แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปกิณกะธรรม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปกิณกะธรรม แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์

ญาณทัสสนะ วน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการ พระญาณก่อนการตรัสรู้

"ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น"



ญาณทัสสนะ วน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการ คืออะไร?

"ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒" คือความหยั่งรู้ที่บังเกิดขี้นแก่พระองค์นั้นเป็นญาณที่บังเกิดขึ้นในธรรมที่มิได้เคยสดับแล้วมาก่อน ก็คืออริยสัจทั้ง ๔ ประกอบด้วย
๑. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
๒. ทุกขสมุทัย ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. ทุกขนิโรธ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้

เรียกกันว่าอริยสัจ ก็เรียกตามพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ในปฐมเทศนา คือเทศนาทีแรกของพระองค์ที่ตรัสว่าพระตถาคตคือพระองค์ได้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ทางกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบพัวพ้นอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม และทางอัตตกิลมถานุโยค ทางทรมานตนให้ลำบาก ได้ทรงปฏิบัติอยู่ในทางอันเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ไม่เกี่ยวข้องด้วยทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั้น ก็คือมรรคมีองค์ ๘ มี สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นที่สุด จึงได้ทรงเกิดญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรค หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

🙏 สัจจญาณ
สัจจญาณคือหยั่งรู้ว่าจริง คือนี้เป็นทุกข์จริง นี้เป็นทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์จริง นี้เป็นทุกขนิโรธคือความดับทุกข์จริง นี้เป็นมรรคคือทางดับทุกข์จริง

ข้อที่ว่านี้เป็นทุกข์จริงก็คือว่า
ความเกิด เป็นทุกข์จริง
ความแก่ เป็นทุกข์จริง
ความตาย เป็นทุกข์จริง
ความโศกคือความแห้งใจ เป็นทุกข์จริง
ความปริเทวะคือความรัญจวนคร่ำครวญใจ เป็นทุกข์จริง
ทุกขะคือความไม่สบายกาย เป็นทุกข์จริง
โทมนัสสะคือความไม่สบายใจ เป็นทุกข์จริง
อุปายาสะความคับแค้นใจ เป็นทุกข์จริง
ความประจวบกับสิ่งคือสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารที่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความปรารถนามิได้สมหวังเป็นทุกข์จริง

กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ คือ
รูปขันธ์ กองรูป เป็นทุกข์จริง
เวทนาขันธ์ กองเวทนา เป็นทุกข์จริง
สัญญาขันธ์ กองสัญญา เป็นทุกข์จริง
สังขารขันธฺ กองสังขาร เป็นทุกข์จริง
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เป็นทุกข์จริง

ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์นั้นก็คือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อันประกอบด้วย
นันทิคือความเพลิน
ราคะคือความติดในยินดี เพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆจำแนกออกเป็น

กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ปรารถนาพอใจ
ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่
วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในความไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง

ดับตัณหาเสียได้ทุกข์ดับไปหมด นี้เป็นความดับทุกข์จริง
มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบดังกล่าวเป็นต้นนั้น มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จริง

พระญาณคือความหยั่งรู้ว่า นี้เป็นทุกข์จริง นี้เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง นี้เป็นความดับทุกข์จริง นี้เป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จริง นี้เป็นสัจจญาณ นี่ก็วนไปในสัจจะทั้ง ๔ รอบหนึ่ง

🙏 กิจจญาณ
กิจจญาณ คือความหยั่งรู้ในกิจคือข้อที่พึงกระทำได้เกิดพระญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นว่า
ทุกข์เป็นข้อที่พึงกำหนดรู้อันเรียกว่าปริญญา
สมุทัยเป็นข้อที่ควรละอันเรียกว่าปหานะ
ความดับทุกข์เป็นข้อที่พึงกระทำให้แจ้งอันเรียกว่าสัจฉิกรณะ
มรรคคือข้อที่ควรอบรมปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นอันเรียกว่าภาวนา
นี้เป็นกิจที่พึงกระทำในสัจจะทั้ง ๔ เรียกว่ากิจจญาณ

🙏  กตญาณ
กตญาณ คือความหยั่งรู้กิจทั้ง ๔ นั้นว่าได้กระทำแล้ว คือว่า
ทุกข์นั้นพระองค์ก็ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
สมุทัยคือตัณหาพระองค์ก็ทรงละได้แล้ว
นิโรธคือความดับทุกข์พระองค์ก็ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
มรรคพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติทำให้มีให้เป็นขึ้นครบถ้วนแล้ว
เรียกว่ากตญาณ ญาณคือความหยั่งรู้ว่ากิจได้กระทำเสร็จแล้ว

เพราะฉะนั้น พระญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเข้าก็เป็นอาการ ๑๒ จึงเรียกว่ามีวนรอบ ๓ อาการ ๑๒ พระญาณนี้หมดจดในอริยสัจทั้ง ๔ สมบูรณ์  จึงได้ทรงปฏิญญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้อภิสัมโพธิคือความตรัสรู้ยิ่งเป็นยอดเยี่ยมแล้ว พระองค์สิ้นชาติแล้ว พรหมจรรย์พระองค์ได้อยู่จบแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงกระทำเพื่อที่จะเป็นอย่างนี้อีก

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร





วันเสาร์

สมสีสีบุคคล

สมสีสีบุคคล คือบุคคล เมื่อคราวบรรลุอรหัตตมรรค ความสิ้นอาสวะ และ ความสิ้นชีวิต จะเป็นไปในคราวเดียวกัน เหตุเพราะศรีษะทั้งสองประเภท คือ อวิชชาในอกุศลจิตร อันเป็นกิเลสศรีษะ และ ชีวิตินทรีย์ในจุติจิตร อันเป็น ปวัตตศรีษะ ถึงความเสื่อมสิ้นกำลังไปพร้อมๆกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันเลย คือ ในขณะที่บรรลุอรหัตตมรรนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่ออรหัตตมรรคญาณ อรหัตตผลญาณ และอรหัตตปัจเวกขณะญาณสิ้นสุดลงตามลำดับแล้ว จิตรก็ลงสู่ภวังค์ถัดไปจุติจิตรก็ปรากฏขึ้น แต่เพราะความสูญสิ้นกำลังของชีวิตินทรีย์ในจุติจิตรนั่นเอง เป็นเหตุให้ปฏิสนธิจิตรเกิดขึ้นไม่ได้พระอรหันต์จึงสิ้นภพสิ้นชาติได้ก็ด้วยประการฉะนี้แล

