วันจันทร์

๐๙.๔ พรรษาที่ ๖

ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน “ปฐมสมโพธิกถา” ระบุว่า “เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห้นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก 

  • การอุบัติของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
  • พุทธพยากรณ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า


  • ประเภทของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์


  • อธิบายกัปป์ อสงไขย
  • การแตกดับของโลก


  • ภพภูมิ
  • ความแตกต่างของทวีป


  • นรกภูมิ


  • เทวทูตสูตร


  • โลกันตนรก
  • พุทธศาสนากับความหมายของนรก


  • เปรตภูมิ


  • อสุรกายภูมิ
  • ป่าหิมพานต์และสระอโนดาต


  • เทวภูมิ
  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๑


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๒


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๓
  • สงครามของเทพกับอสุระ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๔
  • เหตุกรรมของพระเจ้าสุปปพุทธะ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๕
  • ธิดาทั้ง ๔ ของท้าวสักกะ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๖
  • พระโพธิสัตว์


  • ฌาณ
  • ลำดับชั้นของพรหม


  • นาค
  • ครุฑ
  • คนธรรพ์


  • วลาหกเทพ
  • อายุของเทพ
  • อายุของสัตว์นรก


  • พรหมและยักษ์
  • ที่สุดโลก



๐๙.๓ พรรษาที่ ๕

ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาเสด็จสวรรคตที่กรุงกบิลพัสดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรมโดยประทับที่นิโครธารามอันเป็นพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี น้าของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสาลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์เอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

  • พระนางประชาบดี ยอมรับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีองค์แรก แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์
  • พุทธพยากรณ์การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา
  • ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ


  • จำแนกผู้ที่สามารถบรรลุธรรม
  • วิชชา ๓ ญาณ ๓
  • อำนาจจิต


  • อาสวะกิเลส
  • พระนันทเถรศากยะและนางรูปนันทา



วันเสาร์

๐๙.๒ พรรษาที่ ๒-๔

พรรษาที่ ๒-๓-๔ จำพรรษาที่เวฬุวัน

พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกและถวายพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป

ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา

  • ประเภทของขันติ


  • จำแนกการบรรลุธรรม
  • ธรรมชาติของจิต


  • อาสวกิเลส
  • การทำบุญอุทิศ


  • เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
  • แสดงเวสสันดรชาดก


  • บวชพระนันทะ
  • บวชสามเณรราหุล
  • แสดงมหาธรรมปาลชาดก


  • นางสามาวดี ผู้อยู่ด้วยเมตตา
  • นางมาคันทิยา ผู้อาฆาตพระพุทธเจ้า


  • อนาถบิณฑิกเศรษฐี


  • มหาปุริสวิตก ๘ ประการ
  • กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์


  • โปรดหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพระโสดาบัน





วันศุกร์

๐๙.๑ พรรษาที่ ๑

พรรษาที่ ๑ จำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี 

ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์

  • จำพรรษาที่อิสิปตนมฤคทายวัน 
  • โปรดปัญจวัคคีย์ สังฆรัตนะ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก


  • ทรงแสดงอริยสัจ ๔ 


  • อนัตตลักขณสูตร 
  • ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 


  • สรุปขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา 


  • โปรดพระยสะ และสหาย ๕๔ คน 
  • สาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา 
  • ให้สาวกทั้ง ๖๐ รูป มีอำนาจบวชกุลบุตรได้


  • โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป
  • โปรดชฎิลสามพี่น้อง บวชเป็นเอหิภิกขุ ๑,๐๐๐ รูป
  • แสดงอาทิตตปริยายสูตรสำเร็จพระอรหันต์หมด


  • เสด็จไปราชคฤห์โปรดชาวเมืองและพระเจ้าพิมพิสารเป็นโสดาบัน


  • วิถีจิต กุศลจิต อกุศลจิต


  • ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแรก
  • ให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้
  • พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร (ลูกน้องสาว) บรรลุอรหันต์
  • ได้ ๒ อัครสาวก พระสารีบุตร, พระโมคคัลลานะ


  • บวชพระมหากัสสปะโดยรับโอวาท ๓ ข้อ



วันพฤหัสบดี

เจตสิกกลุ่มที่ ๒ หน้า ๒


อ่านหน้าที่แล้ว


ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ


๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิกคือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)
ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ
สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน


๓. เจตสิกกลุ่มที่ ๒


เจตสิกฝ่ายไม่ดีเรียกว่า อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ

ก. โมจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ข. โลติกเจตสิก มี ๓ ดวง
ค. โทจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง
ง. ถีทุกเจตสิก มี ๒ ดวง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก มี ๑ ดวง

อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว บาป หยาบ ไม่งาม ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิต จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตชั่ว หยาบ เป็นบาป เป็น จิตที่ไม่ดี เศร้าหมอง เร่าร้อน 

ก. โมจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความหลง ได้แก่
๑. โมหเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เป็นความหลง ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ โมหะเมื่อ เกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้ลุ่มหลง โมหะจัดเป็นอวิชชาเพราะเป็นศัตรูกับวิชชา หรือเพราะรู้แต่ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เมื่อโมหะเกิดขึ้นย่อมปล้น กุศลจิต ปิดกั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและปิดกั้นพระนิพพาน โมหะจัดเป็น มูลเป็นรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งปวง

๒. อหิริกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อหิริกะนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายใน ๔ ประการ คือ
        ๒.๑ ไม่พิจารณาถึงชาติ เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีชาติสมบูรณ์
การประพฤติทุจริตต่างๆ นี้เป็นการกระทำของพวกคนเลวคนต่ำทราม บุคคลเมื่อไม่พิจารณา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่าง หนึ่งให้สำเร็จได้ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
ทางกาย ๓ คือ ฆ่า สัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดทางกาม
ทางวาจา ๔ คือ โกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ
ทางใจ ๓ คือ เพ็งเล็งอยากได้ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
        ๒.๒ ไม่พิจารณาถึงวัย เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้อยู่ในวัยกลางคน , วัยสูงอายุ การทำความชั่วทั้งหลายไม่ควรเกิดขึ้นกับคนวัยเช่นเรานี้ เมื่อ ไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จได้
        ๒.๓ ไม่พิจารณาถึงความแกล้วกล้า เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้ที่แกล้วกล้า , มีความสามารถ การประพฤติความชั่วเป็นการกระทำของคนที่ไม่มี ความสามารถ เมื่อไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้
        ๒.๔ ไม่พิจารณาถึงความคงแก่เรียน เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทาง ธรรม การกระทำความชั่วนี้เป็นการกระทำของคนอันธพาล ไม่ใช่การกระทำของคนฉลาด เมื่อไม่พิจารณาว่าการกระทำความชั่วเช่นนี้ไม่สมควรแก่ผู้คงแก่เรียนผู้ฉลาดเช่นเรา จึงทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้

๓. อโนตตัปปเจตสิก คือธรรมชาติที่ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว จึงเป็นเหตุให้กระทำบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อโนตตัปปะเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายนอก ๒ ประการ คือ
        ๓.๑ ไม่เกรงกลัวต่อการติเตียนของผู้อื่นจึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นได้
        ๓.๒ ไม่เกรงกลัวต่ออบาย มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัชฉาน บุคคลเมื่อไม่กลัวภัยในอบาย จึงทำอกุศลกรรมบถต่างๆ ให้ประจักษ์แก่ สายตาของผู้อื่นได้

