บทความ

๗. อัปปมัญญา ๔ หน้า ๒

รูปภาพ
กลับไป อัปปมัญญา ๔ หน้าแรก (เมตตา) ๒. กรุณาภาวนา การเจริญกรุณา คือ การแผ่ความกรุณาในสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์อยู่ หรือกำลังจะได้รับ ความทุกข์ในภายหน้า องค์ธรรมได้แก่ กรุณาเจตสิก ที่มีทุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์  การแผ่ความกรุณา คือ การแผ่ความกรุณาสงสารในสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์อยู่ หรือกำลังจะ ได้รับความทุกข์ในภายหน้า เช่น เห็นบุคคลที่กำลังได้รับทุกข์ก็พิจารณาว่า บุคคลนี้กำลังเป็นทุกข์เขาจะ หลีกพ้นทุกข์ได้อย่างไร หรือขอให้สัตว์ทั้งหลายจงพ้นทุกข์เถิด หรือเห็นว่าบุคคลนี้ทำกรรมชั่ว ก็คิดกรุณา สงสารว่าเขาจะต้องได้รับทุกข์ในภายภาคหน้า การเจริญกรุณา ใช้คำภาวนาว่า “สัพเพ สัตตา ทุกขา ปมุจจันตุ....” มีความหมายว่า ขอให้ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงพ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจเถิด การเจริญกรุณานั้นจิตจะต้องเป็นโสมนัส(เป็นสุข ปลาบปลื้ม) ไม่ใช่เศร้าเสียใจ ถ้าเศร้าเสียใจนั่นเป็นอกุศล ไม่ใช่กรุณา เช่น เราไปงานศพเห็นว่าครอบครัว ผู้ตายลำบาก เราสงสารเกิดเสียใจอย่างนี้จัดเป็นอกุศล เพราะจิตเป็นทุกข์ไม่ผ่องใส  การแผ่กรุณา ก็เช่นเดียวกับเมตตา คือต้องเริ่มต้นที่การแผ่ให้กับตนเองก่อน จนในที่สุดแผ่ถึงศ...

๗. อัปปมัญญา ๔

รูปภาพ
 อัปปมัญญา ๔ 🔔ประกอบด้วย   ๑. เมตตา,  ๒.  กรุณา,  ๓. มุทิตา,  ๔. อุเบกขา อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมชาติที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่จำกัด ผู้ที่ เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น จะต้องมีการแผ่ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจำกัดจึงจะ เรียกว่า เป็นการแผ่เมตตาอัปปมัญญา กรุณาอัปปมัญญา มุทิตาอัปปมัญญา อุเบกขาอัปปมัญญา สำหรับ การแผ่โดยเฉพาะเจาะจง ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน ฉะนั้นเมื่อจะเจริญ เมตตา กรุณา  มุทิตา อุเบกขา ชนิดที่เป็นอัปปมัญญาได้นั้น ต้องเป็นชนิดทำลายขอบเขตไม่ให้มีจำกัดอยู่เฉพาะแต่ใน บุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง อัปปมัญญา ก็ได้ชื่อว่าพรหมวิหารด้วย เพราะว่าผู้ที่ปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคล นั้นย่อมมีจิตเสมือนพรหม คือมีความดีในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ได้อย่างไม่มีประมาณ ๑. เมตตาภาวนา   เมตตา หมายความว่า การปรารถนาดีรักใคร่ต่อสัตว์ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่มี ปิยมนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หมายถึงมีสัตว์บุคคลอันเป็นที่รักเป็นอารมณ์ สัตว์บุคคลอันเป็นที่รักที่ ชอบใจ มี ๒ พวก คือ ...

อนุสติ ๑๐ หน้า ๒

รูปภาพ
กลับไป อนุสติ ๑๐ หน้าแรก ๕. จาคานุสสติ  จาคานุสสติ  หมายความว่า การระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ไม่โอ้อวด  ไม่ตระหนี่ ไม่เอาหน้าหรือหวังชื่อเสียง เล็งเห็นคุณของการบริจาค องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหา กุศลจิต ที่มีเจตนาในการบริจาคเป็นอารมณ์ การเจริญจาคานุสติ ผู้บริจาคทานต้องถึงพร้อมด้วยคุณความดี ๓ ประการ คือ      ๑. วัตถุที่บริจาคทานเป็นสิ่งที่ได้มาโดยชอบ      ๒. มีจิตที่ตั้งไว้ดี เป็นกุศลตั้งแต่ก่อนบริจาค ขณะบริจาค และเมื่อบริจาคแล้ว      ๓. เป็นการบริจาคให้พ้นจากความตระหนี่ และตัณหา มานะ ทิฐิ เมื่อบริจาคแล้วต้องสละให้ได้ บางคนบริจาคทานไปแล้วไม่พอใจที่ผู้รับไม่ใช้ของที่ตนบริจาค หรือไม่พอใจที่ผู้รับนำของนั้นไปให้ผู้อื่นต่อ เรียกว่าสละแล้วไม่พ้น สละไม่หลุด หรือบางคนบริจาคทาน แล้วไม่พอใจเพราะมีคนบริจาคมากกว่าตน หรือบริจาคทานที่ประณีตกว่าตน บริจาคโดยหวัง ผลตอบแทน เช่น หวังโภคสมบัติ หวังสวรรค์สมบัติ ไม่จัดเป็นจาคานุสสติ เพราะเมื่อระลึกขึ้นมาไม่เป็น การชำระจิต การบริจาคทาน ที่เป็นทานบารมี เป็นปัจจัยอุปการะ แก่บาร...