสิ่งที่น่าเลื่อมใส บรรพชาของท่านก็เป็นสิ่งที่มีผล ดวงหทัยของภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ย่อมไม่หยั่งลงสู่ภัย มีการติเตียนตนเองเป็นต้น เป็นเหมือนพระอาทิตย์ไม่หยั่งลงสู่ความมืดมน ภิกษุงามอยู่ในป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะด้วยศีลสมบัติเหมือนพระจันทร์งามในท้องฟ้าด้วยสมบัติคือรัศมี แม้เพียงกลิ่นกายของภิกษุผู้มีศีลก็ยังทำความปราโมชให้แม้แก่ฝูงทวยเทพ ไม่จำต้องกล่าวถึงกลิ่นคือศีล กลิ่น คือ ศีลย่อมครอบงำสมบัติแห่งคันธชาติ คือของหอมทั้งหลายอย่างสิ้นเชิงย่อมฟุ้งตลบไปทั่วทุกทิศไม่มีการติดขัด

สักการะทั้งหลายที่บุคคลกระทำแล้วในภิกษุผู้มีศีล แม้จะเป็นของเล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก ภิกษุผู้มีศีลย่อมเป็นภาชนะรองรับเครื่องบูชาสักการะอาสวะทั้งหลายในปัจจุบัน ก็เบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลไม่ได้ ภิกษุผู้มีศีลย่อมขุดเสียซึ่งรากแห่งทุกข์ อันจะพึงมีในชาติเบื้องหน้าทั้งหลาย สมบัติอันใดในโลกมนุษย์ และสมบัติอันใดในโลกเทวดา สมบัติอันนั้นอันผู้มีศีลถึงพร้อมแล้วปรารถนาอยากจะได้ ก็เป็นสิ่งจะพึงหาได้โดยไม่ยาก อนึ่ง นิพพานสมบัติอันสงบอย่างหาที่สุดมิได้นี้ในใจของผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ย่อมแล่นตรงแน่วไปสู่นิพพานสมบัตินั้นนั่นเทียว

บัณฑิต พึงแสดงอานิสงส์อันมากหลายเป็นอเนกประการในศีลอันเป็นมูลแห่งสมบัติทั้งปวง โดยประการดังพรรณนามาแล้วนั่นเถิด เพราะว่า เมื่อบัณฑิตแสดงอยู่โดยประการอย่างนั้น จิตใจก็จะหวาดเสียวแต่ศีลวิบัติแล้วน้อมไปหาศีลสมบัติได้ เพราะเหตุนั้น โยคีบุคคลครั้นมองเห็นโทษของศีลวิบัตินี้และมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัตินี้ ตามที่ได้บรรยายมาแล้ว พึงชำระศีลให้ผ่องแผ้วด้วยความเอื้อเฟื้อโดยประการทั้งปวง เทอญ

ก็แหละ โดยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้แสดงแล้วซึ่งศีลอันเป็นประการแรก ในปกรณ์วิสุทธิมรรค ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยมุขคือศีล, สมาธิและปัญญาด้วยพระพุทธนิพนธคาถานี้ว่า นรชน ผู้มีปัญญา เป็นภิกขุ มีความเพียร มีปัญญา เครื่องบริหาร ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิตและปัญญา ให้เจริญอยู่ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้


 จบ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อว่า สีลนิเทศ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค
อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมซแห่งสาธุชน ดังนี้