๔. อุทธัจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความฟุูงซ่าน ความไม่สงบใจ มี ความพลุ่งพล่านไปในอารมณ์ จิตที่มีอุทธัจจเจตสิกปรุงแต่งจะมีสภาพ เหมือนกับขี้เถ้าที่ฟุ้งกระจายเพราะถูกลมพัด
สภาวธรรมของโมจตุกกะเจตสิก ๔ ที่ปรากฏ มีข้อสังเกตได้ดังนี้
ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล พึงทราบว่าขณะนั้น มีโมหะ(อวิชชา) คือ ความไม่รู้เกิดขึ้น และมีอหิริกะคือความไม่ละอายเกิดขึ้น และมีอโนตตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อบาปเกิดขึ้น และมีอุทธัจจะคือความฟุูงซ่านกระวนกระวายใจเกิดขึ้นร่วมกันทั้งหมดแล้ว เมื่อศึกษาลักษณะต่างๆของเจตสิกฝ่ายอกุศลนี้แล้ว จึงควรฝึกพิจารณาฝึกสังเกตก็จะพบความจริงของสภาวธรรม ได้ด้วยตนเอง ถ้าพิจารณาได้ถูกสังเกตได้ชัดแจ้งตรงกับความจริงที่กำลังปรากฏก็นับว่าท่านกำลังเจริญวิปัสสนา ถ้าปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ปรากฏเกิดขึ้นกับท่านอยู่เนืองๆเสมอๆ วันหนึ่งท่านก็จะหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม เพราะท่านได้เห็นความจริงของรูปนามได้ด้วยตัวท่านเองแล้ว

สรุป โมจตุกเจตสิก ๔ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เป็นเจตสิกที่เป็นสาธารณะแก่ อกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด และโมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ นี้ ก็เกิดรวมได้ในคราวเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด ๔ ดวง

ข. โลติกเจตสิก ๓ กลุ่มของความโลภได้แก่
๑. โลภเจตสิก เป็นธรรมชาติที่โลภ อยากได้ในอารมณ์ ๖ และมีความ ติดข้องในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ความพอใจในความสวยงามของเรือนร่าง,ในน้ำเสียง อุปมาแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยวย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรฉันใด อกุศลธรรมคือ โลภะก็ฉันนั้น ย่อมนำพาไปสู่อบายอย่างเดียว โลภะนั้นมีลักษณะที่ละเอียดอ่อนจนบางครั้งไม่ทราบเลยว่าโลภะกำลังเกิดขึ้นเช่น ความเยื่อใย,ความห่วงใย,ความผูกพัน,ความหวัง,ความกระหยิ่มใจ เหล่านี้ถ้าพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีโลภะเป็นเหตุอยู่ด้วย ฉะนั้น โลภะ จึงเป็นส่วนของโอฆะ โยคะ
คันถะ อุปาทาน นิวรณ์ และ อนุสัย (รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๘)

๒. ทิฏฐิเจตสิก ในฝ่ายอกุศลนี้มุ่งหมายถึง มิจฉาทิฏฐิ คือ ภาวะของ จิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง มีความเห็นที่แย้งต่อความสัมมาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทำบุญทำบาปไม่มีผลไม่ต้องรับผล บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ จะมีความยึดมั่นในความเห็นผิดนั้นว่าถูก เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ
๑. การได้ฟังอสัทธรรม
๒. การมีมิตรชั่ว
๓. ไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะเจ้า
๔. มีอโยนิโสมนสิการ

๓. มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาดที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ำกว่าคนอื่นบ้าง ความคิดเช่นนี้ทำให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่จะเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย เช่นขอทาน

สรุป โลติกเจตสิก ๓ โลติกเจตสิก ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ จะประกอบกับจิตดังนี้ โลภเจตสิกจะประกอบในโลภมูลจิต ๘ คือ ในขณะใดที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ขณะนั้นโลภเจตสิกก็เกิดประกอบในจิตแล้ว ส่วนทิฏฐิเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ คือในขณะ ที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ด้วยตนเอง ก็จะมีโลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิกประกอบกับจิต เช่น นึกอยากทานอาหารที่มีรสอร่อยถูกใจ มานเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ เป็นบางคราว

ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ

๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิก คือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
        ๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
        ๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
        ๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
        ๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
                ๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
                ๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
        ๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ

สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)

ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ

สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง

จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน



๒. เจตสิกกลุ่มที่ ๑

เจตสิกกลุ่มที่ ๑​ อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มี ๗ ดวง​
ข. ปกิณณกเจตสิก มี ๖ ดวง
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงได้แก่
๑. ผัสสเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง จะเข้าปรุงแต่งกับจิตทุกๆ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกแต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับการกระทบ คือรับกระทบสิ่งที่มาปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กล่าวคือ รับภาพที่มากระทบกับตา รับเสียงที่มากระทบกับหู รับกลิ่นที่มากระทบกับจมูก รับรสที่มากระทบกับลิ้น รับความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึงที่มากระทบกับกาย และรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นแล้วทำให้มีการประชุมพร้อมกันของปัจจัยธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ อารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ผัสสเจตสิกจึงมีหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ดังนี้
    ๑.๑ ประสาน อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องราวต่าง ๆ
    ๑.๒ ประสาน วัตถุ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ๑.๓ ประสาน วิญญาณ ๖ ได้แก่ ธรรมชาติที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด

ในมิลินทปัญหาได้เปรียบเทียบหน้าที่ของผัสสะไว้ว่า อุปมาเช่นแพะ ๒ ตัวชนกัน จักษุเหมือนแพะตัวที่หนึ่ง รูปเหมือนแพะตัวที่สอง ผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้ง ๒ ตัว ผัสสะจึงมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประสานเป็นหน้าที่ ผัสสเจตสิกเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้นการรับอารมณ์ก็ไม่มีตามไปด้วย เช่น มีภาพมากมายที่มีอยู่ด้านหลังของเรา แต่การรับอารมณ์คือภาพที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรานั้นย่อมไม่ปรากฏเลยเพราะผัสสะยังไม่เกิด(ตายังไม่กระทบ) ต่อเมื่อเราหันหน้าไปยังภาพนั้นและเห็นภาพนั้น ผัสสะย่อมเกิดขึ้นและนาอารมณ์คือภาพนั้นมาสู่การรับรู้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าผัสสเจตสิกเมื่อเกิดย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น

๒. เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้รสแห่งอารมณ์ คือรับรู้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง(อุเบกขา) คือไม่สุข ไม่ทุกข์ เวทนาที่จัดไว้ ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา และเวทนาที่จัดไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา อธิบายเวทนา ๕ ดังนี้สุขเวทนา คือ ความสบายทางกาย การได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง) ที่ดีพอเหมาะทาให้กายเป็นสุข มีความสบายทางกาย เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะสุขเวทนาทางกายก็เกิดขึ้นได้ทุกขเวทนา คือ ความไม่สบายทางกาย ได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่พอดีไม่เหมาะทาให้กายเป็นทุกข์โสมนัสเวทนา คือ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจโทมนัสเวทนา คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอุเบกขาเวทนา คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ เป็นการรับรสอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นกลางๆ มีความสงบ ความสงบทางใจนี้ไม่มีปีติประกอบ พึงสังเกตว่าเมื่อรู้สึกเฉยๆ โดยที่ใจไม่มีปีติขณะนั้นใจเป็นอุเบกขา เกิดได้ทั้งกำลังทำกุศลและอกุศล เช่น รับประทานอาหารด้วยโลภะ รสชาติอาหารก็ไม่ได้ทำให้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขณะนั้นจิตเป็นโลภะมีเวทนาเป็นอุเบกขา หรือการทำกุศล เช่น การใส่บาตรที่หน้าบ้านทุกวัน ซึ่งเป็นอารมณ์เดิมทุกๆ วัน บางครั้งจิตเป็นกุศลที่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
สรุปว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ไม่ดี อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ

๓. สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จำ เช่น เด็กเล็ก จำ ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก ผู้ใหญ่จำเรื่องราวต่างๆ ได้ เป็นต้น ทั้งคนและสัตว์จะจำใน ๖ สิ่ง คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและจำเรื่องราวที่คิดนึกทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

๔. เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือการประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมเอาไว้แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญบาป เจตนาที่ได้กระทำสำเร็จแล้วในกุศลและอกุศล จะส่งผลให้เมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลของกรรมที่ได้ทำไว้ คือ เจตนาในกุศลกรรมนำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เจตนาในอกุศลกรรมนำให้เกิดในอบายภูมิ เจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็น กรรม คือ การกระทำดี หรือไม่ดี นั่นเอง

๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์มี ๖ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น เอกัคคตาเจตสิกจะทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปในภาวะต่างๆ เปรียบเหมือนการดำรงอยู่แห่งเปลวไฟของดวงประทีปในที่สงัดลม

๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงรักษานามธรรม คือจิตและเจตสิกให้มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว คำว่า “ชีวิต” มี ๒ อย่าง คือ ชีวิตนาม และ ชีวิตรูป ชีวิตนาม ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนี้เอง ส่วนชีวิตรูปจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องรูปปรมัตถ์

๗. มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่น้อมจิตใจไปสู่อารมณ์ มนสิการ มี ๓ อย่าง คือ
๗.๑ การน้อมไปในอารมณ์ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวารวิถี เรียกว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ
๗.๒ การน้อมไปในอารมณ์ที่เกิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางใจ คือ มโนทวารวิถี เรียกว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ
๗.๓ ทำให้อารมณ์เป็นไป หมายความว่า ทำให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทำให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้ เรียกว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ

สรุป
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เจตสิกทั้ง ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตาชีวิตินทรีย์ มนสิการ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ทุกดวง จึงได้ชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก


ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทั่วไปได้แก่
๑. วิตกเจตสิก
๒. วิจารเจตสิก
๓. อธิโมกข์เจตสิก
๔. วิริยเจตสิก
๕. ปีติเจตสิก
๖. ฉันทเจตสิก

ปกิณณกเจตสิก แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. วิตกเจตสิก คือ ความตรึก ลักษณะของวิตกนั้นเกิดขึ้นทาให้มีการยกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันขึ้นสู่อารมณ์แสดงข้อเปรียบเทียบลักษณะของวิตกไว้ว่าบุรุษชาวบ้านบางคน เพราะอาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภหรือมิตรผู้มีความสัมพันธ์กับพระราชา จึงตามเข้าไปสู่พระราชวังได้ฉันใด จิตเพราะอาศัยวิตกเจตสิก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น-วิตก ถ้าประกอบกับอกุศลจิต จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ จะตรึกในอกุศล เป็นเหตุให้อกุศลธรรมนั้นเจริญ ตั้งมั่น เพราะว่าการตรึกนึกนั้นเป็นเหตุให้อกุศลนั้นมีกำลังมาก -วิตก ถ้าประกอบกับกุศลจิต จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ จะตรึกในกุศลยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความที่เป็นกุศล โดยที่เป็นการดาริ(ตรึก)ที่ตรงกับความจริง และเป็นความดำริ(ตรึก)ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ
๒. วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตรอง พิจารณา อารมณ์ โดยสภาวธรรมของวิตกและวิจารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่วิตกจะมีสภาพหยาบและเกิดขึ้นก่อน และทำให้จิตเข้าไปสู่อารมณ์ก่อน เปรียบเทียบดังนี้ วิตก เหมือนเสียงตีระฆัง วิจารมีสภาวะละเอียด เกิดตามหลังและเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจาร จึงเหมือนเสียงครวญของระฆัง หรืออุปมา เช่น บุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะที่เป็นสนิม เอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรงวิตกเปรียบเหมือนมือที่จับไว้ วิจารเปรียบเหมือนมือที่ขัด ความแตกต่างของวิตกและวิจาร จะปรากฏชัดในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ซึ่งจะได้ศึกษาต่อในเรื่องสมถกรรมฐาน
๓. อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจ เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดำเนินไปตามที่ตัดสินใจโดย
๔. วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม มีความอาจหาญในการงาน บุคคลที่มีวิริยะจะเป็นผู้ที่สามารถทำการงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ไม่ว่าจะยากหรือง่าย จะไม่คำนึงถึงความลำบากของตน จะประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ ในบางครั้งจิตของคนเราเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยในการทาความดี วิธีที่จะปลุกใจให้ทำความดีต่อไปนั้นให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ถ้านึกถึงความทุกข์ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย จะเกิด วิริยะ เพียรพยายามที่จะกระทำกุศลให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ กุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้เราพ้นทุกข์โดยไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น ไม่สามารถให้พ้นไปจากทุกข์ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ แต่การทำกุศลทางใจ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นมิจฉาวายามะ เพราะเพียรผิด
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาวายามะ เพราะเพียรถูก
๕. ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้กายและจิตเกิดความเอิบอิ่ม มีความปลื้มใจ มีความปราโมทย์ ปีติเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่ทำบุญทำกุศล เจริญสมาธิ หรือในขณะที่ยินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ปีติก็เกิดขึ้นได้ ลักษณะของปีติมี ๕ ประการ คือ
    ๕.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทำให้ขนลุก
    ๕.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะเกิดขึ้นเหมือนสายฟ้าแลบเป็นขณะๆ
    ๕.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติซึมซาบเกิดขึ้นในร่างกายแล้วแผ่กระจายเหมือนคลื่นกระทบฝั่งสมุทร
    ๕.๔ อุพเพงคาปีติ ปีติมีกำลัง สามารถยังกายให้ฟูแล้วลอยไปในอากาได้
    ๕.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านทั่วร่างกาย เหมือนสำลีที่ชุ่่มด้วยน้ำข้อเปรียบเทียบระหว่าง ปีติกับสุข ปีติ มีลักษณะ คือ มีความแช่มชื่นในอารมณ์ สุข มีลักษณะ คือ มีการได้รสแห่งอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนคนที่เดินทางไกลเหนื่อยล้า เมื่อพบเห็นน้ำ ปีติก็เกิดขึ้นมีความแช่มชื่นยินดีเพราะได้เห็นน้ำ ถ้าเขาได้ดื่มน้ำก็จะเกิดสุข
๖. ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปรารถนา คือปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ มี รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ฉันทะถึงแม้จะมีความปรารถนาในอารมณ์ ก็ไม่ได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลินกำหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยความต้องการจะให้สำเร็จประโยชน์นั้นๆ อุปมาเหมือนนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ย่อมปรารถนาลูกศรจำนวนมาก ถึงแม้นลูกศรที่ได้มาก็เพื่อการยิงออกไป ไม่ได้เก็บยึดรักษาลูกศรไว้เป็นของตน

