วันจันทร์

โลภมูลจิต ๘

โลภมูลจิต ๘ ดวงนี้ เพราะความยินดีอยากได้ และติดใจในอารมณ์ต่างๆ จิตประเภทนี้จึงปรากฏขึ้น โลภมูลจิตนี้เป็นจิตที่ประกอบกับโลภเจตสิกเป็นประธาน เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความโลภเป็นเหตุ กล่าวคือสภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับโลภเจตสิกนั้น จึงต้องคล้อยตามอำนาจของโลภเจตสิก ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ดังนี้

    อารมฺมณคหณลกฺขโณ มีการถือมั่นในอารมณ์ เป็นลักษณะ
    อภิสงฺครโส มีการยึดติดในอารมณ์ เป็นกิจ
    อปริจาคปจฺจุปฎฺฐาโน มีการไม่สละอารมณ์ เป็นผล
    สงฺโยชนีย ธมฺเมสุ อสุสาททสฺสน ปทฏฐาโน มีการเห็นสังโยชน์ธรรมเป็นที่น่ายินดีพอใจเป็นเหตุใกล้

โลภมูลจิตมีจำนวน ๘ ดวง การที่จำแนกจิตประเภทนี้ออกไปได้ถึง ๘ ดวงนั้น เพราะโลภจิตแต่ละดวงนั้น ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คือ ประกอบด้วยเวทนา (ความเสวยอารมณ์) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และสังขาร (มีการชักชวน หรือ ไม่มีการชักชวน)

🔅 โลภจิต มีจำนวน ๘ ดวงนี้ มีชื่อและความหมายดังนี้ คือ

  • ๑.โสมนสุสสหคตํ ทิฏฐิคตสมปยุตตํ อสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน
  • ๒. โสมนสุสสหคตํ ทิฏฐิคตสมปยุตตํ สสงขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิดโดยมีการชักชวน
  • ๓. โสมนสสสหคตํ ทิฏฐิคตวิปปยุตตํ อสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน
  • ๔. โสมนสุสสหคตํ ทิฏฐิคตวิปปยุตตํ สสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน
  • ๕. อุเปกขาสหคตํ ทิฏฐิคตสมปยุตตํ อสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน
  • ๖. อุเปกขาสหคตํ ทิฏฐิคตสมปยุตตํ สสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความรู้สึกเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน
  • ๗. อุเปกขาสหคต์ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ อสงฺขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความรู้สึกเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดโดยไม่มีการชักชวน
  • ๘. อุเปกขาสหคตํ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ สสงขาริกํ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความรู้สึกเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดโดยมีการชักชวน

โลภมูลจิตแสดงการจําแนกโลภมูลจิต ๘


ข้อสังเกต

ในโลภมูลจิต ๘ ดวงนี้ แสดงสภาพธรรมที่ปรากฏ ๓ ประการ คือ
    ๑. สภาพที่เกี่ยวแก่ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ คือ โสมนสฺสสหคตํ และ อุเปกฺขาสหคตํ
            โสมนสุสสหคตํ แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก มีความปีติ อิ่มเอิบใจ
            อุเปกขาสหคต์ แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความรู้สึกดีใจบ้างเพียงเล็กน้อย

    ๒. แสดงภาพธรรมที่จิตบางขณะประกอบด้วย ความเห็นผิด บางขณะก็มิได้ประกอบด้วยความเห็นผิด คือทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ และ ทิฏฐิคตวิปปยุตตํ ทิฏฐิ แปลตามพยัญชนะว่า “ความเห็น” แต่เมื่อแปลโดยอรรถ คือ เนื้อความแห่งธรรมแล้ว ทิฏฐิในที่นี้ คือ ทิฏฐิเจตสิกที่ประกอบอยู่ในโลภมูลจิต อันเป็นอกุศลจิตฉะนั้น ทิฏฐิ จึงมีความหมายไปในทางไม่ดี คือ ย่อมมุ่งหมายถึง “มิจฉาทิฏฐิ” ที่จะนำไปสู่ มิจฉาทิฏฐิ ในมโนทุจริต (นิยตมิจฉาทิฏฐิ)
        ทิฏฐิคตสมปยุตตํ จึงมีความหมายว่า ประกอบด้วยความเห็นผิด
        ทิฏฐิคตวิปปยุตตํ หมายความว่า ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด จิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดนี้ ไม่ได้หมายความว่า เป็นจิตที่มีความเห็นถูก เพียงแต่หมายถึงจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับความเห็นผิดเท่านั้น

