วันเสาร์

๔.๒ กามาวจรกุศลกรรม

กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยวในกามภูมิ คือ เกิดในกามภูมิ ชื่อว่า กามาวจรกรรม กามาวจรกรรม เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล กามาวจรฝ่ายอกุศลได้ แสดงแล้วคือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ สำหรับฝ่ายกุศล ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล หรือการเจริญกรรมฐานที่ยังไม่สำเร็จผล เป็นการกระทำในเบื้องต้น เหล่านี้จัดเป็นกามาวจรฝ่ายกุศล ชื่อว่า กามาวจรกุศลกรรม ส่วนกรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในรูปภูมิ ชื่อว่า รูปาวจรกรรม และกรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในอรูปภูมิ ชื่อว่า อรูปาวจรกรรม จะได้แสดงรายละเอียดต่อไป

กามาวจรกุศลกรรม จะแสดงให้ทราบถึง กุศลกรรมบถ ๑๐ กุศล กรรมบถสำเร็จได้ ๓ ทวาร คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ก็ได้ชื่อสุจริตในทวารนั้นๆ ด้วย

กุศลกรรมบถ ๑๐

กายสุจริต ๓ ได้แก่
  • ๑. ปาณาติปาตวิรติ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 
  • ๒. อทินนาทานวิรติ ” จากการ ลักทรัพย์ 
  • ๓. กาเมสุมิจฉาจารวิรติ ” จากการ ประพฤติผิดในกาม 
วจีสุจริต ๔ ได้แก่
  • ๔. มุสาวาทวิรติ ” จากการพูดเท็จ 
  • ๕. ปิสุณวาจาวิรติ ” จากการพูดส่อเสียด 
  • ๖. ผรุสวาจาวิรติ ” จากการ พูดคำหยาบ 
  • ๗. สัมผัปปลาปวิรติ ” จากการพูดเพ้อเจ้อ 
มโนสุจริต ๓ ได้แก่ 
  • ๘. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ 
  • ๙. อพยาบาท ความไม่ปองร้าย 
  • ๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 
 คำว่า “ วิรติ” คือ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้งดเว้น คืองดเว้น จากอกุศลกรรมบถ ๗ ได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จนถึงงดเว้นจากการพูดเพ้อ เจ้อ การงดเว้นจากอกุศลทางใจ ๓ ประการ คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาทิฏฐิ นั้น ไม่เกี่ยวกับการงดเว้นแต่เป็นสภาวธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กัน คือ อโลภะความไม่โลภเกิดขึ้นในจิต โลภะ คือความโลภก็จะไม่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นต้น
วิรติ มี ๓ ประเภท คือ
๑. สัมปัตตวิรติ คือ งดเว้นเฉพาะหน้า 
เกิดขึ้นในขณะที่อารมณ์เฉพาะหน้าและสามารถงดเว้นได้ ได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ของบุคคลที่ไม่ได้สมาทานศีล เมื่อกำลังจะฆ่าสัตว์ก็คิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับตนประการใดประการหนึ่งแล้วจึงไม่ฆ่า คือ
  • ๑. พิจารณาถึงชาติ 
  • ๒. ตระกูล 
  • ๓. วัย 
  • ๔. ความเป็นผู้มีความรู้ 
  • ๕. คิดว่าการฆ่าสัตว์เป็นการกระทำของคนยากจนต่ำช้า
    ตัวอย่างแรก เช่น นายแดงขณะอยู่ต่อหน้าลูกศิษย์ เมื่อถูกยุงกัดก็ไม่ฆ่า เพราะคิดว่า “เราเป็นถึงครูอาจารย์ถ้าทำไม่ดีต่อหน้าลูกศิษย์ ก็จะถูกตำหนิ ได้”
    ตัวอย่างที่สอง นายดำไม่ได้สมาทานศีล เมื่อถูกยุงกัดยกมือจะตบยุง เกิดความกลัวบาปขึ้นมาในขณะนั้นก็ลดมือลงไม่ตบยุง
๒. สมาทานวิรติ คือ งดเว้นเพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว
หลังจากสมาทานแล้วก็ตั้งใจรักษาศีล ในเวลาที่สมาทานและในเวลาต่อจากนั้นไปก็ ไม่ล่วงละเมิดศีล แม้ว่าต้องสละชีวิตของตน
ตัวอย่าง มีเรื่องเล่าว่า อุบาสกผู้หนึ่งเมื่อสมาทานศีลในสำนัก ของพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแล้วก็กลับไปไถนา ในเวลานั้น โคของเขาหายไป เขาจึงตามหาโคไปถึงภูเขาทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้น เขาถูกงูใหญ่รัดเอาไว้ ขณะนั้นเขาจึงคิดว่า “เราจะเอามีดคมเล่มนี้ตัดหัวมันเสีย” แล้วกลับคิดได้อีกว่า “เราได้สมาทานศีลที่ได้ไปรับมาจากสำนักของท่านผู้เป็นครูน่ายกย่องแล้ว เราจะมาทำลายศีลนั้นไม่สมควรเลย” เขาคิดอยู่อย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง จึงตัดสินใจได้อย่างเด็ดเดี่ยวว่า “ตายก็ตาย แต่จะไม่ยอมเสียศีล” จึงขว้างมีดคมที่เหน็บอยู่ที่บ่าทิ้งไปในป่า ใน เวลานั้นงูก็ปล่อยเขาแล้วเลื้อยไป

๓. สมุจเฉทวิรติ คือ งดเว้นโดยเด็ดขาด
เป็นศีลของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทำโดยเด็ดขาด แม้คิดว่าจะทำก็ไม่มี การทำกุศลทางกาย มี ๓ ประการ และการทำกุศลทางวาจา มี ๔ ประการ การทำกุศลทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ รวมเป็นกุศลกรรมบถ ๗ เมื่อว่า โดยองค์ธรรม คือสภาวธรรมแล้ว ได้แก่ เจตนา คือ ความตั้งใจที่จะงดเว้น หรือมี วิรติ คือ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้งดเว้นก็ได้ เจตนา กับ วิรติ นั้นมีสภาพไม่เหมือนกัน เช่น บางคนตั้งใจรักษา ศีล คือมีเจตนาที่จะงดเว้นจากการทำชั่ว แต่เมื่อมีเหตุการณ์ยั่วยุให้ทำชั่ว
เกิดขึ้นจริงๆ ก็ไม่สามารถจะงดเว้นได้ ยอมประพฤติละเมิดศีลกระทำความชั่วนั้นๆ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คือ เขามีแต่เจตนาอย่างเดียว แต่ไม่มีวิรติ (ความงดเว้น)เกิดขึ้นในเวลานั้น

บางคนมีเจตนาคือตั้งใจด้วยและมีวิรติ คืองดเว้นได้จริงๆด้วย เหมือนตัวอย่างอุบาสกที่อยู่ใกล้ภูเขาทันตรวัฑฒมานะ เป็นตัวอย่างเพื่อให้ทราบว่าเจตนาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ส่วน วิรติ ก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน สมาทานวิรติ คือ การงดเว้นจากการทำบาปได้เพราะว่าได้มีการสมาทานศีลสิกขาบทมาก่อนแล้ว ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว โดยนัยนี้ถ้าพิจารณาดีๆ จะพบว่าบุคคลนี้ต้องมีเจตนาคือความตั้งใจที่จะงดเว้นไว้ก่อน ฉะนั้นจึงมีเจตนาเป็นใหญ่เป็นประธานเขาจึงสมาทานศีลสิกขาบท แล้วงดเว้นได้สมเจตนาในภายหลัง ส่วนผู้ที่ไม่ได้สมาทานศีลสิกขาบทมาก่อน หรือไม่ได้มีเจตนาจะงดเว้นมาก่อน แต่งดเว้นได้เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงเรียกว่า “สัมปัตตวิรติ” เพราะการงดเว้นได้ นี้เป็นสภาวธรรมของ วิรติ โดยตรง ส่วนการงดเว้นโดยเด็ดขาดขณะที่พระอริยเจ้าบรรลุมรรค ในมรรคจิตมีองค์ธรรมที่เป็นวิรติแน่นอนอยู่แล้ว เพราะวิรติเป็นองค์มรรคด้วย 