ข้อแตกต่างระหว่างฉันทะกับโลภะ-ฉันทะ มีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ติดข้องในอารมณ์-โลภะ มีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วยทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วยการเข้าใจฉันทะและโลภะให้ถูกต้อง เป็นการฝึกให้เข้าใจถูกต้องในนามธรรม ย่อมเป็นประโยชน์เมื่อไปเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้นามและรูป การรู้จักนามก็ต้องรู้จักลักษณะของนาม การรู้จักรูปก็ต้องรู้จักลักษณะของรูป ฉะนั้นเมื่อศึกษาแล้วควรน้อมพิจารณาจิตใจของตนว่าขณะนี้เรามีนามธรรมชนิดใดเกิดขึ้น เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเจริญวิปัสสนา เรามีฉันทะที่จะเจริญวิปัสสนา หรือมีโลภะที่จะเจริญวิปัสสนา ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรามีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์(แสวงหาอารมณ์เพื่อการปฏิบัติธรรม) และสังเกตดูว่าเรายึดมั่นติดข้องในอารมณ์นั้นหรือไม่ ถ้าไม่ติดในอารมณ์นั้น นั่นก็แสดงว่าเรามีฉันทะในการเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าแสวงหาอารมณ์แล้วก็ชอบอารมณ์นั้น ชอบที่จะนั่งตรงที่เราเลือกแล้ว ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ หรือใครๆ จะมานั่งตรงที่ๆเราคิดว่าเป็นของเราไม่ได้ ไม่พอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าสภาวธรรมเป็นโลภะแล้ว เพราะโลภะมีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วย

สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทุกดวง



๑. เจตสิก ๕๒ ดวง

ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง (หรือ ๕๒ ลักษณะ) ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นขันธ์แล้วก็มี ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ บุคคลทั้งหลายเมื่อศึกษาเจตสิกธรรม ๕๒ ดวงนี้แล้ว ก็จะเข้าใจถึงสภาพตามความเป็นจริงที่จิตเป็นกุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้างเพราะว่า มีเจตสิกธรรมปรุงแต่งจิตนั่นเอง

เมื่อเข้าใจสภาพตามความเป็นจริงได้ถูกต้องก็จะสามารถเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้ขันธ์ทั้งหลายได้ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นบุคคลเมื่อจะเจริญวิปัสสนาควรศึกษาพระอภิธรรม เพราะพระอภิธรรมศึกษาในเรื่องปรมัตถ์ธรรมและปรมัตถ์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาก็จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อปัญญาในขั้นปริยัติยังไม่มี ปัญญาขั้นปฏิบัติและปฏิเวธย่อมมีไม่ได้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เปรต หรือ สัตว์เดรัจฉาน
เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง คือมีลักษณะเฉพาะๆตนถึง ๕๒ ลักษณะ แต่ทั้ง ๕๒ ดวงนี้ จะมีลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ ๔ ประการ

เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต

การทำงานของเจตสิก
จิตกับเจตสิก ทั้ง ๒ นี้ เป็นนามธรรมเหมือนกันจึงเข้าประกอบกันได้สนิท จิตอุปมาเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ไม่มีสี เจตสิกอุปมาเหมือนสีต่างๆ เมื่อเอาสีเขียวใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีเขียวไป เมื่อเอาสีแดงใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีแดง ทำให้เรียกชื่อว่า น้ำเขียว น้ำแดง เป็นต้น เมื่ออกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายไม่ดีเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็จะทำให้จิตนั้นกลายเป็นจิตที่ชั่วหยาบ เป็นจิตที่เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดีไปด้วย ถ้าเป็นกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายดี เข้าประกอบกับจิต ก็จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดี มีเมตตา กรุณา มีศรัทธา เป็นต้น

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น เห็นพระกำลังบิณฑบาต (จักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่เห็น) เจตสิกปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร เป็นต้น ในการนี้นับว่าการเห็นเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตก็ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลมีการใส่บาตร เป็นต้น

เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง(ดูตามภาพด้านบน) แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล เรียกว่า อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง
๒. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง
๓. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกุศล เรียกว่า โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง


วันพุธ

๕. โลกุตตรจิต ๘ ดวง


โลกุตฺตร มาจากคำว่า โลก+อุตฺตร
โลก หมายถึง กามโลก (กามภูมิ) รูปโลก (รูปภูมิ) และอรูปโลก (อรูปภูมิ)
อุตฺตร หมายถึง เหนือ หรือพ้น ฉะนั้น คำว่า โลกุตตร จึงหมายถึงธรรมที่เหนือโลกทั้ง ๓ ธรรมที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ อันหมายถึง นิพพาน ดังนั้น โลกุตตรจิต จึงหมายถึง จิตที่มี นิพพานเป็นอารมณ์

โลกุตตรจิตนั้นมี ๒ ชาติ คือ ชาติกุศล เรียกว่า โลกุตตรกุศลจิต หรือ มรรคจิต มีจำนวน ๔ ดวง ชาติวิปาก เรียกว่า โลกุตตรวิปากจิต หรือ ผลจิต มีจำนวน ๔ ดวง เช่นกัน รวมเป็น โลกุตตรจิต ๘ ดวง

โลกุตตรกุศลจิต หรือมัคคจิต ๔ ดวง
โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่พ้นโลก เป็นจิตที่ประหาณอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน กล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
ดวงที่ ๑ โสดาปัตติมัคคจิต
ดวงที่ ๒ สกทาคามิมัคคจิต
ดวงที่ ๓ อนาคามิมัคคจิต
ดวงที่ ๔ อรหัตตมัคคจิต

โลกุตตรวิปากจิต หรือผลจิต ๔ ดวง
โลกุตตรวิปากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลของโล กุตตรกุศลจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก เป็นจิตที่ประหาณแล้วซึ่งอนุสัยกิเลส เป็นปฏิปัสสัทธิปหาน คือละได้โดยสงบ เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับลงแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันทันทีทันใด โดยไม่มีระหว่างคั่น คือ ไม่มีจิตใดเกิดขึ้นมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า “ อกาลิโก” เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาล รอเวลา ผลจิต ๔ เมื่อกล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
ดวงที่ ๑ โสดาปัตติผลจิต
ดวงที่ ๒ สกทาคามิผลจิต
ดวงที่ ๓ อนาคามิผลจิต
ดวงที่ ๔ อรหัตตผลจิต

เมื่อโสดาปัตติมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด โสดาปัตติผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็นโสดาบันบุคคล
เมื่อสกทาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด สกทาคามิผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น
สกทาคามีบุคคล
เมื่ออนาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อนาคามิผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น อนาคามีบุคคล
เมื่ออรหัตตมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อรหัตตผลจิต จะเกิดแก่บุคคลนั้นทันทีเป็น
อรหันตบุคคล


กิเลส ๓ ระดับ
กิเลสทั้งหมดจะเข้าประกอบเฉพาะกับอกุศลจิตเท่านั้น การประหาณกิเลสก็คือการประหาณอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้นเอง กิเลสแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ การประหาณกิเลสแต่ละระดับจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันดังนี้

