วันจันทร์

๑.๑๒ แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม

ปฏิกรรม เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งของหลักกรรม แปลว่า การแก้ไข การทำให้กลับคืนดี หรือการกลับตัว ซึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุนให้ปฏิบัติ มีหลักสำคัญคล้ายกันทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ คือ เมื่อใดก็ตาม ถ้ามีการทำผิด ละเมิด ล่วงเกินต่อผู้อื่น ต่อมารู้ตัวแล้ว แสดงความยอมรับสำนึกผิด และถ้ามีโอกาสมาบอกขอให้เขายอมรับความสำนึกของตนเพื่อปฏิกรรม และสำรวมระวังต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในวินัยของอารยชน เปรียบเทียบกับการขออโหสิกรรมในปัจจุบัน จะเห็นว่าสาระแท้จริงของปฏิกรรมนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนการกระทำที่ผิดพลาดให้กลับเป็นดี ส่วนการขออโหสิกรรมนั้นไม่ค่อยมีการพูดเน้นถึงการพัฒนากรรม และถือเป็นความนิยมในยุคหลัง (ความหมายเดิม อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล ได้แก่กรรมที่ไม่ได้โอกาสที่จะให้ผลภายในเวลาที่จะออกผลได้)


“ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแล เรียกว่าเป็นพาลแท้ๆ” (คาถาธรรมบท พาลวรรค)

“ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ” (พลสูตร)

“ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก” (พรหมทัตตเถระคาถา)

“ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ พระขีณาสพผู้สงบระงับ ละความชนะความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” (สุขวรรค)

“ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆหมอก” (องคุลิมาลเถระคาถา)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น