โทษแห่งศีลวิบัติ

โทษแห่งศีลวิบัติ

ในเหตุ ๒ ประการนั้น (มองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ ๑ ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ ๑) นักศึกษาพึงทราบโทษแห่งศีลวิบัติโดยสุตตันตนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของภิกษุผู้ทุศีลมี ๕ อย่างเหล่านี้ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีล ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้อันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึ่งพร่ำสอน เป็นผู้มีทุกข์ในเพราะการครหาความเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีความร้อนใจในเพราะการสรรเสริญของผู้มีศีลทั้งหลาย แหละเพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นเหตุ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมองเหมือนผ้าเปลือกไม้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมผัสหยาบ เพราะน้ำอบายทุกข์มาให้แก่คนทั้งหลายผู้ถึงซึ่งการเอาเยี่ยงอย่างของเขาตลอดกาลนานชื่อว่าเป็นผู้มีคุณค่าน้อยเพราะทำไม่ให้มีผลมากแก่ผู้ที่ตนรับไทยธรรมของเขา เป็นผู้ล้างให้สะอาดได้ยาก เหมือนหลุมคูถที่หมักหมมไว้นานปี เป็นผู้เสื่อมจากประโยชน์ทั้ง ๒ เหมือนดุ้นพื้นเผาศพ ถึงแม้จะปฏิญญาณตนว่าเป็นภิกษุก็ไม่เป็นภิกษุอยู่นั่นแหละ เหมือนฬาที่ติดตามฝูงโค เป็นผู้หวาดสะดุ้งเรื่อย ๆ ไป เหมือนคนมีเวรอยู่ทั่วไป เป็นผู้ไม่ควรแก่การอยู่ร่วม เหมือนกเฬวรากของคนตาย แม้ถึงจะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรมมีสุตะเป็นต้นก็ตาม ยังเป็นผู้ไม่ควรแก่การบูชาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง เหมือนไฟในป่าช้าไม่ควรแก่การบูชาของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ควรในอันที่จะบรรลุธรรมวิเศษเหมือนคนตาบอดไม่ควรในการดูรูป เป็นผู้หมดหวังในพระสัทธรรม เหมือนเด็กจัณฑาลหมดหวังในราชสมบัติ

แม้ถึงจะสำคัญอยู่ว่าเรา
เป็นสุข ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์อยู่นั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ดังที่ตรัสไว้ในอัคคิกขันธปริยายสูตร 
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงประจักษ์แจ้งกรรม และวิบากของกรรมโดยประการทั้งปวง เมื่อจะทรงแสดงทุกข์อันเผ็ดร้อนยิ่งซึ่งมีความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นปัจจัยอันสามารถจะทำความรุ่มร้อนแห่งใจให้เกิด แล้ว บันดาลความกระอักเลือดอย่างสด ๆ ให้เป็นไปแม้เพียงแต่ระลึกถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ทุศีล มีจิตกำหนัดด้วยความยินดีในสุขอันเกิดแต่การบริโภคเบญจกามคุณ และสุขเกิดแต่การกราบไหว้การนับถือเป็นต้น จึงได้ตรัสพระพุทธโอวาทไว้ ดังนี้ :-


🔅อัคคิกขันธสูตร
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ โน่น กองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วงอยู่
พวกภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
ตรัสต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?
คือการที่ภิกษุพึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอน
กอดกองไฟใหญ่ซึ่งลุกติดเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่น เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุพึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์นางสาวพราหมณ์ หรือนางสาวคหบดี ผู้มีมือและเท้าอ่อนนุ่มนิ่มเหมือนปุยนุ่น เป็นสิ่งประเสริฐเล่า ?
พวกภิกษุกราบทูลว่า การที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์ นางสาวพราหมณ์หรือนางสาวคหบดีผู้มีมือและเท้าอ่อนนุ่มนิ่มเหมือนปุยนุ่นนี้แหละ เป็นสิ่งประเสริฐพระพุทธเจ้าข้า เพราะว่าการที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนั้น เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า

ตรัสต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะบอกเธอทั้งหลาย จะแนะนำเธอทั้งหลายให้รู้แจ้ง การที่พึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนี้นั้นแลเป็นสิ่งประเสริฐ สำหรับภิกษุนั้นผู้มีศีลเลว มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานเร้นลับ ไม่ใช่สมณะปฏิญญาณว่าเป็นสมณะไม่ใช่พรหมจารีปฏิญญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าใน ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส รกเป็นหยากเยื่อ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุผู้ทุศีลนั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือความทุกข์ขนาดปางตาย เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุก็ตาม ก็แต่ว่าเขาจะไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ, วินิบาต, นรก เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้น เป็นปัจจัย

