แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา อนุสติ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา อนุสติ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันจันทร์

๖. อนุสสติ ๑๐

 อนุสสติ ๑๐

อนุสสติ หมายความว่า การระลึกเนืองๆ เป็นการระลึกถึงอยู่เนืองๆ เสมอๆ คือมีสติระลึกถึงใน ๑๐ ประการ คือ

๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษาเป็นอารมณ์
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคเป็นอารมณ์
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาเป็นอารมณ์
๗. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์
๘. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๙. กายคตาสติ ระลึกถึงลักษณะอาการของร่างกายส่วนต่างๆ เป็นอารมณ์
๑๐. อานาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์


๑. พุทธานุสสติ
พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเนืองๆ องค์ธรรม (สภาพธรรมที่ทำ
หน้าที่ระลึก) ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ วิธีการปฏิบัติ การระลึกนั้นจะระลึกเป็นภาษาไทยหรือภาษาบาลีก็ได้ แต่ที่สำคัญก็คือต้องเข้าใจและรู้ถึงความหมายนั้นๆ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ควรไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ให้มั่นคง ไม่ถูกรบกวนจิตไม่ฟุ้งซ่าน พระพุทธคุณมี ๙ ประการ ระลึกในบทพระพุทธคุณเป็นภาษาบาลี ดังนี้

อิติปิ โส ภควา , อรหัง , สัมมาสัมพุทโธ , วิชชาจรณสัมปันโน , สุคโต , โลกวิทู , อนุตตโรปุริสทัมมสารถิ , สัตถา เทวมนุสสานัง , พุทโธ , ภควา ฯ หรือระลึกเป็นภาษาไทย ดังนี้คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น :- 
พระพุทธคุณประการที่ ๑ ผู้เป็นพระอรหันต์ (อรหัง) เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส ๑,๕๐๐ อย่างเด็ดขาด มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสงดงาม เป็นผู้ควรได้รับการสักการบูชาเป็นพิเศษจากมวลมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลายพระพุทธคุณประการที่ ๒ ผู้ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ (สัมมาสัมพุทโธ) เพราะทรงฆ่าอวิชชา เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เญยยธรรม ๕ ประการ คือ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน บัญญัติ ด้วยอำนาจแห่งพระสัพพัญญุตญาณโดยลำพังพระองค์เองอย่างถูกถ้วน
พระพุทธคุณประการที่ ๓ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (วิชชาจรณสัมปันโน) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และการปฏิบัติอย่างประเสริฐ คือ วิชชาและจรณะ วิชชา หมายถึง ความรู้ จรณะ หมายถึง ความประพฤติ

คำว่า วิชชา มีวิชชา ๓ และวิชชา ๘

วิชชา ๓ ได้แก่
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ (หรือ ทิพยจักขุญาณ) รู้การตายและเกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ รู้ในธรรมที่สิ้นอาสวะ

วิชชา ๘ ได้แก่
๑. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่สามารถรู้แจ้งรูปนามทั้งปวงที่มีสภาพเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. อิทธิวิธญาณ ปัญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๓. มโนมยิทธิญาณ ปัญญาที่สามารถเนรมิตร่างกายอื่นๆ ให้เกิดขึ้นภายในร่างกายของตน
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้
๕. เจโตปริยญาณ ปัญญาที่สามารถรู้จิตใจของบุคคลอื่นๆได้อย่างถี่ถ้วน
๖. ทิพพจักขุญาณ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือเล็กที่สุดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกำบังไว้อย่างมิดชิดประการใดๆ ก็ตาม ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดี เหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๗. ทิพพโสตญาณ ปัญญาที่สามารถได้ยินเสียงในที่ห่างไกล หรือเบาที่สุดเหมือนกับหูของเทวดาและพรหมทั้งหลาย
๘. อาสวักขยญาณ ปัญญาที่สามารถทำลายกิเลสอาสวะให้หมดไปโดยสิ้นเชิง

จรณะ หมายความว่า ความประพฤติ จรณะ มี ๑๕ คือ
๑. ศรัทธา เชื่อต่อการงานของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นบุญก็มี เป็นบาปก็มี และจะได้รับผลของ บุญ บาป นั้นอย่างแน่แท้ เชื่อในคุณของพระรัตนตรัยว่ามีจริง เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในภพก่อนๆ
๒. สติ มีการระลึกอยู่ในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๓. หิริ มีความละอายในการงานอันเป็นทุจริตทุราชีพ
๔. โอตตัปปะ มีความสะดุ้งกลัวในการงานที่เป็นทุจริตทุราชีพ
๕. วิริยะ มีความขยันในการงานที่เป็นฝ่ายดี
๖. สุตะ เคยฟัง เคยเห็นมามาก
๗. ปัญญา การเฉลียวฉลาดในกิจการทั้งปวง
๘. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค
๙. ชาคริยานุโยค ตื่นไวในยามหลับ หรือ มีการหลับนอนน้อย
๑๐. ศีล มีศีลสมบูรณ์
๑๑. อินทรียสังวร การสำรวมในทวาร ๖
๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๕
๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๓
๑๔. ตติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒
๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒

พระพุทธคุณประการที่ ๔ เสด็จไปดีแล้ว (สุคโต) เพราะทรงบรรลุหนทางที่ดี เพราะจะไม่เสด็จกลับมา(สู่โลกนี้)อีก เพราะทรงบรรลุความดับโดยไม่มีภาวะเหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสทั้งหมดสิ้นพร้อมขันธ์ ๕) เพราะคำสอนของพระพุทธองค์ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะคำสอนของพระพุทธองค์ไม่มากไม่น้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงได้รับพระนามว่า สุคโต
พระพุทธคุณประการที่ ๕ ทรงรู้แจ้งโลก (โลกวิทู) โลก มี ๓ คือ
    ๑. สัตตโลก (โลกคือ หมู่สัตว์)
    ๒. สังขารโลก (โลกคือ สังขาร)
    ๓. โอกาสโลก (โลกคือ ที่ตั้ง)

สัตตโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งสัตตโลกตลอดเวลาที่บำเพ็ญพุทธกิจ ที่ว่าทรงรู้แจ้ง สัตตโลก คือ ทรงรู้แจ้งความปรารถนาต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้ความต่างกันแห่งอินทรีย์ของหมู่สัตว์

สังขารโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งกรรมทุกอย่าง ทรงรู้แจ้งกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ทรงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ ธาตุ พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งในธรรมทุกประการ

โอกาสโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า จักรวาลหนึ่งกว้างยาว ประมาณ ๑,๒๐๓.๔๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบ ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ ในจักรวาลมีแผ่นดินหนาประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ บนแผ่นดินมีน้ำตั้งอยู่บนลมรองรับไว้โดยความหนาประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ มีลมรองรับให้จักรวาลนี้ลอยอยู่ได้ ประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นต้น

พระพุทธคุณประการที่ ๖ เป็นสารถีฝึกบุรุษผู้ควรฝึกที่ยอดเยี่ยม (อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ) คำว่า “ยอดเยี่ยม” (อนุตตโร) เพราะไม่มีใครเหนือกว่าในโลก เพราะปราศจากคนที่เสมอ เพราะทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะหาใครเทียบไม่ได้ และเพราะไม่มีบุคคลอื่นยอดเยี่ยมกว่าคำว่า “เป็นสารถีฝึกบุรุษผู้ควรฝึก” (ปุริสทัมมสารถิ)
บุคคลมี ๓ จำพวก คือ
    ๑. บุคคลฟังธรรมแล้วสามารถอธิบายธรรมนั้นได้
    ๒. บุคคลอธิบายหลักแห่งเหตุและปัจจัยได้
    ๓. บุคคลทำให้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณชัดแจ้ง

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรู้แจ้งอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางแห่งความ หลุดพ้นแล้ว ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์(บุคคล)ทั้งหลาย ทรงฝึกมนุษย์เทวดา พรหมทั้งหลาย แม้แต่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย โดยวิธีการต่างๆ ทั้งปลอบโยน ทรมาน ยกย่อง ตามควร ตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของสัตว์นั้นๆ 

พระพุทธคุณประการที่ ๗ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ (สัตถา เทวมนุสสานัง) 
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอนเวไนยสัตว์ ด้วยประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน ตามสมควร
พระพุทธคุณประการที่ ๘ ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม (พุทโธ) พระผู้มีพระภาคทรงรู้อะไรๆ ที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่อย่างทั่วถ้วน ด้วยอำนาจ
พุทธญาณ ๑๘ คือ
    ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้อดีตทั้งปวง
    ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้อนาคตทั้งปวง
    ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้ปัจจุบันทั้งปวง
    ๔. กายกรรมทั้งหมด ที่ดำเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น
    ๕. วจีกรรมทั้งหมด ที่ดำเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น
    ๖. มโนกรรมทั้งหมด ที่ดำเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น
    ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งฉันทะ
    ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งวิริยะ
    ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งสติ
    ๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งสมาธิ
    ๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งปัญญา
    ๑๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งวิมุตติ
    ๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีความไม่มีการเล่น ท่าทางของพระองค์มีลักษณะผึ่งผาย ไม่มีอะไรที่ไม่สมควรในกิจกรรมของพระองค์
    ๑๔. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความหลอกลวง
    ๑๕. ไม่มีอะไรที่พระญาณของพระองค์ไม่สามารถรับรู้ได้
    ๑๖. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความหุนหันพลันแล่น
    ๑๗. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีสภาพที่ไม่รู้
    ๑๘. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีสภาพแห่งอุเบกขาที่ปรากฏโดยพระองค์ไม่รู้

พระพุทธคุณประการที่ ๙ (ภควา) เพราะพระพุทธองค์ได้รับการยกย่องจากชาวโลก เพราะบรรลุอริยสัจ เพราะทรงเป็นผู้ควรแก่ของถวาย เพราะจะทำให้ผู้ถวายได้รับความดีสูงสุด

เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นเจ้าของมรรคสัจ 
ผู้เจริญพุทธานุสสติย่อมเป็นผู้ที่ขัดเกลาจิตใจไม่ให้ราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุมได้ เพราะจิตใจมุ่งตรงต่อพระพุทธเจ้า จิตของผู้มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้นเพราะการระลึกพุทธคุณมีมากประการ สมาธิจึงไม่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวได้ จึงไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

อานิสงส์ของพุทธานุสติ 
ผู้ที่เจริญพุทธานุสติ จะได้รับอานิสงส์ดังนี้ คือ
๑. ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
๒. มีความไพบูลย์แห่งศรัทธา
๓. มีความไพบูลย์แห่งสติ
๔. มีความไพบูลย์แห่งปัญญา
๕. มีความปีติปราโมทย์
๖. สามารถอดกลั้นทุกข์ได้
๗. ทนความกลัวในอารมณ์ที่น่ากลัวได้
๘. มีความรู้สึกเสมือนว่าได้อยู่ใกล้พระศาสดา
๙. ร่างกายของผู้เจริญพุทธานุสสติอย่างดีแล้ว ย่อมเป็นของที่ควรแก่การบูชาของมนุษย์และเทวดาประดุจดังเรือนเจดีย์
๑๐. จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ
๑๑. แม้ประสบกับสิ่งที่จะทำให้ล่วงละเมิด หรือทำความผิดได้ ก็จะเกิดหิริโอตตัปปะ มีความกลัวและละอายต่อบาป ประดุจว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ตรงหน้า
๑๒. หากยังไม่สามารถสำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็จะไปสู่สุคติ

การเจริญพุทธานุสติ ให้เห็นคุณของพระพุทธเจ้านั้นไม่ควรพร่ำบ่นแต่ปาก แต่ควรนึกถึงเนื้อความ ความหมายของพุทธคุณ อย่ามุ่งถือตามตัวอักษรหรือพยัญชนะ จะทำให้ไม่เห็นพุทธคุณ การระลึก จะระลึกทุกบท หรือบทใดบทหนึ่งก็ได้ปุถุชนทั่วไปมีความเข้าใจพุทธคุณได้น้อย มักจะใช้พุทธคุณเป็นคาถาเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์มากกว่าจะระลึกถึงด้วยความเคารพ เช่น ใช้บทสวด อิติปิโส เดินหน้าถอยหลัง หรือใช้หัวใจ อิติปิโส เป็นคาถาในการปลุกเสกทำพิธี หรือทำให้ขลัง เป็นต้น

