วันอาทิตย์

นัยที่ ๒ รูปวิภาคนัย

คำว่า มาติกา หมายถึงแม่บท ในนัยที่ ๒ นี้ มีการจำแนกรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ มาติกาด้วยกัน คือ
๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน
๒. ทุกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง

๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นการกล่าวรูป ๒๘ โดยการสรุปให้ทราบถึงความเป็นจริงของรูปอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจาก รูปแบบในนัยที่ ๑ กล่าวคือในนัยที่ ๑ แสดงให้เห็นรูป ๒๘ ที่ละหมวดและแสดงในทราบว่าในหมวดนั้นๆ ประกอบด้วยรูปเท่าไหร่อะไรบ้าง และก็ยังแสดงให้ทราบอีกว่า รูปแต่ละรูปนั้นมีสภาวลักษณะของตนๆ เป็นอย่างไร เช่น ในหมวดมหาภูตรูป ๔ ประกอบด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย และปฐวีมีลักษณะที่แข็ง เป็นต้น ส่วนในการจำแนกรูป ๒๘ โดยนัยวิภาคนัยนี้จะมุ่งหมายกล่าวว่ารูปทั้ง ๒๘ นั้นมีสภาวะทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะศึกษากันต่อไป รูปทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยเอกมาติกาแล้วมีชื่อเรียกตามสภาวะได้ ๘ คือ


๑. อเหตุกะ
ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นโดย ไม่ต้องอาศัยเหตุ ๖
เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๒. สปัจจยะ
ชื่อว่า สปัจจยะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
๓. สาสวะ
ชื่อว่า สาสวะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ก่อให้เกิด อาสวะกิเลส
อาสวะกิเลส คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
๔. สังขตะ
ชื่อว่า สังขตะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. โลกียะ
ชื่อว่า โลกียะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ต้องมีการแตกดับอยู่เสมอๆ
๖. กามาวจระ
ชื่อว่า กามาวจระ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นเหตุให้เกิดความยินดียินร้าย ซึ่งเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิต
๗. อนารัมมณะ
ชื่อว่า อนารัมมณะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆ ได้
การที่เรายังรับรู้อารมณ์ได้ก็เพราะว่ามีจิต
๘. อัปปหาตัพพะ
ชื่อว่า อัปปหาตัพพะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรฆ่าหรือทำลาย แต่สิ่งควรฆ่าทำลายนั้น ได้แก่ กิเลสและตัณหา

สรุปได้ว่ารูป ๒๘ นี้จะเรียกชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ ชื่อนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะมีความหมายตามลักษณะของชื่อนั้น


๒. ทุกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง
เป็นการแบ่งรูป ๒๘ ออกเป็นคู่ๆ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกัน จำแนกได้ ๑๑ คู่ คือ

คู่ที่ ๑ อัชฌัตติกรูป คู่กับ พาหิรรูป
อัชฌัตติกรูป คือ รูปภายใน ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย พาหิรรูป คือ รูปภายนอก ได้แก่ รปูที่เหลือ ๒๓ รูป

อัชฌัตติกรูป มุ่งหมายเอาประโยชน์ของรูปทั้ง ๕ เป็นสำคัญ ส่วนรูปที่เหลือ ๒๓ นั้นเป็นรูปที่มีประโยชน์น้อยจึงเรียกว่าพาหิรรูป อุปมาอัชฌัตติกรูป เหมือนคนภายในบ้าน พาหิรรูปเหมือนคนนอกบ้าน
คู่ที่ ๒ วัตถุรูป คู่กับ อวัตถุรูป
วัตถุรูป คือ รูปที่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ หทัยวัตถุ ๑ อวัตถุรูป คือ รูปที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๒ อุปมาเหมือนเครื่องบินที่เป็นที่อาศัยของคนธรรมดาที่ต้องการเดินทางไปทางอากาศ
คู่ที่ ๓ ทวารรูป คู่กับ อทวารรูป
ทวารรูป คือ รูปที่เปรียบเหมือนเป็นประตูในการทำบุญทำบาป และเป็นเหตุให้เกิดวิถีจิต ได้แก่ ปสาทรูป ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และ วิญญัติรูป ๒ อทวารรูป คือรูปที่ไม่เป็นเหตุให้ทำบุญ ทำบาป ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๑ มี ปถวี อาโป เตโช เป็นต้น
คู่ที่ ๔ อินทริยรูป คู่กับ อนินทริยรูป
อินทริยรูป คือ รูปที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ ในการรับอารมณ์ต่างๆ มีการเห็นเป็นต้น ได้แก่ปสาทรูป ๕ และชีวิตรูป ๑ อนินทริยรูป คือ รูปที่ไม่เป็นใหญ่ ในการรับอารมณ์ต่างๆ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐
คู่ที่ ๕ โอฬาริกรูป คู่กับ สุขุมรูป
โอฬาริกรูป คือรูปหยาบ หมายถึง รูปที่ปรากฏชัด ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ วิสยรูป ๗ สุขุมรูป คือรูปละเอียด หมายถึง รูปที่ไม่ปรากฏชัด ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๖ สันติเกรูป คู่กับ ทูเรรูป
สันติเกรูป คือ รูปใกล้หมายถึงรูปที่รู้ได้ง่าย ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ วิสยรูป ๗ ทูเรรูป คือ รูปไกล เป็นรูปที่รู้ได้ยาก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๗ สัปปฏิฆรูป คู่กับ อัปปฏิฆรูป
สัปปฏิฆรูป คือรูปที่กระทบซึ่งกันและกันได้ เช่นเสียงมากระทบที่หู ทำให้เกิดการได้ยิน ได้แก่ปสาทรูป วิสยรูป ๗ อัปปฏิฆรูป คือรูปที่กระทบซึ่งกันและกันไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๘ อุปาทินนรูป คู่กับ อนุปาทินนรูป
อุปาทินนรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม คือ กรรมชรูป ๑๘ ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ และ อวินิพโภครูป ๘ (คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา) อนุปาทินนรูป คือรูปที่ไม่ได้เกิดจากกรรม ได้แก่ จิตตชรูป๑๕ อุตุชรูป๑๓ อาหารชรูป๑๒
คู่ที่ ๙ สนิทัสสนรูป คู่กับ อนิทัสสนรูป
สนิทัสสนรูป คือรูปที่เห็นด้วยตาได้ ได้แก่ วัณณรูป สีต่าง ๆ เท่านั้นที่เห็นได้ด้วยตาส่วนรูปที่เหลือ ๒๗ นั้น เป็นที่โคจรของรูปารมณ์ เห็นด้วยตาไม่ได้ อนิทัสสนรูป รูปที่เห็นด้วยตาไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๗
คู่ที่ ๑๐ โคจรัคคาหกรูป คู่กับ อโคจรัคคาหกรูป
โคจรัคคาหกรูป คือ รูปที่เป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของอารมณ์ทั้ง ๕ (เช่นจักขุปสาทรูป ปสาทรูป ๕) อโคจรัคคาหกรูป คือรูปที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิด ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓
คู่ที่ ๑๑ อวินิพโภครูป คู่กับ วินิพโภครูป
อวินิพโภครูป คือรูปที่แยกจากกันไม่ได้ รูปหนึ่งๆ ต้องมีรูปเกิดขึ้นอย่างน้อย ๘ รูปเสมอ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา วินิพโภครูป รูปที่แยกจากกันได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐

สรุป การศึกษาเรื่องรูป ๒๘ โดยนัยต่างๆ ในบทเรียนชุดที่ ๕ ตอนที่ ๑ ที่ผ่านมาศึกษาเฉพาะ ๒ นัย แต่ ละนัยก็มีการแสดงรายละเอียดของรูป ๒๘ หลายแง่มุม แต่ละแง่มุมก็จะทำให้รู้จักรูปอย่างละเอียด ความรู้ที่ได้จาก การศึกษาเรื่องรูปหลายแง่มุมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่การนำไปปฏิบัติ เพราะการศึกษาปริยัติอย่างดี อย่างถูกต้องก็จะทำให้เกิดปัญญาที่ถูกต้องและเมื่อปฏิบัติก็จะเกิดผล และเป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรมได้ในอนาคต


วันเสาร์

หมวดที่ ๕ รูปปรมัตถ์ นัยที่ ๑/๒


ต่อจากรูปปรมัตถ์หน้า ๑

รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้

๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้

๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด

๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น

โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)


รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒

ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น


ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน

รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑
คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว

รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)

รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐



อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑ 
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔

รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑
ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด

รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒
๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย

รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓
๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย

วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น

รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔
๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป


นัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย

ปรมัตถ์ธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ ผู้ศึกษาได้ศึกษาจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ผ่านไปแล้ว เรื่องรูปปรมัตถ์นี้จะต่างจากจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เพราะจิตและเจตสิกนั้นเป็นนามธรรม เป็นธรรมที่รู้อารมณ์ ส่วนรูปปรมัตถ์เป็นธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ รูปปรมัตถ์มี ๒๘ อย่าง โดยจำแนกเป็นรูปภายในและรูปภายนอก รูปที่ต้องอาศัย และรูปที่ไม่ต้องอาศัยเป็นต้น

รูปปรมัตถ์นี้ได้แสดงไว้ ๕ นัย คือ
๑. สมุทเทสนัย
๒. รูปวิภาคนัย
๓. รูปสมุฏฐานนัย
๔.รูปกลาปนัย
๕. รูปปวัตติกมนัย
การศึกษาพระอภิธรรมเป็นการเจริญกุศลและอบรมปัญญาไปในตัว และยังได้ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลกอีกด้วย บุคคลใดได้รักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลก บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์ ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือเห็นแจ้งพระนิพพาน

บุคคลใดได้ศึกษารูปปรมัตถ์โดยนัยทั้ง ๕ นี้แล้ว พึงพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปปรมัตถ์นั้นว่า เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ในภายหลังได้ ฉะนั้นผู้ศึกษาควรศึกษาเรื่องรูปนี้อย่างเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง

คำว่า รูป มีความหมาย ๒ นัย
นัยที่ ๑ กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป ประการหนึ่ง
นัยที่ ๒ รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและความเย็น
ซึ่งทั้งสองนัยนี้สรุปได้ว่า รูป มีธรรมชาติที่ต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป นั่นเอง

ลักษณะเฉพาะของรูป (ลักขณาทิจตุกของรูป) มี ๔ ประการ คือ
๑. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีการแปรปรวนแตกดับ
๒. รูป เป็นธรรมชาติที่ แยกออกจากจิต (นาม) ได้
๓. รูป เป็นธรรมชาติที่ เป็นอัพยากตธรรม คือ ไม่ใช่ธรรมชาติที่เป็นกุศลหรืออกุศล
๔. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีวิญญาณ(จิต)เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

รูปปรมัตถ์นี้มีการสงเคราะห์ไว้ ๕ นัย คือ
๑. รูปสมุทเทสนัย แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด
๒. รูปวิภาคนัย แสดงการจำแนกโดยมาติกา มีเอกมาติกา เป็นต้น
๓. รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป มีกรรม เป็นต้น
๔. รูปกลาปนัย แสดงหมวดหมู่แห่งรูปที่เกิดแต่กรรม เป็นต้น
๕. รูปปวัตติกมนัย แสดงโดยการเกิดตามลำดับแห่งรูป

นัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย
แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด

รูปขันธ์ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้วมี ๒๘ รูปด้วยกัน เมื่อจัดเป็นประเภทแล้ว ประเภทใหญ่มี ๒ คือ นิปผันนรูป มี ๑๘ และ อนิปผันนรูป มี ๑๐ เมื่อนับเป็นประเภทเล็กได้ ๑๑ ประเภท ที่เรียกว่ารูปสมุทเทสนัย มีรายละเอียดดังนี้ คือ

๑. มหาภูตรูป มี ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย
๒. ปสาทรูป มี ๕ คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป
๓. วิสยรูป มี ๔ คือ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป
๔. ภาวรูป มี ๒ คือ อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป
๕. หทยรูป มี ๑ คือ หทยรูป
๖. ชีวิตรูป มี ๑ คือ ชีวิตรูป
๗. อาหารรูป มี ๑ คือ อาหารรูป อันได้แก่ โอชาในอาหารต่าง ๆ
๘. ปริจเฉทรูป มี ๑ คือ อากาสธาตุ
๙. วิญญัติรูป มี ๒ คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ
๑๐. วิการรูป มี ๓ คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา
๑๑. ลักขณรูป มี ๔ คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา



หมวดที่ ๑
๑. รูปสมุทเทสนัย การแสดงรูปโดยสังเขป แบ่งออกเป็น



รูปประเภทที่หนึ่ง : มหาภูตรูป ๔ คือ
ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๔ ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เกิดขึ้น เรียกว่าอุปาทายรูป ๒๔ รูปทั้ง ๒๘ มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่า เป็น ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้จะอยู่รวมกันเสมอ ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ แม้ในธาตุทั้ง ๔ เองก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย เช่น ธาตุดินจะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้า ธาตุไฟ และธาตุลม มหาภูตรูป ๔ มีรายละเอียดดังนี้

๑.ปฐวี คือ ธาตุดิน จัดเป็นธาตุที่เป็นประธานของธาตุ ๓ ที่เหลือ ธาตุดินมีธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน รูปใดถ้ามีธาตุดินมากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน รูปใดมีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้า เป็นต้น ภายในร่างกายของคนและสัตว์ส่วนใดที่แข็งก็จัดเป็นธาตุดิน ธาตุดินในร่างกายของคนเราก็มี ๒๐ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืดไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง หรือจะพิจารณาสิ่งมีลักษณะแข็ง เป็นของหยาบ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เหล่านี้เป็นธาตุดินทั้งสิ้น ธาตุทั้งหลายถ้าเรามีกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น ก็จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นเพื่อการไถ่ถอนจากความเป็นตัวตน ก็ควรพิจารณาว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา เพราะเหล่านั้นเป็นเพียงปฐวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคล จะทำให้คลายความยึด ความกำหนัดในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่น หรือยึดมั่นในทรัพย์สมบัติใด ๆ แม้นธาตุอื่นก็พิจารณาได้ในทำนองเดียวกัน ธาตุดินมี ๔ อย่าง
        ๑. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี) หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง เป็นต้น
        ๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี) หมายถึง ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น แผ่นดิน พื้นดินดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
        ๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร ) เรียกว่า สสัมภารปฐวี หมายถึง ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็ก ทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
        ๔. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี) หมายถึง ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตรเพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธิใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๒.อาโป คือ ธาตุน้ำ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเอิบอาบ หรือมีความไหลได้ ธาตุน้ำนี้เป็นธาตุที่ช่วยเพิ่มพูนธาตุอื่นๆได้ เช่นผงแป้งทำขนมเมื่อผสมน้ำลงไปก็ทำให้แป้งขนมนั้นเพิ่มพูนขึ้นได้ อาโปธาตุยังเป็นธาตุที่ทำให้ธาตุอื่นเกาะกุมกันไว้ด้วย เช่นแป้งขนมนี้จัดเป็นปฐวีธาตุถ้าถูกลมพัดจะทำให้ฟุ้งกระจายได้ แต่เมื่อมีน้ำผสมไว้ก็ช่วยเกาะกุมแป้งขนมให้เป็นก้อนเดียวกันไว้ ความยึดเกาะกุมนี้เป็นลักษณะของอาโปธาตุ หรือเส้นผมนั้นเมื่อจัดเป็นธาตุ คือ ธาตุดิน แต่ก็มีอาโปธาตุที่ช่วยเกาะกุมให้เส้นผมเป็นเส้นอยู่ได้ ในร่างกายของเรามีอาโปธาตุมากมาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น , น้ำตา เปลวมัน น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ถ้ารู้จักโดยความเป็นลักษณะของอาโปธาตุ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอาโปธาตุ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใด ๆธาตุน้ำมี มี ๔ อย่าง
        ๑. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป) หมายถึง ลักษณะที่ไหลเอิบอาบ หรือ เกาะกุมวัตถุต่าง ๆ ลักษณะของน้ำจะรู้ได้ด้วยทางใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย
        ๒. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป ) หมายถึง น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น
        ๓. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารอาโป ) หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
        ๔. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป) หมายถึง น้ำที่นามาใส่ในขัน อ่าง หรือ น้ำในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๓.เตโช คือ ธาตุไฟ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะร้อน ธาตุไฟนี้ยังทำให้สิ่งทั้งหลายย่อยสลายได้ ทำให้ธาตุที่ประกอบร่วมกันกับตนนั้นมีความอ่อน เช่น คนตายร่างกายจะแข็งเปรียบเหมือนท่อนไม้ ไม่มีความอ่อนละมุนเหมือนคนที่มีชีวิตอยู่ ก็เพราะไม่มีเตโชธาตุที่เกิดจากกรรมมาหล่อเลี้ยง ร่างกายที่อบอุ่นอยู่นี้ก็เพราะเตโชธาตุ บางครั้งเวลาจิตใจมีความกระวนกระวายหรือเวลาร่างกายเจ็บป่วยลมหายใจก็มีความร้อนเช่นกัน ถ้าพิจารณาถึงความร้อนหรือเย็น(ความเย็นก็คือความร้อนน้อยนั่นเอง) ว่านั่นเป็นเพียงธาตุไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงธาตุ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
        ๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช ) หมายถึง ลักษณะที่ร้อน หรือ เย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่างๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุ เช่น ผลไม้ อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
        ๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช ) หมายถึง ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟจากแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
        ๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารเตโช) หมายถึง ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะต่างๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหารด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่วๆไป
        ๔. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช) หมายถึง ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิหรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๔.วาโย คือ ธาตุลม ลักษณะของธาตุลม คือ มีความเคร่งตึง หรือ มีความพยุงไว้ร่างกายของคนและสัตว์ก็มีความตึงเช่น ตึงที่ต้นคอ ตึงที่อวัยวะต่าง ๆ การที่เรานั่งอยู่ได้ก็เพราะวาโยธาตุในร่างกายพยุงร่างกายนี้ไว้ ถ้าเอาซากศพมานั่งไม่สามารถนั่งได้ต้องล้มไปเพราะซากศพไม่มีวาโยธาตุที่เกิดจากกรรม (และไม่มีรูปที่เกิดจากกรรมทั้งหมด)คอยทำหน้าที่พยุงไว้ ธาตุลมทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว ตลอดจนทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวเดินได้พูดได้ก็เพราะธาตุลมที่อยู่ในร่างกายนี้ ธาตุลมนี้ยังทำให้เกิดการแสดงท่าทางต่าง ๆ ได้ เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน พูด ร้องเพลง หัวเราะ ร้องไห้ เหล่านี้เป็นการแสดงท่าทางต่าง ๆ อันเกิดจากวาโยธาตุที่อยู่ในกายเรา ถ้าพิจาณาสิ่งต่าง ๆ โดยสภาวะจริงๆ ของวาโยธาตุได้ ว่านั่นเป็นเพียงธาตุลม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงธาตุ ซึ่งต้องมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่สามารถตั้งอยู่ได้ วาโยธาตุ มี ๔ อย่าง
        ๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย ) หมายถึง ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ ความไหวของใบไม้นั้นคือวาโย ซึ่งต้องสังเกตและพิจารณาให้รู้จักการไหวร่างกาย การกระพริบตา ความตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทำให้ท้องตึงจุกเสียด ความตึงของสิ่งต่าง ๆ หรือของร่างกายนั้นก็เพราะวาโยธาตุ
        ๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย ) หมายถึง ลมที่เรียกกันทั่วๆไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
        ๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารวาโย) หมายถึง ลมต่างๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่า เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้องทำให้ปวดเสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทำให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึงลมภายนอกทั่วๆไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่างๆด้วย
        ๔. ลมที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย) หมายถึง ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณเพื่อให้เกิดสมาธิหรือเกิดฌานโดยการกำหนดเพ่งเอาธาตุลมที่ทำให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น

