บทความ

โลกุตรจิตพิสดาร ๔๐ ดวง

รูปภาพ
การนับโลกุตรจิตนั้น มี ๒ นัย      ๑)โลกุตรจิต นับโดยย่อ มีจำนวน ๘ ดวง      ๒) โลกุตรจิต นับโดยพิสดาร มีจำนวน ๔๐ ดวง โลกุตรจิต โดยย่อ ๘ ดวงนั้น ได้แสดงไว้แล้ว ซึ่งได้แก่ มัคคจิต ๔ และผลจิต ๔ รวมเป็น ๘ ดวง โลกุตรจิตที่นับโดยย่อนี้ หมายถึงโลกุตรจิตที่ประกอบด้วย อารัมมนูปนิชฌาน โดยที่ ผู้ปฏิบัติพิจารณาการเกิดดับของสังขารธรรม รูป นาม เป็นอารมณ์ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสกพระอรหันต์ โลกุตรจิตที่ไม่มี อารัมมนูปนิชฌานนี้ อนุโลมนับรวมอยู่ในปฐมฌาน โดยเหตุที่ว่า มีเจตสิกที่เป็นองค์ของปฐมฌานประกอบอยู่ครบ แต่พระโยคาวจรผู้เป็นสุขวิปัสสกไม่สามารถพิจารณาองค์ฌานให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ และไม่อาจละองค์ฌาน มีวิตก วิจาร เป็นต้นได้ และไม่สามารถ เข้าปฐมฌานได้ หรือพระโยคาวจรฌานลาภีบุคคล ที่นิยมวิปัสสนา ไม่นิยมฌานที่ตนได้ แต่พิจารณาสังขารธรรม มีรูป นาม เป็นอารมณ์ ก็เป็นสุขวิปัสสกเหมือนกัน  ความแตกต่างขแฉองโลกุตรจิตตามประเภททา ืมมมมืืของฌาน จึงไม่มีในโลกุตรจิตที่ไม่ได้ประกอบ ด้วยอารัมมนูปนิชฌาน จึงมีได้เพียง ๔ ดวง ตามจำนวนที่นับโดยย่อเท่านั้น ส่วนโลกุ...

พระอภิธรรม จิตตสังคหวิภาค

รูปภาพ
จิตตสังคหวิภาค   แสดงเรื่องธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดย พิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบาก จิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต 🙏ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก 🔉จิตตสังคหวิภาค ๐๑ 🔉จิตตสังคหวิภาค ๐๒ 🔉จิตตสังคหวิภาค ๐๓ 🔉จิตตสังคหวิภาค ๐๔

โลกุตรจิต ๘

รูปภาพ
โลกุตรจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก หมายความว่า เป็นจิตที่มีอารมณ์เหนือสภาวธรรมที่มีอยู่ในโลก หรือเป็นจิตที่มีความสามารถรับอารมณ์พิเศษที่เหนือโลก คือ นิพพานอารมณ์ จิตเหล่านี้มีจำนวน ๘ ดวง และสามารถรับนิพพพานอารมณ์ โดยแน่นอนอย่างเดียว จึงเรียกจิต ๘ ดวงนี้ว่า โลกุตรจิต โลกุตตรจิตฺต เมื่อแยกศัพท์ ย่อมได้แก่ โลก  + อุตฺตร + จิตฺต = โลกุตตรจิตฺต โลก หมายถึง โลกทั้ง ๓ คือ กามโลก (กามภูมิ) รูปโลก (รูปภูมิ) และอรูปโลก (อรูปภูมิ) หรืออีกนัยหนึ่ง “โลก” หมายถึง สิ่งที่ต้อง แตกดับ สูญสิ้นไป เป็นธรรมดา “อุตตร” หมายความว่า เหนือ หรือ พ้น โลกุตรจิต จึงหมายถึงจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ หรือจิตที่พ้นจากการท่องเที่ยวไปในโลกทั้ง ๓ หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก กล่าวคือ โลกุตรจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ และนิพพานนี้จัดเป็นธรรมที่พ้นโลก เป็นธรรมที่เหนือโลกทั้ง ๓ โลกุตรจิต เป็นจิตที่มีอารมณ์พ้นจากการเกิดดับนั้น ก็มิได้หมายความว่าจิตจะไม่เกิด-ดับ จิตก็ยังคงมีอาการเกิดดับตามสภาพของจิต เป็นจิตที่รับอารมณ์พิเศษอันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์ที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ “นิพพาน” เป็นอารมณ์ที่ไม่มีการเกิดดับ...