องค์มรรค ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ในองค์ ๘ นี้ ไม่มีเจตนาเป็นองค์มรรค มีแต่วิรติ ๓ คือ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

ฉะนั้น สำหรับพระอริยเจ้าแล้ว เจตนาไม่เป็นเหตุ มีแต่วิรติเท่านั้นที่เป็นเหตุแห่งการงดเว้น จึงกล่าวได้ว่า การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๗ มีปาณาติบาต เป็น ต้น องค์ธรรม คือ “ เจตนา” ก็ได้ หรือจะมี “ วิรติ” ก็ได้

สำหรับ อนภิชฌา เมื่อว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ อโลภะ ซึ่งเป็น สภาวธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ หมายความว่า ถ้าความไม่โลภเกิดขึ้น ขณะนั้นความโลภก็ไม่มี
ส่วน อัพยาบาท องค์ธรรม ได้แก่ อโทสะ สภาวธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ โทสะ ในขณะที่ปรารถนาที่จะให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของเมตตาเกิดขึ้น ขณะนั้นความโกรธ ความอาฆาต ความพยาบาท ก็ไม่มี 
และ สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา คือปัญญาที่รู้ตรงต่อความเป็นจริงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วที่ตนทำไว้ ที่เรียกว่ากัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น องค์ธรรมของมโนสุจริต หรือ กุศลมโนกรรม ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ จึงได้แก่ ธรรมที่ประกอบกับเจตนา ได้แก่ อโลภะ อโท สะ และปัญญา ตามลำดับ การทำความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่ว่าด้วยการประพฤติ กุศลกรรม ซึ่งทางแห่งการประพฤติกุศลกรรมนั้นได้กล่าวไว้แล้ว มี ๑๐ ประการ การประพฤติทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปในทางแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น นอกจากจะให้ความสุขกายสบายใจในภพนี้แล้ว ยังจะให้ผลในภพหน้าชาติหน้าและภพชาติต่อๆ ไป และจะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์อีกด้วย


๔.๑.๓ มโนทุจริต ๓

มโนทุจริต คือ อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ เพียงแต่คิดไว้ในใจยังไม่ได้ กระทำออกมาทางกาย ทางวาจา ก็ได้ชื่อว่า เป็นการทำบาปแล้ว
มโนทุจริต ๓ ได้แก่
๑. อภิชฌา
๒. พยาบาท
๓. มิจฉาทิฏฐิ

๑. อภิชฌา
คือ ความเพ่งเล็งในทรัพย์ของผู้อื่นและอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อให้มาเป็นของตน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก โลภะ มี ๒ อย่าง คือ
  • ๑.๑ ความอยากได้โดยชอบธรรม เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งต่างๆ ก็เสาะแสวงหามาโดยสุจริตไม่ ผิดศีลธรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือ การขอ 
  • ๑.๒ ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม เมื่อเกิดความอยากได้ ก็คิดหาทางที่จะขโมย ฉ้อโกง จี้ ปล้น หรือใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น
ถ้าเกิดความโลภในสิ่งของๆ ผู้อื่นแล้ว และตราบใดที่ยังไม่คิดว่า “ ขอ สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ก็ยังไม่เป็นอภิชฌา อภิชฌาเกิดเพราะมีทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเหตุ แต่ก็ต่างกับอทินนาทาน คือ ถ้าการลักเอาสิ่งของๆ ผู้อื่นมาด้วยเจตนาตั้งใจลักจัดเป็นอทินนาทาน แต่ถ้าเกิดความโลภอยากได้อย่างแรงกล้าแล้วเพียงแต่เพ่งจ้องสิ่งนั้นๆของผู้อื่น และปรารถนาเพื่อจะได้สิ่งนั้นๆมาเป็นของตน อย่างนี้จัดเป็นอภิชฌา

องค์ประกอบของอภิชฌา มี ๒ ประการ คือ
๑. ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
๒. มีจิตคิดอยากจะได้มาเป็นของตน

ผลบาปของความเพ่งเล็งอยากได้
ผลของบาปในปฏิสนธิกาล
เมื่อความเพ่งเล็งอยากได้สำเร็จลงโดยมีองค์ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล จะนำไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาปในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือ ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้เมื่อมีทรัพย์และคุณความดี ก็จะทำให้ทรัพย์และคุณความดีนั้นตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมจะทำให้เกิดในตระกูลที่ต่ำ ขัดสนในลาภสักการะ มักจะถูกติเตียนอยู่เสมอ

๒. พยาบาท
คือ ความมุ่งร้าย คิดทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่น องค์ธรรมได้แก่โทสะ โทสะ คือ ความโกรธที่เป็นมุ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความวิบัติ พยาบาทจะมีโทษน้อยหรือมากก็เป็นเช่นเดียวกันกับผรุสวาท

องค์ประกอบของพยาบาท มี ๒ ประการ
๑. มีผู้อื่น
๒. คิดที่จะให้ความเสียหายเกิดกับผู้นั้น

พยาบาทที่มุ่งจะให้สัตว์ตาย มีความแตกต่างกับปาณาติบาต คือ ในการทำให้สัตว์ตายมีเจตนาตั้งใจจะฆ่าให้ถึงแก่ความตายเป็นประธาน แต่ถ้ามีความโกรธเฉพาะกับบุคคลหนึ่ง มุ่งจะทำลายล้างบุคคลนั้น เห็นว่าตนจะหมดความโกรธได้ เมื่อบุคคลนั้นพินาศไปหรือตายไป เช่นนี้ความโกรธอย่างแรงกล้านั้นเป็นประธาน แต่เจตนาเป็นเพียงธรรมชาติที่มาคล้อยตามความโกรธเท่านั้น อย่างนี้จัดเป็นพยาบาท แม้ว่าผู้นั้นยังไม่ตายไปหรือพินาศไป

ผลบาปของความพยาบาท
ผลของบาปในปฏิสนธิกาล
เมื่อความพยาบาทสำเร็จลงโดย มีองค์ ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผลตอนสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ   
ผลของบาปในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือ ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้มีอายุสั้น มีโรคภัยเบียดเบียน มีผิวพรรณหยาบกร้าน

๓. มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ คือ การเห็นผิดจากความเป็นจริง พระพุทธองค์ได้ทรง แสดงไว้อย่างกว้างขวาง เช่น สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นต้น หรือ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ในพรหมชาลสูตร หรือ นิยต มิจฉาทิฏฐิ ที่แสดงไว้ในสามัญผลสูตร เป็นต้น

องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ ประการ
๑. เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความจริง
๒. มีความเห็นว่าเนื้อความนั้นเป็นความจริง

มิจฉาทิฏฐิ ที่ถือว่าเป็นหลักของความเห็นผิด เรียกว่านิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๓ ประการ 
  • ๓.๑ นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีผลแห่งกรรมที่ทำไว้ เป็นการ ปฏิเสธผล ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐิย่อมมีอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มีการเกิดอีก มีความเห็นว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สมมติสัจจะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือคลองธรรมตามเหตุและผล ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสมมติสัจจะ เช่น ไม่มีมารดาบิดา สัตว์บุคคลเกิดสืบเชื้อสายกันมาตามเรื่องตามราวเท่านั้น จึงไม่มีใครที่จะต้องนับถือว่าเป็นบิดามารดา แม้ที่นับถือว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ ภิกษุ สามเณร ก็ไม่มีเป็นต้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า คติธรรมดา หรือที่เป็นไปตามคลองธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ก็ไม่มี

