วันศุกร์

อกุศลสังคหะ

หมวดที่ ๐๘ สมุจจยสังคหะ เป็นการแสดงปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่ ธรรมใดที่เข้ากันได้ก็จัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งมีทั้งหมด ๗๒ประการ

สภาวธรรม ๗๒ ประการ คือ
จิต ๑ จิตทั้งหมดมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ แต่นับเป็นหนึ่ง โดยนับตามสภาวลักษณะ เพราะจิตทุก ดวงมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะเหมือนกันหมด ฉะนั้นจึงนับเพียง ๑
เจตสิก ๕๒ เจตสิกมีสภาวลักษณะเฉพาะๆ ของตน เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒
รูป ๑๘ นับตามสภาวลักษณะ ที่มีอยู่ในรูปธรรมโดยเฉพาะๆ ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ (รูปทั้งหมดมี ๒๘ แบ่งเป็นนิปผันนรูป ๑๘ อนิปผันนรูป ๑๐ อนิปผันนรูป ไม่มีสภาวลักษณะของตนโดยเฉพาะ)
นิพพาน ๑ นับตามสภาวลักษณะ คือ สนฺติลกฺขณํ 

ต่อไปจะศึกษาหมวดธรรมใหญ่ ๔ หมวด คือ
หมวด ๑. อกุศลสังคหะ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปล้วน ๆ
หมวด ๒. มิสสกสังคหะ สงเคราะห์สภาวะธรรมต่างๆ โดยความเป็นกุศล อกุศล และอพยากตะ     
หมวด ๓.โพธิปักขิยสังคหะ เป็นหมวดธรรมที่จะทําให้เข้าถึงมรรคผล
หมวด ๔. สัพพสังคหะ เป็นการสงเคราะห์จิต เจตสิก รูป นิพพาน ลงในหมวดธรรม

หมวด ๑ อกุศลสังคหะ
ธรรมที่เป็นอกุศลนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นความเป็นไปของอกุศลเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ จึงจําแนกไว้เป็น ๙ กอง คือ
กองที่ ๑. อาสวะ ธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองสัตว์
กองที่ ๒. โอฆะ ธรรมที่เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
กองที่ ๓. โยคะ ธรรมที่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่น
กองที่ ๔. คันถะ ธรรมที่เป็นเครื่องคล้องสัตว์
กองที่ ๕. อุปาทาน ธรรมที่ทําให้ยึดมั่นในอารมณ์
กองที่ ๖. นีวรณ์ ธรรมที่เป็นเครื่องขวางกั้นความดี
กองที่ ๗. อนุสัย ธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
กองที่ ๘. สังโยชน์ ธรรมที่เป็นเครื่องผูกสัตว์
กองที่ ๙. กิเลส ธรรมที่ทําให้เศร้าหมองและเร่าร้อน

🔅 อกุศลกองที่ ๑ อาสวะ
แปลว่า เครื่องหมักดอง หมายความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลที่อยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย หรือ หมักดองสัตว์ทั้งหลายผู้ทําบาปอกุศลให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน
ธรรมที่เป็นอาสวะมี ๔ คือ
    ๑. กามาสวะ ได้แก่ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ อยู่ในกามคุณอารมณ์ คือ ติดอยู่กับความสวยงามต่าง ๆ เพลิดเพลินอยู่ในเสียงเพราะ ๆ กลิ่นหอม ๆ รสอร่อย ๆ สัมผัสที่นิ่มนวลพึงพอใจ ทําให้จิตใจเคลิบเคลิ้มอยู่ในความสุขด้วยอํานาจของโลภเจตสิก ซึ่งถูกหมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเวลาช้านานนับจํานวนภพชาติไม่ได้ เมื่อตายไปก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิเป็นเวลายาวนาน คือ ถูกหมักดองอยู่ในอบายสัตว์ และทําให้วัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีกําหนดนั้นเจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด
    ๒. ภวาสวะ ได้แก่ ความยินดีติดใจในรูปฌาน อรูปฌาน รูปภูมิ อรูปภูมิ คือ ติดใจในความสุขสงบของฌานจิตและการได้เกิดเป็นพรหมบุคคล ด้วยอํานาจของโลภเจตสิกที่หมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทําให้มีการเวียนเกิดเวียนตายในภพภูมิเหล่านี้ ถือว่า เป็นการหมักดองอีกเช่นเดียวกัน
    ๓. ทิฎฐาสวะ ได้แก่ การหมักดองด้วยความเห็นผิดของตนเอง คือ มีความเห็นว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผล คุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ชาติก่อน ชาติหน้า ไม่มี เมื่อมีความเห็นผิด เช่นนี้อยู่ในใจ ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตนทําลงไปนั้นเป็นบุญหรือบาป จึงทําอกุศลกรรมเพราะความเห็นผิดเช่นนี้ อกุศลกรรมนี้จึงทําให้สัตว์ทั้งหลายถูกหมักดองให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนในอบายภูมิ เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้วถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากที่จะได้พบแสงสว่างแห่งพระสัทธรรมได้ เพราะความเห็นผิดนั้นฝั่งลึกอยู่ในขันธสันดานเกิดมาครั้งใดความเห็นผิดก็ติดตัวมาอยู่เสมอยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้     ๔. อวิชชาสวะ คือ ความไม่เข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจ จิต เจตสิก และรูป ถ้าสรุปรวมก็เป็นเพียง รูป กับ นาม ว่าเป็นเพียงสภาวธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล เป็นเราเป็นเขา ดังที่เข้าใจกัน ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในความเป็นจริงเพราะมีอวิชชาปกปิดไว้ อวิชชานั้นจะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
สิ่งที่อวิชชาไม่รู้ มี ๘ ประการ คือ
    ๑. ทุกข์ 
    ๒. สมุทัย
    ๓. นิโรธ
    ๔. มรรค
    ๕. ขันธ์
    ๖. อายตนะ
    ๗. ธาตุ
    ๘. ปฏิจจสมุปบาท
ความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันหาที่สุดมิได้

การประหาณอาสวะ อาสวะธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนสําเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทําการประหาณกิเลสต่าง ๆได้ การประหาณกิเลสในหมวดของอาสวะนั้นมีดังนี้
    กามาสวะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
    ภวาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต
    ทิฏฐาสวะ ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต
    อวิชชาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต 


🔅 อกุศลกองที่ ๒ โอฆธรรม
เป็นธรรมเปรียบเสมือนห้วงน้ำ เมื่อใครตกลงไปในห้วงน้ำแห่งโอฆะแล้ว จะทําให้จมดิ่งลงไปยากที่จะโผล่ขึ้นมาได้ โอฆะ ได้แก่ ความโลภ หรือโลภเจตสิก , ความเห็นผิด หรือทิฏฐิเจตสิก , ความโง่ หรือโมหเจตสิก เมื่อมีโลภะเป็นเหตุทําให้ทําทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นเหตุให้ต้องตกอยู่ใน อบายภูมิ และวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์อย่างหาที่สุดได้ยากยิ่ง ทําให้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเกิดปัญญาในการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นไปด้วยอํานาจของทุจริตกรรมนั่นเอง
โอฆะ มี ๔ ประการ คือ
    ๑. กาโมฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่งกามคุณอารมณ์
    ๒. ภโวฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่งการเกิดในรูปฌาน อรูปฌาน หรือ    รูปภพ อรูปภพ
    ๓. ทิฏโฐฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่งความเห็นผิด
    ๔. อวิชโชฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่งความไม่รู้สภาพธรรมตามความ   เป็นจริง

อาสวะ กับ โอฆะ มีสภาวธรรมหรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก แต่ต่างกันที่ชื่อเท่านั้น (การประหาณโอฆะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับการประหาณอาสวะ)

🔅 อกุศลกองที่ ๓ โยคะ
เป็นธรรมที่เปรียบเสมือนเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่นอยู่ในกามคุณอารมณ์เป็นต้น ยากที่จะถอนให้หลุดออกมาได้ เหมือนกับตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้
โยคะ มี ๔ ประการ คือ
    ๑. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    ๒. ภวโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน
    ๓. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความเห็นผิด
    ๔. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความหลง

เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงทําให้เกิดความ โลภ ความโกรธ ความหลง อาสวะ โอฆะ โยคะ อกุศลทั้ง ๓ กองที่ศึกษามานี้ มีสภาวธรรม หรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภ เจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก ต่างกันที่ชื่อเท่านั้น(การประหาณโยคะเป็นไปในทํานองเดียวกันกับการประหาณอาสวะ)


🔅 อกุศลกองที่ ๔ คันถะ
เป็นธรรมเปรียบเสมือนเครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ เพราะว่าธรรมเหล่านี้จะเป็นเครื่องเกี่ยวคล้องระหว่างรูปกายนามกายในปัจจุบันภพ กับรูปกายนามกายในอนาคตภพให้ติดต่อกันประดุจโซ่เหล็ก ถ้าจะกล่าว โดยนัยแห่งจิตแล้วก็เป็นเครื่องร้อยรัดระหว่างปฏิสนธิจิต - จุติจิต ให้เกิดต่อเนื่องกันไม่สามารถจะพ้นไปจากวัฏฏ ทุกข์ได้
คันถะ มี ๔ ประการ คือ
    ๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้อยสัตว์ให้ติดอยู่กับความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ดี) อภิชฌากายคันถะ ต่างกับ อภิชฌา ที่เป็นมโนทุจริต ตรงที่ อภิชฌากายคันถะ เป็นโลภะอย่างหยาบและอย่างละเอียดทั้งหมด เป็นความต้องการ หรือความพอใจในทรัพย์สมบัติทั้งของตนเองและของผู้อื่น ไม่ว่าจะโดยชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมก็ตาม แต่อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต เป็นโลภะ อย่างหยาบ คือความยินดีพอใจในเฉพาะของ ๆ บุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
    ๒. พยาปาทกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องให้สัตว์ติดอยู่ในความโกรธ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนที่มีโทสจริต ที่มีอัธยาศัยเป็นคนชอบโกรธอยู่เสมอ ๆ ส่วนพยาบาทที่เป็นมโนทุจริตจะเป็นโทสะอย่างหยาบที่คิดปองร้ายผู้อื่น
    ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดถือในการปฏิบัติผิด เช่น ปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข โดยเห็นว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นทางหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์
    ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดมั่นในความเห็นผิดของตนว่าถูกส่วนความเห็นของคนอื่นผิด เช่น สัญชัยปริพาชก กล่าวกับลูก ศิษย์ของตนว่า “คนโง่อยู่กับเรา คนฉลาดให้ไปหาพระสมณโคดม”

การประหาณคันถะ คันถธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนสําเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทําการประหาณกิเลสต่าง ๆ ได้

การประหาณกิเลสในหมวดของคันถะนั้นมีดังนี้
อภิชฌากายคันถะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต
พยาปาทกายคันถะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต

🔅 อกุศลกองที่ ๕ อุปาทาน
การยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ คือ ยึดมั่นถือมั่นในรูป (รูปารมณ์) ในเสียง (สัททารมณ์) ใน กลิ่น (คันธารมณ์) ในรส (รสารมณ์) ในสัมผัส (โผฏฐัพพารมณ์) ในเรื่องราวต่าง ๆ (ธัมมารมณ์) อย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมปล่อย หรือ ยึดมั่นในความเห็นผิดไม่ยอมคลาย หรือ ในการปฏิบัติผิด คิดว่าเป็นทางหลุดพ้น หรือเห็นว่าอารมณ์ต่าง ๆ ที่ตนกําลังได้รับอยู่นั้นเป็นตัวเป็นตน เป็นเขาเป็นเรา อย่างแรงกล้า ความยึดมั่นอย่างนี้ชื่อว่า อุปาทาน

ความยินดีติดใจในอารมณ์ต่าง ๆ ในครั้งแรก ๆ ที่เกิดความยินดีพอใจ ความยินดีนี้ยังเป็น ตัณหา แต่ เมื่อมีความยินดีพอใจ ติดใจ ยึดมั่นในอารมณ์นั้น ๆ อย่างเหนียวแน่น ความยินดีในครั้งหลัง ๆ นี้เป็น อุปาทาน ตัณหาเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กที่เริ่มปลูกใหม่ ๆ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วนอุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ปลูกไว้ใหญ่โตแล้ว ถอนได้ยากเพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว อุปาทาน จึงเป็นความยึดมั่นไว้ในอารมณ์อย่างเหนียวแน่นกว่า ตัณหา
อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ
    ๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นใน อารมณ์ ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ ในโลภมูลจิต ๘
    ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในความเห็นผิดที่นอกจากสีลัพพตปรามาสทิฏฐิและอัตตวาททิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
    ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข โดยคิดว่าเป็นการปฏิบัติที่จะนําตนให้พ้นทุกข์ได้ ( ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจากมัชฌิมาปฏิปทา) ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
    ๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวเป็นตน หรือมีตัวมีตนอยู่ในขันธ์ ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

การประหาณอุปาทาน
อุปาทานจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสําเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทําการประหาณกิเลสต่างๆได้ การประหาณกิเลสในหมวดของอุปาทานนั้นมีดังนี้
กามุปาทาน ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต


อ่านต่อ หมวด ๑. อกุศลสังคหะ อกุศลกองที่ ๖-๑๐

วันจันทร์

๔.๔ อรูปาวจรกุศลกรรม

อรูปาวจรกุศลกรรม ผู้เจริญรูปาวจรกุศลจนถึงปัญจมฌานแล้ว ปรารถนาจะเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไป ก็ต้องเจริญในอรูปฌานต่อไป ตั้งแต่อากาสานัญจายตนฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

อรูปาวจรกุศลมี ๔ ระดับ แต่ละระดับ มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาและ เอกัคคตา เหมือนกันทั้ง ๔ ระดับ ในแต่ละระดับมีอารมณ์ต่างกัน
ฌานที่ ๑ เรียกว่า อากาสานัญจายตนกุศล มี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์
ฌานที่ ๒ เรียกว่า วิญญานัญจายตนกุศล มีอากาสานัญจายตนกุศลเป็นอารมณ์
ฌานที่ ๓ เรียกว่า อากิญจัญญายตนกุศล มี นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์
ฌานที่ ๔ เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล มีอากิญจัญญายตนกุศลเป็นอารมณ์

ผลของอรูปาวจรกุศลกรรม
ผู้ที่เจริญอรูปฌานจนสำเร็จในแต่ละขั้นแล้วถ้าฌานยังไม่เสื่อม เมื่อ ตายจากภพนี้ กำลังแห่งอรูปฌานกุศลนั้นจะส่งผลเป็นวิปากนำเกิดในอรูปพรหม เป็นพรหมที่มีแต่นาม ไม่มีรูป

อากาสานัญจายตนกุศล จะนำเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุ๒๐,๐๐๐ มหากัปป์
วิญญานัญจายตนกุศล จะนำเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญานัญ จายตนภูมิ มีอายุ ๔๐,๐๐๐ มหากัปป์
อากิญจัญญายตนกุศล จะนำเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุ ๖๐,๐๐๐ มหากัปป์
เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล จะนำเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนว สัญญานาสัญญายตนภูมิ มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์



เรื่องกรรมเป็นเรื่องที่แสดงความเป็นจริง เป็นเหตุ เป็นผล โดยนัยแห่ง พระอภิธรรม คือ ชี้ให้เห็นถึงสภาวธรรมแห่งเหตุ และได้แสดงโดยนัยแห่ง พระสูตร คือ ยกตัวอย่างประกอบไว้แล้ว กรรมที่แสดงไว้แล้วทั้งหมดนี้เป็นกรรมชนิดที่ส่งผลนำเกิด คือ เมื่อกรรมสำเร็จแล้วย่อมส่งผลนำวิบากให้เกิดขึ้น เป็นการแสดงความเป็นจริงแห่งวัฏฏะ คือ วงเวียนแห่งชีวิตว่ามีการเกิด มีการดำรงอยู่ และก็มีการตาย แล้วก็มีเกิดใหม่ ดำรงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป แล้วก็มีการเกิดใหม่ ดำรงอยู่ใหม่ แล้วก็ตายไป เป็นอย่างนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏฏะทุกข์ คือ ทุกข์เพราะยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะกรรมที่บุคคลทำไว้แล้วนั้นเป็น กรรมชนิดที่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ การจะหลุดพ้นจากวัฏฏะ หรือ วงเวียนแห่งชีวิตนี้ ต้องทำกุศลขั้นวิวัฏฏะ คือ มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์นี้