ครั้นทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการบริโภคเบญจกามคุณอันเนื่องด้วยสตรีเป็นปัจจัย โดยอุปมาด้วยกองไฟอย่างนี้แล้ว จึงได้ทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการกราบไหว้การประนมมือและการบริโภคจีวร, บิณฑบาต, เตียง, ตั้ง, วิหารเป็นปัจจัย โดยอุปมาด้วยเชือกขนหางสัตว์, หอกคม, แผ่นเหล็ก, ก้อนเหล็ก, เตียงเหล็ก, ตั้งเหล็กและหม้อเหล็กทั้งหลายเหล่านี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาเชือกขนหางสัตว์ชนิดที่มั่นเหนียวพันแข้งทั้งสองแล้วสีไปมา เชือกนั้นจะพึงตัดผิวครั้นตัดผิวแล้วจะพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วจะพึงตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วจะพึงตัดเย็น ครั้นตัดเอ็นแล้วจะพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วจะพึงตัดจรดเยื่อกระดูกนี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลจึงยินดีการกราบไหว้ของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาหอกอันคมซึ่งชะโลมด้วยน้ำมันที่มเข้าตรงกลางอก นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลยินดีการประนมมือของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังจะพึงเอาแผ่นเหล็กที่ร้อน ไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง มาหุ้มเข้ากับกาย นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลจึงนุ่มห่มจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาคมเหล็กที่ร้อน ไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง มางัดปากแล้ว พึงใส่ก้อนเหล็กที่ไฟติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กที่ร้อนนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ปากบ้าง ลิ้นบ้าง ลำคอบ้าง ท้องบ้าง ของภิกษุผู้ทุศีลนั้น พาเอาทั้งไส้ใหญ่ไส้น้อยออกมายังส่วนเบื้องล่าง นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงฉันบิณฑบาตที่เขาให้ด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือบุรุษผู้มีกำลังจับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วจึงให้นั่งหรือให้นอนบนเตียงเหล็กหรือตั๋งเหล็กที่ร้อนอันไฟติดลุกเป็นเปลวโซติช่วงอยู่ นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุใช้เตียงหรือตั้งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือบุรุษผู้มีกำลังจะพึงจับทำให้มีเท้าขึ้นเบื้องบนมีศีรษะลงเบื้องล่าง แล้วใส่ลงในหม้อเหล็กที่ร้อนอันไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง เขาถูกต้มเดือดพล่านเป็นฟอง บางทีก็ลอยขึ้นมา บางทีก็พึ่งจมลงไป บางที่ลอยขวางไป นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลจะพึงใช้วิหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ

เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบการมองเห็นโทษในศีลวิบัติ ด้วยการพิจารณามีอาทิอย่างนี้ว่า :-
ความสุขของภิกษุผู้มีศีลขาด ไม่สละกามสุขอันมีผลเป็นทุกข์เผ็ดร้อนยิ่งกว่าทุกข์ในการกอดกองไฟ
จักมีแต่
ที่ไหนความสุขในอันยินดีการกราบไหว้ของภิกษุผู้มีศีลวิบัติผู้มีส่วนแห่งทุกข์ ยิ่งกว่าทุกข์ในการเสียดสีแห่งเชือกขนหางสัตว์อันมั่นเหนียว
จักมีได้อย่างไรเล่า
ความสุขในอันยินดีต่อการประณมมือของผู้มีศรัทธาทั้งหลายของภิกษุผู้ไม่มีศีล ผู้มีทุกข์อันมีประมาณยิ่งกว่าทุกข์เกิดแต่การที่มแทงด้วยหอก
เหตุไรจึงจักมีได้เล่า
ความสุขในการบริโภคจีวรของภิกษุผู้ไม่สำรวมแล้ว ผู้จะต้องเสวยสัมผัสแผ่นเหล็กอันลุกโชนในนรกสิ้นกาลนาน
จักมีได้อย่างไรสำหรับภิกษุผู้ไม่มีศีลแม้บิณฑบาตจะมีรสอร่อยก็เปรียบเหมือนยาพิษอันร้ายแรง เพราะมันเป็นเหตุให้กลืนกินก้อนเหล็กแดงตลอดกาลนาน
การใช้เตียงและตั้งของภิกษุผู้ไม่มีศีลซึ่งจะต้องถูกเตียงและตั้งเหล็กอันลุกโชนเบียดเบียนตลอดกาลนาน
แม้เขา
จะสำคัญว่าเป็นสุขก็ชื่อว่าเป็นทุกข์ จะน่ายินดีอะไรในการอยู่ในวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาสำหรับภิกษุผู้ทุศีล เพราะมันเป็นเหตุให้ต้องตกไปอยู่ในกลางหม้อเหล็กอันลุกโชน

พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นครูของโลก ได้ตรัสครหาภิกษุผู้ทุศีลว่า เป็นผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ รกเป็นหยากเยื่อ ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส ลามกและเน่าใน ทุด! ทุด! ชีวิตของภิกษุผู้ไม่สำรวมนั้น ทรงเพศสมณชนแต่ไม่ใช่สมณะ พาตนซึ่งถูกโค่นถูกขุดไปอยู่ สัตบุรุษผู้มีศีลทั้งหลายในโลกนี้ หลีกเว้นภิกษุผู้ทุศีลใด เหมือนพวกคนรักในการประดับตน หลีกเลี่ยงคูถ หลีกเลี่ยงซากศพ ชีวิตของภิกษุผู้ทุศีลนั้นจะมีประโยชน์อะไร ภิกษุผู้ทุศีลเป็นผู้ไม่พ้นจากภัยทั้งปวง กลับเป็นผู้พ้นจากอธิคมสุขคือสุขอันตนจะพึงบรรลุอย่างสิ้นเชิง เป็นผู้มีประตูสวรรค์อันถูกปิดสนิทแล้ว เลยไปขึ้นสู่ทางแห่งอบาย บุคคลอื่นใครเล่า ที่จะเป็นที่ตั้งแห่งความกรุณาของบุคคลผู้มีความกรุณาเสมอเหมือนภิกษุผู้ทุศีล โทษแห่งความเป็นผู้ทุศีลมีมากอย่างหลายประการ ดังพรรณนามาฉะนี้



ความผ่องแผ้วของศีล

ความผ่องแผ้วของศีล

ก็แหละ ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ด้วย
ความไม่แตก(ขาด)แห่ง
สิกขาบททั้งหลายโดยสิ้นเชิง ๑
ด้วยการกระทำคืนสิกขาบทที่ทำคืนได้ซึ่งแตก(ขาด)
แล้ว
ด้วยความไม่มี 🔎เมถุนสังโยค ๗ ประการ ๑
ด้วยข้อปฏิบัติอื่น ๆ คือความ
ไม่เกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความริษยา ความตระหนี่ ความมารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความเลินล่อ ๑
ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งคุณ
ทั้งหลายมีอาทิเช่น ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ๑ 

จริงอยู่ ศีลเหล่าใดแม้ไม่ขาดเพื่อต้องการลาภเป็นต้นก็ดี แม้ศีลที่ขาดไปด้วย
โทษคือความประมาทแต่กระทำคืนแล้วก็ดี ศีลที่อันเมถุนสังโยคหรือบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและความผูกโกรธเป็นต้นไม่ได้เข้าไปทำลายแล้วก็ดี ศีลเหล่านั้นเรียกว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยประการทั้งปวง และศีลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ภูชิสสะ เพราะสร้างความเป็นไท ชื่อว่า วิญญุปสัตถะ เพราะผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะอันตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายไม่ถูกต้องแล้ว ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกะ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น อันภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้วของศีลทั้งหลายเหล่านั้น


ก็แหละ ความผ่องแผ้วนี้นั้น ย่อมสำเร็จได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
ด้วยการ
มองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ ๑
ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ ๑



ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วของศีล

 ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วของศีล

ปัญหากรรมใดที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า “อะไรเป็นความเศร้าหมองเป็นความผ่องแผ้วของศีลนั้น” ข้าพเจ้าจะวิสัชนาในปัญหากรรมนั้นต่อไป ดังนี้

ภาวะที่ 
ศีลขาด เป็นต้น เป็นความเศร้าหมองของศีล
ภาวะที่ ศีลไม่ขาด เป็นต้น เป็นความ
ผ่องแผ้วของศีล

ความเศร้าหมองของศีล ก็แหละ ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นนั้นท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกต่างซึ่งมีลาภและยศเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเมถุนสังโยค ๗ ประการอย่างหนึ่ง จริงอย่างนั้น ในบรรดาอาบัติ ๗ กอง
สิกขาบทของภิกษุใด ขาดเบื้องต้นหรือที่สุด ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลขาด เหมือนผ้าที่ขาดชาย
ส่วนสิกขาบท
ของภิกษุใด ขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน
สิกขาบทของภิกษุใด ขาดสอง, สามสิกขาบทไปตามลำดับ ศีลของภิกษุ
นั้นชื่อเป็น ศีลด่าง เหมือนแม่โคมีสีตัวเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปรากฏขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง
สิกขาบทของภิกษุใด
ขาดเป็นตอน ๆ ไป ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลพร้อย เหมือนแม่โคลายเป็นจุดด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะ ๆ ไป 

ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นย่อมมีด้วยความแตกต่างซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นเหตุด้วยประการดังอธิบายมานี้

เมถุนสังโยค ๗ ภาวะที่ศีลขาดด้วยอำนาจแห่งเมถุนสังโยค ๗ ประการ มีอรรถาธิบายดังจะบรรยายต่อไปนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ :-

