บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ป.อ. ปยุตฺโต

เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้ให้เจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อม

รูปภาพ
อีกประการหนึ่งที่ควรจะเป็นข้อคิด ก็คือ การที่เราจะเข้าถึงธรรมด้วยอาศัยคำสอนของพระองค์ ให้บรรลุสิ่งประเสริฐแห่งชีวิตของเรานี้ย่อมเป็นกิจส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งเราทุกคนมีหน้าที่สำหรับชีวิตของตนๆ เราควรจะต้องเข้าถึงสิ่งที่ดีงามที่ประเสริฐสุดของชีวิต คือการเข้าถึงธรรมอันจะทำให้ได้รับผลแห่งอมตะ อันเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา แต่พร้อมกันนั้น อีกด้านหนึ่ง คือ ในด้านที่เกี่ยวกับสังคม หรือการดำรงอยู่ของหมู่มนุษย์ เราจะต้องรู้ตระหนักถึงความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เป็นสังขาร ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง แต่ทีนี้ อนิจจัง ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวมนุษย์ และสังคมมนุษย์นั้น เรามีศัพท์เรียกพิเศษ อธิบายว่า ที่จริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นของกลางๆ แต่เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปในด้านหนึ่ง ก็ถูกใจมนุษย์ เมื่อเปลี่ยนแปลงไปอีกด้านหนึ่ง ก็ไม่ถูกใจมนุษย์ ทั้งที่ว่า ในแง่ของธรรมชาติ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นกลางๆ ไม่เข้าใครออกใคร คือ ธรรมชาตินี้ไม่ได้ดีไม่ได้ร้ายเมื่อพูดในแง่ของกฎแห่งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นมันก็เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่คว...

ธรรม เป็นอิสระจากคน คนถึงธรรม เป็นอิสระจากสังขาร

รูปภาพ
ธรรมอย่างหนึ่งที่พระองค์ตรัสไว้ ที่พึงระลึกในเวลานี้ ก็คือ ธรรมในแง่ความจริงของสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะความไม่เที่ยง คือภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป การที่เรามา ณ สถานที่นี้ มองในแง่หนึ่งก็เป็นเครื่องเตือนใจของเราให้ระลึกถึงความจริงข้อนี้ จะเห็นว่าสถานที่นี้ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้เหลือแต่ซากเพียงนิดเดียวเท่านั้น และแม้แต่ซากเท่าที่มองเห็นเหล่านี้ ก็ยังต้องอาศัยการขุดการแต่งจึงปรากฏได้ เพราะผ่านกาลเวลายาวนานตั้ง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว สถานที่นี้ก็ทรุดโทรมแตกหักปรักพังไป ความเป็นอนิจจังก็เข้ามาครอบงำสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่พระคันธกุฎีเท่านั้น พระพุทธเจ้าเองก็ทรงล่วงลับดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มองกว้างออกไป ที่ตั้งของพระคันธกุฎีนี้ คือเมืองราชคฤห์ทั้งหมด ที่เคยเป็นเมืองหลวง เป็นราชธานีของมหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ คือแคว้นมคธ เคยเต็มไปด้วยผู้คนประชาชนพลเมืองมากมาย บัดนี้ก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นร่องรอย ราชคฤห์ได้กลายเป็นที่รกร้าง ถิ่นห่างไกล อยู่ในชนบท เป็นบ้านนอกไป นี้คือความเปลี่ยนแปลงซึ่งเราจะเห็นได้ในเรื่องของความเสื่อมและความเจริญของสังคม ของประเท...

ศรัทธาและปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
บัดนี้เรามาถึงเมืองนี้ซึ่งมีความสำคัญดังได้กล่าวแล้ว และได้มาประชุมกันที่พระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ที่เป็นศูนย์กลางของการบำเพ็ญพุทธกิจ และศาสนกิจทั้งหมดในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา ฉะนั้น เมื่อเรามาถึงที่นี่แล้ว จึงควรจะได้มีความปลาบปลื้มใจและอิ่มใจว่า เราได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับของพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสประทานพระโอวาทไว้ว่า แม้พระรูปกายของพระองค์จะล่วงลับไป แต่พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงไว้ก็ยังคงอยู่ คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีทั้งในขั้นของศรัทธา และปัญญา ด้วยศรัทธานั้นในแง่หนึ่งเราก็อยากจะมาเฝ้านมัสการพระพุทธเจ้า ด้วยการไปดู ไปรู้ ไปเห็น ไปเยือนสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับพระองค์ เราเรียกสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับว่าเป็นเจดีย์ชนิดหนึ่ง เจดีย์ คือสิ่งที่เตือนใจให้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เจดีย์นั้นมีหลายอย่าง และอย่างหนึ่งก็คือ บริโภคเจดีย์ ซึ่งแปลว่า เจดีย์คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย พระคันธกุฎี เป็นสถานที่ที่พระองค์เคยประทับ เป็นเสนาสนะที่พระองค์เคยใช้สอย จึงจัดเป็นปริโภคเจดีย์หรือบริโภคเจดีย์ชนิดหนึ่งด้วย เรามานมัสการพระองค์ที่นี่ คือ...

