บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ พระอภิธรรม

อารมณ์พิสดาร

รูปภาพ
❁ ❁  อารมณ์พิสดาร   ❁ 🥀 ตามที่ได้แสดงประเภทของอารมณ์ต่างๆ มาแล้ว มีอารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ และยังจำแนกประเภทของอารมณ์ออกเป็น ๔ ประเภท โดยกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ บัญญัติอารมณ์ โลกุตตรอารมณ์ เนื่องจากสภาวะของอารมณ์นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีชื่อเรียกได้หลายอย่างต่าง ๆ กัน โดยนัยแห่งเทศนา ฉะนั้น เมื่อจะรวบรวมประเภทของอารมณ์ต่าง ๆ นั้นโดยพิสดารแล้ว มีอยู่ ๒๑ อย่าง คือ :- แสดงอารมณ์พิสดาร ๒๑ ประเภท ๑.  กามอารมณ์  ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖ ๒.  มหัคคตอารมณ์  ได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗, เจตสิก ๓๕, ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์ ๓.  นิพพานอารมณ์  ได้แก่ นิพพาน ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์ ๔.  นามอารมณ์  ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน ๑ ได้อารมณ์ ๑ คือ ธรรมารมณ์ ๕.  รูปอารมณ์  ได้แก่ รูป ๒๘ ได้อารมณ์ ๖ ๖.  ปัจจุบันอารมณ์  ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่กำลังเกิดขึ้น ได้อารมณ์ ๖ ๗.  อดีตอารมณ์  ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป ที่ดับไปแล้ว ได้อารมณ์ ๖ ๘. อนาคต...

อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต

รูปภาพ
ในจำนวนจิตทั้งหมด ส่วนมากแล้วจำเป็นต้องอาศัยทวารเกิดเสมอ เรียกจิตที่อาศัยทวารเกิดนี้ว่า “ทวาริกจิต” แต่ยังมีจิต ๑๙ ดวง เป็นจิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารใดเลย ดังกล่าวแล้วใน “ ทวารสังคหะ ” จิต ๑๙ ดวงนั้น ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙ จิตทั้ง ๑๙ ดวงนี้ ขณะทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ ทั้ง ๓ อย่างนี้ แม้จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใด เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมในอดีตก็จริง แต่ก็ต้องรับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖ อยู่เสมอ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องในปัจจุบันภพ เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อนที่มรณาสันนชวนะ (จิตที่เสพอารมณ์เมื่อใกล้จะตาย) รับเอามาเมื่อใกล้จะตาย แล้วแต่การเสพอารมณ์เมื่อใกล้จะตายของผู้นั้นจะได้รับอารมณ์อะไร ถ้าเมื่อใกล้จะตาย รับรูปารมณ์ รูปารมณ์ นั้น ก็เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต หรือเมื่อใกล้จะตาย มรณาสันนชวนะรับเอาสัททารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์แล้ว สัททารมณ์ เป็นต้นเหล่านั้นก็เป็นอารมณ์ของทวารวิมุตตจิต จึงกล่าวได้ว่า อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต คือ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ นั...

อารัมมณสังคหะ

รูปภาพ
 แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งการรับอารมณ์ ชื่อว่า “ อารัมมณสังคหะ ” อารมณ์ คือ ธรรมชาติ อันเป็นที่น่ายินดีของจิตและเจตสิก หรือเป็นธรรมชาติ อันเป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกทั้งหลาย ดังวจนัตถะว่า  (จิตฺตเจตสิกานิ) อาคนฺตวา เอตฺถ รมนฺตีติ อารมฺมณํ  แปลว่า จิตและเจตสิกทั้งหลายมาแล้วย่อมยินดีในธรรมชาตินี้ ฉะนั้นธรรมชาตินี้ ชื่อว่า อารมฺมณ. (ธรรมชาติเป็นที่มายินดีของจิตและเจตสิก)  ( จิตฺฺตเจตสิเกหิ) อาลมฺพิยตีติ อาลมฺพนํ  แปลว่า ธรรมชาติใด ที่จิตและเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วงอยู่ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาลมุพน . (ธรรมชาติเป็นที่ถูกจิตและเจตสิกยึดหน่วง) ฉะนั้น ธรรมชาติใดที่ทําให้จิตและเจตสิกข้องติดอยู่โดยอาการเป็นที่น่ายินดี หรือเป็นที่ให้ยึดหน่วงอยู่ได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า อารัมมณะ หรือ อาลัมพนะ ซึ่งได้แก่ อารมณ์ ๖ อย่าง คือ :-   อารมณ์ ๖ ประเภท ๑. รูปารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วัณณรูป คือ สีต่าง ๆ ๒. สัททารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ สัททรูป คือ เสียงต่างๆ ๓. คันธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ คันธรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ ๔. รสารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ รสรูป คือ รสต่าง ๆ ๕. โผฏฐ...