หมายเหตุ ในธาตุทั้ง ๔ นี้ จะต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ การจะจัดว่าสิ่งใดเป็นธาตุอะไรก็ให้พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีธาตุใดมาก

สรุป
ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่รองรับธาตุอื่นทั้งหลาย เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปที่เกิดร่วมกับตน เหมือนแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้และภูเขา เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน
อาโปธาตุ เป็นธาตุที่เอิบอาบ คือ ซึมซาบอยู่ในรูปที่เกิดร่วมกันกับตน เป็นธาตุที่ทำให้เพิ่มพูน
เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้ร้อน คือทำให้ธาตุ ๓ ที่เหลือนั้นอบอุ่น
วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว คือทำให้รูปร่างกายนี้และสิ่งอื่นเคลื่อนที่

ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนๆ โดยเฉพาะ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตนเราเขา ฉะนั้นจึงควรพิจารณา ลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้ เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมสิ้นสลายไป ทั้งยังเป็นการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องอีกด้วย

รูปประเภทที่สอง : ปสาทรูป ๕ คือ
รูปที่มีความใส ความใสของปสาทรูปนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่ความใสนี้สามารถรับกระทบอารมณ์ได้ เช่น ความใสของจักขุปสาทรูปทำให้สามารถรับกระทบรูป(หรือรูปารมณ์)ได้ คำว่า ปสาท (อ่านว่า ปะ-สา-ทะ) แปลว่า ความใส ปสาทรูปมี ๕ รูป คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป


๑.จักขุปสาทรูป คือ ปสาทตา เป็นรูปที่มีความใสตั้งอยู่กลางตาดำ มีขนาดเท่าหัวเหา ความใสนี้จะซึมซาบอยู่ในเยื่อตาบางๆ ทั้งเจ็ดชั้น สามารถรับภาพ(หรือรูปารมณ์)ได้โดยปกติที่เรารู้จักตา เราก็จะรู้จักลูกตาทั้งลูกว่านั้นคือตา แต่การรู้จักตาหรือจักขุปสาทรูปในทางพระอภิธรรมมิได้มุ่งหมายให้รู้จักลูกตาทั้งลูก เพราะจักขุปสาทรูปนั้นไม่ใช่ลูกตาทั้งลูก แต่จักขุปสาทรูปจะมีสภาพความใสที่ซึมซาบอยู่ในเยื่อตา ๗ ชั้นที่อยู่ตรงกลางตาดำ ความใสนี้จะทำหน้าที่รับกระทบภาพที่อยู่ตรงหน้า จักขุปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ฉะนั้นการได้รับกระทบรูปที่ขอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็เนื่องมาจากกรรมดีและกรรมไม่ดีที่ได้กระทำแล้วในอดีต วิบากของกรรมนั้นส่งผลในปัจจุบันให้ได้เห็นรูปที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ถ้าพิจารณาความจริงอันนี้ได้ก็จะทำให้ไม่หลงดีใจได้ปลื้มกับรูปที่ดี เพราะการที่ได้เห็นรูปที่ดีที่พอใจก็เพราะกรรมดีในอดีตที่เราได้สั่งสมมาแล้ว และจะได้ไม่เสียใจ ไม่โกรธ เมื่อเห็นรูปที่ไม่ดีก็เพราะว่ากรรมไม่ดีในอดีตที่เราได้สังสมไว้แล้ว