ราชคฤห์: ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

รูปภาพ
เจริญพรโยมผู้ศรัทธาทุกท่าน เราได้เดินทางมาบนเส้นทางบุญจาริกโดยลำดับ และขณะนี้เราได้มานั่งเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ ณ ที่ประทับของพระองค์ คือพระมูลคันธกุฎี เมื่อเช้านี้เรามาถึงเมืองปัตนะหรือเมืองปาตลีบุตร ซึ่งก็ได้เล่าให้โยมฟังแล้วว่า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นแหล่งที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกจากชมพูทวีปไปสู่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณ ๒๓๕ ปีหลังพุทธกาลหลังจากนั้น เราก็ได้เดินทางต่อมา จนถึงเมืองนาลันทา แล้วก็เดินทางมายังเมืองราชคฤห์ ตามลำดับ ขณะนี้เรามาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ราชคฤห์: ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมืองราชคฤห์ นี้ เป็นเมืองหลวงเก่าของแคว้นมคธ เมืองปาตลีบุตรมีความสำคัญในสมัยหลังพุทธกาล ในฐานะเป็นแหล่งที่คำสอนของพระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกไปสู่ประเทศต่างๆ เมื่อเรามาถึงเมืองราชคฤห์นี้ ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะแผ่ออกไปจากเมืองปาตลีบุตรสู่ประเทศต่างๆ ได้ ก็ต้องมาเริ่มต้นที่นี่ก่อน เมืองทั้งสองนี้มีความสำคั...

เลิกบูชายัญ เพียงเป็นฐาน สู่ความงอกงามในธรรม

รูปภาพ
ย้อนกลับไปถามว่า การเลิกบูชายัญหรือไม่บูชายัญ เป็นหลัก การปกครองบ้านเมืองได้อย่างไร  เมื่อการบูชายัญเป็นหลักการยิ่งใหญ่ยอดสำคัญของสังคม พราหมณ์ ทางพระพุทธศาสนาก็จึงยกการเลิกบูชายัญหรือไม่บูชายัญ ขึ้นมาเป็นหลักการสำคัญของสังคมแทน โดยมีความหมายที่จะต้องทำ ความเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้  ในการบำเพ็ญพุทธกิจ มีหลายครั้งหลายคราวที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปพบกับพราหมณ์ที่กำลังเตรียมการบูชายัญบ้าง กำลังประกอบ บูชายัญบ้าง และมีทั้งพิธีบูชายัญขนาดย่อมส่วนบุคคล และพิธีระดับผู้ ปกครองบ้านเมือง  ถ้าเป็นพิธีใหญ่ จะมีการฆ่าสัตว์บูชายัญจำนวนมาก และทาส กรรมกรทั้งหลายมักเดือดร้อนมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปพบและสนทนา กับเจ้าพิธี ในที่สุดเรื่องก็จะจบลงโดยที่เขาเองให้ปล่อยสัตว์ล้มเลิกพิธี  พร้อมทั้งรับหลักการและวิธีปฏิบัติอย่างใหม่ที่พระองค์สอนไปดำเนินการ  สาระสำคัญของหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน โดยทั่วไปจะให้ ประกอบยัญกรรมในความหมายใหม่ (หรือเป็นการฟื้นความหมาย ดั้งเดิมก่อนที่พวกพราหมณ์จะทำให้เพี้ยนไป) ซึ่งเน้นที่ทาน และต้องไม่มี การเบียดเบียนชีวิต   ถ้าเป็นยัญพิธีใหญ่มา...