    สามัญผลสูตรแสดงนัตถิกทิฏฐิว่ามีเหตุอยู่ ๑๐ ประการ มีดังนี้
    ๑. เห็นว่า การทำทาน ไม่มีผล
    ๒. เห็นว่า การบูชา ไม่มีผล
    ๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญ ไม่มีผล
    ๔. เห็นว่า การทำดี ทำชั่ว ไม่มีผล
    ๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ ไม่มี
    ๖. เห็นว่า ผู้จะไปเกิดในภพหน้า ไม่มี
    ๗. เห็นว่า บุญคุณของมารดา ไม่มี
    ๘. เห็นว่า บุญคุณของบิดา ไม่มี
    ๙. เห็นว่า ผู้ที่เกิดและโตทันที เช่นเทวดา พรหม เปรต ไม่มี
    ๑๐. เห็นว่า ผู้รู้แจ้งโลก คือ พระพุทธเจ้า ไม่มี 
  • ๓.๒ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีเหตุ เป็นการปฏิเสธเหตุ คือ เมื่อได้รับผลดีผลร้ายต่างๆ ก็เห็นว่าเป็นไปตามคราว คราวที่มีโชคดีก็ได้รับผลดี คราวที่มีโชคร้ายก็ได้รับผลไม่ดี ไม่มีเหตุอะไรที่จะมาทำให้ได้ผลดี ผลร้าย ปฏิเสธเหตุในการทำดี ทำชั่ว ของบุคคลทั้งหลายที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดผลได้ ฉะนั้นการปฏิเสธเหตุนี้ก็เท่ากับว่า ปฏิเสธผลไปด้วย สามัญญผลสูตรได้แสดงไว้ว่า การปฏิเสธเหตุนั้น เป็นการปฏิเสธ ชนกกรรม คือ เหตุที่ให้เกิด และปฏิเสธอุปัตถัมภกกรรม คือ เหตุที่ช่วย อุปถัมภ์ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลำบากกาย ลำบากใจ 

  • ๓.๓ อกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าการทำบุญทำบาปก็เท่ากับไม่ได้ทำ เป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลแห่งกรรม คือ มีความเห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่ ทำดีก็ตามทำชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ สามัญผลสูตรได้แสดง อกิริยทิฏฐิ สรุปได้ดังนี้
    ๑.การทำดี การทำชั่ว จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่ เป็นบุญไม่เป็นบาป
    ๒. การทำร้ายโดยการตัดอวัยวะผู้อื่น จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่ เป็นบุญไม่เป็นบาป 
    ๓. การลงโทษโดยการเฆี่ยนตีทำให้เขาได้รับความทุกข์ จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่ เป็นบุญไม่เป็นบาป
    ๔. การเอาทรัพย์ของคนอื่นมาทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจ 
    จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
    ๕. การลงโทษตนเองหรือแนะนำคนอื่น ให้ลงโทษตนเองให้ลำบากเหมือนตน ก็ไม่ชื่อว่าทำบาป
    ๖.ตนเองมีความกระวนวายใจเดือดร้อนใจ หรือทำให้คนอื่นกระวนกระวายใจเดือดร้อนใจ ก็ไม่ชื่อว่าทำบาป
    ๗. การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่ เป็นบุญไม่เป็นบาป
    ๘. การประพฤติผิดในกาม การมุสา จะทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นทำ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป

    เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต แสดงเหตุเกิดไว้เพียงเหตุเดียว คือ อโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจผิด) ทุกนิบาต กล่าวไว้ ๒ ประการ คือ การฟังมิจฉาธรรมจากผู้อื่น และอโยนิโสมนสิการ
    อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา กล่าวไว้ ๒ ประการ คือ การคบหากับคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และการมีอัชฌาสัยที่เป็นเหตุภายใน ทำให้เป็นมิจฉาทิฏฐิเอง

    การกำจัดมิจฉาทิฏฐิ ต้องศึกษาธรรมที่เป็นเหตุสร้างความเข้าใจถูกว่าอะไรถูกอะไรผิด คบกับสัตตบุรุษผู้เป็นคนดี การกำจัดมิจฉาทิฏฐิบางชนิดสามารถทำได้ด้วยวิปัสสนาญาณ มิจฉาทิฏฐิทั้งหลายจะหมดไปอย่างสิ้นเชิงได้ด้วยโสดาปัตติมรรค

    ผลบาปของ นิยตมิจฉาทิฏฐ
    นิยตมิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ ต่างก็ปฏิเสธบุญและบาป เป็นการปฏิเสธกรรม และผลของกรรมนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นเหตุให้ท้อถอยในการทำความดี และสนับสนุนให้ทำความชั่ว จึงมีแต่หนทางที่จะนำไปสู่อบายภูมิเท่านั้น ความเห็นผิดเช่นนี้แม้พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถที่จะไปช่วยเหลือแก้ไขได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของบุคคลเหล่านั้น

    สรุป มโนกรรม ๓ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะ ยังผลให้เกิดอกุศลกรรมอื่นได้ดังนี้

    อภิชฌา มื่อความโลภเกิดขึ้น จะผลักดันให้ทำอกุศล ๖ คือ
    ๑. อทินนาทาน
    ๒. กาเมสุมิจฉาจาร
    ๓. มุสาวาท
    ๔. ปิสุณวาจา
    ๕. สัมผัปปลาปะ
    ๖. มิจฉาทิฏฐิ

    พยาบาท เมื่อความโกรธเกิดขึ้น จะผลักดันให้ทำอกุศล ๖ คือ
    ๑. ปาณาติบาต
    ๒. อทินนาทาน
    ๓. มุสาวาท
    ๔. ปิสุณวาจา
    ๕. ผรุสวาจา
    ๖. สัมผัปปลาปะ

    มิจฉาทิฏฐิ เมื่อความเห็นผิดเกิดขึ้น จะผลักดันให้ทำอกุศล ๑๐ คือ ๑. ปาณาติบาต
    ๒. อทินนาทาน
    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร
    ๔. มุสาวาท 
    ๕. ปิสุณวาจา 
    ๖. ผรุสวาจา 
    ๗. สัมผัปปลาปะ
    ๘. อภิชฌา
    ๙. พยาบาท
    ๑๐. มิจฉาทิฏฐ

    เมื่อทราบว่าอกุศลมีอะไรบ้าง และผลแห่งอกุศลจะนำพาให้ได้รับทุกข์ รับโทษอย่างไรแล้ว ต่อไปให้ศึกษาต่อเรื่องกุศล คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล


วันศุกร์

๔.๑.๒ วจีทุจริต ๔

วจีทุจริต มี ๔ คือ
๑. มุสาวาท คือ การมีเจตนากล่าวคำเท็จ เป็นคำพูดที่ไม่จริง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพูด เขียนหนังสือ เขียนจดหมาย หรือประกาศกระจายเสียง ก็จัดเป็นมุสาวาททั้งสิ้น คำพูดเท็จเป็นคำที่ไม่จริง รวมไปถึงการแสดงกิริยาอาการทางกายด้วย เช่น ส่ายหน้า พยักหน้า ฯลฯ การพูดเท็จจะสำเร็จทางวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้น คำพูดเท็จ จึงเป็นการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกายหรือวาจา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ด้วยความคิดจะทำลายประโยชน์เขา


องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ
  • ๑. เรื่องที่ไม่จริง 
  • ๒. มีจิตคิดจะทำให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อน 
  • ๓. ความพยายามอันเกิดจากความคิดนั้น 
  • ๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคำพูดนั้น
เรื่องที่ไม่จริง เป็นอย่างไร ? คือ เรื่องจริงเป็นอย่างหนึ่ง แต่ตนเองนำไปกล่าวหรือแสดงให้เขาเข้าใจผิดไปอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามีเรื่องไม่จริงนั้นอยู่ในใจเท่านั้น ยังไม่ได้กล่าวหรือแสดงออกมาก็ยังไม่เป็นมุสาวาท แต่คิดจะกล่าวเรื่องไม่จริงและมีเจตนาจะทำลายประโยชน์ของผู้ฟังแล้วกล่าวหรือ แสดงออก และผู้ฟังรู้เนื้อความนั้นและเชื่อเนื้อความนั้น ได้ชื่อว่ามุสาวาทแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ทำลายประโยชน์ คำพูดนั้นก็จัดเป็นเพ้อเจ้อ เพราะเรื่องนั้นตกเป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ 

อนึ่ง ถึงแม้เมื่อคิดจะมุสาวาทและตั้งใจอยู่นิ่งๆ โดยคิดว่า “ถ้าเรานิ่งเฉยอยู่อย่างนี้ เขาจะเข้าใจเป็นอย่างอื่น” ก็เป็นความพยายามเหมือนกัน เพราะอาการนิ่งนั้นเป็นเพราะจัดแจงแต่งขึ้นด้วยจุดประสงค์จะมุสา

ผลของมุสาวาท
การส่งผลในปฏิสนธิกาล
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แล้ว จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมนี้ส่งผล จะนำไปเกิดในอบายภูมิ
การส่งผลในปวัตติกาล
ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลนี้อีก ผลในปวัตติกาล เจตนากรรมของมุสาวาทจะส่งผลทำให้ ตาส่อน เพราะเหตุที่เวลากล่าวคำเท็จจะมีอาการ เช่น คอยก้มหน้าต่ำ คอยเบนสายตาหลบ ไม่กล้าสบตากับผู้ที่ตนพูดด้วย เพราะมุ่งจะกล่าวคำเท็จ มีฟันเกไม่เรียบชิดกัน เพราะเหตุที่คำเท็จนั้นเปล่งออกมาเพื่อทำลายประโยชน์ ปากมีกลิ่นเหม็นเพราะคำที่มุ่งทำลายประโยชน์เป็นคำที่น่ารังเกียจเหมือนปล่อยลมเสียออกมาทางปาก คนไม่เชื่อถือในคำพูด พูดติดอ่าง หรือเป็นใบ้ เพราะกรรมของมุสานั้นส่งผลทำให้ใครๆไม่ให้ความสำคัญ ไม่ให้ความเชื่อถือคำพูด เป็นต้น

การงดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ
จะมีอานิสงส์ส่งผลในปวัตติกาล เช่น เป็นคนหน้าตาแจ่มใส ตาไม่ส่อน ไม่เข ฟันไม่เก ปากมีกลิ่นหอม จะกล่าวเรื่องใดพูดอะไรสั่งการใดๆ ก็มีคนเชื่อฟัง ลูกน้องบริวารน้อมรับฟังคำสั่ง และ ทำตามเพราะเชื่อในคำพูด ไม่พูดติดอ่าง ไม่เป็นใบ้ เป็นต้น
๒. ปิสุณวาจา เป็นคำพูดของบุคคลที่ต้องการทำลายความรักความสามัคคี ของคนที่เขาปองดองกันดีอยู่ ให้ผิดใจกัน แล้วหันมารักตนหรือสัมพันธ์กับตนแทน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกันเป็นบาปมาก

องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
  • ๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก 
  • ๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก 
  • ๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก 
  • ๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด 
ถ้าพยายามพูดทำให้เขาแตกแยกกันแต่ว่าไม่สำเร็จผล ก็ยังไม่จัดเป็นปิสุณวาจา

ผลบาปของการพูดส่อเสียด
ผลของบาปในปฏิสนธิกาล
เมื่อการพูดส่อเสียดสำเร็จลงโดย มีองค์ประกอบทั้ง ๔ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรม เช่นนี้ส่งผลตอนสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล
ผลของบาปในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกติเตียน มักถูกกล่าวหาในเรื่องที่ไม่เป็นจริง เป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอๆ
 

๓. ผรุสวาจา คือ การพูดคำหยาบ การด่าทอ การสาปแช่งต่างๆ ทำให้ผู้ถูกด่าเกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทำที่เกิดมาจากอำนาจของความโกรธความไม่พอใจ การด่าว่าผู้มีอุปการคุณ เช่น บิดา มารดา หรือผู้มีอุปการคุณอื่นๆ ด่าว่าผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือ แม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก อนึ่ง คำพูดบางคำแม้ว่าเป็นคำหยาบ แต่เมื่อผู้พูดมีเจตนาอ่อนโยน ก็ไม่จัดเป็นผรุสวาจา

ตัวอย่างเช่น มีเรื่องเล่าว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อฟังคำมารดาว่าอย่าไปเที่ยวเล่นในป่า เมื่อมารดาไม่อาจห้ามได้ จึงด่าออกไปว่า “ ขอให้มึงถูกแม่ควายดุไล่ขวิดเถอะ ” ต่อมาเขาก็เผชิญกับแม่ กระบือป่าตามคำของมารดาจริงๆ เด็กได้ตั้งใจอธิษฐานว่า “ มารดากล่าวถึงสิ่งใดแก่เราด้วยสักแต่ว่าพูดไปใจมิได้คิดถึงสิ่งนั้นจริง ขอสิ่งนั้นจงอย่ามี คิดถึงสิ่งใดใคร่จะให้มีจริง ขอสิ่งนั้น จงมีเถิด” เมื่อจบคำอธิษฐาน แม่กระบือก็หยุดเฉยราวกับว่าถูกตรึงไว้กับที่ ณ ที่นั้น ตัวอย่างนี้ คำพูดของมารดาไม่มีเจตนาทำร้ายบุตร ถึงแม้คำพูดจะเป็นคำหยาบก็ตาม หรือคำพูดที่ไพเราะแต่มีเจตนาเย้ยหยันทำให้เขาเจ็บใจ ก็จัดเป็นผรุสวาจา เช่น การกล่าวประชดหรือดูถูกผู้อื่นเกี่ยวกับ สกุลว่า “ โอ ท่านผู้มีศักดิ์สูงส่ง ไฉนจึงแสร้งทำเป็นคนเข็ญใจ อนาถาอยู่เล่า”

องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี ๓ ประการ คือ
  • ๑. มีความโกรธ 
  • ๒. มีผู้ที่ตนจะพึงด่าว่า 
  • ๓. มีการพูดกล่าววาจาสาปแช่งหรือด่าทอ 
ผลบาปของการพูดคำหยาบ 
ผลของบาปในปฏิสนธิกาล
เมื่อการพูดคำหยาบสำเร็จลงโดย มีองค์ ประกอบทั้ง ๓ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาปในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้มีกายวาจาหยาบ ตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ

๔. สัมผัปปลาปะ  คือ การพูดเพ้อเจ้อ มีเจตนาที่จะพูดเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ถ้ามีเจตนาและพูดเรื่องไร้ประโยชน์แล้ว ถ้าผู้อื่นยังไม่เชื่อ ก็ยังไม่เป็นสัมผัปปลาปะ แต่ถ้าผู้อื่นถือเอาคำพูดเรื่องไร้ประโยชน์นั้นโดยความเป็น สาระ เจตนานั้นก็สำเร็จเป็นสัมผัปปลาปะแล้ว สัมผัปปลาปะนั้นเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ มีแต่จะเป็นเหตุ เป็นกระแสแห่งราคะ แห่งความยินดีพอใจของผู้อื่นนั้นมากขึ้น โดยปกติมนุษย์ปุถุชนมักมีคำพูดเล่นกันอยู่เสมอเพื่อสนุกรื่นเริง เพื่อหัวเราะเฮฮา การยิ้ม การหัวเราะนั้นเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าถือว่าเป็นกระแสแห่งราคะ คือ คนที่ยังมีราคะอยู่เท่านั้นจึงยิ้มและหัวเราะ ส่วนพระอริยเจ้าชั้นพระอรหันต์ หรือ พระอนาคามีซึ่งตัดกระแสราคะได้แล้วย่อมไม่ยิ้มไม่หัวเราะอย่างคนธรรมดา เมื่อ เกิดความปีติปราโมทย์ในธรรมก็เพียงแต่แย้ม เมื่อเห็นเหตุการณ์ใดที่ควรแก่การกล่าวขยายให้ผู้อื่นได้ทราบ ก็แสดงอาการแย้ม อย่างที่พระพุทธองค์ทรงกระทำเสมอ การพูดเล่นในเรื่องไร้สาระ การสรวลเสเฮฮานั้นทั้งหมดเป็นคำพูดไร้ประโยชน์ แม้พูดมากเพียงไรก็ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ใคร ส่วนคำที่มีประโยชน์ย่อมประเสริฐกว่า เพราะฟังแล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตน ได้ ได้แก่ คำพูดว่า “ จงมีสติ สำรวจกาย วาจาใจ เพื่อการประพฤติศีล สมาธิ” หรือ คำที่ประกอบด้วยนิพพาน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ฯลฯ คำเหล่านี้ฟังแล้วเป็นเหตุให้กิเลสสงบระงับ คือ สงบจาก ราคะ โทสะ เป็นต้น จัดเป็นคำพูดอันประเสริฐกว่าแม้จะพูดเพียงเล็กน้อย นี้เป็นตัวอย่างเบื้องสูง

คำพูดที่มีประโยชน์แบบคำธรรมดาสามัญ เช่น ทำอย่างไรดี ทำอย่างไรชั่ว อะไรควรเว้น อะไรควรทำ ควรดำเนินชีวิตอย่างไร ควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร เป็นต้น ผู้ฟัง ฟังแล้วนำไปปฏิบัติตามทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนแก่สังคมได้

องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ
  • ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ 
  • ๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ 
สัมผัปปลาปะ เป็นการกล่าวคำไม่จริง แต่ก็มีความแตกต่างกับมุสาวาท คือ เจตนาที่มุ่งจะกล่าวเรื่องไร้สาระอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นเจตนาที่เป็นไปโดยต้องการให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วทำประโยชน์ของเขาให้เสียหาย อย่างนี้เป็นมุสาวาท เกี่ยวกับคำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ เรียกว่า เดรัจฉานกถา เพราะเป็นสิ่ง ที่ขวาง มรรค ผล นิพพาน

เดรัจฉานกถา มี ๓๒ ประการ
๑. พูดเรื่อง พระมหากษัตริย์ และ ราชวงศ์
๒. พูดเรื่อง โจร
๓. พูดเรื่อง ราชการ การเมือง
๔. พูดเรื่อง ทหาร ตำรวจ
๕. พูดเรื่อง ภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
๖. พูดเรื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์
๗. พูดเรื่อง อาหารการกิน
๘. พูดเรื่อง เครื่องดื่ม สุราเมรัย
๙. พูดเรื่อง การแต่งตัว เสื้อผ้าอาภรณ์
๑๐. พูดเรื่อง การหลับนอน
๑๑. พูดเรื่อง ดอกไม้ การจัดประดับ ดอกไม้
๑๒. พูดเรื่อง กลิ่นหอมต่าง ๆ
๑๓. พูดเรื่อง วงศาคณาญาติ
๑๔. พูดเรื่อง รถ เรือ ยานพาหนะต่างๆ
๑๕. พูดเรื่อง หมู่บ้าน ร้านค้าต่างๆ
๑๖. พูดเรื่อง นิคมต่างๆ (หมู่บ้านใหญ่, เมืองขนาดเล็ก)
๑๗. พูดเรื่อง เมืองหลวง จังหวัด
๑๘. พูดเรื่อง ชนบท
๑๙. พูดเรื่อง ผู้หญิง
๒๐. พูดเรื่อง ผู้ชาย
๒๑. พูดเรื่อง หญิงสาว
๒๒. พูดเรื่อง ชายหนุ่ม
๒๓. พูดเรื่อง วีรบุรุษ ความกล้าหาญ
๒๔. พูดเรื่อง ถนนหนทาง
๒๕. พูดเรื่อง ท่าน้ำ แหล่งน้ำ
๒๖. พูดเรื่อง ญาติ เรื่องคนที่ตายไปแล้ว
๒๗. พูดเรื่อง ต่างๆ นานา
๒๘. พูดเรื่อง โลกและผู้สร้างโลก
๒๙. พูดเรื่อง มหาสมุทร และการ สร้างมหาสมุทร
๓๐. พูดเรื่อง ความเจริญ และความ เสื่อมต่างๆ
๓๑. พูดเรื่อง ป่าต่างๆ
๓๒. พูดเรื่อง ภูเขาต่างๆ

ขอยกคำกล่าวจากพระพุทธภาษิต มีความว่า " คำพูดแม้ตั้งพันแต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมสู้คำเดียวที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ บทเดียวที่เป็นประโยชน์ซึ่งฟังแล้วทำให้สงบได้ นั้น ประเสริฐกว่า
  

ตัวอย่าง เรื่องชายเคราแดงผู้ฆ่าโจร ชายผู้นี้มีลักษณะพิเศษ คือ เคราแดงและนัยตาเหลือกเหลือง หน้าตาท่าทางเป็นคนดุร้าย เขาไปสมัครเป็นโจรกับหัวหน้าโจรกลุ่มหนึ่ง หัวหน้าโจรเห็นเขาแล้วรู้ว่า “ ชายนี้กักขฬะนัก สามารถตัดนมแม่หรือนำเลือดในลำคอของพ่อออกมากินได้” จึงปฏิเสธไม่รับเข้าหมู่ ชายนั้นไม่ลดละความพยายาม เขาเข้าตีสนิทกับสมุนโจรคนหนึ่ง พยายามทำทุกอย่างจนสมุนโจรพอใจ พาไปหาหัวหน้าโจรอีกครั้งหนึ่ง อ้อนวอนให้รับไว้ในหมู่ โดยอ้างว่าเป็นผู้มีอุปการะมากต่อพวกตน หัวหน้าโจรขัดไม่ได้จึงรับไว้

วันหนึ่งโจรกลุ่มนี้ถูกจับ พวกอำมาตย์ขอให้หัวหน้าโจรฆ่าลูกน้องของตนทั้งหมดแล้วจะปล่อยหัวหน้าให้เป็นอิสระ หัวหน้าโจรไม่ยอมรับทำ จึงถามโจรคนอื่นๆ ก็ไม่มีใครรับ มาถึงนายเคราแดง เขารับ แล้วฆ่าโจรพวกของตนทั้งหมด เขาจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ต่อมาวันหนึ่ง พวกอำมาตย์จับโจรอีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวนร้อยได้ จึงขอให้ชายเคราแดงฆ่าโจรกลุ่มนั้นอีก เขาฆ่าหมด พวกชาวเมืองและอำมาตย์เห็นว่าเขาควรแก่งานฆ่าคนประจำ จึงตั้งตำแหน่งเพชฌฆาตให้นายเคราแดง