เพราะรู้และเข้าใจความเป็นจริงแห่งชีวิต แล้วทำกุศลทุกอย่างก็เพื่อ มุ่งให้เป็นปัจจัยให้พ้นไปจากวัฏฏะ เจริญกุศลขั้นปัญญาเพื่อขจัดกิเลสให้เบาบาง เพื่อประหาณกิเลสทั้งหลาย เมื่อกุศลขั้นวิวัฏฏะยังผลให้โลกุตตรกุศลเกิดขึ้นเมื่อไร เมื่อนั้นก็จะพ้นไปจากวัฏฏะทุกข์เข้าสู่ความเกษมคือพระนิพพานได้



วันอาทิตย์

๔.๓ รูปาวจรกุศลกรรม

รูปาวจรกุศลกรรม เป็นการเจริญกุศลในขั้นสูง คือ การเจริญฌาน ฌานนั้นให้ความสงบสุขอันเป็นความสุขที่ประณีตกว่ากุศลขั้น ทาน ศีล ฯลฯ ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปาวจรกุศลกรรมเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน มีกสิณ ๑๐ เป็นต้น โดยการกำหนดจิตให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว บุคคลเมื่อกำหนดจิตได้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียวได้ ทำให้สมาธิตั้งมั่น กำลังของสมาธิที่ตั้งมั่นและมากขึ้นๆ ตามลำดับ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการเจริญรูปฌาน

ผลสำเร็จของการเจริญรูปฌาน มี ๕ ขั้น คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และ ปัญจมฌาน ซึ่งแต่ละขั้นจะมีองค์ฌานประกอบดังนี้

ฌานที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๕ คือ
วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๒ 
เรียกว่า ทุติยฌานกุศล มีองค์ฌาน ๔ คือ
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๓ 
เรียกว่า ตติยฌานกุศล มีองค์ฌาน ๓ คือ
ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๔ 
เรียกว่า จตุตถฌานกุศล มีองค์ฌาน ๒ คือ
สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๕ 
เรียกว่า ปัญจมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๒ คือ
อุเบกขา เอกัคคตา
ผลของรูปาวจรกุศลกรรม

ผู้ที่เจริญรูปฌานจนสำเร็จในแต่ละขั้นแล้วถ้าฌานยังไม่เสื่อม เมื่อตาย จากภพนี้ กำลังแห่งฌานกุศลนั้นจะส่งผลเป็นวิปากนำเกิดในรูปพรหม 
ฌานที่ ๑ ปฐมฌานกุศล จะนำเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ คือ ปาริสัชชา ปุ โรหิตา มหาพรหมมา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า พรหมปาริสัชชา มีอายุ ๑/๓ มหากัปป์ พรหมปุโรหิตา อายุ ๑/๒ มหากัปป์ และ มหาพรหมมา มีอายุ ๑ มหากัปป์
ฌานที่ ๒ ทุติยฌานกุศล และ ฌานที่ ๓ รูปาวจรตติยฌานกุศลจิต จะนำเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ คือ ปริตตาภา อัปปมานาภา อาภัสรา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๒ มหากัปป์ ๔ มหากัปป์ และ ๘ มหากัปป์ ตามลำดับ
ฌานที่ ๔ จตุตถฌานกุศล จะนำเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ คือ ปริตตสุภา อัปปมานสุภา สุภกิณหา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๑๖ มหากัปป์ ๓๒ มหากัปป์ และ ๖๔ มหากัปป์ ตามลำดับ
ฌานที่ ๕ ปัญจมฌานกุศล จะนำเกิดในจตุตถฌานภูมิ ๗ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ นำเกิดใน เวหัปผลา อสัญญสัตตา เป็นพรหมที่มีอายุ ยาวนาน ๕๐๐ มหากัปป์
กลุ่มที่ ๒ นำเกิดใน สุทธาวาส ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา เป็นภูมิสำหรับพระอนาคามีที่ได้ฌานด้วยและมีอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่กล้า ด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสัทธินทรีย์ จะเกิดในอวิหาภูมิ มี อายุ ๑ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยวิริยินทรีย์ จะเกิดในอตัปปาภูมิ มี อายุ ๒ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสตินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสาภูมิ มีอายุ ๔ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสมาธินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสีภูมิ มี อายุ ๘ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยปัญญินทรีย์ จะเกิดในอกนิฏฐาภูมิ มีอายุ ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์

ทิพยสมบัติของพรหม
ผู้ที่ไปเกิดเป็นรูปพรหมด้วยอำนาจของฌานที่ตนได้ จะเสวยทิพย
สมบัติแห่งความเป็นพรหม มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี และเครื่องทรงอลงกรณ์ต่างๆ สวยสดงดงามประณีต และมีความสวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย เมื่อเกิดเป็นพรหมในรูปพรหม ๑๖ ชั้นดังกล่าวแล้ว ก็หาพอใจในฌานหรือในทิพยสมบัติของตนที่มีอยู่ไม่ ต้องการหาความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น โดยการเจริญอรูปาวจรกุศลต่อไปอีก


กายทุจริต ๓

เป็นการทำความชั่วทำความผิดทางกาย คือด้วยการกระทำของกาย จัดเป็นบาปมิใช่บุญ ก่อทุกข์โทษให้ทั้งในปัจจุบันและภพชาติต่อไป ประกอบด้วย

๑. ปาณาติบาต ปาณาติบาต คือ เจตนาทำให้ สิ่งมีชีวิตตกไปโดยเร็ว คือ ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ ซึ่งโดยปกติธรรมดาแล้ว สัตว์มีลักษณะค่อยๆตกไป คือ ตายไปเองตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ยอมให้เป็นไปตามปกติอย่างนั้น กลับทำให้ตกไปอย่างเร็ว ด้วยการฆ่า ฉะนั้น กรรมที่ได้ชื่อว่าปาณาติบาตก็คือเจตนาฆ่า  

องค์ประกอบของปาณาติบาต มี ๕ ประการ 
๑. สัตว์มีชีวิต 
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 
๓. มีจิตคิดจะฆ่า 
๔. เพียรพยายามเพื่อฆ่า 
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น
 
การฆ่าสัตว์ที่ครบ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นการทำบาปที่ครบองค์ปาณาติบาต การทำให้ชีวิตของบุคคลอื่นและสัตว์อื่นสูญสิ้นไป ถือเป็นบาปทั้งสิ้น ผู้ที่เคยฆ่าสัตว์ เมื่อใกล้จะตายถ้าคิดถึงบาปนั้น ผลของบาปก็จะนำให้ไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าบาปนี้ไม่มีกำลังส่งผลตอนนำไปเกิด ก็จะสามารถส่งผลได้ตอนหลังจากเกิดแล้วโดยส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี มีการเห็นไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี เป็นต้น 

อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ สำเร็จได้เพราะเจตนาที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ คือ 
โลภมูลจิต ๘ 
โทสมูลจิต ๒ 
โมหมูลจิต ๒ 
อกุศลกรรมนี้เมื่อส่งผลจะ สามารถส่งผลได้ ๒ กาล คือ 
๑. ส่งผลนำไปเกิด (ปฏิสนธิกาล) จะนำไปเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
๒. ส่งผลขณะดำรงชีวิตหลังจากเกิดแล้ว (ปวัตติกาล) คือส่งผลให้ 
๑. ได้เห็น 
๒ . ได้ยิน 
๓ . ได้กลิ่น 
๔ . ได้ลิ้มรส 
๕ . ได้รับสัมผัส 
๖ . ได้รับอารมณ์ 
๗ . พิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี 
กล่าวคือจะส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี ๗ ประการนี้เป็นพื้นฐาน และภายหลังจากไปรับทุกข์โทษ ในอบายภูมิมาแล้ว เศษกรรมที่เหลือจะตามส่งผลในด้านอื่นๆ อีก มากมาย เช่น ถ้าฆ่าสัตว์ วิบากกรรมที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ ถูก ฆ่า ถูกทำร้าย เป็นต้น 

