วันพุธ

ศัพท์ธรรม ภาษาอังกฤษ-ไทย

 A-B-C  D-E-F  G-H-I  J-K-L-M  N-O-P  Q-R-S  T-U-V  W-Y-Z
สลับเป็น ภาษา
ไทย - อังกฤษ


A

abandoning; abandonment    ปหานะ, จาคะ (การ สละ; การละ)

abiding    วิหาร (ธรรม

abode    ภพ; เสนาสนะ, อาลยะ, วิหาร 

absolute sense    ปรมัตถ์ 

absolute truth    ปรมัตถสัจจะ 

absorption    ฌาน, อัปปนา

abstention    เวรมณี (การเว้น)

abstinence    วิรัติ (ความเว้น, งดเว้น; เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว)

access concentration    อุปจารสมาธิ  

accessory    ปริวาร, บริวาร (สิ่งของ)  

accompanied by    สหรคต, สหคต 

accomplishment, basis of    อิทธิบาท  

achievement    สัมปทา  

acquisition    ลาภ  

acquisitiveness    โลภ  

act    กรรม 

act, formal    สังฆกรรม 

action    กรรม กัมมันตะ 

adaptability    กัมมัญญตา

adept    อเสขะ  

adherence to habits and practices    สีลัพพต ปรามาส 

adherent    ศาสนิก 

adjustment    ทมะ 

admonition    โอวาท 

adultery    กาเมสุมิจฉาจาร  

advantage    อานิสงส์ 

adverting    อาวัชชนะ  

advice    โอวาท  

aeon    กัป, กัลป์

affliction    พยาธิ  

age    วัย

ageing; aging    ชรา 

aggregate    ขันธ์  

agility    ลหุตา  

agitation    อุทธัจจะ  

agreeable    อิฏฐะ (น่าปรารถนา)  

agreement    สมมติ (การตกลงรวมกัน, มอบหมาย, แต่งตั้ง)

aim    อัตถะ, อรรถ 

allowable (adj)   กัปปิยะ  

alms; almsfood    ภิกษา, ทาน, ทานวัตถุ,  บิณฑบาต 

alms-bowl    บาตร 

alms-gathering    บิณฑบาต, การไปบิณฑบาต 

alms resort    โคจร (ที่เที่ยวบิณฑบาต, ที่หาอาหาร)

almsround    การไปบิณฑบาต  

alteration    วิปริณาม  

analysis    วิภังค์, วินิพโภค

analytic insight    ปฏิสัมภิทา  

anger    โกธะ  

annihilationism    อุจเฉทวาท, อุจเฉททิฐิ 

anxiety    อุทธัจจกุกกุจจะ  

apperception    ชวนะ  

Arahat; Arahant    พระอรหันต์  

Arahatship    อรหัตต์, อรหัตตผล 

ardour    ตปะ, ตบะ,  อาตปะ, ความเพียรเผากิเลส 

arising    อุปปาทะ, อุบัติ  

ariyan    อริยะ 

arrogance    อติมานะ 

ascetic    ฤษี, ดาบส, นักพรต, นักบวช 

ascetic practices    ตบะ; ธุดงค์  

aspect    อาการ  

assembly    สภา, บริษัท (= ปริสา ที่ประชุมหรือ ชุมชน หมู่ชน ไม่ใช่บริษัท ในภาษาไทย)

associated with    สัมปยุต 

association    สัมปโยคะ, เสวนา 

assuming    อุปาทาน 

attachment    อุปาทาน

attainment    อภิสมัย (การบรรลุ), สมาบัติ

attainment concentration    อัปปนาสมาธิ

attendance    อุปัฏฐาน (การบํารุง, เฝ้า, พยาบาล)

attendant    อุปัฏฐาก, อุปฐาก  

attention    มนสิการ 

attentiveness    ความมีสติ

audible object    สัททารมณ์, สัททะ (เสียง)

