วันอาทิตย์

๓. ลักษณะ ๓

การพิจารณาในปรมัตถ์ธรรมคือ รูปและนาม ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจในเรื่องของเครื่องหมายคือลักษณะของรูปขันธ์และนามขันธ์ เพื่อจะได้เข้าใจลักษณะของรูปนามได้อย่างถูกต้อง เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้วจะตัดสินได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารธรรมทั้งสิ้น คือ ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ลักษณะ ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 

๑. อนิจจัง 

อนิจจัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่ไม่เที่ยง คือความสิ้นไป ดับไปสภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต ตลอดจนรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้นเราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาพธรรมเหล่านี้ก็มีอาการที่เป็นเครื่องหมายของความเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว อาการที่เป็นเครื่องหมายนี้นั่นเอง เรียกว่า อนิจจัง 

๒. ทุกขัง 

ทุกขัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘  ลักษณะ ๓ จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตและรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงความที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับไป อาการที่เป็นเครื่องหมายของความทนอยู่ไม่ต้องดับไปสิ้นไป อาการที่เป็นเครื่องหมายนี้นั่นเอง เรียกว่า ทุกขัง 



๓. อนัตตา 

อนัตตา คือ เครื่องหมายของธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่ตัวตน ได้แก่ ความไม่มีแก่นสาร ปราศจาก เรา-เขา ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพานและบัญญัติ 

จิตเจตสิกและรูปที่เรารู้จักลักษณะโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์แล้ว ก็ยังต้อง
ศึกษาต้องไปอีกว่าทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็มีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงความไม่มีแก่นสารสาระบังคับบัญชาไม่ได้ เรียกว่า อนัตตา อาการที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นอนัตตา มีอยู่ในสภาพธรรมทั้งหมด รวมถึงพระนิพพานและบัญญัติด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น