บทความ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

รูปภาพ
เพื่อความเข้าใจพระสูตร ควรทำความเข้าใจ อริยสัจ ๔ ก่อน ๑.  ความหมายของอริยสัจ ๔ ๒.  ความสำคัญของอริยสัจ ๔ ๓.  องค์แห่งอริยสัจ ๔ ๔.  กิจในอริยสัจ ๔ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)  เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์  ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็น ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้  เพื่อนิพพาน มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิด ญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร...

๒. วิสุทธิ ๗

รูปภาพ
วิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส  ที่เป็นไปทางกาย ทางใจ และทางปัญญา กล่าวโดยย่อได้แก่ ศีล สมาธิ  ปัญญา ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ความหมดจดจาก กิเลส มี ๓ ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ทั้งทางกายทางจิตและปัญญา  ถ้าหมดจดจากกิเลสโดยศีล ก็หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ โดยสมาธิ ก็ หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง โดยปัญญา ก็หมดจดจากกิเลสอย่าง ละเอียด  วิสุทธิเป็นธรรมที่ละเอียดมากและเป็นธรรมชนิดนำไปสู่แดน เกษม คือ พระนิพพาน ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานได้นั้นต้องดำเนินไป ด้วยวิสุทธิ คือ ต้องดำเนินไปด้วยความหมดจดจากกิเลส วิสุทธิ ๗ นี้มีการ ดำเนินไปที่เกี่ยวเนื่องกับญาณ ๑๖ ดังนั้นจึงแสดงตารางความสัมพันธ์กันของวิสุทธิ  ๗ และญาณ ๑๖ ไว้ที่หน้าสุดท้าย วิสุทธิมี ๗ คือ   ๑. สีลวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งศีล  ๒. จิตตวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งจิต  ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นที่ถูกต้อง ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ  ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้น ความสงสัย ๕. มัคคามัคคญาณทัส สนวิสุทธิ   ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ...

๑.๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

รูปภาพ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน   เป็นหลักการใช้สติพิจารณาธรรมอันเป็นสภาวะโดยรวมทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งภายนอกและภายใน ในการพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรมนั้น ต้องกำหนดรู้ไปตามลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ลึกซึ้งกว่าการเห็นกาย เวทนา และจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว ถ้าหากพิจารณาในข้อปฏิบัตินี้ให้ตรงจุดอันเป็นการปฏิบัติแบบพิจารณา ธรรมคือรู้ความจริง แบบสัจจะ คือ อริยสัจจ์ การปฏิบัติไม่ใช่แค่ให้กำหนดรู้เรื่องสภาวธรรมอันเป็นทุกข์ทั้งปวง เท่านั้น แต่ยังต้องมีการกำหนดรู้ทาง แห่งการดับทุกข์รวมไว้ด้วย  เริ่มต้นพิจารณา ให้รู้โดยเปรียบเทียบว่า เราเหมือนกับถูกย่างอยู่ในเพลิงทุกข์อย่างไร โดยเริ่มพิจารณาจากทุกข์หยาบๆ เช่น ความใคร่ในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย ต้องศึกษาและปฏิบัติวิธีการเอาตัวออกมาจากไฟเสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดกำจัดเชื้อไฟ อาวุธสำคัญของการเจริญธัมมานุปัสสนา คือ ต้องรู้เข้าไปในธรรมทั้งปวงว่ามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรน่ายึดมั่นถือมั่นแม้แต่นิดเดียว    ว่าด้วยการใช้สติ พิจารณานิวรณ์  ภิกษ...