บทความ

๔. อนุปัสสนา

รูปภาพ
อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ ๑. อนิจจานุปัสสนา ๒.ทุกขานุปัสสนา ๓. อนัตตานุปัสสนา ๑. อนิจจานุปัสสนา   อนิจจานุปัสสนา คือปัญญาที่เกิดจากการรู้เห็นเนืองๆ ในความไม่ เที่ยงของรูปนาม เป็นการเห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม  ปัญญาที่เห็นแจ้งรูปนามเช่นนี้ ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา การพิจารณารูปนามนั้นควรทราบถึงศัพท์บัญญัติที่สื่อความ หมายถึงตัวของรูปนาม คือ อนิจจะลักษณะของรูปนาม คือ อนิจจ ลักษณะ และปัญญาที่เกิดขึ้นในการพิจาณารูปนาม คือ อนิจจานุปัสสนา ความหมายศัพท์ ๑. อนิจจะ คือ ธรรมที่ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไป อันได้แก่ รูปนาม ๒. อนิจจลักขณะ คือ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง ๓. อนิจจานุปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่ เนืองๆ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต้องกำหนดระลึกรู้อยู่กับรูปนาม ต้องใส่ ใจในรูปนามนั้นเป็นอารมณ์ รูปนาม ได้ชื่อว่า “ อนิจจัง” เพราะมีการ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งรูปและนามนั้นมีอาการหรือเครื่องหมาย ให้รู้ว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับ อาการเช่นนี้เรียกว่า “ อนิจจลักขณะ ”  เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาแล้วรู้เห็นความเป็นขอ...

๓. ลักษณะ ๓

รูปภาพ
การพิจารณาในปรมัตถ์ธรรมคือ รูปและนาม ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจใน เรื่องของเครื่องหมายคือลักษณะของรูปขันธ์และนามขันธ์ เพื่อจะได้ เข้าใจลักษณะของรูปนามได้อย่างถูกต้อง เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้ว จะตัดสินได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารธรรมทั้งสิ้น คือ ธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ลักษณะ ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  ๑. อนิจจัง   อนิจจัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่ไม่เที่ยง คือความสิ้นไป ดับไป สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘   จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต ตลอดจนรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็น เครื่องหมายให้เห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้นเราจะรู้หรือไม่รู้ ก็ตาม สภาพธรรมเหล่านี้ก็มีอาการที่เป็นเครื่องหมายของความเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว  อาการที่เป็นเครื่องหมายนี้นั่นเอง เรียกว่า อนิจจัง  ๒. ทุกขัง   ทุกขัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับ ไป สภาพธรรมนี้ได้แก่  จิต ๘๙   เจตสิก ๕๒   รูป ๒๘     ลักษณะ ๓  จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตและรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้ เห็นได้ถึงความที่...

องค์แห่งอริยสัจ ๔

รูปภาพ
🔅 ทุกขอริยสัจ อริยสัจข้อแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคือ เรื่องทุกข์ ที่ทรงแสดงเรื่องทุกข์ก่อนก็เพราะความทุกข์เป็นสิ่งปรากฏชัดในชีวิตมนุษย์ ทุกคนเห็นอยู่ประสบอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขันธ์ ๕ เป็นปกติและเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทุกชนิด บางทีเมื่อตรัสตอบปัญหาซึ่ง มีผู้ถามว่าอะไรเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์ ทรงชี้ไปที่ทุกข์ว่าเป็นภัยใหญ่ของมนุษย์ ใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงความทุกข์ไว้ ๑๑ หัวข้อ คือ ๑.ชาติทุกขํ   คือ ความเกิดเป็นทุกข์ เหตุที่ว่าความเกิดเป็นทุกข์นั้น เราพอมองเห็นได้ด้วยการพิจารณาว่า สำหรับสัตว์ผู้เกิดในครรภ์(ชลาพุชะ) ทุกข์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่สัตว์นอนอยู่ในครรภ์มารดา ต้องขดตัวอยู่ภายในช่องแคบๆ เหยียดมือเหยียดเท้าไม่ได้ จมอยู่ในน้ำคร่ำ สูดกลิ่นเหม็นต่างๆ เป็นเวลาแรมปี ครั้นมารดากินของร้อน เย็น หรือเผ็ดเข้าไป สัตว์นั้นก็ต้องรู้สึกเจ็บแสบเพราะอาหารนั้นๆ เข้าไปกระทบ ยามเมื่อจะคลอด ก็ถูกลมให้หัวห้อยลง ถูกบีบรัดผ่านช่องแคบๆ ถูกดึงมือ ดึงเท้า จากหมอ ความทุกข์ในยามนี้ย่อมทำให้สัตว์ไม่อาจทนความบีบคั้นอยู่ได้จึงต้องคลอดออกมาพร้อมร้องเสียงดังลั่น แสดงถึงความ...