การสิ้นภพสิ้นชาติแบบสมสีสี มี 3 ประเภทคือ
๑. อริยาปถสมสีสี ที่ใช้อิริยาบถสี่ เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๒. โรคสมสีสี ที่ใช้โรค(เวทนา)ที่รุมเร้าอยู่เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๓. ชีวิตสมสีสี ใช้อารมณ์(อื่นจากอิริยาบถและโรค) ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ เช่น บาดแผลที่เกิดจากการเชือดคอเป็นต้น


เพื่อความเข้าใจประเภทอารมณ์ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ได้ถูกต้องชัดเจน คัมภีร์นิสสยอักษรล้านช้างจึงนำตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงทราบว่าหมู่ภิกษุ ๖๐ รูปในอตีตชาติ ร่วมกันเป็นพรานฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ กรรมนั้นตามมาทันในชาตินี้ คือต้องถูกฆ่าตายแล้วก็ต้องเสวยกรรมนั้นในนรก จึงทรงแนะนำให้เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ด้วยวิบากกรรมที่รุนแรง แทนที่จะเบื่อหน่ายด้วยปัญญากลับเบื่อหน่ายด้วยโทสะ รุนแรงถึงกับยับยั้งไม่อยู่ จึงฆ่าซึ่งกันและกันบ้าง ร้องขอหรือจ้างวานด้วยของใช้สอยบ้าง เป็นความเบื่อหน่ายที่รุนแรงด้วยโทสะก็จริงแต่ก็ไม่ได้อาศัยเรือน(กาม) จึงไม่มีกำลังส่งผลนำไปปฏิสนธิในนรกภูมิได้ การที่พระพุธทองค์ทรงพระกรุณาแนะนำมรณานุสติกรรมฐานให้แก่หมู่พระภิกษุเหล่านี้ก็เพื่อกันไม่ให้พวกพระภิกษุเหล่านั้นตกนรกได้ ก็ด้วยอารมณ์เช่นนี้นั่นเอง ส่วนตัวอย่างที่เบื่อหน่ายปัญจขันธ์รุนแรงด้วยปัญญาก็ เช่น พวกโจรใช้เถาหัวด้วน มัดพระเถระรูปหนึ่ง ให้นอนอยู่ที่ตัมพปัณณิทวีป เมื่อไฟป่าลามมาถึง
เพราะความเบื่อหน่ายเห็นโทษการมีปัญจขันธ์อย่างรุนแรง และเห็นคุณของปาติโมกขสังวรศีลอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ย่อมตัดเถาวัลย์ เจริญวิปัสสนา เป็นชีวิตสมสีสี ปรินิพพาน (วิสุทธิมรรค ปาติโมกขสังวรศีล)



วันจันทร์

สถานการณ์พุทธศาสนาจากอินเดียสู่เอเซีย



หัวข้อ มองสงครามอเมริกา-ตาลีบัน ผ่านภูมิหลังชมพูทวีป
ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔


หัวข้อ ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย


หัวข้อ มาลายูสู่แหลมทอง


หัวข้อ 
ศูนย์พุทธโลก
ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓


วันอาทิตย์

กายทุจริต ๓

เป็นการทำความชั่วทำความผิดทางกาย คือด้วยการกระทำของกาย จัดเป็นบาปมิใช่บุญ ก่อทุกข์โทษให้ทั้งในปัจจุบันและภพชาติต่อไป ประกอบด้วย

๑. ปาณาติบาต ปาณาติบาต คือ เจตนาทำให้ สิ่งมีชีวิตตกไปโดยเร็ว คือ ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ ซึ่งโดยปกติธรรมดาแล้ว สัตว์มีลักษณะค่อยๆตกไป คือ ตายไปเองตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ยอมให้เป็นไปตามปกติอย่างนั้น กลับทำให้ตกไปอย่างเร็ว ด้วยการฆ่า ฉะนั้น กรรมที่ได้ชื่อว่าปาณาติบาตก็คือเจตนาฆ่า  

องค์ประกอบของปาณาติบาต มี ๕ ประการ 
๑. สัตว์มีชีวิต 
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 
๓. มีจิตคิดจะฆ่า 
๔. เพียรพยายามเพื่อฆ่า 
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น
 
การฆ่าสัตว์ที่ครบ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นการทำบาปที่ครบองค์ปาณาติบาต การทำให้ชีวิตของบุคคลอื่นและสัตว์อื่นสูญสิ้นไป ถือเป็นบาปทั้งสิ้น ผู้ที่เคยฆ่าสัตว์ เมื่อใกล้จะตายถ้าคิดถึงบาปนั้น ผลของบาปก็จะนำให้ไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าบาปนี้ไม่มีกำลังส่งผลตอนนำไปเกิด ก็จะสามารถส่งผลได้ตอนหลังจากเกิดแล้วโดยส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี มีการเห็นไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี เป็นต้น 

อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ สำเร็จได้เพราะเจตนาที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ คือ 
โลภมูลจิต ๘ 
โทสมูลจิต ๒ 
โมหมูลจิต ๒ 
อกุศลกรรมนี้เมื่อส่งผลจะ สามารถส่งผลได้ ๒ กาล คือ 
๑. ส่งผลนำไปเกิด (ปฏิสนธิกาล) จะนำไปเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
๒. ส่งผลขณะดำรงชีวิตหลังจากเกิดแล้ว (ปวัตติกาล) คือส่งผลให้ 
๑. ได้เห็น 
๒ . ได้ยิน 
๓ . ได้กลิ่น 
๔ . ได้ลิ้มรส 
๕ . ได้รับสัมผัส 
๖ . ได้รับอารมณ์ 
๗ . พิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี 
กล่าวคือจะส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี ๗ ประการนี้เป็นพื้นฐาน และภายหลังจากไปรับทุกข์โทษ ในอบายภูมิมาแล้ว เศษกรรมที่เหลือจะตามส่งผลในด้านอื่นๆ อีก มากมาย เช่น ถ้าฆ่าสัตว์ วิบากกรรมที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ ถูก ฆ่า ถูกทำร้าย เป็นต้น 

