วันอังคาร

ทุกกฏ

ทุกกฏ

สจิตตกะ มีเจตนาที่จักกระทำ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม หากมีเจตนาเป็นอาบัติทุกกฏ
- ภิกษุอย่านุ่งห่มผ้าดังคฤหัสถ์
- อย่าทรงผ้าสีต่าง ๆ มีสีเขียวแลเหลืองเป็นต้น
- อย่าทรงผ้ามีชายไม่ได้ตัด แลผ้ามีชายยาว แลมีชายเป็นดอกไม้ แลผ้ามีชายเป็นแผ่น
- อย่าทรงเสื้อกางเกง แลหมวกผ้าโพก
- อย่านั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิ
- อย่ามีแต่ผ้านุ่งแลผ้าห่มเข้าบ้าน
- ภิกษุไม่เป็นไข้ อย่าไปด้วยยาน แลอย่าใส่รองเท้าเข้าบ้าน
- อย่าใส่รองเท้า ๒ ชั้น ๓ ชั้น แลรองเท้าสีต่าง ๆ มีสีเขียวเป็นต้น แลรองเท้าปกส้นปกหลังเท่าเป็นต้น แลรองเท้าไม้รองเท้าหญ้าเป็นต้น
- อย่าทาแลผัดย้อมหน้า แลย้อมตัวด้วยเครื่องทาเครื่องย้อม
- อย่าทรงเครื่องประดับ มีตุ้มหูเป็นต้น
- อย่าให้เขาถอนผมหงอก
- อย่าให้เขาตัดผม
- อย่าให้เขาตัดซึ่งหนวด
- ไม่เป็นไข้อย่าสองดูเงาในกระจกแลภาชนะแห่งน้ำ
- อย่าเพ่งดูนิมิตหญิง
- เมื่ออาบน้ำอย่าสีกายในต้นไม้ ในเสา ในฝา
- อย่าเอาหลังต่อหลังสีกัน
- ไม่เป็นไข้อย่ากั้นร่มนอกอุปจารวัด
- อย่าให้เขาเขียนรูปภาพ

- อย่าเอาบาตรคล้องแขน
- อย่าเอาบาตรวางบนเตียงตั้ง บนร่ม บนตัก บนพรึง ที่ปริภัณฑ์
- อย่าเอาบาตรวางบนพื้นคมแข็ง
- อย่าเอาของเป็นเดนใส่ในบาตร
- อย่าเอาบาตรเปียกเก็บไว้ การตากแดดก็อย่าตากบาตรให้นาน
- อย่านั่งอาสนะยาวกับหญิง แล🔎บัณเฑาะก์(๘๕)แลอุภโตพยัญชนก(๘๖)
- อย่านั่งที่เตียงตั้งกับอสมานาสนิก ผู้อาสนะไม่เสมอกัน คือผู้แก่แลอ่อนกว่ากัน ตั้งแต่ ๒ พรรษา ๓ รูป
- อย่านั่งนอนที่นอนสูงใหญ่ มีเตียงตั้งมีเท้ากว่าประมาณ แลเบาะฟูกยัดนุ่น แลเครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรต่าง ๆ เป็นต้น
- อย่าทรงหมอนใหญ่ประมาณกิ่งกาย
- อาสนะเขาปูไว้ไม่ได้พิจารณาก่อนนั่งอย่านั่ง
- อย่านอนในที่นอนอันเรี่ยรายด้วยดอกไม้
- อย่าห้ามอาสนะภิกษุผู้แก่
- อย่าไหว้อวันทิยบุคคล ๑๐ คือ
    อุปสมบททีหลัง ๑
    อนุปสัมบัน ๑
    ผู้มีสังวาสต่างกัน เป็นผู้แก่แต่เป็นอธัมมวาที่ ๑
    มาตุคาม ๑
    บัณเฑาะก์ ๑
    🔎 ปาริวาสิกะ(๘๗)
    🔎 มูลายปฏิกัสสนารหะ(๘๘)
    มานัตตารหะ ๑
    มานัตตจาริกะ ๑
    อัพภานารหะ ๑

