บันทึกที่ ๑: เรื่อง ขันธ์ ๕

บันทึกพิเศษท้ายบท เพื่อความเข้าใจลึกลงไปจำเพาะเรื่อง

บันทึกที่ ๑: เรื่อง ขันธ์ ๕

มีรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ซึ่งควรทราบไว้เป็นความรู้ประกอบเบื้องต้น ดังนี้
๑. รูป ตามแนวอภิธรรมแบ่งรูปเป็น ๒๘ อย่าง คือ
    ๑) มหาภูตรูป ๔ (เรียกง่าย ๆ ว่า ธาตุ ๔) คือ ปฐวีธาตุ (สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่) อาโปธาตุ (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม) เตโชธาตุ (สภาพที่แผ่ความร้อน) วาโยธาตุ (สภาพที่สั่นไหว)
    ๒) อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป) คือ
            ประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น 
(จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย)
            อารมณ์ ๔ คือ รูป เสียง กลิ่น รส (รูปะ สัททะ คันธะ รสะ; โผฏฐพพะ
ไม่นับ เพราะตรงกันกับ ปฐวี เตโช และวาโย)
            ความเป็นหญิง ๑ (อิตินทรีย์)
            ความเป็นชาย ๑ (ปุริสินทรีย์)
            ที่ตั้ง
ของจิต ๑ (หทัยวัตถุ)
            การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย ๑ (กายวิญญัติ)
            การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา ๑ 
(วชีวิญญัติ)
            ชีวิตินทรีย์ ๑
            ช่องว่าง ๑ (อากาศ)
            ความเบาของรูป ๑ (รูปสุส ลหุตา)
            ความอ่อนหยุ่นของรูป ๑ (รูปสุส
มุทุตา)
            ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป ๑ (รูปสุส กมุมญญตา)
            ความเจริญหรือขยายตัวของรูป ๑ (รูปสุส อุปจย)
            การสืบต่อของรูป ๑ (รูปสุส สนุตติ)
            ความเสื่อมตัว ๑ (ชรตา)
            ความสลายตัว ๑ (อนิจจตา)
            อาหาร ๑ (หมายถึง
โอชา)

พึงสังเกตว่า คำว่า “หทัยวัตถุ” ซึ่งแปลกันว่าหัวใจ และถือว่าเป็นที่ทำงานของจิตนั้น เป็นมติในคัมภีร์
รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก

๒. เวทนา แบ่งเป็น ๓ คือ สุข (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) ทุกข์ (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) อทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือเฉยๆ บางทีเรียกว่า (อุเบกขา); อีกอย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ๕ คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ดีใจ) โทมนัส (เสียใจ) อุเบกขา (เฉยๆ); แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๕ คือ เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย และทางมโน

๓. สัญญา แบ่งเป็น ๖ ตามทางแห่งการรับรู้ คือ
    ๑. รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น
    ๒. สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา หุ้ม แหลม เป็นต้น
    ๓. คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น
    ๔. รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น
    ๕. โผฏฐพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น
    ๖. ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

๔. สังขาร ตามหลักอภิธรรม แบ่งเจตสิกเป็น ๕๒ อย่าง ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ ๕ เจตสิกก็ได้แก่ เวทนา สัญญา
และสังขารทั้งหมด คือในจำนวนเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ที่เหลืออีก ๕๐ อย่าง เป็นสังขารทั้งสิ้น สังขารขันธ์ จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง ซึ่งแยกย่อยได้ดังนี้
    ๑) อัญญสมานาเจตสิก ๑๑  (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว) (นับครบมี ๑๓ เพราะเวทนาและสัญญาเป็นเจตสิกหมวดนี้ แต่ไม่เป็นสังขาร จึงตัดออกไป) คือ
        (๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก  (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) คือ ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา (สมาธิ) ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (จำนวนเดิมมี ๗ ทั้งเวทนา กับสัญญา)
        (๒) ปกิณณกเจตสิก  (เกิดกับจิตได้ทั่วๆ ไป ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว) คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ (ความปักใจ) วิริยะ ปีติ ฉันทะ
    ๒) อกุศลเจตสิก ๑๔ (เจตสิกที่เป็นอกุศล)  คือ
        (๑) อกุศลสาธารณเจตสิก  (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง) คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และ อุทธัจจะ
        (๒) ปกิณณกอกุศลเจตสิก ๑๐ (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลแต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถิ่นะ มิทธะ และวิจิกิจฉา
    ๓) โสภณเจตสิก ๒๕ (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต)  คือ
        (๑) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ (เกิดกับจิตดีงามทุกดวง) คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ (เมตตา) ตัตรมัชฌัตตตา (บางที่เรียกอุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งนามกายคือกองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกายคือกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา (ความชื่อตรงแห่งนามกายคือกองเจตสิก) จิตตุชุกตา
        (๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก   (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (รวมเรียก วีรตีเจตสิก ๓) กรุณา มุทิตา (เรียกรวมกันว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒) และปัญญา

(🙏 ศึกษาเพิ่มความเข้าใจในอภิธรรมเบื้องต้น เจตสิกกลุ่มที่ ๑- ๓)

ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.๑๗/๑๑๖/๗๔) ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา ๖ หมวด คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐพพสัญเจตนา และธรรมสัญเจตนา แปลว่า เจตจำนงหรือความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ และธรรมารมณ์

๕. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และ 
มโนวิญญาณ (แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ) ตามแนวอภิธรรม เรียกวิญญาณขันธ์ทั้งหมดว่า “จิต” และจำแนกจิตออกไปเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง คือ
    ก. จำนวนตามภูมิ หรือระดับของจิต เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตรจิต ๘ (แยกพิสดารเป็น ๔๐)
    ข. จำแนกโดยคุณสมบัติเป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิบากจิต ๓๖ (พิสดารเป็น ๕๒) กิริยาจิต ๒๐ ในที่นี้ จะไม่แสดงรายละเอียดชื่อของจิตแต่ละอย่างๆ เพราะเกินจำเป็น และจะทำให้ฟันเฟือ


🔅 บทที่ ๑ ขันธ์ ๕
บันทึกพิเศษท้ายบท
    บันทึกที่ ๑: เรื่อง ขันธ์ ๕