เกณฑ์ตัดสินการฆ่าว่ามีบาปมากหรือน้อย

บาปมาก
๑. ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น วัว ควาย
๒. ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา
๓. ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก
บาปน้อย
๑. ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ริ้น ไร
๒. ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย
๓. ใช้ความ พยายามในการฆ่าน้อย


ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ  
๑. ฆ่าด้วยตนเอง 
๒. ใช้คนอื่นฆ่า 
๓. ปล่อยอาวุธ
๔. ใช้ศาสตราต่างๆ เช่น มีด ปืน ฯลฯ หรือ ขุดหลุมพราง 
๕. ใช้วิชาอาคม หรือไสยศาสตร์ต่าง ๆ 
๖. ใช้ฤทธิ์  

ผลของปาณาติบาต 
ส่งผลในปฏิสนธิกาล คือ ส่งผลนำไปเกิด การทำบาปที่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง ๕ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้ากรรมคือ การฆ่านี้ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล 

การส่งผลในปวัตติกาล คือ ส่งผลหลังจากเกิดแล้ว คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รับสัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี และเศษกรรมยังส่งผลทำให้อายุสั้น ซึ่งอกุศลกรรมจะตามมาส่งผลได้ตั้งแต่เกิดอยู่ท้องมารดา ทำให้ได้รับอันตราย ได้รับความวิบัติต่างๆ มารดาบิดาก็มักมีแต่โรคภัยไข้เจ็บก็ส่งผลให้บุตรที่อยู่ในครรภ์ไม่ได้รับอาหารจากมารดาเท่าที่ควร ทำให้อ่อนแอมาตั้งแต่แรกเกิดก็ได้ หรือ ในเวลานั้นอาจส่งผลทำให้โภคทรัพย์ของบิดามารดาพินาศ ของกิน ของใช้ เครื่องนุ่งห่ม ขาดแคลน ทำให้การบริหารครรภ์ไม่ดี ทารกก็ขาดความสมบูรณ์ อาจจะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และหรือเมื่อคลอดแล้วอาหารการกินไม่สมบูรณ์ ทารกย่อมอ่อนแอ และทำให้มีอายุสั้นได้ เพราะผลแห่งการฆ่าสัตว์นั้นติดตามมาส่งผลบีบคั้นให้ย่อยยับไปตามวาระ ตามโอกาส และหรือส่งผลทำให้ถูกฆ่า ถูกทำร้าย 

ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นคนมีอายุยืน คือ เจตนากรรมที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จะส่งผลนำไปเกิดในเทวโลกได้ แต่หากว่าพลาดโอกาสนี้ไป บุคคลนั้นไปเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลให้ในปวัตติกาล คือ หลังจากที่บุคคลนั้นปฏิสนธิแล้ว ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของมารดาก็ส่งผลนำความสุขมาให้ เช่น ตั้งแต่เกิดอยู่ในท้องมารดา ทั้งมารดาทั้งบิดาก็มีแต่ความสุขสำราญ อันตรายใดๆ ที่ปกติมีอยู่ก็ไม่เกิดขึ้น ทรัพย์ทั้งหลายก็มั่งคั่ง ไม่มีความขัดสน คนแวดล้อมทั้งหลาย มีทาสกรรมกรเป็นต้น ก็เป็นคนว่าง่าย ไม่หลีกเลี่ยงการงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ได้รับการบริหารครรภ์ที่ดี ร่างกายมีกำลังแข็งแรงมาตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อคลอดก็ได้หมอดี คลอดแล้วก็ได้อาหาร ได้ยาที่ดี คลอดแล้วก็เป็นที่ชื่นชมยินดีแก่คนทั้งหลายในตระกูลเพราะได้เห็นเขาเป็นเด็กแข็งแรง ทรวดทรงงดงามไม่พิการ นี้คือผลของการมีเจตนางดเว้นจากการฆ่า 

ถ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่เบียดเบียนสัตว์ด้วยอาวุธ ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยการกักขังทรมานต่างๆ เป็นต้น เช่นนี้ไม่เป็นปาณาติบาต แต่การกระทำนี้ เป็นบาปอกุศลกรรม ถ้าส่งผลในปฏิสนธิกาล ก็ส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ เมื่อสิ้นกรรม จากอบาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นคนไม่แข็งแรงมีโรคภัยไข้เจ็บมาก มีอันตรายต่างๆ มีการทำให้ทรัพย์หมดไป เป็นต้น ฉะนั้นการที่จะไม่ต้องเป็นคนมีโรคภัยไข้เจ็บมากก็ต้องงดเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย 
 
๒. อทินนาทาน อทินนาทาน คือ การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้ให้ อทินนาทานจะสำเร็จลงได้ก็ด้วยมีเจตนาในการที่จะได้ครอบครอง สิ่งของที่มีผู้หวงแหนรักษา โดยการ ลัก ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก เบียดบัง สับเปลี่ยน ปลอมแปลง โจรกรรม เป็นต้น อนึ่ง การใช้อุบายหลอกลวงจนผู้อื่นรู้ไม่เท่าทัน จนต้องเสียผลประโยชน์ แม้ว่าผู้อื่นนั้นจะเห็นชอบยอมรับ แต่เมื่อเป็นไปด้วยเจตนาที่หลอกลวง ก็เป็นอทินนาทานด้วย 