- อย่าเอาเสนาสนะของสงฆ์จะพึงบริโภคในที่อื่นไปบริโภคในที่อื่น
- ภิกษุฉันค้างอยู่อย่าให้เธอลุก
- อย่าไล่ให้ภิกษุไข้ลุกจากเสนาสนะของสงฆ์
- พึงอุปัฏฐากภิกษุไข้
- เป็นผู้ใข้เล็กน้อยอย่ากางกั้นเสนาสนะ
- ถือเอาเสนาสนะแล้ว อย่ากางกั้นสิ้นกาลทั้งปวง
- ผู้เดียวอย่ากางกั้นเสนาสนะ ๒ แห่ง
- อย่ารับอย่าฉันเนื้อปลาดิบ
- อย่าฉันอุททิสมังสะ เนื้อปลาที่เขาฆ่าเฉพาะสหธรรมิก
- อย่าเรียนอย่าบอกเดรัจฉานวิชา
- เถระไม่ได้เชื้อเชิญก่อน อย่าแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์
- อย่าขับร้องสวดแสดงธรรมด้วยเสียงขับอันยาว
- ไม่มีผ้ากรองน้ำอย่าเดินทาง
- ภิกษุอื่นยืมผ้ากรองน้ำอย่าหวง
- อย่าให้ของศรัทธาไทย คือของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป คือให้อนามัฏฐบิณฑบาต ของกินที่ยัง
ไม่ได้ฉันเป็นต้นแก่คฤหัสถ์
- อย่าทำอย่าให้แลอย่านำข่าวสาร แลอย่าสงเคราะห์ตระกูลด้วยให้ดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น

- อย่าประพฤติอนาจารต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลูกเองหรือให้ผู้อื่นปลูกซึ่งกอไม้ รดน้ำเองหรือให้ผู้อื่นรด เก็บ
เองหรือให้ผู้อื่นเก็บ ร้อยกรองดอกไม้เองหรือให้ผู้อื่นร้อยกรอง แลเล่นของเล่นต่าง ๆ มีหมากแยกเป็นต้น
- อย่ากลิ้งโยนศิลาเล่น
- อย่าขึ้นต้นไม้
- อย่าจุดป่า
- อย่าใช้อกัปปิยบริขารต่าง ๆ คือร่ม เครื่องจีวร รังดุม บาตรภาชนะเครื่องใช้ 🔎ธัมกรก(๘๙) ประคดเอว 🔎ลูกถวิน(๙๐) หัวประคด ฝึกกุญแจ มีดพับ มีดตัดเล็บ มีดตัดไม้ ไม้สีฟัน ไม้เท้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นของวิจิตรงดงามด้วยลวดลายปักเย็บ เครือวัลย์วิการต่าง ๆ ไม่ควร
- อย่าทรงพัดวีชนีทำด้วยขนทรายจามรี
- อย่าเคี้ยวไม้สีฟันยาวกว่า ๘ นิ้ว สั้นกว่า ๔ นิ้ว
- อย่าทำการสั่งสมเครื่องโลหะแลเครื่องสัมฤทธิ์
- อย่าชักชวนบรรพชิตในกรรมอันไม่ควร
- เป็นช่างโกนอยู่ก่อน อย่ารักษามีดโกนไว้
- เครื่องประดับหญิง รูปหญิง ข้าวเปลือก ๗ แก้ว ๑๐ เครื่องดนตรีผลไม้ในต้นอย่าถูกต้อง
- อย่าลูบคลำภาชนะใส่ของยังไม่ได้ประเคน
- เที่ยวบิณฑบาต ผงตกลงในบาตร พึงประเคนเสียหรือล้างเสียก่อน

- ภิกษุเป็นอาคันตุกะ จะเข้าไปในวัดอื่น พึงถอดรองเท้าลดร่มเปิดศีรษะเสีย
- ภิกษุผู้แก่พึงอนุโมทนาในโรงฉัน
- ภิกษุ ๔ องค์ ๕ องค์ พึงนั่งคอยท่าอยู่อย่านั่งเบียดภิกษุแก่
- อย่าห้ามอาสนะภิกษุหนุ่ม
- อย่านั่งทับผ้าสังฆาฏิในโรงฉัน
- อย่าเทน้ำให้ถูกผ้าสังฆาฏิแลภิกษุที่นั่งใกล้
- ออกไปบิณฑบาตอย่าเข้าให้เร็วนัก
- อย่ายืนให้ไกลให้ใกล้นัก
- อย่ากลับช้านัก
- อย่ากลับเร็วนัก
- อย่าแลดูหน้าทายก
- จะชำระเสนาสนะ อย่าตบเคาะที่ใกล้ภิกษุ แลใกล้วิหารกุฎี แลใกล้น้ำฉันน้ำใช้ แลอย่าตบเคาะในที่เหนือลม
- อยู่กุฎีเดียวกับภิกษุแก่ไม่บอกก่อน อย่าให้อุเทศแลปริปุจฉา
- อย่าสาธยายแสดงธรรม ตามประทีป ดับประทีปเปิดปิดหน้าต่าง
- อย่ากระทบภิกษุแก่ด้วยมุมจีวร
- ถ่ายอุจจาระแล้วน้ำไม่มี อย่าล้าง
- อย่าไปเว็จกุฎี ตามลำดับผู้แก่ ให้ไปตามลำดับที่มา
- อย่าเข้าเวจกุฏิให้เร็วนัก
- อย่าเลิกผ้านุ่งเข้าไป
- อย่าเบ่งดังอึด ๆ
- อย่าเคี้ยวไม้สีฟันพลาง
- อย่าถ่ายเว็จนอกร่อง
- อย่าถ่ายปัสสาวะนอกราง
- อย่าบ้วนน้ำลายในรางปัสสาวะ
- อย่าชำระด้วยไม้คมไม้ผุ
- อย่าทิ้งไม้ชำระในหลุมคูถ
- อย่าออกให้เร็ว
- อย่าเลิกผ้านุ่งออกมา
- อย่าชำระด้วยน้ำดังจับปุ ๆ
- อย่าเหลือน้ำไว้ในหม้อชำระ
- เปื้อนให้ล้าง เต็มให้เท รกให้กวาด
- ย้อมจีวรตากแถวน้ำยังไม่ขาด อย่าหลีกไป
- พึงปฏิบัติด้วยดีในอุปัชฌาย์อาจารย์
- ไม่บอกอุปัชฌาย์อาจารย์ก่อน อย่าทำการให้แลรับจีวรเป็นต้นแก่คนบางคน แลเข้าบ้านไปป่าช้า หลีกสู่ทิศ 

เหล่านี้เป็นสจิตตกะ


อจิตตกะ ไม่มีเจตนาที่จักกระทำ คือ ถึงแม้ไม่จงใจทำ แต่เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ต้องอาบัติทุกกฏ
- ภิกษุอย่าพึ่งไปดูฟ้อนขับประโคม
- ไม่ผูกประคดอย่าเข้าบ้าน
- มีบาตรในมืออย่าผลักบานประตู
- อย่านอนที่เตียงตั้งเครื่องลาดอันเดียวกันแลนอนผ้าห่มผืนเดียวกัน
- อย่าฉันอย่าดื่มในภาชนะอันเดียวกัน
- อย่าฉันกระเทียม
- พื้นทำบริกรรมแลเครื่องลาดของสงฆ์ เท้าไม่ได้ล้าง เท้าเปียก ใส่รองเท้าอยู่ อย่าเหยียบ
- อย่าอิงฝา เขาทำบริกรรม
- เตียงตั้งของสงฆ์ลาดด้วยผ้าของตนก่อนพึงนอน
- อย่าไว้ผมแลหนวด เครา แลขนจมูกแลเล็บให้ยาว
- อย่าขัดเล็บ
- อย่าถอนขนในที่แคบ
- ไม่ได้ดูก่อนอย่าทิ้งหยากเยื่อของเป็นเดนเป็นต้น นอกฝานอกกำแพง
- อย่าทิ้งของเป็นเดนแลอุจจาระในไร่นาของเขา
- ไม่พิจารณาก่อนอย่าฉันเนื้อ
- อย่าฉันเนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว
- นอนกลางวันให้ปิดประตู

เหล่านี้เป็นอจิตตกะ

- พึงเว้นจากรับข้าวเปลือก ดินแลไร่นาทาสชายหญิง โค แกะ กระบือไก่ สุกร เป็นต้น
เหล่านี้ไม่ทำตาม เป็นทุกกฏ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น