๑. วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกายหรือทางวาจา กิเลสชั้นนี้ระงับไว้ได้ด้วยศีล สงบได้เป็นครั้งคราวขณะที่ยังมีการรักษาศีลอยู่ การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า ตทังคปหาน
๒. ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เกิดอยู่ภายในใจไม่ถึงกับแสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้สามารถข่มไว้ได้ด้วยอำนาจของสมาธิ (อัปปนาสมาธิ) เป็นเวลานานตราบเท่าที่สมาธิยังไม่เสื่อม การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
๓. อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของตนเอง และผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้นอกจากพระพุทธองค์เท่านั้น ต้องประหาณด้วยปัญญาในมัคคจิตทั้ง ๔ อันเป็นการประหาณได้โดยสิ้นเชื้อ และจะไม่กลับมีขึ้นอีก การประหาณในลักษณะนี้เรียกว่า
สมุจเฉทปหาน
การประหาณกิเลสของพระอริยบุคคล
โสดาปัตติมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความสงสัย ๑ ดวง
สกทาคามิมัคคจิต ประหาณกิเลสที่เหลือให้มีกำลังเบาบางลง
อนาคามิมัคคจิต ประหาณโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
อรหัตตมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และ โมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความฟุูงซ่าน ๑ ดวง
รวมมัคคจิต ๔ ดวง ประหาณอกุศลจิตได้ ๑๒ ดวง จึงไม่มีโอกาส เกิดขึ้นอีกเลย เพราะถูกประหาณอย่างสิ้นเชิงด้วยมัคคจิตทั้ง ๔ เหมือนกับ การถอนรากถอนโคนต้นไม้ ไม่มีโอกาสที่จะงอกขึ้นมาได้อีก


ผลของการประหาณกิเลส
๑. เมื่อโสดาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
โสดาปัตติผลจิต ก็เกิด ขึ้นกับบุคคลนั้นขึ้นมาทันที ชื่อว่าเป็น โสดาบันบุคคล หรือ เสขะบุคคล คือ บุคคลที่จะต้องศึกษาเพียรพยายามประหาณกิเลสส่วนที่เหลือต่อไปอีก ซึ่ง ต้องใช้เวลาอีกไม่เกิน ๗ ชาติ จึงจะประหาณกิเลสได้หมดแล้วจึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

โสดาบันบุคคล มี ๓ ประเภทคือ
ประเภทที่ ๑ เอกพีชีโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะเกิดอีกชาติเดียวก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว
ประเภทที่ ๒ โกลังโกลโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะต้องเกิดอีก ๒ -๖ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้านัก คือปานกลาง
ประเภทที่ ๓ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือ โสดาบันจะต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน

เหตุที่พระโสดาบันแบ่งเป็น ๓ ประเภท เนื่องจากการอบรมอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไม่เท่ากัน คือ อย่างแรงกล้า ปานกลาง และอย่างอ่อน อย่างไรก็ดี พระโสดาบันทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะไม่ไปเกิดใน อบายภูมิ ๔ ชื่อว่าได้ปิดประตูอบายได้อย่างแน่นอนแต่จะไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง ยังมีพระโสดาบันอีกประเภทหนึ่ง ที่มีอัธยาศัยยินดีพอใจในการ ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะจนครบ ๗ ชาติ เรียกว่า วัฏฏภิรตโสดาบัน จะไปเกิด ในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น ตลอดจนถึงอกนิฏฐภูมิ เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี วิสาขามหาอุบาสิกา ท้าวสักกเทวราช เป็นต้น
๒. เมื่อสกทาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
สกทาคามิผลจิตย่อม เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ทำให้สำเร็จเป็นสกทาคามีบุคคล สามารถเข้าเสวย วิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากผลของการประหาณกิเลสของสกทาคามิมัคค จิต) ขณะเข้าผลสมาบัติได้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในมนุษยโลกอีกเพียงครั้งเดียว และสำเร็จเป็นพระอรหันต์

พระสกทาคามีบุคคล มี ๕ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๒ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๓ ผู้สำร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกไปเกิดบนเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต
ประเภทที่ ๔ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก มาเกิดในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
ประเภทที่ ๕ ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก ไปเกิดบนเทวโลก แล้วกลับมาเกิดใน มนุษยโลกอีกครั้งหนึ่งทำความเพียรแล้วบรรลุพระอรหันต์

๓. เมื่อพระอนาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด อนาคามิผลจิตย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นทันที สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ซึ่งจะไม่มาเกิดใหม่ในมนุษยโลกอีก จะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา หรือจะไปเกิดในรูปภูมิ ๑๐ ที่นอกจากสุทธาวาส ๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๔

พระอนาคามีบุคคล มี ๕ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์แล้วนิพพานในกึ่งแรกของอายุในภูมินั้น
ประเภทที่ ๒ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์แล้วนิพพานในกึ่งหลังของอายุในภูมินั้น
ประเภทที่ ๓ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์โดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากแล้วนิพพาน
ประเภทที่ ๔ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ ต้องใช้ความเพียรมาก แล้วนิพพาน
ประเภทที่ ๕ พระอนาคามีเกิดในสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึง ชั้นที่ ๕ ตามลำดับ แล้วเข้านิพพานในชั้นที่ ๕ นั้น

๔. เมื่ออรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้นแก่บุคคลใด
อรหัตตผลจิต ก็จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นทันที บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นการประหาณกิเลสขั้นสุดท้าย คือโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความฟุูงซ่าน ๑ ดวง เป็นการประหาณอกุศลจิต ๑๒ ครบถ้วน อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีที่จะอาศัยเกิด (อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง จะประกอบกับอกุศลมูลจิต ๑๒ ดวง เท่านั้น)



พระอรหันต์
๑. พระอรหันต์ การเรียกชื่อพระอรหันต์ เรียกตามคุณลักษณะ มี ๔ ชื่อ
๒. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะของการหลุดพ้นจากอาสว กิเลส มี ๒ ประเภท
๓. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะระยะเวลาการสร้างบารมี มี ๓ ประเภท
๔. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะปัญญาที่รู้พิเศษ มี ๒ ประเภท
๕. พระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ที่บรรลุอภิญญา

๑. พระอรหันต์ เป็นการเรียกชื่อพระอรหันต์ตามคุณลักษณะ มี ๔ ชื่อ คือ
ชื่อที่ ๑. พระอรหันต์ หมายถึง ผู้บริสุทธิ์จากกิเลส
ชื่อที่ ๒. พระขีณาสพ หมายถึง ผู้สิ้นแล้วซึ่งอาสวกิเลส
ชื่อที่ ๓. อเสขบุคคล หมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ต่อไปอีก
ชื่อที่ ๔. วีตราคะ หมายถึง ผู้สำรอกราคะแล้ว

๒. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะของการหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี ๒ ประเภท
ประเภทที่ ๑ . ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการเจริญ วิปัสสนา
ประเภทที่ ๒. เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จโดยการเจริญสมถและวิปัสสนา