มีเรื่องเล่าว่า นายพรานคนหนึ่งจับแม่เนื้อและลูกเนื้อได้ มีนักเลงคนหนึ่งถามนายพรานว่า “แม่เนื้อราคาเท่าไร ลูกเนื้อราคาเท่าไร” เขาตอบว่า “ แม่เนื้อราคา ๒ เหรียญ ลูกเนื้อราคา ๑ เหรียญ” เขาก็ให้ไป ๑ เหรียญ แล้วเอาลูกเนื้อมา เขาเดินไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับมาพูดว่า “ นายเอ๋ยฉันไม่ต้องการลูกเนื้อแล้วละ จงให้แม่เนื้อแก่ฉันเถิด” นายพรานจึงบอกว่า “ ถ้าอย่างนั้นจงให้ ๒ เหรียญซิ ” นักเลงจึงกล่าวว่า “ ทีแรกฉันได้ให้ท่านไว้ ๑ เหรียญแล้วมิใช่หรือ” นายพรานก็ยอมรับว่า “ ใช่ ให้ไว้ ๑ เหรียญ แล้ว” นักเลงจึงบอกว่า “ จงรับลูกเนื้อคืนไป ลูกเนื้อตัวนี้ราคา ๑ เหรียญ และเคยให้ไว้แล้ว ๑ เหรียญ รวมกันเข้าก็เป็น ๒ เหรียญ” นายพรานได้ยินก็เข้าใจว่าเขาพูดมีเหตุผล จึงยอมรับเอาลูกเนื้อนั้นมา แล้วให้แม่เนื้อไป เป็นอันว่านักเลงผู้นั้นได้แม่เนื้อไปโดยเสียเงินซื้อเพียง ๑ เหรียญ การยอมรับตกลงด้วยไม่ใช่ เหตุของการป้องกันไม่ให้เป็นอทินนาทาน นายพรานยอมตกลงด้วยเพราะรู้ไม่เท่าทันเจตนาเล่ห์เหลี่ยมของนักเลง

ส่วนการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหนโดยไม่มีเจตนาที่จะลักเอามา แต่ถือเอาด้วยวิสาสะ ความคุ้นเคยสนิทสนม คือว่าหยิบฉวยเอาของผู้อื่นไปบริโภคใช้สอย เพราะเห็นว่าผู้นั้นเป็นคนคุ้นเคย เป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน อย่างนี้ไม่จัดเป็นอทินนาทาน

วิสาสะ คือ ความคุ้นเคย มี ๕ คือ
๑. เคยเห็นกันมา
๒. เคยคบหากันมา 
๓. เคยบอกอนุญาต
๔. ผู้ที่ตนมีวิสาสะด้วยยังมีชีวิตอยู่
๕. ผู้ที่ตนจะมีวิสาสะด้วยยินดียอมรับ

องค์ประกอบของการลักทรัพย์ มี ๕ ประการ คือ 
๑. วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๒. รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์ 
๔. เพียรพยายามเพื่อลักทรัพย์
๕. ได้สิ่งของที่พยายามลักนั้นมา  

เกณฑ์ตัดสินอทินนาทาน ว่าบาปมากหรือน้อย โดยถือเอาเจ้าของทรัพย์เป็นเกณฑ์
   
นัยที่๑ เจ้าของทรัพย์ คือ (จากน้อยไปมาก)
๑. ฆราวาส
๒. พระภิกษุ หรือ สามเณร  ๑ รูป
๓. พระภิกษุ หรือ สามเณร ๒-๓ รูป
๔. พระภิกษุ หรือ สามเณร ๔ รูปขึ้นไป
นัยที่ ๒ เจ้าของทรัพย์ คือ (จากน้อยไปมาก)
๑. ปุถุชน
๒. พระโสดาบัน
๓. พระสกทาคามี
๔. พระอนาคามี
๕. พระอรหันต์

 

ความพยายามในการลักทรัพย์ ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. ใช้ผู้อื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนเป็นหนังสือ
๓. ทิ้งหรือโยนทรัพย์ออกไปนอกเขตเพื่อให้พวกเดียวกันรับต่อ
๔. สั่งพรรคพวกเมื่อมีโอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา
๕. ใช้เวทย์มนต์คาถาทำให้หลงใหลแล้วลักทรัพย์
๖. ใช้ฤทธิ์ในการลักทรัพย์ ผลของการลักทรัพย์

การส่งผลในปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด) การส่งผลในปวัตติกาล (หลังจากเกิดแล้ว)
การทำบาปที่ครบ องค์ประกอบทั้ง ๕ จัดเป็น อกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าอทินนาทานนี้ส่งผล จะนำเกิดในอบายภูมิ เป็นการ ส่งผลในปฏิสนธิกาล(คือ นำไปเกิด) กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อบุคคลพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลอีก ทำให้ เป็นคนยากจน ถ้ามีทรัพย์ก็จะพินาศเพราะ โจร น้ำ ไฟ พายุ ถูกทางการริบทรัพย์ ต้องสูญเสียทรัพย์  

๓. กาเมสุมิจฉาจาร กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม หมายถึงการประพฤติชั่ว ที่คนดีทั้งหลายรังเกียจและติเตียน คำว่า “ กาม” หมายถึงเมถุนธรรม เป็นการกระทำของคนคู่หญิงกับชาย ด้วย ความกำหนัด คือการร่วมประเวณี การประพฤติร่วมประเวณีที่ผิดศีลก็มีองค์ประกอบ ๔  

องค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม ๔ ประการ คือ
๑. มีวัตถุที่ไม่ควรเสพ ได้แก่ หญิง ๒๐ จำพวก
๒. มีจิตคิดจะส้องเสพในวัตถุอันไม่ควรนั้น
๓. มีความพยายามในการส้องเสพ
๔. มีการทำมรรคให้จรดถึงกัน มรรคในที่นี้หมายถึงอวัยวะเพศ คือ ทำอวัยวะเพศให้จรดถึงกัน เนื่องจากเป็นการกระทำของคนคู่ จึงแสดงสิ่งที่เป็นวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก ไว้เป็นลำดับแรก การร่วมประเวณีจะสำเร็จได้ก็เพราะฝ่ายชาย ไม่ใช่ฝ่ายหญิง เพราะเหตุนี้ฝ่ายชายจึงมีโอกาสทำผิดศีลข้อ ๓ นี้ได้ง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงวาง องค์แห่งการวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายชายไว้ก่อนว่าวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง ได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก หลังจากนั้นจึงจะวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายหญิง ต่อไปได้ 
 
หญิง ๒๐ จำพวกที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้อง มีดังนี้
หญิงที่ยังไม่มีสามี มี ๑๐ จำพวก คือ
๑. หญิงที่มีมารดารักษา คือมีมารดา ปกครองดูแล
๒. หญิงที่มีบิดารักษา คือมีบิดา ปกครองดูแล
๓. หญิงที่มีทั้งมารดาทั้งบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่น้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่น้องหญิงรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตรคือวงศ์สกุลรักษา
๘. หญิงที่ธรรมรักษา (หญิงที่บวช ประพฤติธรรม)
๙. หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว
๑๐. หญิงที่มีกฎหมายรักษา