เกณฑ์ตัดสินการฆ่าว่ามีบาปมากหรือน้อย

บาปมาก
๑. ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น วัว ควาย
๒. ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา
๓. ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก
บาปน้อย
๑. ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ริ้น ไร
๒. ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย
๓. ใช้ความ พยายามในการฆ่าน้อย


ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ  
๑. ฆ่าด้วยตนเอง 
๒. ใช้คนอื่นฆ่า 
๓. ปล่อยอาวุธ
๔. ใช้ศาสตราต่างๆ เช่น มีด ปืน ฯลฯ หรือ ขุดหลุมพราง 
๕. ใช้วิชาอาคม หรือไสยศาสตร์ต่าง ๆ 
๖. ใช้ฤทธิ์  

ผลของปาณาติบาต 
ส่งผลในปฏิสนธิกาล คือ ส่งผลนำไปเกิด การทำบาปที่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง ๕ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้ากรรมคือ การฆ่านี้ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล 

การส่งผลในปวัตติกาล คือ ส่งผลหลังจากเกิดแล้ว คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รับสัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี และเศษกรรมยังส่งผลทำให้อายุสั้น ซึ่งอกุศลกรรมจะตามมาส่งผลได้ตั้งแต่เกิดอยู่ท้องมารดา ทำให้ได้รับอันตราย ได้รับความวิบัติต่างๆ มารดาบิดาก็มักมีแต่โรคภัยไข้เจ็บก็ส่งผลให้บุตรที่อยู่ในครรภ์ไม่ได้รับอาหารจากมารดาเท่าที่ควร ทำให้อ่อนแอมาตั้งแต่แรกเกิดก็ได้ หรือ ในเวลานั้นอาจส่งผลทำให้โภคทรัพย์ของบิดามารดาพินาศ ของกิน ของใช้ เครื่องนุ่งห่ม ขาดแคลน ทำให้การบริหารครรภ์ไม่ดี ทารกก็ขาดความสมบูรณ์ อาจจะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และหรือเมื่อคลอดแล้วอาหารการกินไม่สมบูรณ์ ทารกย่อมอ่อนแอ และทำให้มีอายุสั้นได้ เพราะผลแห่งการฆ่าสัตว์นั้นติดตามมาส่งผลบีบคั้นให้ย่อยยับไปตามวาระ ตามโอกาส และหรือส่งผลทำให้ถูกฆ่า ถูกทำร้าย 

ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นคนมีอายุยืน คือ เจตนากรรมที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จะส่งผลนำไปเกิดในเทวโลกได้ แต่หากว่าพลาดโอกาสนี้ไป บุคคลนั้นไปเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลให้ในปวัตติกาล คือ หลังจากที่บุคคลนั้นปฏิสนธิแล้ว ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของมารดาก็ส่งผลนำความสุขมาให้ เช่น ตั้งแต่เกิดอยู่ในท้องมารดา ทั้งมารดาทั้งบิดาก็มีแต่ความสุขสำราญ อันตรายใดๆ ที่ปกติมีอยู่ก็ไม่เกิดขึ้น ทรัพย์ทั้งหลายก็มั่งคั่ง ไม่มีความขัดสน คนแวดล้อมทั้งหลาย มีทาสกรรมกรเป็นต้น ก็เป็นคนว่าง่าย ไม่หลีกเลี่ยงการงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ได้รับการบริหารครรภ์ที่ดี ร่างกายมีกำลังแข็งแรงมาตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อคลอดก็ได้หมอดี คลอดแล้วก็ได้อาหาร ได้ยาที่ดี คลอดแล้วก็เป็นที่ชื่นชมยินดีแก่คนทั้งหลายในตระกูลเพราะได้เห็นเขาเป็นเด็กแข็งแรง ทรวดทรงงดงามไม่พิการ นี้คือผลของการมีเจตนางดเว้นจากการฆ่า 

ถ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่เบียดเบียนสัตว์ด้วยอาวุธ ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยการกักขังทรมานต่างๆ เป็นต้น เช่นนี้ไม่เป็นปาณาติบาต แต่การกระทำนี้ เป็นบาปอกุศลกรรม ถ้าส่งผลในปฏิสนธิกาล ก็ส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ เมื่อสิ้นกรรม จากอบาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นคนไม่แข็งแรงมีโรคภัยไข้เจ็บมาก มีอันตรายต่างๆ มีการทำให้ทรัพย์หมดไป เป็นต้น ฉะนั้นการที่จะไม่ต้องเป็นคนมีโรคภัยไข้เจ็บมากก็ต้องงดเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย 
 
๒. อทินนาทาน อทินนาทาน คือ การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้ให้ อทินนาทานจะสำเร็จลงได้ก็ด้วยมีเจตนาในการที่จะได้ครอบครอง สิ่งของที่มีผู้หวงแหนรักษา โดยการ ลัก ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก เบียดบัง สับเปลี่ยน ปลอมแปลง โจรกรรม เป็นต้น อนึ่ง การใช้อุบายหลอกลวงจนผู้อื่นรู้ไม่เท่าทัน จนต้องเสียผลประโยชน์ แม้ว่าผู้อื่นนั้นจะเห็นชอบยอมรับ แต่เมื่อเป็นไปด้วยเจตนาที่หลอกลวง ก็เป็นอทินนาทานด้วย 

มีเรื่องเล่าว่า นายพรานคนหนึ่งจับแม่เนื้อและลูกเนื้อได้ มีนักเลงคนหนึ่งถามนายพรานว่า “แม่เนื้อราคาเท่าไร ลูกเนื้อราคาเท่าไร” เขาตอบว่า “ แม่เนื้อราคา ๒ เหรียญ ลูกเนื้อราคา ๑ เหรียญ” เขาก็ให้ไป ๑ เหรียญ แล้วเอาลูกเนื้อมา เขาเดินไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับมาพูดว่า “ นายเอ๋ยฉันไม่ต้องการลูกเนื้อแล้วละ จงให้แม่เนื้อแก่ฉันเถิด” นายพรานจึงบอกว่า “ ถ้าอย่างนั้นจงให้ ๒ เหรียญซิ ” นักเลงจึงกล่าวว่า “ ทีแรกฉันได้ให้ท่านไว้ ๑ เหรียญแล้วมิใช่หรือ” นายพรานก็ยอมรับว่า “ ใช่ ให้ไว้ ๑ เหรียญ แล้ว” นักเลงจึงบอกว่า “ จงรับลูกเนื้อคืนไป ลูกเนื้อตัวนี้ราคา ๑ เหรียญ และเคยให้ไว้แล้ว ๑ เหรียญ รวมกันเข้าก็เป็น ๒ เหรียญ” นายพรานได้ยินก็เข้าใจว่าเขาพูดมีเหตุผล จึงยอมรับเอาลูกเนื้อนั้นมา แล้วให้แม่เนื้อไป เป็นอันว่านักเลงผู้นั้นได้แม่เนื้อไปโดยเสียเงินซื้อเพียง ๑ เหรียญ การยอมรับตกลงด้วยไม่ใช่ เหตุของการป้องกันไม่ให้เป็นอทินนาทาน นายพรานยอมตกลงด้วยเพราะรู้ไม่เท่าทันเจตนาเล่ห์เหลี่ยมของนักเลง

ส่วนการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหนโดยไม่มีเจตนาที่จะลักเอามา แต่ถือเอาด้วยวิสาสะ ความคุ้นเคยสนิทสนม คือว่าหยิบฉวยเอาของผู้อื่นไปบริโภคใช้สอย เพราะเห็นว่าผู้นั้นเป็นคนคุ้นเคย เป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน อย่างนี้ไม่จัดเป็นอทินนาทาน

