วันจันทร์

ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ

ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ
ในการที่จะพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ นี้ ท่านแบ่งออก เป็น ๔ อย่าง เรียกว่า ปัจจเวกขณะ ๔

๑. ธาตุปัจจเวกขณ์ ให้พิจารณาเห็นสักว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ให้พิจารณาเมื่อได้รับจตุปัจจัยอัน ใดอันหนึ่ง ได้แก่ “ยถาปจจย์ ฯลฯ สุญโญ” ให้พิจารณา เห็นโดยสักว่าธาตุ อันนี้เรียกว่า ธาตุปัจจเวกขณ์

๒. พิจารณาก่อนแต่กาลบริโภค ให้เห็นว่าเป็นของจึงเกลียดโดย🔎ปฏิกูลกรรมฐาน ได้แก่ “สพุพานิ ปน อิมานิ หรือ สพโพ ปนายํ ฯลฯ ชายนุติ หรือ ชายติ” ดังนี้ เรียกว่า ปฏิกูลปัจจเวกขณ์

๓. ในขณะจะบริโภคให้พิจารณาในส่วน “ตงขณิก ปจจเวกขณ์” ได้แก่ “ปฏิสงฺขา โยนิโส” ทั้ง ๔ บทแล้วแต่ปัจจัยที่บริโภค นี้เรียกว่า ตังขณิกปัจจเวกขณ์

๔. ในส่วนอดีตปัจจเวกขณ์ ได้แก่ “อชุช มยา” ฯลฯ เป็นส่วนที่ทรงอนุญาตให้ไว้ เพื่อความหลงลืมในเวลารับเวลาบริโภค ความว่า เมื่อภิกษุได้รับหรือบริโภคปัจจัยทั้ง ๔ มิได้พิจารณาในธาตุปัจจเวกขณ์ หรือ ปฏิกูลปัจจเวกขณ์ แลตั้งขณิกปัจจเวกขณ์ แล้วภายหลังกำหนดในวันเดียวเท่านั้น อย่าให้ทันอรุณใหม่ขึ้นมาก็ให้ พิจารณาในอดีตปัจจเวกขณ์ต่อไป ถ้าไม่ได้พิจารณาใน อดีตปัจจเวกขณ์ในวันนั้น ชื่อว่าอิณบริโภค คือการ 🔎บริโภคประกอบด้วยหนี้ในวันนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุอย่าพึงประมาทปล่อยสติในการพิจารณานี้เสียเลย รวมเป็นปัจจเวกขณ์ ๔ ประการ

ในปัจจัยสันนิสสตศีลที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ พิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ โดยปัจจุกเวกขณวิธีทั้ง ๔ ประการนี้ เพื่อจะได้ละกิเลสอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันกองอยู่ ในสันดานให้ระงับ ห่างไกลจากความกำหนัดยินดีใน วัตถุกามแลกิเลสกามเป็นต้น ให้ภิกษุทำความศึกษาในปัจจเวกขณทั้ง ๔ ในพระบาลีและเนื้อความให้เข้าใจ ชัดเจน อย่าให้เป็นสักแต่ว่าตามบาลี ให้ตั้งใจหยั่งปัญญา ลงพิจารณาให้เห็นโดยจริงด้วย จึงจะเป็นเครื่องชำระ อาสวะเครื่องหมักดองในสันดานได้

จบปัจจเวกขณวิธีเท่านี้

สมณวิสัย

🔅 อินทรียสังวรศีล
🔅 อาชีวปรสุทธิศีล
🔅 ปัจจัยสันนิสสิตศีล
🔅 ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ
🔅 ถุลลัจจัย
🔅 ทุกกฏ
🔅 ทุพภาสิต
🔅 กาลิกบัพพ์
🔅 พินทุ, อธิษฐาน, วิกัป, ปัจจุทธรณ์
🔅 คำแสดงอาบัติ
🔅ข้อปฎิบัติของภิกษุที่ต้องทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น