ความกล้าหาญในทางสันติ

รูปภาพ
เรื่องไม่จบแค่นั้น ยังต้องย้อนกลับไปท้วงติงมติของผู้รู้ทั้งฝรั่งและอินเดียเพิ่มอีกแง่หนึ่ง คือที่ผู้รู้เหล่านั้นบอกว่า พระเจ้าอโศกสอนธรรมที่เป็นกลาง ซึ่งทุกศาสนายอมรับได้นั้น จริงหรือ?  ในการพิจารณาแนวพระราชดำริของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น นอกจากข้อสำคัญที่ ๑ คือสถานะแห่งความเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่แล้ว ข้อที่ ๒ ก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง ข้อที่ ๒ นั้น ก็คือ จุดเปลี่ยนในพระชนมชีพของพระองค์ เมื่อสงครามพิชิตแคว้นกลิงคะ ทำให้ทรงสลดพระทัยต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อนของประชาชนนั้น มันไม่เพียงทำให้ทรงละเลิกการรุกรานทำสงครามเท่านั้น แต่กลายเป็นแรงเหวี่ยงพระองค์ไปในทางตรงข้ามแทบจะสุดทาง คือทำให้ทรงละเลิกการเบียดเบียนทุกอย่าง แม้กระทั่งการทำลายชีวิตสัตว์เล็กสัตว์น้อย และหันมามุ่งในการช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ ข้อที่ ๒ นี้ กลายเป็นตัวกำกับข้อที่ ๑ ด้วย โดยทำให้หลักการปกครองอาณาจักร (หรือเรียกให้เข้ากับคำฝรั่ง คือ Empire ว่าจักรวรรดิ) เปลี่ยนจากอรรถศาสตร์ ของพราหมณ์จาณักยะ ที่นำทางนโยบายของพระอัยกาจันทรคุปต์ มาสู่ จักกวัตติสูตรของพระพุทธเจ้า เป็นต้น  จากวิชัยที่เป็นกา...

เทียบกันแล้ว ควรสรุปได้

รูปภาพ
จากหลักฐานและเรื่องราวที่ยกมาดูกันนี้ จะเห็นว่า โดยทั่วไปพระเจ้าอโศกทรงสอนธรรม แบบไม่ออกชื่อของหลักธรรมหรือของหัวข้อธรรม (ถ้าทรงเรียกชื่อหัวข้อธรรมออกมา ราษฎรที่อยู่กระจายห่างกันไปทั่ว ส่วนใหญ่ก็คงไม่รู้เรื่องหรือสื่อกันยาก) พระองค์ตรัสออกชื่อธรรมเพียงไม่กี่อย่าง เมื่อจะเน้นออกมาเฉพาะที่เป็นคำที่รู้ๆ กัน หรือง่ายๆ แต่ที่ทรงสอนเอาจริงเอาจังและตรัสอยู่เสมอ ก็คือธรรมที่เป็นการปฏิบัติต่อกันระหว่างคนในหมู่ชน ทำนองเดียวกับพระสูตรในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนคฤหัสถ์ กลายเป็นว่า พระเจ้าอโศกนั่นแหละทรงแม่นยำว่า ในฐานะพุทธมามกะ เมื่อเป็นราชาปกครองบ้านเมืองจะสอนธรรมส่วนไหนอย่างไร และคนที่ไม่เข้าใจเพราะจับจุดจับหลักไม่ได้ ก็คือท่านผู้รู้ทั้งชาวอินเดียและฝรั่งนั่นเอง คงต้องพูดว่า พระเจ้าอโศกมิใช่จะทรงริเริ่มจัดตั้งหลักธรรมสากลหรือศาสนาสากล ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า universal religion แต่อย่างใด ที่แท้นั้นพระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ในความเป็น universal ruler หรือ universal monarch ตามคติจักกวัตติ/จักรวรรดิราชา  (Cakkavatti/Cakravartin) ดังที่ได้ทรงประกาศหลักธรรมวิชัย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นจักรพรรด...

ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ

รูปภาพ
 เห็นได้ชัดว่า ธรรมในศิลาจารึกอโศก ส่วนใหญ่ และที่กล่าวถึงบ่อย เป็นเรื่องของการปฏิบัติชอบต่อกัน หรือต่อบุคคลประเภทต่างๆ ที่แต่ละคนควรดูแลรับผิดชอบหรือช่วยเหลือกัน ซึ่งใกล้เคียงกันมากกับพระสูตรที่ยกมาให้ดูแล้ว จึงขอยกข้อความในศิลาจารึกนั้นมาให้ดูบ้าง ขอเริ่มด้วย จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๒ ซึ่งตรัสเล่าความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการทำศิลาจารึกประกาศธรรมไว้ด้วย อันเป็นเรื่องที่น่ารู้ ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพตรัสไว้ดังนี้ :- ตลอดกาลยาวนานล่วงมาแล้ว ได้มีพระราชาหลายองค์ทรงปรารถนาว่า ทำไฉนประชาชนทั้งหลายจะพึงเจริญก้าวหน้าด้วยความเจริญทางธรรม แต่ประชาชนก็หาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นด้วยความเจริญทางธรรมตามสมควรไม่...ก็แลด้วยอุบายวิธีอันใดหนอประชาชนทั้งหลายจะพึงประพฤติปฏิบัติตาม ... ๓. ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ตรัสไว้ดังนี้ :- ข้าฯ ได้เกิดมีความคิดขึ้นว่า ข้าฯ จักจัดให้มีการประกาศธรรม ข้าฯ จักจัดให้มีการอบรมสั่งสอนธรรมประชาชนทั้งหลาย ครั้นได้สดับธรรมนี้แล้ว ก็จักพากันประพฤติปฏิบัติตาม จักยกระดับตนเองสูงขึ้น และจักมีความเจริญก้...