ผู้ที่จะ
มองเห็นพุทธคุณโดยชัดแจ้ง ก็คือพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เพราะเป็นผู้เห็นธรรมเข้าถึงซึ่งธรรมโดยการปฏิบัติเอง ปุถุชนทั่วไปถ้าต้องการให้ซาบซึ้งในพระพุทธคุณก็ต้องศึกษาทั้งปริยัติ (ทฤษฎี) และปฏิบัติ เพื่อจะได้เข้าถึงข้อธรรมที่ทรงแสดงทั้งศีล สมาธิ ปัญญา จะศึกษาโดยไม่ปฏิบัติไม่ได้ ควรระลึกไว้ว่าพระอริยบุคคล ผู้บรรลุมรรคผล ท่านก็เคยเป็นปุถุชนมาก่อน แต่เพราะได้ศึกษา ได้ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์จึงได้เห็นแจ้งปรากฏชัดในพระพุทธคุณ

จบ พุทธานุสสติ

๒. ธัมมานุสสติ
ธัมมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระธรรม มี สวากขาโต เป็นต้น อยู่เนืองๆ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์

ธรรม หมายถึง ความดับ(นิพพาน) หรือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้บรรลุถึงนิพพาน การทำลายกิจกรรมทุกอย่าง การละกิเลสทุกอย่าง การกำจัดตัณหา ความเป็นผู้บริสุทธิ์และสงบ

ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ วิธีการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องมีความสงบนิ่งอยู่กับการระลึก มีความตระหนักรู้คุณของพระธรรม เข้าใจในความหมายของธรรมคุณนั้นๆ ด้วย ไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ไม่ให้ถูกรบกวน

ธัมมานุสสติ มี ๖ ประการ จะระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ระลึกดังนี้ว่า :- สวากขาโต ภควตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก , อกาลิโก , เอหิปัสสิโก , โอปนยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ ฯ

ระลึกเป็นภาษาไทยว่า :- พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่บุคคลพึงเห็นไ ด้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ควรเชื้อเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน
พระธรรมคุณประการที่ ๑ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว (สวากขาโต ภควตา ธัมโม) เพราะพระธรรมนั้นเว้นที่สุดโต่งทั้ง ๒ ไม่มีความขัดแย้งกันในพระธรรม และพระธรรมนั้น ประกอบด้วยความดีพระธรรมนั้นปราศจากข้อเสียโดยสิ้นเชิง พระธรรมนั้นย่อมนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่ความดับ (นิพพาน)
พระธรรมคุณประการที่ ๒ เป็นสิ่งที่บุคคลพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) เพราะว่าผู้ปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุมรรคและผลได้ตามลำดับ เพราะบุคคลย่อมเห็นแจ้งพระนิพพานและมรรคผล
พระธรรมคุณประการที่ ๓ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา (อกาลิโก) คือ ผลย่อมเกิดขึ้น โดยไม่มีการรอเวลา
พระธรรมคุณประการที่ ๔ ควรเชื้อเชิญให้มาดู(เอหิปัสสิโก) พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เป็นธรรมที่ควรแก่การ เชื้อเชิญชนทั้งหลายให้มาชมได้ โดยกล่าวคำว่า ท่านจงมาดูเถิด มาเเลดูคุณค่าของพระธรรม
พระธรรมคุณประการที่ ๕ ควรน้อมเข้ามาใส่ตน (โอปนยิโก) พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เป็นธรรมที่ควรยึดหน่วงให้มาปรากฏแก่ใจ แม้ที่สุดจะถูกไฟไหม้ศีรษะ ก็มิยอมที่จะทำการดับไฟนั้น โดยเหตุว่า ธรรมเหล่านี้เมื่อปรากฏขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียวก็สามารถปิดประตูอบายได้
พระธรรมคุณประการที่ ๖ อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ) ถ้าบุคคลยอมรับพระธรรมนั้น ไม่ยอมรับลัทธิอื่น เขาย่อมทำความรู้ในนิโรธให้เกิดขึ้น ย่อมทำพระนิพพานให้เกิดขึ้น ทำความรู้ในวิมุตติให้เกิดขึ้น

ผู้ปฏิบัติระลึกถึงพระธรรมโดยวิธีอื่นๆ ได้อีกดังนี้ คือ
พระธรรมนั้นเป็นดวงตา เป็นความรู้ เป็นความสงบ เป็นหนทางที่นำไปสู่อมตะ (นิพพาน) พระธรรมนั้นเป็นการหลีกออก เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้บรรลุถึงนิโรธ (ความดับทุกข์) เป็นหนทางสู่ทิพยภาวะ (เป็นทิพย์หรือคุณวิเศษ) เป็นการไม่ถอยกลับ เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด เป็นความสงัด เป็นความวิเศษ พระธรรมเป็นการข้ามไปสู่ฝั่งโน้น เป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัตินั้นระลึกถึงพระธรรมด้วยวิธีการเหล่านี้ โดยอาศัยคุณความดีเหล่านี้

การเจริญธัมมานุสสติได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น เพราะอารมณ์ในการเจริญมีมาก จิตจึงไม่อาจตั้งมั่นจนทำให้อัปปนาสมาธิเกิดขึ้นได้

อานิสงส์ของธัมมานุสสติ
เหมือนกันกับพุทธานุสสติ

จบ ธัมมานุสสติ

๓. สังฆานุสสติ 
สังฆานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี สุปฏิปันโน เป็นต้น อยู่เนืองๆ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์

พระสงฆ์มี ๒ จำพวก คืออริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์
อริยสงฆ์ คือ ท่านที่ดำรงอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔
สมมติสงฆ์ คือพระสงฆ์โดยสมมติได้แก่ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ที่สามารถทำสังฆกรรมได้

พระสงฆ์มีคุณเพราะท่านเป็นผู้รักษาและสืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นบุญเขตเป็นเนื้อนาบุญของโลก

วิธีการปฏิบัติ ควรไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ไม่ให้ถูกรบกวน
พระสังฆคุณมี ๙ ประการ จะระลึก
เป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ระลึกดังนี้ว่า :- สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ , อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ , ญายปฏิปันโน ภควโตสาวกสังโฆ , สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา เอสะภควโต สาวกสังโฆ , อาหุเนยโย , ปาหุเนยโย , ทักขิเณยโย , อัญชลีกรณีโย , อนุตตรัง ปุญญักเขตตังโลกัสสะ ฯ

ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :-
พระสังฆคุณประการที่ ๑ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดี (สุปฏิปันโน) หมู่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี โดยปฏิปทาอันถูกต้อง เป็นข้อปฏิบัติตรง คือไม่คด ไม่โกง ไม่โค้ง เป็นการปฏิบัติที่ไกลจากกิเลส เป็นเหตุให้รู้แจ้ง
พระสังฆคุณประการที่ ๒ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตรง (อุชุปฏิปันโน) ชื่อว่าปฏิบัติดีและปฏิบัติตรงตามปฏิปทาอันถูกต้อง เพราะเว้นทางสุดโต่งทั้ง ๒ และถือเอาทางสายกลาง ชื่อว่าปฏิบัติดีและปฏิบัติตรง เพราะปราศจากกายกรรมและวจีกรรมที่ไม่สะอาด
พระสังฆคุณประการที่ ๓ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ (ญายปฏิปันโน) พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติมุ่งต่อพระนิพพาน อันเป็นอมตธรรม ไม่มีการปรารถนาอยากได้ภวสมบัติ และโภคสมบัติแต่อย่างใด
พระสังฆคุณประการที่ ๔ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติสมควร (สามีจิปฏิปันโน) ชื่อว่าปฏิบัติสมควร เพราะสมบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติที่พร้อมเพรียงกันในหมู่ภิกษุ เพราะเมื่อเห็นอานิสงส์อย่างมากแห่งคุณความดี และการเพิ่มพูนคุณความดีที่เกิดจากความสามัคคี จึงรักษาความสามัคคีนี้ไว้ ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา.....)

พระอริยสงฆ์จัดได้เป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล คือ
คู่ที่ ๑ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคบุคคล โสดาปัตติผลบุคคล
คู่ที่ ๒ ได้แก่ สกทาคามิมรรคบุคคล สกทาคามิผลบุคคล
คู่ที่ ๓ ได้แก่ อนาคามิมรรคบุคคล อนาคามิผลบุคคล
คู่ที่ ๔ ได้แก่ อรหัตตมรรคบุคคล อรหัตตผลบุคคล

พระสังฆคุณประการที่ ๕ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (อาหุเนยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้ผลเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้น จึงเป็นผู้ควรรับอามิสบูชาที่เขานำมา 
พระสังฆคุณประการที่ ๖ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (ปาหุเนยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นแขกที่ประเสริฐสุดของคนทั่วโลก เพราะมีแต่ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรแก่การต้อนรับด้วยปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
พระสังฆคุณประการที่ ๗ พระสงฆ์สาวกผู้ควรรับทักขิณาทาน (ทักขิเณยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้อานิสงส์ผลเกิดขึ้นตามความประสงค์ของคนทั้งหลายได้ ดังนั้น จึงควรแก่การรับทักขิณาทาน คือ การบริจาคทานของผู้มีความปรารถนาภวสมบัติ โภคสมบัติ ที่เกี่ยวกับตน หรือ คนอื่นในภพหน้า
พระสังฆคุณประการที่ ๘ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่การกราบไหว้ (อัญชลีกรณีโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น จึงสมควรแก่การกระทำอัญชลีของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย
พระสังฆคุณประการที่ ๙ พระสงฆ์สาวกผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ( อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ เป็นบุญเขตที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้รับบุญ เมื่อหว่านพืชแห่งบุญลงไปบนผืนนานี้แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะได้รับผลมากมาย การเจริญสังฆานุสสติจะพิจารณาเพียงบทใดบทหนึ่งก็ได้ จะได้บรรลุเพียงอุปจารสมาธิ

อานิสงส์ของสังฆานุสสติ
เช่นเดียวกับ พุทธานุสสติ และธัมมานุสสติ

จบ สังฆานุสสติ

๔. สีลานุสสติ 
สีลานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้ โดยศีลนั้นไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ต้องเป็นศีลที่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทิน เป็นศีลที่ผู้รักษา รักษาด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ได้มุ่งโลกียสมบัติ ไม่ได้เป็นทาสของตัณหา องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีการเว้น การรักษา ในศีลนั้นๆ

การเจริญสีลานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทั้ง ๕ ประการเสียก่อน คือ
    ๑. จะต้องชำระศีลของตนให้สะอาด หมดจด ครบบริบูรณ์
    ๒. จะต้องมีจิตใจพ้นไปจากความเป็นทาสแห่งตัณหา คือ การรักษาศีลที่ไม่มีความมุ่งหวังต่อโลกียสมบัติ
    ๓. มีการปฏิบัติกาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัด จนมิอาจที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะมาจับผิดโดยอ้างวัตถุขึ้นแสดงเป็นหลักฐานได้
    ๔. ความประพฤติด้วยกาย วาจา ของตนนั้น แม้ว่าคนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูแก่ตนจะไม่มีความเห็นชอบด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    ๕. ต้องประกอบด้วยความรู้ว่า ศีลนี้เป็นเหตุทำให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นได้

เมื่อความประพฤติปฏิบัติของตนถูกต้องตรงตามหลักทั้ง ๕ ประการนี้แล้วก็ลงมือทำการระลึกไปในศีล ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้:- อโห เม วต สีลัง เห อขัณฑัง อฉิททัง หเว อสพลัง อกัมมาสัง ภุชิสสัง อปรามสัง ปสัฏฐัง สัพพวิญญูหิ สมาธิ สังวัตตนกัง ฯ
ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ดีน่าปลื้มใจจริงหนอ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยแน่นอน ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ ทำให้เราพ้นไปจากการเป็นทาสของตัณหา ศีลของเรานี้มิอาจที่จะมีผู้มากล่าวหาได้ ศีลของเรานี้ คนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูกับเราจะไม่มีการเห็นดีด้วยก็ตาม แต่คนดีทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ศีลของเรานี้เป็นเหตุทำให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และมรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