หญิงที่มีสามีแล้ว มี ๑๐ จำพวก คือ 
๑. หญิงที่เขาใช้ทรัพย์ซื้อมาเพื่อเป็นภรรยา
๒. หญิงที่อยู่เป็นภรรยากับชายที่ตนมีความพอใจ
๓. หญิงที่อยู่กับชายเพราะทรัพย์เป็นเหตุ (เช่น ยอมเป็นภรรยาเพื่อปลดหนี้ เป็นต้น) 
๔. หญิงที่อยู่กับชายเพราะผ้าเป็นเหตุ (คือ ยอมเป็นภรรยาเพราะเห็น แก่ผ้า เครื่องประดับ ยานพาหนะ ที่พึง ได้รับ เป็นต้น) 
๕. หญิงที่ญาติทั้ง ๒ ฝ่ายกำหนดให้ จุ่มมือลงไปใน ภาชนะใส่น้ำ แล้วสัญญาว่าจะ อยู่ด้วยกัน
๖. หญิงที่ชายปลดปล่อยจากความ เป็นทาสแล้ว แต่งตั้งให้เป็นภรรยา
๗. หญิงที่เป็นทั้งทาสทั้งภรรยา
๘. หญิงที่เป็นทั้งคนรับจ้างทำงานอยู่ในเรือน เป็นทั้งภรรยาด้วย
๙. หญิงเชลย
๑๐. หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วคราว

การที่ฝ่ายชายจะผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารพิจารณาดังนี้ คือ
ชายไปเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กับหญิงทั้ง ๒๐ จำพวกนี้ ชายนั้นได้ชื่อว่าประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร กล่าวคือในกลุ่มหญิงที่ยังไม่มีสามีลำดับที่ ๑-๘ ถ้าชายไปเกี่ยวข้องด้วยโดยที่ผู้ปกครองของหญิงไม่ยินยอมด้วย กรณีนี้ฝ่ายชายเท่านั้นที่ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ฝ่ายหญิงไม่ผิด และสำหรับหญิงที่ยังไม่มีสามีในลำดับที่ ๙ หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว ๑๐. หญิงที่มีกฎหมายรักษา ทั้ง ๒ นี้ ถ้าชายอื่นที่ไม่ได้เป็นคู้หมั่น เป็นต้น ล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อ กาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่  

ลำดับต่อมา คือ หญิงที่มีสามีแล้ว ได้แก่หญิง ๑๐ จำพวกหลัง ถ้าชายอื่นที่ไม่ใช่สามีเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่ ในปัจจุบันนี้หญิงบางจำพวกไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว เช่น หญิงเชลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าหญิงที่เหลือจะมีกี่จำพวกก็ตาม ก็สามารถย่อเหลือ ๒ จำพวก คือ
๑. หญิงที่มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล
๒. หญิงที่มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส 
 
หญิงจำพวกที่ ๑ มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล ได้แก่ หญิงที่มี มารดารักษา เป็นต้น อาจจะเป็นหญิงที่เป็นบุตรสาว หลานสาว ที่อยู่ในความปกครองของมารดา บิดา พี่น้อง ญาติ และหญิงที่อยู่ในความดูแลของสำนัก นักบวช เป็นการดูแลให้การเลี้ยงดูให้เติบโต อบรมสั่งสอน ส่งเสริมให้ได้รับความรู้เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสัมผัส คือไม่ได้ถือสิทธิในการจะเสพกามสุขที่เกิดจากการได้สัมผัส ชายที่ละเมิดล่วงเกินเกี่ยวกับการร่วมประเวณีในหญิงเหล่านี้ ย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ แต่สำหรับฝ่ายหญิงถ้ายินยอม พร้อมใจด้วยก็ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เพราะว่า หญิงนั้นมีผู้ดูแลก็จริง แต่ไม่ใช่มีเจ้าของสัมผัส หญิงจำพวกนี้มีสิทธิที่จะมอบสัมผัสนั้นแก่ชายใดก็ได้ ฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่าทำผิด

สรุปว่า
ถ้าชายไปล่วงเกิน ชายนั้นก็ผิดศีลฝ่ายเดียว หญิงจำพวกที่ ๒ มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส ได้แก่ หญิงที่เป็นภรรยาทั้งหลาย และหญิงที่มีคู่หมั้นด้วย หญิงที่เป็นภรรยาก็มีสามีของตนเป็นเจ้าของสัมผัส ส่วนหญิงที่มีคู่หมั้นแล้วก็เท่ากับยอมรับความจะเป็นภรรยาเขา ถ้าชายอื่นใดละเมิดในหญิงเหล่านี้ ชายนั้นก็ชื่อว่ากระทำกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนฝ่ายหญิงถ้ามีความยินยอมพร้อมใจ ก็ชื่อว่าทำกรรมชั่ว ข้อนี้ร่วมกัน เพราะว่ามอบสมบัติคือสัมผัสอันผู้เป็นเจ้าของคือสามีของตน เท่านั้นถือสิทธิอยู่ ให้แก่ชายอื่น สรุปว่า ผิดทั้งคู่  

ผลของกาเมสุมิจฉาจาร
การส่งผลในปฏิสนธิกาล การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จัดเป็น อกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าการประพฤติผิดในกามเช่น นี้ส่งผลเมื่อสิ้นชีวิตจะ นำไปเกิดในอบายภูมิ
การส่งผลในปวัตติกาล ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลได้อีก กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นการกระทำของคนขลาด ลักลอบ ทำอย่างปิดบัง หลบๆ ซ่อนๆ นี้เองจึงส่งผลให้เป็นผู้ที่ไม่องอาจผ่าเผย มีจิตใจไม่อาจหาญ และสามารถส่งผลให้เกิดมาเป็นหญิง เป็นกะเทย เป็นคนวิปริตผิดเพศ  