วิสาสะ คือ ความคุ้นเคย มี ๕ คือ
๑. เคยเห็นกันมา
๒. เคยคบหากันมา 
๓. เคยบอกอนุญาต
๔. ผู้ที่ตนมีวิสาสะด้วยยังมีชีวิตอยู่
๕. ผู้ที่ตนจะมีวิสาสะด้วยยินดียอมรับ

องค์ประกอบของการลักทรัพย์ มี ๕ ประการ คือ 
๑. วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๒. รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์ 
๔. เพียรพยายามเพื่อลักทรัพย์
๕. ได้สิ่งของที่พยายามลักนั้นมา  

เกณฑ์ตัดสินอทินนาทาน ว่าบาปมากหรือน้อย โดยถือเอาเจ้าของทรัพย์เป็นเกณฑ์
   
นัยที่๑ เจ้าของทรัพย์ คือ (จากน้อยไปมาก)
๑. ฆราวาส
๒. พระภิกษุ หรือ สามเณร  ๑ รูป
๓. พระภิกษุ หรือ สามเณร ๒-๓ รูป
๔. พระภิกษุ หรือ สามเณร ๔ รูปขึ้นไป
นัยที่ ๒ เจ้าของทรัพย์ คือ (จากน้อยไปมาก)
๑. ปุถุชน
๒. พระโสดาบัน
๓. พระสกทาคามี
๔. พระอนาคามี
๕. พระอรหันต์

 

ความพยายามในการลักทรัพย์ ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. ใช้ผู้อื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนเป็นหนังสือ
๓. ทิ้งหรือโยนทรัพย์ออกไปนอกเขตเพื่อให้พวกเดียวกันรับต่อ
๔. สั่งพรรคพวกเมื่อมีโอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา
๕. ใช้เวทย์มนต์คาถาทำให้หลงใหลแล้วลักทรัพย์
๖. ใช้ฤทธิ์ในการลักทรัพย์ ผลของการลักทรัพย์

การส่งผลในปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด) การส่งผลในปวัตติกาล (หลังจากเกิดแล้ว)
การทำบาปที่ครบ องค์ประกอบทั้ง ๕ จัดเป็น อกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าอทินนาทานนี้ส่งผล จะนำเกิดในอบายภูมิ เป็นการ ส่งผลในปฏิสนธิกาล(คือ นำไปเกิด) กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อบุคคลพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลอีก ทำให้ เป็นคนยากจน ถ้ามีทรัพย์ก็จะพินาศเพราะ โจร น้ำ ไฟ พายุ ถูกทางการริบทรัพย์ ต้องสูญเสียทรัพย์  

๓. กาเมสุมิจฉาจาร กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม หมายถึงการประพฤติชั่ว ที่คนดีทั้งหลายรังเกียจและติเตียน คำว่า “ กาม” หมายถึงเมถุนธรรม เป็นการกระทำของคนคู่หญิงกับชาย ด้วย ความกำหนัด คือการร่วมประเวณี การประพฤติร่วมประเวณีที่ผิดศีลก็มีองค์ประกอบ ๔  

องค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม ๔ ประการ คือ
๑. มีวัตถุที่ไม่ควรเสพ ได้แก่ หญิง ๒๐ จำพวก
๒. มีจิตคิดจะส้องเสพในวัตถุอันไม่ควรนั้น
๓. มีความพยายามในการส้องเสพ
๔. มีการทำมรรคให้จรดถึงกัน มรรคในที่นี้หมายถึงอวัยวะเพศ คือ ทำอวัยวะเพศให้จรดถึงกัน เนื่องจากเป็นการกระทำของคนคู่ จึงแสดงสิ่งที่เป็นวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก ไว้เป็นลำดับแรก การร่วมประเวณีจะสำเร็จได้ก็เพราะฝ่ายชาย ไม่ใช่ฝ่ายหญิง เพราะเหตุนี้ฝ่ายชายจึงมีโอกาสทำผิดศีลข้อ ๓ นี้ได้ง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงวาง องค์แห่งการวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายชายไว้ก่อนว่าวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง ได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก หลังจากนั้นจึงจะวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายหญิง ต่อไปได้ 
 
หญิง ๒๐ จำพวกที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้อง มีดังนี้
หญิงที่ยังไม่มีสามี มี ๑๐ จำพวก คือ
๑. หญิงที่มีมารดารักษา คือมีมารดา ปกครองดูแล
๒. หญิงที่มีบิดารักษา คือมีบิดา ปกครองดูแล
๓. หญิงที่มีทั้งมารดาทั้งบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่น้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่น้องหญิงรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตรคือวงศ์สกุลรักษา
๘. หญิงที่ธรรมรักษา (หญิงที่บวช ประพฤติธรรม)
๙. หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว
๑๐. หญิงที่มีกฎหมายรักษา

หญิงที่มีสามีแล้ว มี ๑๐ จำพวก คือ 
๑. หญิงที่เขาใช้ทรัพย์ซื้อมาเพื่อเป็นภรรยา
๒. หญิงที่อยู่เป็นภรรยากับชายที่ตนมีความพอใจ
๓. หญิงที่อยู่กับชายเพราะทรัพย์เป็นเหตุ (เช่น ยอมเป็นภรรยาเพื่อปลดหนี้ เป็นต้น) 
๔. หญิงที่อยู่กับชายเพราะผ้าเป็นเหตุ (คือ ยอมเป็นภรรยาเพราะเห็น แก่ผ้า เครื่องประดับ ยานพาหนะ ที่พึง ได้รับ เป็นต้น) 
๕. หญิงที่ญาติทั้ง ๒ ฝ่ายกำหนดให้ จุ่มมือลงไปใน ภาชนะใส่น้ำ แล้วสัญญาว่าจะ อยู่ด้วยกัน
๖. หญิงที่ชายปลดปล่อยจากความ เป็นทาสแล้ว แต่งตั้งให้เป็นภรรยา
๗. หญิงที่เป็นทั้งทาสทั้งภรรยา
๘. หญิงที่เป็นทั้งคนรับจ้างทำงานอยู่ในเรือน เป็นทั้งภรรยาด้วย
๙. หญิงเชลย
๑๐. หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วคราว

การที่ฝ่ายชายจะผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารพิจารณาดังนี้ คือ
ชายไปเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กับหญิงทั้ง ๒๐ จำพวกนี้ ชายนั้นได้ชื่อว่าประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร กล่าวคือในกลุ่มหญิงที่ยังไม่มีสามีลำดับที่ ๑-๘ ถ้าชายไปเกี่ยวข้องด้วยโดยที่ผู้ปกครองของหญิงไม่ยินยอมด้วย กรณีนี้ฝ่ายชายเท่านั้นที่ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ฝ่ายหญิงไม่ผิด และสำหรับหญิงที่ยังไม่มีสามีในลำดับที่ ๙ หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว ๑๐. หญิงที่มีกฎหมายรักษา ทั้ง ๒ นี้ ถ้าชายอื่นที่ไม่ได้เป็นคู้หมั่น เป็นต้น ล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อ กาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่  

ลำดับต่อมา คือ หญิงที่มีสามีแล้ว ได้แก่หญิง ๑๐ จำพวกหลัง ถ้าชายอื่นที่ไม่ใช่สามีเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่ ในปัจจุบันนี้หญิงบางจำพวกไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว เช่น หญิงเชลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าหญิงที่เหลือจะมีกี่จำพวกก็ตาม ก็สามารถย่อเหลือ ๒ จำพวก คือ
๑. หญิงที่มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล
๒. หญิงที่มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส 
 