austere practices    ธุดงค์ 

austerities    ตบะ, พรต

authority    อาณา, อิสริยะ

avarice    มัจฉริยะ

aversion    ปฏิฆะ; อรติ

avoidance    วิรัติ; สังวร

Awakened One, the    พระพุทธเจ้า

Awakening    อภิสัมโพธิ, การตรัสรู้

awareness    สัมปชัญญะ 


B

bad    บาป

bad company    ปาปสหายตา (ความมีเพื่อนชั่ว)

balanced life; balanced livelihood    สมชีวิตา 

banishment    ปัพพาชนียกรรม

basis of mindfulness    สติปัฏฐาน

basis for success    อิทธิบาท

becoming    ภพ, ภวะ

being    สัตว์

belief in a soul or self    สักกายทิฏฐิ 

benefaction    ทาน, อัตถจริยา 

benefactor    ทายก

benefit    อานิสงส์, อัตถะ, อรรถ

benevolence    อัตถจริยา

besotting drink    มัชชะ

birth    ชาติ 

birth story    ชาดก 

blameless action    อนวัชชกรรม

Blessed One, the    ภควา (พระผู้มีพระภาค)
blessing    พร, มงคล, อนุโมทนา, อานิสงส์

bliss    สุข

Bodhisatta; Bodhisattva    พระโพธิสัตว์

bodily (adj)    กายิกะ (ทางกาย)

bodily action    กายกรรม

bodily avenue    กายทวาร

bodily formation; bodily functions    กายสังขาร

bodily good conduct    กายสุจริต 

bodily happiness    กายิกสุข

bodily misconduct    กายทุจริต

bodily pain    กายิกทุกข์

body    กาย 

bond    โยคะ

boon    พร

border district    ปัจจันตชนบท

boundary    สีมา

bourn    คติ

Brahma-farer    พรหมจารี

Brahma-faring    พรหมจรรย์

Brahmin, brahman    พราหมณ์  

breathing in    อัสสาสะ (การหายใจเข้า) (= in breathing)

breathing out    ปัสสาสะ (การหายใจออก) (= out breathing)

Buddha, the    พระพุทธเจ้า

Buddhism    พระพุทธศาสนา

Buddhist    พุทธศาสนิก

buoyancy    ลหุตา (ความเบา)

burden    ธุระ, ภาระ


C

calm    สมถะ

Calmed One, the    พระมุนี

canker    อาสวะ

canon    ปิฎก, คัมภีร์

carelessness    ปมาทะ, ความประมาท

carnalities    อามิส

caste    วรรณะ

category    ขันธ์

causal occasion    ฐาน

cause    เหตุ

Cause of Suffering    ทุกขสมุทัย, สมุทัย

cemetery    สุสาน

cessation    นิโรธ

Cessation of Suffering    ทุกขนิโรธ, นิโรธ

change    วิปริณาม

change-of-lineage    โคตรภู

chanting    การสวดมนต์ 

chapter of monks    คณะ (ในวินัย)

character    จริต

characteristic    ลักษณะ

charity    ทาน, จาคะ

clairaudience    ทิพยโสต

clairvoyance    ทิพยจักษุ

clan    โคตร, กุล, สายตระกูล

clansman    กุลบุตร

classification    สังคหะ (จัดประเภท)

clear comprehension    สัมปชัญญะ

clinging    อุปาทาน

cognizance    จิต, จิตต์

cognizable object    ธรรมารมณ์

cohesion, the element of    อาโปธาตุ

Collection    นิกาย (แห่งคัมภีร์) 

