บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ อริยสัจ ๔

(ค) ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย

รูปภาพ
 (ค) ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย เท่าที่ได้บรรยายมา ถ้าเข้าใจความหมายของทุกข์ในอริยสัจ และแยกออกได้ชัดจากทุกข์ในไตรลักษณ์ พร้อมทั้งมองเห็นความเกี่ยวโยงกันระหว่างทุกข์ในหมวดธรรม ๒ ชุดนี้แล้ว ก็ถือเป็นอันสมวัตถุประสงค์ ระหว่างที่บรรยายนั้น ได้ยกทุกข์ชื่อต่างๆ หรือทุกข์ในลักษณะอาการต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง และได้ ขอให้เข้าใจว่า ทุกข์ต่างๆ มากมายนั้น ไม่พึงถือเป็นเรื่องเคร่งครัดนัก แต่มองได้ว่าเป็นการที่ท่านยกขึ้นมากล่าวเพื่อนำความเข้าใจ ให้ง่ายและชัด เป็นเรื่องที่ต่างกันไปไดตามถิ่นฐานกาลสมัย พูดง่ายๆ ก็คือแสดงตัวอย่างเรื่องราวที่เป็นปัญหาของมนุษย์ (ใครในสมัยนี้ ถ้าสนใจ ก็อาจจะรวบรวมปัญหาหรือทุกข์ของมนุษย์ในสมัยปัจจุบันมาทำเป็นบัญชีไว้) ดังที่ท้ายสุด พระพุทธเจ้าก็ทรงสรุปไว้ให้แล้ว ที่ว่า “โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ คือทุกข์”  เมื่อได้ความเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะแสดงชื่อทุกข์ที่ท่านจำแนกแจกแจงไว้ในที่ต่างๆ ให้เห็นตัวอย่างต่อไป ทุกข์ที่ท่านจำแนกไว้ ส่วนใหญ่เป็น ทุกข์ในอริยสัจ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคน เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข เป็นสิ่งควรคำนึงเพื่อปลดเปลื้องเสียด้วยการปฏิบั...

องค์แห่งอริยสัจ ๔

รูปภาพ
🔅 ทุกขอริยสัจ อริยสัจข้อแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคือ เรื่องทุกข์ ที่ทรงแสดงเรื่องทุกข์ก่อนก็เพราะความทุกข์เป็นสิ่งปรากฏชัดในชีวิตมนุษย์ ทุกคนเห็นอยู่ประสบอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขันธ์ ๕ เป็นปกติและเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทุกชนิด บางทีเมื่อตรัสตอบปัญหาซึ่ง มีผู้ถามว่าอะไรเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์ ทรงชี้ไปที่ทุกข์ว่าเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์ ใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงความทุกข์ไว้ ๑๑ หัวข้อ คือ ๑.ชาติทุกขํ   คือ ความเกิดเป็นทุกข์ เหตุที่ว่าความเกิดเป็นทุกข์นั้น เราพอมองเห็นได้ด้วยการพิจารณาว่า สำหรับสัตว์ผู้เกิดในครรภ์(ชลาพุชะ) ทุกข์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่สัตว์นอนอยู่ในครรภ์มารดา ต้องขดตัวอยู่ภายในช่องแคบๆ เหยียดมือเหยียดเท้าไม่ได้ จมอยู่ในน้ำคร่ำ สูดกลิ่นเหม็นต่างๆ เป็นเวลาแรมปี ครั้นมารดากินของร้อน เย็น หรือเผ็ดเข้าไป สัตว์นั้นก็ต้องรู้สึกเจ็บแสบเพราะอาหารนั้นๆ เข้าไปกระทบ ยามเมื่อจะคลอด ก็ถูกลมให้หัวห้อยลง ถูกบีบรัดผ่านช่องแคบๆ ถูกดึงมือ ดึงเท้า จากหมอ ความทุกข์ในยามนี้ย่อมทำให้สัตว์ไม่อาจทนความบีบคั้นอยู่ได้จึงต้องคลอดออกมาพร้อมร้องเสียงดังลั่น แสดงถึงความ...

กิจในอริยสัจ ๔

รูปภาพ
กิจ คือ หน้าที่ในอริยสัจ ๔ ข้อใดมีหน้าที่อย่างไร รวมเรียกว่า ไตรปริวัฏ ทวาทสาการ แปลว่า ๓ รอบ ๑๒ อาการ หมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔  ผู้รู้อริยสัจ ๔ ที่เรียกว่ารู้จริง รู้แล้วพ้นทุกข์ได้ ต้องรู้ประกอบด้วยญาณ ๓ อาการ ๑๒ นี้ ที่คนสามัญรู้นั้นเป็นความจำ ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง ยังปฏิบัติตามที่รู้ไม่ได้  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณา ตรัสเทศนาโพธิปักขิยธรรม ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ ธรรมทั้ง ๓ นี้มีอรรถเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประดุจดังดุมเกวียน กำเกวียน และกงเกวียน จึงได้ชื่อว่า พระธรรมจักร ( ตารางแผนญาณ ๓หรือรอบ ๓ อาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ ) สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ทุกข์ ยอมรับว่าความทุกข์แห่งชีวิตมีอยู่จริง ชีวิตคลุกเคล้าไปด้วยความทุกข์จริง รู้ว่าความทุกข์เป็นสิ่งที่กำหนดความรู้ คือ ควรทำความเข้าใจ (ปริญเญยยธรรม) รู้ว่าได้กำหนดรู้แล้วหรือทำความเข้าใจแล้ว สมุทัย ยอมรับว่าสมุทัยคือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง รู้ว่าสมุทัยคือตัณหา เป็นสิ่งควรละ (ปหาตัพพธรรม) รู้ว่าละได้แล้ว นิโรธ ยอมรับว่านิโรธคือความทุกข์มีอยู่จริง ความทุกข์สามารถดับได้จริง โดยผ่านทางการดับตัณหา รู้ว่านิโรธ...

ความสำคัญของอริยสัจ ๔

รูปภาพ
อริยสัจ  เป็นหัวข้อธรรมสำคัญอย่างยิ่งหัวข้อหนึ่งในหลักคำสอนสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเห็นได้จากหลักฐานต่อไปนี้ ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะทรงรู้แจ้งในอริยสัจ ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์นั่นเอง ว่า “ ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ” ๒. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรให้เป็นพระธรรมเสนาบดี คือ แม่ทัพธรรม ทรงให้เหตุผลว่า เพราะพระสารีบุตรสามารถแสดงธรรมจักรซึ่งมีอริยสัจ ๔ เป็นแกนกลางได้เสมอ พระองค์ไม่มีพระสาวกอื่นรูปใดจะทำให้เทียมถึง แสดงว่าทรงถือเอาอริยสัจ ๔ เป็นมาตรฐานวัดความสามารถของพระสาวกในเรื่องการแสดงธรรม ๓. พระสารีบุตรได้แสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ เป็นที่รวมลงแห่งธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย   เหมือนรอยเท้าช้างใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์บกทุกชนิด เอารอ...