๒.โสตปสาทรูป คือ ปสาทหู เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง (สัททารมณ์)ได้ มีลักษณะ เหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ เป็นรูปที่เกิดมาจากกรรม ดังนั้น หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งเป็นวิบากที่เกิดจากการทำกรรมไว้แล้วในอดีต ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงถึงผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็เพราะเหตุที่ตนได้กระทำไว้แล้วทั้งที่ดีบ้างและไม่ดีบ้าง ฉะนั้นผลจึงเป็นอย่างนี้ จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะประสบกับวิบากกรรมใด ๆ ก็สามารถพิจารณาถึงหลักความจริงได้


๓.ฆานะปสาทรูป คือ ปสาทจมูก เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่างๆ (คันธารมณ์)ได้ มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ คือมีลักษณะเป็น ๒ ซีกเหมือนกีบเท้าแพะ ฆานปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน


๔.ชิวหาปสาทรูป คือ ปสาทลิ้น เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่างๆ (รสารมณ์) ได้ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จึงได้รับรสต่างๆ กันไป

๕.กายปสาทรูป คือ ปสาทกาย เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับกระทบจากสัมผัสต่าง ๆ เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ คือรับกระทบความแข็งความอ่อน คือ ธาตุดิน รับกระทบความเย็นความร้อน คือธาตุไฟ รับกระทบความหย่อนตึง คือ ธาตุลมได้ กายปสาท คือ ความใสจะมีอยู่ทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม ปลายเล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม คือวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นการได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์จึงแตกต่างกันไป จะเห็นว่าบางคนมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตรำทำางานหนัก หรือสัตว์บางตัวก็มีความสุขกายได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีก็เพราะผลของกรรมที่ได้ทำไว้แล้วเช่นกัน

รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้

๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้

๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด

๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
    ๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
    ๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
    ๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
    ๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น

โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)

รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น

ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน

รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑

คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑

ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว

รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑

อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)

รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐



อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑ 
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔

รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑

ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด

รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒

๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย

รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓

๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย

วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น

รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔

๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป



๔. เจตสิกกลุ่มที่ ๓

เจตสิกกลุ่มที่ ๓ เรียกว่า โสภณเจตสิก เจตสิกฝุายดี แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ
ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง
ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง
ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง
ง. ปัญญินทรียเจตสิก มี ๑ ดวง

โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกฝ๋ายดีงามจะเข้าประกอบจิตปรุงแต่งจิตเฉพาะจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นหรือเกิดขึ้นในขณะที่จิตใจของคนที่ทำดี พูดดี คิดดี มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นต้น มีรายละเอียดดังนี้

ก. โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวงโสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ จะเข้าประกอบกับจิตที่เป็นกุศลเช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โสภณสาธารณเจตสิกจะเกิดประกอบกับโสภณจิต โสภณจิตได้แก่ มหากุศลจิต๘ มหาวิปากจิต๘ มหากิริยาจิต๘ รูปาวจรจิต๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต๘ หรือ ๔๐ ดวง

โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. ศรัทธา เป็นธรรมชาติที่มีความเชื่อ มีความเลื่อมใส เมื่อศรัทธา เกิดขึ้นแล้วย่อมเสมือนเป็นหัวหน้านำไปสามารถให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้ ทำให้จิตใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นธรรมชาติที่เป็นฝ่ายกุศลธรรมฝ่ายเดียวเท่านั้น
๒. สติ เป็นธรรมชาติที่มีความระลึกได้ สติจะระลึกและใคร่ครวญธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูล (กุศลธรรม) สิ่งใดเป็นธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล (อกุศลธรรม) แล้วสามารถเลือกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม ละทิ้งอกุศลธรรมได้ สติที่เป็นสัมมาสติเป็นส่วนหนึ่งแห่งองค์มรรคด้วย ดังนั้นสัมมาสติคือความระลึกชอบจะสามารถนำให้ออกไปจากทุกข์ได้ สติเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเพราะตั้งมั่นในอารมณ์ และเหมือนนายประตูเพราะคอยรักษาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ เป็นต้นไว้ได้ กล่าวคือเมื่อสติเกิดขึ้นได้ขณะดู ฟัง เป็นต้น ก็จะไม่ทำให้อกุศลธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีการเห็น การได้ยินนั้นเองเป็นเหตุเพราะมีสตินั้นเองเป็นผู้รักษาเหมือนนายประตูที่คอยตรวจตราผู้ที่จะผ่านไปมา
๓. หิริ เป็นธรรมชาติที่มีความละอายต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย ละอายต่อการประกอบอกุศลกรรมทั้งปวง ละอายต่อการทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
๔. โอตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว สะดุ้งกลัว หวั่นเกรงต่อบาป เมื่อคิดจะกระทำความชั่วไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก เมื่อเกิดความเกรงกลัวต่อผลของบาปนั้น ก็จะหยุดการทำชั่ว หิริ และ โอตตัปปะ มีสภาพที่คล้ายกัน จะเปรียบเทียบธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ดังนี้

