บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ พุทธประวัติ

สักกชนบทและศากยวงศ์

รูปภาพ
🔅สักกชนบท ตั้งอยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ ตอนเหนือของชมพูทวีป เหตุที่ชื่อว่า สักกชนบท เพราะถือตามภูมิประเทศเดิมเป็นดงไม้สักกะ เมืองกบิลพัสดุ์ มีเรื่องเล่าโดยย่อว่า พระเจ้าโอกกากราชมีพระราชโอรส ๔ และพระราชธิดา ๕ พระองค์ เมื่อพระมเหสีทิวงคต พระองค์มีพระมเหสีใหม่ได้ประสูติพระราชโอรส ๑ พระองค์ ทรงเป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่ง จึงพลั้งพระโอษฐ์ให้พร พระนางได้ตรัสขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของตน พระเจ้าโอกกากราชตรัสห้ามหลายครั้งก็ยังทูลขออยู่อย่างนั้น จึงยอมพระราชทานราชสมบัติให้ตามคำขอของพระนาง ครั้นจะไม่พระราชทานให้ก็กลัวจะเสียสัตย์ ตรัสเรียกพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์มาเข้าเฝ้าแล้วตรัสเล่าความจริงให้ทราบและให้ไปสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระองค์ทิวงคตแล้วให้กลับมายึดราชสมบัติคืน ดังนั้นพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์จึงไปสร้างเมืองใหม่อยู่ที่ดงไม้สักกะ ได้พบกับกบิลดาบส ตรัสเล่าความประสงค์ของตนให้ทราบ พระดาบสได้แนะนำให้สร้างเมืองตรงที่อยู่ของตน และบอกว่าสถานที่นี้เป็นที่มงคล เมืองนี้จะมีชื่อเสียงต่อไปในภายภาคหน้า เมืองใหม่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะว่าเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ศากยวงศ์และโกลิยวง...

ปริเฉทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน

รูปภาพ
ดินแดนเป็นที่เกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา หรือดินแดนที่เรียกว่าประเทศอินเดียในสมัยก่อน เรียกว่า ชมพูทวีปในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศและภูฏาน ตั้งอยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ของประเทศไทย ชนชาติที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมี ๒ พวก ๑. พวกมิลักขะ เจ้าถิ่นเดิมที่อาศัยอยู่ก่อน ๒. พวกอริยกะ พวกที่อพยพมาใหม่โดยอพยพมาทางด้านภูเขาหิมาลัยรุกไล่เจ้าถิ่นเดิมถอยร่นไปอยู่รอบนอก ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ เขต การปกครองในสมัยก่อนแบ่งออกเป็น ๒ เขต บางครั้งเรียกเป็นจังหวัด คือ ๑. มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ คือ ประเทศภาคกลางเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกอริยกะ ๒. ปัจจันตชนบทหรือปัจจันตประเทศ คือ ประเทศปลายแดนเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกมิลักขะ แคว้นใหญ่ มี ๑๖ แคว้น อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจดี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ และที่ปรากฏในคัมภีร์อื่นอีกมี ๕ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ แคว้นเหล่านี้ บางแคว้นปกครองโดยกษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาด บางแคว้นปกครองโดยสามัคคีธรรม วรรณะ ๔ คนอินเดียแบ่งเป็นชั้นวรรณะด้วยชาติกำเนิดตามหลักศาสนาพราห...

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสุกรมัทวะ ๒

รูปภาพ
👉 หน้าที่แล้ว  ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสุกรมัทวะ ๑           ก่อนพุทธกาลนั้นเมืองสองเมือง ปาวาและกุสินารา ถือว่า เป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองกุสาวดี ซึ่งปรากฏในบาลีมหาสุทัศนะสูตร ทีฆะนิกาย ที่พรรณนาไว้ว่าเมืองกุสาวดีนั้นมั่งคั่ง มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อมาเมืองกุสาวดีก็ร่วงโรยตามไปตามความอนิจจังของสังขาร หนักเข้าก็กลายเป็นแคว้นเล็ก ๆ ไป ในที่สุดแยกเป็นสองเมือง เมืองหนึ่งเรียกว่ากุสินารา อีกเมืองหนึ่งเรียกว่าปาวา เส้นทางเสด็จพุทธดำเนินของพระองค์ ก็เสด็จมาแวะที่เมืองปาวา ก่อนที่จะไปสู่กุสินารา ระยะทางจากเมืองปาวาไปกุสินารานั้น ต้องใช้เวลาเดินเกือบวันและที่เมืองปาวานี้เองเรื่องสูกรมัททวะก็เกิดขึ้น ที่เมืองปาวานี้ นายจุนทะ กัมมารบุตร แปลว่า นายจุนทะผู้เป็นบุตรของนายช่างทอง นายจุนทะนี้เขาเป็นช่างทอง ทำทองขาย มีจิตศรัทธา ได้กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสาวก ให้ไปรับบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น แล้วในคืนวันนี้เองนายจุนทะก็ตระเตรียมขาทนียะและโภชนียะ เพิ่มคน คุมคนการเตรียมกันอย่างขมีขมัน ทำกันเป็นการใหญ่ เพราะพระสงฆ์สาวกที่ติดตามพร...