    ๓. แสดงสภาพธรรมของจิตที่เกิดขึ้น โดยกำลังแรงกล้า และกำลังอ่อนต้องมีการกระตุ้นชักจูง คือ อสงฺขาริกํ และสสงฺขาริกํ
        อสงฺขาริกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักชวนจากผู้หนึ่งผู้ใด เป็นปุพพปโยค คือ ปรารภขึ้นมาก่อน
        สสงฺขาริกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยอาศัยมีสิ่งชักชวน หรือปรารภตามผู้อื่น การชักชวนที่เรียกว่า สสงฺขาริกํนั้น ก็คือสังขารที่แปลว่า ปรุงแต่งนั่นเอง

การปรุงแต่งหรือชักชวน มี ๓ ทาง

กายปโยค คือ การชักชวนโดยอาศัยกิริยาอาการทางกาย เช่น จูงมือ, ชี้มือ, กวักมือ, พยักหน้า, ขยิบตา เป็นต้น
วจีปโยค คือ การชักชวนด้วยวาจา เช่น พูดชักชวน, พูดหมิ่นประมาท, ยุยง, สรรเสริญ, ส่อเสียดให้เกิดมานะ เป็นต้น
มโนปโยค คือ การชักชวนตนเอง โดยอาศัยปลุกใจให้คิดถึงเรื่องราวที่จะทำให้เกิดความยินดีพอใจ เป็นต้น ที่ปรากฏชัดเจนในการเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาต้องอาศัยมโนปโยคแน่นอน

วิธีการชักชวนดังกล่าวแล้ว ถ้าเป็นการชักชวนของผู้อื่นก็มีได้เพียง ๒ วิธี คือกายปโยค และวิปโยค แต่ถ้าเป็นตัวเองชักชวนตัวเองแล้ว ก็ย่อมกระทำได้ทั้ง ๓ วิธี คือ กายปโยค วจีปโยค และมโนปโยค

การจำแนกโลภมูลจิต ๘ เกิดพร้อมกับสภาพธรรม ๓ ประการ

๑. โลภมูลจิต ๘ โดยการเกิดพร้อมกับเวทนา จะประกอบด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โสมนสุสสหคตํ ๔ (ยินดีมาก) , อุเปกขาสหคตํ ๔ (ยินดีเล็กน้อย)
๒. โลภมูลจิต ๘ โดยการเกิดที่ประกอบความเห็นผิดหรือไม่ประกอบความเห็นผิด คือ ทิฏฐิคตสมปยุตตํ ๔ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ๔
๓. โลภมูลจิต ๘ โดยการเกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง คือ อสงฺขาริกํ ๔, สสงฺขาริกํ ๔

เหตุที่เกิดโลภมูลจิต ๘ มี ๔ ประการ

๑. โลภปริวารกมุมปฏิสนฺธิกตา ปฏิสนธิมาด้วยกรรมที่มีความโลภเป็นบริวาร
๒. โลภอุสฺสนุนภวโต จวนตา จุติมาจากภพที่มีโลภะมาก
๓. อิฏฐารมุมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดีอยู่เสมอ
๔. อุสสาททสฺสนํ ได้เห็นสิ่งที่เป็นที่ชอบใจ

🔘 เหตุที่เกิดโลภโสมนัส (เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก)

๑. โสมนสฺสปฏิสนธิกตา มีปฏิสนธิพร้อมโสมนัสเวทนา
๒. อคมฺภีรปกติกา ไม่มีความสุขุมคัมภีรภาพ
๓. อิฏฐารมุมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี
๔. พุยสนมุตฺติ พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ
            ความพินาศ ๕ ประการ คือ...
            - ญาติพฺยสน ความพินาศแห่งญาติ
            - โภคพฺยสน ความพินาศแห่งทรัพย์สมบัติ
            - โรคพฺยสน ความพินาศแห่งโรคภัยเบียดเบียน
            - ทิฏฐิพฺยสน ความพินาศ เพราะความเห็นผิด
            - สีลพฺยสน ความพินาศ เพราะประพฤติผิดศีล

🔘 เหตุที่เกิดโลภอุเบกขา (เกิดพร้อมด้วยความยินดีเล็กน้อย)

    ๑. อุเปกขาปฏิสนธิกตา มีปฏิสนธิจิตพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
    ๒. คมฺภีรปกติกา มีความสุขุมคัมภีรภาพ
    ๓. มชุมตตารมุมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ปานกลาง
    ๔. พฺยสนมุตฺติ พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ (เหมือนกับของโลภโสมนัส)
    ๕. มูคธาตุกตา มีสันดานเป็นคนใบ้


🔘 เหตุให้เกิดทิฏฐิดตสัมปยุต (มีความเห็นผิดประกอบด้วย)

    ๑. ทิฏฐิชฺฌาสยตา มีความเห็นผิดเป็นอัธยาศัย
    ๒. ทิฏฐิวิปฺปนฺนปุคคลเสวนตา ชอบคบหากับบุรุษผู้มีความเห็นผิด
    ๓. สทฺธมฺมวิมุขตา ไม่ได้ศึกษาพระสัทธรรม
    ๔. มิจฺฉาวิตกฺกพหุลตา ชอบคิดแต่เรื่องที่ผิด ๆ
    ๕. อโยนิโส อุมุมชุชนํ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย

🔘 เหตุให้เกิดทิฏฐิดวิปปยุต (ไม่มีความเห็นผิดประกอบด้วย)

    ๑. สสฺสตอุจฺเฉททิฏฐิอนชฺฌาสยตา ไม่มีสัสตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิเป็นอัธยาศัยมาแต่อดีตชาติ
    ๒. ทิฏฐิวิปปนฺนปุคฺคลอเสวน ไม่คบหาสมาคมกับคนมิจฉาทิฏฐิ
    ๓. สทฺธมฺมสมฺมุขตา มุ่งหน้าเข้าหาพระสัทธรรม
    ๔. สมฺมาวิตกฺกพหุลตา ชอบคิดแต่เรื่องที่ถูกที่ชอบ
    ๕. อโยนิโส น อุมมุชฺชนํ ไม่จมฝังอยู่แต่ในความพิจารณาที่ไม่แยบคาย

🔘 เหตุให้เกิดอกุศลอสังขาริก (ไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้นชักจูง)

    ๑. อสงฺขาริกกมุมชนิตปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเกิดจากอสังขาริก
    ๒. กลลกายจิตฺตตา มีความสุขกายสบายใจ
    ๓. สีตุณหาทีนํ ขมนพหุลตา มีความอดทนต่อความเย็นร้อน เป็นต้น จนเคยชิน
    ๔. กตฺตพฺพกมเมสุ ทิฏฐานิสํสตา เคยเห็นผลในการงานที่จะพึงกระทำ
    ๕. กมฺเมสุจิณฺณวสิตา มีความชำนาญในการงานที่ทำ
    ๖. อุตุโภชนาทิสปปายลาโภ ได้รับอากาศและอาหารดี เป็นต้น

🔘 เหตุให้เกิดอกุศลสสังขาริก (ต้องมีสิ่งกระตุ้นชักจูง)

๑. สสงฺขาริกกมุมชนิตปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเกิดจากสสังขาริก
๒. อกลลกายจิตฺตตา ไม่มีความสุขกายสบายใจ
๓. สีตุณฺหาที่นํ อขมนพหุลตา ไม่มีความอดทนต่อความร้อนและเย็นเป็นต้น
๔. อกตฺตพฺพกมุเมสุ ทิฏฐานิสํสตา ไม่เคยเห็นผลในการงานที่จะกระทำ
๕. กมฺเมสุ อจิณณวสิตา ไม่มีความชำนาญในการทำงาน
๖. อุตุโภชนาทิอสปฺปายลาโภ ไม่ได้รับอากาศและอาหารที่ดี เป็นต้น


 🙏 ผลที่เกิดจากโลภมูลจิต 🙏

โลภมูลจิต เป็นจิตที่สร้างเหตุโลภ คือ ความอยากได้ หรือความปรารถนาในอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจ เมื่อสร้างเหตุขึ้นแล้ว ผลก็ย่อมจะต้องปรากฏขึ้น เพราะอาศัยเหตุนั้นเป็นธรรมดา และผลที่จะเกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุโลภ หรือผลที่เกิดจากโลภมูลจิตนั้น ท่านแสดงว่า สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยความโลภ สมัยนั้น ย่อมเกิดทุพพิกขนตราย คือ อันตรายที่เกิดจากความแร้นแค้น ข้าวยากหมากแพง เป็นเหตุให้ความหิวโหย อดอยากเข้าครอบงำ จนพากันล้มตายลงเป็นอันมาก สรรพทุกข์ต่าง ๆ จะปรากฏแก่ มหาชนอย่างหาประมาณมิได้ นี้เป็นผลปัจจุบัน ที่เกิดจากอำนาจของโลภมูลจิต แต่สำหรับผลที่เกิดจากโลภะในอนาคตนั้น มีแสดงว่า เยภุยฺยเยน หิ สตฺตา ตณฺหาย เปตฺติวิสยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ สัตว์ทั้งหลายโดยมาก ย่อมไปเกิดเป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง ตามอำนาจแห่งโลภะอันมีความอยากได้เป็นมูลฐาน

อนึ่ง โลภมูลจิตนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึง ทุกขสัจจะ เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยสมุทยสัจจะ เป็นเหตุ คือ > โลภะ ในชาติอดีตได้ทำกรรมในอดีต เป็นเหตุให้ ชาติทุกข์, ชราทุกข์, มรณทุกข์ จึงเกิดขึ้น เป็นผล
> โลภะ ในปัจจุบัน คือ ความหวัง ความต้องการ, ความอยากได้ กามคุณอารมณ์เป็นเหตุ โสกะ, ปริเทวะ, โทมนัส, อุปายาส จึงปรากฏขึ้น เป็นผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น