comfort    ผาสุก

commentary    อรรถกถา

common characteristics    สามัญลักษณะ

community    สังฆะ, สงฆ์

companion    สหาย

compassion    กรุณา 
compounded things    สังขาร, สังขตธรรม

comprehension    สัมปชัญญะ, ปริญญา

conceit    มานะ 

concentration    สมาธิ

concentration development    สมาธิภาวนา, สมถ- ภาวนา

concept    บัญญัติ

conception    ปฏิสนธิ

concord    สามัคคี 

condition    ปัจจัย

conditioned genesis    ปฏิจจสมุปบาท

conditioned things    สังขาร, สังขตธรรม

conduct    อาจาร, จริยา, จรณะ, สมาจาร

confession    เทศนา (การแสดงอาบัติ)

confidence    สัทธา, ศรัทธา, ปสาทะ

conformity    อนุโลม

conquest    ชัย, วิชัย 

conquest by piety    ธรรมวิชัย 

conscience    หิริ 

conscientious (adj)   ลัชชี, มีหิริโอตตัปปะ

consciousness    วิญญาณ

consequence    วิบาก

consideration    มนสิการ

constituent    องค์, โวการ

contact    ผัสสะ 

contemplation    อนุปัสสนา, อนุสติ

contemplation of the body    กายานุปัสสนา

contemplation of the feelings    เวทนานุปัสสนา

contemplation of the mind    จิตตานุปัสสนา

contemplation of the mind-objects    ธัมมานุ- ปัสสนา

contempt    มักขะ; อติมานะ

content; contentment    สันโดษ, สันตุฏฐี

continuity    สันตติ, สันตานะ

control of the senses    อินทรียสังวร 

controlling faculty    อินทรีย์ 

conventional truth    สมมติสัจจะ

conversion    อาวัตต์, อาวัตตนา, การกลับใจเปลี่ยนศาสนา

co-religionist    สหธรรมิก

corporeality    รูป, รูปธรรม 

corruption    สังกิเลส, อุปกิเลส, อาสวะ 

Council    สังคายนา, สังคีติ

counterpart    ปฏิภาค

couplet    ทุกะ

course of action    กรรมบถ 

courteous speech; courtesy    ปิยวาจา, เปยย- วัชชะ

covetousness    อภิชฌา

craving    ตัณหา

craving for annihilation    วิภวตัณหา

craving for existence    ภวตัณหา  

craving for non-existence    วิภวตัณหา

craving for sensual pleasures    กามตัณหา

cremation    ฌาปนกิจ

crematorium    ฌาปนสถาน 

cruelty    วิหิงสา

curds    ทธิ

วันจันทร์

๐๘. ปฐมเทศนา

ครั้นถึงวันอาสาฬหปุณณมี วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ อาสาฬหมาส ได้โอกาสอันควรที่จะแสดงธรรม โปรดพระปัญจวัคคีย์ พระพุทธองค์จึงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือการปฐมเทศนาครั้งแรกในโลก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแห่งนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงที่สุดสองอย่าง ที่ภิกษุไม่ควรเสพ คือ การพัวพันหนักใน กามสุข และการประกอบกรรม อันเป็นการทรมานตัวเองให้เหนื่อยเปล่า ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น ทรงชี้ทางให้ ดำเนินตาม มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ คือญาณปัญญาที่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔ ว่า นี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่ทางดำเนินเพื่อให้ถึงความดับทุกข์

สัมมาสังกัปโป - คือดำริชอบในการที่จะออกจากกามารมณ์ทั้งหลายดำริในเรื่องเลิก ไม่ผูกพยาบาทเขาและดำริชอบในอันที่จะไม่เบียดเบียนเขา

สัมมาวาจา - เจรจาชอบ คือเว้นจากการกล่าวคำเท็จ เว้นจากกล่าวคำส่อเสียด เว้นจากกล่าวคำหยาบ คำพูดที่เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่มีประโยชน์

สัมมากัมมันโต - ประกอบการงานชอบ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เว้นจาการถือเอาสิ่งที่เจ้าของเขาไม่อนุญาตให้ (ขโมย) และเว้นจากการประพฤติผิดลูกเมียเขา