การงดเว้นบาปอกุศลข้อกาเมสุมิจฉาจารได้ ผลบุญก็ย่อมปรากฏ คือ เป็นผู้มีกำลังใจอาจหาญ กล้าแข็ง ชนะใจตนเองได้อยู่เสมอ และเพราะเหตุที่ ละเว้นจากการกระทำผิดเกี่ยวกับทางเพศ เมื่อเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีเพศ อุดม คือเกิดเป็นบุรุษ เมื่อเป็นคนไม่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ก็แสดงว่าเป็นคนจิตใจประณีต สะอาด จึงเป็นเหตุให้เป็นคนมีความเฉียบแหลม ละเอียดอ่อน และเพราะไม่กระทำกรรมในที่ลับ จึงส่งผลทำให้เป็นผู้ที่มีความอาจหาญในท่ามกลางคนทั้งปวง ไม่ตกต่ำ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏได้ง่าย และ เพราะเหตุที่เป็นคนไม่มักมากในเมถุนโดยการเที่ยวแสวงหาหญิงอื่น เพราะ กลัวผิดศีลจะมัวหมองนั่นเอง หากมีคู่ครอง คู่ครองก็จะซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่นอกใจ เป็นต้น  




วันพุธ

W-Y-Z



W
wakefulness  ชาคริยานุโยค  
walking to and fro  จงกรม  
wander (v) จาริก  
wandering  การจาริก; สงสาร (เวียนว่ายตายเกิด) 
wandering ascetic; wanderer  ปริพาชก  
warrior  นักรบ, ขัตติยะ, ชนวรรณะกษัตริย์ 
watch  ยาม 
watchfulness  อารักขา; ชาคริยะ  
way   มรรค, ปฏิปทา  
weal  หิตสุข  
wealth  โภคะ, ธนะ  
welfare หิตสุข, ประโยชน์สุข  
Well-farer, the  พระสุคต  
well-spoken words  วาจาสุภาษิต  
wheel of becoming; wheel of life  ภวจักร
Wheel of the Law; Wheel of the Doctrine  ธรรมจักร  
wheel of rebirths  สังสารจักร  
wheel-turning monarch  พระเจ้าจักรพรรดิ
wholesome (adj) กุศล  
wholesome action  กุศลกรรม  
wicked (adj) บาป, ชั่ว  
wieldiness  กัมมัญญตา  
will  ฉันทะ, เจตนา  
wind  วาโย ดูvibration  
wisdom  ปัญญา  
wise man  บัณฑิต  
wish  ฉันทะ, อิจฉา (ความปรารถนา)  
withdrawal  อุพภาร, อุทธาร (การรื้อ, การถอน,  การเดาะ)  
woe  ทุกข์, อบาย  
wonder  ปาฏิหาริย์  
worldling  ปุถุชน  
worldly (adj) โลกิยะ, โลกีย, สามิส  
worldly conditions  โลกธรรม
worldly vicissitudes  โลกธรรม  
worry  กุกกุจจะ  
worthy one  พระอรหันต์  
wrath  โกธะ  
wrong conduct  ทุจริต  
wrong course  อคติ  
wrong speech, offence of อาบัติทุพภาสิต   
wrong time  วิกาล
wrongdoing  ทุกกฏ  
wrongness  มิจฉัตตะ  

Y
yearning  อาสา (ความหวัง, ใฝหา)  
years’ standing ดูstandingyellow robe  กาสาวพัสตร์  
yoke  โยคะ, ธุระ, ภาระ  

Z
zeal ฉันทะ, อัปปมาทะ 
zest  ปิติ 

T-U-V



T
tactile object    โผฏฐัพพะ  
taint    อาสวะ  
taking what is not given    อทินนาทาน 
tale-bearing    สุณวาจา, สุณาวาจา, เปสุญวาท   
talk  กถา taming    ทมะ  
tangible object    โผฏฐัพพารมณ์, โผฏฐัพพะ 
task    กิจ  
taste    รส  
teacher    อาจารย์  
teaching    เทศนา, ธรรม  
Teaching; Teachings, the    พระธรรม  
telepathy    เจโตปริยญาณ (เทียบ)  
temperament    จริต  
temperature    อุตุ  

Tempter, the    มาร  
term    บท  
test    วีมังสนะ  
tetrad    จตุกกะ (หมวดสี่)  
thanking    อนุโมทนา  
Theravada    เถรวาท (นิกายพระพุทธศาสนาดั้งเดิม ฝ่ายใต้ ปัจจุบัน คู่กับ มหายาน)  
things    ธัมมา, ธรรม  
thirst    ตัณหา, ปาสา 
thought    จิต, จิตตุบาท, สังกัปปิ, วิตักกะ 
thought-conception    วิตก  
tie    คันถะ  
tolerance    ขันติ  
tongue    ชิวหา  
torpor    มิทธะ  
touch    โผฏฐัพพะ  
town-monk    พระคามวาสี  
training rule    สิกขาบท  
training    สิกขา, ทมะ, ภาวนา  
Training, the Threefold    ไตรสิกขา  
Tranquillity Development    สมถภาวนา  
tranquillity    ปัสสัทธิ, สมถะ  
transcendental    โลกุตตระ  
transformation    วิปริณาม  
transgression    วีติกกมะ (การละเมิด)  
transience; transiency    อนิจจตา  
transient (adj)    อนิจจ์, อนิจจัง  
treasure    รัตนะ, นิธิ, ธนะ  
triad    ติกะ (หมวดสาม)  
Triple Gem, the    พระรัตนตรัย  
triplet    ติกะ (หมวดสาม)  
true doctrine    สัทธรรม  
true man    สัปบุรุษ, สัตบุรุษ  
truth    สัจจะ  
twin miracle; twin wonder    ยมกปาฏิหาริย์

U
ultimate sense; ultimate reality    ปรมัตถ์
uncertainty    วิจิกิจฉา  
uncompounded; unconditioned (adj)    อสังขตะ
unconscious mind    ภวังคจิต
unconscious state    ภวังค์  
undeclared    อัพยากตะ, อัพยากฤต  
underlying tendency    อนุสัย  
understanding    ปัญญา  
undertaking    สมาทาน   
undetermined offence    อนิยต
unification    เอกัคคตา  
uninstigated (adj)    อสังขาริก  
unity    สามัคคี, เอกัตตะ, เอกีภาพ  
unknowing    อัญญาณ  
unprofitable (adj)    อกุศล  
unprompted (adj)    อสังขาริก  
unrighteous greed    วิสมโลภ (= อภิชฌา) 
unskilful (adj)    อกุศล  

unskilful action    อกุศลกรรม  
unsurpassed (adj)    อนุตตระ  
unwholesome action    อกุศลกรรม  
unwholesome (adj)    อกุศล  
unworldly (adj)    นิรามิส  
urgency, sense of    สังเวคะ, สังเวช  
usage    โวหาร  
utterance    อุทาน, วจนะ  