๓. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะระยะเวลาการสร้างบารมี มี ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑. พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการตรัสรู้ด้วย พระองค์เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
ประเภทที่ ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แต่สอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่ได้
ประเภทที่ ๓. พระอรหันต์สาวก ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการรู้ตาม คือรู้แจ้ง ตามความเป็น จริงตามปัญญาตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เฉพาะพระอรหันต์สาวกยัง แบ่งตามความสามารถออกได้อีก ๓ ประเภท คือ
๓.๑ ปกติสาวก หมายถึง พระสาวก หรือพระอรหันต์ ทั่วไป
๓.๒ มหาสาวก หมายถึง พระสาวกผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ๘๐ รูป และส่วนมากจะได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ(มีความเป็นเลิศ)ด้วย
๓.๓ อัคคสาวก หมายถึง อัคคสาวกเบื้องซ้ายและพระอัคคสาวกเบื้องขวา ซึ่งในพุทธศาสนาของพระสมณโคตมนี้ อัคคสาวกเบื้องซ้ายคือ พระโมคคัลลาน์ พระอัคคสาวกเบื้องขวาคือ พระสารีบุตร ซึ่งจะเห็นในโบสถ์ที่ยืนอยู่ด้านซ้าย และขวาของพระประธาน
๔. พระอรหันต์ แบ่งตามลักษณะปัญญาที่รู้พิเศษ มี ๒ ประเภท
ประเภทที่ ๑. พระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในผลทั้งปวงที่มาจากเหตุ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในเหตุที่ทำไห้บังเกิดผล
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานในภาษาที่มาของผลและเหตุทั้งปวง
๔. ปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานในธรรม ๓ ประการข้างต้น มีความคล่องแคล่ว ว่องไว เฉียบแหลมคมคาย
ประเภทที่ ๒. พระอรหันต์ธรรมดา ผู้ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ดังกล่าวข้างต้น

๕. พระอรหันต์ ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์และสำเร็จคุณพิเศษคือได้อภิญญา
ด้วย คำว่า อภิญญามีทั้งอภิญญา ๓ และอภิญญา ๖ ( หรือเรียกว่า วิชา ๓ วิชา ๖) รายละเอียดดังนี้ อภิญญา ๖ คือ
๑.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๒.ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์และรู้ว่าตายแล้วไปเกิดที่ไหน
๓.อาสวักขยญาณ รู้วิธีทำกิเลสให้หมดไป
๔.ปริจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
๖. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้



วันอังคาร

อปัณณกชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ตรัสอปันณกธรรมเทศนานี้ก่อน ถามว่า ก็เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะปรารภใคร ? ตอบว่า เพราะปรารภสาวกของเดียรถีย์สหาย ของท่านเศรษฐี
ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชักพาพวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของตน ให้ถือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้เป็นอันมาก และนํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย และผ้าเครื่องปกปิด ไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น สละเภสัชและผ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง 

สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ถวายบังคมพระตถาคตแล้ว แลดูพระพักตร์ของพระศาสดาอันงามสง่า ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ แลดูพระวรกายดุจกายพรหมอันประดับด้วยพระลักษณะและพระอนุพยัญชนะ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอันไพเราะ วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ ด้วยพระสุรเสียงประดุจเสียงพรหม น่าสดับฟัง แก่สาวกของ​อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลุกขึ้นถวายบังคมพระทศพล ทำลายสรณะของอัญญเดียรถีย์แล้ว ได้ถึงพระ พุทธเจ้าเป็นสรณะ

จำเดิมแต่นั้น พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปพระวิหาร ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล กระทำ อุโบสถกรรม พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นนิตยกาล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากกรุงสาวัตถีกลับไปกรุงราชคฤห์อีกแล ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปแล้ว สาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้ทำลายสรณะนั้นเสีย กลับไปถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะอีก ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นเค้ามูลเดิมของตนนั่นเอง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ๗ - ๘ เดือน ได้เสด็จกลับไปยังพระเชตวันเหมือนเดิมอีก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พาสาวกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดาอีก บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พวกสาวกอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความที่พวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปแล้ว ได้ทำลายสรณะที่รับไว้ กลับไปถืออัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ ดำรงอยู่ในฐานะเดิมอีก พระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงตรัสถามว่า ได้ยินว่า พวกท่านผู้เป็นอุบาสก ทำลายสรณะ ๓ เสียแล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ จริงหรือ ? ลำดับนั้น เมื่อพวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นไม่อาจปกปิดไว้ได้พากันกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า

พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในโลกธาตุ เบื้องล่างจดอเวจี มหานรก เบื้องบนจดภวัคคพรหม และตามขวางหาประมาณมิได้ ชื่อว่าบุคคล เช่นกับพระพุทธเจ้าโดยพระคุณทั้งหลาย ย่อมไม่มี บุคคลที่ยิ่งกว่าจักมีมาแต่ไหน แล้วทรงประกาศคุณของพระรัตนตรัยที่ทรงประกาศไว้ด้วย พระสูตรทั้งหลายแล้วจึงตรัสว่า บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยอุดมคุณอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันทำลายสรณะเห็นปานนี้ แล้วถึงอัญญเดียรถีย์ เป็นสรณะ กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย พระผู้ มีพระภาคเจ้าครั้นทรงโอวาทอุบาสกทั้งหลาย โดยประการต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสว่า

ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอา สิ่งที่ไม่ใช่สรณะ ว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือ เอาผิด ได้ตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ซึ่งอมนุษย์หวงแหนแล้ว ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม ยึดถือความแน่นอน ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดารนั้นนั่นเอง ครั้นตรัสแล้วได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวชมเชยแล้ว ประคองอัญชลี เหนือเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า บัดนี้ การที่พวกอุบาสกเหล่านี้ ทำลายสรณะอันอุดมแล้ว ถือสรณะยึดถือเอาด้วยการคาดคะเน ยึดถือเอาอย่างผิด ๆ ปรากฏแก่พระองค์ก่อน ส่วนในปางก่อนพวกมนุษย์ผู้ยึดถือด้วยการคาดคะเน มีความพินาศ และพวกมนุษย์ผู้ยึดถือโดยชอบธรรม มีความสวัสดีในทางกันดารที่อมนุษย์หวงแหนยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เลย ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงกระทำเหตุนี้ ให้ปรากฏ เหมือนยังพระจันทร์เต็มดวงให้เด่นขึ้นในอากาศฉะนั้น. 

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เราแลบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ทัศในกาลหาปริมาณมิได้ ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อ จะตัดความสงสัยของชาวโลกนั่นแล ท่านจงเงี่ยโสตฟังโดยเคารพ แล้วได้ทรงเล่าอดีตนิทานไว้ดังนี้
ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัตอยู่ในพระนครพาราณสี แคว้นกาสิกรัฐ ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน ครั้นเติบใหญ่ได้เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ในการเดินทางไปค้าขายของพระโพธิสัตว์นั้น บางครั้งจากเดินทางจากต้นแดนไปยังปลายแดน บางครั้งจากปลายแดน ไปยังต้นแดน ในเมืองพาราณสีนั่นเองมีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนนั้น เป็นคนเขลา เป็นคนไม่มีปัญญา ไม่ฉลาดในอุบาย

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มาเอาสินค้ามีค่ามาจากเมืองพาราณสีบันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่ ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน ผู้เขลานั้นก็บันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่เหมือนกัน พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้จักไปพร้อมกับเราทีเดียวไซร้ เมื่อเกวียนพันเล่มไปพร้อมกัน แม้ทางก็จักไม่พอเดิน ฟืน และน้ำเป็นต้น ของพวกมนุษย์ก็ดี หญ้าของพวกโคก็ดี จักหาได้ยาก บุตรพ่อ ค้าเกวียนผู้เขลานี้หรือเรา ควรจะไปข้างหน้าจึงจะสมควร พระโพธิสัตว์นั้นจึงเรียกบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นมาบอกเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งสองไม่อาจไปรวมกัน ท่านจักไปก่อนหรือจะให้เราไปก่อน

บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นคิดว่า เมื่อเราไปข้างหน้าจะมี อานิสงส์มาก เราจักไปโดยหนทางยังไม่แตกเลย พวกโคจักได้เคี้ยวกินหญ้าที่ยังไม่มีใครถูกต้อง พวกผู้คนจักมีผักอันเกื้อกูลแก่แกงซึ่งยังไม่ได้จับต้อง น้ำจักใส เราเมื่อไปตามชอบใจ จักตั้งราคาขายสินค้าได้ บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงกล่าว ว่า สหาย เราจักไปก่อน พระโพธิสัตว์ได้เห็นการไปทีหลังว่ามีอานิสงส์มาก โดยทรงคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้เมื่อไปก่อน จักกระทำหนทางขรุขระที่ให้เรียบเตียน เราจักเดินทางไปตามทางที่คนเหล่านี้ไปแล้ว เมื่อโคงานซึ่งเดินทางไปก่อนกินหญ้าแก่และแข็ง โคทั้งหลายของเราจักเคี้ยวกินหญ้าอร่อยซึ่งงอกขึ้นมาใหม่ ผักซึ่งใช้ทำแกงของพวกมนุษย์ ซึ่งงอกขึ้นจากที่ที่ถูกเด็ดเอาไปจักแตกยอดออกมาใหม่ จักเป็นของอร่อย ในที่ที่ไม่มีน้ำ คนเหล่านี้จักขุดบ่อทำให้น้ำเกิดขึ้น เราจักดื่มน้ำในบ่อที่คนเหล่านี้ขุดไว้ การตั้งราคาสินค้า เราไปข้างหลังจักขายสินค้า ตามราคาที่คนเหล่านี้ตั้งไว้ พระโพธิสัตว์นั้นเห็นอานิสงส์มีประมาณเท่านี้จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงไปก่อนเถิด บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลารับคำ แล้ว จึงเทียมเกวียนทั้งหลายเป็นการใหญ่ ออกไปล่วงพ้นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ถึงปากทางกันดาร โดยลำดับ. 

ชื่อว่ากันดารมี ๕ อย่าง คือ กันดารเพราะโจร ๑ กันดารเพราะสัตว์ร้าย ๑ กันดารเพราะขาดน้ำ ๑ กันดารเพราะอมนุษย์ ๑ กันดารเพราะอาหารน้อย ๑ กันดารในที่นี้นั้นหมายเอากันดารเพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่ เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเต็มด้วยน้ำ เดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์. ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้นถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์ผู้อาศัยอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บรรทุกมาเสีย ทำให้อ่อนเพลียกระปลกกระเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วย โคหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลน ถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้าเปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น มีล้อยานเปื้อนเปีอกตม เดินสวนทางมา ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย เมื่อใดที่ลมพัดมาข้างหน้า เมื่อนั้นก็จะนั่งบนยานน้อยคันหน้า ห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นที่เกิดขึ้น ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกยานไปอยู่ทางข้างหลัง ก็ในกาลนั้น ลมพัดได้มาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น จึงได้ไปข้างหน้า

ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นกำลังเดินทางอยู่ จึงให้ยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง และได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า ท่าน ทั้งหลายจะไปไหน ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนนำยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง เพื่อให้ให้เกวียนสินค้าทั้งหลายที่ตามหลังอยู่ไปก่อน แล้วยืนกล่าวกะยักษ์ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเรามาจากเมืองพาราณสี ส่วนท่านทั้งหลายประดับดอกอุบลและโกมุท ถือดอกปทุมและบุณฑริกเป็นต้น เคี้ยวกินเหง้าบัว เปื้อนด้วยเปือกตม มีหยดน้ำไหล พากันเดินมา ในหนทางที่ท่านทั้งหลายผ่านมา ฝนตกหรือหนอ มีสระน้ำอันดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นต้นหรือ ยักษ์ได้ฟังถ้อยคำของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น แล้วจึงกล่าวว่า สหาย ท่านพูดอะไร ที่นั่น ราวป่าเขียวปรากฏอยู่ ตั้งแต่ที่นั้นไป ป่าทั้งสิ้นมีน้ำอยู่ทั่วไป ฝนตกเป็นประจำ แม้แต่ซอกเขาก็เต็มไปด้วยน้ำ ในที่นั้น ๆ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกปทุม แล้วยักษ์จึงถามว่า ท่านพาเกวียนเหล่านี้มา จะไปไหนกัน? บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า จะ ไปยังชนบทชื่อโน้น ยักษ์กล่าวว่า ในเกวียนเหล่านี้บรรทุกสินค้าอะไรหรือ ? บุตรพ่อค้าจึงตอบชื่อสินค้าให้ทราบ ยักษ์กล่าวว่า เกวียนที่มากำลังข้างหลังดูเป็นเกวียนที่หนักมาก ในเกวียนนั้นมีสินค้าอะไร บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ในเกวียนนั้นมีน้ำ ยักษ์กล่าวว่า ท่านทั้งหลายนำน้ำมาข้างหลังด้วย ได้กระทำความเนิ่นช้าแล้ว ก็ตั้งแต่นี้ไป ความกังวลเรื่องน้ำย่อมไม่มี ข้างหน้ามีน้ำมาก ท่านทั้งหลายจงทุบตุ่ม เทน้ำทิ้งเสีย จงไปด้วยเกวียน เบาเถิด ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงพูดว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถอะ ความ ชักช้าจะมีแก่พวกเรา แล้วเดินไปหน่อยหนึ่ง ถึงที่ที่คนเหล่านั้นมองไม่เห็น ก็ได้ไปยังนครยักษ์ของตนนั่นแล

ฝ่ายพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น เพราะความที่ตนเป็นคนเขลาจึงเชื่อคำของยักษ์นั้น จึงให้ทุบตุ่มทั้งหลายทิ้งทั้งหมดไม่เหลือน้ำแม้สักฟายมือเดียว แล้วขับเกวียนไป แต่ว่าในทางข้างหน้าน้ำแม้แต่นิดเดียวก็มิได้มี มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้น้ำดื่ม ก็พากันลำบากแล้ว คนเหล่านั้นพากันไปจนพระอาทิตย์อัสดง จึงปลดเกวียน พักเกวียนให้เป็นวงแล้วผูกโคที่ล้อเกวียน น้ำก็ไม่มีให้แก่พวกโค ข้าวปลาอาหารก็ไม่มีแก่พวกมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนเหล่านั้นก็มีกำลังเปลี้ยลง ไม่ใส่ใจในการงาน พากันนอนหลับไปในนั้น ๆ ครั้นถึงเวลากลางคืน ยักษ์ทั้งหลายพากันมาจากที่อยู่ ฆ่าโคและมนุษย์ทั้งหมดนั้นให้ถึงแก่ความตาย แล้วกินเนื้อ ของโคและมนุษย์เหล่านั้น ไม่มีเหลือแม้แต่กระดูก แล้วจึงพากันไป ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะอาศัยบุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาคนเดียว ด้วยประการอย่างนี้ กระดูกทั้งหลายก็ได้กระจัดกระจายไปในทิศน้อยใหญ่ เกวียน ๕๐๐ เล่มได้ตั้งอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มอย่างเดิมแล