นายเคราแดงทำอาชีพเพชฌฆาตอยู่ถึง ๕๕ ปี เมื่อแก่ลงมากไม่ สามารถฆ่าคนให้ตายด้วยการฟันครั้งเดียวได้ เพราะกำลังถดถอย ชาวเมืองเห็นว่าทำให้คนถูกฆ่าได้รับทุกข์ทรมาน จึงร่วมกันถอดจากตำแหน่งเพชฌฆาตเพื่อให้คนอื่นทำแทน เมื่อออกจากตำแหน่งแล้ว เขาต้องการทำกิจ ๔ อย่าง เพื่อเป็นสิริมงคล คือ
๑. นุ่งผ้าใหม่
๒. ดื่มยาคูเจือน้ำนมที่ปรุงด้วยเนยใสใหม่
๓. ประดับดอกมะลิ
๔. ทาของหอมทั่วกาย
ของทั้งหมดนี้ ประชาชนเป็นผู้จัดหาให้ตามที่เขาต้องการ เมื่อเขานุ่งผ้าใหม่เตรียมจะบริโภคยาคู ขณะเดียวกันนั้นเองพระสารีบุตรเถระเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ พิจารณาว่าควรจะไปโปรดใคร ได้เห็นนายเคราแดงนั้นแล้ว ทราบด้วยญาณว่า เมื่อท่านไปโปรดเขา เขาจักถวายอาหารแก่ท่านและจักได้สมบัติใหญ่เพราะบุญนั้น นายเคราแดงพอเห็นพระสารีบุตรก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า “ เราได้ฆ่าคนมาเป็นอันมาก เป็นเวลานานถึง ๕๕ ปี บัดนี้ไทยธรรมของเราก็มีแล้ว พระเถระก็มายืนอยู่เฉพาะหน้า เราควรทำบุญในวันนี้” ดังนี้แล้ว ก็ลงไปนิมนต์พระเถระให้ขึ้นเรือน แล้วถวายยาคูลงในบาตร ราดเนยใสใหม่ลงไปแล้ว ได้ยืนพัดพระเถระอยู่

ขณะดูพระเถระฉันอยู่นั้นก็เกิดความอยากจะบริโภคยาคูเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ได้บริโภคอาหารเช่นนี้มาเป็นเวลานาน พระเถระรู้วาระจิตของเขา จึงบอกให้เขาไปบริโภคยาคูของเขาเสีย ให้คนอื่นมาทำหน้าที่พัดท่านแทน ขณะที่เขากำลังบริโภคยาคู พระสารีบุตรก็สั่งให้คนๆ นั้นไปพัดให้นายเคราแดง นายเคราแดงบริโภคจนอิ่มเต็มที่แล้วก็กลับมานั่งพัด พระสารีบุตรฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา แต่ใจของนายเคราแดงฟุ้งซ่าน ไม่อาจฟังธรรมเทศนาได้

พระเถระสังเกตเห็นจึงถาม เขาตอบว่า “ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมหยาบช้ามาเป็นเวลานาน ข้าพเจ้าฆ่าคนมาเป็นจำนวนมาก เมื่อระลึกถึงกรรมนั้นแล้ว ก็ไม่อาจน้อมจิตไปตามธรรมเทศนาได้ ” พระเถระคิดว่าจักลวง เพื่อให้เขามีใจปลอดโปร่งฟังธรรมแล้วจักได้ผลมาก จึงถามว่า “ ท่านทำเอง หรือใครสั่งให้ทำ ” เขาตอบว่า “ พระราชาสั่งให้ทำ ” พระเถระกล่าวว่า “ เมื่อเป็นเช่นนี้ อกุศล จะมีแก่ท่านได้อย่างไร ” เมื่อได้ฟังเช่นนั้นเขาก็เข้าใจว่าบาปไม่มีแก่เรา จึงตั้งใจฟังธรรมได้ บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อพระสารีบุตรอนุโมทนาเสร็จแล้วเดินกลับ เขาเดินตามไปส่งโดยระยะทางครู่หนึ่งแล้วเดินกลับ ขณะนั้นเองแม่โคนมตัวหนึ่งขวิดเขาถึงแก่ความตาย เขาได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต

ภิกษุทั้งหลายสนทนาถึงเรื่องนี้ว่า “ เคราแดงตายแล้วไปเกิดที่ใดหนอ” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต”
ภิกษุทูล ถามว่า “ เขาทำกรรมมาช้านาน จะไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตได้ อย่างไร”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ บุรุษนั้นได้กัลยาณมิตรเช่นพระสารีบุตรแล้ว ได้ฟังธรรมแล้ว สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อตายแล้ว จึงไปเกิดในภพดุสิต”
ภิกษุทูลถามว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นทำอกุศลกรรมไว้มาก เพียงแต่ฟังอนุโมทนากถา จะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้อย่างไร”
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าถือเอาปริมาณแห่งคำสุภาษิตอันเราแสดงแล้วว่าน้อยหรือมาก เพราะว่าแม้เพียงคำเดียว แต่เป็นวาจาอันประกอบด้วยประโยชน์ย่อมประเสริฐโดยแท้

ผลบาปของการพูดเพ้อเจ้อ
ผลของบาป ในปฏิสนธิกาล
เมื่อการพูดเพ้อเจ้อสำเร็จลงโดยมี องค์ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็น อกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล จะนำไปเกิดในอบายภูมิ
ผลของบาปในปวัตติกาล
กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือ ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้เป็น บุคคลที่ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูด ไม่มีอำนาจ หรือ วิกลจริต



วันพุธ

W-Y-Z



W
wakefulness  ชาคริยานุโยค  
walking to and fro  จงกรม  
wander (v) จาริก  
wandering  การจาริก; สงสาร (เวียนว่ายตายเกิด) 
wandering ascetic; wanderer  ปริพาชก  
warrior  นักรบ, ขัตติยะ, ชนวรรณะกษัตริย์ 
watch  ยาม 
watchfulness  อารักขา; ชาคริยะ  
way   มรรค, ปฏิปทา  
weal  หิตสุข  
wealth  โภคะ, ธนะ  
welfare หิตสุข, ประโยชน์สุข  
Well-farer, the  พระสุคต  
well-spoken words  วาจาสุภาษิต  
wheel of becoming; wheel of life  ภวจักร
Wheel of the Law; Wheel of the Doctrine  ธรรมจักร  
wheel of rebirths  สังสารจักร  
wheel-turning monarch  พระเจ้าจักรพรรดิ
wholesome (adj) กุศล  
wholesome action  กุศลกรรม  
wicked (adj) บาป, ชั่ว  
wieldiness  กัมมัญญตา  
will  ฉันทะ, เจตนา  
wind  วาโย ดูvibration  
wisdom  ปัญญา  
wise man  บัณฑิต  
wish  ฉันทะ, อิจฉา (ความปรารถนา)  
withdrawal  อุพภาร, อุทธาร (การรื้อ, การถอน,  การเดาะ)  
woe  ทุกข์, อบาย  
wonder  ปาฏิหาริย์  
worldling  ปุถุชน  
worldly (adj) โลกิยะ, โลกีย, สามิส  
worldly conditions  โลกธรรม
worldly vicissitudes  โลกธรรม  
worry  กุกกุจจะ  
worthy one  พระอรหันต์  
wrath  โกธะ  
wrong conduct  ทุจริต  
wrong course  อคติ  
wrong speech, offence of อาบัติทุพภาสิต   
wrong time  วิกาล
wrongdoing  ทุกกฏ  
wrongness  มิจฉัตตะ  

Y
yearning  อาสา (ความหวัง, ใฝหา)  
years’ standing ดูstandingyellow robe  กาสาวพัสตร์  
yoke  โยคะ, ธุระ, ภาระ  

Z
zeal ฉันทะ, อัปปมาทะ 
zest  ปิติ 

T-U-V



T
tactile object    โผฏฐัพพะ  
taint    อาสวะ  
taking what is not given    อทินนาทาน 
tale-bearing    สุณวาจา, สุณาวาจา, เปสุญวาท   
talk  กถา taming    ทมะ  
tangible object    โผฏฐัพพารมณ์, โผฏฐัพพะ 
task    กิจ  
taste    รส  
teacher    อาจารย์  
teaching    เทศนา, ธรรม  
Teaching; Teachings, the    พระธรรม  
telepathy    เจโตปริยญาณ (เทียบ)  
temperament    จริต  
temperature    อุตุ  