V
vain talk    สัมผัปปลาปะ  
vanity    มทะ  
vegetable-growth    ภูตคาม  
Venerable    คําเรียกนําหน้าชื่อพระสงฆ์แสดงคารวะ นิยมใช้กับพระเถระหรือพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ (ย่อว่า Ven)  
veneration    คารวะ, นมะ, ปูชา  
verbal action    วจีกรรม  
verbal formation; verbal functions    วจีสังขาร 
verbal good conduct    วจีสุจริต  
verbal misconduct    วจีทุจริต  
verdict in the presence of    สัมมุขาวินัย  
verdict of innocence    สติวินัย  
verdict of past insanity    อมูฬหวินัย  
verification    สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ  
verse    คาถา  
Vesak    วิสาขบูชา (นิยมใช้ในลังกาและอินเดีย =  Visàkha Påjà)  
vibration, the element of    วาโยธาตุ  
vices of conduct    กรรมกิเลส  
view    ทิฏฐิ  
village-dweller    คามวาสี 
virtue and duty    สีลัพพตะ, ศีลและพรต 
visible for oneself (adj)    สันทิฏฐิกะ  
virtue, virtuous (adj)    ศีล, คุณธรรม
visible object; visual object    รูปารมณ์  
vision    ทัสสนะ 
vital formation    อายุสังขาร  
vitality    ชีวิตินทรีย์  
void; voidness    สุญญตา  
volition    เจตนา  
volitional activities    สังขาร  
voting-ticket    สลาก (สําหรับลงคะแนนเสียง)  

Q-R-S



Q
quadruped    สัตว์จตุบท  
quality    คุณ, ลักษณะ, องค์  
quarrel    กลหะ, วิวาท  
quarter    ทิศ (ทิสา)  
quest    เอสนา, คเวสนา, ปริเยสนา  
question    ปัญหา  
quiet    สมถะ

R
radiation    
เตโชธาตุ; การแผ่ (เมตตา บญกุศล ฯลฯ)  
rag-robe    บังสุกุลจีวร
rains-residence; rains-retreat    จําพรรษา, วัสสา วาสะ 
rapture    ปิติ  
reaching    ปัตติ (การบรรลุ)  
reality    ตถตา, ยถาภูตธรรม  
realization    สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ, อธิคม (การทํา ให้แจ้ง, การบรรลุ)  
reappearance    อุปบัติ  
reason    การณะ, โยนิ, วิมังสา  
rebirth    ปุนภพ, ชาติใหม่, การเกิดใหม่  
recipient    ปฏิคาหก, ลาภี  
recitation    การสาธยาย, การสวด v to recite recluse สมณะ  
recollection    อนุสติ  
reconciliation    ปฏิสาราณียกรรม  
reconnection    ปฏิสนธิ  
rectitude    อุชุกตา  
refectory    ภัตตัคคะ (โรงฉัน, หอฉัน)  
refraining    สังยมะ, สัญญมะ, เวรมณี  
refuge    สรณะ  
Refuge, the Threefold    ไตรสรณะ  
refuse-rag-robe    บังสุกุลจีวร 
registration    ตทารมณ์, ตทาลัมพนะ  
rehearsal    สังคีติ, สังคายนา  
reincarnation    อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)
relative; relation    ญาติ  
relaxation    ปัสสัทธิ  
release    วิโมกข์, วิมุตติ  
relics (of the Buddha)    พระธาตุ, พระสารีริกธาตุ 
relief    ภาพสลักนูน, รูปนูน  
relinking    ปฏิสนธิ  
remembrance of previous births    ปุพเพนิวาสา นุสสติญาณ 
remorse    วิปฏิสาร, กุกกุจจะ  
renouncing    ปริจจาคะ  
renown    กิตติ, กิตติศัพท์  
renunciation    เนกขัมมะ
reprover    โจทก์  
reproving    โจทนา
repugnance    ปฏิฆะ  
repulsion    ปฏิฆะ  
repulsive (adj)    ปฏิกูล  
requisite    บริขาร, ปัจจัย  
resentment    ปฏิฆะ  
resistance    ปฏิฆะ  
resolution    อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา 
resolve    อธิษฐาน, อธิมุติ  
resort    โคจร  
respect    คารวะ  
respectable person    ครุฐานียบุคคล  
restlessness    อุทธัจจะ, วิชัมภิตา  
restoration    โอสารณา; ปฏิสังขรณ์  
restraint of the senses    อินทรียสังวร  
restraint    สังวร, สังยมะ  
result    ผล, วิบาก  
retrocognition    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (เทียบ) 
reverence    อปจายนะ, คารวะ  
Reverend    คําเรียกนําหน้าชื่อพระสงฆ์แสดงคารวะ นิยมใช้กับพระสงฆ์ผ่ายมหายานหรือนักบวชในศาสนาอื่น
reverse order    ปฏิโลม  
review; reviewing    ปัจจเวกขณ์  
riches    โภคะ  
right (adj)    สัมมา  
Right Action    สัมมากัมมันตะ  
Right Concentration    สัมมาสมาธิ  
Right Deliverance    สัมมาวิมุตติ  
Right Effort    สัมมาวายามะ  
right endeavour    สัมมัปปธาน  
Right Knowledge    สัมมาญาณะ  
Right Livelihood    สัมมาอาชีวะ  
Right Speech    สัมมาวาจา  
right striving    สัมมัปปธาน  
Right Thought    สัมมาสังกัปปะ  
Right Understanding    สัมมาทิฏฐิ  
righteous (adj)    ธรรมิก, เป็นธรรม  
righteous man    สัปบุรุษ, สัตบุรุษ  
righteousness    ธรรม  
rightness    สัมมัตตะ  
rigidity, mental    ถัมภะ  
ripening    วิบาก  
risk    เวร  
rites and rituals    สีลัพพตะ  
rivalry    ปลาสะ, สารัมภะ  
road to power    อิทธิบาท 
robe    จีวร 
root    มูล  
root-cause    เหตุ  
round of rebirth; roundabout of births    สังสาร วัฏฏ์, วัฏฏสงสาร, สงสาร 
rug    สันถัต  
round    วัฏฏะ  
rules and rituals    สีลัพพตะ, ศีลและพรต
rule of training    สิกขาบท   
rumination    วิจาร 