แสดงศีลที่มีโทษ และ พ้นไปจากโทษ
ศีลที่มีโทษนั้นมี ๔ อย่าง คือ
    ๑. ศีลขาด ศีลของคฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบทข้อแรกสุด หรือ ข้อท้ายสุด อย่างใดอย่างหนึ่งขาดไป อย่างนี้เรียกว่า ขัณฑสีล หรือ ศีลขาด เช่นศีล ๘ มีปาณาติปาตาเวรมณี เป็นข้อแรกสุด และมี อุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี เป็นของท้ายสุด
    ๒. ศีลทะลุ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ศีลข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป อย่างนี้เรียกว่าฉิททสีล หรือ ศีลทะลุ 
    ๓. ศีลด่าง ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ศีลข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ ขาดไป ๒ หรือ ๓ ข้อ แต่ไม่ใช่ขาดไปเป็นลำดับ (คือติดกัน) เช่น ในศีล ๘ นั้นสิกขาบทข้อที่ ๒ กับ ข้อที่ ๔ หรือข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๒ ที่ ๔ กับที่ ๖ เป็นต้น เหล่านี้ขาดไป ศีลอย่างนี้ เรียกว่า สพลสีล หรือ ศีลด่าง
    ๔. ศีลพร้อย ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ นั้น ขาดไป ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ข้อติดต่อกันโดยลำดับ (ถ้าขาดไปถึง ๔ ข้อ ก็นับว่าหนัก) เช่นในศีล ๘ นั้น ข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๓ หรือข้อที่ ๒ - ๓ - ๔ หรือข้อที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ หรือ ข้อที่ ๓ - ๔ – ๕ หรือ ข้อที่ ๓ - ๔ - ๕ - ๖ เป็นต้น ถ้าขาดติดต่อกันไปโดยลำดับ ศีลอย่างนี้เรียกว่า กัมมาสสีล หรือ ศีลพร้อย

อานิสงส์ของสีลานุสสติ คือ
๑. ทำให้เคารพพระพุทธ
๒. ทำให้เคารพพระธรรม
๓. ทำให้เคารพพระสงฆ์
๔. เอื้อเฟื้อต่อศีล คือยินดีปฏิบัติศีลอย่างถูกต้อง
๕. เคารพทาน
๖. มีสติ
๗. มองเห็นภัยในความผิดแม้เป็นความผิดเพียงล็กน้อย
๘. รักษาตนเอง
๙. คุ้มครองผู้อื่น
๑๐. ไม่มีภัยในโลกนี้
๑๑. ไม่มีภัยในโลกอื่น
๑๒. ได้รับอานิสงส์ต่างๆ อันเกิดจากการรักษาศีล เช่น เมื่อสิ้นชีวิตจะสู่สุคติทำให้มีโภคทรัพย์ เป็นเหตุให้มีชื่อเสียง ไม่หลงตาย แกล้วกล้าในที่ประชุมชน เป็นต้น

การเจริญสีลานุสติอยู่เนืองๆ ทำให้
บรรลุเพียงอุปจารสมาธิ

จบ สีลานุสสติ อ่านต่อ อนุสติ ๑๐ หน้าต่อไป

วันพฤหัสบดี




อเจลก, อเจละ    naked ascetic 
อเสขะ    adept 
อโทสะ, อพยาบาท    non-hate; non-hatred 
อโมหะ    non-delusion 
อโลภะ    non-greed 
อกุศล    unprofitable (adj)
อกุศล    unskilful (adj)
อกุศล    unwholesome (adj)
อกุศลกรรม    unskilful action 
อกุศลกรรม    unwholesome action 
อคติ    prejudice 
อคติ    wrong course 
องค์    factor 
องค์, โวการ    constituent 
อตตกัลมถานิโยคุ    self-mortification; self-torment 
อติมานะ    arrogance 
อทินนาทาน    taking what is not given 
อทินนาทาน    stealing 
อทุกขมสุข, อุเบกขา- เวทนา    neither-pain-nor-pleasure 
อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา    resolution 
อธิกรณ์    legal question 
อธิจิตต์    higher mentality 
อธิจิตต์    higher thought 
อธิปไตย    predominance 
อธิปบาย (นัยประสงค์)    purport 
อธิปัญญา    higher wisdom 
อธิวจนะ, อธิพจน์    designation 
อธิศีล    higher morality 
อธิษฐาน, อธิมุติ    resolve 
อนภิชฌา    non-covetousness 
อนริยะ, อนารยะ    ignoble (adj) 
อนลสตา, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    industry 
อนวัชชกรรม    blameless action 
อนัตตตา    soullessness 
อนัตตา    not-self (adj)
อนัตตา    non-self; non-soul 
อนัตตา    soulless (adj)
อนันต์    infinite (adj) 
อนาคามิผล    Non-Returning, fruition of
อนาคามิมรรค    Non-Returning, path of
อนาคามี    Non-Returner 
อนาคาริก    homeless one 
อนาคาริยะ, ชีวิตอนาคาริก    homeless life 
อนิจจ์, อนิจจัง    transient (adj)
อนิจจตา    impermanence 
อนิจจตา    transience; transiency 
อนิจจะ, อนิจจัง    impermanent (adj)
อนิยต    undetermined offence 
อนิสสิต    independent (adj) 
อนุโมทนา    thanking 
อนุโยค    pursuit 
อนุโลม    conformity 
อนุโลม    forward order 
อนุโลม    forward order 
อนุตตระ    unsurpassed (adj)
อนุปัสสนา, อนุสติ    contemplation 
อนุปาทิเสสนิพพาน    Nibbàna without any remainder of existence 
อนุรักขนา    maintaining; maintenance 
อนุสติ    recollection 
อนุสนธิ    sequence 
อนุสัย    latent bias 
อนุสัย    latent tendency 
อนุสัย    underlying tendency 
อนุสาวนา    proclamation 
อนุสาสนี, สาสนะ    instruction 
อปจายนะ, คารวะ    reverence 
อปายโกศล    proficiency in knowing loss 
อปายโกศล    proficiency as to regress 
อพยาบาท    non-ill-will 
อภิชฌา    courteous speech
อภิญญา    direct knowledge 
อภิญญา    psychic power 
อภิญญา    superknowledge 
อภินิเวส    insistence 
อภิสมัย (การบรรลุ), สมาบัติ    attainment 
อภิสัมโพธิ, การตรัสรู้    Awakening 
อมตะ    deathless adj 
อมตะ    immortal (adj)
อมูฬหวินัย    verdict of past insanity 
อรติ, อนภิรติ (ความไม่ยินดี, เบื่อ หน่าย)    discontent 
อรยวินัย (แบบแผนของอารยชน)    noble discipline 
อรรถ    meaning 
อรรถกถา    commentary 
อรหัตต์, อรหัตตผล    Arahatship 
อรัญวาสี     forest-dweller 
อริยทรัพย์    noble treasure 
อริยทรัพย์    noble wealth 
อริยบุคคล    noble one 
อริยสัจจ์ ๔, จตุราริยสัจจ์    Noble Truths, the Four 
อริยสาวก    noble disciple 
อริยอัฏฐังคิกมัคค์,  อารยอัษฎางคิกมรรค    Noble Eightfold Path, the 
อริยะ    ariyan 
อริยะ, อารยะ    noble (adj)
อรูป    formless 
อรูป   immaterial (adj)
อรูปภพ, อรูปโลก    Immaterial Sphere 
อลัชชี    shameless (adj)
อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)    reincarnation 
อวิโรธนะ    non-obstruction 
อวิโรธนะ    non-opposition 
อวิชชา    ignorance 
อวิหิงสา    non-cruelty 
อสังขตะ    uncompounded; unconditioned (adj)
อสังขาริก    uninstigated (adj)
อสังขาริก    unprompted (adj)
อสูร, ยักษ์    demon 
อหังการ    I-making 
อหิงสา    harmlessness 
อหิงสา    non-injury 
อหิงสา, อวิหิงสา    non-violence 
อักขระ, พยัญชนะ    letter 
อัชฌัตติกายตนะ (อายตนะ ภายใน)    inner sense-sphere 
อัชฌาสัย, อธิมุติ    inclination 
อัญญา    final knowledge 
อัญญาณ    unknowing 
อัฏฐกะ (หมวดแปด)    octad 
อัตตภาวะ, อัตภาพ    individuality 
อัตตสัมมาปณิธิ    self-direction, right disposition in 
อัตตัญุตา    self-knowledge 
อัตตา, ตน, ตัวตน    self
อัตตา, อาตมัน    ego 
อัตตา, อาตมัน, ชีวะ    soul 
อัตถจริยา    benevolence 
อัตถะ  กัลยาณะ, บุญ    good (n) (adj)
อัตถะ, ปริโยสาน    goal
อัตถะ, อรรถ    aim 
อัตถิสุข (สุขเกิดจากความ มีทรัพย์)    ownership, the bliss of 
อันตราย, อันตรายิกธรรม    stumbling block 
อันตราย, อาทีนพ    danger 
อันตะ (ที่สุด, ความเข้าใจ หรือ ประพฤติเอียงสุด)    extreme 
อันตะ    end 
อัปปนาสมาธิ    attainment concentration 
อัปปมัญญา    illimitables 
อัปปมาท    heedfulness 
อัปปมาทะ, อาตาปะ (ความเพียร)    earnestness 
อัปปมาทะ, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    diligence 
อัปปิจฉตา, ความมักน้อย    simplicity 
อัพยากตะ, อัพยากฤต    undeclared 
อัพยากฤต    indeterminate (adj) 
อัสสาทะ    gratification 
อัสสาสะ (การหายใจเข้า)    breathing in 
อาเนญชา, อเนญชา    imperturbability 
อาโปธาตุ    fluid element 
อาโปธาตุ    cohesion, the element of
อาโรคยะ, กัลลตา    health 
อาการ    aspect 
อาการ    mode 
อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ    space 
อากาสานัญจายตนะ    infinity of space 
อากิญจัญญายตนะ    Nothingness, Sphere of
อาฆาต    malice 
อาจาร, จริยา, จรณะ, สมาจาร    conduct 
อาจารย์    teacher 
อาชชวะ    honesty 
อาชชวะ    integrity 
อาชีวะ    livelihood 
อาณา, อิสริยะ    authority 
อาทีนพ, ภัย    peril 
อานาปานสติ    mindfulness on breathing 
อานาปานะ, อัสสาสะ ปัสสาสะ    in- and out-breathing 
อานิสงส์    blessing 
อานิสงส์    advantage 
อานิสงส์    privilege 
อานิสงส์, อัตถะ, อรรถ    benefit  
อาบัติ    offence 
อาบัติถุลลัจจัย    grave offence 
อาบัติทุพภาสิต    wrong speech, offence of
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์    forfeiture, offence of expiation involving 
อาบัติปาจิตตีย์    expiation, offence of
อาบัติปาราชิก    defeat, offence involving 
อาบัติสังฆาทิเสส    formal meeting of the Order, offence entailing a
อาปัตติ เทศนา (การแสดงอาบัติ)    confession 
อามิส    carnalities 
อามิส    material things 
อามิสทาน    material gifts 
อามิสบูชา    material worship 
อายโกศล    proficiency as to progress 
อายโกศล    proficiency in knowing gain 
อายตนะ    sense-base 
อายตนะ    sense-field 
อายตนะ    sense-sphere 
อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์    sense-organ 
อายตนะ(ภายนอก)    sense-object 
อายุสังขาร    vital formation 
อารมณ์    object 
อารักขา    protection 
อารักขา; ชาคริยะ    watchfulness 
อาวัชชนะ   adverting 
อาวัตต์, อาวัตตนา, การกลับใจเปลี่ยน ศาสนา    conversion 
อาสนะ    seat 
อาสวะ    canker 
อาสวะ    intoxicant, mental 
อาสวะ    taint 
อาสา (ความหวัง, ใฝหา)    yearning 
อาหาร    nutrient; nutriment 
อิจฉา (ความอยาก)    longings 
อิฏฐะ (น่าปรารถนา)    agreeable 
อิตถีธุตตตา (ความเป็นนักเลงหญิง)    debauchery 
อิตถีภาวะ, อิตถินทรีย์    femininity 
อิทธิ, สัมปัตติ    success 
อิทธิบาท    road to power 
อิทธิบาท    accomplishment, basis of
อิทธิบาท    basis for success 
อิทธิปาฏิหาริย์    magical power 
อิทธิปาฏิหาริย์    supernormal power
อิทัปปัจจยตา    specific conditionality 
อินทรีย์    controlling faculty 
อินทรีย์    faculty 
อินทรียสังวร    control of the senses
อินทรียสังวร    restraint of the senses 
อิริยาบถ    deportment 
อิริยาบถ    posture 
อิสสา, ความริษยา    jealousy 
อิสสา, ความริษยา    envy 
อิสิ, ฤๅษี    seer 
อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา)    equanimity 
อุเบกขา    onlooking-equanimity onlooking-equanimity 
อุเบกขา    even-mindedness 
อุเบกขาเวทนา, อทุกขมสุข    indifferent feeling 
อุโบสถ, วัตร, การรักษา (ศีลเป็นต้น)    observance 
อุกเขปนียกรรม    suspension 
อุจเฉทวาท, อุจเฉททิฐิ    annihilationism 
อุชุกตา    rectitude 
อุชุกตา, อาชชวะ    straightness 
อุตุ    temperature 
อุทธัจจกุกกุจจะ    anxiety 
อุทธัจจกุกกุจจะ    flurry and worry 
อุทธัจจะ    agitation 
อุทธัจจะ, วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่าน)    distraction 
อุทธัจจะ, วิชัมภิตา    restlessness 
อุทาน, วจนะ    utterance 
อุบาสก อุบาสิกา    lay devotee 
อุบาสก, พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์    lay follower 
อุบาสก, อุบาสิกา    devotee, lay 
อุบาสก, คฤหัสถสาวก    lay disciple 
อุปจยะ    growth 
อุปจยะ    storing up 
อุปจารสมาธิ    neighbourhood concentration 
อุปจารสมาธิ    access concentration 
อุปธิ    essential of existence 
อุปธิ    substratum of rebirth 
อุปนาหะ    grudging 
อุปนาหะ    spite 
อุปบัติ    reappearance 
อุปปาทะ, อุบัติ    arising 
อุปมา    simile 
อุปสัมปทา, การอุปสมบท    ordination 
อุปัชฌาย์    preceptor 
อุปัฏฐาก, อุปฐาก    attendant 
อุปัฏฐาน (การบํารุง, เฝ้า, พยาบาล)    attendance  
อุปาทาน    assuming 
อุปาทาน    attachment 
อุปาทาน    clinging 
อุปาทาน    fixation 
อุปาทาน    grasping 
อุปาทายรูป    derivative matter 
อุปาทายรูป    derived materiality 
อุปาทินนะ, กรรมชะ    karmically acquired (adj) 
อุปาย    proficiency as to the means of success 
อุปายโกศล    proficiency of method 
อุปายะ, อุบาย, วิธี, ปโยคะ    means 
อุปายาส (ความผิดหวัง, ความคับแคนใจ)    despair 
อุปาหนา    sandals 
อุพภาร, อุทธาร (การรื้อ, การถอน, การเดาะ)    withdrawal 

วันพุธ

Q-R-S



Q
quadruped    สัตว์จตุบท  
quality    คุณ, ลักษณะ, องค์  
quarrel    กลหะ, วิวาท  
quarter    ทิศ (ทิสา)  
quest    เอสนา, คเวสนา, ปริเยสนา  
question    ปัญหา  
quiet    สมถะ

R
radiation    
เตโชธาตุ; การแผ่ (เมตตา บญกุศล ฯลฯ)  
rag-robe    บังสุกุลจีวร
rains-residence; rains-retreat    จําพรรษา, วัสสา วาสะ 
rapture    ปิติ  
reaching    ปัตติ (การบรรลุ)  
reality    ตถตา, ยถาภูตธรรม  
realization    สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ, อธิคม (การทํา ให้แจ้ง, การบรรลุ)  
reappearance    อุปบัติ  
reason    การณะ, โยนิ, วิมังสา  
rebirth    ปุนภพ, ชาติใหม่, การเกิดใหม่  
recipient    ปฏิคาหก, ลาภี  
recitation    การสาธยาย, การสวด v to recite recluse สมณะ  
recollection    อนุสติ  
reconciliation    ปฏิสาราณียกรรม  
reconnection    ปฏิสนธิ  
rectitude    อุชุกตา  
refectory    ภัตตัคคะ (โรงฉัน, หอฉัน)  
refraining    สังยมะ, สัญญมะ, เวรมณี  
refuge    สรณะ  
Refuge, the Threefold    ไตรสรณะ  
refuse-rag-robe    บังสุกุลจีวร 
registration    ตทารมณ์, ตทาลัมพนะ  
rehearsal    สังคีติ, สังคายนา  
reincarnation    อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)
relative; relation    ญาติ  
relaxation    ปัสสัทธิ  
release    วิโมกข์, วิมุตติ  
relics (of the Buddha)    พระธาตุ, พระสารีริกธาตุ 
relief    ภาพสลักนูน, รูปนูน  
relinking    ปฏิสนธิ  
remembrance of previous births    ปุพเพนิวาสา นุสสติญาณ 
remorse    วิปฏิสาร, กุกกุจจะ  
renouncing    ปริจจาคะ  
renown    กิตติ, กิตติศัพท์  
renunciation    เนกขัมมะ
reprover    โจทก์  
reproving    โจทนา
repugnance    ปฏิฆะ  
repulsion    ปฏิฆะ  
repulsive (adj)    ปฏิกูล  
requisite    บริขาร, ปัจจัย  
resentment    ปฏิฆะ  
resistance    ปฏิฆะ  
resolution    อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา 
resolve    อธิษฐาน, อธิมุติ  
resort    โคจร  
respect    คารวะ  
respectable person    ครุฐานียบุคคล  
restlessness    อุทธัจจะ, วิชัมภิตา  
restoration    โอสารณา; ปฏิสังขรณ์  
restraint of the senses    อินทรียสังวร  
restraint    สังวร, สังยมะ  
result    ผล, วิบาก  
retrocognition    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (เทียบ) 
reverence    อปจายนะ, คารวะ  
Reverend    คําเรียกนําหน้าชื่อพระสงฆ์แสดงคารวะ นิยมใช้กับพระสงฆ์ผ่ายมหายานหรือนักบวชในศาสนาอื่น
reverse order    ปฏิโลม  
review; reviewing    ปัจจเวกขณ์  
riches    โภคะ  
right (adj)    สัมมา  
Right Action    สัมมากัมมันตะ  
Right Concentration    สัมมาสมาธิ  
Right Deliverance    สัมมาวิมุตติ  
Right Effort    สัมมาวายามะ  
right endeavour    สัมมัปปธาน  
Right Knowledge    สัมมาญาณะ  
Right Livelihood    สัมมาอาชีวะ  
Right Speech    สัมมาวาจา  
right striving    สัมมัปปธาน  
Right Thought    สัมมาสังกัปปะ  
Right Understanding    สัมมาทิฏฐิ  
righteous (adj)    ธรรมิก, เป็นธรรม  
righteous man    สัปบุรุษ, สัตบุรุษ  
righteousness    ธรรม  
rightness    สัมมัตตะ  
rigidity, mental    ถัมภะ  
ripening    วิบาก  
risk    เวร  
rites and rituals    สีลัพพตะ  
rivalry    ปลาสะ, สารัมภะ  
road to power    อิทธิบาท 
robe    จีวร 
root    มูล  
root-cause    เหตุ  
round of rebirth; roundabout of births    สังสาร วัฏฏ์, วัฏฏสงสาร, สงสาร 
rug    สันถัต  
round    วัฏฏะ  
rules and rituals    สีลัพพตะ, ศีลและพรต
rule of training    สิกขาบท   
rumination    วิจาร 

S
sacrifice    ยัญ (พราหมณ์); จาคะ, ปริจจาคะ
safe (adj)    เขมะ, เกษม   
saffron robe    กาสาวพัสตร์  
sage    มุนี  
salvation    วิมุตติ  
sandals    อุปาหนา  
Sangha, the    สงฆ์, พระสงฆ์, คณะสงฆ์
sapid object    รสารมณ์ 
satisfaction    ปสาทะ, อัสสาทะ  
Saviour    พระมหาไถ่, พระผู้ไถ่บาป (คริสต์ = พระเยซู; เคยมีผู้นํามาใช้เลียนศัพท์แทน นาถะ บ้าง แต่บัดนี้ไม่ใช้กันแล้ว)  
savour    รส  
scepticism    วิจิกิจฉา  
schedule    มาติกา  
schism    สังฆเภท  
School    นิกาย (แห่งศาสนา)  
science    วิชชา  
scripture    คัมภีร์, คันถะ, ปกรณ์  
search of truth    ธัมมวิจยะ  
search; searching    เอสนา, ปริเยสนา (การแสวงหา)  
seat    อาสนะ  
seclusion    วิเวก  
sect    นิกาย  
section    วาระ, วรรค  
seeing    ทัสสนะ  
seer    อิสิ, ฤๅษี  
self    อัตตา, ตน, ตัวตน  
self-control    ทมะ, สัญญมะ  
self-direction, right disposition in    อัตตสัมมาปณิธิ  
self-illusion    สักกายทิฏฐิ 
selfishness    มัจฉริยะ  
self-knowledge    อัตตัญุตา  
self-mortification; self-torment    อตตกัลมถานิโยคุ  
self-possession    สัมปชัญญะ  
sensation    เวทนา
sense of shame    หิริ  
sense of urgency    สังเวคะ, ความสังเวช
sense-object    อายตนะ(ภายนอก)
sense-base    อายตนะ  
sense-field    อายตนะ  
sense-impression    ผัสสะ  
sense-organ    อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์
sense-pleasure    กาม   
sense-sphere    อายตนะ  
sensual craving    กามตัณหา  
sensual desire    กาม, กามฉันทะ  
sensual indulgence    กามสุขัลลิกานุโยค   
sensual lust    กามราคะ
sensual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร 
Sensual Plane    กามภูมิ  
sensual pleasure    กาม, กามสุข, กามคุณ  
Sensual Sphere    กามภพ 
sensuous craving    กามตัณหา  
sensuous sphere    กามภพ, กามโลก  
sentient being    สัตว์  
separate treatment    วิภังค์  
sequence    อนุสนธิ  
serene (adj)    สันตะ (ผู้สงบระงับ)  
series    สันตติ  
service    เวยยาวัจจะ  
setting in motion (setting rolling) the  Wheel of the Doctrine    ธัมมจักกัปปวัตตนะ 
setting-up of mindfulness    สติปัฏฐาน 
Seven-Times-at-Most Stream-Enterer    โสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ  
sexual intercourse    เมถุนธรรม  
sexual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร  
shame    หิริ, ลัชชา  
shameless (adj)    อลัชชี  
shelter    ตาณะ (ที่พํานัก, ที่ต้านทาน, ที่กันภัย)   
shoe    ปาทุกา
sign    นิมิต  
Signs of Being, the Three    ไตรลักษณ์ 
simile    อุปมา  
simplicity    อัปปิจฉตา, ความมักน้อย  
single-seed    เอกพีชี  
skilful action    กุศลกรรม  
skill    โกสัลละ, โกศล, ทักขะ, ทักษะ 
skilled; skilful (adj)    กุศล  
slander    ปิสุณวาจา, ปิสุณาวาจา, เปสุญวาท 
sloth    ถีนะ, ลีนตา  
smirching    มักขะ  
sociability    สมานัตตตา  
softness    มุทุตา; มัททวะ  
solid element    ปฐวีธาตุ  
solitude    วิเวก  
sorrow    โสกะ, โศก  
soul    อัตตา, อาตมัน, ชีวะ  
soulless (adj)    อนัตตา  
soullessness    อนัตตตา  
sound    สัททะ (เสียง)  
source    นิทาน (ไม่ใช่เรื่องเล่าเพื่อความสนุกสนานในภาษาไทย แต่หมายถึง เหตุ, ที่มา)  
space    อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ  
specific conditionality    อิทัปปัจจยตา  
specification    วิภาค  
speech    วาจา, วจี, ภาสิต, วจีวิญญัติ  
spite    อุปนาหะ  
spontaneously born creature    โอปปาติกะ 
stain    มละ, มลทิน  
standing (in the Order)    จํานวนพรรษา (ในภิกขุภาวะ หรือในเพศบรรพชิต)  
steadiness    ฐิติ  
stealing    อทินนาทาน  
Stilled One, the    พระมุนี  
stillness    โมไนย  
stinginess    มัจฉริยะ  
storing up    อุปจยะ  
straightness    อุชุกตา, อาชชวะ  
Stream-Enterer; Stream-Entrant; Stream Winner; Stream-Attainer    โสดาบัน   
Stream-Entry, fruition of    โสดาปัตติผล
Stream-Entry, path of    โสดาปัตติมรรค  
strength    พละ  
stress    ความเครียด, สารัทธภาวะ  
striving    ปธาน, วิริยะ  
stumbling block    อันตราย, อันตรายิกธรรม  
sublime states    พรหมวิหาร 
substitution of opposites    ตทังคะ  
substratum of rebirth    อุปธิ  
subtle (adj)    สุขุม  
success    อิทธิ, สัมปัตติ  
suffering    ทุกข์  
suitable (adj)    สัปปายะ, กัปปิิยะ, อนุรูป  
sunshade    ฉัตร (ร่ม)  
superknowledge    อภิญญา  
superme dwellings    พรหมวิหาร  
supermundane; supramundane (adj)    โลกุตตระ
supernormal power    อิทธิปาฏิหาริย์   
support    นิสสัย (ที่อาศัย); อุปถัมภ์  
suppression    วิกขัมภนะ  
supreme abidings    พรหมวิหาร  
suspension    อุกเขปนียกรรม  
sustained application    วิจาร  
sympathetic joy    มุทิตา