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสุกรมัทวะ ๑

รูปภาพ
พระคุณเจ้าและท่านสาธุชนทั้งหลายปาฐกถาในวันนี้เป็นเรื่องหนักไปในทางวิชาการ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวค้นคว้าข้อเปรียบเทียบในการที่จะต้องสันนิษฐานและวินิจฉัยในปัญหาบางประการที่สำคัญ ที่มีคนส่วนมากกล่าวว่า เป็นเหตุทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าดับขันธปรินิพพาน ในการที่ไปเสวยสูกรมัททวะของนายจุนทกัมมารบุตรเข้า การที่จะพูดกันถึงเรื่องนี้ จำจะต้องเล่าทบทวนเหตุการณ์ในตอนปลายสมัยพุทธกาลเสียก่อน และก็ต้องเล่าเรื่องที่พระพุทธองค์อาพาธ ในตอนสมัยพุทธกาลนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับพระชนมายุของพระศาสดา ตามความเข้าใจของเราชาวพุทธทั่วไปก็ว่า พระบรมศาสดาดับขันธ์ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ แต่ตามการค้นคว้าของผมได้ประจักษ์หลักฐานว่า พระบรมศาสดาดับขันธปรินิพพานนั้นเมื่อพระชนมายุ ๘๑ ไม่ใช่ ๘๐ คือย่างเข้าปี ๘๑ ยังไม่เต็ม ดับขันธ์ปรินิพพานในปีนั้นไม่ใช่ ๘๐ ถ้วน ก่อนที่จะพูดถึงประเด็นนี้ อันนำไปสู่ประเด็นสูกรมัททวะในตอนปลายนั้น ก็จำต้องเล่าทบทวนเสียก่อนว่า ในปีที่พระผู้มีพระภาคมีพระชนมายุได้ ๘๐ นั้นเข้าใจว่าในตอนต้น ๆ ปีคงจะประทับอยู่ที่แคว้นโกศล เพราะมีข้อความปรากฏในบาลี ธรรมเจติยสูตร กล่าวถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว...

เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้ให้เจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อม

รูปภาพ
อีกประการหนึ่งที่ควรจะเป็นข้อคิด ก็คือ การที่เราจะเข้าถึงธรรมด้วยอาศัยคำสอนของพระองค์ ให้บรรลุสิ่งประเสริฐแห่งชีวิตของเรานี้ย่อมเป็นกิจส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งเราทุกคนมีหน้าที่สำหรับชีวิตของตนๆ เราควรจะต้องเข้าถึงสิ่งที่ดีงามที่ประเสริฐสุดของชีวิต คือการเข้าถึงธรรมอันจะทำให้ได้รับผลแห่งอมตะ อันเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา แต่พร้อมกันนั้น อีกด้านหนึ่ง คือ ในด้านที่เกี่ยวกับสังคม หรือการดำรงอยู่ของหมู่มนุษย์ เราจะต้องรู้ตระหนักถึงความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เป็นสังขาร ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง แต่ทีนี้ อนิจจัง ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวมนุษย์ และสังคมมนุษย์นั้น เรามีศัพท์เรียกพิเศษ อธิบายว่า ที่จริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นของกลางๆ แต่เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปในด้านหนึ่ง ก็ถูกใจมนุษย์ เมื่อเปลี่ยนแปลงไปอีกด้านหนึ่ง ก็ไม่ถูกใจมนุษย์ ทั้งที่ว่า ในแง่ของธรรมชาติ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นกลางๆ ไม่เข้าใครออกใคร คือ ธรรมชาตินี้ไม่ได้ดีไม่ได้ร้ายเมื่อพูดในแง่ของกฎแห่งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นมันก็เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่คว...