Tempter, the    มาร  
term    บท  
test    วีมังสนะ  
tetrad    จตุกกะ (หมวดสี่)  
thanking    อนุโมทนา  
Theravada    เถรวาท (นิกายพระพุทธศาสนาดั้งเดิม ฝ่ายใต้ ปัจจุบัน คู่กับ มหายาน)  
things    ธัมมา, ธรรม  
thirst    ตัณหา, ปาสา 
thought    จิต, จิตตุบาท, สังกัปปิ, วิตักกะ 
thought-conception    วิตก  
tie    คันถะ  
tolerance    ขันติ  
tongue    ชิวหา  
torpor    มิทธะ  
touch    โผฏฐัพพะ  
town-monk    พระคามวาสี  
training rule    สิกขาบท  
training    สิกขา, ทมะ, ภาวนา  
Training, the Threefold    ไตรสิกขา  
Tranquillity Development    สมถภาวนา  
tranquillity    ปัสสัทธิ, สมถะ  
transcendental    โลกุตตระ  
transformation    วิปริณาม  
transgression    วีติกกมะ (การละเมิด)  
transience; transiency    อนิจจตา  
transient (adj)    อนิจจ์, อนิจจัง  
treasure    รัตนะ, นิธิ, ธนะ  
triad    ติกะ (หมวดสาม)  
Triple Gem, the    พระรัตนตรัย  
triplet    ติกะ (หมวดสาม)  
true doctrine    สัทธรรม  
true man    สัปบุรุษ, สัตบุรุษ  
truth    สัจจะ  
twin miracle; twin wonder    ยมกปาฏิหาริย์

U
ultimate sense; ultimate reality    ปรมัตถ์
uncertainty    วิจิกิจฉา  
uncompounded; unconditioned (adj)    อสังขตะ
unconscious mind    ภวังคจิต
unconscious state    ภวังค์  
undeclared    อัพยากตะ, อัพยากฤต  
underlying tendency    อนุสัย  
understanding    ปัญญา  
undertaking    สมาทาน   
undetermined offence    อนิยต
unification    เอกัคคตา  
uninstigated (adj)    อสังขาริก  
unity    สามัคคี, เอกัตตะ, เอกีภาพ  
unknowing    อัญญาณ  
unprofitable (adj)    อกุศล  
unprompted (adj)    อสังขาริก  
unrighteous greed    วิสมโลภ (= อภิชฌา) 
unskilful (adj)    อกุศล  

unskilful action    อกุศลกรรม  
unsurpassed (adj)    อนุตตระ  
unwholesome action    อกุศลกรรม  
unwholesome (adj)    อกุศล  
unworldly (adj)    นิรามิส  
urgency, sense of    สังเวคะ, สังเวช  
usage    โวหาร  
utterance    อุทาน, วจนะ  

V
vain talk    สัมผัปปลาปะ  
vanity    มทะ  
vegetable-growth    ภูตคาม  
Venerable    คําเรียกนําหน้าชื่อพระสงฆ์แสดงคารวะ นิยมใช้กับพระเถระหรือพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ (ย่อว่า Ven)  
veneration    คารวะ, นมะ, ปูชา  
verbal action    วจีกรรม  
verbal formation; verbal functions    วจีสังขาร 
verbal good conduct    วจีสุจริต  
verbal misconduct    วจีทุจริต  
verdict in the presence of    สัมมุขาวินัย  
verdict of innocence    สติวินัย  
verdict of past insanity    อมูฬหวินัย  
verification    สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ  
verse    คาถา  
Vesak    วิสาขบูชา (นิยมใช้ในลังกาและอินเดีย =  Visàkha Påjà)  
vibration, the element of    วาโยธาตุ  
vices of conduct    กรรมกิเลส  
view    ทิฏฐิ  
village-dweller    คามวาสี 
virtue and duty    สีลัพพตะ, ศีลและพรต 
visible for oneself (adj)    สันทิฏฐิกะ  
virtue, virtuous (adj)    ศีล, คุณธรรม
visible object; visual object    รูปารมณ์  
vision    ทัสสนะ 
vital formation    อายุสังขาร  
vitality    ชีวิตินทรีย์  
void; voidness    สุญญตา  
volition    เจตนา  
volitional activities    สังขาร  
voting-ticket    สลาก (สําหรับลงคะแนนเสียง)  

Q-R-S



Q
quadruped    สัตว์จตุบท  
quality    คุณ, ลักษณะ, องค์  
quarrel    กลหะ, วิวาท  
quarter    ทิศ (ทิสา)  
quest    เอสนา, คเวสนา, ปริเยสนา  
question    ปัญหา  
quiet    สมถะ

R
radiation    
เตโชธาตุ; การแผ่ (เมตตา บญกุศล ฯลฯ)  
rag-robe    บังสุกุลจีวร
rains-residence; rains-retreat    จําพรรษา, วัสสา วาสะ 
rapture    ปิติ  
reaching    ปัตติ (การบรรลุ)  
reality    ตถตา, ยถาภูตธรรม  
realization    สัจฉิกิริยา, สัจฉิกรณะ, อธิคม (การทํา ให้แจ้ง, การบรรลุ)  
reappearance    อุปบัติ  
reason    การณะ, โยนิ, วิมังสา  
rebirth    ปุนภพ, ชาติใหม่, การเกิดใหม่  
recipient    ปฏิคาหก, ลาภี  
recitation    การสาธยาย, การสวด v to recite recluse สมณะ  
recollection    อนุสติ  
reconciliation    ปฏิสาราณียกรรม  
reconnection    ปฏิสนธิ  
rectitude    อุชุกตา  
refectory    ภัตตัคคะ (โรงฉัน, หอฉัน)  
refraining    สังยมะ, สัญญมะ, เวรมณี  
refuge    สรณะ  
Refuge, the Threefold    ไตรสรณะ  
refuse-rag-robe    บังสุกุลจีวร 
registration    ตทารมณ์, ตทาลัมพนะ  
rehearsal    สังคีติ, สังคายนา  
reincarnation    อวตาร (ตามคติพราหมณ์, ฮินดู)
relative; relation    ญาติ  
relaxation    ปัสสัทธิ  
release    วิโมกข์, วิมุตติ  
relics (of the Buddha)    พระธาตุ, พระสารีริกธาตุ 
relief    ภาพสลักนูน, รูปนูน  
relinking    ปฏิสนธิ  
remembrance of previous births    ปุพเพนิวาสา นุสสติญาณ 
remorse    วิปฏิสาร, กุกกุจจะ  
renouncing    ปริจจาคะ  
renown    กิตติ, กิตติศัพท์  
renunciation    เนกขัมมะ
reprover    โจทก์  
reproving    โจทนา
repugnance    ปฏิฆะ  
repulsion    ปฏิฆะ  
repulsive (adj)    ปฏิกูล  
requisite    บริขาร, ปัจจัย  
resentment    ปฏิฆะ  
resistance    ปฏิฆะ  
resolution    อธิโมกข์, อธิมุติ; (วินัย) กรรมวาจา 
resolve    อธิษฐาน, อธิมุติ  
resort    โคจร  
respect    คารวะ  
respectable person    ครุฐานียบุคคล  
restlessness    อุทธัจจะ, วิชัมภิตา  
restoration    โอสารณา; ปฏิสังขรณ์  
restraint of the senses    อินทรียสังวร  
restraint    สังวร, สังยมะ  
result    ผล, วิบาก  
retrocognition    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (เทียบ) 
reverence    อปจายนะ, คารวะ  
Reverend    คําเรียกนําหน้าชื่อพระสงฆ์แสดงคารวะ นิยมใช้กับพระสงฆ์ผ่ายมหายานหรือนักบวชในศาสนาอื่น
reverse order    ปฏิโลม  
review; reviewing    ปัจจเวกขณ์  
riches    โภคะ  
right (adj)    สัมมา  
Right Action    สัมมากัมมันตะ  
Right Concentration    สัมมาสมาธิ  
Right Deliverance    สัมมาวิมุตติ  
Right Effort    สัมมาวายามะ  
right endeavour    สัมมัปปธาน  
Right Knowledge    สัมมาญาณะ  
Right Livelihood    สัมมาอาชีวะ  
Right Speech    สัมมาวาจา  
right striving    สัมมัปปธาน  
Right Thought    สัมมาสังกัปปะ  
Right Understanding    สัมมาทิฏฐิ  
righteous (adj)    ธรรมิก, เป็นธรรม  
righteous man    สัปบุรุษ, สัตบุรุษ  
righteousness    ธรรม  
rightness    สัมมัตตะ  
rigidity, mental    ถัมภะ  
ripening    วิบาก  
risk    เวร  
rites and rituals    สีลัพพตะ  
rivalry    ปลาสะ, สารัมภะ  
road to power    อิทธิบาท 
robe    จีวร 
root    มูล  
root-cause    เหตุ  
round of rebirth; roundabout of births    สังสาร วัฏฏ์, วัฏฏสงสาร, สงสาร 
rug    สันถัต  
round    วัฏฏะ  
rules and rituals    สีลัพพตะ, ศีลและพรต
rule of training    สิกขาบท   
rumination    วิจาร 