กิจในอริยสัจ ๔

รูปภาพ
กิจ คือ หน้าที่ในอริยสัจ ๔ ข้อใดมีหน้าที่อย่างไร รวมเรียกว่า ไตรปริวัฏ ทวาทสาการ แปลว่า ๓ รอบ ๑๒ อาการ หมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔  ผู้รู้อริยสัจ ๔ ที่เรียกว่ารู้จริง รู้แล้วพ้นทุกข์ได้ ต้องรู้ประกอบด้วยญาณ ๓ อาการ ๑๒ นี้ ที่คนสามัญรู้นั้นเป็นความจำ ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง ยังปฏิบัติตามที่รู้ไม่ได้  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณา ตรัสเทศนาโพธิปักขิยธรรม ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ ธรรมทั้ง ๓ นี้มีอรรถเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประดุจดังดุมเกวียน กำเกวียน และกงเกวียน จึงได้ชื่อว่า พระธรรมจักร ( ตารางแผนญาณ ๓หรือรอบ ๓ อาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ ) สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ทุกข์ ยอมรับว่าความทุกข์แห่งชีวิตมีอยู่จริง ชีวิตคลุกเคล้าไปด้วยความทุกข์จริง รู้ว่าความทุกข์เป็นสิ่งที่กำหนดความรู้ คือ ควรทำความเข้าใจ (ปริญเญยยธรรม) รู้ว่าได้กำหนดรู้แล้วหรือทำความเข้าใจแล้ว สมุทัย ยอมรับว่าสมุทัยคือตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง รู้ว่าสมุทัยคือตัณหา เป็นสิ่งควรละ (ปหาตัพพธรรม) รู้ว่าละได้แล้ว นิโรธ ยอมรับว่านิโรธคือความทุกข์มีอยู่จริง ความทุกข์สามารถดับได้จริง โดยผ่านทางการดับตัณหา รู้ว่านิโรธ...

ความสำคัญของอริยสัจ ๔

รูปภาพ
อริยสัจ  เป็นหัวข้อธรรมสำคัญอย่างยิ่งหัวข้อหนึ่งในหลักคำสอนสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเห็นได้จากหลักฐานต่อไปนี้ ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะทรงรู้แจ้งในอริยสัจ ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์นั่นเอง ว่า “ ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ” ๒. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรให้เป็นพระธรรมเสนาบดี คือ แม่ทัพธรรม ทรงให้เหตุผลว่า เพราะพระสารีบุตรสามารถแสดงธรรมจักรซึ่งมีอริยสัจ ๔ เป็นแกนกลางได้เสมอ พระองค์ไม่มีพระสาวกอื่นรูปใดจะทำให้เทียมถึง แสดงว่าทรงถือเอาอริยสัจ ๔ เป็นมาตรฐานวัดความสามารถของพระสาวกในเรื่องการแสดงธรรม ๓. พระสารีบุตรได้แสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ เป็นที่รวมลงแห่งธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย   เหมือนรอยเท้าช้างใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์บกทุกชนิด เอารอ...

ความหมายของอริยสัจ ๔

รูปภาพ
อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำบุคคลผู้เข้าถึงให้เป็นอริยชน และความจริงอันทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติห่างไกลจากข้าศึก ๑.เป็นความจริงอันประเสริฐ เพราะเป็นความจริงที่เป็นจริงอยู่เสมอ ไม่เปลี่ยนแปลงแปรผันเป็นอย่างอื่น หรือกลับตรงกันข้าม เช่น ชีวิตเจืออยู่ด้วยทุกข์ ตัณหา(ความทะยานอยาก ต่างๆ) เป็นเหตุแห่งทุกข์นานาประการ ความดับกิเลสตัณหาเป็นความดับทุกข์ และการปฏิบัติชอบในรูปแบบต่างๆ เป็นมรรคไปสู่ความดับทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ตลอดมาตั้งแต่บรรพกาลจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ในการแสดงอริยสัจครั้งแรกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงยืนยันว่า ธรรมจักรที่พระองค์ทรงหมุนไปแล้วนี้ ใครๆ จะหมุนกลับ ไม่ได้(อปฺปฏิวตฺติยํ) คือ ใครจะกล่าวคัดค้านว่า ไม่เป็นจริงหาสำเร็จไม่ ๒.เป็นความจริงของพระอริยะ หมายความว่า พระอริยะเจ้าท่านมีความเห็นอย่างนี้ มีความเข้าใจในเรื่องชีวิตอย่างนี้ตรงกัน ไม่ขัดแย้งกัน คือ เห็นว่าชีวิตเจืออยู่ด้วยทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การดับกิเลสได้เป็นความดับทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้จริง ซึ่งความเห็น...

ญาณทัสสนะ วน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการ พระญาณก่อนการตรัสรู้

รูปภาพ
"ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ  ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เรา ก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น" ญาณทัสสนะ วน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการ คืออะไร? "ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒" คือความหยั่งรู้ที่บังเกิดขี้นแก่พระองค์นั้นเป็นญาณที่บังเกิดขึ้นในธรรมที่มิได้เคยสดับแล้วมาก่อน ก็คืออริยสัจทั้ง ๔ ประกอบด้วย ๑. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ ๓. ทุกขนิโรธ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้ เรียกกันว่าอริยสัจ ก็เรียกตามพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ใน ปฐมเทศนา คือเทศนาทีแรกของพระองค์ที่ตรัสว่าพระตถาคตคือพระองค์ได้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ทางกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบพัวพ้นอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม และทางอัตตกิลมถานุโยค ทางทรมานตนให้ลำบาก ได้ทรงปฏิบัติ...