ธรรม เป็นอิสระจากคน คนถึงธรรม เป็นอิสระจากสังขาร

รูปภาพ
ธรรมอย่างหนึ่งที่พระองค์ตรัสไว้ ที่พึงระลึกในเวลานี้ ก็คือ ธรรมในแง่ความจริงของสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะความไม่เที่ยง คือภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป การที่เรามา ณ สถานที่นี้ มองในแง่หนึ่งก็เป็นเครื่องเตือนใจของเราให้ระลึกถึงความจริงข้อนี้ จะเห็นว่าสถานที่นี้ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้เหลือแต่ซากเพียงนิดเดียวเท่านั้น และแม้แต่ซากเท่าที่มองเห็นเหล่านี้ ก็ยังต้องอาศัยการขุดการแต่งจึงปรากฏได้ เพราะผ่านกาลเวลายาวนานตั้ง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว สถานที่นี้ก็ทรุดโทรมแตกหักปรักพังไป ความเป็นอนิจจังก็เข้ามาครอบงำสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่พระคันธกุฎีเท่านั้น พระพุทธเจ้าเองก็ทรงล่วงลับดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มองกว้างออกไป ที่ตั้งของพระคันธกุฎีนี้ คือเมืองราชคฤห์ทั้งหมด ที่เคยเป็นเมืองหลวง เป็นราชธานีของมหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ คือแคว้นมคธ เคยเต็มไปด้วยผู้คนประชาชนพลเมืองมากมาย บัดนี้ก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นร่องรอย ราชคฤห์ได้กลายเป็นที่รกร้าง ถิ่นห่างไกล อยู่ในชนบท เป็นบ้านนอกไป นี้คือความเปลี่ยนแปลงซึ่งเราจะเห็นได้ในเรื่องของความเสื่อมและความเจริญของสังคม ของประเท...

ศรัทธาและปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
บัดนี้เรามาถึงเมืองนี้ซึ่งมีความสำคัญดังได้กล่าวแล้ว และได้มาประชุมกันที่พระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ที่เป็นศูนย์กลางของการบำเพ็ญพุทธกิจ และศาสนกิจทั้งหมดในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา ฉะนั้น เมื่อเรามาถึงที่นี่แล้ว จึงควรจะได้มีความปลาบปลื้มใจและอิ่มใจว่า เราได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับของพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสประทานพระโอวาทไว้ว่า แม้พระรูปกายของพระองค์จะล่วงลับไป แต่พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงไว้ก็ยังคงอยู่ คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีทั้งในขั้นของศรัทธา และปัญญา ด้วยศรัทธานั้นในแง่หนึ่งเราก็อยากจะมาเฝ้านมัสการพระพุทธเจ้า ด้วยการไปดู ไปรู้ ไปเห็น ไปเยือนสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับพระองค์ เราเรียกสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับว่าเป็นเจดีย์ชนิดหนึ่ง เจดีย์ คือสิ่งที่เตือนใจให้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เจดีย์นั้นมีหลายอย่าง และอย่างหนึ่งก็คือ บริโภคเจดีย์ ซึ่งแปลว่า เจดีย์คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย พระคันธกุฎี เป็นสถานที่ที่พระองค์เคยประทับ เป็นเสนาสนะที่พระองค์เคยใช้สอย จึงจัดเป็นปริโภคเจดีย์หรือบริโภคเจดีย์ชนิดหนึ่งด้วย เรามานมัสการพระองค์ที่นี่ คือ...

ราชคฤห์: ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

รูปภาพ
เจริญพรโยมผู้ศรัทธาทุกท่าน เราได้เดินทางมาบนเส้นทางบุญจาริกโดยลำดับ และขณะนี้เราได้มานั่งเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ ณ ที่ประทับของพระองค์ คือพระมูลคันธกุฎี เมื่อเช้านี้เรามาถึงเมืองปัตนะหรือเมืองปาตลีบุตร ซึ่งก็ได้เล่าให้โยมฟังแล้วว่า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นแหล่งที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกจากชมพูทวีปไปสู่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณ ๒๓๕ ปีหลังพุทธกาลหลังจากนั้น เราก็ได้เดินทางต่อมา จนถึงเมืองนาลันทา แล้วก็เดินทางมายังเมืองราชคฤห์ ตามลำดับ ขณะนี้เรามาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ราชคฤห์: ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมืองราชคฤห์ นี้ เป็นเมืองหลวงเก่าของแคว้นมคธ เมืองปาตลีบุตรมีความสำคัญในสมัยหลังพุทธกาล ในฐานะเป็นแหล่งที่คำสอนของพระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกไปสู่ประเทศต่างๆ เมื่อเรามาถึงเมืองราชคฤห์นี้ ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะแผ่ออกไปจากเมืองปาตลีบุตรสู่ประเทศต่างๆ ได้ ก็ต้องมาเริ่มต้นที่นี่ก่อน เมืองทั้งสองนี้มีความสำคั...