สัมมาอาชีโว -เลี้ยงชีพชอบคือ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดโดยอุบายทุจริตหลอกหลวง บีบคั้นผู้อื่น ให้ทำเฉพาะการงานประกอบอาชีพที่ดีที่ชอบ

สัมมาวายาโม - เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรยังบุญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย

สัมมาสติ - ระลึกชอบ คือ เฝ้าคำนึงใคร่ครวญพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่เสมอ คือให้มีสติกำหนดพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม ให้เห็นเป็นแต่สักว่า กาย เวทนา จิต และ ธรรม ส่วนหนึ่งๆ เท่านั้น หาได้มีสัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา ผู้หญิง ผู้ชาย อะไรที่ไหนเลย เรียกว่ามีแต่รูป หรือกายกับนาม คือจิตผู้รู้เท่านั้นในโลกนี้แล้วถอนทิ้งเสียซึ่งความยินดียินร้ายในโลกเสีย

สัมมาสมาธิ - ตั้งจิตไว้ชอบ คือ ทำจิตให้สงบจากกามารมณ์ และธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลที่เป็นนิวรณ์ด้วยการเจริญสมาธิ เจริญญาณทั้งสี่ให้เกิดให้มีขึ้น

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเล่าให้ภิกษุสงฆ์ฟังภายหลังว่า "ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศ อนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้" ข้อนี้คือการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้ตื่น ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ได้แก่

๑. ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์
๒. เหตุให้เกิดทุกข์
๓. ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
๔. หนทางทำผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

สรุปได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นสังขารทุกข์ของสัตว์มนุษย์ทั้งปวงว่า เมื่อเกิดมาแล้วมันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น จะต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น แล้วก็มาเกิดอีก หมุนเวียนอยู่ดังนี้เรื่อยไปเป็นลูกโซ่ ทีนี้ทำอย่างไรเล่าจะไม่ต้องมาแก่ เจ็บ ตาย และทนทุกข์ทรมาน รวมถึงทุกข์อื่นๆ เช่น ความโศก ความรำพัน เป็นต้น มีทางเดียวคือเลิกเกิด ทำอย่างไร มันถึงจะเลิกเกิดได้ ที่เราต้องเวียนเกิดเวียนตายกันอยู่นี้ ก็เพราะอวิชชา เราต้องทำลายอวิชชาให้หมดไป คือ มารู้ และปฏิบัติตามความจริงอันประเสริฐสี่ประการที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔

ท่านโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าตั้งใจฟังไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ก็ได้ปัญญาเห็นธรรม ปราศจากมลทิน คือ โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงเหล่านั้น ก็จะต้อง มีความดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน" เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงเปล่งพระ อุทาน ว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ" แล้วพระโกณฑัญญะจึงทูลขออุปสมบท ก็โปรดอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อจากนั้นมา พระองค์ทรงอบรมสั่งสอนท่านภัททิยะ วัปปะ มหานาม และท่านอัสสชิ เพื่อให้มีปัญญาแก่กล้าขึ้น ทั้งสี่ท่านก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบันทุกองค์แล้วจึงทูลขออุปสมบท ต่อมาทรงเห็นว่า ภิกษุทั้งห้ามีอินทรีย์แก่กล้า ควรแก่การเจริญปัญญาเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ก็โปรดเทศน์เรื่อง อนัตตลักขณสูตร ภิกษุเหล่านั้นเข้าใจโดยถ่องแท้จากการฟังพระธรรมเทศนาตามไปจนจบ ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทั้งหมดด้วยกัน เป็นอันว่าพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ได้เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ณ ที่นี้



ศากยวงศ์, • พระโพธิสัตว์จุติ, • ประสูติ, • คำทำนายโหราจารย์,  • เสด็จออกบรรพชา, • ตรัสรู้, • เสวยวิมุติสุข, • ปฐมเทศนา, • ๔๕ พรรษา, • ปรินิพพาน