หญิงจำพวกที่ ๑ มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล ได้แก่ หญิงที่มี มารดารักษา เป็นต้น อาจจะเป็นหญิงที่เป็นบุตรสาว หลานสาว ที่อยู่ในความปกครองของมารดา บิดา พี่น้อง ญาติ และหญิงที่อยู่ในความดูแลของสำนัก นักบวช เป็นการดูแลให้การเลี้ยงดูให้เติบโต อบรมสั่งสอน ส่งเสริมให้ได้รับความรู้เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสัมผัส คือไม่ได้ถือสิทธิในการจะเสพกามสุขที่เกิดจากการได้สัมผัส ชายที่ละเมิดล่วงเกินเกี่ยวกับการร่วมประเวณีในหญิงเหล่านี้ ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ แต่สำหรับฝ่ายหญิงถ้ายินยอม พร้อมใจด้วยก็ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เพราะว่า หญิงนั้นมีผู้ดูแลก็จริง แต่ไม่ใช่มีเจ้าของสัมผัส หญิงจำพวกนี้มีสิทธิที่จะมอบสัมผัสนั้นแก่ชายใดก็ได้ ฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่าทำผิด

สรุปว่า
ถ้าชายไปล่วงเกิน ชายนั้นก็ผิดศีลฝ่ายเดียว หญิงจำพวกที่ ๒ มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส ได้แก่ หญิงที่เป็นภรรยาทั้งหลาย และหญิงที่มีคู่หมั้นด้วย หญิงที่เป็นภรรยาก็มีสามีของตนเป็นเจ้าของสัมผัส ส่วนหญิงที่มีคู่หมั้นแล้วก็เท่ากับยอมรับความจะเป็นภรรยาเขา ถ้าชายอื่นใดละเมิดในหญิงเหล่านี้ ชายนั้นก็ชื่อว่ากระทำกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนฝ่ายหญิงถ้ามีความยินยอมพร้อมใจ ก็ชื่อว่าทำกรรมชั่ว ข้อนี้ร่วมกัน เพราะว่ามอบสมบัติคือสัมผัสอันผู้เป็นเจ้าของคือสามีของตน เท่านั้นถือสิทธิอยู่ ให้แก่ชายอื่น สรุปว่า ผิดทั้งคู่  

ผลของกาเมสุมิจฉาจาร
การส่งผลในปฏิสนธิกาล การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จัดเป็น อกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าการประพฤติผิดในกามเช่น นี้ส่งผลเมื่อสิ้นชีวิตจะ นำไปเกิดในอบายภูมิ
การส่งผลในปวัตติกาล ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลได้อีก กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นการกระทำของคนขลาด ลักลอบ ทำอย่างปิดบัง หลบๆ ซ่อนๆ นี้เองจึงส่งผลให้เป็นผู้ที่ไม่องอาจผ่าเผย มีจิตใจไม่อาจหาญ และสามารถส่งผลให้เกิดมาเป็นหญิง เป็นกะเทย เป็นคนวิปริตผิดเพศ  

การงดเว้นบาปอกุศลข้อกาเมสุมิจฉาจารได้ ผลบุญก็ย่อมปรากฏ คือ เป็นผู้มีกำลังใจอาจหาญ กล้าแข็ง ชนะใจตนเองได้อยู่เสมอ และเพราะเหตุที่ ละเว้นจากการกระทำผิดเกี่ยวกับทางเพศ เมื่อเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีเพศ อุดม คือเกิดเป็นบุรุษ เมื่อเป็นคนไม่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ก็แสดงว่าเป็นคนจิตใจประณีต สะอาด จึงเป็นเหตุให้เป็นคนมีความเฉียบแหลม ละเอียดอ่อน และเพราะไม่กระทำกรรมในที่ลับ จึงส่งผลทำให้เป็นผู้ที่มีความอาจหาญในท่ามกลางคนทั้งปวง ไม่ตกต่ำ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏได้ง่าย และ เพราะเหตุที่เป็นคนไม่มักมากในเมถุนโดยการเที่ยวแสวงหาหญิงอื่น เพราะ กลัวผิดศีลจะมัวหมองนั่นเอง หากมีคู่ครอง คู่ครองก็จะซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่นอกใจ เป็นต้น  