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล จำเดิมแต่วันที่บุตรพ่อค้าเกวียนโง่ออกไปแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ประมาณกึ่งเดือน จึงพากันออกจากพระนครพร้อมกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงปากทางกันดารโดยลำดับ พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ใส่น้ำให้เต็มตุ่ม ณ ปากทางกันดารนั้น แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องภายในกองค่าย ประกาศให้พวกชนประชุมกันแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าพวกท่านยังไม่ได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้า อย่าได้เทน้ำ แม้สักเท่าฟายมือหนึ่งทีเดียว ชื่อว่าต้นไม้มีพิษ ย่อมมีในทางกันดาร ใบไม้ดอกไม้หรือผลไม้ ท่านทั้งหลายไม่เคยกินมาก่อนมีอยู่ พวกท่านถ้ายังไม่ได้ไต่ถามข้าพเจ้า ก็จงอย่าได้เคี้ยวกิน ครั้นให้โอวาทแก่คนทั้งหลายอย่างนี้แล้วจึงเดินทางกันดารด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. เมื่อพระโพธิสัตว์ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์นั้นได้แสดงตนใน หนทางสวนกันแก่พระโพธิสัตว์ โดยนัยก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์พอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้นก็ได้รู้ว่า ในทางกันดารนี้แหละ ไม่มีน้ำ นี้ชื่อว่ากันดารเพราะ ไม่มีน้ำ อนึ่ง ผู้นี้ไม่มีท่าทีเกรงกลัว มีนัยน์ตาแดง แม้เงาของเขาก็ไม่ปรากฏ บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาพร้อมทั้งบริวารคงถูกยักษ์นี้กินเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยักษ์นี้เห็นจะไม่รู้ความที่เราเป็นบัณฑิต และความที่เราเป็นผู้ฉลาดในอุบาย

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะยักษ์นั้นว่า พวกท่านจงไปเถิด พวกเราชื่อว่าเป็นพ่อค้า ยังไม่เห็นน้ำอื่นจะไม่ทิ้งน้ำที่บรรทุกเอามา แต่เราทั้งหลายจะทิ้งในที่ที่ได้เห็นแล้ว ทำเกวียนทั้งหลายให้เบาแล้วจึงไป ฝ่ายยักษ์ ไปได้หน่อยหนึ่ง เข้าถึงที่ที่มองไม่เห็น แล้วไปนครยักษ์ของตนทีเดียว เมื่อยักษ์ไปแล้ว คนทั้งปวงจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย คนเหล่านี้กล่าวว่า นั่นแนวป่าเขียวปรากฏอยู่ จำเดิมแต่นั้นไป ฝนจักตกเป็นนิตย์ เป็นผู้สวมมาลัยดอกอุบลและโกมุท ถือกำดอกปทุมและบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีผ้าเปียก และมีผมเปียก มีหยาดน้ำและโคลนไหลหยดมา พวกเราจักทิ้งน้ำ มีเกวียนเบาจะไปได้เร็ว ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของคนเหล่านั้นแล้วจึงให้พักเกวียน ให้คนทั้งหมดประชุมกันแล้วถามว่า พวกท่านเคยฟังมาจากใคร ๆ หรือว่า ในที่กันดารนี้ มีสระน้ำหรือสระโบกขรณี คนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้าน้อย ไม่เคยได้ยิน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี้ชื่อว่ากันดารเพราะไม่มีน้ำ บัดนี้ คนพวกหนึ่งพูดว่า เบื้องหน้าแต่แนวป่า เขียวนั่น ฝนตก ธรรมดาว่าลมฝนจะพัดไปถึงที่มีประมาณเท่าไร ? คน ทั้งหลายกล่าวว่า พัดไปได้ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ เจ้านาย พระโพธิสัตว์ ถามว่า ลมกับฝนกระทบร่างกายของบุคคลแม้คนหนึ่ง บรรดาพวกท่าน มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ พระโพธิสัตว์ถามว่า ธรรมดา ก้อนเมฆย่อมปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ในที่ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ พระโพธิสัตว์ถาม ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ เห็น ก้อนเมฆก้อนหนึ่ง มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ พระโพธิสัตว์ ธรรมดาสายฟ้าปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ? คนทั้งหลาย ในที่ประมาณ ๔ - ๕ โยชน์ ขอรับ. พระโพธิสัตว์ ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่เห็นแสงสว่างของสายฟ้า มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลาย ไม่มีขอรับ. พระโพธิสัตว์ ธรรมดาเสียงฟ้าร้องจะได้ยินในที่ประมาณเท่าไร ? คนทั้งหลาย ในที่ ๑ - ๒ โยชน์ ขอรับ. พระโพธิสัตว์ ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง มีอยู่ หรือ ? คนทั้งหลาย ไม่มีขอรับ.
พระโพธิสัตว์จึงถามต่อ ท่านทั้งหลายรู้จักคนเหล่านี้หรือ ? คนทั้งหลาย ไม่รู้จักขอรับ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า คนเหล่านี้ไม่ใช่มนุษย์ คนเหล่านี้เป็นยักษ์ พวกมันจักมาเพื่อยุให้พวกเราทิ้งน้ำ กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจะเคี้ยวกิน บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาซึ่งไปข้างหน้า ไม่ฉลาดในอุบาย เขาคงถูกยักษ์เหล่านี้หลอกให้ทิ้งน้ำ ปล่อยให้ลำบากแล้วเคี้ยวกินเสียเป็นแน่ เกวียน ๕๐๐ เล่ม จักจอดอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ วันนี้ พวกเราจักเห็นเกวียนเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย อย่าได้ทิ้งน้ำแม้แต่ฟายมือหนึ่ง จงรีบขับเกวียนไปเร็ว ๆ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมาถึง ก็เห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่น แหละ กระดูกของมนุษย์ทั้งหลายและของเหล่าโคกระจัดกระจาย อยู่ในทิศน้อยใหญ่ จึงให้ปลดเกวียน ให้ตั้งกองค่ายโดยเอาเกวียนวงรอบ ให้คนและโคกินอาหารเย็น ต่อเวลายังวันให้โคทั้งหลายนอนตรงกลางกลุ่มคนทั้งหลาย ตนเองพาเอาคนผู้มีกำลังแข็งแรง มือถือดาบ ตั้งการอารักขาตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม จนอรุณขึ้น วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ทำกิจทั้งปวงให้เสร็จแต่เช้าตรู่ ให้โคทั้งหลายกินแล้วให้ทิ้งเกวียนที่ไม่แข็งแรงเสีย ให้เอาแต่เกวียนที่แน่นหนา ให้ทิ้งสิ่งของที่มีราคาน้อยเสีย ให้ขนสิ่งของที่มีค่ามากขึ้น ไปยังที่ตนปรารถนา ๆ ขายสิ่งของด้วยมูลค่า ๒ เท่า ๓ เท่า ได้พาบริษัท ทั้งหมดไปยังนครของตน ๆ นั่นแลอีก


พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาล ก่อน คนผู้มีปรกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือตามความจริง พ้นจากเงื้อมือของ พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของตนได้ พระศาสดา ครั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบ ลงว่า บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้ แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้ บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทใน บัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต