🪷 ธรรมสุตตะ
เสียงธรรม... นำทางใจ

๑. ความเป็นไปในสังสารวัฏ

การศึกษาเรื่องภพภูมิ จะทำให้เข้าใจถึงชีวิตการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเป็นอย่างไร และเป็นเช่นนั้นได้ เพราะเหตุใด มีผู้สร้างมีผู้กำหนดให้เป็นไปเช่นนั้นหรือไม่ และจะมีอะไรมาหยุดการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นได้หรือไม่ คำตอบเรื่องเหล่านี้ มีอยู่ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา

ในยุคนี้แม้ว่าพระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว อริยสาวกทั้งหลายก็ปรินิพพานไปแล้ว ถึงกระนั้นคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องความเป็นไปในสังสารวัฏและการดับซึ่งสังสารวัฏนั้นยังมีอยู่ เมื่อยังมี การศึกษาตามคำสอนแล้วประพฤติตาม ก็ย่อมนำมาซึ่งการดับสังสารวัฏได้ เมื่อบุคคลได้ศึกษาเรื่องความเป็นไปในสังสารวัฏแล้วพึงพิจารณาให้เห็นความจริงในวัฏฏะ พึงพิจารณาให้เห็นหนทางแห่งการดับวัฏฏะ และเพียรเจริญภาวนาเพื่อยังมรรคมีองค์ ๘ ให้เกิดขึ้น ก็จะได้บรรลุแก่นแท้แห่งคำสอนในพระพุทธศาสนานี้ คือเพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์นี้เสียก่อนจะศึกษาเรื่องความเป็นไปในสังสารวัฏ ควรศึกษาความหมายของศัพท์ดังนี้


สงสาร หมายความว่า การเวียนว่ายตายเกิด คำว่าสงสารยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่ารู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น รู้สึกห่วงใยด้วยเมตตา กรุณา เช่นเห็นเด็กๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร

ในที่นี้คำว่าสงสารมุ่งหมายถึงความหมายโดยนัยแรก คือ การเวียนว่ายตายเกิด จะเห็นได้ว่าคำศัพท์ตามความหมายทางโลกกับทางธรรมนั้นแตกต่างกัน ฉะนั้นการศึกษาธรรมะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจศัพท์ให้ถี่ถ้วน สงสารทุกข์ สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร หมายความว่าทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายจะอยู่ในภพภูมิต่างๆ ด้วยกำลังของกิเลส กรรม วิบาก หมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบาก ไม่ได้

กิเลส หมายความว่า เครื่องทำใจให้เศร้าหมองได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ตัณหา หมายความว่า ความทะยานอยาก
วัฏฏะ คือความวน หรือความเวียน ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มี สามอย่างคือ
• กิเลสวัฏฏะ ความวน คือ กิเลส
• กรรมวัฏฏะ ความวน คือ กรรม
• วิปากวัฏฏะ ความวน คือ วิบากผลของกรรม
กิเลสก็เป็นเหตุให้ทำกรรม กิเลสจึงเป็นเหตุ กรรมจึงเป็นผลของกิเลส และ กรรมนั้นเองก็เป็นตัวเหตุให้เกิดวิบากคือผลกรรมจึงเป็นเหตุวิบากจึงเป็นผล และวิบากนั้นเองก็เป็นตัวเหตุ ก่อกิเลสขึ้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ วิบากนั้นก็ เป็นเหตุ กิเลสก็เป็นผลของวิบาก


ฉะนั้น กิเลส กรรม วิบาก จึงวนอยู่ดังนี้ จึงทำให้ขันธ์ ๕ นี้ วนอยู่ใน กิเลส กรรม วิบาก แล้วก็กลับเป็นเหตุก่อกิเลส กรรม วิบากขึ้นอีก ขันธ์ ๕ เมื่อกล่าวโดยความเป็นสัตว์และบุคคลจึงวนเวียนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก แสดงให้เห็นว่า กิเลส กรรม วิบาก นี้เองเป็นวัฏฏะ กิเลส ตัณหา เป็นสิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจ แล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว ตัณหาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทุกข์ เมื่อดับตัณหาเสียได้ ก็เป็นอันว่าดับวัฏฏะ ดังกล่าวได้ ดับกิเลส ดับทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบันได้ และถึงที่สุดคือเมื่อดับขันธ์ได้ไม่เกิดอีก ดับรอบสิ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง การเวียนว่ายตายเกิด เมื่อว่าโดยสภาวธรรมแล้วไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ เกิด ตาย มีแต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย คือ กิเลสตัณหา เมื่อเหตุ ปัจจัยยังมีอยู่ สภาวธรรมทั้งหลายก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ เมื่อหมดเหตุ ปัจจัยแล้วสภาวธรรมนั้นก็ดับไป

ทบทวน ชีวิตคืออะไร

ชีวิตความหมายตามนัยแห่งพระอภิธรรม มี ๒ อย่าง คือ
๑. ชีวิตรูป ชีวิตรูปเป็นรูปๆหนึ่ง ในจำนวนรูปที่เกิดจากกรรม (ได้แก่ จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กาย ปสาท อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทยะ และชีวิตรูป) จะมีหน้าที่รักษารูปอื่นๆ ที่เกิดจากกรรมให้ดำรงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วจะดับสลายไปพร้อมกับรูปทั้งหมดที่เกิดจากกรรมนั้น และมีการเกิดขึ้นใหม่สืบต่อกันเรื่อยๆไปไม่ขาดสายตลอดชีวิต ชีวิตรูปนี้จะหล่อเลี้ยงรักษารูปอื่นๆที่เกิดจากกรรมมิให้แตกสลายไปก่อนกำหนด เหมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงดอกบัว

ชีวิตรูป หรือ รูปชีวิตของสัตว์บุคคลก็เนื่องด้วยกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่กระทำไว้แล้วนั่นเอง กุศลและอกุศลที่กระทำไว้ในอดีตชาติก็เป็นตัวส่งผลทำให้เกิดรูปนามนี้ขึ้นมา แล้วสมมติเรียกว่า คน สัตว์ เทวดา พรหม สุดแท้แต่จะเกิดขึ้นมาในภพภูมิใด การเกิดขึ้นของชีวิตก็เพื่อมารับผลของกุศลและอกุศลที่กระทำไว้ เมื่อกุศลส่งผลก็สมมติเรียกว่ากำลังเสวยสุข เมื่ออกุศลส่งผลก็สมมติเรียกว่ากำลังเสวยทุกข์ เหมือนกับการปลูกพืช ถ้าปลูกพืชที่ให้ผลเป็นรสเปรี้ยว ก็จะได้รับผลที่มีรสเปรี้ยว ถ้าปลูกพืชที่มีรสหวานก็จะได้รับผลที่มีรสหวาน ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลทำกรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลมาแล้ว ผลที่ได้รับจึงมีทั้งความทุกข์บ้างสุขบ้างสลับกันไป สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรือนฯลฯ เหล่านี้เป็น รูปธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีวิญญาณครอง (อนุปาทินนกสังขาร) บางคนเข้าใจว่าต้นไม้มีชีวิตจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ต้นไม้นั้นมีอุตุเป็นสมุฏฐาน คือเป็นรูปที่เกิดจากอุตุ มีเพียงรูป ๘ เท่านั้น คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ส่วนคน สัตว์ มีรูป ๒๘ รูป อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นต้น มนุษย์,สัตว์เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ต้นไม้เกิดจากสมุฏฐานเดียว คือ อุตุ ต้นไม้ไม่ได้ เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูปคอยอนุบาลรักษาเหมือนสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย

ชีวิตนามหรือ นามชีวิต คือ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนั่นเอง จะเกิดพร้อมกับ นามธรรมอื่นๆ เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา มนสิการ เป็นต้น และทำหน้าที่รักษานามธรรมที่เกิดพร้อมกันกับตนให้ตั้งมั่นในอารมณ์แล้วดับไป เมื่อเข้าใจชีวิตแล้ว ต่อไปจะศึกษาสถานที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ ๓๑ ภูมิ ไปตามลำดับ

นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมนัย

รูปปวัตติกมนัย เป็นการแสดงการเกิด - ดับของรูป ๒๘ ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งธรรมดาของรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมมีความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้คงสภาพเดิมอยู่ได้ คือ ต้องตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ดังนั้นรูปร่างกายของคน สัตว์ ย่อมจะต้องมีการเกิด-ดับ ในหมวดนี้ท่านจึงแสดงความเกิดดับของรูปไว้ ๓ นัย คือ

๑. ตามนัยแห่งภูมิ แสดงการเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในภพภูมิต่างๆ
๒. ตามนัยแห่งกาล แสดงการเกิด-ดับของรูปที่เกิดขึ้นในกาลต่างๆ
๓. ตามนัยแห่งกำเนิด การเกิด-ดับของรูปตามประเภทแห่งการเกิด

รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นต้นนั้น ในแต่ละภูมิก็มีรูปเกิดได้จำนวนไม่เท่ากัน ต่อไปจะศึกษาเรื่องภูมิใดจะมีรูปเกิดได้เท่าไร อะไรบ้าง ๑.๑ ใน ๓๑ ภูมิ มีรูปเกิดได้อย่างไร ภูมิอันเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายมีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ แบ่งเป็น
๑. กามภูมิ
๒. รูปภูมิ
๓. อรูปภูมิ

๑.๑.๑ กามภูมิ มี ๑๑ ภูมิ กามภูมิเป็นภูมิที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา สัตว์ ดิรัจฉาน ตลอดจนสัตว์นรก มีรูปทั้ง ๒๘ เกิดได้ แต่ถ้าเกิดเป็นหญิงก็เว้นปุริสภาวะรูป ถ้าเกิดเป็นชายก็เว้นอิตถีภาวะรูป ส่วนในคนที่พิการแต่กำเนิด เช่น ตาบอด ฯลฯ ก็จะไม่มีจักขุปสาทรูปเกิด
๑.๑.๒ รูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ แบ่งเป็นภูมิที่รูปขันธ์และนามขันธ์ มี ๑๕ ภูมิ ภูมิที่มีแต่รูปอย่างเดียวมี ๑ คือ อสัญญสัตวพรหมภูมิ ในรูปภูมินั้นจะมีรูปเกิดได้ ๒๓ รูป (เว้น ฆานะ ชิวหา กายะ และภาวรูปทั้ง ๒) ในอสัญญสัตพรหมภูมิ ๑ จะมีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป (เว้นปสาทรูปทั้ง ๕ สัททรูป ๑ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ วิญญัติรูป ๒)
๑.๑.๓ อรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีรูปมีแต่นามเท่านั้น ด้วยอำนาจของปัญจมฌาน ที่ไม่ปรารถนาจะมีรูป รูปจึงเกิดขึ้นไม่ได้

๑. ตามนัยแห่งภูมิ

แสดงการเกิด-ดับของรูปในภูมิต่าง ๆ ๓๑ ภูมิ

ใน กามภูมิ ๑๑
ภพภูมินี้ รูป ๒๘ เกิดได้หมด ประกอบด้วยภพ
• นรก ๑
• เปรต ๑
• อสุรกาย ๑
• เดรัจฉาน ๑
• มนุษย์ ๑
• เทวภูมิ ๖

ใน รูปภูมิ ๑๕
ภพภูมินี้ รูปเกิดได้ ๒๓ รูป (เว้นฆานปสาท ๑, ชิวหาปสาท ๑, กายปสาท ๑, ภาวรูป ๒)
• ปฐมฌานภูมิ ๓
• ทุติยฌานภูมิ ๓
• ตติยฌานภูมิ ๓
• จตุตถฌานภูมิ ๖

ใน อสัญญสตัตภมูิ ๑
ภพภูมินี้ รูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป เท่านั้น คืออวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, วิการรูป ๓, ลักขณรูป ๔

ใน อรูปภูมิ ๔
ภพภูมินี้ ไม่มีรูปเกิดขึ้นได้เลย

ในภูมิต่างๆ รูปเกิดจากสมุฎฐานใดบ้าง
กามภูมิ ๑๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ
เกิดจากกรรม ๑๘ รูป
เกิดจากจิต ๑๕ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๓ รูป
เกิดจากอาหาร ๑๒ รูป

รูปภูมิ ๑๕ เกิดจากสมุฏฐาน ๓ คือ
เกิดจากกรรม ๑๓ รูป
เกิดจากจิต ๑๕ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๓ รูป

อสัญญสัตตภูมิ ๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๒ คือ
เกิดจากกรรม ๑๐ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๒ รูป

๒. ตามนัยแห่งกาล

โดยนัยแห่งกาล เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ตามกาลว่ากาลใดมีรูปเกิดได้ และกาลใด รูปเกิดไม่ได้ คำว่า “กาล” มี ๓ กาล คือ
๑. ปฏิสนธิกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่
๒. ปวัตติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป มีชีวิตดำเนินไปในชาตินั้นๆ
๓. จุติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป ตายจากภพชาตินั้นๆ

ในกาลทั้ง ๓ มีรูปเกิดได้อย่างไร
ปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด)
รูปที่เกิดได้ มี ๒๐ คือ
ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ อุปจยรูป ๑ และ สันตติรูป ๑
รูปที่เกิดไม่ได้ มี ๘ คือ
สัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ชรตารูป ๑ และ อนิจจตารูป ๑

ปวัตติกาล (ขณะดำรงชีวิต)
รูปที่เกิดได้ มี ๒๘ คือ
เกิดได้ตามสมควรแก่ภูมิ หรือตามสมควรแก่กำเนิด เกิดได้ครบทั้ง ๔ สมุฎฐานได้แก่ กรรมสมุฏฐาน จิตตสมุฏฐาน อุตุสมุฏฐาน และอาหารสมุฏฐาน

จุติกาล (ขณะตาย)
รูปที่เกิดได้ คือ
จิตตชรูปของสัตว์ในปัญจโวการภูมิ เกิดในอุปปาทักขณะของจิตและตั้งอยู่จนครบอายุแล้วจึงดับ (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์)
อาหารชรูป เกิดได้อีก ๕๐ อนุขณะของจุติจิต
อุตุชรูป เกิดได้ตลอดจนกระทั่งตอนเป็นซากศพ
รูปที่เกิดไม่ได้ คือ
กรรมชรูปทั้งหมดที่นับถอยหลังไป ๑๗ ขณะ จากจุติจิต และ จิตตชรูปของพระอรหันต์

๓. ตามนัยแห่งกำเนิด

ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ จะมีลักษณะการเกิดได้ ๔ อย่าง คือ
๑) อัณฑชะกำเนิด (เกิดจากไข่) ได้แก่ ไก่ นก จิ้งจก ตุ๊กแก งู เป็นต้น
๒) ชลาพุชะกำเนิด (เกิดจากครรภ์) ได้แก่ พวกที่อาศัยเกิดจากครรภ์มารดาและคลอดออกมาเป็นตัวหรือทารกเล็กๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตมาตามลำดับได้แก่ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาชั้นต่ำบางพวก เป็นต้น
๓) สังเสทชะกำเนิด (เกิดจากเถ้าไคล) การเกิดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา คือ จะอาศัยเถ้าไคล หรือยางเหนียวที่ชุ่มชื้นมีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์ชนิดนี้ เช่น หนอนในปลาเน่า มอดในข้าวสาร เป็นต้น มนุษย์ที่เกิดจากดอกไม้ ต้นไม้ ผลไม้ เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากดอกบัว เป็นต้น
๔) โอปปาติกกำเนิด (เกิดขึ้นโตทันที) คือ เกิดแล้วโตทันที ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา หรือที่ชื้นแฉะแต่อย่างใด แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว โดยการผุดเกิดขึ้นมีรูปร่างใหญ่โตทันที ได้แก่ เทวดา เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัป เป็นต้น
ในกำเนิดทั้ง ๔ ยังสามารถจัดกลุ่มการเกิดได้อีก ๒ แบบ คือ เอาแบบที่ ๑ และ ๒ รวมกัน เรียกว่า คัพภไสยยกกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด ส่วนสังเสทชะกำเนิดและโอปปาติกกำเนิด ทั้งสองนี้ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด

ปฏิสนธิวิญญาณจะเกิดในครรภ์มารดาได้นั้นต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดาอยู่ในวัยมีประจำเดือน
๓. มีปฏิสนธิวิญญาณมาเกิด

เมื่อวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดาแล้ว รูปต่างๆ จะเกิดขึ้นเจริญตามลำดับดังนี้ คือ
สัปดาห์แรก เป็นกลละ มีลักษณะเป็นหยาดน้ำใสเหมือนน้ำมันงา มีปริมาณเท่ากับหยาดน้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายขนจามรีที่สลัดแล้ว ๗ ครั้ง
สัปดาห์ที่ ๒ เป็นอัพพุทะ มีลักษณะเป็นฟอง มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
สัปดาห์ที่ ๓ เป็นเปสิ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อ ชิ้นเนื้อมีลักษณะเหลวคล้ายกับดีบุก
สัปดาห์ที่ ๔ เป็นฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่
สัปดาห์ที่ ๕ เป็นปัญจสาขา มีลักษณะเกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นศีรษะ ๑ มือและเท้าอย่างละ ๒
สัปดาห์ที่๖-๔๒ จะเกิดอวัยวะต่าง ๆ และในสัปดาห์ที่ ๑๑ เป็นสัปดาห์ที่จะเกิด จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานะปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีสายสะดือของทารกติดกับแผ่นท้องของมารดา สายสะดือจะมีลักษณะเป็นรูเหมือนก้านบัว เมื่อมารดาบริโภคอาหารเข้าไปแล้ว สารอาหารจะไปเลี้ยงทารกทางสายสะดือ จนกระทั่งทารกมีอายุ ๑๐ เดือน จึงคลอดออกมา
หมายเหตุ ๑ เดือน นับตามปีจันทรคติ มี ๒๘ วัน ทารกอายุ ๑๐ เดือน เท่ากับ ๒๘๐ วัน แต่ในปัจจุบัน ๑ เดือน นับตามปีสุริยคติมี๓๐ วัน ในปัจจุบันจึงนับว่าทารกจะอยู่ในครรภ์มารดาประมาณ ๙ เดือนหรือกว่านั้น โดยทางแพทย์จะนับจำนวนวันเท่ากับจำนวนวันทางจันทรคติ คือ ๒๘๐ วันเช่นกัน

สรุป

เรื่องรูปปรมัตถ์ที่ได้แสดงมาแล้วโดยนัยทั้ง ๕ นั้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณารูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม เป็นอย่างไร? มีอะไรบ้าง? ความรู้ที่ละเอียดลึกซื้งอย่างนี้มีได้ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ทรงแสดงความจริงอย่างนี้แก่สาวก สาวกจึงนำมาสั่งสอนต่อไป เมื่อได้ศึกษาเรื่องจิต เจตสิก และรูป มาแล้วก็ควรนำประโยชน์จากการศึกษาไปพิจารณาเพื่อหยั่งลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ โดยการพิจารณาตามความเป็นจริงของนาม (คือ จิตและเจตสิก) และพิจารณาตามความเป็นจริงของรูป คือ รูปทั้ง ๒๘ ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม เมื่อพิจารณาลักษณะของนามและรูปโดยความเป็นจริงได้บ่อยๆ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น โดยพึงพิจารณาถึงรูปอย่างถูกต้องพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปนั้นว่าเป็นเพียงนาม เป็นเพียงรูป ไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุธรรมในภายต่อไปได้


นัยที่ ๔ รูปกลาปนัย แสดงการเกิดขึ้นเป็นกลุ่มของรูป(๒)


หน้าแรก รูปกลาปนัย(๑)

๒.๔ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดความเบา มี ๑๑ รูป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการพูด แต่ในขณะนั้น จิตมีความสบายเข้มแข็งดี หน้าตาแจ่มใสชื่นบาน กลุ่มรูปนี้ มี ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป


๒.๕ กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทาให้เกิดการคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกายมี ๑๒รูป (อ่านว่า กา-ยะ-วิด-ยัด-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะหลาป) ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มี ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ กายวิญญัติรูป ๑



๒.๖ วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูดที่คล่องแคล่ว มี ๑๓ รูป ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มีการพูด การสวดมนต์ การร้องเพลง เป็นต้น มี ๑๓ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ สัททรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑



๓. อุตุชกลาปอุตุชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดมาจากอุตุเป็นสมุฏฐาน อุตุ คือ ความเย็น และความร้อน เกิดได้ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย คือเกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ถ้าในสิ่งที่มีชีวิตอุตุชกลาปย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๔ กลาป ถ้าภายนอกตัวคนสัตว์จะเกิดได้เพียง ๒ กลาปเท่านั้น

อุตุชกลาป มี ๔ กลาป คือ

๓.๑ สุธัฏฐกกลาป (อ่านว่า สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นพื้นฐานของรูปทั้งหมด ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กลาปนี้เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย เป็นต้น มี ๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป

๓.๒ สัททนวกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-นะ-วะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทาให้เกิดเสียง เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก เช่นเดียวกัน แต่เป็นเสียงที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น เสียงท้องร้อง เสียงกรน หรือเสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ และ สัททรูป ๑ (สัททรูป หมายถึงสิ่งที่สามารถปรากฏได้ทางหู ซึ่งมีลักษณะที่ดังและกระทบกับโสตปสาท)

๓.๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป (อ่านว่า ละ-หุ-ตา-ทิ-เอ-กา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดขึ้นได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีร่างกายปกติแข็งแรงดี มี ๑๑ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓

๓.๔ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทำให้เกิดเสียง ตามข้อ ๒ คือ กลุ่มของสัททนวกกลาป แต่เป็นเสียงที่ดังออกมาชัดเจน เช่น เสียงกรน เสียงท้องร้อง เสียงลมหายใจ เป็นต้น เป็นเสียงที่ไม่เกี่ยวกับการพูด มี ๑๔ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ และ สัททรูป ๑

๔. อาหารชกลาป
อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร คนสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหารทั้งนั้น อาหารมีทั้งชนิดที่เป็นรูปเรียกว่า รูปอาหาร และอาหารที่เป็นนาม เรียกว่า นามอาหาร

รูปอาหาร ก็คืออาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นคำ ๆ เรียกว่า กพฬีการาหาร เช่น ข้าว น้ำ ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ นามอาหาร มี ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัณเจตนาหาร และวิญญาณาหาร รูปอาหารเมื่อจัดเป็นกลาปแล้ว ได้ ๒ กลาป คือ

๔.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปที่ยังไม่ย่อย ทำให้เกิดการอึดอัดหรือง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากยังไม่มีวิการรูป ๓ คือ รูปเบา รูปอ่อน หรือรูปที่ควรแก่การงานเกิดร่วมด้วย ยังไม่เกิดความคล่องตัวที่จะทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพขึ้น กลาปรูปนี้มีเพียง ๘ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป

๔.๒ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ อาหารที่ย่อยเป็นโอชะแล้ว มีวิการรูป ๓ เข้าประกอบด้วยจึงนำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง กลาปรูปนี้จึงประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓


สรุป การศึกษาเรื่องรูปกลาป จะทำให้เราทราบถึงกลุ่มรูปที่เกิดมาล้วนมีเหตุหรือสมุฏฐานแห่งการเกิดทั้งสิ้น จะได้ทำลายความสงสัยว่า คนหรือสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้อย่างไร ? พรหมสร้างให้เกิดมาหรือ ? ตลอดจนเป็นความรู้ให้เข้าถึงวิปัสสนาได้ รูปทั้ง ๒๘ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ เป็นความรู้ที่จะทำให้นักศึกษารู้จักคำว่า “รูป” ได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดระหว่างรูปกับอิริยาบถ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีการเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่รูปเพราะเป็นเพียงกิริยา อาการ ท่าทาง เท่านั้น การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้รู้จักนามและรูป ต้องรู้เหตุแห่งการเกิดอิริยาบถ ซึ่งเหตุแห่งการเกิดอิริยาบถก็คือ วาโยธาตุ หรือธาตุลมนั้นเอง ถ้าพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องแท้จริง



นัยที่ ๔ รูปกลาปนัย

คำว่ากลาป (อ่านว่า กะ-หลาบ หรือ กะ-ลา-ปะ ) แปลว่า กลุ่ม หรือ หมวด,หมู่,คณะ,กลุ่มดังนั้นรูปที่ชื่อว่า กลาป ก็คือกลุ่มของรูปที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย เกิดมาจากสมุฏฐาน ๔ คือ เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร รูปกลาปมีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกัน
๒. ดับพร้อมกัน
๓. มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยเกิด


รูปกลาป มีทั้งหมด ๒๑ กลาป และเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีดังนี้
แบ่งรูปกลาปตามสมุฏฐานของการเกิด
๑. รูปกลาปที่เกิดจากกรรม การกระทำบุญบาป ทางกาย วาจา และใจ ได้แก่เจตนา ๒๕ ที่เกิดใน อกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕ ชื่อว่า เป็นกรรม สิ่งนี้เรียกว่า กรรมชกลาป มี ๙ กลาป
๒. รูปกลาปที่เกิดจากจิต เป็นตัวบงการหรือชักใยทำให้รูป ๒๘ เคลื่อนไหวไปทำกรรม ในส่วนที่เป็นบาปบ้าง ส่วนที่เป็นบุญบ้าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง ส่วนทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ จิต ๑๔ ดวงนี้ไม่ทำให้เกิดรูป สิ่งนี้เรียกว่า จิตตชกลาป มี ๖ กลาป
๓. รูปกลาปที่เกิดจากอุตุ หมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกาย ของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไป จนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติสิ่งนี้เรียกว่า อุตุชกลาป มี ๔ กลาป
๔. รูปกลาปที่เกิดจากอาหาร หมายถึง อาหารที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำวัน เมื่อไฟธาตุย่อยเป็นโอชะ แล้วก็จะนำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าขาดอาหารเสียแล้วชีวิตเราก็คงจะอยู่ไม่ได้ สิ่งนี้เรียกว่า อาหารชกลาป มี ๒ กลาป

๑.กรรมชกลาป
กรรมชกลาป
คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม เป็นรูปที่เกิดจากอำนาจของบุญ หรือ อำนาจของบาป ที่บุคคลได้กระทำไว้ในภพชาตินี้ และภพชาติก่อนๆ ถ้าเป็นรูปร่างกายของมนุษย์ เทวดา พรหม ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมดี คือ บุญ ถ้าเป็นรูปร่างกายของสัตร์นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมชั่ว คือ บาป

รูปที่เกิดจากอำนาจของกรรมดีและกรรมชั่ว (เจตนา ๒๕) นั้น มี ๑๘ รูป เรียกว่ากรรมชรูป ๑๘

กรรมชรูป ๑๘ นี้เกิดได้ในภพภูมิต่าง ๆ ถึง ๒๗ ภพภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รูปพรหมภูมิ ๑๖ กรรมชรูปนี้เกิดได้ทุกขณะจิตจนถึงใกล้จะตาย กรรมชรูปจะเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย โดยนับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป ๑๗ ขณะ (มีรายละเอียดถ้าศึกษาถึงเรื่องของวิถีจิตตอนใกล้จะตาย) แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก เป็นการจบชีวิตในชาติหนึ่งภพหนึ่ง มนุษย์ เทวดา พรหม เกิดขึ้นจากกุศลกรรม ส่วนสัตว์ในอบายภูมิเกิดจากอกุศลกรรม กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรรมมี ๙ กลุ่ม คือ (กรรมชกลาป อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-กะ-หลาบ)
    ๑.๑ จักขุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี จักขุปสาท เป็นประธาน
    ๑.๒ โสตทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี โสตปสาท เป็นประธาน
    ๑.๓ ฆานทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ฆานปสาท เป็นประธาน
    ๑.๔ ชิวหาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ชิวหาปสาท เป็นประธาน
    ๑.๕ อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี อิตถีภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๖ อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี อิตถีภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๗ ปุริสภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ปุริสภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๘ วัตถุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี หทยวัตถุรูป เป็นประธาน
    ๑.๙ ชีวิตนวกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๙ มี ชีวิตรูป เป็นประธาน

๒. จิตตชกลาป
จิตตชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ อาการยืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา รวมทั้งการพูดจาเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามอำนาจความต้องการของจิตทั้งสิ้น จึงเรียกว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าคนตายคือไม่มีจิตเสียแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือพูดจาใดๆได้เลย จิตที่เป็นตัวการหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวกาย หรือการพูดนั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง มีอำนาจทำให้เกิดรูปได้ ๑๕ รูป รูปที่เกิดจากอำนาจของจิตนี้ เรียกว่า จิตตชรูปรูปที่เกิดจากจิต หรือ จิตตชกลาป มี ๖ กลุ่ม (กลาป) คือ

    ๒.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มรูปพื้นฐาน จะเกิดในขณะจิตใจอ่อนเพลียโดยที่ยังไม่พูดหรือเคลื่อนไหวกาย กลุ่มรูปนี้ได้แก่ อวินิพโภครูป

    ๒.๒ กายวิญญัตินวกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้กายเคลื่อนไหว มี ๙ รูป เกิดขึ้นในขณะที่จิตใจอ่อนเพลียแล้วเคลื่อนไหวกาย มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปกายวิญญัติรูป


    ๒.๓ วจีวิญญัติสัทททสกกลาป
คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูด มี ๑๐ รูป มีการอ่านหนังสือ ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น ที่ไม่เป็นไปตามปกติ คือ ทำในขณะที่ไม่ค่อยสบาย เกิดความท้อถอย ไม่เต็มใจ เป็นต้น กลุ่มรูปนี้ มี ๑๐ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปสัททรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑
    ๒.๔ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดความเบา มี ๑๑ รูป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการพูด แต่ในขณะนั้น จิตมีความสบายเข้มแข็งดี หน้าตาแจ่มใสชื่นบาน กลุ่มรูปนี้ มี ๑๑ รูปได้แก่อวินิพโภครูปวิการรูป

    ๒.๕ กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป
คือ กลุ่มรูปที่ทาให้เกิดการคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกายมี ๑๒รูป (อ่านว่า กา-ยะ-วิด-ยัด-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะหลาป) ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มี ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ กายวิญญัติรูป ๑


    ๒.๖ วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูดที่คล่องแคล่ว มี ๑๓ รูป ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มีการพูด การสวดมนต์ การร้องเพลง เป็นต้น มี ๑๓ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ สัททรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑


๓. อุตุชกลาป
อุตุชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดมาจากอุตุเป็นสมุฏฐาน อุตุ คือ ความเย็น และความร้อน เกิดได้ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย คือเกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ถ้าในสิ่งที่มีชีวิตอุตุชกลาปย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๔ กลาป ถ้าภายนอกตัวคนสัตว์จะเกิดได้เพียง ๒ กลาปเท่านั้น

อุตุชกลาป มี ๔ กลาป คือ

    ๓.๑ สุธัฏฐกกลาป (อ่านว่า สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นพื้นฐานของรูปทั้งหมด ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กลาปนี้เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย เป็นต้น มี ๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘

    ๓.๒ สัททนวกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-นะ-วะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทาให้เกิดเสียง เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก เช่นเดียวกัน แต่เป็นเสียงที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น เสียงท้องร้อง เสียงกรน หรือเสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ และ สัททรูป ๑ (สัททรูป หมายถึงสิ่งที่สามารถปรากฏได้ทางหู ซึ่งมีลักษณะที่ดังและกระทบกับโสตปสาท)

    ๓.๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป (อ่านว่า ละ-หุ-ตา-ทิ-เอ-กา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดขึ้นได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีร่างกายปกติแข็งแรงดี มี ๑๑ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓

    ๓.๔ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทำให้เกิดเสียง ตามข้อ ๒ คือ กลุ่มของสัททนวกกลาป แต่เป็นเสียงที่ดังออกมาชัดเจน เช่น เสียงกรน เสียงท้องร้อง เสียงลมหายใจ เป็นต้น เป็นเสียงที่ไม่เกี่ยวกับการพูด มี ๑๔ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ และ สัททรูป ๑

๔. อาหารชกลาป
อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร คนสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหารทั้งนั้น อาหารมีทั้งชนิดที่เป็นรูปเรียกว่า รูปอาหาร และอาหารที่เป็นนาม เรียกว่า นามอาหาร

รูปอาหาร ก็คืออาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นคำ ๆ เรียกว่า กพฬีการาหาร เช่น ข้าว น้ำ ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ นามอาหาร มี ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัณเจตนาหาร และวิญญาณาหาร รูปอาหารเมื่อจัดเป็นกลาปแล้ว ได้ ๒ กลาป คือ

    ๔.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปที่ยังไม่ย่อย ทำให้เกิดการอึดอัดหรือง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากยังไม่มีวิการรูป ๓ คือ รูปเบา รูปอ่อน หรือรูปที่ควรแก่การงานเกิดร่วมด้วย ยังไม่เกิดความคล่องตัวที่จะทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพขึ้น กลาปรูปนี้มีเพียง ๘ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป

    ๔.๒ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ อาหารที่ย่อยเป็นโอชะแล้ว มีวิการรูป ๓ เข้าประกอบด้วยจึงนำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง กลาปรูปนี้จึงประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓


สรุป
การศึกษาเรื่องรูปกลาป จะทำให้เราทราบถึงกลุ่มรูปที่เกิดมาล้วนมีเหตุหรือสมุฏฐานแห่งการเกิดทั้งสิ้น จะได้ทำลายความสงสัยว่า คนหรือสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้อย่างไร ? พรหมสร้างให้เกิดมาหรือ ? ตลอดจนเป็นความรู้ให้เข้าถึงวิปัสสนาได้ รูปทั้ง ๒๘ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ เป็นความรู้ที่จะทำให้นักศึกษารู้จักคำว่า “รูป” ได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดระหว่างรูปกับอิริยาบถ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีการเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่รูปเพราะเป็นเพียงกิริยา อาการ ท่าทาง เท่านั้น การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้รู้จักนามและรูป ต้องรู้เหตุแห่งการเกิดอิริยาบถ ซึ่งเหตุแห่งการเกิดอิริยาบถก็คือ วาโยธาตุ หรือธาตุลมนั้นเอง ถ้าพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องแท้จริง



บารมี ๑๐ สำหรับผู้ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้า

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นนั่นแหละ ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า “ ถ้าเราพึงต้องการก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานกาย หลังข้อนี้สมควรแก่เรา ” แล้วต่อจากนั้น ประมวลธรรม ๘ ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “ ทีปังกร ” เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า 


“ 
ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไป ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ” จึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า “ โคดม ” ก็ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่า “ กบิลพัสดุ์ ” จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่า “ มายา ” เป็นพระมารดา พระราชาทรงพระนามว่า “ สุทโทธนะ ” เป็นพระราชบิดา พระเถระชื่อว่า “ อุปติสสะ ” เป็นอัครสาวก และเถระชื่อโกลิตะ เป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปัฎฐากชื่อว่า “ อานนท์ ” พระเถรีนามว่า “ เขมา ” เป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่า “ อุบลวรรณา ” เป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้น “ อัสสัตถพฤกษ์"  

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า “
นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ ” มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า “ นัยว่า สุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า “ และพวกเขาเหล่า นั้นก็ได้มีความคิดว่า “ ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่าน ”

ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมแลนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว คิดว่า “
เราจักเลือกเฟ้นดูบารมีทั้งหลาย ” จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการกล่าวว่า

 “ นี่แนะพระผู้เป็นเจ้า สุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย ” นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า "เราจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลายชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใดจะปรากฎบุรพนิมิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่น ” ได้กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาลเกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า “ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่าก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ(คลอด) เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ”


สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจว่า “ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ” เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ” จึงได้เห็น
บารมี๑๐
  • ทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้ว ย่อมคายน้ำออกไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยา หรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้อง การอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มา ถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือ อยู่จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆขึ้นด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” เขาได้เห็น

  • ศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าธรรมดาว่า เนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิตรักษาหางของตนอย่างเดียวฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีลอย่างเดียวจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

  • เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียวและไม่อยากจะอยู่เลยฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้น เหมือนกันท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ” ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมี ข้อที่สามมั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

  • ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหาเหมือนอย่างว่าภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลใด ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ” ได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่นแล้ว ลำดับนั้นเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่จึงได้เห็น

  • วิริยบารมีข้อที่ ๕ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญวิริยาบารีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็นสัตว์ มีความเพียรมั่นในทุกอิริยาบถฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

  • ขันติบารมีข้อที่ ๖ จึงได้กล่าวสอนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่นเหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้" ได้อธิษฐานขันติบารมี ข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

  • สัจจบารมีข้อที่ ๗ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาวประกายพรึกในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่นโคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใดแม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ ทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

  • อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีท่านอธิษฐานสิ่งใดไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้นเหมือนอย่างว่าธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ย่อมไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตนฉันใดแม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

  • เมตตาบารมีข้อที่ ๙ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว ต่อมาเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

  • อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดีเหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ” ได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่๑๐ ทำให้มั่นแล้ว

  • ต่อจากนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า “ พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มีบารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดีในทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มีตั้งอยู่ในหทัยของเรานี้เอง ” สุเมธดาบส เมื่อเห็นว่า “ บารมี ” เหล่านั้น ตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ตอนปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบริจาคสิ่งของภายนอกเป็น “ ทานบารมี ” การบริจาคอวัยวะเป็น “ ทานอุปบารมี ” การบริจาคชีวิตเป็น “ ทานปรมัตบารมี ” ที่ตรงท่ามกลางแล้ว


๑๐. ปรินิพพาน

คืนวันนั้นเป็นวันเพ็ญวิสาขะปุรณมี (ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม) พระจันทร์เต็มดวง เวลาก็ล่วงมัชฌิมยามไปแล้ว พระบรมศาสดาบรรทมเหยียดพระกายในท่าสีหไสยาสน์ทรงระโหยโรยแรงยิ่งนัก แต่ก็ฝืนพระทัย ดำรงสติมั่น สั่งสอนให้โอวาทพระภิกษุสงฆ์สาวกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จปรินิพพานดังนี้


"อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พวกเธอทั้งหลายอาจคิดไปว่า บัดนี้ไม่มีพระศาสดาแล้ว อาจรู้สึกว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง พวกเธอจงอย่าคิดอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมวินัยเหล่านั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลายแทนเราต่อไป"

"อีกเรื่องหนึ่ง คือพระฉันนะ เธอดื้อดึง มีทิฐิมานะมาก ไม่ยอมเชื่อฟังอ่อนน้อมใคร เพราะถือว่า เป็นอำมาตย์ ราชบริพารเก่าแก่ของเรา เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ขอให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือเธอจะทำ จะพูด สิ่งใด หรือประสงค์จะอยู่อย่างไร ก็ปล่อยเธอตามสบาย สงฆ์ไม่ควรว่ากล่าวตักเตือน ไม่ควรพร่ำสอนเลย เธอจะรู้สึกตัวเองในทีหลัง"

"อีกเรื่องหนึ่งคือ สิกขาบทบัญญัติที่เราได้บัญญัติไว้ เพื่อภิกษุทั้งหลาย จะได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก ไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สิกขาบทบัญญัติเหล่านั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเราล่วงลับ ไปแล้ว สงฆ์พร้อมใจกันจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ซึ่งขัดกับกาลสมัยเสียบ้างก็ได้ จะเป็นความลำบากในการปฏิบัติ สิกขาบทที่ไม่เหมาะสมัยเช่นนั้น เราอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้"

"ภิกษุรูปใดมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคในข้อปฏิบัติใดๆ ก็ดี จงถามเสีย อย่าเป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังว่า เราอยู่เฉพาะหน้าพระศาสดาแล้ว ไม่กล้าถามในที่เฉพาะหน้า"

ปรากฏว่าไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ตลอดเวลาที่ทรงเตือนซ้ำจนครบสามครั้ง ทุกองค์นั่งเงียบกริบ ในบริเวณป่าต้นสาละแห่งนี้ สงบเงียบไม่มีเสียงใดๆ เลย แม้จะมีพุทธบริษัทประชุมกันอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม พระกำลังของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้อยเต็มทีแล้ว ในที่สุดทรงตรัสปัจฉิมวาจาครั้งสุดท้ายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต"


ต่อจากนี้ทรงนิ่งเงียบ ไม่ตรัสอะไรอีกเลย เสด็จเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเทวยิตินิโรธ แล้วย้อนกลับลงมาตามลำดับจนถึงปฐมฌาน แล้วย้อนขึ้นอีกโดยลำดับจนถึง จตุตถฌาน เป็นอนุโลม ปฏิโลม และเสด็จปรินิพพานในเมื่อออกจากจตุตถฌานนั่นเอง

พระอนุรุทธะเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในที่ประชุมขณะนั้น และได้รับการยกย่อง จากพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญเลิศทางทิพยจักษุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่าพระพุทธองค์เข้าสู่ฌานนั้นๆ แล้ว และก็ปรินิพพานเมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะ คือพระองค์เสด็จปรินิพพาน ในระหว่างนั้นนั่นเอง (พระบรมศาสดาประสูติ ณ ใต้ต้นสาละในป่าและก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ โคนต้นสาละคู่ ในป่า ในวันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖) เหตุอัศจรรย์ก็บันดาลให้เป็นไป มหาปฐพีก็หวั่นไหวครั้งใหญ่ ขนพอง สยองเกล้า น่าหวาดเสียว และกลองทิพย์ก็บันลือลั่นไปในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะ ได้กล่าวว่า

"ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น คงที่ มิได้มีอีกแล้ว พระมุนีมิได้ทรงพรั่นพรึง ทรงปรารถความสงบ ทรงทำกาละแล้ว มีพระหฤทัยไม่หดหู่ ทรงครอบงำเวทนาได้แล้ว ได้เป็นผู้มีพระทัยหลุดพ้นพิเศษแล้ว เหมือนดวงประทีปที่สว่าง ดับไปฉะนั้น"

บรรดาภิกษุที่ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ภิกษุเหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ก็กอดแขนคร่ำครวญ ฟุบลงกลิ้งเกลือกไปมา รำพันว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้วๆ" พระอนุรุทธะผู้มีอาวุโสสูงสุด ได้มีบัญชา ให้พระอานนท์ เข้าไปแจ้งข่าวปรินิพพาน แก่มัลละกษัตริย์ในเมืองกุสินารา ซึ่งประจวบกับที่พวกกษัตริย์ กำลังประชุม ปรึกษาพร้อมกันอยู่ ต่างคนก็ต่างเศร้าโศกเสียใจ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษตระเตรียมเครื่องหอม ดอกไม้ ดนตรีและผ้าอีก ๕๐๐ คู่ เข้าไปยังสวนป่าสาลวัน ทำการบูชาพระพุทธสรีระ ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีเป็นต้น จนถึงวันที่ ๗ จึงพร้อมกันอัญเชิญพระพุทธสรีระ ไปทางทิศเหนือของพระนคร นำไปประดิษฐาน ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก ของนครกุสินารา



มัลละกษัตริย์ได้ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์ คือปฏิบัติเหมือนในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์ โดยให้พันพระพุทธสรีระด้วยผ้าใหม่ และซับด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วพันผ้าใหม่ ซับด้วยสำลีอีก โดยนัยนี้ ตามกำหนดถึง ๕๐๐ คู่ เสร็จแล้วอัญเชิญลงประดิษฐานในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมัน ปิดด้วยรางเหล็กอีกเป็นฝาครอบ แล้วสร้าง จิตกาธาน (เชิงตะกอน) ด้วยไม้หอมทั้งหมด อัญเชิญพระพุทธสรีระ ขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธานนั้น เพื่อถวาย พระเพลิงทันที พอดีมีข่าวมาว่าพระมหากัสสป พระเถระผู้ใหญ่ที่พระบรมศาสดา ทรงยกย่องมาก กำลังเดินทาง จากเมืองปาวา จวนจะถึงกุสินาราอยู่แล้ว คณะมัลละกษัตริย์และพระอนุรุทธะ ประธานฝ่ายสงฆ์ จึงให้หยุดการถวายพระเพลิงไว้ก่อน รอจนกระทั่งพระมหากัสสป มาถึงมกุฏพันธนเจดีย์ ท่านและพระภิกษุบริวาร อีกประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เดินวนเวียน ประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบแล้ว เปิดแต่พระบาท ถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าของตน เสร็จแล้ว พิธีถวายพระเพลิงจึงได้เริ่มขึ้น โดยมีพระมหากัสสป เป็นประธาน ในฐานะอาวุโสสูงสุด

ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์ลิจฉวี ศากยะกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พูลิกษัตริย์ ชาวเมือง อัลลกัปปนคร โกลิยกษัตริย์ ชาวเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองนครเวฏฐทีปกะ มัลละกษัตริย์อีกพวกหนึ่ง ที่ครองเมืองปาวา ต่างส่งทูตมาขอปันส่วนแห่ง พระบรมสารีริกธาตุ โดยจะนำไปบรรจุในพระสถูปหรือเจดีย์ต่อไป มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราไม่ยินยอม โดยอ้างว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานในดินแดนของตน จึงเกิดโต้เถียง กันขึ้น จนจวนจะเกิดสงครามใหญ่ โทณพราหมณ์ นักปราชญ์ใหญ่ท่านหนึ่งแห่งกุสินารา เห็นเหตุการณ์แปรผันไป เช่นนั้น จึงขอร้องให้กษัตริย์ทั้งหลายสามัคคีปรองดองกัน ด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน นำไป บรรจุในสถูปในที่ต่างๆ กัน เพื่อให้แพร่หลายไปทั่วทุกทิศ ในที่สุดก็ตกลงกันได้ ฝ่ายกษัตริย์วงศ์เมารยะ(หรือโมริยะ) มาถึงช้า จึงได้แต่พระอังคารไป (คือเถ้าถ่านเหลือจากการถวายพระเพลิง)

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่ ๘ เมืองด้วยกันคือ
๑. กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
๒. กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
๓. กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
๔. กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
๕. มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
๖. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
๗. พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
๘. มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
* กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร ไว้ที่เมืองปิปผลิวัน (กษัตริย์โมริยะมาหลังจากที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้วจึงได้แค่เถ้าถ่านที่เหลือไป)
* โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ที่เมืองกุสินารา (โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้สร้างสถูปเอาไว้เก็บ ทะนาน ที่ใช้ตวงไว้ด้วย)

นอกจากนี้ ยังมีพระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนและเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า ก็ได้ถูกแบ่งไปยังเมืองต่างๆด้วย
๑. พระทันตธาตุ อยู่ใน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ , เมืองคันธารวิสัย , เมืองกาลิงคราช , และ นาคบุรี
๒. พระทันตธาตุที่เหลือ และ พระเกศธาตุ และ พระโลมา เทวดาได้นำไปไว้ยังจักวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง (ไม่มีระบุชื่อไว้ว่าที่ไหนบ้าง)
๓. บาตร , ไม้เท้า และ จีวร อยู่ใน วชิรานคร
๔. ผ้าปัจจัตถรณะ อยู่ใน สีหฬ
๕. ธมกรกและประคตเอว อยู่ใน นครปาฏลิบุตร
๖. ผ้าอาบน้ำ อยู่ในจำปานคร
๗. อุณณาโลม อยู่ใน แคว้นโกศล
๘. ผ้ากาสาวพัสตร์ อยู่ในพรหมโลก
๙. ผ้าโพก อยู่ในดาวดึงส์
๑๐. ผ้านิสีทนะ อยู่ในอวันตีชนบท
๑๑. ผ้าลาด อยู่ในดาวดึงส์
๑๒. ไม้สีไฟ อยู่ในมิถิลานคร
๑๓. ผ้ากรองน้ำ อยู่ในวิเทหรัฐ
๑๔. มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร

ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทำการรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดมาไว้ที่เดียวกันอีกครั้ง จากนั้นประมาณ ๓๐๐ ปีหลังปรินิพพาน พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้นำพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดระจายไปบรรจุในพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารที่ทรงสร้างไว้

พระบรมธาตุสัณฐานเมล็ดพันธ์ผักกาด เป็นพระบรมธาตุส่วนแตกกระจายที่มีขนาดเล็กที่สุด


ศากยวงศ์, • พระโพธิสัตว์จุติ, • ประสูติ, • คำทำนายโหราจารย์,  • เสด็จออกบรรพชา, • ตรัสรู้, • เสวยวิมุติสุข, • ปฐมเทศนา• ๔๕พรรษา, • ปรินิพพาน

๐๖. ตรัสรู้

พระพุทธองค์ทรงค้นคว้าหาทางตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่างๆ โดยบำเพ็ญเพียรทาง ทุกรกิริยา ทรมานกายให้ลำบากอย่างยิ่ง เริ่มแต่ทรงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานปากด้วยลิ้น ผ่อนลมหายใจเข้าออกให้เหลือน้อยๆ แล้วกลั้นลมหายใจนานๆ จนตัวร้อนเป็นไฟเหงื่อไหลย้อย หัวใจสวิงสวาย ทรงเสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย ในที่สุดพระวรกายก็ซูบผอมได้รับความลำบากอย่างยิ่ง จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลาย นับว่าเป็นความเพียรอย่างยิ่ง ยากที่นักพรตใดๆ จะทำได้ แต่ก็หาสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณไม่ เพราะทุกกรกิริยาไม่ใช่ทางแห่งการตรัสรู้

จึงมาทรงดำริเห็นว่า อันความเพียรนั้น ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลทีหลัง ถ้าตึงเครียดนักก็มักพลาด ต่อเมื่อเดินทางสายกลางพอดีๆ ทั้งกายและใจจึงจะเกิดผล ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักก็ขาด แต่พอดีๆ จึงจะมีเสียงนิ่มนวลพอฟังได้ (ตำราประวัติพระพุทธเจ้าบางเล่มก็กล่าวว่า ช่วงที่พระองค์กำลังทรมานพระวรกายอยู่จนถึงที่สุดนั้น มีเทวดาเสด็จลงมาทรงพิณสามสาย ซึ่งได้ตั้งสายพิณไว้ ๓ ระดับ คือตึงเกินไป เล่นได้สักครู่สายพิณก็ขาด ตั้งสายพิณหย่อนเกินไป เสียงเพลงก็ไม่ไพเราะ และสุดท้ายตั้งสายพิณปานกลาง ปรากฏว่ามีความไพเราะจับใจ)


พระองค์ทรงเห็นแล้วขณะนี้ว่า ได้เคยเสวยสุขในทางกามคุณมาก็มากปฏิบัติทางทุกกรกิริยาก็มาเต็มที่แล้ว ทั้งสองนี้ จะไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุจุดหมายปลายทางได้เลย ทางที่ถูกต้องเป็นทางสายกลาง (หรือที่รู้จักกันในการเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา) ตั้งมั่นลงในศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งในอริยสัจจธรรม เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จึงจะเข้าถึงญาณแห่งความหลุดพ้น (วิมุตติอริยมัคคญาณ)ได้ในที่สุด พระองค์จึงเปลี่ยนความตั้งใจเดิม เลิกทุกรกิริยาทรมานตนเอง กลับใจเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายอย่างแต่ก่อน ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเสียใจ พากันหลีกไป ทรงตรัสเล่าภายหลังว่า "ครั้นตถาคตกลืนกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมสดแล้วปัญจวัคคีย์ทั้งห้ารูป พากันหน่ายในเรา พากันหลีกไปด้วยคิดว่า พระสมณโคดมเป็นคนมักมาก คลายความเพียรเสียแล้ว"

พระองค์ทรงปริวิตกว่า อะไรหนอคือหนทางที่จะทำให้หลุดพ้นออกจากความทุกข์ อันมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ (โสกะ แปลว่า ความโศก ปริเทวะ แปลว่า ความคร่ำครวญ ความรำพัน) เป็นต้น เสียได้ ทรงพิจารณาสืบสาวไปหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้พบว่า เพราะชาตินี่เองมีอยู่ ความแก่ ความตาย เป็นต้น จึงได้มีตามมา คือถ้าคนไม่เกิดเสียอย่างเดียว ความทุกข์ทั้งหลายก็ไม่มี ทรงค้นหาสาเหตุเรื่อยไปๆ จนพบลูกโซ่คือ เหตุปัจจัยต่างๆ กันว่า เพราะชาติมีอยู่ ชรา มรณะ จึงมี เพราะภพมีอยู่ จึงทำให้มีชาติและต่อๆ ไป คือ อุปาทาน (ความยึดมั่น)-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะฯลฯ จนถึงอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

ทรงพิจารณากลับอีกทีหนึ่ง ก็เห็นว่าเมื่ออวิชชายังมีอยู่ สังขารจึงมี เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี ฯลฯ จนถึง ชาติ ชรา มรณะ คือ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมมีขึ้นอย่างนี้เอง ทรงกล่าวว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุญาณ ปัญญา วิชชา ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทั้งหมดเป็นฝ่ายข้างเกิด คือทำให้ ชาติ ชรา มรณะ เกิดขึ้น" แล้วตรัสถึงฝ่ายข้างดับต่อไปเป็นลำดับ สรุปลงในที่สุดว่า "จักษุญาณ ปัญญา วิชชา ได้บังเกิดแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นฝ่ายข้างดับ คือ การเกิดขึ้นจะไม่มีอีกแล้วดังนี้" พุทธภาษิตนี้แสดงว่า ที่พระองค์ได้ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณในเวลาต่อมา ก็เพราะพิจารณาจนเห็นแจ้งแทงตลอดทั้งฝ่ายทำให้เกิด และฝ่ายทำให้ดับนี้เอง ได้ทรงค้นคว้าเหตุปัจจัยของความทุกข์ ครั้นเมื่อพบเหตุปัจจัยนั้นเข้าด้วยอำนาจแห่งพระปัญญาความตรัสรู้จึงเกิดขึ้น

พระองค์จึงตัดสินใจจะเสด็จลงจากเชิงเขาดงคสิริ มายังหมู่บ้านนางสุชาดา คืนนั้นทรงฝันสำคัญเรียกว่า มหาสุบิน ๕ ประการ คือ
๑. ฝันว่า ทรงบรรทมเหนือโลก มีเขาหิมพานต์ (ภูเขาหิมาลัย) เป็นหมอนหนุน
๒. ฝันว่า หญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกจากพระนาภี (สะดือ) ยาวขึ้นไปจดท้องฟ้า
๓. ฝันว่า หนอนหัวดำตัวขาวไต่ขึ้นมา แต่ปลายพระบาทจนถึงพระชาณุ (เข่า)
๔. ฝันว่ามีนาค ๔ จำพวก สีเหลือง สีเขียว สีแดง สีดำ เลื้อยเข้ามาฟุบลงแทบพระบาท แล้วกลายเป็นสีขาวไปทั้งหมด
๕. ฝันว่า พระองค์เสด็จขึ้นไปจงกรมอยู่บนยอดเขา อันเต็มไปด้วยมูตคูถ แต่ของสกปรกเหล่านี้ จะได้ติดต้องพระบาท แม้แต่นิดเดียว ก็หามิได้

คำทำนายของพระสุบินนิมิตนี้มีว่า
๑. บรรทมเหนือพื้นภูมิภาค นั้นเป็นบุพนิมิตจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแน่นอน
๒. หญ้าแพรกงอกขึ้นจากพระนาภีสูงไปจดอากาศนั้น เป็นบุพนิมิตที่จะได้ตรัสเทศนาพระอริยมรรค มีองค์ ๘ แก่มนุษย์และเทพดาทั้งปวง
๓. หนอนไต่ขึ้นมานั้น คือคฤหัสถ์ทั้งหลายจะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์ และจะเข้าถึงพระไตรสรณคมน์
๔. สกุณชาติทั้งหลายสี่สีบินมาจากทิศต่างๆ ถึงพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปสิ้น หมายถึง สกุลทั้ง ๔ มี ขัตติยะสกุล เป็นต้น จะออกจากฆราวาสมาบรรพชา และตรัสรู้ซึ่งวิมุตติธรรมอัน ประเสริฐ
๕. เสด็จขึ้นไปจงกรมบนยอดเขาที่เต็มไปด้วยมูตคูถ เป็นต้น แสดงว่าจะได้จตุปัจจัย ๔ มากมาย แต่มิได้ทรงห่วงกังวลกับของเหล่านี้เลย

เช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์เสร็จมายังใต้ร่มไทรต้นหนึ่งในหมู่บ้าน เผอิญไทรต้นนี้นางสุชาดาลูกสาวคหบดีผู้มั่งคั่งในละแวกนั้น ได้เคยมาบนบานศาลกล่าวไว้ว่า ขอให้ได้ลูกชาย (ลูกชายคนนี้คือพระยสะ ซึ่งภายหลังย้ายไปอยู่เมืองพาราณสี เกิดเบื่อหน่ายทางกามคุณ ได้พบและฟังธรรมพระพุทธเจ้าจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์) เมื่อได้บุตรชายสมปรารถนาแล้ว ก็ตั้งใจจะมาแก้บนกันเสียที เพราะทิ้งเอาไว้นานหลายปีแล้ว นางได้จัดทำข้าวปายาสหุงต้นด้วยน้ำนมโคสดอย่างดีไว้และให้สาวใช้ล่วงหน้ามาปัดกวาด ทำความสะอาดสถานที่เตรียมการบูชารุกขเทวดาที่ต้นไทร สาวใช้ได้มาเห็นพระพุทธองค์ประทับผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีรัศมีดังสีทองแผ่สร้านออกไปทั่วปริมณฑล ก็คิดในใจว่า เป็นเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรนี้มาปรากฏกายให้เห็น เพื่อคอยรับเครื่องพลีกรรม นางดีใจรีบวิ่งกลับไปรายงานให้นายสาวทราบ นางสุชาดาปลื้มใจมาก จึงจัดข้าวปายาสใส่ถาดทองคำมายังต้นไทร


พอได้มาเห็นพระพุทธองค์สมจริงดังคำบอกเล่าของสาวใช้ก็ยิ่งเกิดความปิติยินดีมากขึ้น คิดว่าเป็นรุกขเทวดาแน่แล้ว จึงเข้าไปกราบถวายข้าวปายาส พร้อมทั้งถาดทองราคาแสนกหาปณะ โดยมิได้มีความเสียดายแม้แต่น้อย พระพุทธองค์รับข้าวปายาสจากนางสุชาดาแล้ว ทรงเดินปทักษิณาวรรตต้นไทรสามรอบและตรงไปยังท่าสุปปติฏฐิตะ สรงน้ำชำระกาย แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นไทร ปั้นข้าวปายาสเป็นก้อนใหญ่พอประมาณได้ ๔๙ ก้อน แล้วเสวยจนหมด พระกระยาหารมื้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นอาหารที่ทำให้พระองค์อิ่มอยู่ได้ถึง ๔๙ วัน โดยมิต้องกังวลต่อความหิวใดๆ ทั้งสิ้น

เมื่อเสวยแล้ว ทรงนำถาดทองไปลอยน้ำ อธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า หากจะได้ตรัสรู้อนุตตรธรรมแล้วไซร้ ก็ขอให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ถ้าจะไม่ได้ตรัสรู้ ก็ขอให้ถาดลอยตามน้ำไปเถิด ปรากฏว่าถาดได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปด้วยแรงอธิษฐานแล้วจมลงสู่นาคพิภพ รวมกับถาดสามใบของอดีตพระพุทธเจ้า คือ พระกกุสันโธ พระโคนาคม และพระกัสสป เมื่อลอยถาดทองแล้ว เวลาใกล้เที่ยง จึงเสด็จกลับมาพักที่ดงต้นสาละเพื่อหลบแดดตอนเที่ยง จวบจนบ่ายตะวันคล้อยจึงเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรามายังอีกฝากหนึ่งคือตรงมายังต้นศรีมหาโพธิ์ น้ำในแม่น้ำขณะนั้นคงจะไม่ลึกนัก และแห้งเป็นบางแห่งเพราะหน้าร้อน


ระหว่างทางก่อนถึงต้นโพธิ์ ได้พบคนตัดหญ้า ชื่อโสตถิยะ (หรือสวัสดิกะ) เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ถวายฟ่อนหญ้ากุสะ (คล้ายๆ หญ้าคา) ๘ ฟ่อนเล็กๆ เมื่อทรงรับฟ่อนหญ้าคาแล้ว ก็เอามาปูลาดเป็นสันถัดประทับนั่งบำเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพราะที่นี่เป็นทำเลสงบดีกว่าที่อื่นๆ ทรงหันพระพักตร์ไปทางตะวันออก คือแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งในสมัยนั้นไม่ค่อยมีบ้านช่อง จึงมองเห็นแม่น้ำได้อย่างถนัด แสงเดือนในคืนวันเพ็ญสาดลงสู่สายน้ำเป็นประกายแวววับ ทำให้เกิดปิติสุขได้อย่างดี ขณะนั้นพญาวสวัตตีมาร เห็นพระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจของตน จึงยกทัพมารบกวนรังแกมิให้ทรงตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ พระองค์ได้น้อมพระหฤทัยถึงบารมีธรรม ๑๐ ทัศ ซึ่งทรงบำเพ็ญมาแล้วในอดีต มิได้สะดุ้งตกพระทัยแต่อย่างใด พญามารได้ใช้อาวุธร้ายแรงขว้างไปเพื่อหวังสังหารพระองค์ แต่อาวุธทั้งหลายเหล่านั้นกลับกลายเป็นดอกไม้ และฉัตรกั้นกางอยู่เหนือพระเศียรอย่างน่าอัศจรรย์ พญามารไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่ร้องตู่ว่ารัตนบัลลังก์นี้ เป็นสมบัติของตน พระองค์จึงทรงอธิษฐาน โดยเอามือขวาจับพื้นดินขอให้แม่ปฐพีเป็นสักขีพยาน (ภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย) ทรงเสี่ยงพระบารมีขันติธรรมเข้าช่วยผจญมาร แม่พระธรณีเทพยดาผู้รักษาพื้นแผ่นดินบริเวณนั้น จึงแปลงเพศเป็นหญิงสาวขึ้นมาบีบมวยผม เกิดน้ำไหลท่วมกองทัพพญามารให้พ่ายแพ้ไปหมดสิ้นก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน ทำให้พระองค์ตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ลึกและแน่วแน่นับแต่บัดนั้น เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นการเบิกทางไปสู่การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะในราตรีนั้น ตรงกับวันวิสาขปุรณมี ดิถึเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๔๕ (และชาวพุทธเรายึดถือเอาวันนี้เป็นวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นที่ระลึกนึกถึงวันคล้ายวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในทางศาสนาพิธี) ทรงพระชนมายุได้ ๓๕ ชรรษา





ศากยวงศ์, • พระโพธิสัตว์จุติ, • ประสูติ, • คำทำนายโหราจารย์,  • เสด็จออกบรรพชา, • ตรัสรู้, • เสวยวิมุติสุข, • ปฐมเทศนา, • ๔๕ พรรษา, • ปรินิพพาน

แสงธรรมนำทาง...

ธรรมสุตตะ | ศึกษาพระธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎก © 2008. Template by Dicas Blogger.

กลับขึ้นด้านบน