วันพฤหัสบดี




อเจลก, อเจละ    naked ascetic 
อเสขะ    adept 
อโทสะ, อพยาบาท    non-hate; non-hatred 
อโมหะ    non-delusion 
อโลภะ    non-greed 
อกุศล    unprofitable (adj)
อกุศล    unskilful (adj)
อกุศล    unwholesome (adj)
อกุศลกรรม    unskilful action 
อกุศลกรรม    unwholesome action 
อคติ    prejudice 
อคติ    wrong course 
องค์    factor 
องค์, โวการ    constituent 
อตตกัลมถานิโยคุ    self-mortification; self-torment 
อติมานะ    arrogance 
อทินนาทาน    taking what is not given 
อทินนาทาน    stealing 
อทุกขมสุข, อุเบกขา- เวทนา    neither-pain-nor-pleasure 
อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา    resolution 
อธิกรณ์    legal question 
อธิจิตต์    higher mentality 
อธิจิตต์    higher thought 
อธิปไตย    predominance 
อธิปบาย (นัยประสงค์)    purport 
อธิปัญญา    higher wisdom 
อธิวจนะ, อธิพจน์    designation 
อธิศีล    higher morality 
อธิษฐาน, อธิมุติ    resolve 
อนภิชฌา    non-covetousness 
อนริยะ, อนารยะ    ignoble (adj) 
อนลสตา, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    industry 
อนวัชชกรรม    blameless action 
อนัตตตา    soullessness 
อนัตตา    not-self (adj)
อนัตตา    non-self; non-soul 
อนัตตา    soulless (adj)
อนันต์    infinite (adj) 
อนาคามิผล    Non-Returning, fruition of
อนาคามิมรรค    Non-Returning, path of
อนาคามี    Non-Returner 
อนาคาริก    homeless one 
อนาคาริยะ, ชีวิตอนาคาริก    homeless life 
อนิจจ์, อนิจจัง    transient (adj)
อนิจจตา    impermanence 
อนิจจตา    transience; transiency 
อนิจจะ, อนิจจัง    impermanent (adj)
อนิยต    undetermined offence 
อนิสสิต    independent (adj) 
อนุโมทนา    thanking 
อนุโยค    pursuit 
อนุโลม    conformity 
อนุโลม    forward order 
อนุโลม    forward order 
อนุตตระ    unsurpassed (adj)
อนุปัสสนา, อนุสติ    contemplation 
อนุปาทิเสสนิพพาน    Nibbàna without any remainder of existence 
อนุรักขนา    maintaining; maintenance 
อนุสติ    recollection 
อนุสนธิ    sequence 
อนุสัย    latent bias 
อนุสัย    latent tendency 
อนุสัย    underlying tendency 
อนุสาวนา    proclamation 
อนุสาสนี, สาสนะ    instruction 
อปจายนะ, คารวะ    reverence 
อปายโกศล    proficiency in knowing loss 
อปายโกศล    proficiency as to regress 
อพยาบาท    non-ill-will 
อภิชฌา    courteous speech
อภิญญา    direct knowledge 
อภิญญา    psychic power 
อภิญญา    superknowledge 
อภินิเวส    insistence 
อภิสมัย (การบรรลุ), สมาบัติ    attainment 
อภิสัมโพธิ, การตรัสรู้    Awakening 
อมตะ    deathless adj 
อมตะ    immortal (adj)
อมูฬหวินัย    verdict of past insanity 
อรติ, อนภิรติ (ความไม่ยินดี, เบื่อ หน่าย)    discontent 
อรยวินัย (แบบแผนของอารยชน)    noble discipline 
อรรถ    meaning 
อรรถกถา    commentary 
อรหัตต์, อรหัตตผล    Arahatship 
อรัญวาสี     forest-dweller 
อริยทรัพย์    noble treasure 
อริยทรัพย์    noble wealth 
อริยบุคคล    noble one 
อริยสัจจ์ ๔, จตุราริยสัจจ์    Noble Truths, the Four 
อริยสาวก    noble disciple 
อริยอัฏฐังคิกมัคค์,  อารยอัษฎางคิกมรรค    Noble Eightfold Path, the 
อริยะ    ariyan 
อริยะ, อารยะ    noble (adj)
อรูป    formless 
อรูป   immaterial (adj)
อรูปภพ, อรูปโลก    Immaterial Sphere 
อลัชชี    shameless (adj)
อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)    reincarnation 
อวิโรธนะ    non-obstruction 
อวิโรธนะ    non-opposition 
อวิชชา    ignorance 
อวิหิงสา    non-cruelty 
อสังขตะ    uncompounded; unconditioned (adj)
อสังขาริก    uninstigated (adj)
อสังขาริก    unprompted (adj)
อสูร, ยักษ์    demon 
อหังการ    I-making 
อหิงสา    harmlessness 
อหิงสา    non-injury 
อหิงสา, อวิหิงสา    non-violence 
อักขระ, พยัญชนะ    letter 
อัชฌัตติกายตนะ (อายตนะ ภายใน)    inner sense-sphere 
อัชฌาสัย, อธิมุติ    inclination 
อัญญา    final knowledge 
อัญญาณ    unknowing 
อัฏฐกะ (หมวดแปด)    octad 
อัตตภาวะ, อัตภาพ    individuality 
อัตตสัมมาปณิธิ    self-direction, right disposition in 
อัตตัญุตา    self-knowledge 
อัตตา, ตน, ตัวตน    self
อัตตา, อาตมัน    ego 
อัตตา, อาตมัน, ชีวะ    soul 
อัตถจริยา    benevolence 
อัตถะ  กัลยาณะ, บุญ    good (n) (adj)
อัตถะ, ปริโยสาน    goal
อัตถะ, อรรถ    aim 
อัตถิสุข (สุขเกิดจากความ มีทรัพย์)    ownership, the bliss of 
อันตราย, อันตรายิกธรรม    stumbling block 
อันตราย, อาทีนพ    danger 
อันตะ (ที่สุด, ความเข้าใจ หรือ ประพฤติเอียงสุด)    extreme 
อันตะ    end 
อัปปนาสมาธิ    attainment concentration 
อัปปมัญญา    illimitables 
อัปปมาท    heedfulness 
อัปปมาทะ, อาตาปะ (ความเพียร)    earnestness 
อัปปมาทะ, อุฏฐานะ (ความหมั่นขยัน)    diligence 
อัปปิจฉตา, ความมักน้อย    simplicity 
อัพยากตะ, อัพยากฤต    undeclared 
อัพยากฤต    indeterminate (adj) 
อัสสาทะ    gratification 
อัสสาสะ (การหายใจเข้า)    breathing in 
อาเนญชา, อเนญชา    imperturbability 
อาโปธาตุ    fluid element 
อาโปธาตุ    cohesion, the element of
อาโรคยะ, กัลลตา    health 
อาการ    aspect 
อาการ    mode 
อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ    space 
อากาสานัญจายตนะ    infinity of space 
อากิญจัญญายตนะ    Nothingness, Sphere of
อาฆาต    malice 
อาจาร, จริยา, จรณะ, สมาจาร    conduct 
อาจารย์    teacher 
อาชชวะ    honesty 
อาชชวะ    integrity 
อาชีวะ    livelihood 
อาณา, อิสริยะ    authority 
อาทีนพ, ภัย    peril 
อานาปานสติ    mindfulness on breathing 
อานาปานะ, อัสสาสะ ปัสสาสะ    in- and out-breathing 
อานิสงส์    blessing 
อานิสงส์    advantage 
อานิสงส์    privilege 
อานิสงส์, อัตถะ, อรรถ    benefit  
อาบัติ    offence 
อาบัติถุลลัจจัย    grave offence 
อาบัติทุพภาสิต    wrong speech, offence of
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์    forfeiture, offence of expiation involving 
อาบัติปาจิตตีย์    expiation, offence of
อาบัติปาราชิก    defeat, offence involving 
อาบัติสังฆาทิเสส    formal meeting of the Order, offence entailing a
อาปัตติ เทศนา (การแสดงอาบัติ)    confession 
อามิส    carnalities 
อามิส    material things 
อามิสทาน    material gifts 
อามิสบูชา    material worship 
อายโกศล    proficiency as to progress 
อายโกศล    proficiency in knowing gain 
อายตนะ    sense-base 
อายตนะ    sense-field 
อายตนะ    sense-sphere 
อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์    sense-organ 
อายตนะ(ภายนอก)    sense-object 
อายุสังขาร    vital formation 
อารมณ์    object 
อารักขา    protection 
อารักขา; ชาคริยะ    watchfulness 
อาวัชชนะ   adverting 
อาวัตต์, อาวัตตนา, การกลับใจเปลี่ยน ศาสนา    conversion 
อาสนะ    seat 
อาสวะ    canker 
อาสวะ    intoxicant, mental 
อาสวะ    taint 
อาสา (ความหวัง, ใฝหา)    yearning 
อาหาร    nutrient; nutriment 
อิจฉา (ความอยาก)    longings 
อิฏฐะ (น่าปรารถนา)    agreeable 
อิตถีธุตตตา (ความเป็นนักเลงหญิง)    debauchery 
อิตถีภาวะ, อิตถินทรีย์    femininity 
อิทธิ, สัมปัตติ    success 
อิทธิบาท    road to power 
อิทธิบาท    accomplishment, basis of
อิทธิบาท    basis for success 
อิทธิปาฏิหาริย์    magical power 
อิทธิปาฏิหาริย์    supernormal power
อิทัปปัจจยตา    specific conditionality 
อินทรีย์    controlling faculty 
อินทรีย์    faculty 
อินทรียสังวร    control of the senses
อินทรียสังวร    restraint of the senses 
อิริยาบถ    deportment 
อิริยาบถ    posture 
อิสสา, ความริษยา    jealousy 
อิสสา, ความริษยา    envy 
อิสิ, ฤๅษี    seer 
อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา)    equanimity 
อุเบกขา    onlooking-equanimity onlooking-equanimity 
อุเบกขา    even-mindedness 
อุเบกขาเวทนา, อทุกขมสุข    indifferent feeling 
อุโบสถ, วัตร, การรักษา (ศีลเป็นต้น)    observance 
อุกเขปนียกรรม    suspension 
อุจเฉทวาท, อุจเฉททิฐิ    annihilationism 
อุชุกตา    rectitude 
อุชุกตา, อาชชวะ    straightness 
อุตุ    temperature 
อุทธัจจกุกกุจจะ    anxiety 
อุทธัจจกุกกุจจะ    flurry and worry 
อุทธัจจะ    agitation 
อุทธัจจะ, วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่าน)    distraction 
อุทธัจจะ, วิชัมภิตา    restlessness 
อุทาน, วจนะ    utterance 
อุบาสก อุบาสิกา    lay devotee 
อุบาสก, พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์    lay follower 
อุบาสก, อุบาสิกา    devotee, lay 
อุบาสก, คฤหัสถสาวก    lay disciple 
อุปจยะ    growth 
อุปจยะ    storing up 
อุปจารสมาธิ    neighbourhood concentration 
อุปจารสมาธิ    access concentration 
อุปธิ    essential of existence 
อุปธิ    substratum of rebirth 
อุปนาหะ    grudging 
อุปนาหะ    spite 
อุปบัติ    reappearance 
อุปปาทะ, อุบัติ    arising 
อุปมา    simile 
อุปสัมปทา, การอุปสมบท    ordination 
อุปัชฌาย์    preceptor 
อุปัฏฐาก, อุปฐาก    attendant 
อุปัฏฐาน (การบํารุง, เฝ้า, พยาบาล)    attendance  
อุปาทาน    assuming 
อุปาทาน    attachment 
อุปาทาน    clinging 
อุปาทาน    fixation 
อุปาทาน    grasping 
อุปาทายรูป    derivative matter 
อุปาทายรูป    derived materiality 
อุปาทินนะ, กรรมชะ    karmically acquired (adj) 
อุปาย    proficiency as to the means of success 
อุปายโกศล    proficiency of method 
อุปายะ, อุบาย, วิธี, ปโยคะ    means 
อุปายาส (ความผิดหวัง, ความคับแคนใจ)    despair 
อุปาหนา    sandals 
อุพภาร, อุทธาร (การรื้อ, การถอน, การเดาะ)    withdrawal 