S
sacrifice    ยัญ (พราหมณ์); จาคะ, ปริจจาคะ
safe (adj)    เขมะ, เกษม   
saffron robe    กาสาวพัสตร์  
sage    มุนี  
salvation    วิมุตติ  
sandals    อุปาหนา  
Sangha, the    สงฆ์, พระสงฆ์, คณะสงฆ์
sapid object    รสารมณ์ 
satisfaction    ปสาทะ, อัสสาทะ  
Saviour    พระมหาไถ่, พระผู้ไถ่บาป (คริสต์ = พระเยซู; เคยมีผู้นํามาใช้เลียนศัพท์แทน นาถะ บ้าง แต่บัดนี้ไม่ใช้กันแล้ว)  
savour    รส  
scepticism    วิจิกิจฉา  
schedule    มาติกา  
schism    สังฆเภท  
School    นิกาย (แห่งศาสนา)  
science    วิชชา  
scripture    คัมภีร์, คันถะ, ปกรณ์  
search of truth    ธัมมวิจยะ  
search; searching    เอสนา, ปริเยสนา (การแสวงหา)  
seat    อาสนะ  
seclusion    วิเวก  
sect    นิกาย  
section    วาระ, วรรค  
seeing    ทัสสนะ  
seer    อิสิ, ฤๅษี  
self    อัตตา, ตน, ตัวตน  
self-control    ทมะ, สัญญมะ  
self-direction, right disposition in    อัตตสัมมาปณิธิ  
self-illusion    สักกายทิฏฐิ 
selfishness    มัจฉริยะ  
self-knowledge    อัตตัญุตา  
self-mortification; self-torment    อตตกัลมถานิโยคุ  
self-possession    สัมปชัญญะ  
sensation    เวทนา
sense of shame    หิริ  
sense of urgency    สังเวคะ, ความสังเวช
sense-object    อายตนะ(ภายนอก)
sense-base    อายตนะ  
sense-field    อายตนะ  
sense-impression    ผัสสะ  
sense-organ    อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์
sense-pleasure    กาม   
sense-sphere    อายตนะ  
sensual craving    กามตัณหา  
sensual desire    กาม, กามฉันทะ  
sensual indulgence    กามสุขัลลิกานุโยค   
sensual lust    กามราคะ
sensual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร 
Sensual Plane    กามภูมิ  
sensual pleasure    กาม, กามสุข, กามคุณ  
Sensual Sphere    กามภพ 
sensuous craving    กามตัณหา  
sensuous sphere    กามภพ, กามโลก  
sentient being    สัตว์  
separate treatment    วิภังค์  
sequence    อนุสนธิ  
serene (adj)    สันตะ (ผู้สงบระงับ)  
series    สันตติ  
service    เวยยาวัจจะ  
setting in motion (setting rolling) the  Wheel of the Doctrine    ธัมมจักกัปปวัตตนะ 
setting-up of mindfulness    สติปัฏฐาน 
Seven-Times-at-Most Stream-Enterer    โสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ  
sexual intercourse    เมถุนธรรม  
sexual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร  
shame    หิริ, ลัชชา  
shameless (adj)    อลัชชี  
shelter    ตาณะ (ที่พํานัก, ที่ต้านทาน, ที่กันภัย)   
shoe    ปาทุกา
sign    นิมิต  
Signs of Being, the Three    ไตรลักษณ์ 
simile    อุปมา  
simplicity    อัปปิจฉตา, ความมักน้อย  
single-seed    เอกพีชี  
skilful action    กุศลกรรม  
skill    โกสัลละ, โกศล, ทักขะ, ทักษะ 
skilled; skilful (adj)    กุศล  
slander    ปิสุณวาจา, ปิสุณาวาจา, เปสุญวาท 
sloth    ถีนะ, ลีนตา  
smirching    มักขะ  
sociability    สมานัตตตา  
softness    มุทุตา; มัททวะ  
solid element    ปฐวีธาตุ  
solitude    วิเวก  
sorrow    โสกะ, โศก  
soul    อัตตา, อาตมัน, ชีวะ  
soulless (adj)    อนัตตา  
soullessness    อนัตตตา  
sound    สัททะ (เสียง)  
source    นิทาน (ไม่ใช่เรื่องเล่าเพื่อความสนุกสนานในภาษาไทย แต่หมายถึง เหตุ, ที่มา)  
space    อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ  
specific conditionality    อิทัปปัจจยตา  
specification    วิภาค  
speech    วาจา, วจี, ภาสิต, วจีวิญญัติ  
spite    อุปนาหะ  
spontaneously born creature    โอปปาติกะ 
stain    มละ, มลทิน  
standing (in the Order)    จํานวนพรรษา (ในภิกขุภาวะ หรือในเพศบรรพชิต)  
steadiness    ฐิติ  
stealing    อทินนาทาน  
Stilled One, the    พระมุนี  
stillness    โมไนย  
stinginess    มัจฉริยะ  
storing up    อุปจยะ  
straightness    อุชุกตา, อาชชวะ  
Stream-Enterer; Stream-Entrant; Stream Winner; Stream-Attainer    โสดาบัน   
Stream-Entry, fruition of    โสดาปัตติผล
Stream-Entry, path of    โสดาปัตติมรรค  
strength    พละ  
stress    ความเครียด, สารัทธภาวะ  
striving    ปธาน, วิริยะ  
stumbling block    อันตราย, อันตรายิกธรรม  
sublime states    พรหมวิหาร 
substitution of opposites    ตทังคะ  
substratum of rebirth    อุปธิ  
subtle (adj)    สุขุม  
success    อิทธิ, สัมปัตติ  
suffering    ทุกข์  
suitable (adj)    สัปปายะ, กัปปิิยะ, อนุรูป  
sunshade    ฉัตร (ร่ม)  
superknowledge    อภิญญา  
superme dwellings    พรหมวิหาร  
supermundane; supramundane (adj)    โลกุตตระ
supernormal power    อิทธิปาฏิหาริย์   
support    นิสสัย (ที่อาศัย); อุปถัมภ์  
suppression    วิกขัมภนะ  
supreme abidings    พรหมวิหาร  
suspension    อุกเขปนียกรรม  
sustained application    วิจาร  
sympathetic joy    มุทิตา