S
sacrifice    ยัญ (พราหมณ์); จาคะ, ปริจจาคะ
safe (adj)    เขมะ, เกษม   
saffron robe    กาสาวพัสตร์  
sage    มุนี  
salvation    วิมุตติ  
sandals    อุปาหนา  
Sangha, the    สงฆ์, พระสงฆ์, คณะสงฆ์
sapid object    รสารมณ์ 
satisfaction    ปสาทะ, อัสสาทะ  
Saviour    พระมหาไถ่, พระผู้ไถ่บาป (คริสต์ = พระเยซู; เคยมีผู้นํามาใช้เลียนศัพท์แทน นาถะ บ้าง แต่บัดนี้ไม่ใช้กันแล้ว)  
savour    รส  
scepticism    วิจิกิจฉา  
schedule    มาติกา  
schism    สังฆเภท  
School    นิกาย (แห่งศาสนา)  
science    วิชชา  
scripture    คัมภีร์, คันถะ, ปกรณ์  
search of truth    ธัมมวิจยะ  
search; searching    เอสนา, ปริเยสนา (การแสวงหา)  
seat    อาสนะ  
seclusion    วิเวก  
sect    นิกาย  
section    วาระ, วรรค  
seeing    ทัสสนะ  
seer    อิสิ, ฤๅษี  
self    อัตตา, ตน, ตัวตน  
self-control    ทมะ, สัญญมะ  
self-direction, right disposition in    อัตตสัมมาปณิธิ  
self-illusion    สักกายทิฏฐิ 
selfishness    มัจฉริยะ  
self-knowledge    อัตตัญุตา  
self-mortification; self-torment    อตตกัลมถานิโยคุ  
self-possession    สัมปชัญญะ  
sensation    เวทนา
sense of shame    หิริ  
sense of urgency    สังเวคะ, ความสังเวช
sense-object    อายตนะ(ภายนอก)
sense-base    อายตนะ  
sense-field    อายตนะ  
sense-impression    ผัสสะ  
sense-organ    อายตนะ(ภายใน), อินทรีย์
sense-pleasure    กาม   
sense-sphere    อายตนะ  
sensual craving    กามตัณหา  
sensual desire    กาม, กามฉันทะ  
sensual indulgence    กามสุขัลลิกานุโยค   
sensual lust    กามราคะ
sensual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร 
Sensual Plane    กามภูมิ  
sensual pleasure    กาม, กามสุข, กามคุณ  
Sensual Sphere    กามภพ 
sensuous craving    กามตัณหา  
sensuous sphere    กามภพ, กามโลก  
sentient being    สัตว์  
separate treatment    วิภังค์  
sequence    อนุสนธิ  
serene (adj)    สันตะ (ผู้สงบระงับ)  
series    สันตติ  
service    เวยยาวัจจะ  
setting in motion (setting rolling) the  Wheel of the Doctrine    ธัมมจักกัปปวัตตนะ 
setting-up of mindfulness    สติปัฏฐาน 
Seven-Times-at-Most Stream-Enterer    โสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ  
sexual intercourse    เมถุนธรรม  
sexual misconduct    กาเมสุมิจฉาจาร  
shame    หิริ, ลัชชา  
shameless (adj)    อลัชชี  
shelter    ตาณะ (ที่พํานัก, ที่ต้านทาน, ที่กันภัย)   
shoe    ปาทุกา
sign    นิมิต  
Signs of Being, the Three    ไตรลักษณ์ 
simile    อุปมา  
simplicity    อัปปิจฉตา, ความมักน้อย  
single-seed    เอกพีชี  
skilful action    กุศลกรรม  
skill    โกสัลละ, โกศล, ทักขะ, ทักษะ 
skilled; skilful (adj)    กุศล  
slander    ปิสุณวาจา, ปิสุณาวาจา, เปสุญวาท 
sloth    ถีนะ, ลีนตา  
smirching    มักขะ  
sociability    สมานัตตตา  
softness    มุทุตา; มัททวะ  
solid element    ปฐวีธาตุ  
solitude    วิเวก  
sorrow    โสกะ, โศก  
soul    อัตตา, อาตมัน, ชีวะ  
soulless (adj)    อนัตตา  
soullessness    อนัตตตา  
sound    สัททะ (เสียง)  
source    นิทาน (ไม่ใช่เรื่องเล่าเพื่อความสนุกสนานในภาษาไทย แต่หมายถึง เหตุ, ที่มา)  
space    อากาส (ช่องว่าง), อวกาศ  
specific conditionality    อิทัปปัจจยตา  
specification    วิภาค  
speech    วาจา, วจี, ภาสิต, วจีวิญญัติ  
spite    อุปนาหะ  
spontaneously born creature    โอปปาติกะ 
stain    มละ, มลทิน  
standing (in the Order)    จํานวนพรรษา (ในภิกขุภาวะ หรือในเพศบรรพชิต)  
steadiness    ฐิติ  
stealing    อทินนาทาน  
Stilled One, the    พระมุนี  
stillness    โมไนย  
stinginess    มัจฉริยะ  
storing up    อุปจยะ  
straightness    อุชุกตา, อาชชวะ  
Stream-Enterer; Stream-Entrant; Stream Winner; Stream-Attainer    โสดาบัน   
Stream-Entry, fruition of    โสดาปัตติผล
Stream-Entry, path of    โสดาปัตติมรรค  
strength    พละ  
stress    ความเครียด, สารัทธภาวะ  
striving    ปธาน, วิริยะ  
stumbling block    อันตราย, อันตรายิกธรรม  
sublime states    พรหมวิหาร 
substitution of opposites    ตทังคะ  
substratum of rebirth    อุปธิ  
subtle (adj)    สุขุม  
success    อิทธิ, สัมปัตติ  
suffering    ทุกข์  
suitable (adj)    สัปปายะ, กัปปิิยะ, อนุรูป  
sunshade    ฉัตร (ร่ม)  
superknowledge    อภิญญา  
superme dwellings    พรหมวิหาร  
supermundane; supramundane (adj)    โลกุตตระ
supernormal power    อิทธิปาฏิหาริย์   
support    นิสสัย (ที่อาศัย); อุปถัมภ์  
suppression    วิกขัมภนะ  
supreme abidings    พรหมวิหาร  
suspension    อุกเขปนียกรรม  
sustained application    วิจาร  
sympathetic joy    มุทิตา