๑. พราหมณ์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่ ก็แต่ว่ายังยินดีการลูบคลำ, การขัดสี, การให้อาบและการนวดของมาตุคาม เขายินดีปรารถนาต่อการบำเรอนั้นและถึงซึ่งความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น ความยินดีต่อการบำเรอแห่งมาตุคามนี้ จัดเป็นความขาดบ้าง ความทะลุบ้าง ความด่างบ้าง ความพร้อยบ้าง ของพรหมจรรย์ พราหมณ์ สมณะหรือพราหมณ์นี้ เรากล่าวว่า เขาประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
๒. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ก็แต่ว่ายังกระซิกกระชี้เล่นหัวและยังล้อเลียนกับมาตุคามอยู่ เขายินดีต่อการกระซิกกระชี้เป็นต้นนั้น เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
๓. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ทั้งไม่กระซิกกระชี้ ไม่เล่นหัว ไม่ล้อเลียนกับมาตุคาม ก็แต่ว่ายังชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม เขายินดีต่อการเพ่งดูนั้นเรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
๔. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ทั้งมิได้กระซิกกระชี้เล่นหัว ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ก็แต่ว่ายังชอบฟังเสียงของมาตุคาม ผู้หัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ร้องเพลงอยู่ก็ดี ร้องให้อยู่ก็ดี ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม เขายินดีต่อเสียงนั้น เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
๕. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ ของมาตุคาม ก็มิได้ยินดี ทั้งมิได้กระซิกกระชี้เล่นหัว ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ทั้งไม่ชอบฟังเสียงมาตุคาม ผู้หัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ร้องเพลงอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม ก็แต่ว่ายังระลึกถึงซึ่งการหัวเราะและการพูดจาและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน เขายินดีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในกาลก่อนนั้น เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
๖. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำของมาตุคาม ก็มิได้ยินดี แม้การหัวเราะการพูดเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน ก็มิได้ระลึกถึง ก็แต่ว่าเขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ถูกบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อย่างเอิบอิ่มเพียบพร้อม เขายินดีต่อการ (ถูก) บำเรอ (ของผู้อื่น) นั้น เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
๗. พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย...หาได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้ถูกบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อย่างเอิบอิ่มเพียบพร้อมแล้วยินดีไม่ ก็แต่ว่าเขาประพฤติพรหมจรรย์โดยปรารถนาเป็นเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่งว่า “เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยพรตอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ เขายินดีปรารถนาต่อความเป็นเทพนั้น และย่อมถึงซึ่งความปลาบปลื้มด้วยความเป็นเทวดานั้น พราหมณ์ความยินดีด้วยความเป็นเทวดาแม้นี้ จัดเป็นความขาดบ้าง ความทะลุบ้าง ความด่างบ้าง ความพร้อยบ้าง ของพรหมจรรย์” ฉะนี้แล

นักศึกษาพึงทราบว่า ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกต่าง ซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเมถุนสังโยค ๗ ประการอย่างหนึ่ง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้




อธิบายศีล ๕ อย่าง หมวดที่ ๒

อธิบายศีล ๕ อย่าง หมวดที่ ๒

นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในศีล ๕ อย่าง หมวดที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งการประหานบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ดังต่อไปนี้ สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า :- ศีล ๕ คือ
๑. ปหาน การประหานซึ่งปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. เวรมณี 
ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
๓. เจตนา ความจงใจ ชื่อว่าศีล
๔. สํวร ความระวัง 
ชื่อว่าศีล
๕. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล

การประหาน ความงดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิดซึ่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
การประหานกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ,
ประหานพยาบาท ด้วยอัพยาบาท, 
ประหานถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา,
ประหานอุทธัจจะ ด้วยอวิกเขปะ,
ประหาน
วิจิกิจฉา ด้วยธัมมววัตถาน,
ประหานอวิชชา ด้วยญาณ,
ประหานอรติ ด้วยปราโมช, 
ประหานนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน,
ประหานวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน,
ประหาน
ปีติ ด้วยตติยฌาน,
ประหานสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน,
ประหานรูปสัญญา 
ปฏิมสัญญา อนัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ,
ประหานอากาสา
นัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ,
ประหานวิญญาณัญจายตนสัญญา 
ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ,
ประหานอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญา
นาสัญญายตนสมาบัติ
ประหานนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา,
ประหานสุขสัญญา ด้วย
ทุกขานุปัสสนา,
ประหานอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา,
ประหานนันทิ ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา,
ประหานราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา,
ประหานสมุทัย ด้วย
นิโรธานุปัสสนา,
ประหานอมุญจิตกามยะ ด้วยมุญจิตกามยตานุปัสสนา,
ประหาน
อาทานะ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา,
ประหานฆนสัญญา ด้วยขยานุปัสสนา,
ประหานอายหนะ ด้วยวยานุปัสสนา,
ประหานธุวสัญญา ด้วยวิปริณามานุปัสสนา,
ประหานนิมิต ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา,
ประหานปณิธิ ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ประหานอภินิเวสะ ด้วยสุญญตานุปัสสนา,
ประหานสาราทานาภินิเวสะ ด้วย
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา,
ประหานสัมโมหาภินิเวสะ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ,
ประหานอาลยาภินิเวสะ ด้วยอาทีนวานุปัสสนา,
ประหานอัปปฏิสังขา ด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนา,
ประหานสังโยคาภินิเวสะ ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา
ประหานกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ด้วยโสตาปัตติมรรค,
ประหาน
กิเลสชั้นหยาบทั้งหลาย ด้วยสกทาคามิมรรค,
ประหานกิเลสชั้นละเอียดทั้งหลาย
ด้วยอนาคามิมรรค,
ประหานกิเลสอย่างสิ้นเชิง ด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่าศีล,



ความ
งดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ศีลเห็นปานดังนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เป็นไปเพื่อปราโมช เป็นไปเพื่อปัสสัทธิ เป็นไปเพื่อโสมนัส เป็นไปเพื่ออาเสวนะ เป็นไปเพื่อภาวนา เป็นไปเพื่อทำให้มาก เป็นไปเพื่ออลังการ เป็นไปเพื่อบริขาร เป็นไปเพื่อบริวาร เป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็แหละ ในธรรม ๕ อย่างนั้น ธรรมอะไร ๆ ที่ชื่อว่าประหาน ย่อมไม่มีเป็นแต่เพียงเว้นความไม่บังเกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว

อนึ่ง โดยที่การประหานนั้น ๆ ย่อมเป็นการรองรับ และอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนั้น ๆ และเป็นการดำรงอยู่โดยเรียบร้อย เพราะไม่กระทำความเกะกะ เพราะเหตุนั้น การประหานจึงเรียกว่า ศีล เพราะอรรถว่า ความปกติ กล่าวคือ ความรองรับและความดำรงอยู่โดยเรียบร้อย ซึ่งได้พรรณนามาแล้วในตอนต้นนั้นแล

ธรรม ๔ อย่างนอกนี้ คือ เวรมณี, เจตนา, สังวร และอวีติกกมะ ท่านกล่าว
ไว้โดยหมายเอาสภาพที่เป็นไปของจิต
ด้วยสามารถแห่งความงดเว้นจากบาปธรรม
นั้น ๆ ๑
ด้วยสามารถแห่งความระวังซึ่งบาปธรรมนั้น ๆ ๑
ด้วยสามารถแห่ง
ความจงใจที่ประกอบด้วยความงดเว้นและความระวังทั้งสองนั้น ๑
ด้วยสามารถแห่ง
ความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ ของบุคคลผู้ไม่ล่วงละเมิดอยู่ ๑

ส่วนอรรถาธิบาย
แห่งธรรม ๔ อย่างนั้นที่ชื่อว่าศีล ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้วในตอนต้นนั่นเทียว ศีล ๕ อย่างโดยแยกเป็นปหานศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้ ก็แหละ การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ คือ อะไรชื่อว่าศีล? ๑ ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร ๑ อะไรเป็นลักษณะ เป็นรส, เป็นอาการปรากฏ และเป็นปทัฏฐานของศีล ๑ ศีลมีอานิสงส์อย่างไร และศีลนี้มีกี่อย่าง ดังนี้ เป็นอันจบลงด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้




กำลังโหลดกลอนธรรมะ...

✍️ หากสิ่งใดยังมัวหมอง ขัดข้อง ขอให้อย่าถือไว้
สิ่งใดตรงต่อธรรม ขอธรรมนั้นจงงอกงามขึ้นในใจทุกท่านเถิด 🙏

🌿 ใบลานเปล่า 🌿

ธรรมสุตตะ | ศึกษาพระธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎก © 2008. Template by Dicas Blogger.

กลับขึ้นด้านบน