วันอาทิตย์

นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย

นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป

รูปร่างกายของคน สัตว์ เทวดา หรือ รูปพรหม นั้นล้วนแต่เกิดและยังมีชีวิตดำรงอยู่ได้ก็มาจาก เหตุ ๔ ประการ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร หรือที่เรียกว่า เกิดมา จากสมุฏฐาน ๔

 กรรม คือ เจตนาในการทำกุศล และ อกุศลต่างๆ ที่ได้สั่งสมไว้แล้ว เมื่อกรรมทั้งหลายสำเร็จลง เจตนาในการกระทำกรรมนั้นจะทำหน้าที่ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ เป็นคน สัตว์ เทวดา พรหม ได้ ดังนั้น
กรรมที่เป็นสมุฎฐานในเกิดรูป ก็ได้แก่เจตนา ๒๕ คือ
เจตนาในอกุศลจิต ๑๒
เจตนาในมหากุศลจิต ๘
เจตนาในรูปาวจรกุศลจิต ๕

เจตนาทั้ง ๒๕ นี้ ย่อมทำให้รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิ จิตเป็นต้นไป (หนึ่งขณะจิตมี ๓ อนุขณะเล็ก คืออุปปาทะ(เกิด) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับ) รูปที่เกิดจากกรรม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อนุขณะแรกของปฏิสนธิจิต (ส่วนเจตนาในอรูปวจรกุศลจิต จะส่งผลโดย นามปฏิสนธิในอรูป ภูมิ ๔)
รูปที่เกิดจากกรรม เรียกว่า กรรมชรูป (อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-รูป) มี ๑๘ รูป คือ
ปสาทรูป ๕
ภาวรูป ๒
หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘

 จิต  การที่รูปจะแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ได้ก็เพราะมีจิต เช่น จิตคิดจะทำกุศล จิตนี้ก็ทำให้ วาโยธาตุนั้นมีกำลังทำให้ร่างนี้เคลื่อนไป เดินไปทำกุศลได้ หรือที่เป็นอกุศล คิดจะฆ่าสัตว์ วาโยธาตุที่เกิด จากจิตก็จะทำให้กายนี้ไปทำอกุศล จิตที่ทำให้รูปทำการงานต่างๆ มี ๗๕ ดวง คือ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔)
รูปที่เกิดจากจิต เรียกว่า จิตตชรูป มี ๑๕ คือ
วิญญัติรูป ๒
สัททรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

 อุตุ  หมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไปจนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติ
รูปที่เกิดจากอตุุ เรียกว่า อุตุชรปู มี ๑๓ คือ
สัททรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

 อาหาร  หมายถึง โอชาในอาหาร (หรือปัจจุบันเรียกว่าสารอาหาร) อาหารที่ได้รับประทานแล้วเมื่อไฟธาตุทำการย่อยแล้ว จะเป็นโอชาหรือสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย อาหารที่บริโภคไป คราวหนึ่งสามารถจะอุดหนุนให้รูปกายนี้อยู่ได้ถึง ๗ วัน แต่ถ้าเป็นโอชาที่เป็นทิพย์ย่อมอุดหนุนรูปกายได้ ๑ หรือ ๒ เดือน และในอาหารที่แม่บริโภคแล้วก็ยังส่งไปให้ถึงทารกในครรภ์ให้รูปของทารกนั้นดำรงอยู่ได้

รูปที่เกิดจากอาหาร เรียกว่า
อาหารชรูป มี ๑๒ คือ
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

เฉพาะรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ รูปที่เกิดจากจิตยังมีอีก ๗ อย่าง คือ

๑. จิตตชรูปสามัญ
จิตตชรูปสามัญ หมายถึง รูปที่เป็นไปตามปกติธรรมดาของร่างกาย เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจเป็นต้น จิตตรูปสามัญนี้เกิดได้จากจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ เกิดจากกามาวจรโสภณจิต เกิดจากอเหตุกจิต เกิดจากมหัคคตจิต เกิดจากโลกุตตรจิตก็ได้ เช่น ลมหายใจเข้าออกตามปกติที่ไม่ได้มีการเจริญ วิปัสสนาก็อาจจะเป็นจิตตรูปที่เกิดจากอกุศล แต่ถ้าพิจารณาลมหายใจเข้าออกโดยความเป็นวิปัสสนาจิตตช รูปนี้ก็เกิดจากกุศลได้ จิตชรูปสามัญเกิดจากจิต ๗๕ ดวงคือ
๑. อกุศลจิต ๑๒
๒. อเหตุกจิต ๘(เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐)
๓. กามาวจรโสภณจิต ๒๔
๔. มหัคคตจิต ๒๓(เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔)
๕. โลกุตตรจิต ๘

๒. จิตตชรูปหัวเราะ จิตตชรูปหัวเราะ หมายถึง จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการยิ้ม เกิดการหัวเราะ จิตที่ทำให้เกิดการหัวเราะได้มี ๑๓ ดวง
๑. โลภโสมนัสจิต ๔
๒. โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น)
๓. มหากุศลโสมนัส ๔
๔. มหากิริยาโสมนัส ๔ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น)

๓. จิตตชรูปร้องไห้
จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการร้องไห้ ความเศร้าโศกเสียใจจนเกิดการร้องไห้ของคนเรานั้น เกิดจากความโกรธ มี ๒ ดวงได้แก่
๑.โทสมูลจิต ๒ ดวง

๔ . จิตตชรูปเคลื่อนไหว
จิตที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ในอิริยาบถย่อย ได้แก่ จิตที่ทำให้เกิดการเหยียด ก้ม เงย เหลียวซ้ายแลขวา กระพริบตา อ้าปาก หาว เป็นต้น เกิดจากจิต ๓๒ ดวง คือ
อกุศล ๑๒
หสิตุปปาทจิต ๑
มหากุศลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
อภิญญาจิต ๒

๕. จิตตชรูปในการพูด
จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการพูด คือ การเปล่งวาจาต่าง ๆ ได้แก่ จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)

๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถน้อยใหญ่
จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ คือ จิตที่ทำให้เกิด การยืน เดิน นั่ง นอน ได้แก่จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)

๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น
จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น คือ จิตที่ทำให้เกิดการยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่) ที่เกิดขึ้นตามปกติขณะที่สบายดี ไม่มีอาการเจ็บไข้ ได้แก่จิต ๕๘ ดวง คือ
.มโนทวาราวัชชจิต ๑
๒.กามชวน ๒๙ (คืออกุศล ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ )
๓.อภิญญาจิต ๒
๔.อัปปนาชวนจิต ๒๖ (คือ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ )




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น