๕. อโลภะ เป็นธรรมชาติที่ไม่โลภ ไม่ติดใจในกามคุณอารมณ์ ไม่กำหนัดยินดีในอารมณ์ ไม่หวงแหนในทรัพย์และคุณความดี สภาพของอโลภะที่มีความไม่ติดอยู่ในอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนหยาดน้ำที่ไม่ติดอยู่บนใบบัว
๖. อโทสะ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความดุร้าย ไม่แค้นเคือง ไม่อาฆาต มีความอดทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ มีความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
๗. ตัตตรมัชฌัตตตา (อ่านว่า ตัด-ตระ-ระ-มัด-ชัด-ตะ-ตา) เป็นธรรมชาติที่เป็นกลางที่ทำให้จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะนั้น ทำกิจของตนๆโดยสม่ำเสมอ เหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยที่วิ่งเรียบไปฉะนั้น
๘.-๙. กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ (อ่านว่า กา-ยะ-ปัด-สัด-ธิ, จดิ-ตะ-ปัด-สัด-ธิ) กายปัสสัทธิ เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) เช่น ขณะที่ใส่บาตรความทุกข์ใจที่เคยมีมาก่อนก็ สงบไป การปรุงแต่งจิตใจในขณะนั้นก็ไปเป็นในการงานกุศล สงบจากความเร่าร้อน จิตตปัสสัทธิ เป็นธรรมชาติที่ทำความสงบให้จิต (วิญญาณขันธ์) ในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้มีลักษณะ คือเมื่อเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้วทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความเร่าร้อน คือมีหน้าที่กำจัดความเร่าร้อนออกไป เสีย
๑๐.-๑๑. กายลหุตา จิตตลหุตา กายลหุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความ เบาให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตลหุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเบาให้จิตในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ การทำให้จิตและเจตสิกนี้บรรเทาจากความหนัก เมื่อเจตสิกนี้เกิดขึ้นมีหน้าที่กำจัดความหนักของจิตและเจตสิก ฉะนั้น กายลหุตาและจิตตลหุตาเจตสิกนี้ จึงหมายถึงอาการแห่งภาวะที่เบา ความเบานี้มีความหมายว่า ธรรมเหล่านี้เปลี่ยนไปได้เร็ว คือ สามารถเปลี่ยน โดยฉับพลันจากภาวะที่จิตยังหนักอยู่ด้วยเพราะมีกิเลส ไปเป็นสภาพจิตที่เป็น กุศลได้ทันที เช่น ในขณะที่จิตมีถีนมิทธะ (หดหู่ท้อถอย) เข้าครอบงำ เมื่อกายลหุตาจิตตลหุตาเข้าประกอบกับจิตที่เป็นมหากุศลแล้ว ก็สามารถขับไล่ความหดหู่ความง่วงนอนนั้นให้หมดไปได้ในขณะนั้น
๑๒.-๑๓. กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายมุทุตา เป็นธรรมชาติที่ทำความ อ่อนให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตมุทุตา คือ ธรรมชาติที่ทำความอ่อนให้จิตในการงานอันเป็นกุศล ทำให้จิตอ่อนโยนรับอารมณ์อันเป็นกุศลได้ง่าย เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ ทำให้จิตและเจตสิกสงบจากความกระด้าง มีหน้าที่ยับยั้งทำให้ความกระด้างของจิตและเจตสิกไม่ให้ เกิดขึ้น
๑๔.-๑๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-กัม-มัน-ยะ ตา) กายกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเหมาะควรแก่การงานทำให้ เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำความเหมาะควรแก่การงานอันเป็นกุศลให้จิต เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ มีการทำให้จิตและเจตสิกเข้าสู่สภาวะที่สงบจากความที่ไม่ควรแก่การงาน มีหน้าที่คือกำจัดความไม่ควรแก่การงานของจิตและเจตสิก
๑๖.-๑๗. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-ปา-คุน-ยะ-ตา) กายปาคุญญตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล จิตตปาคุณญตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตคล่องแคล่วในการงานอันเป็นกุศล เจตสิก ทั้ง ๒ ดวงนี้ มีสภาพทำให้จิตเข้าถึงสภาวะที่คล่องแคล่ว มีหน้าที่คือ กำจัดความไม่คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล ๑๘.-๑๙. กายุชุกตา จิตตุชุกตา (อ่านว่า กา-ยุ-ชุ-กะ-ตา) กายุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกขันธ์ ๓ มีความชื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล จิตตุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต มีความซื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ มีความซื่อตรงของจิตและเจตสิก มีหน้าที่กำจัดความไม่ซื่อตรงของจิตและเจตสิก

สรุป โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวงนี้เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิต กลุ่มที่เป็นโสภณจิต คือประกอบกับจิตที่ดีงาม ซึ่งเป็นจิตฝ่ายดีที่ควรอบรมสั่งสมให้เกิดมีขึ้นในตนเองหรือในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ

ข. วิรตีเจตสิก วิรตีเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้งดเว้นจากการทำบาปอกุศลทั้งหลาย
การงดเว้นมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. เว้นจากการทำบาป โดยอัธยาศัยเพราะมีจิตเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย
๒. เว้นจากการทำบาป ตามกำหนดเวลาเช่น การสมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ในวันพระจึงงดเว้น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น
๓. เว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล

วิรตีเจตสิกมี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมัตตะ สัมมาอาชีวะ มีรายละเอียดดังนี้
๑. สัมมาวาจา คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จาก การทำอกุศลทางวาจา คืองดเว้นจากการพูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ เป็นการงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ในชีวิตประจำวันทั่วไปก็ไม่พูดโกหก หรือส่อเสียดใครๆ ไม่พูดคำหยาบ ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ
๒. สัมมากัมมันตะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทำอกุศลทางกาย คืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นการงดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ไม่พักผ่อนหย่อนใจด้วยการตกปลา เพราะเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น
๓. สัมมาอาชีวะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เป็นการงดเว้นการทำบาปทางกาย ทางวาจา ในการประกอบอาชีพ เช่น ไม่ประกอบ อาชีพฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ค้ากาม ทำการงานอาชีพอย่างสุจริตไม่โกหก หลอกลวง เป็นต้น สรุป วิรตีเจตสิกจะเข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกามาวจรกุศล ในกุศลทั่วไป นั้นวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ จะเข้าประกอบกับจิตได้ครั้งละดวงเท่านั้น ไม่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้พร้อมกันทีเดียว ๓ ดวง กล่าวคือขณะที่งดเว้นการพูดปดที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ ในขณะนั้นจะมีสัมมาวาจาเจตสิกเข้า ประกอบกับกามาวจรกุศลจิต แต่จะไม่มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าประกอบเป็นต้น วิรตีเจตสิกที่ประกอบในจิตของปุถุชน จะเกิดได้ทีละดวงเท่านั้นและไม่แน่นอน แต่ถ้าประกอบกับจิตของพระอริยบุคคล จะเกิดประกอบกับจิต พร้อมกันทั้ง ๓ ดวงและแน่นอนด้วย เพราะวิรตี ๓ เป็นองค์มรรคด้วย
ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ คือ กรุณาเจตสิก มุทิตาเจตสิก
๑. กรุณา คือธรรมชาติที่เป็นความสงสาร เป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความสงสารในสัตว์โลกทั้งหลาย หวั่นไหว นิ่งอยู่ไม่ได้เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้รับความทุกข์จากภัยต่างๆ หรือได้รับทุกข์จากการสูญเสียทรัพย์สมบัติ ทนไม่ได้กับความทุกข์ที่ผู้อื่นกำลังได้รับ หรือจะได้รับความทุกข์ในกาล ข้างหน้า มีความต้องการให้เขาพ้นไปจากความทุกข์
๒. มุทิตา คือธรรมชาติที่เป็นความยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นกำลังได้รับความสุข ปรารถนาให้เขาเหล่านั้นมีความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้นในชีวิตประจำวันถ้าเห็นคนยากจนหรือคนขอทานกำลังได้รับความทุกข์หรือได้รับความอดอยาก ถ้าใจเกิดความกรุณา ก็อาจจะสละทรัพย์ หรือ สิ่งของเพื่อทำให้เขาบรรเทาจากทุกข์นั้น ขณะนั้นกุศลจิตมี กรุณาเจตสิก เกิดประกอบ หรือในชีวิตประจำวันถ้าได้พบบุคคลที่ประสบกับความสุขความสมหวัง ถ้าใจเกิดมุทิตาก็จะพลอยยินดีในความสุขสมหวังนั้น ปรารถนาให้เขาได้รับความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขณะนั้นกุศลจิต มีมุทิตาเจตสิกเกิดประกอบ บุคคลทั้งหลายถ้าทำให้กรุณาและมุทิตาเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญพรหมวิหารธรรม จิตใจจะมีความอ่อนโยนเป็นสมาธิ ผู้เจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม จะทำให้มีความสุขปราศจากทุกข์และศัตรู มีความสุขทั้ง หลับและตื่น มีเทวดารักษา เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ไฟ ยาพิษ และอาวุธไม่กล้ำกรายมาถึง ทำให้สีหน้าผ่องใสเมื่อใกล้ตายก็มีจิตผ่องใส เข้าถึงสุคติภพ

ง. ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง คือ ปัญญาเจตสิก
๑. ปัญญาเจตสิก คือธรรมชาติที่รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง ใคร่ครวญ ปัญญานี้จัดเป็นอินทรีย์ด้วย จัดเป็นพละด้วย มีบทเปรียบเทียบปัญญาไว้หลายประการ คือ ปัญญาเหมือนอาวุธ เหมือนแสงสว่าง เหมือนแผ่นดิน เหมือนดวงแก้ว เป็นต้น

จำแนกปัญญาปัญญา ๒ มี ๒ประเภท
๑. โลกียปัญญา ปัญญาที่ยังข้องอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔

ปัญญา ๓ มี ๒ภาค ก,ข
ปัญญา ๓ (ก)
๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หรือพระไตรปิฎก
๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการนำเอาสิ่งที่ศึกษามาแล้ว มาคิดพิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริง
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ปัญญา ๓ (ข) ๑. กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นกำเนิดบุคคลทั้งหลายทำกรรมดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนทั้งนั้น เช่น บุคคลใดลักขโมยทำลายทรัพย์เขา ผลของอกุศลนั้นย่อมทำให้ทรัพย์ของเขาพินาศไป ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมก็จะเข้าใจความเป็นไปของชีวิตตนและบุคคลทั้งหลายได้
๒. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน จะเกิดกับผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ จะมีความเข้าใจชัดในรูปนาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจว่ามีลักษณะ เปลี่ยนแปลงไม่มั่นคง และบังคับบัญชาไม่ได้ ตกอยู่ในกฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๓. โลกุตตรปัญญา ปัญญารู้ในอริยสัจ ๔ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้รู้ แจ้งแทงตลอดในความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ได้แก่
๓.๑ ทุกขสัจ รู้แจ้งว่ารูปนามเป็นทุกข์มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สามารถจะทนอยู่ ในสภาพเดิมได้ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ การแก่เจ็บตายก็เป็นทุกข์ เป็นต้น
๓.๒ สมุทัยสัจ รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัวโลภเจตสิก หรือ ตัณหาคือความยินดีพอใจ ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกหาที่สิ้นสุดไม่ได้
๓.๓ นิโรธสัจ ปัญญาที่เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือนิพพาน เป็นการดับสนิทของตัณหาอันเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์และการเวียนเกิดเวียนตาย
๓.๔ มรรคสัจ การรู้แจ้งทางให้ถึงซึ่งนิพพาน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น

ปัญญานั้นมีการส่องสว่างเป็นลักษณะ เหมือนกับการตามประทีปไว้ในที่มืด ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏธรรมดา แสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งที่ควรทำและไม่ควรทำ ทั้งเลวและ ประณีต ทั้งดำและขาว ทั้งที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เช่นเดียวกับหมอผู้ ฉลาดย่อมรู้จักเภสัชอันเป็นที่สบายและไม่สบายแห่งคนไข้ทั้งหลายฉะนั้น


วันอังคาร

๐๙.๙ พรรษาที่ ๑๑-๔๕


พรรษาที่ ๑๑ ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา
ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา

พรรษาที่ ๑๒ ณ เมืองเวรัญชา
ในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา

พรรษาที่ ๑๓ ณ จาลิยบรรพ
ในพรรษที่ ๑๓ นี้ พระพุทธทรงประทับจำพรรษาที่จาลิยบรรพต

พรรษาที่ ๑๔ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี
ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้

พรรษาที่ ๑๕ ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์
ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้นรกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า “กบิลพัสดุ์” เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า “กบิลพัสดุ์” แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส

พรรษาที่ ๑๖ ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี
ในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า

พรรษาที่ ๑๗ ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์
ในพรรษาที่ ๑๗ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์ อันเป็น สังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

พรรษาที่ ๑๘-๑๙ ณ จาลิยบรรพต
ในพรรษาที่ ๑๘ และพรรษาที่ ๑๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ จาลิตบรรพต ซึ่งพระบรมศาสดาเคยประทับจำพรรษามาแล้วในพรรษาที่ ๑๓

พรรษาที่ ๒๐ ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์
ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา ณ สังฆารามแห่งแรกนี้เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า

พรรษาที่ ๒๑ – พรรษาที่ ๔๔ ณ พระเชตวันและบุพพาราม นครสาวัตถี
นับจากพรรษาที่ ๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เป็นระยะเวลานานที่สุด พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ ฤดูฝน (ในพรรษาที่ ๑๔ ทรงประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมาแล้ว ๑ พรรษา) อีก ๖ ฤดูฝนเปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพาราม ที่นางวิสาขา มิคารมารดามหาอุบาสิกาสำคัญสร้างถวายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับมหาเชตวันโดยประทับสลับไปมา แต่มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าตลอด ๒๔ ฤดูฝน

พรรษาที่ ๔๕ ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี
ในพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบล เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้ายและทรงปลงอายุสังขาร ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน

ในการต่อมา พระบรมศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปในครเวสาลี เสด็จประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย จากนั้นทรงพาพระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเวสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์มาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ผู้ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าความว่า

“อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา” คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนครโดยพระอาการที่แปลกจากเดิมพร้อมทั้งรับสั่งเป็นนิมิตเช่นนั้นเป็นเจดีย์สถานอันสำคัญเรียกว่า “นาคาวโลกเจดีย์” นาคาวโลกคือ การเหลียวมองอย่างพญาช้าง มองอย่างข้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด ซึ่งเป็นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว
ในลำดับกาลต่อมา พระบรมศาสดาทรงเสด็จพาพระภิกษุสงฆ์ออกจากกูฏาคาร เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถีคาม บ้านอัมพะคาม บ้านชัมพูคาม และโภคนครโดยลำดับ ภายหลังจากแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนครและ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร เสด็จเข้าประทับพำนักอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองปาวานั้น ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าว รีบเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาฟังพระธรรมเทศนาโปรด นายจุนทะได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังนิเวศน์ของตน ครั้นรุ่งเช้าเมื่อได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่นายจุนทะว่าสุกรมัททวะซึ่งท่านตกแต่งไว้นั้น จงอังศาสเฉพาะตถาคตผู้เดียวที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่นๆเถิด

ครั้นกลับสู่อัมพวัน พระบรมศาสดาทรงประชวรพระโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ คือโรคท้องร่วงเป็นโลหิต มีพระกำลังล้าลงเกิดทุกขเวทนามาก ทรงตรัสสั่งสอนพระอานนท์ว่า “อานนท์ มาเราจะไปเมืองกุสินารา” พระอานนท์รับพระบัญชาแล้ว จึงรีบแจ้งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเตรียมตามเสด็จไว้พร้อม


ระหว่างทางที่เสด็จไปยังนครกุสินาราพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ ตรัสเรียกพระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้าสายเล็กมีน้ำน้อยและกองเวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านข้ามไป ครั้นพระอานนท์ไปตักน้ำที่ขุ่นข้นได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระบรมศาสดาทรงขอน้ำเสวยในขณะเดินทางยังไม่ถึงที่พัก พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านข้ามแม่น้ำกกุธานทุนี พระอานนท์ทูลเชิญให้เสวยและสรงชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทาง แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้และเสด็จบรรทม ลำดับต่อมาพระบรมศาสดาทรงเสด็จพระพุทธดำเนินต่อพร้มด้วยพระภิกษุสงฆ์ทรงเสด็จดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญวดี อันเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม มุ่งสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ

ในกาลนั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์ แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศ ยังเทพเจ้าทั้งหลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตในอวสานกาล ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้นๆแลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย” ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั่งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทาน เป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลองทิพย์บันลือลั่น กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก

พรรษาแรก, พรรษาที่ ๒-๓-๔, พรรษาที่ ๕, พรรษาที่ ๖, พรรษาที่ ๗, พรรษาที่ ๘, พรรษาที่ ๙, พรรษาที่ ๑๐, พรรษาที่ ๑๑-๔๕