ส-ห




สกทาคามิผล    Once-Returning, fruition of
สกทาคามิมรรค    Once-Returning, path of
สกทาคามี    Once-Returner 
สงฆ์, พระสงฆ์, คณะสงฆ์    Sangha, 
สติ    mindfulness 
สติปัฏฐาน    fundamentals of mindfulness 
สติปัฏฐาน    setting-up of mindfulness 
สติปัฏฐาน    basis of mindfulness 
สติวินัย    verdict of innocence 
สภา, บริษัท (= ปริสา ที่ประชุมหรือ ชุมชน หมู่ชน ไม่ใช่บริษัท ในภาษาไทย)    assembly 
สมชีวิตา    living within one’s means 
สมชีวิตา    balanced life; balanced livelihood 
สมณพราหมณ์    holy men 
สมณะ    recite recluse
สมถภาวนา    Tranquillity Development 
สมถะ    quiet 
สมถะ    calm 
สมบัติ    property 
สมมติ (การตกลงรวมกัน, มอบหมาย, แต่งตั้ง)    agreement 
สมมติสัจจะ    conventional truth
สมาทาน    undertaking 
สมาธิ    concentration 
สมาธิภาวนา, สมถ- ภาวนา    concentration development 
สมานัตตตา    equality 
สมานัตตตา    impartiality 
สมานัตตตา    sociability 
สมุคฆาตะ, ปหานะ    eradication 
สมุฏฐาน    origination 
สมุทัย    origin 
สมูหะ, ฆนะ    mass 
สรณะ    refuge 
สรณะ, เนตติ    guide 
สลาก (สําหรับลงคะแนนเสียง)    voting-ticket 
สสังขาริก    instigated (adj)
สสังขาริก    prompted (adj)
สหธรรมิก    co-religionist
สหรคต, สหคต    accompanied by 
สหาย    companion 
สอุปาทิ- เสสนิพพาน    Nibbàna with remainder of existence 
สักกายทิฏฐิ    self-illusion 
สักกายทิฏฐิ    belief in a soul or self 
สักกายทิฏฐิ    embodiment view 
สักการะ, ปูชา    honour 
สัคคะ, สวรรค์    heaven 
สังเวคะ, ความสังเวช    sense of urgency 
สังเวคะ, สังเวช    urgency, sense of
สังโยชน์, สัญโญชน์    fetter 
สังกัปปะ, อธิปปายะ, เจตนา    intention 
สังกิเลส, อุปกิเลส, อาสวะ    corruption
สังขาร    formations 
สังขาร (ในขันธ์ ๕)    mental formations 
สังขาร    volitional activities 
สังขาร, สังขตธรรม    compounded things 
สังขาร, สังขตธรรม    conditioned things 
สังคหะ (จัดประเภท)    classification 
สังคหะ    help 
สังคายนา, สังคีติ    Council
สังคีติ, สังคายนา    rehearsal 
สังฆเภท    schism 
สังฆกรรม    act, formal 
สังฆกรรม    formal act 
สังฆะ, สงฆ์    community
สังยมะ, สัญญมะ, เวรมณี    refraining 
สังวร, สังยมะ    restraint 
สังสาร วัฏฏ์, วัฏฏสงสาร, สงสาร    round of rebirth; roundabout of births
สังสารจักร    wheel of rebirths 
สัจจะ    truth 
สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ    verification 
สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ, อธิคม (การทํา ให้แจ้ง, การบรรลุ)    realization 
สัญญา    ideation 
สัญญา    perception 
สัตตกะ (หมวดเจ็ด)    heptad 
สัตว์    being 
สัตว์    sentient being 
สัตว์จตุบท    quadruped 
สัททะ (เสียง)    sound 
สัททารมณ์, สัททะ (เสียง)    audible object 
สัทธรรม    true doctrine 
สัทธา, ศรัทธา, ปสาทะ    confidence 
สัทธิวิหาริก หรือ อันเตวาสิก, ศิษย์    pupil 
สันโดษ, สันตุฏฐี    content; contentment
สันตติ    series 
สันตติ, สันตานะ    continuity
สันตะ (ผู้สงบระงับ)    serene (adj)
สันติ, อุปสมะ    peace 
สันถัต    rug 
สันทิฏฐิกะ    visible for oneself (adj) 
สัปบุรุษ, สัตบุรุษ    righteous man 
สัปบุรุษ, สัตบุรุษ    true man 
สัปปายะ    favourable (adj)  
สัปปายะ, กัปปิิยะ, อนุรูป    suitable (adj) 
สัปปิิ    ghee
สัพพัญุตา    omniscience 
สัพพาภิภู    omnipotent (adj)
สัมปโยคะ, เสวนา    association 
สัมปชัญญะ    awareness 
สัมปชัญญะ    clear comprehension 
สัมปชัญญะ    self-possession 
สัมปชัญญะ, ปริญญา    comprehension 
สัมปทา    achievement 
สัมปทา    prosperity 
สัมปยุต    associated with 
สัมปัตติ, สมบัติ    perfectness 
สัมผัปปลาปะ    frivolous talk 
สัมผัปปลาปะ    gossip 
สัมผัปปลาปะ    frivolous talk 
สัมผัปปลาปะ    vain talk 
สัมมัตตะ    rightness 
สัมมัปปธาน    right endeavour 
สัมมัปปธาน    right striving 
สัมมา    right (adj)
สัมมากัมมันตะ    Right Action 
สัมมาญาณะ    Right Knowledge 
สัมมาทิฏฐิ    Right Understanding 
สัมมาวาจา    Right Speech 
สัมมาวายามะ    Right Effort 
สัมมาวิมุตติ    Right Deliverance 
สัมมาสมาธิ    Right Concentration 
สัมมาสังกัปปะ    Right Thought 
สัมมาอาชีวะ    Right Livelihood 
สัมมุขาวินัย    verdict in the presence of 
สัสสตวาทะ, สัสสตทิฏฐิ    eternalism; eternity-view 
สาเฐยยะ, สาไถย    hypocrisy 
สาเฐยยะ, สาไถย    fraud 
สากัจฉา    discussion 
สามเณร    novice 
สามเณร, นวะ    novitiate 
สามัคคี    concord 
สามัคคี    harmony 
สามัคคี, เอกัตตะ, เอกีภาพ    unity 
สามัญลักษณะ    common characteristics 
สามิสสุข    material happiness 
สารัมภะ    presumption
สาวก    hearer 
สาวก    disciple 
สาวก, ศาสนิก    follower 
สิกขมานา    probationer 
สิกขา, ทมะ, ภาวนา    training 
สิกขาบท    rule of training
สิกขาบท    training rule 
สิกขาบท, (ข้อ) ศีล    precept 
สีมา    boundary 
สีลวิบัติ    moral failure 
สีลสมบัติ, สีลสัมปทา    moral achievement 
สีลัพพต ปรามาส    adherence to habits and practices 
สีลัพพตปรามาส    misapprehension of virtue and duty 
สีลัพพตะ    rites and rituals 
สีลัพพตะ, ศีลและพรต    rules and rituals 
สีลัพพตะ, ศีลและพรต    virtue and duty
สุข    ease 
สุข    bliss 
สุข    happiness 
สุข    pleasure 
สุขเวทนา    pleasant feeling 
สุขุม    subtle (adj)
สุคนธ์    fragrant (adj)
สุญญตา    emptiness 
สุญญตา    void; voidness 
สุณวาจา, สุณาวาจา, เปสุญวาท    tale-bearing 
สุตะ, สิกขา    learning 
สุทธาวาส    Pure Abodes 
สุรา    liquor 
สุราธุตตตา (ความเปนนักเลงสุรา)    drunkenness 
สุสาน    cemetery

ห  
หทัย    heart 
หทัยวัตถุ    physical basis of mind 
หิตสุข    weal 
หิริ    moral shame 
หิริ    conscience 
หิริ    sense of shame 
หิริ, ลัชชา    shame 
หีนยาน    Lesser Vehicle